จากนั้นกลุ่มผู้ชุมนุมได้ไปรวมตัวกันที่หน้าตึก สตง.พร้อมกับยกโทรทัศน์ขนาด 21 นิ้วมีสติกเกอร์ติดหน้าจอว่า"สิงคโปร์+ทักษิณบริษัทไอทีวี ลิ่วล้อ"มาตั้งและใช้ค้อนปอนทุบจนพังยับเยิน พร้อมกระทืบซ้ำ และประกาศจะ
ไม่ซื้อสินค้าทุกชนิดที่โฆษณาผ่านสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี http://www.naewna.com/news.asp?ID=52070เก็บตกจาก แนวหน้า (สงสารทีวีแฮะ) จากไอทีวี ถึงทีไอทีวี ใครได้อะไร สังคมไทยได้อะไรเพิ่มขึ้น ...
นึกเทียบเคียงกับการไล่รื้อพ่อค้าแม่ค้าแผงลอยบนฟุตบาท เพื่อที่ทางการจะได้นำพื้นที่ไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น ทำให้พ่อค้าแม่ค้ารายเดิมต้องเสียพื้นที่ในการทำมาหากิน
แต่กรณีไอทีวี พ่อค้าแม่ค้ารายเดิมกลับได้ยึดพื้นที่ของตนเองอยู่อย่างเหนียวแน่นอย่างเดิม
ได้ค่าชดเชยไปแล้ว ยังกดดันเพื่อให้ตัวเองได้ทำมาหากินกับทรัพยากรสาธารณะต่อไป
และที่ว่า มีสื่อมวลชนที่มีอิทธิพลเหนือการตัดสินใจของรัฐบาลชุดนี้ ก็คงจะต้องนับเอากรณีของไอทีวีรวมเข้าไปด้วยกระมัง
...
เดิม ได้รับค่าสัมปทานจากบริษัทไอทีวีไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย ไม่ครบถ้วนตามสัญญา แต่เมื่อนำคลื่นความถี่กลับมาบริหารเอง หรืออ้างว่าบริหารเอง แต่เนื้อหาสาระเป็นเหมือนเดิม พนักงานก็ก๊วนเดิม ผู้บริหารข่าวหรือผู้ดูแลเนื้อหารายการก็กลุ่มเดิม ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง
แต่ที่หายไปกลับกลายเป็นว่าไม่ได้รับค่าสัมปทานเลยแม้แต่บาทเดียว ยิ่งกว่านั้น เมื่อมีรายได้จากการบริหารเวลาออกอากาศของสถานีโทรทัศน์ ก็จะไม่ส่งเข้าเป็นเงินแผ่นดิน แต่จะเก็บไว้ใช้เอง ตรงนี้ รัฐบาลจะต้องทำให้เกิดความชัดเจนเสียก่อน ถ้าจะบริหารในรูปแบบองค์กรมหาชน ที่มีการบริหารงบประมาณของตนเอง ก็ควรจะต้องให้สาธารณะได้มีส่วนร่วมในการวางแนวทางให้ชัดเจน
ตรงกันข้าม การบริหารแบบไม่มีความชัดเจน วันนี้พูดอย่าง พรุ่งนี้ทำอีกอย่าง กลับมีแต่จะเปิด
ช่องให้เอกชนคู่พิพาทได้ฉวยโอกาสหยิบไปใช้ในการฟ้องร้องหรือเจรจาต่อรอง ทำให้รัฐเสียค่าโง่ หรือเสียผลประโยชน์ต่อไปในอนาคต http://www.naewna.com/news.asp?ID=52046ยกประเด็นเปรียบเทียบให้ชัด โดยแนวหน้า