กาลามชน
|
|
« เมื่อ: 30-04-2006, 09:07 » |
|
ในพันทิพกระทู้ไหลเร็วมาก มีกระทู้ดีๆหลายกระทู้ที่ถูกมองข้าม กระทู้หนึ่ง เกี่ยวกับการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญว่า กกต ไม่อยู่ในบังคับของศาลปกครอง http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P4325800/P4325800.htmlสรุปย่อๆ ศาลปกครอง มีไว้ตัดสินข้อขัดแย้งระหว่าง ฝ่ายปกครอง กับ ประชาชน แต่ กกต เป็นองค์กรที่ไม่ถือว่าเป็น ฝ่ายปกครอง กกต จึงไม่อยู่ในอำนาจบังคับของศาลปกครอง กกต น่าจะขึ้นกับทางศาลรัฐธรรมนูญ การฟ้องผ่านศาลปกครอง ไม่มีผล ต้องฟ้องผ่านศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง เพิ่งจะสั่งการเกินขอบเขตอำนาจหน้าที่ เลือนกำหนดวันเลือกตั้ง ตอนนี้ กกต ยังงงๆอยู่ พอตั้งหลักได้แล้ว ไม่รู้ว่าจะเอาเรื่องกลับคืนหรือเปล่า ความเร่งร้อน และกดดันของสังคมในเวลานี้ อาจทำให้สามศาล เกิดความผิดพลาดได้อีก มาบอกข่าวว่า ทำใจไว้หน่อย ในเรื่องของการเลือกตั้ง รัฐธรรมนูญให้อำนาจ กกต ไว้ใหญ่สุดจริง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
โลกสวยงาม
|
|
« ตอบ #1 เมื่อ: 30-04-2006, 09:18 » |
|
ใช่คะ อำนาจกกต.มากจริงๆ สั่งหันซ้ายขวาได้ และที่สำคัญฟังจากนักวิชาการ ว่าที่สว คุยเกี่ยวกับการอำนาจของกกต(จะเอาผิด) บทลงโทษแทบไม่มีหาข้อแก้ตัวได้หมด เช่นการจัดคูหาเลือกตั้ง ก็เป็นสิทธิของกกตที่จัดทำ ไม่ผิด การเอารูปผู้สมัครมาติดไว้ในคูหาเลือกตั้งก็ไม่ผิด อ้างว่าต่างประเทศเขาก็ทำกัน ดูแล้วงวดนี้กกต.รอดตัวแน่นอน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
รักและห่วงแผ่นดินไทย คนไทยทุกคนต้องตอบแทนคุณและสามัคคี
|
|
|
snowflake
|
|
« ตอบ #2 เมื่อ: 30-04-2006, 09:35 » |
|
ขอบคุณ คุณ กาลามชน นะคะ ที่มาสรุปให้ กระทู้นี้เมื่อคืนอ่านแล้วปวดหัว คุณ CanCan บอกอย่าไปสนใจ http://forum.serithai.net/index.php?topic=1185.msg13163#msg13163ที่จริงไม่ได้ปวดหัว แต่ปวดใจ เกรงจะลงเอยได้อย่างสองบรรทัดสุดท้ายของคุณ กาลามชน
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30-04-2006, 10:13 โดย snowflake »
|
บันทึกการเข้า
|
Even the smallest person can change the course of the future.
|
|
|
narong
|
|
« ตอบ #3 เมื่อ: 30-04-2006, 10:28 » |
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ผู้ที่ไม่สามารถจะใช้คนดี ก็ย่อมจะใช้คนไม่ดีหรือคนเลว ถ้าไม่เชื่อผู้ซื่อสัตย์หวังดีต่อตน ก็จะต้องไปเชื่อคนประจบสอพลอ
|
|
|
พรรณชมพู
|
|
« ตอบ #4 เมื่อ: 30-04-2006, 10:33 » |
|
การเลือกตั้งเป็นหน้าที่ค่ะ หากผู้ใดไม่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง จะต้องเสียสิทธิ์ทางการเมือง ดังนั้นการเลือกตั้งเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการปกครอง
อย่างไรก็ตามหากศาลรัฐธรรมนูญจะช่วยตะแบงไปว่า ศาลปกครองไม่มีสิทธิ์พิพากษาในเรื่องการเลือกตั้ง ก็เท่ากับว่า มติของสามศาลที่ได้ประชุมกันไปเพื่อสนองพระราชประสงค์ โดยมีข้อา การพิพากษาคดีต้องเป็นไปในแนวเดียวกัน และภายใต้มาตรฐานเดียวกัน ไม่ก้าวก่ายซึ่งกันและกัน ข้อตกลงเหล่านี้ก็จะล้มเหลวในทันที เพราะศาลตัดสินขัดแย้งกันแล้ว
หากศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่องที่ กกต.อุทรณ์ไว้พิจารณา ก็เท่ากับรับเรื่องที่ศาลอื่นพิจารณาไว้แล้ว เป็นการก้าวก่ายอำนาจกันอย่างชัดเจน ผิดข้อตกลงที่ประชุมกันไว้อีก
กฎหมายนั้นอยู่ที่การตีความ หากศาลรัฐธรรมนูญจะตีความให้เป็นไปอย่างที่จะทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย ก็คงต้องวุ่นวายนั่นแหละค่ะ เพราะนอกจากทักษิณจะเป็นปัญหาของแผ่นดินแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญก็เป็นปัญหาของแผ่นดินเช่นกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
snowflake
|
|
« ตอบ #5 เมื่อ: 30-04-2006, 11:18 » |
|
"นอกจากทักษิณจะเป็นปัญหาของแผ่นดินแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญก็เป็นปัญหาของแผ่นดินเช่นกัน" โห คุณ พรรณชมพู เล่นแรงนะคะ ระวังเจอข้อหา หมิ่นศาล เดี๋ยวได้ไปส่งข้าวผัดโอเลี้ยงกันวุ่น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
Even the smallest person can change the course of the future.
|
|
|
::วิญญาณห้อง2::
|
|
« ตอบ #6 เมื่อ: 30-04-2006, 11:27 » |
|
ผมคิดว่า
กกต. เป็นองค์กรที่เกิดจากรัฐธรรมนูญนะครับ
แต่ยังไง ศาลปกครอง ถ้าหากพิจารณาให้ดี จะพบว่า อำนาจของศาลปกครองคือ การดูแลความเรียบร้อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข
หาก กกต.ทำผิดตามระบอบการปกครอง ศาลปกครองย่อมมีอำนาจสั่งได้??
ส่วนศาลรัฐธรรมนูญ นี่อำนาจขอบเขตอยู่ตรงไหนใครรู้บ้าง
แต่ผมคิดว่าศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจตรวจสอบฝ่ายนิติบัญญัติให้ดำเนินไปตามกรอบของรัฐธรรมนูญ
ผมยังงงๆอยู่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
--------this is the world-------
|
|
|
narong
|
|
« ตอบ #7 เมื่อ: 30-04-2006, 11:46 » |
|
ศาลนี้มีไว้แค่ตีความตัวหนังสือตอนที่คนร่างคิดอะไรไม่ออกหรือไม่มีปัญญาคิดหรือใช้ตีความเข้าข้างผู้มีอำนาจเท่านั้นครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ผู้ที่ไม่สามารถจะใช้คนดี ก็ย่อมจะใช้คนไม่ดีหรือคนเลว ถ้าไม่เชื่อผู้ซื่อสัตย์หวังดีต่อตน ก็จะต้องไปเชื่อคนประจบสอพลอ
|
|
|
กาลามชน
|
|
« ตอบ #8 เมื่อ: 30-04-2006, 11:53 » |
|
อำนาจสามอย่างในระบอบประชาธิปไตย คือ นิติบัญญัติ-บริหาร-และตุลาการ ศาลสูงสุดของอำนาจทั้งสาม คือ ศาลรัฐธรรมนูญ-ศาลปกครอง-ศาลฎีกา
กกต เหมือนเป็นเด็กในความดูแลของ ศาลรัฐธรรมนูญ ทำผิดอะไร ก็ควรต้องฟ้องลูกพี่ คือศาลรัฐธรรมนูญ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
RiDKuN
|
|
« ตอบ #9 เมื่อ: 01-05-2006, 12:34 » |
|
เอาอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญมาให้ดู คุณกาลามชนช่วยแนะนำหน่อย ว่าจะฟ้องศาลรัฐธรรมนูญว่ายังไงดี อำนาจหน้าที่ในข้อไหนของศาลรัฐธรรมนูญ ที่จะนำมาใช้ตัดสินคดีนี้ได้ครับ?
อำ น า จ ห น้ า ที่ ข อ ง ศ า ล รั ฐ ธ ร ร ม นู ญ
ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจหน้าที่โดยสรุปคือ
(๑) พิจารณาวินิจฉัยว่า มติหรือข้อบังคับในเรื่องใดของพรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิกอยู่นั้น จะขัดต่อสถานะและการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือขัดหรือแย้งกับหลักการพื้นฐานแห่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือไม่ (มาตรา ๔๗ วรรคสาม ) (๒) พิจารณาวินิจฉัยว่าบุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการโดยใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ เพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ หรือไม่ (มาตรา ๖๓) (๓) พิจารณาวินิจฉัยว่า สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาคนใดคนหนึ่งสิ้นสุดลงตามมาตรา ๑๑๘ (๓) (๔) (๕)(๖) (๗) (๘) (๙) (๑๑) หรือ (๑๒) หรือมาตรา ๑๓๓ (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๙) หรือ (๑๐) (มาตรา ๙๖) (๔) พิจารณาอุทธรณ์ของสมาชิกพรรคการเมืองที่ร้องขอให้วินิจฉัยเพราะเหตุว่าพรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิกนั้น มีมติให้ตนพ้นจากการเป็นสมาชิกภาพ (มาตรา ๑๑๘ (๘) ) (๕) พิจารณาวินิจฉัยว่ากรรมการการเลือกตั้งคนใดคนหนึ่งขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๓๗ หรือกระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา ๑๓๙ หรือไม่ (มาตรา ๑๔๒) (๖) พิจารณาวินิจฉัยว่า ร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญที่คณะรัฐมนตรีหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสนอใหม่ มีหลักการอย่างเดียวกันหรือคล้ายกันกับหลักการของร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่ต้องยับยั้งไว้หรือไม่ (มาตรา ๑๗๗) (๗) พิจารณาวินิจฉัยว่าการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม และร่างพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่ายของสภาผู้แทนราษฎรหรือของคณะกรรมาธิการ การเสนอ การแปรญัตติหรือการกระทำด้วยประการใด ๆ ที่มีผลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือกรรมาธิการ มีส่วนไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมในการใช้งบประมาณรายจ่าย หรือไม่ (มาตรา ๑๘๐) (๘) พิจารณาวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ หรือการกระทำใดของบุคคลใดตามมาตรา ๑๙๗ (๑) มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ หรือไม่ (มาตรา ๑๙๘) (๙) พิจารณาวินิจฉัยว่าความเป็นรัฐมนตรีของรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งสิ้นสุดลงตามมาตรา ๒๑๖ (๒) (๓) (๔) หรือ (๖) หรือไม่ (มาตรา ๒๑๖ ประกอบมาตรา ๙๖) (๑๐) พิจารณาวินิจฉัยว่าพระราชกำหนดที่คณะรัฐมนตรีเสนอ ไม่เป็นไปตามมาตรา ๒๑๘ วรรคหนึ่ง หรือไม่ (มาตรา ๒๑๙) (๑๑) พิจารณาวินิจฉัยว่า ร่างพระราชบัญญัติ หรือร่างพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญใดที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้วแต่นายกรัฐมนตรียังไม่ได้นำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายพระมหากษัตริย์เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่ (มาตรา ๒๖๒) (๑๒) พิจารณาวินิจฉัยว่าร่างข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ร่างข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา และร่างข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือรัฐสภา แล้วแต่กรณี ให้ความเห็นชอบแล้ว แต่ยังมิได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษามีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หรือไม่ (มาตรา ๒๖๓) (๑๓) พิจารณาวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งจะใช้บังคับแก่คดีใด ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ (มาตรา ๒๖๔) (๑๔) พิจารณาวินิจฉัยกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรต่าง ๆ ตาม รัฐธรรมนูญ (มาตรา ๒๖๖) (๑๕) พิจารณาวินิจฉัยว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองผู้ใด จงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ หรือจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ หรือไม่ (มาตรา ๒๙๕) (๑๖) อำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ เช่น การพิจารณาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของระเบียบอันจำเป็นแก่การปฏิบัติหน้าที่ของ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติก่อนประกาศในราชกิจจานุเบกษา (๑๗) อำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ - พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาด คำสั่งไม่รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองของนายทะเบียนพรรคการเมือง (มาตรา๑๗) - พิจารณาสั่งให้ หัวหน้าพรรคการเมือง กรรมการบริหารพรรคการเมือง ออกจากตำแหน่ง (มาตรา๒๗) - พิจารณาสั่งให้ระงับการกระทำอันฝ่าฝืนนโยบายพรรคการเมือง ข้อบังคับพรรคการเมือง อันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือให้จัดการแก้ไขการกระทำดังกล่าว (มาตรา๒๗) - พิจารณาสั่งยุบพรรคการเมือง ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ (มาตรา๖๕, ๖๖, ๖๗, ๗๒, ๗๓)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
คนไม่มี "อุดมคติ" ไม่ใช่ "นักการเมือง"
|
|
|
(-O-)Koka
|
|
« ตอบ #10 เมื่อ: 01-05-2006, 12:39 » |
|
ไม่เชื่อว่าศาล อ่อนด้อยกว่าโภชินและวิษตุ๊ แต่อย่างใด เพียงแต่ท่านเหล่านั้นไม่อยู่ในฐานะที่จะออกมาพูดสร้างกระแสเหมือนคนของพรรคการเมือง (รวมทั้ง กกน ด้วย)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
| อหิงสาคือความเข้มแข็ง ไม่ใช่ความขี้ขลาด
|
|
|
|
snowflake
|
|
« ตอบ #11 เมื่อ: 01-05-2006, 12:44 » |
|
แหม คุณ (-O-)Koka น้องเค้าพูดผิดนิดเดียวเอง ต้องเอามาล้อด้วย ชักสงกะสัย คุณ (-O-)Koka ตัวจริงคือ เฮียสอ ใช่เปล่า? หัวเราะเข้าไป ใจร้ายๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
Even the smallest person can change the course of the future.
|
|
|
(-O-)Koka
|
|
« ตอบ #12 เมื่อ: 01-05-2006, 12:47 » |
|
แหม คุณ (-O-)Koka น้องเค้าพูดผิดนิดเดียวเอง ต้องเอามาล้อด้วย ชักสงกะสัย คุณ (-O-)Koka ตัวจริงคือ เฮียสอ ใช่เปล่า? หัวเราะเข้าไป ใจร้ายๆ ง่ะ สงสัยมีมุขอะไรในรายการเฮีย สอ แต่ผมเรียก กกน มาตั้งนานแล้วครับ ปล. ไม่ใช่เฮียครับ ดู ถลถค บ่อย แต่ ตอนเช้าไม่ค่อยได้ดู (ตื่นสาย)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
| อหิงสาคือความเข้มแข็ง ไม่ใช่ความขี้ขลาด
|
|
|
|
snowflake
|
|
« ตอบ #13 เมื่อ: 01-05-2006, 12:53 » |
|
อ๋อ งั้นเปลี่ยนใหม่ คุณ (-O-)Koka ก๊อ คือ น้องใหม่คนสวย (สะกดชื่อเธอไม่ถูก) ที่เมื่อเช้าเผลอหลุด/ (ตั้งใจ) ปล่อยมุกเรียก กกต. เป็น กกน. ให้เฮียสอ หัวเราะเยาะ นี่เอง ไมได้ตื่นเช้าค่ะ ตอนนั้นยังไม่ได้เข้านอน พวกมนุษย์ค้างคืน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
Even the smallest person can change the course of the future.
|
|
|
(-O-)Koka
|
|
« ตอบ #14 เมื่อ: 01-05-2006, 13:00 » |
|
อ๋อ งั้นเปลี่ยนใหม่ คุณ (-O-)Koka ก๊อ คือ น้องใหม่คนสวย (สะกดชื่อเธอไม่ถูก) ที่เมื่อเช้าเผลอหลุด/ (ตั้งใจ) ปล่อยมุกเรียก กกต. เป็น กกน. ให้เฮียสอ หัวเราะเยาะ นี่เอง ไมได้ตื่นเช้าค่ะ ตอนนั้นยังไม่ได้เข้านอน พวกมนุษย์ค้างคืน รู้ได้งัยยะ พี่อรปรี เหอๆๆๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
| อหิงสาคือความเข้มแข็ง ไม่ใช่ความขี้ขลาด
|
|
|
|
snowflake
|
|
« ตอบ #15 เมื่อ: 01-05-2006, 13:08 » |
|
คุณ อรปรี เธอดูมีความสุขขึ้นเยอะเลย ไปอยู่ท่ามกลางสาวๆ เจ๊าะแจ๊ะ (ไม่ได้ดูตลอด ทนรำคาญไม่ไหว แค่ไปเยี่ยมคุณอรปรี) ไม่ต้องตื่นแต่เช้ามาเป็นลูกไล่ให้เฮียสอ คนใจร้าย ข่มเอาๆ (เจ้าของกระทู้ เหล่ รึยังเนี่ย เดี๋ยวโดนข้อหาตัวป่วน ทำกระทู้ serious เขาเละ ต้องไปอยู่ห้องขัง )
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
Even the smallest person can change the course of the future.
|
|
|
(-O-)Koka
|
|
« ตอบ #16 เมื่อ: 01-05-2006, 13:14 » |
|
ขาประจำขั้นที่ 2 คือเป้าหมายต่อไป อิอิ จะโดนมั้ยเนี่ย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
| อหิงสาคือความเข้มแข็ง ไม่ใช่ความขี้ขลาด
|
|
|
|
กาลามชน
|
|
« ตอบ #17 เมื่อ: 01-05-2006, 14:17 » |
|
คุณ RiDKuN
รัฐธรรมนูญ 276 ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ที่เป็นข้อพิพาท ระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ กับ เอกชน
กกต เป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นจากรัฐธรรมนูญโดยตรง จึงไม่เข้าข่ายอำนาจของ ศาลปกครอง
++++
ปัญหาเกี่ยวกับการเลือกตั้งไม่บริสุทธิยุติธรรม ต้องฟ้องร้องที่ใคร
ตามรัฐธรรมนูญให้ไปร้องกับ กกต โดยอาจจะเริ่มที่ กกต พื้นที่ก่อน กกต พื้นที่มีคำตัดสินอย่างไร ถ้าไม่พอใจ ให้ไปอุทธรณ์กับ กกต กลางได้ กกต กลาง เหมือนศาลฎีกาในเรื่องของการเลือกตั้ง คำตัดสินถือเป็นที่สุด
แต่ถ้าไม่พอใจคำตัดสินของ กกต กลาง จะทำอย่างไรต่อไป เป็นคำถามที่คล้ายกับถามว่า ไม่พอใจคำตัดสินของศาลฎีกา ควรทำอย่างไร
++++
ในเรื่องของการเลือกตั้ง กกต กลาง ใหญ่สุดแล้ว กกต จะสั่งอะไรก็ได้ ตราบเท่าที่ไม่เกินอำนาจ หรือไปไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญมาตราอื่น แนวทางที่ใช้ต่อสู้ตอนนี้คือ ฟ้องว่าคำสั่งของ กกต ที่ให้หันคูหาเลือกตั้งออก ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 104 ที่บอกว่า การเลือกตั้งต้องทำโดยตรงและลับ ถือว่าเป็นข้อขัดแย้งในข้อกฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่ต้องใช้ ศาลรัฐธรรมนูญ ตัดสิน
ทราบว่า มีผู้ไปฟ้องศาลรัฐธรรมนูญแล้ว และศาลรับฟ้องแล้ว
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01-05-2006, 14:30 โดย กาลามชน »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
RiDKuN
|
|
« ตอบ #18 เมื่อ: 01-05-2006, 14:33 » |
|
คุณ RiDKuN
รัฐธรรมนูญ 276 ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ที่เป็นข้อพิพาท ระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ กับ เอกชน
กกต เป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นจากรัฐธรรมนูญโดยตรง จึงไม่เข้าข่ายอำนาจของ ศาลปกครอง
++++
ปัญหาเกี่ยวกับการเลือกตั้งไม่บริสุทธิยุติธรรม ต้องฟ้องร้องที่ใคร
ตามรัฐธรรมนูญให้ไปร้องกับ กกต โดยอาจจะเริ่มที่ กกต พื้นที่ก่อน กกต พื้นที่มีคำตัดสินอย่างไร ถ้าไม่พอใจ ให้ไปอุทธรณ์กับ กกต กลางได้ กกต กลาง เหมือนศาลฎีกาในเรื่องของการเลือกตั้ง คำตัดสินถือเป็นที่สุด
แต่ถ้าไม่พอใจคำตัดสินของ กกต กลาง จะทำอย่างไรต่อไป เป็นคำถามที่คล้ายกับถามว่า ไม่พอใจคำตัดสินของศาลฎีกา ควรทำอย่างไร
++++
ในเรื่องของการเลือกตั้ง กกต กลาง ใหญ่สุดแล้ว ปัญหาตอนนี้คือ คำสั่งของ กกต ขัดรัฐธรรมนูญที่บอกว่า การเลือกตั้งต้องทำโดยตรงและลับ ถือว่าคำสั่งจัดคูหาเลือกตั้งของ กกต ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 104 ถือว่าเป็นข้อขัดแย้งในกฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่ต้องใช้ ศาลรัฐธรรมนูญ ตัดสิน
ทราบว่า มีผู้ไปฟ้องศาลรัฐธรรมนูญแล้ว และศาลรับฟ้องแล้ว
อย่าว่าอย่างงั้นอย่างงี้เลยนะ พอดีผมไปตรวจสอบที่ ฐานข้อมูลหน่วยงานของรัฐก็พบว่ามีหมวด "หน่วยงานอิสระ" ด้วย และมีสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งอยู่ด้วย แบบนี้หาก กกต. มิใช่ "หน่วยงานของรัฐ" ก็แปลว่าฐานข้อมูลผิดพลาด หรือว่าความจริงแล้ว กกต. ก็คือ "หน่วยงานของรัฐ" กันแน่?
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
คนไม่มี "อุดมคติ" ไม่ใช่ "นักการเมือง"
|
|
|
soco
|
|
« ตอบ #19 เมื่อ: 01-05-2006, 14:42 » |
|
พระราชบัญญัติ ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2540 เป็นปีที่ 52 ในรัชกาลปัจจุบัน มาตรา 3 บรรดากฎหมาย กฎ ระเบียบ และข้อบังคับอื่น ในส่วนที่บัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือ ซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้ "ข้อมูลข่าวสาร " หมายความว่า สิ่งที่สื่อความหมายให้รู้เรื่องราวข้อเท็จจริง ข้อมูล หรือสิ่งใดๆ ไม่ว่าการสื่อความหมายนั้นจะทำได้โดยสภาพของสิ่งนั้นเองหรือโดยผ่านวิธีการใดๆ และไม่ว่าจะ ได้จัดทำไว้ในรูปของเอกสารแฟ้ม รายงาน หนังสือ แผนผัง แผนที่ ภาพวาด ภาพถ่าย ฟิล์ม การบันทึก ภาพหรือเสียง การบันทึกโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือวิธีอื่นใดที่ทำให้สิ่งที่บันทึกไว้ปรากฏได้ "ข้อมูลข่าวสารของราชการ " หมายความว่า ข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินงานของรัฐหรือข้อมูลข่าว สารเกี่ยวกับเอกชน "หน่วยงานของรัฐ " หมายความว่า ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ ส่วนราชการสังกัดรัฐสภา ศาลเฉพาะในส่วนที่ไม่เกี่ยวกับการพิจารณาพิพากษาคดี องค์กรควบคุมการประกอบวิชาชีพ หน่วยงานอิสระของรัฐและหน่วยงานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง "เจ้าหน้าที่ของรัฐ " หมายความว่า ผู้ซึ่งปฏิบัติงานให้แก่หน่วยงานของรัฐ "ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล " หมายความว่า ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของบุคคล เช่น การศึกษา ฐานะการเงิน ประวัติสุขภาพ ประวัติอาชญากรรม หรือประวัติการทำงาน บรรดาที่มีชื่อ ของผู้นั้นหรือมีเลขหมาย รหัสหรือสิ่งบอกลักษณะอื่นที่ทำให้รู้ตัวผู้นั้นได้ เช่น ลายพิมพ์นิ้วมือ แผ่น บันทึกลักษณะเสียงของคนหรือรูปถ่าย และให้หมายความรวมถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของผู้ที่ถึงแก่กรรมแล้วด้วย "คณะกรรมการ " หมายความว่า คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ "คนต่างด้าว " หมายความว่า บุคคลธรรมดาที่ไม่มีสัญชาติไทยและไม่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย และนิติบุคคลดังต่อไปนี้ (1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่มีทุนเกินกึ่งหนึ่งเป็นของคนต่างด้าวใบหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือให้ ถือว่าใบหุ้นนั้นคนต่างด้าวเป็นผู้ถือ (2) สมาคมที่มีสมาชิกเกินกึ่งหนึ่งเป็นคนต่างด้าว (3) สมาคมหรือมูลนิธิที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ของคนต่างด้าว (4) นิติบุคคลตาม (1) (2) (3) หรือนิติบุคคลอื่นใดที่มีผู้จัดการหรือกรรมการเกินกึ่งหนึ่งเป็นคนต่างด้าว นิติบุคคลตามวรรคหนึ่ง ถ้าเข้าไปเป็นผู้จัดการหรือกรรมการ สมาชิก หรือมีทุนในนิติบุคคลอื่น ให้ถือว่าผู้จัดการหรือกรรมการ หรือสมาชิก หรือเจ้าของทุนดังกล่าวเป็นคนต่างด้าว http://www.kodmhai.com/m4/m4-2/H19/m1-6.html
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
soco
|
|
« ตอบ #20 เมื่อ: 01-05-2006, 14:53 » |
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กาลามชน
|
|
« ตอบ #21 เมื่อ: 01-05-2006, 15:10 » |
|
คุณ soco
น่าสนใจครับ แต่อยากขอความเห็นว่า กกต เป็นข้อยกเว้นที่ 3 หรือไม่ เพราะโดยนัยของกฎหมายเป็นผู้ตัดสินกรณีฟ้องร้องที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งโดยเฉพาะ
เรื่องดังต่อไปนี้ไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครอง (1) การดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหาร (2) การดำเนินการของคณะกรรมการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วย ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ (3) คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ศาล ล้มละลาย หรือศาลชำนัญพิเศษอื่น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
soco
|
|
« ตอบ #22 เมื่อ: 01-05-2006, 15:16 » |
|
อันไหนใช้อำนาจ "ทางปกครอง" ส่งผลกระทบต่อประชาชน ตาสี ตาสา ยายมี ยายแม้น
ขึ้น ต่อ ศาลปกครอง ครับ
น่ะคร๊าบบ
******
คงเข้าใจน่ะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
snowflake
|
|
« ตอบ #23 เมื่อ: 01-05-2006, 15:51 » |
|
เห็นเหมือนคุณ soco ค่ะ
ประชาชนเดือดร้อน จากหน่วยงานของรัฐ (อ้างคุณ RiDKuN #18)
ย่อมขอความเป็นธรรมจากศาลปกครองได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
Even the smallest person can change the course of the future.
|
|
|
กาลามชน
|
|
« ตอบ #24 เมื่อ: 01-05-2006, 16:40 » |
|
ฟ
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01-05-2006, 16:55 โดย กาลามชน »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กาลามชน
|
|
« ตอบ #25 เมื่อ: 01-05-2006, 16:49 » |
|
คุณ soco
กกต จะอยู่ใต้อำนาจของ ศาลปกครอง หรือ กกต จะเป็นข้อยกเว้นที่ 3 ของศาลปกครอง
ผู้ตัดสินชี้ขาด คือ ศาลรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 266 ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรต่างๆตามรัฐธรรมนูญ ให้องค์กรนั้น หรือประธานรัฐสภา เสนอเรื่องพร้อมความเห็นให้ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัย
เรื่องนี้ศาลรัฐธรมนูญเคยตัดสินไปแล้วครั้งหนึ่งว่าไม่ แต่ตอนนี้พูดกันมากว่า ศาลอาจจะกลับคำตัดสินก็ได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
soco
|
|
« ตอบ #26 เมื่อ: 01-05-2006, 17:04 » |
|
ตอบง่าย ๆ น่ะครับ
ไครทำผิด กฎหมาย เรื่องใด ๆ
ก็จะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ของศาลนั้นเป็นกรณีไป
ไม่มีใครอยู่เหนือกฎหมาย
น่ะจ๊ะ
อ่านให้มากเข้าใว้ และจะเข้าใจครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กาลามชน
|
|
« ตอบ #27 เมื่อ: 01-05-2006, 17:11 » |
|
ตอบง่าย ๆ น่ะครับ
ไครทำผิด กฎหมาย เรื่องใด ๆ
ก็จะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ของศาลนั้นเป็นกรณีไป
ขณะนี้ฟ้องว่า กกต ทำผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 104 กกต ควรจะขึ้นศาลอะไรครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
soco
|
|
« ตอบ #28 เมื่อ: 01-05-2006, 17:15 » |
|
ไม่บอกครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
soco
|
|
« ตอบ #29 เมื่อ: 01-05-2006, 17:22 » |
|
ทดสอบความรู้น่ะครับ
ในกรณี กกต.ขึ้นเงินเดือนตัวเอง
ท่านคิดว่า ถ้ามีผู้ร้องกล่าวโทษ ขึ้นกับศาลใด
ให้เวลาครึ่งชั่วโมง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นู๋เจ๋ง
|
|
« ตอบ #30 เมื่อ: 02-05-2006, 04:09 » |
|
ศาลท่านบอกว่า ถ้า เรื่องไม่เข้าข่ายอำนาจศาลไหนเลย น่ะยิ่งง่าย ใช้ศาลยุติธรรมกลาง ศาลฎีกา พิจารณาได้เลย
ขอให้ไม่เข้าข่ายจริงๆเหอะ ง่าย ไม่มีใครรอดพ้นไปได้หรอก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
~จะแน่วแน่...แก้ไข...ในสิ่งผิด~
|
|
|
กาลามชน
|
|
« ตอบ #31 เมื่อ: 02-05-2006, 07:52 » |
|
เรื่องถ้ามีหลายแง่มุมในตัว จะขึ้นได้หลายศาล จะเลือกฟ้องศาลใด ขึ้นกับว่าต้องการผลการตัดสินอย่างไหน เพราะถ้ามีแง่มุมที่จะพิจารณาได้ ศาลมักจะรับฟ้อง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
::วิญญาณห้อง2::
|
|
« ตอบ #32 เมื่อ: 02-05-2006, 08:10 » |
|
คือ เท่าที่สังเกต หลังจากอ่านอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ว่ามีอะไรบ้าง
ผมสังเกตได้ว่า
ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยไปถึง การกล่าวหาของตัวบุคคล ว่าทำหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ กล่าวโทษว่า กกต. นักการเมือง ท่านนั้นท่านนี้ผิดรัฐธรรมนูญ ควรที่จะฟ้องที่ศาลรัฐธรรมนูญ
แต่ถ้ากล่าวหาว่า การเลือกตั้งนั้นมิชอบตามรัฐธรรมนูญ อันนี้ผมยังเห็นว่าจะต้องฟ้องที่ศาลปกครอง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
--------this is the world-------
|
|
|
กาลามชน
|
|
« ตอบ #33 เมื่อ: 02-05-2006, 08:27 » |
|
ฟ้องว่า กกต ทำไม่ถูก ก็น่าจะต้องดูประเด็นว่า กกต ไม่ถูกอย่างไร คนเหมาเอาว่าการเลือกตั้ง เป็นการเลือกผู้ปกครอง จึงเกี่ยวกับศาลปกครอง แต่การสรรหาผู้ปกครอง กับการปกครอง น่าจะเป็นคนละส่วนกัน
ถ้าฟ้องว่าการเลือกตั้งไม่บริสุทธิ์ยุติธรรม ต้องฟ้อง กกต นั่นแหละ ดังนั้น กกต จะตัดสินอะไร ก็เลยไม่มีใครไปค้านได้ จะค้านได้ ในกรณีที่ กกต ทำการไม่ตรงกับที่รัฐธรรมนูญบอก ตอนนี้เหมือนตีประเด็นว่า ทำอย่างนี้ผิดรัฐธรรนูญมาตรา 104 หรือเปล่า คนฟ้องคิดว่าผิด แต่ กกต บอกว่าไม่ผิด เลยการเป็นการตีความไป ก็น่าจะเป็นศาลรัฐธรรมนูญ
ตอนนี้ศาลรัฐธรรมนูญก็รับฟ้องแล้ว และดูเหมือนศาลปกครองก็เงียบๆไปแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
::วิญญาณห้อง2::
|
|
« ตอบ #34 เมื่อ: 02-05-2006, 08:56 » |
|
อ่าฮะ
ต้องแยกนิดนิงครับ
คือผมเข้าใจตามที่คุณกาลามชนว่านะครับ
แต่หาก กกต. มีอำนาจถูกต้อง ทำถูกต้อง แต่การเลือกตั้งนั้นผิด เช่น กำหนดให้เลือกตั้งใน 30 วัน โดยความ กกต.ทำตามอำนาจ แต่ไม่เหมาะสมตามระบอบการปกครอง อันนี้ศาลปกครองมีอำนาจหรือไม่ครับ????
อันนี้ตามความคิดผมนะครับ
คือเมื่อร้องว่าการเลือกตั้งไม่บริสุทธิ์ ก็จะต้องฟ้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ
หาก กกต. ทำผิด การเพิกถอนการเลือกตั้ง อำนาจจะตกต่อศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่?? หรือต้องให้ศาลปกครองเพิกถอน??
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02-05-2006, 08:59 โดย ::วิญญาณห้อง2:: »
|
บันทึกการเข้า
|
--------this is the world-------
|
|
|
กาลามชน
|
|
« ตอบ #35 เมื่อ: 02-05-2006, 09:25 » |
|
การที่ศาลรับฟ้อง เป็นเรื่องที่น่าจะพอใจ จะเป็นศาลไหนที่รับฟ้อง ก็น่าจะใช้ได้
ผมมาตั้งกระทู้บอกข่าว ในชั่วโมงที่สังคมส่วนใหญ่ ยังไม่ทราบแพร่หลายว่า ก่อนหน้านี้ศาลรัฐธรรมนูญเคยตัดสินให้ กกต ไม่ต้องทำตามศาลปกครอง บอกข่าวเพื่อให้ทราบว่า ประเดี๋ยวก็คงเป็นเรื่อง เพราะ กกต คงไม่ยอมแน่ ซึ่งในวันต่อมาก็เป็นเรื่องจริงๆ
ก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร ก็แค่ไปย้ายไปฟ้องศาลให้ถูก ก็จบปัญหา ซึ่งถัดมาอีกวัน ก็มีคนไปฟ้องศาลรัฐธรรมนูญ และศาลรัฐธรรมนูญก็รับฟ้อง บอกว่าอีก 3 วันก็จะให้คำตอบ
-----
ผมตั้งกระทู้ ไม่ใช่เพราะเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมาย แค่อาศัยว่าเป็นเรื่องที่ศาลเคยตัดสินไป ก็น่าเชื่อว่าแนวทางน่าจะไปทางนั้น ที่อธิบายไป ผมก็เอามาจากที่ผู้รู้ท่านอื่นๆที่เขาอธิบายว่า เหตุผลอะไร ทำไม กกต จึงไม่ขึ้นกับศาลปกครอง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ลมรำเพย
น้องใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 12
|
|
« ตอบ #36 เมื่อ: 02-05-2006, 21:30 » |
|
เมื่อวานได้ฟังจากรายการวิทยุหรือทีวีไม่แน่ใจนัก แต่ได้พูดถึงคำตัดสินจากศาลรัฐธรรมนูญถึงเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ กกต. กับ ศาลปกครองไว้ รู้สึกจะระบุถึงคำตัดสิน 52/2546 กับ 24/2543 (จำผิดพลาดก็ขออภัยไว้ก่อน) คำตัดสิน 52/2546 ระบุว่า กกต. มีสิทธิ์ในการจัดการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญกำหนดได้ มีรายละเอียดถึงเรื่องการจัดเลือกตั้งว่าจะต้องทำอย่างไรบ้าง ศาลปกครองไม่สามารถไปยุ่งเกี่ยวในเรื่องการจัดการเลือกตั้งได้ แต่...ไม่ได้ระบุว่าหากการจัดการเลือกตั้งนั้นไม่สุจริตและเที่ยงธรรมตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ศาลปกครองไม่สามารถจะเข้าไปยุ่งเกี่ยวได้ (อันนี้ตามที่ผู้ถูกสัมภาษณ์ได้ให้ความเห็นไว้) ซึ่งรายละเอียดต่าง ๆ หากจะยกมากล่าวอ้าง คงต้องกลับไปอ่านคำพิพากษาทั้งหมดอย่างละเอียดอีกทีว่ามีระบุไว้อย่างไร แค่ไหน ไม่ใช่มาจับประเด็นแค่ว่าห้ามศาลปกครองไปยุ่งเกี่ยวตัดสินการกระทำของ กกต. อย่างที่มีคนมาพูดในขณะนี้ หลาย ๆ เรื่องที่เห็นพูดกันในราชดำเนิน หลายคนชอบมีการนำข้อมูลมากล่าวอ้างอยู่บ่อย ๆ แต่ไม่นำพูดให้หมด เพียงแต่นำข้อความแค่บางส่วนที่เป็นประโยชน์ในการสนับสนุนความคิดเห็นของตัวเองมาพูดไว้ โดยไม่ได้ยกข้อความทั้งหมดมาให้เห็นถึงจุดประสงค์ทั้งหมดในข้อความนั้น พวกนี้แหละน่าจะเป็นพวกที่ทำให้เกิดปัญหา เพราะจะทำให้คนที่ได้รับข้อมูลผิด ๆ เข้าใจผิดจากความเป็นจริงจนเป็นปัญหาลุกลามไปใหญ่โตได้ ควรที่จะต้องจี้ให้คนเหล่านั้นเสนอความคิดเห็นและข้อมูลที่ถูกต้องกับคนอื่น ๆ เพื่อความจริงในสังคมกันต่อไป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
RiDKuN
|
|
« ตอบ #37 เมื่อ: 03-05-2006, 03:11 » |
|
อ้างอิง: คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 24/2543อ้างอิง: คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 56/2546หากพิจารณาจากคำวินิจฉัยที่ 24/2543 เรื่องที่บอกว่า ศาลปกครองไม่สามารถพิจารณาคดีที่เกี่ยวกับระเบียบของ กกต. นั้น มิใช่ "คำวินิจฉัย" โดยตรง แต่ว่าเป็นในส่วนที่ศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณา เพื่อที่จะบอกว่าศาลรัฐธรรมนูญควรจะรับเรื่องไว้วินิจฉัยหรือไม่ อย่างไรก็ดี แม้ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะเคยวินิจฉัยไว้เช่นไร แต่เมื่อพิจารณาที่มาตรา 3 ของพรบ. ศาลปกครอง เกี่ยวกับนิยามของคำว่า "เจ้าหน้าที่ของรัฐ" ซึ่งหมายความถึง (1) ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง คณะบุคคล หรือผู้ที่ปฏิบัติงานใน หน่วยงานทางปกครอง (2) คณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท คณะกรรมการหรือบุคคลซึ่งมีกฎหมายให้อำนาจในการออกกฎ คำสั่ง หรือมติใด ๆ ที่มีผลกระทำต่อบุคคล และ (3) บุคคลที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของหน่วยงานทาง ปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐตาม (1) หรือ (2) ผมพิจารณาอย่างไร ก็เห็นว่า กกต. นั้นคือ "คณะกรรมการหรือบุคคลซึ่งมีกฎหมายให้อำนาจในการออกกฎ คำสั่ง หรือมติใด ๆ ที่มีผลกระทำต่อบุคคล"ชัดเจนโดยมีอำนาจตาม พรบ. คณะกรรมการการเลือกตั้ง และมีอำนาจออกมติมีผลกระทำต่อพวกผม ทำให้พวกผมต้องเลือกตั้งโดยการหันหลังออก ถ้าผมได้เจอตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผมก็อยากจะถามจริงๆ ว่าทำไมท่านจึงบอกว่าคณะกรรมการการเลือกตั้ง จึงไม่ใช่ "เจ้าหน้าที่ของรัฐ" ในเมื่อ พรบ. ศาลปกครอง ก็ระบุไว้ชัดเจน?
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
คนไม่มี "อุดมคติ" ไม่ใช่ "นักการเมือง"
|
|
|
นู๋เจ๋ง
|
|
« ตอบ #38 เมื่อ: 03-05-2006, 05:20 » |
|
กกต จัดการเลือกตั้ง ไม่บริสุทธิ์ยุติธรรม ต่อประชาชน ต่อมหาชน เข้าข่ายกฎหมายใด
คนไม่รู้สึกในความมีอิสระ ไม่เสรีในการเข้าคูหาเลือกตั้ง
ติ๊กต่อก ติ๊กต่อก เข้าข่ายศาลใด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
~จะแน่วแน่...แก้ไข...ในสิ่งผิด~
|
|
|
นู๋เจ๋ง
|
|
« ตอบ #39 เมื่อ: 03-05-2006, 05:22 » |
|
ผลจากการเลือกตั้ง มีผลต่อประโยชน์สุข และความวุ่นวาย ของมหาชน เข้าข่ายศาลใด ติ๊กต่อก ติ๊กต่อก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
~จะแน่วแน่...แก้ไข...ในสิ่งผิด~
|
|
|
นู๋เจ๋ง
|
|
« ตอบ #40 เมื่อ: 03-05-2006, 05:28 » |
|
การเลือกตั้ง กระทำผิดในข้อบางข้อที่กำหนดในรัฐธรรมนูญ ก็จะเข้าข่าย อีกศาล แยกศาลพิจารณาก็ได้
ดังนั้น บางกรณี ศาลนี้ อีกกรณีก็ศาลนั้น แต่ 3 ศาล ประชุมร่วม ว่าจะเป็นไปในทางเดียวกัน \\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\ เริ่มกังขา ข้องใจ ต้องเอ็กซะเรย์ ตุลาการในศาลรัฐธรรมนูญ ซะหน่อยแร้ว.....
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
~จะแน่วแน่...แก้ไข...ในสิ่งผิด~
|
|
|
กาลามชน
|
|
« ตอบ #41 เมื่อ: 03-05-2006, 08:10 » |
|
ผมคิดว่าความเห็นที่ไม่ตรงกัน เกิดจาก 1. ระเบียบในหลายที่หลายส่วน เขียนฐานะของ กกต ไม่สอดคล้องกัน หรือ 2. มีการตีความฐานะ กกต ทางอ้อมโดยใช้นิยาม
ถ้ามีการขัดแย้งเกี่ยวกับฐานะของ กกต จะถือตามกฎ ระเบียบ หรือนิยามของใคร... ผมคิดว่า...บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ ใหญ่สุด กฎระเบียบอื่น หรือการตีความด้วยนิยาม แม้จะเขียนไว้ชัดเจนแค่ไหน ก็แย้งรัฐธรรมนูญไม่ได้ เมื่อศาลรัฐธรรมนูญ เคยมีวินิจฉัยโดยอ้างความตามรัฐธรรมนูญ ก็ควรจะถือเป็นยุติ
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03-05-2006, 12:22 โดย กาลามชน »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กาลามชน
|
|
« ตอบ #42 เมื่อ: 03-05-2006, 10:58 » |
|
อธิบายเพิ่ม ตามความเข้าใจ โดยอ้างตามคำตัดสินเก่าของศาลรัฐธรรมนูญ
ศาลปกครอง มีหน้าที่ตัดสินข้อพิพาทระหว่าง เอกชน กับ รัฐ รวมถึง หน่วยงานอิสระของรัฐ แต่ กกต เป็นหน่วยงานที่ตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ ถือว่าไม่ใช่หน่วยงานของรัฐ ดังนั้น กกต จึงไม่ได้อยู่ในขอบเขตอำนาจของศาลปกครอง
++++++++
ปัญหาเท่าที่เห็นคือ กฎระเบียบ ที่ออกโดยหน่วยราชการบางแห่ง ไปเขียนบอกในทำนองว่าว่า กกต เป็นหน่วยงานอิสระของรัฐ ถ้าอ้างตามกฎระเบียบย่อยๆเหล่านี้ ก็ถือว่า กกต อยู่ในอำนาจศาลปกครอง ซึ่งไม่ถูกต้อง เพราะต้องถือว่ารัฐธรรมนูญใหญ่กว่า
ปัญหาอีกอย่างคือการตีความฐานะทางอ้อม โดยอ้างนิยาม ในทำนองว่า การทำงานของ กกต มีส่วนเกี่ยวต่อการปกครอง ก็ควรอยู่ในขอบเขตของศาลปกครอง การตีความทางอ้อม น่าจะใช้ได้ใน กับเรื่องที่ไม่มีบัญญัติไว้ตรงๆ แต่ถ้ามีบัญญัติอยู่แล้ว จะเอาการตีความโดยนิยาม มาล้มข้อความที่เขียนไว้ตรงๆได้หรือ
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03-05-2006, 11:04 โดย กาลามชน »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
RiDKuN
|
|
« ตอบ #43 เมื่อ: 03-05-2006, 11:41 » |
|
ผมเคยได้ยินว่า ศาลรัฐธรรมนูญอาจกลายเป็นรัฐธรรมนูญเสียเองวันนี้ผมเข้าใจแล้วว่ามันหมายความว่าอย่างไร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
คนไม่มี "อุดมคติ" ไม่ใช่ "นักการเมือง"
|
|
|
กาลามชน
|
|
« ตอบ #44 เมื่อ: 03-05-2006, 12:38 » |
|
รัฐธรรมนูญเขียนไว้ไม่ดี.. ไม่รู้ว่าจะแยกไปทำไมหลายศาล
ใจผมคิดว่า น่าจะมีแต่ ศาลปกครองอย่างเดียว แล้วก็ให้การตัดสินปัญหาเลือกตั้ง เป็นหน้าที่หนึ่งของศาลปกครอง แต่เมื่อรัฐธรรมนูญเขียนมาแล้ว ก็ต้องยึดถือตามนี้ จนกว่าจะมีการแก้กฎหมาย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แอ่นแอ๊น
|
|
« ตอบ #45 เมื่อ: 05-05-2006, 13:23 » |
|
รัฐธรรมนูญเขียนไว้ไม่ดี.. ไม่รู้ว่าจะแยกไปทำไมหลายศาล
ไม่ใช่หรอกค่ะ แยกตามอำนาจหน้าที่ ศาลรัฐธรรมนูญก็มีอำนาจในการพิจารณาเกี่ยวรัฐธรรมนูญ ส่วนศาลปกครองก็เกี่ยวกับการปกครอง จงใจแยกเขตอำนาจของศาลไว้แล้ว ไม่ใช่รัฐธรรนูญไม่ดี แต่คนใช้และคนพิจารณาต้องมีความเที่ยงตรง โดยเฉพาะศาล รธน ชุดนี้ มีชนักปักหลังเรื่องขึ้นเงินเดือนตัวเอง ซึ่งกรณี ปปช ศาลฎีกาพิจารณาแล้วว่าทำผิด คนที่ทำเช่นเดียวกับ ปปช ก็ผิดเช่นกัน ศาล รธน จะโดนหนักสุด เพราะเป็นถึงศาล แต่ไม่พิจารณาตัวเอง เป็นเหตุให้ศาลปกครองบอยคอตไม่ยอมร่วมสังฆกรรม ศาล รธน จึงไม่ครบองค์มาตลอด จนเมื่อวันศุกร์ที่แล้ว อะไรจะดีจะชั่ว อยู่ที่คนใช้ กฎ กติกา ตั้งขึ้นมาด้วยเจตนาดี แต่คนใช้ตีความให้ชั่ว ก็กลายเป็นกฎชั่วๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"เมื่อเจตนาเบี่ยงเบนไปจากความจริง การนำเสนอข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง บางทีก็เป็นเพียงภาษาสุภาพสำหรับการพูดเท็จนั่นเอง" : วิถีแห่งปราชญ์ พิมพ์ครั้งที่ ๗ หน้า ๒๐๖
|
|
|
|