ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
23-04-2024, 13:02
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  คลิปปาฐกถาพิเศษ "6 เดือนรัฐประหารและก้าวต่อไปของประเทศไทย" วรเจตน์ ภาคีรัตน์ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1] 2
คลิปปาฐกถาพิเศษ "6 เดือนรัฐประหารและก้าวต่อไปของประเทศไทย" วรเจตน์ ภาคีรัตน์  (อ่าน 3586 ครั้ง)
วิถีไท
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 50



เว็บไซต์
« เมื่อ: 22-03-2007, 09:18 »

มูลนิธิวีรชนประชาธิปไตยได้ร่วมกันจัดให้มีปาฐกถาในวาระ 6 เดือนรัฐประหารขึ้น

ในวันที่ 20 มีนาคม 2550  ห้อง 222 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์

โดยมีองค์ปาฐถกในแต่ละหัวข้อดังต่อไปนี้   


ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์  (ปาฐกถาพิจารณาในด้านนิติธรรม นิติรัฐ รัฐธรรมนูญฉบับประสงค์ สุ่นศิริ

คุณชุมพล ศิลปะอาชา  (ปาฐกถาพิจารณาในด้านการเมืองการปกครอง)     

นพ.เหวง โตจิราการ (ปาฐกถาพิจารณาในด้านเศรษฐกิจและสภาพทั่วไป)


http://www.saturdayvoice.com/viewload.php?cat_id=8&download_id=61
บันทึกการเข้า

ประชาธิปไตย  ประชาชนต้องเป็นใหญ่ในแผ่นดิน
AsianNeocon
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,277


中華萬歲﹗ LONG LIVE CHINA!


เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 22-03-2007, 09:35 »

วรเจตน์ จ้อนอึ้ง ก็แค่นักวิชาการสามสลึง   มีแต่ไอ้พวกนักท่องตำรากินสตาร์บักส์เท่านั้นที่คิดซะเป็นตุเป็นตะ

"ประชาธิปไตย ประชาชนต้องเป็นใหญ่ในแผ่นดิน" ... ไหนขอดูหน้าคนพูดหน่อยเด๊ะ


เห็นไอ้พวกซ้ายท่องตำรากินสตาร์บักส์ท่องกันเป็นนกแก้วนกขุนทอง มันรู้อะไรบ้าง?




เจิมศักดิ์: ผมอยากจะกราบเรียนถามท่านอาจารย์นะครับว่า ผมเข้ามาที่สวนโมกข์นี่ ผมเห็นปากประตูเขียนว่า "เห็นแก่ประชาธิปไตยต้องไม่เห็นแก่ตัว"

พุทธทาส: ไม่ทราบใครเขียน ฮึๆ

เจิมศักดิ์: แต่เห็นเขียนไว้ว่าเป็นคำพูดของท่านอาจารย์

พุทธทาส: ไม่ทราบ อาตมาจะเคยพูดหรือไม่ก็ยังนึกไม่ออก ก็ไม่ทราบว่าใครเขียน แต่ถ้าโดยตามตัวหนังสือ มันก็ต้องไม่เห็นแก่ตัว ประชาธิปไตยเห็นแก่ตัวทุกคน ถ้าเห็นแก่ตัวมันเห็นแก่คนเดียว นี่พอจะเข้าใจได้อย่างนั้น

เจิมศักดิ์: ในความหมายของคำว่า "ประชาธิปไตย" ท่านอาจารย์หมายความว่าอย่างไร

พุทธทาส: ประโยชน์ของประชาชนเป็นใหญ่ ไม่ใช่ประชาชนเป็นใหญ่ ประโยชน์ของประชาชนเป็นใหญ่

เจิมศักดิ์: ต่างกันอย่างไรครับ ถ้าประชาชนเป็นใหญ่

พุทธทาส: ถ้าประชาชนเป็นใหญ่ ก็ทำเพื่อประชาชน ทำให้ประชาชน โดยประชาชน นี่เราต้องเอาประโยชน์ที่ถูกต้องของประชาชนทั้งหมด นั่นแหละเป็นใหญ่ สังคมนิยมก็เหมือนกัน ไม่ใช่เห็นแก่สังคม แต่เห็นแก่ประโยชน์ของสังคม มันจึงจะเป็นสังคมนิยม

เจิมศักดิ์: ถ้าท่านอาจารย์บอกว่า ประโยชน์ของประชาชนเป็นใหญ่ ไม่ใช่โดยประชาชน อาจจะโดยคนอื่นก็ได้

พุทธทาส: โดยคนอื่นก็ได้

เจิมศักดิ์: แต่ต้องให้ประชาชน

พุทธทาส: ให้ประชาชนได้รับประโยชน์จริง อย่างนี้จึงจะเป็นประชาธิปไตย ประชาชนเป็นใหญ่ แล้วมันไม่แน่ ประชาชนบ้าบอก็ได้ ของประชาชนโดยประชาชน ถ้าประชาชนเห็นแก่ตัวแล้วฉิบหายหมด


........


หน้า 85-86
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22-03-2007, 09:39 โดย เซ็งการเมืองศาสตร์ » บันทึกการเข้า

วิถีไท
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 50



เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 22-03-2007, 10:10 »

สาธุ  สาธุ  อนุโมทามิ

 
บันทึกการเข้า

ประชาธิปไตย  ประชาชนต้องเป็นใหญ่ในแผ่นดิน
AsianNeocon
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,277


中華萬歲﹗ LONG LIVE CHINA!


เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 22-03-2007, 11:03 »

อย่าสักแต่ สาธุ ๆ ๆ  ให้มันผ่านๆไป แต่ไม่ซึมเข้าหัวครับ ไม่มีประโยชน์ เลี่ยน

ป.ล. ผมไม่ใช่พุทธครับ แต่ผมนับถือลัทธิผีสางเทวดาและเทพเจ้า
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22-03-2007, 11:07 โดย เซ็งการเมืองศาสตร์ » บันทึกการเข้า

Sweet Chin Music
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,613



« ตอบ #4 เมื่อ: 22-03-2007, 11:14 »

อยากสาปแช่งให้กลุ่มหนักแผ่นดินกินหญ้าต้านรัฐประหาร ไปตายๆซะให้หมด
บันทึกการเข้า


You'll Never Walk Alone
เข้าไปกันได้ค๊าป- - - >http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=sweetchinmusic&group=1
วิถีไท
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 50



เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 22-03-2007, 11:21 »

 
บันทึกการเข้า

ประชาธิปไตย  ประชาชนต้องเป็นใหญ่ในแผ่นดิน
วิถีไท
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 50



เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 22-03-2007, 12:22 »

ควบคุมอารมณ์หน่อยนะครับ

แค่ไอค่อนสองตัวเอง  อย่าให้โทสะ  และโมหะ ครอบงำสิครับ

 
บันทึกการเข้า

ประชาธิปไตย  ประชาชนต้องเป็นใหญ่ในแผ่นดิน
ริวเซย์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4,637


Worrior in The Blue Armor


เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 22-03-2007, 12:30 »

มาแถลงเรื่องปชต. ถามจริงๆ ไอ้3คนนี่รู้เรื่องปชต.ดีแค่ไหน  Question

การใช้ปชต.แล้วกระทบสิทธิ์ประชาชนหมู่มาก กระทบสถาบัน เปิดทางให้อำนาจเก่ากลับมา แบบนี้เป็น ปชต.เหรอ 
บันทึกการเข้า

ถ้ามีแฟนแบบนี้เอาไหมครับ^^


วิถีไท
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 50



เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 22-03-2007, 12:36 »

คุณ ริวเซย์

ผมไม่รู้หรอกว่าท่านทั้งสามรู้ดีแค่ไหน

จึงมาโพสต์ให้แสดงความคิดเห็นไงครับ

แต่แปลกที่มีสมาชิกบางท่าน แทนที่จะวิจารณ์เนื้อหา

กลับมาตำหนิผม  ซึ่งมันผิดประเด็น

ผมไม่ได้มาก่อกวนเวบนี้  น่าจะมีมรรยาทกับผมบ้าง


ฝากคุณแคน  และผู้ดูแลด้วย
บันทึกการเข้า

ประชาธิปไตย  ประชาชนต้องเป็นใหญ่ในแผ่นดิน
ล้างโคตรทักษิณ
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 903



« ตอบ #9 เมื่อ: 22-03-2007, 13:01 »

ควบคุมอารมณ์หน่อยนะครับ

แค่ไอค่อนสองตัวเอง  อย่าให้โทสะ  และโมหะ ครอบงำสิครับ

หลงประเด็น แล้ว  คุณ mod จากเว็บล้มล้างในหลวง ผมถามว่า แค่ พวกขาเลียไอ้เหลี่ยม ด่าฝ่ายตรงข้ามนี้ แปลกมากเลยหรอ
 

คุณ ริวเซย์

ผมไม่รู้หรอกว่าท่านทั้งสามรู้ดีแค่ไหน

จึงมาโพสต์ให้แสดงความคิดเห็นไงครับ

แต่แปลกที่มีสมาชิกบางท่าน แทนที่จะวิจารณ์เนื้อหา

กลับมาตำหนิผม  ซึ่งมันผิดประเด็น

ผมไม่ได้มาก่อกวนเวบนี้  น่าจะมีมรรยาทกับผมบ้าง


ฝากคุณแคน  และผู้ดูแลด้วย

แน่ใจนะว่า คุณ mod จากเว็บหมิ่นสถาบันวันละ 9 เวลา ไม่รู้ว่า 3 ตัวนั้นเป็น ขาเชียร์เหลี่ยม

และ ผมก็แสดงความเห็นแล้วว่า ขี้ข้าเหลี่ยมอย่าง 3 ตัวนั่น ย่อมด่าศัตรูของนาย เป็นธรรมดา ดีใจไปก็เท่านั้น

หลายความเห็นคุณทำกิริยาแบบนี้จริงมั้ย ตอบไม่ได้ก็ทำไอคอนไปอย่างนั้น ไม่จริงก็แถลงไข

ว่าแบบนี้ คุณลองไปดูเว็บคุณด้วยนะครับ ว่า ทางโน้นก้ต้อนรับ ฝ่ายเกลียดทักษิณกันไม่แพ้ราชดำเนินเลย คุณเคยดูแลมั้ย? ใครเข้าไปค้านก็ยกพวกกันหมาหมู่รุมกันหยาบ เหตุผลหาไม่ได้ อย่าบอกว่า ไม่ผ่านสายตาmod อย่างคุณแม้แต่น้อย

หรือว่า ช่างมัน เชียร์ขวัญใจคนเดียวกันหืมม์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22-03-2007, 19:19 โดย ล้างโคตรทักษิณ » บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #10 เมื่อ: 23-03-2007, 13:56 »

ส่วนตัวแล้วผมเองก็ให้เครดิตกับ ดร.วรเจตน์ อยู่พอสมควรโดยเฉพาะในทางวิชาการ
โดยบทบาทที่ผ่านมาตั้งแต่สมัยรัฐบาลทักษิณ  ดร.วรเจตน์ ให้ความเห็นที่แสดงถึง
ความแม่นยำในหลักวิชามาตลอด เช่น กรณีการดำรงตำแหน่งของคุณหญิงจารุวรรณ

---

ดร.วรเจตน์เป็นคนเก่งคนนึง ในสายกฎหมายมหาชน ซึ่งเป็นสายวิชาที่คนไทยเรา
ไม่ค่อยเข้าใจ และเรามักสับสนนำหลัก กฎหมายอาญา กฏหมายแพ่ง มาใช้สรุป
กับเรื่องที่เป็นกฎหมายมหาชน กลายเป็นจุดอ่อนให้นักการเมืองรวมหัวกับนิติบริกร
หาความชอบธรรมจากการตีความกฎหมาย โดยเฉพาะในยุคทักษิณ

ดร.วรเจตน์ มีอายุอยู่ในรุ่นประมาณตัวผมนี่เอง ก็ถือว่ายังหนุ่มอยู่มากในวงวิชาการ
ยังมีอนาคตอีกยาวไกลนะครับ คิดว่าคงได้เห็นบทบาทแกไปอีกนานทีเดียว

ระบบความคิด มุมมองของ ดร.วรเจตน์ มักอ้างอิงหลักนิติรัฐ ของประเทศเยอรมัน
ที่ได้ไปเรียนจบปริญญาเอกมา และรัฐธรรมนูญ 2540 ก็มีหลายอย่างที่อิงเยอรมัน
จึงเป็นไปได้ว่าแกจะอินกับรัฐธรรมนูญ 2540 ที่เพิ่งถูกล้มไปเป็นพิเศษ

---

ผมเข้าใจ ดร.วรเจตน์ ที่มีความเห็นต่อต้านการรัฐประหาร แต่ในเรื่องนี้ผมไม่เห็นด้วย
เพราะกรอบความคิดแกทั้งหมดยึดแต่เรื่องนิติรัฐเป็นสรณะ (ตามประสานักนิติศาสตร์)
ทำให้โลกทัศน์แกอธิบายอะไรในสภาพการปฏิวัติไม่ได้เลยนอกจาก "ไม่ถูกต้อง"
และการล้มรัฐธรรมนูญก็เป็นสิ่งที่แกยืนยันได้อย่างเดียวว่า "รับไม่ได้"

และ ดร.วรเจตน์ มองทุกอย่างเป็นพัฒนาการทางนิติรัฐ เช่นถ้าจะเกิดเหตุรุนแรงขึ้น
จากมวลชนปะทะกัน หรือรัฐบาลโกงชาติไปเรื่อยๆ จนประเทศล่มจมล้มละลายไป
ก็จะทำให้ประชาชนได้เรียนรู้  แตทหารเข้ามาปฏิวัติเสียก่อนทำให้พัฒนาการทาง
นิติรัฐที่ ดร.วรเจตน์ คาดหวัง ต้องขาดตอนลง

สรุปว่า ดร.วรเจตน์ รับได้หมดไม่ว่าจะเกิดเหตุเสียหายยังไง ไม่ว่าจะมีใครตายบ้าง
หรือสมบัติชาติจะถูกโกงขนาดไหน แต่รับไม่ได้อยู่อย่างเดียวคือการล้มรัฐธรรมนูญ


---

ในขณะที่โลกแห่งความเป็นจริง ไม่ได้มีแต่นักกฎหมาย และคนแต่ละกลุ่มก็มีสิ่งที่ยึดถือ
เป็นสิ่งสำคัญสูงสุดแตกต่างกัน ยกตัวอย่างทหารที่ทำการยึดอำนาจโลกทัศน์ของทหาร
ไม่ได้อยู่ที่การเป็น "นิติรัฐ" แต่อยู่ที่กองทัพต้องคงความสามารถในการปกปักษ์รักษา
ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ไว้ให้ได้  การที่มีนักการเมืองพยายามแทรกแซงยึดครองกองทัพ
จึงเป็นสิ่งที่กองทัพยอมรับไม่ได้ เท่ากับที่ ดร.วรเจตน์ รับไม่ได้กับการล้มรัฐธรรมนูญ

ในขณะที่ทหารไม่ได้มองรัฐธรรมนูญเป็นสรณะ แต่มองที่ ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นหลัก
และที่ผ่านมารัฐธรรมนูญก็เขียนใหม่ได้เรื่อยๆ ตลอดมาในประวัติศาสตร์การเมืองไทย
ทหารจึงไม่ได้ให้ความสำคัญกับหลักนิติรัฐ แบบที่ ดร.วรเจตน์ ยึดถือ

นอกจากนี้ก็ยังมีเรื่องผลประโยชน์และอำนาจในกองทัพที่สืบเนื่องต่อกันมาโดยตลอด
พัวพันไปถึง ตำแหน่งแห่งที่ในองค์กรรัฐวิสาหกิจต่างๆ รวมทั้งเรื่องการจัดซื้อจัดจ้าง
ในแง่นั้นผมมองว่ากองทัพก็นับเป็นกลุ่มการเมืองอีกกลุ่มนึง ที่ต่อรองผลประโยชน์กับ
กลุ่มนักการเมืองมาตลอดประวัติศาสตร์ และในแง่นี้ทักษิณก็ไปล้ำเส้นเข้าด้วย

ดังนั้นโดยส่วนตัวผมเองจึงคิดว่าเข้าใจกองทัพในการปฏิวัติครั้งนี้เช่นเดียวกัน

---

อย่างไรก็ตาม ดร.วรเจตน์ คิดผิดที่ไปร่วมกับกลุ่ม หมอสันต์ หมอเหวง และครูประทีป
ซึ่งถูกตั้งข้อสงสัยว่ามีเบื้องหลังเกี่ยวพันกับกลุ่มรัฐบาลเดิมที่พยายามกลับคืนสู่อำนาจ
ซึ่งอาจทำให้ภาพลักษณ์นักวิชาการ ที่ยึดถือมาตลอดเสียหายไปเปล่าๆ

สิ่งที่ควร ดร.วรเจตน์ ควรทำคือเสนอความเห็นทางวิชาการโดยอิสระ ไม่ไปปรากฏตัว
ร่วมกับกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองใดๆ เหมือนกับที่ อ.ธีรยุทธ ถือปฏิบัติเป็นตัวอย่าง
และทำให้สามารถคงภาพลักษณ์นักวิชาการมาได้อย่างยืนยง

ถ้า ดร.วรเจตน์ รู้จักรักษาเนื้อรักษาตัวให้ดีๆ ขัดเกลาความคิดให้ตกผลึกและทะลุกรอบ
ของนิติศาสตร์ ก็น่าจะเป็นนักคิดนักวิเคราะห์ที่สำคัญอีกคนหนึ่งของสังคมไทยในอนาคต
หรือหากคิดยึดหลักนิติศาสตร์เป็นหลักต่อไป ก็ยังจะเป็นประโยชน์ในสายกฏหมายมหาชน
แต่ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะไปแสดงตัวเข้าร่วมกับกลุ่มเคลื่อนไหวการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
กลุ่มที่มีข้อสงสัยว่าพัวพันนักการเมือง


..ทั้งนี้นอกจาก ดร.วรเจตน์ ไม่อยากเป็นนักวิชาการต่อไป นั่นก็อีกเรื่องหนึ่งครับ..

---

สำหรับอีก 2 ท่านนั้นไม่อยากวิจารณ์ ขออนุญาตไม่ลงความเห็นแล้วกัน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23-03-2007, 14:01 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
วิถีไท
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 50



เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: 23-03-2007, 23:51 »

ขอบคุณครับคุณjerasak

สาระดีมากเลย 

แต่ผมก็มีมุมมองต่าง 

ยังเชื่อว่า อาจารย์ท่านนี้ คือเพชรเม็ดงาม
บันทึกการเข้า

ประชาธิปไตย  ประชาชนต้องเป็นใหญ่ในแผ่นดิน
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: 24-03-2007, 00:05 »

สำหรับผม


วรเจตน์ และชุมพล ยังพอฟังได้บ้าง ส่วนหมอสันต์ หมอเหวง หมอมิ้ง หมอเลี้ยบ ตอนนี้และอีกนานคงฟังไม่ได้ครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24-03-2007, 00:09 โดย ********Q******** » บันทึกการเข้า

วิถีไท
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 50



เว็บไซต์
« ตอบ #13 เมื่อ: 24-03-2007, 00:07 »

ทั้ง สี่ หมอ  ผมว่าควรเอาไปถมทะเลนะ

ไม่เคยชอบ  ดูแล้วไม่ค่อยจะซื่อเลย
บันทึกการเข้า

ประชาธิปไตย  ประชาชนต้องเป็นใหญ่ในแผ่นดิน
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #14 เมื่อ: 24-03-2007, 00:12 »

ผมตอบในราชดำเนินให้แล้วครับ

จับผิด วรเจตน์ได้หลายตอนมาก ๆ

ช่วงหลังผมให้เครดิตน้อยมากสำหรับวรเจตน์ โดยเฉพาะเรื่องตรรกะที่ว่า มีทางออกของ รัฐธรรมนูญ 2540

ก็แค่เรื่อง รัฐบาลออกกฎหมายขัดรัฐธรรมนูญ อาจารย์วรเจตน์ ตอบยังไง

กฎหมาย พรก.ฉุกเฉินอีก มองยังไงก็คือกฎหมายเผด็จการพลเรือน

พอวรเจตน์บอกว่า หลังเลือกตั้ง ตกลง ปฏิรูปการเมืองโดยนักการเมืองแล้ว

ผมกลับมองว่า ทักษิณและพรรคพวก ไม่ได้จริงใจในเรื่องนี้

โดยไปอ้างเรื่อง สัญญาประชาคม มาข่ม สัตยาบัน

วรเจตน์มองการเมืองสภาเป็นใหญ่ แต่ไม่เคยมองการเมืองภาคประชาชน

แถมคิดว่า สภาร่างที่ตัดนักการเมืองออกไม่ดี ผมกลับเห็นพวก อดีต สว. อดีต รมต. เดินกันเต็มในสภาร่างฯชุดนี้

แต่มองยังไงสภาร่างฯชุดนี้ ก็ยังดีกว่า ให้พวกนักการเมืองไปร่างกันเอง ชงเองกินเอง

มีอีกหลายเรื่องที่วรเจตน์พูดแล้ว ผมค้านได้เป็นฉาก ๆ

ถึงที่สุด ผมเลยมองว่า หากจะให้มีทางออกในรัฐธรรมนูญ ต้องกำหนดเป็นลายลักษณ์อักษรไปเลยว่า

เมื่อใด ที่นายกรัฐมนตรีต้องลาออก หรือควรลาออก เอาให้อับอายไปทั้งโลก

วรเจตน์บอกว่า ตรวจสอบรัฐบาลได้โดยสภา ผมว่าขี้หมาทั้งนั้น

ปปช.ก็เดี้ยง เด็ก ๆ ลูกศิษย์อาจารย์ ระดมชื่อประชาชนได้ 50,000 ชื่อ ไปทำอะไรนักการเมืองขี้โกงได้

ยิ่งวรเจตน์พูดมาก ๆ ผมยิ่งเหม็นขี้ฟัน

เด็ก ๆ จบป. 4 มันก็รู้ เผด็จการไม่ดี ปฏิวัติไม่ดี

ไม่ต้องให้ ด็อกพวกนี้มาชี้ให้ดู มันก็แค่คาบตำรามาให้ดู โดยไม่รู้ว่าตำรานั้นใช้สำหรับคนดี ใช้กับนักการเมืองที่ดีเท่านั้น

ตำรานั้นใช้สำหรับคนยอมรับตำรา...แต่ใช้ไม่ได้กับพวกใช้ตำราเป็นขี้ข้าเผด็จการเลือกตั้ง หรือเผด็จการรัฐสภา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24-03-2007, 12:05 โดย CanCan » บันทึกการเข้า

ลับ ลวง พราง
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 945



« ตอบ #15 เมื่อ: 24-03-2007, 00:13 »

ผมว่าหมอนพพร ดีสุด
บันทึกการเข้า

"คนฟุ่มเฟือย แม้จะรวยก็มักขัดสน คนประหยัด แม้จะจนก็มักมีเหลือเก็บ"
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #16 เมื่อ: 24-03-2007, 00:14 »

ทั้ง สี่ หมอ  ผมว่าควรเอาไปถมทะเลนะ

ไม่เคยชอบ  ดูแล้วไม่ค่อยจะซื่อเลย


นักการเมืองไทยและสังคมไทย ควรให้อิสรภาพทางวิชาการกับนักวิชาการโดยเฉพาะหน้าใหม่ มากกว่าที่เป็นอยู่ครับ..

บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #17 เมื่อ: 24-03-2007, 00:15 »

ผมว่าหมอนพพร ดีสุด

 
บันทึกการเข้า

วิถีไท
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 50



เว็บไซต์
« ตอบ #18 เมื่อ: 24-03-2007, 00:19 »

คุณแคน

อย่างว่าแหล่ะครับ  เรามองกันคนละมุม

ผมกลับมองว่า  อ.วรเจตน์ หนักแน่นในหลักการ

ถ้าไม่มีนักวิชาการที่แม่นในหลัก และถือหลักบ้าง

สังคมเราคงโคลงเคลงคล้ายแล่นเรือในมหาสมุทร


ผมชอบที่จุดยืน และความแม่นในช้อกฏหมาย
บันทึกการเข้า

ประชาธิปไตย  ประชาชนต้องเป็นใหญ่ในแผ่นดิน
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #19 เมื่อ: 24-03-2007, 00:22 »

ผมตอบในราชดำเนินให้แล้วครับ

จับผิด วรเจตน์ได้หลายตอนมาก ๆ

ช่วงหลังผมให้เครดิตน้อยมากสำหรับวรเจตน์ โดยเฉพาะเรื่องตรรกะที่ว่า มีทางออกของ รัฐธรรมนูญ 2540

ก็แค่เรื่อง รัฐบาลออกกฎหมายขัดรัฐธรรมนูญ อาจารย์วรเจตน์ ตอบยังไง

กฎหมาย พรก.ฉุกเฉินอีก มองยังไงก็คือกฎหมายเผด็จการพลเรือน

พอวรเจตน์บอกว่า หลังเลือกตั้ง ตกลง ปฏิรูปการเมืองโดยนักการเมืองแล้ว

ผมกลับมองว่า ทักษิณและพรรคพวก ไม่ได้จริงใจในเรื่องนี้

โดยไปอ้างเรื่อง สัญญาประชาคม มาข่ม สัตยาบัน

วรเจตน์มองการเมืองสภาเป็นใหญ่ แต่ไม่เคยมองการเมืองภาคประชาชน

แถมคิดว่า สภาร่างที่ตัดนักการเมืองออกไม่ดี ผมกลับเป็นพวก อดีต สว. อดีต รมต. เดินกันเต็มในสภาร่างฯชุดนี้

แต่มองยังไงก็ยังดีกว่า ให้พวกนักการเมืองไปร่างกันเอง ชงเองกินเอง

มีอีกหลายเรื่องที่วรเจตน์พูดแล้ว ผมค้านได้เป็นฉาก ๆ

ถึงที่สุด ผมเลยมองว่า หากจะให้มีทางออกในรัฐธรรมนูญ ต้องกำหนดเป็นลายลักษณ์อักษรไปเลยว่า

เมื่อใด ที่นายกรัฐมนตรีต้องลาออก หรือควรลาออก เอาให้อับอายไปทั้งโลก

มุมมองผมก็  รัฐมนตรีและสส.ด้วย หากถูกออกหลายคน นายกฯก็ต้องออกด้วย

วรเจตน์บอกว่า ตรวจสอบรัฐบาลได้โดยสภา ผมว่าขี้หมาทั้งนั้น

ปปช.ก็เดี้ยง เด็ก ๆ ลูกศิษย์อาจารย์ ระดมชื่อประชาชนได้ 50,000 ชื่อ ไปทำอะไรนักการเมืองขี้โกงได้

ยิ่งวรเจตน์พูดมาก ๆ ผมยิ่งเหม็นขี้ฟัน

เด็ก ๆ จบป. 4 มันก็รู้ เผด็จการไม่ดี ปฏิวัติไม่ดี

ไม่ต้องให้ ด็อกพวกนี้มาชี้ให้ดู มันก็แค่คาบตำรามาให้ดู โดยไม่รู้ว่าตำรานั้นใช้สำหรับคนดี ใช้กับนักการเมืองที่ดีเท่านั้น

ตำรานั้นใช้สำหรับคนยอมรับตำรา...แต่ใช้ไม่ได้กับพวกใช้ตำราเป็นขี้ข้าเผด็จการเลือกตั้ง หรือเผด็จการรัฐสภา

บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #20 เมื่อ: 24-03-2007, 00:27 »

พวกด็อกทางกฎหมายพวกนี้ ผมหมดศรัทธาไปนานแล้ว

แม่นในหลักการแต่ตีความให้เจ้านายไม่ติดคุก ประเภท กฎหมายไม่ได้ห้ามย่อมทำได้

ผมว่ามันตีความกฎหมายบ้า ๆ เอาตำแหน่งบริหารมาใช้มาตรฐานเดียวกับประชาชนที่ไม่มีอำนาจได้ไง

คนทำงานบริหาร มันต้องมีมาตรฐานเหนือกว่าประชาชน ต้องมีกรอบที่ห้ามก้าวข้าม

นี่เล่นตีความเข้าข้างเจ้านาย จนหมดเชื้อประชาธิปไตย กลายเป็นทำกฎหมายยังไงไม่ให้เจ้านายติดคุก

หาทางออกให้เจ้านายแบบหน้าด้าน ๆ ในทุก ๆ เรื่อง ไม่รู้จะตะแบงกันเข้ารกเข้าพงไปถึงใหน

พอลาออกมา ก็มาคุยว่า ผมค้านแล้ว นายกขอตัดสินเอง

มันหาเหตุผลอะไรมายุบสภา ขณะที่สภายังไม่ทันเปิดหรือยังไม่ทันพูดซักแอะ ตำราใหนสอนไว้

มาออกตัวหลังลาออกแล้ว...ไอ้บ้า..น่าจะรู้ตั้งนาน เจ้านายมันโกงกินประเทศ เสือกทำงานร่วมกันได้ไงเป็นวรรคเป็นเวร

พอโดนกระแสสังคมเอาไม่อยู่แล้วก็ถีบหัวส่ง...มันทุเรศมั๊ยล่ะ

แถมสังคมนักกฎหมายยังอาศัยพวกบ้า ๆ พวกนี้มาร่างกฎหมายอีก

สิ้นหวังแล้วละครับ...สำหรับพวกต่อต้านรัฐประหาร มันหมดความน่าเชื่อถือมานานแล้ว
บันทึกการเข้า

สี่หามสามแห่
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,460



« ตอบ #21 เมื่อ: 24-03-2007, 00:29 »

ไอ้พวกมอง และคิดฝันแบบ Ideal ทั้งนั้น ไม่เคยแหกตาออกมาดูโลกแห่งควา่มจริง

รัฐส่งไปเรียนนึกว่าจะได้คน กลับได้หมากลับมาตัว เอาแต่เห่าตามที่เรียนมา ไม่เคยแหกตาดูสภาวะแวดล้อม ความพร้อมของคนไทย

ถ้าจะรอให้เป็นอย่างที่มันคิด ประเทศไทยคงไปหมดแล้ว


บันทึกการเข้า
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #22 เมื่อ: 24-03-2007, 00:37 »



ปัญหาคือนักการเมืองไทยยุคนี้ หน้าด้านกว่าเก่า

แนวทางตุลาการภิวัฒน์ ยุติธรรมมาภิวัฒน์ น่าจะต้องผลักดันต่อไป

คือ ต้องก้าวข้ามระบบอุปถัมภ์ ระบบใช้อิทธิพลทางการเงินในแวดวงการเมืองและวิชาการให้ได้

ตัวบุคคลอาจจะมีได้บ้าง แต่หลักการที่ดีและถูกต้องไม่น่าถูกกระทบครับ

                                                                                                 
บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #23 เมื่อ: 24-03-2007, 00:45 »

หลักการดีผมเห็นด้วยทั้งนั้นแหละครับ

แต่รับไม่ได้กับพวกนักกฎหมายที่ตะแบงแค่ในตำรา

ดู ๆ ไปก็เหมือน "ทนายโจร" เข้าไปทุกที

พวกที่เค้า "ตกผลึกแล้ว" เค้าบอกว่า แม้ไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร...แต่เข้าใจ..

แบบนี้สิ คนมีสามัญสำนึก..มองออกว่ามันไม่รอดแล้ว ให้ลาออกก็ไม่ลา ให้เว้นวรรคก็ไม่ทำ

วรเจตน์เสนอแนวทางอื่น ที่ไม่ต้องปฏิวัติได้มั๊ย

หรือมองแค่ให้นักการเมืองเอาเงินไปซื้อเสียง...แล้วก็มาคอรัปชั่นอำนาจประชาชน

เวลาเค้าบอกว่า เค้ามี 19 ล้านเสียงนะ ไม่รู้สึกอยากอ๊วกบ้างหรือไง

อย่าบอกนะว่า ประชาชนเลือกมาต้องฟัง...

ระบบเลือกตั้งบ้านเรามันพิสูจน์อะไรได้...

มัวแต่อ้างคัมภีร์ อ้างหลักการ บ้านเมืองมันป่นปี้ โกงกินจนจะสิ้นชาติ เสือกมองไม่เห็น

เรียนกฎหมายมาเป็้นทนายโจรดีกว่ามานั่งสั่งสอนหลักการที่ไม่มีจริยธรรมกำกับ
บันทึกการเข้า

วิถีไท
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 50



เว็บไซต์
« ตอบ #24 เมื่อ: 24-03-2007, 00:49 »

ขอบคุณครับคุณแคน

เด๋วผมจะก๊อปไปให้อ.วรเจตน์อ่าน

ปาฐกถาคราวหน้า  เขาอาจจะพูดถึงเรื่องนี้บ้าง
บันทึกการเข้า

ประชาธิปไตย  ประชาชนต้องเป็นใหญ่ในแผ่นดิน
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #25 เมื่อ: 24-03-2007, 00:58 »

เค้าก็คงบอก ก็ไปร่างหลักจริยธรรมในรัฐธรรมนูญสิ

คนแบบนี้เชื่อแต่ตัวหนังสือ

เรียนกฎหมายมาได้ยังไง ไม่รู้ว่า มันมีกฎหมายจารีต มีกฎหมายที่ไม่จำเป็นต้องเขียนอีกมากมาย

ฝากให้ลองพูดเรื่องกฎหมายจารีต หรือหลักจริยธรรมของนักการเมืองอังกฤษ อเมริกา

ทำไมเค้ามี "ความละอาย" ทำไมญี่ปุ่นเค้าต้องลาออก ทำไมต้องคว้านท้อง

ถ้าอาจารย์วรเจตน์ไม่รู้ตรงนี้ ก็ควรเอาปริญญาไปคืนสำนักเค้าซะ

ให้ไปถามหาหลักแห่งความรับผิดชอบมาดูกันหน่อย

หรือจะปล่อยให้นักการเมืองหน้าด้าน ทำงานกันไป บนความเข้าใจของประชาชนที่เข้าใจหลักจริยธรรม

หากนักการเมืองจริยธรรมเสื่อมกว่าประชาชน อาจารย์วรเจตน์จะให้หลักแก้ไขยังไง

ฝากถามหน่อยครับ...
บันทึกการเข้า

meriwa
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,100



เว็บไซต์
« ตอบ #26 เมื่อ: 24-03-2007, 01:07 »

เห็นด้วยกับคุณ jerasak  ครับ

ผมเองมองว่า ดร.วรเจตน์ ฯ  ยึดในหลักการของกฏหมายมากกว่า คงไม่ได้เป็นพวกหรืออยู่กับกลุ่ม พรรค ทรท.หรอกครับ

อย่างที่คุณ jerasak  ว่าไว้   ว่าแต่ละกลุ่มต่างมองกันคนละมุม ขึ้นอยู่กับว่าใครจะให้น้ำหนักในเรื่องใดมากกว่ากัน

ปัญหาประเทศไทยตอนนี้คือเราไม่มีสิ่งยึดเหนี่ยว หรือเป้าหมายในการดำเนินชีวิต ว่าเราจะยึดอะไรกันแน่เป็นหลัก

จะเอาสถาบัน ชาติ ศาสนา  ประชาธิปไตย   หรือ ประชาชน  

คนส่วนใหญ่ไม่รุ้ความหมายของคำเหล่านี้ และไม่รู้ว่ามันมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร  มองภาพรวมไม่ออก เลยเถียงกันไม่จบ





บันทึกการเข้า

ผู้ปกครองระดับธรรมดา   ใช้ความสามารถของตน    อย่างเต็มที่
ผู้ปกครองระดับกลาง       ใช้กำลังของคนอื่น             อย่างเต็มที่
ผู้ปกครองระดับสูง           ใช้ปัญญาของคนอื่น           อย่างเต็มที่

                                                                  ...คำคมขงเบ้ง
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #27 เมื่อ: 24-03-2007, 01:13 »



ฝากถึงอาจารย์ วรเจตน์ ว่าดังนี้ครับ

ถ้าหากไม่ต้องการให้เกิดรัฐประหาร ก็ต้องทำให้ระบบยุติธรรมไทย

มีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลมากกว่านี้ สำหรับนักการเมืองและข้าราชการไทยครับ

                                                                                                                     
บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #28 เมื่อ: 24-03-2007, 01:21 »

ถ้าให้ผมเลือกตอนนี้ผมยังเชื่อทหารมากกว่านักการเมือง ( จะเรียกผมเป็น ขี้ข้าเผด็จการก็ว่าไป )

เพราะทหารเค้ามี "สถาบัน" แต่นักการเมืองมันร้อยพ่อพันแม่ บางทีหาพ่อไม่เจอ หาแม่ไม่เจอก็มี

"The cadets will not lie, cheat and steal, ....

หากทหารไม่รักษาเกียรติศักดิ์ ประชาชนเค้ายังไม่กลัวลูกปืน

สำมะหาอะไรกับพวกนักการเมืองไร้จริยธรรมพวกนั้น ( คิดหรือว่าประชาชนจะกลัว )


ผมว่า ตัวนักกฎหมายที่ว่าแม่นๆ หลักการต้องมองสังคม มองประเทศชาติโดยรวมก่อน

ไม่งั้นเถียงกันไม่จบ แล้วก็ต้องกลับไปหาบทความ "คนหัวเหลี่ยม" อีกละมั๊ง

พวกต้านรัฐประหารช่วงนี้ บอกวิธีเขียนรัฐธรรมนูญป้องกันทหารปฏิวัติได้มั๊ย

พวกนักกฎหมายพวกนี้ เขียนกฎหมายป้องกันนักการเมืองโกงได้มั๊ย...

เขียนให้ตายยังไง เรื่องพวกนี้ก็ต้องเกิดครับ เพราะมันขึ้นกับ "สำนึก" ของคนมากกว่า


ถ้ามันไม่ดี ก็มีแต่ประชาชนนี่แหละครับ ต้องออกมาช่วยกันด่า ช่วยกันประนาม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24-03-2007, 12:43 โดย CanCan » บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #29 เมื่อ: 24-03-2007, 01:30 »



มาถึงตรงนี้ ผมอยากจะเสนอแนวคิดสักหน่อย

คืออยากให้คิดคิดกันไว้บ้าง เรื่องรัฐบุรุษหรือ สภารัฐบุรุษครับ

มันควรจะต้องมีเกณฑ์คัดเลือกที่เข้มข้นกว่านักการเมืองปกติหลายเท่า

ในมุมมองของผลงาน ความเสียสละและจริยธรรมทางการเมือง

                                                                                       
บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #30 เมื่อ: 24-03-2007, 01:36 »

ลองอ่านข้อเสนอของ อ.ธีรยุทธ ซีครับ

เค้าเสนอให้มี "สภาจริยธรรม"

ที่มาชัดเจนดีครับ...สมาชิกก็พวกผู้อาวุโสทั้งหลาย ที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับของสังคม


แต่มาในสภาร่างฯ คงไม่มีคนนำเสนอครับ

ที่เค้าบอก จัดทำรัฐธรรมนูญแบบไทย ๆ ไงครับ

แต่คงไปไม่รอด...กรอบของสภาร่างฯ ก็เอาแค่ 2540 เป็นตัวตั้ง

ไม่ออกนอกกรอบนั้น


บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #31 เมื่อ: 24-03-2007, 01:51 »



มาถึงตรงนี้ ผมอยากจะเสนอแนวคิดสักหน่อย

คืออยากให้คิดคิดกันไว้บ้าง เรื่องรัฐบุรุษหรือ สภารัฐบุรุษครับ

มันควรจะต้องมีเกณฑ์คัดเลือกที่เข้มข้นกว่านักการเมืองปกติหลายเท่า

ในมุมมองของผลงาน ความเสียสละและจริยธรรมทางการเมือง

                                                                                       
ลองอ่านข้อเสนอของ อ.ธีรยุทธ ซีครับ

เค้าเสนอให้มี "สภาจริยธรรม"

ที่มาชัดเจนดีครับ...สมาชิกก็พวกผู้อาวุโสทั้งหลาย ที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับของสังคม


แต่มาในสภาร่างฯ คงไม่มีคนนำเสนอครับ

ที่เค้าบอก จัดทำรัฐธรรมนูญแบบไทย ๆ ไงครับ

แต่คงไปไม่รอด...กรอบของสภาร่างฯ ก็เอาแค่ 2540 เป็นตัวตั้ง

ไม่ออกนอกกรอบนั้น




แนวคิดอาจจะต่างกันอยู่บ้างคือ สภารัฐบุรุษ สามารถ ป้องกันการทับซ้อนหรือการกระทบทางการเมือง สำหรับส่วนของคณะองคมนตรีที่ควรเน้นการถวายงาน

ขณะเดียวกัน อาจจะมีบทบาทในการยับยั้งการตัดสินใจทางการเมืองและการบริหารของนักการเมืองปกติ ไม่ว่าจะ เป็นฝ่ายบริหาร สส. สว.ครับ..

โดยเน้นหลักการด้านคุณธรรมจริยธรรมและความน่าเชื่อถือเป็นหลัก และสามารถที่นักการเมืองจะใช้ยึดถือเป็นแบบอย่างในการพัฒนาตนเองได้..อย่างสนิทใจ

                                                                                                                                                                                                   
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24-03-2007, 07:08 โดย ********Q******** » บันทึกการเข้า

meriwa
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,100



เว็บไซต์
« ตอบ #32 เมื่อ: 24-03-2007, 02:17 »

ถ้าให้ผมเลือกตอนนี้ผมยังเชื่อทหารมากกว่านักการเมือง

เพราะทหารเค้ามี "สถาบัน" แต่นักการเมืองมันร้อยพ่อพันแม่ บางทีหาพ่อไม่เจอ หาแม่ไม่เจอก็มี

"The cadets will not lie, cheat and steal, ....

หากทหารไม่รักษาเกียรติศักดิ์ ประชาชนเค้ายังไม่กลัวลูกปืน

สำมะหาอะไรกับพวกนักการเมืองไร้จริยธรรมพวกนั้น


ผมว่า ตัวนักกฎหมายที่ว่าแม่นๆ หลักการต้องมองสังคม มองประเทศชาติโดยรวมก่อน

ไม่งั้นเถียงกันไม่จบ แล้วก็ต้องกลับไปหาบทความ "คนหัวเหลี่ยม" อีกละมั๊ง

พวกต้านรัฐประหารช่วงนี้ บอกวิธีเขียนรัฐธรรมนูญป้องกันทหารปฏิวัติได้มั๊ย

พวกนักกฎหมายพวกนี้ เขียนกฎหมายป้องกันนักการเมืองโกงได้มั๊ย...

เขียนให้ตายยังไง เรื่องพวกนี้ก็ต้องเกิดครับ เพราะมันขึ้นกับ "สำนึก" ของคนมากกว่า


ถ้ามันไม่ดี ก็มีแต่ประชาชนนี่แหละครับ ต้องออกมาช่วยกันด่า ช่วยกันประนาม


เห็นด้วยกับคุณ Can คับ ผมมองว่าไม่ว่าจะเขียนรัฐธรรมนูญให้ดีสวยหรูอย่างไร มันก็ไม่มีประโยชน์หาก  คนใช้ขาดจิตสำนึก มองแต่ตัวเองเป็นหลัก

เพราะเมื่อมองตัวเองเป็นหลักก็ย่อมต้องตีความกฏหมายเข้าข้างตัวเองเป็นธรรมดา    ปัญหาจริงๆแล้วมันไม่ได้อยู่ที่รัฐธรรมนูญ  แต่มันอยู่ที่สำนึกคน

หลักการปกครองที่ดี ต้องยึดประชาชนส่วนรวมเป็นหลัก ไม่ใช่ยึดกฏหมายเป็นหลัก

แต่นักปกครองจะใช้กฏหมายเป็นแนวทาง ในการปฏิบัติในเรื่องต่างๆ เพื่อให้เกิดความยุติธรรมสำหรับประชาชน

การจะใช้กฏหมายให้เกิดความยุติธรรมได้   ผู้ใช้ก็ต้องมีจิตสำนึกที่ดี  

ซึ่งก็คงไม่มีกฏหมายไหนเขียนอธิบายเอาไว้ว่าจิตสำนึกที่ดีมันต้องทำอย่างไร  




บันทึกการเข้า

ผู้ปกครองระดับธรรมดา   ใช้ความสามารถของตน    อย่างเต็มที่
ผู้ปกครองระดับกลาง       ใช้กำลังของคนอื่น             อย่างเต็มที่
ผู้ปกครองระดับสูง           ใช้ปัญญาของคนอื่น           อย่างเต็มที่

                                                                  ...คำคมขงเบ้ง
วิถีไท
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 50



เว็บไซต์
« ตอบ #33 เมื่อ: 24-03-2007, 08:41 »

ส่งให้แล้วครับ



ถ้ามีอะไรเพิ่มเติม  ก็โพสต์ไว้นะครับ
บันทึกการเข้า

ประชาธิปไตย  ประชาชนต้องเป็นใหญ่ในแผ่นดิน
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #34 เมื่อ: 24-03-2007, 11:57 »

รัฐธรรมนูญ มันแค่ส่วนประกอบหนึ่งของระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น

ไปเคารพอะไรกันนักหนา จนกระทั่งใครแตะไม่ได้

รัฐธรรมนูญไม่ใช่พระเจ้าที่ต้องกราบกราน ถ้ารัฐธรรมนูญไม่มีผลงานก็ทิ้งมันไป

ฝรั่งเศส ล้มรัฐธรรมนูญ เขียนใหม่ครั้งสุดท้าย ( ครั้งที่ 18 ) ในสมัย เดอ โกลด์ ไม่ใช่เหรอ

เมื่อเร็ว ๆ นี่เอง ( ผมจำขี้ปาก อ.ปราโมทย์ นาครทรรพ มาครับ )

วิธีการเขียนรัฐธรรมนูญ จริง ๆ มันไม่ต้องใช้คนเขียนเป็น "ร้อย" แบบที่เราทำกัน

ความสำคัญมันขึ้นกับการรับฟังอย่างกว้างขวางในหมู่ประชาชนทั้งประเทศ

ใช้คนเขียนที่เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า "ประชาธิปไตย" ว่ามันคืออะไร มีหลักความสัมพันธ์ของอำนาจอย่างไร

ใช้อำนาจยังไงไม่ให้ก้าวก่ายสิทธิ์ของประชาชน

จะว่าไป ผมยังชอบอยู่มาตราหนึ่ง ( คือ มาตรา 3 ในรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2549 )

เค้าบอกว่า บรรดาสิทธิ์ที่ประชาชนเคยมี ยังคงอยู่ ความหมายประมาณนี้แหละครับ คือเขียนคลุมไว้หมด

( ถ้าจะแย้งเรื่องควรหรือไม่ควรปฏิวัติ ลองอ่าน บทปรารภของรัฐธรรมนูญชั่วคราวนั้น...แล้วหาเหตุผลมาแย้งได้ครับ )


รัฐธรรมนูญในแง่หนึ่ง คือการประกันสิทธิมนุษยชน อันเป็นที่มาของระบอบประชาธิปไตย

แต่เมื่อรัฐ หรือ รัฐบาล ไปรุกล้ำสิทธิมนุษยชน ถึงขนาดฆ่ากันตาย 2,500 ศพ

หรือโยนให้คนนอนทับกันตาย นับร้อยศพ

เรื่องแบบนี้ ทนกันอยู่ได้ยังไง

มีรัฐธรรมนูญแล้วไม่ทำตาม มันก็ไร้ค่า การเมินเฉยต่อสิทธิของมนุษย์ในรัฐธรรมนูญของผู้บริหาร

มันก็เท่ากับ "รัฐธรรมนูญตายแล้ว" จะไปเสียดายอะไรกับ 336 มาตราบ้า ๆ พวกนั้น

อาจารย์ก็คงบอกว่า ก็ต้องไปโทษ รัฐบาล โทษนายก ...แล้วจริง ๆ นายกมีอำนาจนั้นหรือไม่

หรืออาจจะหัวหมอ บอกว่า "นายกไม่ได้สั่ง"...ก็ว่ากันไปได้เรื่อย ๆ

หรือไม่ก็วนกลับมาอีก "ไปแก้กฎหมายสิ"....

เมื่อนักการเมืองไม่เคารพกฎหมาย...กฎหมายเอาผิดไม่ได้ ตัวนักการเมืองไม่มีสำนึกความรับผิดชอบ

รัฐธรรมนูญดีแค่ใหน ก็ "เอาไม่อยู่ครับ"

หากบอกว่า แล้วทำไมต้องไปล้มล้างรัฐธรรมนูญ อ้าว....ไม่ล้มล้างก็โดนพวก"หัวหมอ" ใช้ มาตรา 63-65 มาเล่นงานทีหลังสิ

"โทษกบฎ" นั่นมันน้อยซะเมื่อไหร่...นี่เค้ายังหนาว ๆ กันอยู่ว่า

พวก "หัวหมอ" กำลังจะ "ปั่นหัวประชาชน" หาเรื่อง "กบฎย้อนหลัง"

คนที่ยังคัดค้านการล้มล้างรัฐธรรมนูญคราวนี้ ควรจะเก็บไปคิดใหม่

การล้างกองโจร ควรต้องใช้กำลังหรือไม่

การกวาดล้างพวกไม่เคารพกฎหมายที่มี "กองกำลัง" ควรใช้่กองกำลังที่เหนือกว่าหรือไม่

ส่วนประชาชนที่ลุ่มหลงไปชั่วคราว กับภาพ "นักบุญ" หรือ "ซุปเปอร์นายก" หากคิดให้มาก ๆ อาจพอเยียวยาได้

เพราะไม่ว่าคุณจะทำความดีให้ประเทศมากแค่ใหน

แต่หาก "จงใจ" ละเมิดสิทธิมนุษยชน นั่นคือ "คุณหมดความชอบธรรม"

...ไม่ว่าคุณจะทำความดีให้ประเทศมากแค่ใหน

แต่หาก "จงใจทุจริต เล่นพรรคเล่นพวก( ปกป้อง ) " นั่นคือ "คุณหมดความชอบธรรม"

...ไม่ว่าคุณจะทำความดีให้ประเทศมากแค่ใหน

แต่หาก "คิดว่าประเทศไทยแก้ไขคอรัปชั่นไม่ได้ " นั่นคือ "คุณหมดความชอบธรรม"

คนประเภทนี้ ไม่เหมาะสมด้วยประการทั้งปวงที่จะให้เข้าสู่อำนาจ

เอาเหอะ ผมอาจเรียนน้อย แต่ใครจะท้ากินโอเลี้ยงกันมั๊ยล่ะ

รัฐธรรมนูญฉบับที่กำลังร่างกันอยู่นี่ จะถูกฉีกอีกครั้ง...ในเวลาไม่นานนี้แหละ

เหตุผลก็คือ คนใช้รัฐธรรมนูญ ไม่มีความศรัทธาในกฎหมายนั่นเอง

ยิ่งพวกนักกฎหมายที่เล่นเอาหลักการย่อย ๆ ไปล้มล้างหลักการใหญ่

มองยังไงก็ยุ่งครับ...ยิ่งไปเข้าข้าง "ทักษิณ" ใช้คำว่า ทักษิณก็เป็นประชาชนคนไทย

มันผิดตั้งแต่วิธีคิดแล้ว เพราะทักษิณคือ "ผู้บริหารประเทศที่ไร้มนุษยธรรม"

ทักษิณคือ..."นักโทษของสังคม"...ไม่ใช่อยู่ในฐานะประชาชนคนไทยธรรมดาแล้ว

ทักษิณ คือ "ผู้ต้องหาของสังคม"....ไม่ใช่ประชาชนคนไทยตามปกติ ไม่ใช่ชาวบ้านตาดำ ๆ นะครับ

นึกถึงวิธีที่ทักษิณใช้ในการปราบยาเสพติดเอาก็แล้วกัน...ทักษิณอาจกลายเป็น "เหยื่อ" มีสิทธิ์ถูก"อุ้มฆ่า"

เช่นเดียวกับพวก ที่ต้องสงสัยว่า "ค้ายาเสพติด" นั่นแหละครับ

เพื่อความปลอดภัยของระบอบประชาธิปไตย ทักษิณคือ เป้าหมายที่ต้องกำจัดครับ

เมื่อทักษิณชอบ "ตาต่อตา ฟันต่อฟัน" ผมเชื่อว่ามีคนไทยอีกหลายคนชอบที่จะใช้วิธีการเช่นนั้นกับคนอย่าง "ทักษิณ"

เพราะนายกสุรยุทธ์บอกว่า...คนเราย่อมมี "ด้านมืด" ด้วยกันทุกคน ( ผมล่ะหนาวแทนจริง ๆ )

ทักษิณได้ยินแล้ว...อยู่นอกประเทศดีที่สุดครับ

ผมเชื่อว่าบนแผ่นดินนี้ คุณไม่มีที่ยืนอีกแล้ว...เชื่อเถอะ..


เพราะหากทักษิณเข้ามา ผมเชื่อว่า "เลือดจะนองแผ่นดิน"

ไม่เชื่อก็ลองดูครับ




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24-03-2007, 12:39 โดย CanCan » บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #35 เมื่อ: 24-03-2007, 12:30 »

อ้อ...ผมชอบไปหาความรู้กฎหมายมหาชนจากที่นี่ครับ แอบ ๆ เก็บเก็บความรู้บ่อย ๆ

ที่นี่ครับ

http://www.pub-law.net/

คนที่ทำก็เรียนกฎหมายมาจากเยอรมันเหมือนกัน มีความเห็นหลากหลายดีครับ
บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #36 เมื่อ: 24-03-2007, 13:18 »

อ่านความเห็นคุณ jerasak เห็นด้วยเกือบทั้งหมด

หลัก "นิติรัฐ" ที่ว่า มันแล้วแต่คนจะตีความกระมังครับ อิ อิ

มันเลยเป็นปัญหา "งูกินหาง" ด่ากันได้ไม่จบ

คนเกลียดทหารหรือการปฏิวัติ ก็บอก เอ็งมาทำทำไม เอ็งทำลายหลักนิติรัฐ

ฝ่ายที่คิดว่าต้องทำก็บอก..เอ็งนั่นแหละ ไม่เคารพกฎหมาย ทำลาย "หลักนิตรัฐ" มาก่อน

สุดท้ายก็ต้องมาสรุปด้วยคำตอบของคุณ ********Q********

ที่ว่า ต้องไปทำให้กระบวนการยุติธรรมให้เข้มแข็ง

ถ้าขบวนการตรงนั้นยังไม่เข้มแข็ง คงแก้ปัญหาไม่ได้หรือก้าวพ้นปัญหาการปฏิวัติไปไม่ได้

เว้นแต่ จะตัดวงจร ตัดสาเหตุ ตัดเหตุผลของพวกชอบปฏิวัติลงไปให้ได้

ยิ่งถ้าพฤติกรรมของผู้บริหารบ้านเมืองเละเทะ....ไปเข้ากับกระแสต่อต้านในสังคม การปฏิวัติยิ่งเกิดง่าย

ผมว่าคนคิดทำปฏิวัติก็คิดแล้วคิดอีก...เพราะโทษมันถึงตาย...แถมจะโดนข้อหาที่เสียหายไปถึงญาติมิตรทั้งหมด

คงไม่มีใครอยากได้ชื่อว่า "กบฎ" หรอกครับ...

แต่ถ้าจะ "ด่าเพื่อให้เป็นหลักฐาน" ก็ด่าไปเถอะครับ

มันอาจจะเตือนใจนักปฏิวัติทั้งหลายไว้บ้าง

ว่ามันไม่ถูกต้อง...

( แต่ก็ไม่รู้จะไปย้ำทำไม...เค้ารู้กันทั้งบาง ว่าปฏิวัติรัฐประหารคือความไม่ถูกต้อง )

จะว่าไปเหมือนท่อง "ศีลข้อหนึ่ง" ให้ชาวพุทธฟังนั่นแหละครับ

อย่างมากก็ ..."สาธุ"....เหมือนชาวพุทธทั่ว ๆ ไป

พอรับศีลเสร็จ ก็ไปนั่งดวดเหล้าต่อ...จ้อเรื่องโกหกพกลมกันต่อไป...พอ ๆ กัน


บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #37 เมื่อ: 24-03-2007, 13:30 »

อ่านความเห็นคุณ jerasak เห็นด้วยเกือบทั้งหมด

หลัก "นิติรัฐ" ที่ว่า มันแล้วแต่คนจะตีความกระมังครับ อิ อิ

มันเลยเป็นปัญหา "งูกินหาง" ด่ากันได้ไม่จบ

คนเกลียดทหารหรือการปฏิวัติ ก็บอก เอ็งมาทำทำไม เอ็งทำลายหลักนิติรัฐ

ฝ่ายที่คิดว่าต้องทำก็บอก..เอ็งนั่นแหละ ไม่เคารพกฎหมาย ทำลาย "หลักนิตรัฐ" มาก่อน

สุดท้ายก็ต้องมาสรุปด้วยคำตอบของคุณ ********Q********

ที่ว่า ต้องไปทำให้กระบวนการยุติธรรมให้เข้มแข็ง

ถ้าขบวนการตรงนั้นยังไม่เข้มแข็ง คงแก้ปัญหาไม่ได้หรือก้าวพ้นปัญหาการปฏิวัติไปไม่ได้

เว้นแต่ จะตัดวงจร ตัดสาเหตุ ตัดเหตุผลของพวกชอบปฏิวัติลงไปให้ได้

ยิ่งถ้าพฤติกรรมของผู้บริหารบ้านเมืองเละเทะ....ไปเข้ากับกระแสต่อต้านในสังคม การปฏิวัติยิ่งเกิดง่าย

ผมว่าคนคิดทำปฏิวัติก็คิดแล้วคิดอีก...เพราะโทษมันถึงตาย...แถมจะโดนข้อหาที่เสียหายไปถึงญาติมิตรทั้งหมด

คงไม่มีใครอยากได้ชื่อว่า "กบฎ" หรอกครับ...

แต่ถ้าจะ "ด่าเพื่อให้เป็นหลักฐาน" ก็ด่าไปเถอะครับ

มันอาจจะเตือนใจนักปฏิวัติทั้งหลายไว้บ้าง

ว่ามันไม่ถูกต้อง...

( แต่ก็ไม่รู้จะไปย้ำทำไม...เค้ารู้กันทั้งบาง ว่าปฏิวัติรัฐประหารคือความไม่ถูกต้อง )

จะว่าไปเหมือนท่อง "ศีลข้อหนึ่ง" ให้ชาวพุทธฟังนั่นแหละครับ

อย่างมากก็ ..."สาธุ"....เหมือนชาวพุทธทั่ว ๆ ไป

พอรับศีลเสร็จ ก็ไปนั่งดวดเหล้าต่อ...จ้อเรื่องโกหกพกลมกันต่อไป...พอ ๆ กัน






ผมเสนอข้อคิดก็แล้วกันครับ คือ

กฎและหลักทุกชนิดมีข้อยกเว้น เพียงแต่ทว่า อย่าพยายามทำให้ข้อยกเว้นกลายเป็นกฏ

                                                                                                                   
บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #38 เมื่อ: 24-03-2007, 14:00 »


ผมเสนอข้อคิดก็แล้วกันครับ คือ

กฎและหลักทุกชนิดมีข้อยกเว้น เพียงแต่ทว่า อย่าพยายามทำให้ข้อยกเว้นกลายเป็นกฏ

                                                                                                                   

ของชอบของ "โภคิณ วิษณุ บวรศักดิ์" เลยครับข้อยกเว้นแบบนั้น

ที่มันวุ่น ๆ ทุกวันนี้ ก็พวกนักกฎหมายพวกนี้แหละ ตีความให้มันยุ่ง..


พวกชาวบ้านอย่างเรา ๆ ก็มักถูกนักกฎหมายพวกนี้ เหยียบปากไม่ให้พูด

ดีไม่ดีหาว่าเราไม่เรียนหนังสือว่าเข้าไปโน่น...

ลอง ๆ ไปอ่านข้อเสนอของ ทาง http://www.pub-law.net/

บทบรรณาธิการวันนี้ เสนอเรื่อง "ศาลรัฐธรรมนูญ" ควรให้ประชาชนร้องได้โดยตรงมั๊ย...

นิติรัฐ ไม่นิติรัฐ แต่ "ความล่าช้าของขบวนการยุติธรรม" ก็ทำให้ความยุติธรรมเสียหายใช่มั๊ยครับ
บันทึกการเข้า

snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #39 เมื่อ: 24-03-2007, 15:27 »

ทหารที่ดี ย่อมไม่ออกมายึดอำนาจของปวงชน
แล้วเอาไปใช้แต่งตั้งพวกพ้องน้องพี่ไปเป็นบอร์ดรัฐวิสาหกิจ
สมาชิกสภานู้นนี้ ซ้ำซาก รับเงินเดือนหลายแห่งหรอก
ประวัติศาสตร์ก็มีอยู่และยังคงดำเนินรอยตามต่อไป
แถมคราวนี้มีนวัตกรรมใหม่ เบิกจ่ายค่าทำรัฐประหารอย่างเปิดเผย
ไม่ต้องละอายหลบซ่อนกันแล้ว เพราะมีผู้ให้ท้ายมากมายเหลือเกิน
เพิ่มงบประมาณที่ตรวจสอบไม่ได้ มาสร้างความเข้มแข็งให้พวกตัวเอง
ไว้ใช้ในการครอบครองควบคุมประเทศต่อไป

พฤติการณ์ ปรากฏชัดเจนขนาดนี้ ยังมีผู้หลับหูหลับตาบอกว่าดีอยู่ได้
ที่รัฐประหารเกิดแล้วเกิดอีกในประเทศนี้ จนเป็นสถิติมากครั้งที่สุดในโลก
ส่วนหนึ่งก็เพราะประชาชนบางพวก จะโดยโดนหลอกหรือเต็มใจให้หลอก
ไปเรียกร้องหรือยินยอมให้มี การใช้อำนาจนอกระบบมาแก้ปัญหา
ที่แก้ไม่ได้ด้วยการใช้กำลัง หรืออ้างคุณธรรมสูงส่งทีพวกตนก็ไม่มี

เชิญแสดงความมีคุณธรรมด้วยการห้ามนักรัฐประหาร
เข้าไปรับตำแหน่งในบอร์ดรัฐวิสาหกิจ
โดยเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับร่างตามใจทั่น
ซึ่งถ้าประชาชนไม่โหวตรับ ตามสิทธิเสรีภาพอันพึงมี
(แต่กลับโดนประณามด้วยข้อหาว่าไม่รักชาติ
เพราะไม่ยอมรับการใช้อำนาจของคณะรัฐประหาร)
ก็จะหยิบฉบับไหนไม่บอก ออกมาใช้ตามใจชอบนั้น
และจงยุติความคิดจะทำรัฐวิสาหกิจเพิ่ม
เพื่อให้พวกใหม่ที่ทำพฤติกรรมตามรอยเดิม
มีเก้าอี้นั่งมากขึ้นในอนาคตของประเทศนี้
ที่จะคงมีการเอารถถังออกมาเป้นวงจรอุบาทว์
ด้วยยังคงมีประชาชนบางพวกที่ยินยอมพร้อมใจ
สนับสนุนให้ทหารออกมายึดอำนาจได้สืบไป
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #40 เมื่อ: 24-03-2007, 17:35 »

ผมบอกแล้วไง แม้ร่างมาก็ไม่มีความชอบธรรมจากคนอีกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเสียงดังกว่าชาวบ้าน

ร่างดีแค่ใหน มันก็ลูกเผด็จการ...ลูกคณะปฏิวัติ...พ่อมันเลว ลูกมันต้องเลว ว่างั้นเถอะ

ถึงบอกว่า อีกไม่นานเกินรอ ได้แก้ไขแน่นอน...ใจเย็น ๆ...

ใช้ฉบับนี้ไปให้มีเลือกตั้งครั้งเดียว เดี๋ยวก็มีฉบับนักการเมืองเข้าไปแก้ไข ประวัติศาสตร์มันเป็นเช่นนั้น

ไม่ต้องห่วงว่าจะไม่ได้แก้ "รัฐธรรมนูญใหม่" ทางเดินของมันมีอยู่แล้ว

เมื่อสนับสนุนทรราชหน้าเหลี่ยมเห็นทรราชโกงบ้านโกงเมืองเป็นแสนๆ ล้าน ยังทำหน้าตาเฉย

เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็ย่อมมีอีกพวก ที่ยังไงก็ไม่เอาเหลี่ยม พร้อมที่จะสนับสนุนเอาดอกไม้ไปฝากทหาร

เมื่อมีพวกต่อต้านรัฐประหารขึ้นมา พวกต่อต้านทรราชเหลี่ยมก็นั่งเฉย ๆ ปล่อยให้พวกนี้ใช้วิธีการโจรปราบโจร

พอมันโค่นกันไปจนหมด ทีนี้ก็เรื่องของชาวบ้านแล้ว

กลัวอะไร พระอาทิตย์ยังขึ้นทางตะวันออกอยู่มิใช่หรือ ทหารร่างให้ไม่ดีพอ คราวนี้ก็ขอแก้กันใหม่สิ

ฝรั่งเศสมันยังแก้ไข ล้มลุกคลุกคลานมา 18 ครั้งไม่ใช่เหรอ...เรื่องรัฐธรรมนูญของมันน่ะ

แล้วเราก็ไปลอกเค้ามา เลือกช้อปปิ้งรัฐธรรมนูญเป็นประเทศ ๆ ไม่ว่าอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน อเมริกา

ล่าสุดบอกว่าไปเอามาจากศรีลังกา เฮ่อ...

ผลออกมาก็เป็นรัฐธรรมนูญร้อยพ่อพันแม่ จะเอาอะไรก็ไม่ยึดเอาซักอย่าง

ปฏิวัติมา 70 ปี ยังมาเถียงกันไม่เสร็จว่า จะมีสภาเดียวหรือ 2 สภา

ถ้ามี 2 สภา วุฒิจะแต่งตั้งหรือเลือกตั้ง....

เรียนหนังสือเรื่องประชาธิปไตยมา 70 ปี เสือกโง่ไม่จบ ป.4 พายเรือในอ่างอยู่ยังงั้น

อยากมีกรรมการสิทธิมนุษยชน แต่เสือกไม่ให้อำนาจเค้า

อยากมีผู้ตรวจการรัฐสภา เสือกไม่ให้อำนาจเค้า...

อยากมีศาลรัฐธรรมนูญ แต่ปิดประตูห้ามประชาชนเข้า บ้าเปล่า..

ป่านนี้ยังไม่รู้เลย อยากได้นายกคนนอกหรืออยากได้นายกมาจาก สส.

แถมมีพวกบ้า ๆ อยากได้เลือกนายกโดยตรง...ไปโน่นเลย...

อีกสิบชาติก็หาตัวตนไม่เจอครับ...หาไปเถอะ....เถียงกันไปเถอะ


ว่าแต่ว่า ไม่ลองไปถามอีตามีชัยแกดูล่ะ ร่างมากี่ฉบับแล้ว ตกผลึกได้อะไรออกมาบ้าง

กล้าไปเถียงกับแกมั๊ย...หรือว่า ชื่อ-ชั้น มันไม่ถึง
บันทึกการเข้า

stromman
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 526



« ตอบ #41 เมื่อ: 24-03-2007, 19:25 »

ขยันพิมพ์กันจังครับ
ผมของี้แล้วกัน ไม่ว่านานแค่ไหนต้องล้มล้างระบอบหน้าเหลี่ยมให้ได้ทั้งโครตไม่มีวันปลี่ยนความตั้งใจ
บันทึกการเข้า
วิถีไท
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 50



เว็บไซต์
« ตอบ #42 เมื่อ: 24-03-2007, 19:51 »


ผมส่งต่อให้อาจารย์วรเจตน์แล้วนะครับคุณแคน

ขอบคุณครับที่เสนอแนะสิ่งที่ดีดี
บันทึกการเข้า

ประชาธิปไตย  ประชาชนต้องเป็นใหญ่ในแผ่นดิน
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #43 เมื่อ: 24-03-2007, 21:35 »

อาจารย์ อายุยังน้อย ยังมีโอกาสอีกเยอะครับ...โอกาสที่จะต่อสู้เรื่องกฎหมายมหาชน ยังมีอีกเยอะ

ไม่ลองฟังคนแก่ ๆ ที่เรียนด้านนี้มา อย่าง อ.ปราโมทย์ นาครทรรพ รุ่นโน้น...อ.ชัยอนันต์ รุ่นโน้น

หรือไปถาม นายชวน นายอานันท์ บ้าง คนพวกนี้ ใช้รัฐธรรมนูญมาหลายฉบับ เห็นข้อดีข้อเสียมาเยอะ

ระดับ อ.วรเจตน์ เข้าไปขอความรู้ ท่านไม่หวงหรอกครับ รับฟังให้กว้าง ๆ แล้วไปปรับเอาเอง

ลองเชื่อมโยงบริบทของสังคมไทยดูครับ

เก็บเกี่ยวเอาการตกผลึกและแนวทางที่ควรจะเป็น...ของคนรุ่นเก่าก็ไม่เลวหรอก

แก้ไขกันมา 17 ครั้ง แต่ที่เป็นรัฐธรรมนูญ ถาวรจริง ๆ ไม่เกิน 7 ฉบับมั๊งครับ

ก่อน 2500 ที่เป็น ฉบับถาวร 3 ฉบับ

ฉบับที่ร่างนานที่สุด 10 ปีจาก 2501-2511 ได้ใช้จริง ปี 2512 อยู่ 2 ปีกว่า ก็ปฏิวัติตัวเองจนเกิด 14 ตุลา

ฉบับ 2517 ที่ว่าเป็นประชาธิปไตยที่สุด ได้ใช้ ปี เศษ ๆ ก็โดน ปฏิรูปใน 6 คต. 19

ฉบับที่ใช้นานอีก ก็ฉบับ 2521 นั่นก็ไม่ได้กำหนดเรื่อง นายกต้องมาจากใหน ขอให้สภารับรองเป็นอันว่าใช้ได้

ฉบับนี้ใช้นาน มาจนโดน รสช.ปี 2534

ฉบับประชาชน 2540 ก็ใช้นาน 9 ปี มีหลักการดี โต้แย้งยาก แต่โดนคนเก่งกฎหมายลากเข้ารกเข้าพง จนประชาชนสับสน

มันเป็นไปได้ยังไง "รัฐธรรมนูญที่ดีที่สุดของเมืองไทย" แต่สร้างความวิกฤติที่สุดในโลก

ลอง ๆ ไปคิดเอานะครับ ทำไมมันเป็นเช่นนั้น ที่ว่า 2540 ดีที่สุดเท่าที่มีมา...."มันดีจริงหรือ"

ถ้ามันดี ทำไมเกิดวิกฤติรัฐธรรมนูญ ลองไปหาดู "ข้อเสียบ้าง"

อย่าไปมองว่า....

รัฐธรรมนูญที่พ่อแม่เป็นประชาชนต้องดีที่สุด

รัฐธรรมนูญจากปากกระบอกปืนต้องเลวทุกฉบับ

ถ้าใช้ ตรรกะนี้ตัดสิน เจ๊งตั้งแต่เริ่มแล้วครับ เพราะคนร่างไม่ใช่ใช้ปากกระบอกปืนร่าง แต่มันร่างจากนักกฎหมายนี่แหละ

ความแตกต่างมันอยู่ที่ว่า มีการถกเถียงกันในหมู่ประชาชนอย่างกว้างขวางหรือไม่

ผมเกรงว่า นักวิชาการที่มองแต่มุมของตัวเอง ไม่ลอง ๆ คบหาพวกนอกวงการดูบ้าง

อาจได้ "มุมมอง" ที่แตกต่าง และมีมุมมองจากสังคมภาคส่วนอื่น

ลองร่วมคิดกับ นักเศรษฐศาสตร์ นักมนุษย์วิทยา สังคมวิทยาดูบ้างซีครับ

เพราะรัฐธรรมนูญ มันเป็นตัวกำหนดระเบียบของสังคม

การแสดงจุดยืนชัดเจนมันก็ดีหรอกครับ...แต่ไม่ลองนึกถึง "นักต่อสู้" รู่นก่อน ๆ ทำไมเค้าทำใจได้

ใครมีไฟ...ก็เดินต่อไปครับ...พระอาทิตย์ยังขึ้นทางตะวันออก

สังคมก็ขับเคลื่อนไป...วิชาการก็หลากหลายขึ้น...กฎหมายบางทีก็ตามไม่ทัน

แต่สิ่งที่อยากฝากไว้ก็คือเรื่อง ความถูกต้องทั้งทางกฎหมายและศีลธรรม

ที่สำคัญแนวคิด สังคมนิยม กับทุนนิยม มันค้านกันอยู่ในตัว

ประกาศตรงนั้นให้ชัดว่า เราจะเป็นเสรีนิยม หรือสังคมนิยม เอาเจ้าหรือไม่เอาเจ้า

ถึงตรงนั้นเราก็จะรู้เรื่อง "ความหนักเบา" ของการห้าม การไม่ห้าม ตามความเหมาะสม

ถ้ายังไม่เชื่อว่าเราจะเดินทางประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มันก็จะทะเลาะกันไปไม่สิ้นสุด

เพราะคิดคนละตำรา คิดกันคนละบริบทของสังคม มันไม่มีวันกลมกล่อมได้หรอกครับ

ยิ่งคนไทยใจโลเล หาแก่นแท้ยาก...มันขึ้นกับกระแสฝ่ายใหนมาแรง และ "มีโอกาส" ทำกฎหมายแค่นั้นเอง

อยากดูรัฐธรรมนูญไทย ก็้ดูนิสัยคนไทย ดูลายกนกในงานศิลป์นั่นซีครับ...

คนนิยมฝรั่งบอกรุงรัง ไม่น่าดู แต่คนรักความเป็นไทย บอกว่า นี่คือเอกลักษณ์ไทย

รัฐธรรมนูญไทย ก็เหมือน "ลายกนก" นั่นแหละครับ...

เลาะเลื้อยยืดยาดจนได้ 336 มาตราไงครับ

ส่วนต้นตำหรับแท้ ๆ จากฝรั่งมีไม่กี่มาตราหรอก...ทำไมเค้ารักษาเอกลักษณ์หรือสัญลักษณ์ของประชาธิปไตยไว้ได้

ผมว่ามันขึ้นกับจิตใจของผู้คนในสังคมเป็นตัวกำหนด มากกว่าตัวหนังสือในกฎหมาย


*********************

เดินทางเส้นนี้มา 70 กว่าปี....ยังไงผมให้เวลาอีก 75 - 80 ปีครับ...กว่าประเทศเราจะ "เข้าใจตรงกัน" เรื่อง"ประชาธิปไตย"

คนที่เชื่อในระบบการเมืองภาคตัวแทน ต้องไปเร่งทำเรื่องประชาธิปไตยฐานรากให้เข้มแข็ง

อย่าให้นักการเมืองไปหลอก เอาเงินไปซื้อ เอาผลประโยชน์ไปล่อ เราถึงจะใช้หลัก การเมืองภาคตัวแทนตัดสินได้

เหมือนเราสร้างงานอลังการงานสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ ประเภทที่สุดในโลก บนดินหนอง ดินเลน นั่นแหละครับ

ฐานมันไม่แน่น อุตส่าห์ไปปรับปรุงดินโดยเชื่อหลักวิชาการอย่างเดียว สุดท้าย สนามบินร้าว หาว่า "น้ำมาจากใหน" ยังไม่ได้เลย

ประชาธิปไตยไทย ก็เหมือนสุวรรณภูมินั่นแหละครับ ลอง ๆนึกลับตาดู ฐานราก กับพี่น้องในชนบทเอาเอง

ไม่ต่างกันหรอกครับกับดินเลนใต้สนามบิน มันไม่มีวันแข็งตัวเหมือน "ที่ดอน"

เมื่อคุณไปเร่งการทรุดตัวของดิน โดยไม่ทิ้งเวลา ให้เวลากัน สร้างอะไรลงไปมันก็ "ไม่มั่นคง"

แต่หากเราสร้างหลักประชาสังคม ทำฐานรากให้้แน่น ทั้งทางเศรษฐกิจ -สังคม

แล้วการเมืองมันจะดีเอง....เหมือนที่พี่เดช พุ่มคชาบอกว่า..."คำตอบอยู่ที่หมู่บ้าน"

อ้อ..."การปฏิวัติรัฐประหาร" ก็คือ "การเรียนรู้ของสังคม" อย่างหนึ่งนะครับ อย่าไปตัดทิ้ง อิ อิ

เพราะ "ฐานไม่แน่น" รันเวย์สนามบินก็พร้อมที่จะร้าวได้ทุกเวลา

ต้องขอโทษที่ผมพูดทั้งหมด...ไม่ใช่สอนหนังสือสังฆราช หรือสอนจรเข้ให้ว่ายน้ำ

ก็แค่ความเห็นประชาชนคนหนึ่ง ที่ไม่มีพื้นฐานกฎหมายแน่นหนา ก็มองแบบชาวบ้าน ๆ นี่แหละครับ

ผิดถูกอย่าว่ากัน

บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #44 เมื่อ: 25-03-2007, 00:19 »

ยังยืนยันครับว่าปัญหาอยู่ที่ระบบยุติธรรม

การคอร์รัปชัน

พื้นฐานค่านิยมและวัฒนธรรมไทย


ดังนั้นหากจะมีการเปลี่ยนมือ ทางอำนาจสู่ประชาชน กรอบทางสังคมต้องแข็งแรงเพียงพอ ซึ่งก็หมายถึง การประพฤติตัวและการตัดสินใจในชีวิตประจำวันและระยะยาวของประชาชนด้วย

จึงเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาเพาะบ่มด้วยความอดทนต่อไป

                                                                             


คือ จะเรียนว่ารัฐประหาร และวิธีคิดของประชาชน  ในมุมมองของการแก้ปัญหาแล้ว ก็เป็นเพียงปลายเหตุ

เมื่อเราให้น้ำหนักในการแก้ไขผิด ประกอบกับวิธีการที่ผิดเป็นบางส่วนในแต่ละบริบท

ปัญหารัฐธรรมนูญ และการรัฐประหารจึงกลายเป็นปัญหายืดเยื้อในหลายๆสังคม รวมทั้งสังคมไทยด้วย



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25-03-2007, 00:50 โดย ********Q******** » บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #45 เมื่อ: 25-03-2007, 01:43 »



ย้ำอีกครั้งครับ อย่างไรก็ตาม ผมก็ยังคิดและเชื่อว่า

รัฐบุรุษและสภารัฐบุรุษ จำเป็นและเหมาะสมกับสังคมไทยและสังคมการเมืองไทย เป็นอย่างยิ่งครับ...

                                                                                                                                                                                     
บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #46 เมื่อ: 25-03-2007, 02:17 »

“ธีรยุทธ” ตั้งฉายา “รัฐบาลสุรยุทธ์” เป็นรัฐบาลโอที
แนะเร่งสร้างความปรองดองในชาติ 7 ประการ


สร้างความสมดุลเน้นการสื่อสารกับชาวบ้านมากขึ้น ขณะเดียวกัน เชื่อไทยรักไทยจะสลายเป็นพรรคย่อยแกนนำพรรคจะถูกดำเนินคดีทุจริตภายใน 3-6 เดือนนี้
       
       วันนี้ (11 ต.ค.) นายธีรยุทธ บุญมี อาจารย์คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เสนอรายงานเสนอแนะรัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ โดยเรียกร้องให้สร้างความปรองดองในชาติ 7 ประการ และสร้างความสมดุลในชาติ อย่าพึ่งแต่กองทัพอย่างเดียว และต้องเน้นการสื่อสารกับประชาชนมากขึ้น ขณะเดียวกัน เชื่อว่าพรรคไทยรักไทยจะสลายกลายเป็นพรรคย่อย เนื่องจากมีแกนนำหลายคนต้องคดีทุจริตภายใน 3-6 เดือนนี้
       
       สำหรับรายละเอียดของรายงานของ นายธีรยุทธ มีดังนี้

       (1) รัฐบาลปรองดองแห่งชาติ

       1. ข้อเสนอต่อรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์

       รัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ซึ่งน่าจะขนานนามน่ารักๆ ว่า รัฐบาล OT ซึ่งแปลได้ทั้งเป็นรัฐบาล Old Technocrat และรัฐบาลล่วงเวลา (Over Time) คือเน้นข้าราชการ ผู้ชำนาญการอาวุโสที่เสียสละมาแก้วิกฤตชาติ ซึ่งก็น่าจะปฏิบัติภารกิจหนึ่งปีของตนได้ลุล่วง นำพาประเทศพ้นวิกฤตไปได้เพราะ
       
       ด้านเสถียรภาพมีข้อกังวลไม่มาก เพราะ พล.อ.สุรยุทธ์ สุขุม มั่นคง ไทยรักไทยจะสลายตัวเป็นเพียงพรรคย่อย บรรดาผู้นำจำนวนหนึ่งจะมีความผิด และถูกลงโทษตามกฎหมายใน 3-6 เดือนข้างหน้า ส่วนอุดมการณ์ประชานิยมยังไม่ได้ฝังรากลึกในหมู่รากหญ้า กลุ่มต่างๆ ของพรรคจะลอยตัว รอเวลาวิ่งเข้าหาศูนย์อำนาจการเมืองใหม่
       
       ด้านเศรษฐกิจ แม้ภาพรวมของประเทศจะไม่ดีนัก แต่ประสบการณ์ ความสุขุม และความสามารถของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล และโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ จะประคองเศรษฐกิจไปได้ด้วยดี
       
       ด้านทิศทางของประเทศ หลังยุคประชานิยมว่าจะไปทางใด เป็นภาระหลักซึ่งคณะรัฐมนตรีต้องขบคิด และที่สำคัญยิ่งคือ ต้องช่วยกันถ่ายทอดเผยแพร่ให้ประชาชนเข้าใจอย่างทั่วถึง
       
       ความประทับใจของประชาชน สำคัญมาก เพราะรัฐบาลทักษิณใช้การตลาดให้ชาวบ้านได้บริโภคข่าวของความหวัง การทำงานที่รวดเร็วแม้จะไม่เป็นมรรคผล จนประชาชนเสพติด นายกฯ สุรยุทธ์ คลุกชาวบ้านได้ แต่ควรสื่อสารกับชาวบ้านมากขึ้นโดยมีคนอื่นๆ อาทิ ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ จรัญ ภักดีธนากุล วิจิตร ศรีสอ้าน สุวิทย์ ยอดมณี ช่วยสนับสนุน
       
       2. รัฐบาลกับ 7 ภารกิจการปรองดองชาติในระดับโครงสร้าง

       ภารกิจหลักของรัฐบาล คือ การสร้างความปรองดองในชาติ แต่ความปรองดองนี้ต้องไม่ใช่การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่ต้องเป็นการแก้เชิงโครงสร้าง เพื่อสร้างฐานรากให้กับการปรองดองแห่งชาติ (national reconciliation) อย่างแท้จริง ทั้งนี้ ต้องมองว่าในโครงสร้างของวิกฤตมีคู่ขัดแย้ง 2 ด้านอยู่ ต้องคำนึงทั้ง 2 ด้าน และสร้างสมดุลระหว่างกันให้ได้
       
       1. ผลของการล้มระบอบคอร์รัปชัน ทรท. สร้างความขัดแย้งระหว่างคณะผู้ทำการ เป็นพลังซึ่งเน้นด้านคุณธรรมของบ้านเมือง (moralist forces) กับพลังประชาธิปไตยส่วนหนึ่ง ต้องไม่แก้ปัญหาด้วยการปิดกั้นสิทธิเสรีภาพ แต่แก้ด้วยการยกระดับความเข้าใจกัน และขยายสิทธิเสรีภาพของพลังประชาธิปไตยและชาวบ้านให้กว้างขึ้น
       
       2. วิกฤตที่ผ่านมาทำให้คนเมืองขัดแย้งกับคนชนบท คนชั้นกลาง/สูงขัดแย้งกับรากหญ้า ทางแก้ไม่ใช่กีดกันชนบทว่าเป็นพวก ทรท. แต่ต้องขยายความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจ และการยอมรับทางการเมืองสังคม เพื่อความปรองดองของเมืองและชนบท อีกปัญหาหนึ่งคือ รัฐบาลแต่งตั้งที่มาจากชนชั้นนำและคนดี มักปิดตัวเอง ไม่รับฟังคนอื่น การให้อำนาจประชาชนเสนอวาระหรือปัญหาของชาติเป็นหลักสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของประชาธิปไตย
       
       3. สร้างสมดุลระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจกับความสุขของชาวบ้าน นโยบายเศรษฐกิจไทยละเลยภาคชนบทมาตลอด ประชานิยมจึงได้ผลอย่างมาก รัฐบาลใหม่ยังคงต้องใช้จ่ายเงินเพื่อภาคชนบทแต่ให้ถูกทิศทางขึ้น เช่น ขยายอัตราการเติบโตเศรษฐกิจของภูมิภาคที่ยากจนให้มากกว่าภูมิภาคอื่น เน้นเศรษฐกิจเมือง หมู่บ้าน ขนานไปกับ SME ประชานิยมสร้างหนี้และการบริโภคฟุ่มเฟือย ทำให้ชนบทอ่อนแอ นโยบายใหม่ควรสร้างให้ภาคชนบทและเศรษฐกิจรากหญ้าเข้มแข็ง มุ่งเน้นไปที่การศึกษาวิจัยด้านสุขภาพ วัฒนธรรม สินค้าพื้นถิ่น เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานให้กับเศรษฐกิจการท่องเที่ยวภายใน/ภายนอก เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและสุขภาพ และบริการ ซึ่งเป็นจุดแข็งของไทย มีงบสนับสนุนการศึกษาวิจัยของเยาวชน นวัตกรรมท้องถิ่นในด้านสุขภาพ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม งบสร้างความน่าอยู่ การปลูกดอกไม้ต้นไม้ให้กับหมู่บ้าน เมือง การเสริมคุณภาพให้กับสวัสดิการด้านสุขภาพ ให้ “คนไทยทุกคนรักษาฟรี” และสวัสดิการการศึกษา ฯลฯ
       
       4. สร้างสมดุลปรัชญาเศรษฐกิจโลกาภิวัตน์กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หรือปรัชญา GDP กับปรัชญา GNH สมดุลระหว่างอำนาจทุนข้ามชาติกับอำนาจชุมชนท้องถิ่นอย่างให้เกิดผลที่เป็นจริง
       
       5. สร้างสมดุลระหว่างอำนาจการเมืองกับอำนาจสังคม ระบบทักษิณครอบงำสื่อ และปิดกั้นภาคสังคมมากเกินไป รัฐบาลใหม่ควรทำให้เกิดสมดุลดีขึ้น โดยอาศัยกฎหมาย นโยบาย และงบประมาณ เช่น ให้สำนักงานสลากฯ ซึ่งเอาเงินจากประชาชนไปให้นักการเมืองใช้ พัฒนาตัวเองเป็นสถาบันการเงินของสังคมที่ปลอดการแทรกแซงการเมือง เพื่อคืนกลับให้ประชาชนและสังคม ยกเลิกงบประมาณสนับสนุนพรรคการเมืองและนำมาสนับสนุนองค์กรทางสังคม องค์กรสิทธิเสรีภาพ เอ็นจีโอ องค์กรวิชาการ และสื่อ เช่น มีงบ 100-200 ล้านต่อปี สนับสนุนมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค องค์กรประชาชนต้านคอร์รัปชัน งบสื่อทางเลือก (alternative media) เช่น แทนที่จะปิดกั้นเสรีภาพมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ควรมีงบสนับสนุนแทน ควรให้สื่อโทรทัศน์ของรัฐจัดเวลาเสนออย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมงให้สถาบันวิชาการ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ สภาหนังสือพิมพ์ สภาทนายความ กลุ่มรากหญ้า องค์กรพัฒนาเอกชน ฯลฯ ได้ร่วมกันใช้ โดยรัฐและเอกชนร่วมกันสนับสนุนด้านงบประมาณ
       
       6. สร้างความปรองดองของความต่างวัฒนธรรม ความรุนแรงภาคใต้มีสาเหตุสำคัญมาจากการละเลยไม่ให้ความสำคัญกับการเคารพความต่างในวัฒนธรรม ศาสนา อัตลักษณ์ ความเป็นชาติพันธุ์มลายู ความต่างเหล่านี้ล้วนมีปรากฏอยู่ในระดับต่างๆ ระหว่างภูมิภาคท้องถิ่นต่างๆ ของประเทศไทย การปรองดองที่แท้จริงคือ การตระหนักและเคารพความต่างเหล่านี้ ส่งเสริมการรักษาเอกลักษณ์ วัฒนธรรมของภูมิภาคต่างๆ โลกปัจจุบันมองความต่าง ความหลากหลายเป็นทุนสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของประเทศมากกว่าจะเป็นหนี้สินหรือภาวะติดลบของประเทศ
       
       7. มีโครงสร้างคอร์รัปชันของรัฐบาล ทรท. ซึ่งประสานระหว่างนักการเมือง ข้าราชการ และ เอกชนซึ่งอยู่ตามบอร์ดของรัฐวิสาหกิจ กิจการร่วมทุนรัฐเอกชน โครงสร้างเชิงนโยบายซึ่งโกงกินและใช้จ่ายฟุ่มเฟือยมากมาย ซึ่งรัฐบาลต้องสลายโครงสร้างนี้อย่างจริงจัง
       
       (2) ภาพรวมการเมืองไทย

       ปัญหาการเมืองไทยเกิดจากการไม่มีสถาบันและความเป็นสถาบันมากพอจะกำกับอำนาจทุนการเมือง

       1. ทุกสังคมในโลกมี 2 ส่วน คือ ส่วนที่เปลี่ยนแปลงไว ได้แก่ ชีวิตเศรษฐกิจประจำวันของผู้คน และส่วนที่มั่นคงอยู่มานาน ทำหน้าที่กำกับดูแลพฤติกรรมค่านิยม คุณธรรม ความเจริญงอกงามทางจิตใจ ศิลปวัฒนธรรมของผู้คน เราเรียกส่วนหลังนี้ว่าสถาบัน ทั้งสองส่วนต้องช่วยกำกับดูแลซึ่งกันและกัน ผลักดันประเทศไปสู่ทิศทางที่ดี ไม่ใช่ส่วนหนึ่งมุ่งทำลายอีกส่วนหนึ่ง
       
       2. ในโลกยกเว้นประเทศตะวันตก มีประมาณ 5 ประเทศคือ รัสเซีย จีน อินเดีย ญี่ปุ่น ไทย ที่ประวัติศาสตร์การสร้างสถาบัน เช่น สถาบันราชการ สถาบันชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ยาวนานกว่าประเทศอื่น เนื่องจากสถาบันเหล่านี้เกิดมานานจึงมีแนวโน้มอนุรักษนิยมหรือบางส่วนเสื่อมโทรม เช่น สถาบันศาสนา ข้าราชการ หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 อุดมการณ์ประชาธิปไตยปักหลักมั่นคงในประเทศไทย พรรคการเมืองซึ่งคืออำนาจของทุนและกลุ่มอุปถัมภ์ท้องถิ่นขยายตัวอย่างรวดเร็วและผันผวน (chaotic) เกิดคอร์รัปชัน ทำลายค่านิยมซื่อสัตย์สุจริตจนสังคมต้องหาทางออกโดยสร้างระบบประชาธิปไตยครึ่งใบ คือกองทัพนำโดย พล.อ.เปรม ทำหน้าที่กำกับพฤติกรรมของพรรคการเมือง ระบบนี้หลีกทางให้ประชาธิปไตยเต็มใบในปี 2531 แต่ทุนการเมืองก็สร้างปัญหาแบบเดิมซ้ำอีก จนเกิดวิกฤติอีกหลายหนตามมา
       
       3. ยุครัฐบาลทักษิณ ทุนการเมืองขยายเป็นทุนการเมืองระดับชาติและระดับโลกาภิวัตน์ ชาวบ้านเกือบทั้งประเทศถูกครอบงำโดยประชานิยม สถาบันข้าราชการ ตำรวจ ทหาร องค์กรอิสระ ศาลถูกแทรกแซงและครอบงำ ค่านิยมความซื่อสัตย์สุจริตถูกทำลายเกือบหมด จนพลังเชิงสถาบันที่เหลือต้องลุกมาปักหลักสู้อยู่คือ พลังของสถาบันซึ่งยึดถือความซื่อสัตย์ ความชอบธรรม (moralist) ได้แก่ สื่อหนังสือพิมพ์ วิทยุ นักวิชาการ พลังสถาบันยุติธรรม คือ ศาลต่างๆ พลังสถาบันชาติ คือ ทหาร กลุ่มต่อต้านโลกาภิวัตน์ พลังซึ่งจงรักภักดีสถาบันกษัตริย์ คือ ชนชั้นสูงและองคมนตรี แต่อำนาจของทุนการเมืองมีสูงมาก ในที่สุดกองทัพต้องใช้วิธีรัฐประหารมาคลี่คลายความขัดแย้ง
       
       (3) ต้องพัฒนารัฐธรรมนูญฉบับภูมิปัญญาไทย เน้นยุทธศาสตร์การสร้างและขยายสถาบันและวัฒนธรรมต้านคอร์รัปชัน
       
       ปัจจุบันเราไม่อาจหวนไปใช้ประชาธิปไตยครึ่งใบซึ่งพึ่งพิงอำนาจแบบศูนย์เดียว คือ กองทัพ ต้องให้มีประชาธิปไตยเต็มใบ แต่มีหลายสถาบันมาตรวจสอบกำกับ (regulate) ทิศทางทุนการเมือง เพราะขอบเขตปัญหากว้างกว่าเดิมมาก โลกก็เคลื่อนตัวเป็นประชาธิปไตยมากกว่าเดิม
       
       1. ต้องพัฒนารัฐธรรมนูญเป็นรัฐธรรมนูญฉบับภูมิปัญญาไทย

       การแก้ไขปัญหาหลังวิกฤตการเมืองไทยทำกันผิดพลาดทุกหน หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ศึกษาและหยิบยกทฤษฎีตะวันตกมาใช้อย่างลวกๆ หลังพฤษภาคม 2535 ก็มีการปฏิรูปการเมืองที่เป็นลัทธิคลั่งทฤษฎีตะวันตกมากเกินไป ในครั้งนี้ผู้ร่างรัฐธรรมนูญต้องกล้าคิดวิธีการที่ส่งเสริมอำนาจประชาชนที่เหมาะกับสังคม วัฒนธรรมไทยด้วย จึงควรเรียกว่าเป็นการจัดทำเป็นรัฐธรรมนูญฉบับภูมิปัญญาไทย
       
       2. รัฐธรรมนูญใหม่ต้องเน้นการสร้างประชาธิปไตยที่มีแก่นสาร

       จาก 14 ตุลาคม 2516 มาถึงปัจจุบัน ประชาธิปไตยโดยรูปแบบคือประชาธิปไตยที่เป็นเฉพาะการเลือกตั้ง (Procedural Democracy) ได้มาถึงทางตัน ต้องมีการพัฒนาไปอีกขั้น คือประชาธิปไตยที่มีเนื้อหาหรือประชาธิปไตยที่มีแก่นสาร (Substantive Democracy) แก่นสารนี้คือการเพิ่มความซื่อสัตย์สุจริต ความยุติธรรม ความอยู่ดีมีสุขและสิทธิอำนาจของประชาชน
       
       3. รัฐธรรมนูญใหม่ต้องสร้างโครงสร้างการเมืองกู้ชาติแบบยั่งยืนสมดุลขึ้นให้ได้

       โครงสร้างการเมืองที่ดีที่จะแก้วิกฤตประเทศได้ยั่งยืนถาวร คือโครงสร้างที่ยอมรับอำนาจของประชาชนผ่านความชอบธรรมของประชาธิปไตยเลือกตั้ง คู่กันไปกับอำนาจตรวจสอบของสถาบันต่างๆ ซึ่งมีความชอบธรรมในเชิงการแบ่งงาน แบ่งหน้าที่ และการพิสูจน์ตัวเองว่าทำงานเพื่อประโยชน์สังคม (functional differentiation ในฐานะเป็น social legitimation) แนวคิดเสรีนิยมตะวันตกสุดขั้วที่ยึดเอาสิทธิการเลือกตั้งของบุคคลอย่างเดียวเป็นที่มาของอำนาจทั้งปวง ถูกพิสูจน์แล้วว่าล้มเหลวครั้งแล้วครั้งเล่า เพราะทุนการเมืองเข้าครอบงำแทรกแซงได้หมด
       
       4. โครงสร้างการเมืองกู้ชาติเน้นยุทธศาสตร์ 2 อย่างคือ

       4.1 ประเทศไทยจะหวนไปใช้สถาบันเดียว คือ กองทัพ มากำกับการเมืองตามระบบประชาธิปไตยครึ่งใบไม่ได้ ต้องใช้ยุทธศาสตร์การสมดุลอำนาจ ต้องขยายและสร้างความเป็นสถาบันแบบหลายศูนย์มาตรวจสอบถ่วงดุลทุนการเมือง ขยายสถาบันเดิม และสร้างสถาบันใหม่ๆ เช่น
       
       (1) ภาคเอกชนต้องมีบทบาทสนับสนุนประชาสังคม สนับสนุนฝ่ายประชาธิปไตย ทุกวิกฤติในอดีต ภาคเอกชนไทยแสดงความรับผิดชอบน้อยที่สุด จนกล่าวได้ว่าการเมินเฉยหรือสนับสนุนผู้มีอำนาจการเมืองของพวกเขา เป็นสาเหตุสำคัญให้วิกฤติขยายตัวถึงขั้นมีการรัฐประหาร ภาคเอกชนจึงควรเสียสละเพื่อชดเชยความผิดและมีคุณูปการสร้างความปรองดองแห่งชาติด้วยการเสียภาษีเพิ่มเติม 0.2 เปอร์เซ็นต์ของรายได้สำหรับ 100 บริษัทใหญ่ที่สุดของประเทศ และ 0.1 เปอร์เซ็นต์สำหรับ 200 บริษัทถัดไป เพื่อสนับสนุนกิจกรรมภาคสังคม
       
       (2) องค์กรตรวจสอบคอร์รัปชันนักการเมือง ต้องดำเนินไปอย่างเข้มข้น กรรมการเลือกตั้งต้องดำเนินไปอย่างจริงจัง และกระบวนการตุลาการภิวัตน์ต้องเกิดต่อไปอย่างเข้มข้น ถ้า 3 ส่วนนี้ดำเนินไปต่อเนื่อง จะมีโอกาสเกิดเป็นวัฒนธรรมต้านคอร์รัปชัน และการซื้อเสียง
       
       (3) ต้องหาทางกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญเพื่อให้องค์กรตรวจสอบ เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ ปปช. คตส. สตง. รวมทั้งองค์กรสำคัญอื่นๆ เช่น ปปง. กกต. องค์กรอิสระ มีความเป็นกลางและเป็นสถาบันมากขึ้น ซึ่งความเป็นสถาบันมีองค์ประกอบสำคัญดังนี้คือ มีความเป็นอิสระ มีอุดมคติ เพื่อภารกิจ มีบุคลากรที่ได้รับความนับถือ มีผลงาน มีวัฒนธรรมเฉพาะขององค์กร ซึ่งอาจได้รับสิทธิตามรัฐธรรมนูญ ให้สืบเนื่องตัวเอง (reproduce) ได้ เช่น ให้มีสิทธิเสนอบุคลากรชุดต่อไปจำนวน 1 ใน 3 หรือ 1 ใน 4 เป็นต้น
       
       (4) ที่มาขององค์กรตรวจสอบดังกล่าว ควรมาจากสถาบันสังคมที่พิสูจน์แล้วว่าไม่ถูกครอบงำหรือถูกแทรกแซงน้อยที่สุด ได้แก่ สถาบันศาลฎีกา สถาบันศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ สถาบันสื่อหนังสือพิมพ์ คณาจารย์มหาวิทยาลัยรุ่นเก่าซึ่งมีลักษณะความเป็นสถาบันสูง บุคคลที่มีผลงานการดำรงชีวิตเป็นที่ประจักษ์จนมีลักษณะเป็นสถาบันที่ได้รับความนับถือจากสังคมทั่วไปอย่างต่อเนื่องยาวนาน เช่น ถ้ารัฐธรรมนูญกำหนดให้มี ปปช. 15 คน ให้มาจากศาลฎีกา 3 คน จากศาลปกครอง 3 คน ศาลรัฐธรรมนูญ 3 คน สถาบันหนังสือพิมพ์ 3 คน ที่ประชุมอาจารย์คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยรุ่นเก่า เช่น จุฬาฯ ธรรมศาสตร์ รามคำแหง สุโขทัยธรรมาธิราช เลือกตัวแทนแห่งละ 2 คน แล้วให้มาเลือกกันเองเหลือ 3 คน เป็นต้น วุฒิสภาก็ยังควรจะมีเพราะเป็นการขยายพื้นที่การมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคสังคม ทั้งนี้ อาจกำหนดให้มาจากการเลือกตั้งครึ่งหนึ่งและมาจากสถาบันสังคมอีกครึ่งหนึ่ง
       
       4.2. นอกจากยอมรับบทบาทสถาบันแล้วยังควรขยายพื้นที่ภาคประชาชน คือ

       (1) การขยายบทบาทภาคสังคม – ประชาชน ด้วยการให้รัฐและภาคเอกชนสนับสนุนด้านงบประมาณและพื้นที่ต่อสาธารณะ

       (2) ขยายพื้นที่ยุติธรรม โดยกำหนดในรัฐธรรมนูญใหม่ ให้ประชาชนเข้าถึงสถาบันยุติธรรมได้ง่ายขึ้น เช่น ศาลปกครองสูงสุดรับฟ้องคดีศาสตรา โตอ่อน vs กระทรวงไอซีที หรือ ให้กลุ่มบุคคล ตัวแทนกลุ่มวิชาชีพ เช่น สภาหนังสือพิมพ์ สมาคมนักหนังสือพิมพ์ สภาทนายความ คณะมนตรีคุณธรรม เป็นตัวแทนรับเรื่องจากประชาชนฟ้องร้องรัฐได้
       
       (3) ขยายพื้นที่ตรวจสอบคอร์รัปชันให้กับภาคสังคม – ประชาชน – สื่อ เช่น ปรับปรุง พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯ ซึ่งเวลาปฏิบัติจริงยุ่งยาก ให้หน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ วิสาหกิจตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐฯ ส่งสัญญาที่มีมูลค่าตั้งแต่ 250 ล้านขึ้นไปมาให้ห้องสมุด ซึ่งจัดขึ้นเพิ่มเติมขึ้นโดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอนแก่น จุฬาฯ ธรรมศาสตร์ สงขลาฯ สมาคมนักหนังสือพิมพ์
       
       (4) ขยายพื้นที่คุณธรรม เช่น รัฐธรรมนูญกำหนดให้มีคณะมนตรีคุณธรรม เพื่อให้บุคคลที่ได้รับการเคารพ อาทิ นพ.ประเวศ วะสี เสนาะ อุนากูล ระพี สาคริก เสน่ห์ จามริก ม.ร.ว.อคิน รพีพัฒน์ สุเมธ ตันติเวชกุล โสภณ สุภาพงษ์ ฯลฯ มีโอกาสได้รับเลือกไปทำหน้าที่ส่งเสริมคุณธรรม มีอำนาจยื่นเรื่องทุจริตคอร์รัปชั่นของนักการเมืองจากภาคประชาชนไปยังศาลที่เหมาะสม
       
       คำอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญและโครงสร้างการเมืองแบบภูมิปัญญาไทย
       รัฐธรรมนูญและโมเดลการเมืองที่เสนอนี้จะถูกวิจารณ์ว่าเป็นประชาธิปไตยแบบชนชั้นนำ หรืออมาตยาธิปไตย (elite democracy) ไม่เป็นแบบมาตรฐานสากล แต่มีคำชี้แจงได้ดังนี้

       1. ประชาธิปไตยทั่วโลกโดยไม่มีข้อยกเว้น (รวมทั้งรัฐธรรมนูญไทยปี 40 ที่ผ่านมา) ล้วนอนุโลมให้มีบทบาทชนชั้นนำปนอยู่ด้วย อาทิเช่น กระบวนการตุลาการภิวัตน์ (judicial review) ของทุกประเทศก็จะอยู่ในแนวคิดนี้

       2. ประชาธิปไตยทั่วโลกล้วนมีลักษณะเฉพาะตามประวัติศาสตร์วัฒนธรรมของตน เช่น การเลือกวุฒิสภาการลงคะแนนไพรมารีโวต เป็นลักษณะเฉพาะของอเมริกา สภาสูงของอังกฤษ บทบาทศาสนานิกายต่างๆ ต่อพรรคการเมืองของเยอรมัน ไทยก็ควรคิดบนเงื่อนไขภูมิปัญญาไทย
       
       3. โลกยุคสมัยใหม่มีความซับซ้อน (complexity) มีการแบ่งงาน แบ่งหน้าที่ (functional differentiation) แบ่งความชำนาญเฉพาะ (specialization) กว้างขวางมาก การออกแบบรัฐธรรมนูญฉบับภูมิปัญญาไทยให้ยอมรับความชอบธรรมแบบหลากหลายนี้ มากกว่าการยอมรับเฉพาะสิทธิของปัจเจกบุคคล อีกนัยหนึ่ง ระบบการเมืองที่ดีต้องประสานการเมืองภาคตัวแทน การเมืองภาคตรวจสอบ การเมืองภาคสังคม-ประชาชน

       4. รัฐธรรมนูญใหม่จะต้องเน้นประชาธิปไตยเต็มใบ ต้องเคร่งครัดให้อำนาจของสถาบันต่างๆ จำกัดอยู่เฉพาะอำนาจตรวจสอบ ไม่ใช่การบริหารหรือการออกกฎหมาย และควรมีลักษณะชั่วคราว เช่น 6-8 ปี

       5. รัฐธรรมนูญและโครงสร้างการเมืองแบบภูมิปัญญาไทย ไม่ใช่การหวนกลับไปหาประชาธิปไตยแบบไทยๆ ของเผด็จการทหาร หรือประชาธิปไตยวิถีเอเชียแบบสิงคโปร์ แต่ต้องเป็นการยกระดับคนไทยให้พ้นจากการสยบยอมทางความคิดตะวันตก และตัดความหลงงมงาย เชิดชูความเป็นไทยจนล้นเกินออกไป
       
       6. วิกฤตที่ผ่านมาควรเป็นวิกฤตสุดท้ายของประเทศ และอาจเป็นโอกาสสุดท้ายที่เราแก้ปัญหาด้วย เพราะวิกฤตครั้งนี้กระทบทุกส่วนไม่เว้นแม้สถาบันพระมหากษัตริย์ จึงควรพิจารณาข้อกังวลของนักวิชาการว่า การเมืองไทยจะหวนกลับไปสู่อมาตยาธิปไตยหรือไม่อย่างตรงไปตรงมา ทั้งนี้เพราะปัจจุบันวัฒนธรรมข้าราชการ นักการเมือง เอกชนไทย กลายเป็นวัฒนธรรมคอร์รัปชั่นอย่างกว้างขวางที่สุด จึงเรียกร้องให้พลังทุกส่วนต้องออกมาแก้ไขปัญหา ตามกระบวนการเสริมคุณธรรมสังคมเพื่อกู้ชาติ
       
       ตามรัฐธรรมนูญองคมนตรี บุคคล องค์กรที่ใกล้ชิดพระมหากษัตริย์ ต้องเป็นกลางทางการเมืองอย่างเคร่งครัด แต่ในฐานะสมาชิกสังคมย่อมมีสิทธิที่จะบอกประชาชนว่า สิ่งใดดี สิ่งใดชั่ว กล่าวคือ ไม่ยุ่งการเมืองแต่ยุ่งเรื่องจริยธรรม เช่น ส่งเสริมให้ประชาชนเคารพคนดี คว่ำบาตรประณามนักการเมืองชั่วไม่ว่าจะอยู่พรรคใด เพื่อเป็นการตัดไฟแต่ต้นลม เราอาจถกเถียงกันหรือยอมรับว่า ปัจจุบันควรเกิดหรือได้เกิดกระบวนอมาตยาภิวัตน์ขึ้นแล้ว ซึ่งเป็นลักษณะของพัฒนาการการเมืองไทย ซึ่งต้องมองว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นกระบวนเสริมคุณธรรมสังคมเพื่อกู้ชาติ ไม่ใช่กระบวนการเพื่ออำนาจหรือเพื่อผลประโยชน์ สังคมก็ต้องคอยกำกับให้กระบวนการนี้อยู่ในทิศทางที่ถูกต้องเหมาะสม
       
       ทหารเองก็ต้องวางตัวเป็นกลางทางการเมือง ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ไม่สนับสนุนหรือมีอิทธิพลในพรรคการเมืองใดๆ แต่มีสิทธิตามรัฐธรรมนูญในฐานะสมาชิกสังคมที่จะมีส่วนร่วมในกระบวนการเสริมคุณธรรมเพื่อสังคมดังกล่าวได้เช่นกัน
บันทึกการเข้า

snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #47 เมื่อ: 25-03-2007, 11:18 »

กฏหมายจะเขียนดีอย่างไรก็ไม่มีประโยชน์
เพราะมีคนไม่เคารพกฏหมายพร้อมจะละเมิดได้ทุกเวลา
แม้แต่รัฐธรรมนูญก็ไม่อยู่ในสายตา
มีอาวุธและกำลังมากพอก็ฉีกทิ้งทำลายได้
หาใช่เพราะจริยธรรมสูงส่ง เป็นวีรบุรุษมาจากไหน

แม้ในสังคมเวบบอร์ดเล็กๆ นี้ก็มีปรากฏให้เห็น เป็นตัวอย่าง
พวกที่ชอบทำตนเป็นผู้มีบารมีเหนือกฏ ที่ไม่ต้องเคารพก็ได้
เพราะไม่ว่าทำผิดละเมิดผู้อื่นอย่างไร
ผู้ดูแลก็ไม่เอาความ ด้วยเห็นเป็นพวกเดียวกัน

คนที่ทำพฤติกรรมแบบนี้สมควรเข้าใจดีว่า
ผู้ที่ทำให้กฏหมายไม่ศักดิ์สิทธิ์นั้นคือใคร
เรียกว่า ปากว่าตาขยิบ หรือ สองมาตรฐาน
กับการวิจารณ์ผู้อื่นโดยมิดูตัวเอง?

ยึดหลักการ เคารพกติกา ย่อมแก้ปัญหาได้
ที่วุ่นวายอยู่ทุกวันนี้เพราะไม่เคารพ
แต่นิยมจะสร้างกฏกติกาที่ตัวเองกำหนด
ตามประโยชน์และความพอใจส่วนตน
ยกเว้นและเห็นแก่พวกพ้องน้องพี่
ซึ่งไม่ได้มีเฉพาะแต่นักการเมืองที่ทำ
แต่ “ทุกคน” ที่มีโอกาสทำได้
เพราะไม่มีใครเป็นเทวดา
มีจริยธรรมสูงส่งเลอเลิศดังอ้าง
ล้วนมนุษย์เดินดินที่ต้องกินต้องใช้
มีกิเลสตัณหาด้วยกันทั้งสิ้น
ต่างกันก็เพียงในรายละเอียด
และความสามารถในการหลอกลวง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25-03-2007, 11:27 โดย snowflake » บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #48 เมื่อ: 25-03-2007, 11:48 »




กฎหมายไทยที่ล้าสมัยมีเยอะเลยครับ นักกฎหมายช่วยกันยกร่างแก้ไขเสนอผ่านสส.ก็ดีครับ
 
บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #49 เมื่อ: 25-03-2007, 15:39 »

ที่จริงคำว่า "ปฏิวัติ" มันเป็นเรื่องที่ "ถูกต้อง ชอบธรรม" มาตั้งแต่รุ่น  "Macna carta" ที่เป็น "แม่แบบ" ให้ประเทศต่าง ๆ ยึดถือ

ซึ่งกษัตริย์อังกฤษลงพระนามเอาไว้ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ค.ศ. 1215 และกษัตริยอังกฤษ์รุ่นต่อ ๆ มาก็ไม่มีใครบังอาจไปแก้ไขได้ เพราะยึดหลักที่ว่า

สิ่งที่ "กษัตริย์ลงพระนามไว้แล้วย่อมสิ้นสุด"

เราน่าจะลองย้อน ๆ ไปดูนะครับ เรื่อง "สิทธิ์ที่จะปฏิวัติ" ซึ่งยึดถือกันมา ในหมวดที่ 9 ( ข้อ 61 ) คือสิทธิ์ที่ขุนนาง 25 คน คอยตรวจสอบว่า "ผู้ปกครองปฏิบัติตามสัญญาหรือไม่ หากว่าไม่ ให้เป็นสิทธิ์ที่จะทำสงครามกับกษัตริย์ได้ทันที "

ี่John Locke ก็วางหลักเอาไว้ ตั้งแต่ปี คศ. 1690 ในเรื่อง "สิทธิ์ที่จะปฏิวัติ" หากผู้ปกครองล่วงละเมิดสิทธิ์ของผู้ถูกปกครอง

"สิทธิ์ที่จะปฏิวัติ" หรือ "จารีตแห่งการปฏิวัติ" อาจกล่าวได้ว่าถือเป็นตำราในการต่อสู้ของ"ฝ่ายซ้าย"  แม้มาจนปัจจุบัน ( สมัยสงครามเย็น) ข้ามกาลสมัย บอกเอาไว้ว่า

"เมื่อใดที่ฝ่ายบริหารซึ่งปกครองแผ่นดินนั้น ล่วงละเมิดสิทธิ์ของผู้ถูกปกครองในทุกกรณี การทำรัฐประหารถือเป็นมาตรการที่ชอบธรรม ในการแก้ไขพฤติกรรมอันไม่เหมาะสมได้อย่างถูกต้องสมควร"

ในปัจจุบัน เมื่อมีการนับถือหลัก "อำนาจจากตัวแทน" ได้พัฒนาสิ่งที่เรียกว่า "สิทธิที่จะปฏิวัติ" กลายมาเป็น "การเมืองภาคประชาชน" ยึดถือประชาธิปไตยทางตรง ใช้สิทธิ์ด้วยตนเอง ผ่านกระบวนการ "ชุมนุมโดยสันติ"

และรัฐธรรมนูญสมัยใหม่ ก็รองรับ "สิทธิ์" อันนั้นเอาไว้

หากเพียง "ผู้ปกครอง" ยอมรับฟังเหตุผลและความ "ไม่พอใจ" ของกระแสสังคม ไม่ดันทุรัง เหตุอันไม่สมควรเกิดก็คงไม่เกิด

การตัดวงจรการใช้อำนาจที่เหนือกว่า มาทำลายกระบวนการประชาธิปไตย มีทางเดียวที่จะทำได้ นั่นคือ...

"ผู้บริหาร" รู้จักผ่อนคลายให้สังคมด้วย..."การลาออก"...

อย่าไปแอบอ้าง การเป็นตัวแทนของคนส่วนใหญ่เลยครับ ในเมื่อการอ้างความเป็นตัวแทนนั้น

มันมิใช่เครื่อง"ฟอกตัว" ว่า มีเสียงสนับสนุนมากมายท่วมท้นทั้งในการเลือกตั้ง ในสภา ในวุฒิสภา

เพราะหากให้เสียงในสภาลงมติไม่ไว้วางใจแล้ว นั่นคือ "ต้องออก" เป็น "สภาพบังคับ" ไม่ใช่สมัครใจ

การ "ต้องออก" ตามเสียงส่วนใหญ่ คือ "กฎหมาย"

แต่การ "ลาออก" เป็นเรื่อง "การเมือง"

ที่เกิดความยุ่งยากในทางการเมือง เพราะไปยึดเอาเรื่อง "กฎหมาย"ที่เป็นลายลักษณ์อักษร" มากำหนดทุกอย่าง

โดยลืมไปว่า ในทาง "การเมือง" นั้น มี "กฎหมายที่มิได้จารึก" เอาไว้เป็นลายลักษณ์อักษรอีกมากมาย

นั่นคือ "การแสดงความรับผิดชอบ" นั่นเอง


***บางส่วนเก็บตกมาจากบทความของ ธาวิต สุขพานิช, จักรวาลวิทยา,ท่าพระจันทร์ เรื่อง...

"การปฏิวัติใด ๆ ล้วนไม่ใช่สิ่งถูกต้องดีงามทั้งสิ้น! " (แล้ว "The Glorious Revolution" ล่ะมันคืออะไร )

มากไปกว่านั้นก็ลอง ๆ หาคำจำกัดความของคำว่า "การเมืองภาคประชาชน" ดูนะครับ...
ลึก ๆ แล้วเค้าให้เป็นสิทธิ์โดยชอบที่จะปฏิวัติ ไล่ผู้ปกครองที่ไม่ชอบธรรมโน่นเลยครับ...

ที่มาของคำว่า..."แม้ไม่ชอบการปฎิวัติ แต่ก็เข้าใจในเหตุผลที่ต้องทำ"...น่าจะมีมาจากสาเหตุที่ผมกล่าวก็ได้..
บันทึกการเข้า

หน้า: [1] 2
    กระโดดไป: