ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
28-03-2024, 16:12
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ประชาธิปไตยคือหัวใจของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1] 2 3
ประชาธิปไตยคือหัวใจของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  (อ่าน 8208 ครั้ง)
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« เมื่อ: 24-02-2007, 22:10 »

ประชาธิปไตยคือหัวใจของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

บทความโดย : พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์

นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลชาวเอเชียคนแรกชื่ออำมาตยา เซ็น ได้เสนอความเห็น
ที่ใช้เวลาหลายปีกว่านักเศรษฐศาสตร์และบรรดาอำมาตย์ (เซ็ง) อีกหลายคน จะเข้าใจ
ว่าประชาธิปไตยคือหัวใจของการแก้ปัญหาความยากจน (1)

ในมุมคิดของอำมาตยา เซ็น ส่วนสำคัญของการแก้ปัญหาเศรษฐกิจและความยากจน
ไม่ได้อยู่ที่การลงทุนจากต่างประเทศ ความเชื่อมั่นในการลงทุนจากต่างชาติ ความ
ช่วยเหลือจากต่างชาติ หรือการประชาสัมพันธ์เชิงรุก รวมถึงนโยบายเศรษฐกิจแบบ
‘ชาตินิยมชักดาบ’... (2)

หากแต่อยู่ที่ระบบการแบ่งปันทรัพยากร ว่าใครคือคนตัดสินใจในการแบ่งสรรทรัพยากร
ของประเทศ

ถ้าประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมในการกำหนดความพอดีและความพอเพียง อย่าว่าแต่ต่าง
ชาติจะไม่เข้าใจว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงหมายความว่าอะไรเลยครับ ... ประชาชน
ในประเทศก็ไม่เข้าใจว่าอะไรคือความพอดีและความพอเพียงเช่นกัน

ถ้าประชาชนไม่ได้รับการคุ้มครองในเรื่องเสรีภาพทางการเมือง เสรีภาพทางเศรษฐกิจ
โอกาสทางสังคม หลักประกันความโปร่งใส และการคุ้มครองความปลอดภัย เราจะมี
ระบบเศรษฐกิจที่มีรากฐานจากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างไร?

ประชาชนที่จะอยู่ในระบอบเศรษฐกิจแบบพอเพียงควรเป็นประชาชนที่ได้รับ ‘ข้อมูล
ประชาสัมพันธ์เชิงรุกของรัฐบาล ภายใต้นโยบายข้อมูลข่าวสารแบบทีใครทีมัน’ (3)
... หรือควรเป็นประชาชนที่สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่หลากหลาย และสามารถ
ตั้งคำถามและถกเถียงในเรื่องของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้?


จริงหรือที่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงควรถูก ‘ผูกขาดโดยรัฐบาล’ ที่ทำหน้าที่บังคับ
ใช้
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงราวกับเป็น ‘คำสั่ง’ ที่ ประชาชนต้องปฏิบัติโดยพร้อมเพรียง
กันและปราศจากข้อสงสัย?


หรือขนาดนำเสนอภาพว่า ‘บริษัททุนนิยมขนาดใหญ่’ นั้นร่ำรวยขึ้นมาได้ด้วยการดำเนิน
ชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งที่ผลิตภัณฑ์ของบริษัทจำนวนไม่น้อย นำไปสู่
การเปลี่ยนผ่านสังคมสู่สังคมทุนนิยมและอุตสาหกรรมเกษตรขนาดใหญ่ การบริโภคผ่าน
ศูนย์การค้า และร้านชำที่กระจายตัวไปทุกหย่อมความเจริญ รวมทั้งการเป็นเจ้าของ
บริษัทสื่อสารขนาดใหญ่? (4)

หรือว่า ... ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไม่ควรถูกผูกขาดโดยรัฐราชการและทุนนิยมที่
พยายามทั้งอ้างทั้งปั้นว่าความสำเร็จขององค์กรตัวเองจากอดีตมาสู่ปัจจุบันนั้นมา
จากหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงควรเป็นของประชาชนที่มีเสรีภาพในการเลือกนำไปปฏิบัติ
และประยุกต์ใช้ พร้อมทั้งสามารถพัฒนาแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงต่อไปได้
ในอนาคตมิใช่หรือ?

รัฐบาลเองมีตัวชี้วัดอะไรในการวัดความสำเร็จและประเมินผลงานของรัฐบาลภายใต้
ระบอบเศรษฐกิจและการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจในแบบที่อ้างว่าดำเนินตามปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียง? หรือว่าทำได้แค่รอสื่อแท้ในสังคมสมานฉันท์ที่เน้นหนักการประชา-
สัมพันธ์เชิงรุกคอยตีพิมพ์โพลรายวันว่าประชาชนเห็นด้วยกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง?

เวลาที่พูดถึงดรรชนีความสุข และความพอเพียง เราพูดถึงไหมว่ารัฐบาลนี้จะมีนโยบาย
ว่าด้วยเรื่องสวัสดิการสังคม และนโยบายว่าด้วยการกระจายความมั่งคั่งในสังคมอย่างไร?
นโยบายสวัสดิการสังคมและการกระจายความมั่งคั่งในสังคมโดยรัฐในแบบไหนที่จะทำให้
สังคมสามารถไปสู่จุดหมายตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้? อาทิ การดำเนินนโยบาย
เศรษฐกิจตามปรัชญาเศรษฐกิจแบบพอเพียงแบบไม่มีรัฐบาลเลย หรือมีรัฐบาล ‘เผด็จการ
สุภาพบุรุษ’ หรือจะเอารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนภายใต้รัฐธรรมนูญที่
ประชาชนเป็นผู้ร่าง?

จริงหรือที่ประชาชนไทยไม่มีความเข้าใจปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจนถึงกับต้องไป
ระดมผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองมาอธิบายให้ฟัง? หรือเอาเข้าจริงแล้วปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียงที่ทำกันอยู่นั้นเป็นเพียงกระบวนการประณามทุนนิยมและโลกาภิวัตน์แบบมือ
ถือสากปากถือศีลไปเรื่อยๆ ในฐานะเป็นเครื่องมือทางการเมืองและอุดมการณ์ที่จะสลัด
หลุดจากภาพลักษณ์การคบหาสมาคมและความเป็นพันธมิตรกับทักษิณ ซึ่งถ้าเป็นเช่น
นั้นจริง การออกมาอธิบายเศรษฐกิจพอเพียงในที่สาธารณะของคนจำนวนไม่น้อยนั้นก็
ไม่ใช่เรื่องของการมุ่งหวังให้ประชาชนเข้าใจ เท่ากับมุ่งหวังให้ผู้มีอำนาจเข้าใจว่าพร้อม
ถูกเรียกใช้ในนามของการทำงานเพื่อบ้านเมืองเสียมากกว่า

หรือว่าการนำไปสู่การสร้างสังคมบนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้นจะทำได้ จะต้องขจัด
เงื่อนไขทางการเมืองเศรษฐกิจและสังคมที่มากไปกว่าการรัฐประหารโค่นล้มทักษิณ
ชินวัตร (คนเดียว ไม่รวม ‘และพวก’) และการทำให้เกิดการรองรับสิทธิของประชาชนที่
จะได้รับการคุ้มครองและการยอมรับจากรัฐ โดยประชาชนต้องมีส่วนในการกำหนด
นโยบายเศรษฐกิจที่มีฐานจากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งย่อมจะต้องสะท้อนออก
มาจากกติกาทางการเมืองของสังคมนั้นๆ และถ้ากติกาไม่ลงตัว หรือกติกาถูกละเมิด
ไม่ว่าจะจากฝ่ายไหนก็ตาม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจะถูกนำไปปฏิบัติจากประชาชน
ได้อย่างไร?

อย่าแก้ปัญหาเศรษฐกิจโดยการ ‘แช่แข็งการพัฒนาทางการเมือง’ แล้วยัดเยียดปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียงราวกับการส่งเสริมอุดมการณ์พัฒนาแบบทุนนิยมในยุค ‘น้ำไหล ไฟ
สว่าง ทางดี มีงานทำ’ อีกเลยครับ เพราะนั่นหมายถึงว่า เรากำลังจะเห็นตรรกะของการ
เป็นรัฐระบบราชการที่หมกมุ่นกับการพัฒนาในฐานะฐานความชอบธรรมของรัฐ
(developmental state) กลับมาทำงานอย่างเข้มข้นและเข้มแข็งเหมือนยุคแห่งการ
หมกมุ่นการพัฒนาเช่นเดิม แต่ด้วยภาษาใหม่คือปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่ทำหน้าที่
เป็นเพียงแค่พาหะนำเอาอำนาจของรัฐราชการมาบังคับประชาชนให้ทำตามเหมือนที่
ผ่านมา (5)

โปรดคืนอำนาจให้ประชาชนโดยการสร้างบรรยากาศให้ประชาชนสามารถตั้งคำถาม
และถกเถียงในเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้ เพราะหลักการการเรียนรู้ที่ดีนั้นไม่ได้
ขึ้นอยู่แค่เพียงการมี ‘เนื้อหา’ และ ‘ตำรา’ ที่ดี แต่ต้องหมายถึงสร้างและส่งเสริม
‘บรรยากาศ’ ในการเรียนรู้ผู้เรียนรู้นั้นมีความรู้สึกอยากจะเรียนรู้และตั้งคำถามได้
รวมทั้ง
ผู้ที่ให้การศึกษาผู้อื่นนั้นก็จะต้องได้เรียนรู้จากการนำเสนอความรู้ของตนออกไปด้วย

และโปรดตอบคำถามด้วยว่าประชาธิปไตยกับเศรษฐกิจพอเพียงจะไปด้วยกันอย่างไร?

และถ้าตอบไม่ได้ ก็ทำให้บ้านเมืองเป็นประชาธิปไตยเสียก่อน ค่อยมาว่ากันเรื่องปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียงจะดีกว่าครับ (6)

... อย่าให้สงสัยไปกว่านี้เลยครับว่า ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้นจะสามารถนำไปปฏิบัติ
ได้ (หรือเกิดได้ในบรรยากาศ) เฉพาะในระบอบที่เรียกกันว่าระบอบปฏิรูปการปกครอง
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข(ซึ่งเป็นระบอบที่ได้มาจากการรัฐประหาร)
เท่านั้น ?

หมายเหตุ : ปรับปรุงจากบทความที่ตีพิมพ์ครั้งแรกใน หนังสือพิมพ์คมชัดลึก วันพุธที่
21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 หน้า 4 และนำเผยแพร่ใน www.onopen.com


http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=7053&SystemModuleKey=HilightNews&System_Session_Language=Thai

เชิงอรรถย้าวยาว
ยาวกว่าตัวบทความอีก
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
ริวเซย์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4,637


Worrior in The Blue Armor


เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 24-02-2007, 22:27 »

ความต้องการของมหาชนก็ใช่ว่าจะถูกต้องเสมอไปครับ

รากหญ้าที่ถูกไอ้เหลี่ยมหลอกด้วยโครงการต่างๆว่าจะแจก จะให้ ทำให้ทุ่มเทใจให้

แต่หารู้ไม่ว่าทุกโปรเจค มีทุจริตสอดแทรกอยู่ โกงกินกันอย่างไม่อายฟ้าอายดิน

แล้วบอกว่าเป็นปชต. ถุย

ระบบที่ดีที่สุดก็ใช่ว่าประเทศชาติจะวิบัติล่มจมไม่ได้ ถ้าพื้นฐานจิตใจผู้นำขาดธรรมะ ขาดคุณธรรม

ก็เพราะไอ้ปชต.3วินาทีไม่ใช่เหรอ คตส.ถึงต้องมาย้อนหลังเช็คบิลพวกกังฉินครองเมือง ชาติถึงเสียรายได้และผลประโยชน์ที่พึงมีไปอย่างมหาศาล

ปชต.มันก็แค่หลักการที่เป็นที่นิยมครับ ถึงใช้ปชต.ไปเท่าไหร่ ถ้าคนใช้ไม่มีจิตสำนึกยังไงชาติก็ฉิบหายครับ

อย่าทำตัวเหมือนอ.จอนหน่อยเลยครับ ติดยึด ยึดมั่นถือมั่นในปชต.มากเกินไป ถืออัตตา บ้านเมืองมันเปลี่ยนแปลงไปแล้วรับไม่ได้

ไม่ดูเลยว่าบ้านเมืองไปถึงทางตันเพราะรัฐบาลทักษิณทำชั่วชาติเอาไว้ ทหารถึงต้องออกมาปฏิวัติ

แต่อย่าลืมว่าบ้านเมืองต้องก้าวต่อไปข้างหน้านะครับ ยึดติดในหลักการแล้วจะได้อะไรเหรอครับ

ถ้าเป็นปชต.3วินาที ผมก็ไม่เอาครับ สู้อยู่ใต้รัฐบาลทหารแต่มีธรรมะดีกว่า

ชัดเจนนะครับ
บันทึกการเข้า

ถ้ามีแฟนแบบนี้เอาไหมครับ^^


อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« ตอบ #2 เมื่อ: 25-02-2007, 06:29 »

เศรษฐกิจพอเพียงกับการยัดเยียด

คงเป็นไปไม่ได้ที่จะนำเศรษฐกิจพอเพียงมาบังคับใช้กับทุกชนชั้นในสังคม ด๊อกเตอร์หรือผู้รู้เรื่องทั้งหลาย
ก็ไม่เคยลำบาก พวกที่อยู่ในจุดที่ไม่สามารถพอเพียงได้ เช่น กลุ่มพ่อค้า หรือ รากหญ้าเกษตรกร ซึ่งความ
เสี่ยงในการทำมาหากิน มันมากกว่าเงินได้ซึ่งน้อยนิด ปัญหาง่ายๆ แค่นี้มีแต่พวกตั้งใจมองข้ามเพื่อหา
ประโยชน์ทางการเมือง โดยเอาคนทำมาหากินมาเป็นเหยื่อ ยกตัวอย่างเช่น ชาวนาย่อมมีความเสี่ยงจากฝน
แล้ง น้ำท่วม ราคาพืชผลเกษตรตลาดโลก รายได้ถ้าไม่เจอเหตุการณ์ร้ายๆ อย่างมากก็ไม่ทำให้รวยไปกว่า
ด๊อกเตอร์ที่พ่นเรื่องพอเพียงทุกวัน ที่ดินประเทศไทยคนก็เข้าจับจองกันทุกตารางนิ้วแม้แต่บนยอดเขายาย
เที่ยงที่เป็นป่าสงวน จะให้ชาวนาที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมย้ายไปที่อื่น ก็คงต้องมีคนออกทุนให้แล้ว แต่โดย
ตัวปรัชญาเองต้องการให้อยู่ได้ด้วยตัวเองมีภูมิคุ้มกัน โดยเงื่อนไขความรู้และคุณธรรม ในความเป็นจริง
ความรู้แค่ไหนคงไม่พอเปลี่ยนแปลงหรือหลบเลี่ยงธรรมชาติได้ ตราบใดที่ไม่มีเงิน เมื่อประสบเหตุเมื่อไหร่
ย่อมหมายถึงการเป็นหนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น การเลี้ยงหมู ถ้าราคาตลาดมันแย่ เลี้ยงอีกวันก็คือค่า
อาหารค่าใช้จ่าย จะบอกว่าไม่ต้องกู้มาทำ แต่หมูก็ต้องกินอาหารทุกวันอยู่ดี อาหารหมูก็ต้องใช้เงินซื้อ เมื่อ
ขายไม่ได้ตามแผน ถ้าไม่เอาหมูไปฆ่าทิ้ง ผู้เลี้ยงคงต้องเป็นหนี้อย่างแน่นอน เมื่อมีปัญหาปากท้องคุณธรรม
คงไม่ต้องพูดถึง ก็ต้องเชือดหมูตามข่าวที่เห็น คิดเสียว่าเห็นหมูตายก็ดีกว่าเห็นคนเลี้ยงหมูฆ่าตัวตาย

พวกชนชั้นพอเพียงมีทรัพย์สมบัติมากมายจะพอเพียงยังไงก็ได้ คงไม่มีทางเข้าใจความจำเป็นในการเสี่ยง
เพื่อผลิตสินค้าเกษตรราคาสุดต่ำมาให้พวกท่านกิน ยามที่น้ำท่วมก็มาช่วยรับถุงยังชีพที่ท่านแจก มีชีวิตบน
ความเสี่ยงของธรรมชาติตลอดเวลาแต่รายได้กลับต่ำ สุดท้ายยังโดนคนกลุ่มน้อยของประเทศที่คิดว่ามีคุณ
ธรรมจอมปลอม มายัดเยียดให้พอเพียงอีกโดยไม่ได้ดูความเป็นไปได้เลย จะใช้เป็นชิ้นเป็นอันคงต้องไป
ศึกษามาใหม่และหัดวางแผนเสียมั่งนะ
บันทึกการเข้า
คนภูตะนาว ฯ
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 70


สื่อสารงานถ้อยร้อยเรียง เป็นปากเป็นเสียงประชาชน


เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 25-02-2007, 08:41 »

คนมันโง่
มันก็ต้องโง่นะครับ
มันไม่มีสมองที่จะไปหาความชัดเจนจากความจริงอะไรได้ดอก
แค่ความหมายของความพอเพียงมันยังไม่เข้าใจ

แล้วชีวิตมันจะเข้าใจอะไรดีๆได้

น่าทุเรศแท้

 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25-02-2007, 08:45 โดย คนภูตะนาว ฯ » บันทึกการเข้า

ไม่ซ้าย ไม่ขวา ปาก ห ม า ไปเรื่อย ประสา  โต้ง ตะนาวศรี


" ลำนำเถื่อน จาก เรือน ถ่ อ ย ''  โดย ลานเทวา แห่ง ภูตะนาว ฯ

 
ลานเทวา
RiDKuN
Administrator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,015



เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 25-02-2007, 09:08 »

ชื่อบทความก็น่าสนใจดี แต่อ่านแล้วไม่มีประเด็นไหนที่จะ convince ให้เชื่อตามได้ว่า ประชาธิปไตยคือหัวใจของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
อาจจะเป็นเพราะคนเขียนบทความ ไม่รู้ ไม่เข้าใจ หรือมีอคติอย่างรุนแรงกับผู้ที่(ทรง)คิดค้นปรัชญานี้ขึ้นมาหรือไม่ก็ไม่ทราบ
จึงได้พยายามลากประชาชนมาชนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอยู่เสมอๆ

ปรัชญาพอเพียง หลักการคือ "พยายามทำให้พึ่งตนเองได้" คือพยายาม มุมานะ ให้ถึงจุดที่ "อยู่อย่างพอเพียงได้"
ไม่ใช่ "ให้พอแล้ว ไม่ต้องทำอะไรแล้ว" อย่างที่ชอบแถแถอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ผมคิดว่าชอบแถน่าจะเข้าใจ
แต่ถ้าเข้าใจแล้วมันคงไม่มีอะไรจะด่า ก็เลยต้องทำเป็นไม่เข้าใจไปเรื่อยๆ ตรงนี้ผมก็เห็นใจอยู่
ยังไง ลด ละ เลิก ได้บ้างก็ดี

อย่างที่กล่าวมา ในเมื่อการ "พยายามทำให้พึ่งตนเองได้" คือหัวใจของเศรษฐกิจพอเพียง
จึงอาจจะกล่าวได้ว่า ความ "พอเพียง" นั่นละ คือหัวใจของ "ประชาธิปไตย"

เพราะหากประชาชนไม่สามารถอยู่อย่างพอเพียง ไม่สามารถพึ่งตนเอง
ต้องแบมือขอนักการเมืองที่ผลัดกันเข้ามากอบโกย หาผลประโยชน์จากเงินภาษีของประชาชน
แบบนั้นก็ไม่ใช่ "ประชาธิปไตย" หรอก แค่ตั้งชื่อให้สวยหรูไปเท่านั้น แต่เนื้อแท้เลวกว่าเผด็จการเสียอีก
บันทึกการเข้า

คนไม่มี "อุดมคติ" ไม่ใช่ "นักการเมือง"
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #5 เมื่อ: 25-02-2007, 09:20 »

ถ้าบอกว่าเศรษฐกิจพอเพียงผูกขาดโดยรัฐบาล
ทุนนิยมทักษิโนมิกส์ที่ผ่านมาก็ผูกขาดโดยไม่กี่ครอบครับเหมือนกัน

รวยกระจุก จนกระจาย มีแต่หนี้ทั้งนั้น
บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #6 เมื่อ: 25-02-2007, 09:56 »

อ้างถึง
... อย่าให้สงสัยไปกว่านี้เลยครับว่า ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้นจะสามารถนำไปปฏิบัติ
ได้ (หรือเกิดได้ในบรรยากาศ) เฉพาะในระบอบที่เรียกกันว่าระบอบปฏิรูปการปกครอง
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข(ซึ่งเป็นระบอบที่ได้มาจากการรัฐประหาร)
เท่านั้น ?

อ้างถึง
ต้องไม่ลืมว่า หมู่บ้านหนึ่งทำเศรษฐกิจพอเพียงร้อยเปอร์เซ็นต์ก็จะเป็นการ
ถอยหลังถึงสมัยหิน

สองความเห็นนี่ โง่งั่งและบิดเบือนพอๆกันค่ะ

เป็นความเห็นที่พยายามใส่ร้ายป้ายสีทั้งระบบเศรษฐกิจพอเพียงและสถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัญเท่านั้น เป็นการพยายามทางการเมือง ไม่ใช่การแสดงความเห็นโดยบริสุทธิ์

พระสงฆ์ในศาสนาพุทธ อยู่อย่างพอเพียงตามวิสัยสงฆ์ ไม่ว่าระบอบการปกครองจะเป็นไปในรูปใด มิใช่ว่าระบอบการปกครองเป็นเผด็จการแล้วจะฉันยามวิกาลได้ เมื่อเป็นประชาธิปไตยแล้วจึงฉันไม่ได้ การอยู่อย่างพอเพียงไม่ขึ้นอยู่กับระบอบการปกครองใดๆทั้งสิ้น เป็นจิตสำนึกของผู้ที่ต้องการปลดตนเองออกจากความโง่ที่ครอบงำอยู่เท่านั้น เป็นเรื่องเฉพาะตนที่จะรู้ได้และสำนึก การโยงระบบเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับระบบการปกครอง จึงเป็นเจตนาที่สกปรก

การแสดงความเห็นว่า เศรษฐกิจพอเพียงหมายถึงยุคหิน เป็นแนวนโยบายฟินแลนด์ ที่กลุ่มทรราชย์พยายามให้ร้ายโครงการในพระราชดำริทั้งปวง เพื่อโจมตีสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นการหวังผลโค่นล้มราชบัลลังก์ในเบื้องปลาย ตามแผนชั่วที่วางกันไว้ค่ะ

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อระบบทุนนิยม ดังนั้นจึงเป็นเรื่องปกติที่คนในระบบทุนนิยม หรือคนที่ได้รับประโยชน์จากทุนนิยม จะโจมตีและพยายามให้ร้ายระบบเศรษฐกิจพอเพียง อีกทั้งระบบเศรษฐกิจพอเพียง เป็นระบบที่พระราชทานมาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กลุ่มทรราชย์จึงพยายามโจมตีทั้งสองไปร่วมกัน โดยหวังผลท้งการส่งเสริมระบบทุนนิยมทักษิโณมิคส์และส่งเสริมระบบประธะนาธิบดีไปพร้อมๆกันค่ะ
บันทึกการเข้า
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #7 เมื่อ: 25-02-2007, 10:42 »

เมื่อไหร่จะเลิกยกนิยายแห่งการร้ายป้ายสี
มาสร้างความชอบธรรมให้ตัวเองซะที
คนที่สร้างเรื่องแบบนี้
เพื่อใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองนั้น
ทั้งขี้ขลาดและต่ำทราม
ยังไม่ต้องพูดถึงบังอาจจาบจ้วงก้าวล่วง
ยิ่งกว่าผู้อื่นใด
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
RiDKuN
Administrator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,015



เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 25-02-2007, 11:36 »

เมื่อไหร่จะเลิกยกนิยายแห่งการร้ายป้ายสี
มาสร้างความชอบธรรมให้ตัวเองซะที
คนที่สร้างเรื่องแบบนี้
เพื่อใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองนั้น
ทั้งขี้ขลาดและต่ำทราม
ยังไม่ต้องพูดถึงบังอาจจาบจ้วงก้าวล่วง
ยิ่งกว่าผู้อื่นใด

ไม่น่าเชื่อว่า คุณสโนว์ติดตามเรื่องมาถึงป่านนี้ ยังไม่เชื่อว่า มีคนพยายามล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์???
เวลาเข้าไปในเว็บประชาไท อ่านแล้วลืมหมดเลยหรือครับ ???
บันทึกการเข้า

คนไม่มี "อุดมคติ" ไม่ใช่ "นักการเมือง"
room5
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 573



« ตอบ #9 เมื่อ: 25-02-2007, 11:59 »

กรรมมันบังตาเขาหนะ 
บันทึกการเข้า
engg
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 388


« ตอบ #10 เมื่อ: 25-02-2007, 12:22 »

ดูที่ผล ประเทศประชาธิปไตย เช่นอเมริกา อังกฤษ ญี่ปุ่น อินเดีย มาเลเซีย ฯลฯ ไม่ใช้เศรษฐกิจพอเพียง

พอสรุปได้ว่า ประชาธิปไตย ไม่ใช่หัวใจของเศรษฐกิจพอเพียง "ผมไม่ใช้คำว่าปรัชญา"

ประเด็นอยู่ที่บางคนใช้"เศรษฐกิจพอเพียง"เป็นเครื่องมือทำลาย ทำร้าย คนอื่น ซึ่งอาจก่อให้เกิดอย่างที่คุณRiDKuNกล่าว

เพื่อไม่ให้กระทบเบื้องสูง ทุกคนต้องไม่ใช้วิธีนี้ ไม่สนับสนุนให้ใช้วิธีนี้ แล้วยังต้องลงโทษผู้ที่ใช้วิธีนี้ด้วย

บันทึกการเข้า
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #11 เมื่อ: 25-02-2007, 13:15 »

เมื่อไหร่จะเลิกยกนิยายแห่งการร้ายป้ายสี
มาสร้างความชอบธรรมให้ตัวเองซะที
คนที่สร้างเรื่องแบบนี้
เพื่อใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองนั้น
ทั้งขี้ขลาดและต่ำทราม
ยังไม่ต้องพูดถึงบังอาจจาบจ้วงก้าวล่วง
ยิ่งกว่าผู้อื่นใด

ไม่น่าเชื่อว่า คุณสโนว์ติดตามเรื่องมาถึงป่านนี้ ยังไม่เชื่อว่า มีคนพยายามล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์???
เวลาเข้าไปในเว็บประชาไท อ่านแล้วลืมหมดเลยหรือครับ ???


มีคนที่คิดทำเช่นนั้นจริง
หรือมีคนที่คิด “ทำให้คนเชื่อว่ามีการคิดทำเช่นนั้น”
หากคุณบอกได้ว่าเป็นกรณีไหน ก็คงเลือกเชื่อได้อย่างสบายใจ
ดิฉันไม่มีญาณวิเศษค่ะ ก็เลยคิดว่าเป็นได้ทั้งสองอย่าง
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #12 เมื่อ: 25-02-2007, 13:31 »

ตามความเข้าใจส่วนตัว

ประชาธิปไตยจะเป็นหัวใจของเศรษฐกิจพอเพียงได้
ก็ต่อเมื่อประชาชนยอมรับเข้าไว้โดยสมัครใจ หาใช่ยัดเยียด

และเมื่อมีการบังคับก็ย่อมมีความรู้สึกต่อต้านตามมา

ลูกที่ไม่เชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่นั้น หาใช่ไม่รักพ่อแม่
เขาเพียงแต่ต้องการเป็นตัวของตัวเอง

เลิกยัดเยียดข้อหาร้ายกาจแก่เพื่อนร่วมชาติซะที
อย่าให้ต้องมีการนองเลือด แยกแผ่นดิน
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
AsianNeocon
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,277


中華萬歲﹗ LONG LIVE CHINA!


เว็บไซต์
« ตอบ #13 เมื่อ: 25-02-2007, 13:39 »

fake ชอบประชาธิปไตยมากค่ะ ถ้าถามว่าชอบว่าทำไมชอบ
ฝรั่งเขาบอกว่าต้องเป็นประชาธิปไตยค่ะ ถึงจะดี fake ก็เลยชอบ

ใบตอง วรเจตน์ นิธิ ตั้งนโม คนมีความรู้ ไม่มีอคติ
เขาชอบประชาธิปไตยกันหมด เรื่องสิงกะโปโตกสั่งสอนไทย
fake ว่าก็ดีนะค่ะ เพราะทั้งท่านทักษิณกับสิงกะโปโตก
เป็นประชาธิปไตยนี่ค่ะ ก็เขามีเลือกตั้ง มีรัฐธรรมนูญ มีสภา

ส่วนไทยกำลังเป็นเผด็จการทหารดังนั้นทำลายประชาธิปไตยค่ะ
runway ร้าว taxiway ร้าว fake คิดว่านี่ก็แสดงถึงเป็นประชาธิปไตยค่ะ
ดังนั้นเราต้องยืนอยู่ข้างเดียวกับประชาธิปไตย
เราจะได้ไม่มี "อคติ" เหมือน fake ค่ะ

fake ยอมตายเพื่อประชาธิปไตยค่ะ
Democracy forever at any cost!


 Mr. Green Mr. Green Mr. Green Laughing Laughing Laughing
บันทึกการเข้า

55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« ตอบ #14 เมื่อ: 25-02-2007, 13:40 »

ผู้เขียน คงเขียนบทความนี้โดยไม่ได้มองย้อนกลับไป 6 ปี.........

ผู้เขียน คงตามืดบอด ที่มองไม่เห็นว่าทักษิโณมิคซ์ ได้สอนอะไรไว้ ให้กับคนยากคนจน........

ผู้เขียน คงมองไม่เห็นการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ของรัฐบาลทักษิณ เพื่อให้คนมากู้หนี้ ยืมสิน นำไปลงทุน โดยมิได้ให้องค์ความรู้ที่เป็นพื้นฐาน ในการประกอบสัมมาอาชีพ......

ผู้เขียน คงมองไม่เห็นการยัดเยียดกองทุนหมู่บ้านให้คนยากคนจน โดย ที่ไม่ได้สนใจ วัฒนธรรมของคนส่วนมากที่มักชอบโอ้อวดวัตถุ ที่อุตสาห์หาซื้อมา ด้วยการกู้หนี้ยืมสิน....

ผู้เขียนคงไม่ได้มอง สิ่งต่างที่ถูกรัฐบาลไทยรักไทย ปลูกฝังจนเป็นวัฒนธรรม มา 6 ปี....

ผู้เขียน คงไม่เคยหันไปสำรวจรายละเอียดตัวเลขเศรษฐกิจที่เกี่ยวกับคนยากคนจน...

ผู้เขียน เป็นผู้ที่รังเกียจ "รัฐประหาร" ซึ่งก็ไม่ได้ผิดอะไร .........แต่ถ้าเพียงเพราะว่า การเกลียด รัฐประหาร ทำให้ผู้เขียนไม่อาจพินิจพิเคราะห์ของความเป็นมาเป็นไปของการประชาสัมพันธ์เชิงรุกในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยหัวใจที่บริสุทธิ์ ........มองแต่เป็นเพราะด้วยเหตุผลการทำลายล้างทางการเมือง .....
"จริงหรือที่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงควรถูก ‘ผูกขาดโดยรัฐบาล’ ที่ทำหน้าที่บังคับ
ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงราวกับเป็น ‘คำสั่ง’ ที่ ประชาชนต้องปฏิบัติโดยพร้อมเพรียง
กันและปราศจากข้อสงสัย?"


หากรัฐบาลไม่เป็นผู้นำในการให้ความรู้ นำเหตุผลของการใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ประชาชนจะเข้าใจเนื้อหาของเศรษฐกิจพอเพียงไปได้อย่างไร......ผมยังไม่เห็นมีข้อบังคับในการนำเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในชีวิต และ ธุรกิจ ผมยังไม่เห็น รัฐบาลมีคำสั่งให้ประชาชนต้องใช้เศรษฐกิจพอมาเป็นปรัชญาในการดำรงชีวิต


ผมเห็นคุณชอบแถ พูดในลักษณะ ทีใช้ความมั่นคงทางฐานะ มากำหนดลักษณะของความพร้อมในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง.........ผมเดาว่า คุณชอบแถ อาจจะโชคดีที่ได้เกิด ในครอบทีพอมีอันจะกิน.....คุณชอบแถ คงไม่เคยมีเพื่อน เป็นลูกคนยากคนจน และได้ปัจจุบัน พัฒนา ขึ้นมาจนฐานะมั่นคง........คุณชอบแถ คงไม่เคยเห็นเศรษฐีบ้านนอก ที่สร้างเนื้อสร้างตัวด้วยสัมมาอาชีวะ.........หรืออาจไม่เคยได้รู้จัก กับ แม่ค้า ในตลาด ที่ขายผัก ขายปลา ส่งลูกเรียน สูง ๆ แล้วนั่งดูทีวีเก่า ๆ ที่บ้านอย่างมีความสุข ........หรือแม้กระทั่ง คนหนุ่มสาวปัจจุบัน ที่เลิกอาชีพคนงานก่อสร้าง มาเปิดร้านขายสัมตำ ขายอาหารตามสั่ง โดย เริ่มจากเงินทุนไม่กี่ร้อยบาท ไปซื้อวัตถุดิบ จนปัจจุบันมีรถกระบะ แต่ไม่มีโทรศัพท์มือถือใช้.....แล้วก็มีอีกหลาย ๆ คนที่พัฒนาฐานะ สร้างตัวด้วยความอดทน ไม่หวั่นไหว กับการยั่วยุทางวัตถุ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25-02-2007, 20:11 โดย 55555 » บันทึกการเข้า
login not found
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,523



« ตอบ #15 เมื่อ: 25-02-2007, 17:49 »

อ้างถึง
... อย่าให้สงสัยไปกว่านี้เลยครับว่า ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้นจะสามารถนำไปปฏิบัติ
ได้ (หรือเกิดได้ในบรรยากาศ) เฉพาะในระบอบที่เรียกกันว่าระบอบปฏิรูปการปกครอง
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข(ซึ่งเป็นระบอบที่ได้มาจากการรัฐประหาร)
เท่านั้น ?

อ้างถึง
ต้องไม่ลืมว่า หมู่บ้านหนึ่งทำเศรษฐกิจพอเพียงร้อยเปอร์เซ็นต์ก็จะเป็นการ
ถอยหลังถึงสมัยหิน

สองความเห็นนี่ โง่งั่งและบิดเบือนพอๆกันค่ะ

เป็นความเห็นที่พยายามใส่ร้ายป้ายสีทั้งระบบเศรษฐกิจพอเพียงและสถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัญเท่านั้น เป็นการพยายามทางการเมือง ไม่ใช่การแสดงความเห็นโดยบริสุทธิ์

พระสงฆ์ในศาสนาพุทธ อยู่อย่างพอเพียงตามวิสัยสงฆ์ ไม่ว่าระบอบการปกครองจะเป็นไปในรูปใด มิใช่ว่าระบอบการปกครองเป็นเผด็จการแล้วจะฉันยามวิกาลได้ เมื่อเป็นประชาธิปไตยแล้วจึงฉันไม่ได้ การอยู่อย่างพอเพียงไม่ขึ้นอยู่กับระบอบการปกครองใดๆทั้งสิ้น เป็นจิตสำนึกของผู้ที่ต้องการปลดตนเองออกจากความโง่ที่ครอบงำอยู่เท่านั้น เป็นเรื่องเฉพาะตนที่จะรู้ได้และสำนึก การโยงระบบเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับระบบการปกครอง จึงเป็นเจตนาที่สกปรก

การแสดงความเห็นว่า เศรษฐกิจพอเพียงหมายถึงยุคหิน เป็นแนวนโยบายฟินแลนด์ ที่กลุ่มทรราชย์พยายามให้ร้ายโครงการในพระราชดำริทั้งปวง เพื่อโจมตีสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นการหวังผลโค่นล้มราชบัลลังก์ในเบื้องปลาย ตามแผนชั่วที่วางกันไว้ค่ะ

เศรษฐกิจพอเพียงคงยากเกินสมองบ้องตื้นจะเข้าใจมั้ง หลักการก็จะให้ยืนบนขาตัวเอง แต่ว่า
- เศรษฐกิจพอเพียงไม่สามารถทำได้ 100% ไม่งั้นเป็นพวกสมัยหิน เพราะไม่ต้องพึ่งคนอื่น
  ไม่ทีทางที่จะไม่พึ่งคนอื่นได้ จึงไม่สามารถทำเศรษฐกิจพอเพียงได้ 100% หรือแม้แต่ 50%
  ก็ยังทำไม่ได้
- สำหรับปัจจุบันให้ทำแค่ 25% ของการกระทำก็พอแล้ว ที่เหลือก็จะเสี่ยงหรือพึ่งพาคนอื่นก็
  ตามสะดวก เพราะมันต้องเป็นอย่างงั้น อยู่ด้วยตนเองทั้งหมดไม่ได้
- หลักมีแค่ว่า พอประมาณ มีเหตุผล สร้างภูมิคุ้มกัน ด้วยเงื่อนไข ความรู้ และ คุณธรรม

ทั้งหมดนี้ไม่ได้แปลว่าบังคับต้องทำเลย แค่ควรจะทำเท่านั้นเอง มีรัฐบาลนี้ที่พยายามบิดเบือน
พยายามยัดเยียดให้ทำ ถ้าทำทั้งหมดก็ต้องกลับไปปลูกผักจับปลากินเองอย่างมนุษย์โบราณ
แน่นอน เพราะรัฐบาลรวมทั้งทหารโง่เกินกว่าจะเข้าใจหลักเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งยาก

ปล. ใครจะเถียงความเห็นนี้ ให้ไปอ่านมาให้ละเอียดก่อน ไม่งั้นอาจโดนสวนกลับหน้าแหกได้
ครับ ยังแสดงความบ้องตื้นออกมาเหมือนเดิม แถในแบบเดิมๆ
ตีความในประเด็นที่จะเอามาด่า ไม่ได้สนใจหลักการจริงๆ แล้วก็ออกมาด่าคนอื่นให้เขารู้ว่าตัวเองโง่
จะให้สาธยายเหรอ ผมว่าคุณแถรู้แล้วแกล้งโง่มากกว่า ไม่งั้นจะขัดหลักการของคุณแถ
บันทึกการเข้า
อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« ตอบ #16 เมื่อ: 25-02-2007, 18:09 »

^
^
เหอ เหอ ความเห็นแย้ง not found เหรอนั่น ได้แต่บ่นๆ ด่าๆ ไปวันๆ ที่แท้ก็ไม่รู้เรื่องนั่นเอง บอกแล้วมันยากอ่ะ


บันทึกการเข้า
Kittinunn
Aloha007
Global Moderator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,127


ไปได้สวย...ด้วยเกียร์ต่ำ!!!


เว็บไซต์
« ตอบ #17 เมื่อ: 25-02-2007, 18:12 »

^
^
เหอ เหอ ความเห็นแย้ง not found เหรอนั่น ได้แต่บ่นๆ ด่าๆ ไปวันๆ ที่แท้ก็ไม่รู้เรื่องนั่นเอง บอกแล้วมันยากอ่ะ




http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P5170478/P5170478-1.jpg  Exclamation

อ๋อ... เว็บพีอาร์ไทยรักเทมาเส็ก ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า
บันทึกการเข้า

“ผมเขียนไปในบล็อกนั้น แบบข้างบนนี้เหมือนกัน นึกว่า จะโพสต์ ปรากฏว่า เขาบอกว่า ต้อง สมัครสมาชิกก่อน ผมขี้เกียจ เลยมาโพสต์ที่นี่แทน อ้อ ตอนเขียน ผมใส่คำว่า ทุเรศ และ น่าสมเพช ไปด้วย” (อ.สมศักดิ์ เจียมธีระสกุล-เว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน - ข้อความในเสรีไทย โดย Snowflake)

55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« ตอบ #18 เมื่อ: 25-02-2007, 19:53 »


เศรษฐกิจพอเพียงคงยากเกินสมองบ้องตื้นจะเข้าใจมั้ง หลักการก็จะให้ยืนบนขาตัวเอง แต่ว่า
- เศรษฐกิจพอเพียงไม่สามารถทำได้ 100% ไม่งั้นเป็นพวกสมัยหิน เพราะไม่ต้องพึ่งคนอื่น
  ไม่ทีทางที่จะไม่พึ่งคนอื่นได้ จึงไม่สามารถทำเศรษฐกิจพอเพียงได้ 100% หรือแม้แต่ 50%
  ก็ยังทำไม่ได้
- สำหรับปัจจุบันให้ทำแค่ 25% ของการกระทำก็พอแล้ว ที่เหลือก็จะเสี่ยงหรือพึ่งพาคนอื่นก็
  ตามสะดวก เพราะมันต้องเป็นอย่างงั้น อยู่ด้วยตนเองทั้งหมดไม่ได้
- หลักมีแค่ว่า พอประมาณ มีเหตุผล สร้างภูมิคุ้มกัน ด้วยเงื่อนไข ความรู้ และ คุณธรรม

ทั้งหมดนี้ไม่ได้แปลว่าบังคับต้องทำเลย แค่ควรจะทำเท่านั้นเอง มีรัฐบาลนี้ที่พยายามบิดเบือน
พยายามยัดเยียดให้ทำ ถ้าทำทั้งหมดก็ต้องกลับไปปลูกผักจับปลากินเองอย่างมนุษย์โบราณ
แน่นอน เพราะรัฐบาลรวมทั้งทหารโง่เกินกว่าจะเข้าใจหลักเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งยาก

ปล. ใครจะเถียงความเห็นนี้ ให้ไปอ่านมาให้ละเอียดก่อน ไม่งั้นอาจโดนสวนกลับหน้าแหกได้
[/quote]

ใครบอกคุณขอบแถ ครับว่า ถ้าใช้เศรษฐกิจพอ 100 % แล้วจะถอยหลังเป็นยุคหิน ....อย่าไปมองธุรกิจใหญ่ ๆ ซิครับ ให้มองจากจุลภาคไปก่อน ........มีเยอะครับ ที่ยืนอยู่บนลำแข้งตัวเองโดยไม่พึ่งใคร.........เศรษฐกิจพอเพียง มันต้องค่อย ๆเริ่ม ...เพราะเป็น ทฤษฏี ที่ต้องต่อสู้กลับความโลภที่เป็นธรรมชาติของมนุษย์..............ส่วนที่ยังไม่พร้อมก็ต้องค่อย ๆ ปรับไป ..ผมถึงบอกไงครับว่า ถ้าจะให้เห็นผลสำเร็จ เป็นรูปธรรมในระดับประเทศ คงต้องใช้เวลาหลายปี บางที่ อาจเป็น 10-20 ปี ก็ได้...........

ถ้าการที่รัฐบาลมีนโยบายใช้เศรษฐกิจ พอเพียง แล้วประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง พยายามกำหนดทิศทางนโยบายเพื่อให้สอดคล้อง  เป็นการแปลความว่า "บังคับให้ทำในทันที" ผมคงต้องกลับไปต้องกับไปต่อว่าครูบาอาจารย์แล้วล่ะครับ ว่าทำไมถึงสอนผมอีกแบบหนึ่ง.........


"ถ้าทำทั้งหมดก็ต้องกลับไปปลูกผักจับปลากินเองอย่างมนุษย์โบราณ
แน่นอน เพราะรัฐบาลรวมทั้งทหารโง่เกินกว่าจะเข้าใจหลักเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งยาก"


ผมเห็นมีแต่ กองเชียร์คุณทักษิณ ที่มีความคิดแบบนี้ คุณชอบแถ จำผิดป่าวครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25-02-2007, 19:57 โดย 55555 » บันทึกการเข้า
อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« ตอบ #19 เมื่อ: 25-02-2007, 20:20 »

จะไปคิดเองได้อย่างไรทั้งหมดก็ต้องนำมาจากผู้คิดทฤษฎีสิคับ เน้นๆ เลยนะ เศรษฐกิจพอเพียง
จะทำทั้งหมดไม่ได้ ถ้าทำจะเป็นการถอยหลังถึงสมัยหิน สมัยอยู่ถ้ำ ที่ไม่ต้องอาศัยคนอื่น พวกที่
อยู่ในถ้ำไม่ต้องพึ่งพาอาศัยพวกอื่น ถึงจะเป็นเศรษฐกิจพอเพียง 100% ถ้าเข้าใจผิดจากนี้ ต้อง
ไปศึกษากันใหม่แล้ว ว่าแต่ในนี้มีใครเข้าใจจริงบ้างล่ะ
บันทึกการเข้า
55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« ตอบ #20 เมื่อ: 25-02-2007, 20:29 »

จะไปคิดเองได้อย่างไรทั้งหมดก็ต้องนำมาจากผู้คิดทฤษฎีสิคับ เน้นๆ เลยนะ เศรษฐกิจพอเพียง
จะทำทั้งหมดไม่ได้ ถ้าทำจะเป็นการถอยหลังถึงสมัยหิน สมัยอยู่ถ้ำ ที่ไม่ต้องอาศัยคนอื่น พวกที่
อยู่ในถ้ำไม่ต้องพึ่งพาอาศัยพวกอื่น ถึงจะเป็นเศรษฐกิจพอเพียง 100% ถ้าเข้าใจผิดจากนี้ ต้อง
ไปศึกษากันใหม่แล้ว ว่าแต่ในนี้มีใครเข้าใจจริงบ้างล่ะ

คำว่าไม่พึ่งคนอื่น คุณชอบแถ ตีความว่าไงครับ
บันทึกการเข้า
qazwsx
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,359


นักธุรกิจและตำรวจ ต้องออกไปจากการเมือง


« ตอบ #21 เมื่อ: 25-02-2007, 20:31 »

จะไปคิดเองได้อย่างไรทั้งหมดก็ต้องนำมาจากผู้คิดทฤษฎีสิคับ เน้นๆ เลยนะ เศรษฐกิจพอเพียง
จะทำทั้งหมดไม่ได้ ถ้าทำจะเป็นการถอยหลังถึงสมัยหิน สมัยอยู่ถ้ำ ที่ไม่ต้องอาศัยคนอื่น พวกที่
อยู่ในถ้ำไม่ต้องพึ่งพาอาศัยพวกอื่น ถึงจะเป็นเศรษฐกิจพอเพียง 100% ถ้าเข้าใจผิดจากนี้ ต้อง
ไปศึกษากันใหม่แล้ว ว่าแต่ในนี้มีใครเข้าใจจริงบ้างล่ะ


ถามในหลวงหรือยัง ?
อยู่ ๆ จู่ ๆ ก็ดันเอา "รูปแบบการกินอยู่แบบดึกดำบบรรพ์" มามั่วตู่ว่าเป็นความหมายของ "ปรัชญาเศรษฐกิจแบบพอเพียง"

สรุป
กระทู้นี้ไม่มีอะไรเลย
ยกเว้นความพยายาม "สร้างความเสื่อมทรามให้ปรัชญาเศรษฐกิจแบบพอเพียง"

บันทึกการเข้า

RiDKuN
Administrator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,015



เว็บไซต์
« ตอบ #22 เมื่อ: 25-02-2007, 20:49 »

จะไปคิดเองได้อย่างไรทั้งหมดก็ต้องนำมาจากผู้คิดทฤษฎีสิคับ เน้นๆ เลยนะ เศรษฐกิจพอเพียง
จะทำทั้งหมดไม่ได้ ถ้าทำจะเป็นการถอยหลังถึงสมัยหิน สมัยอยู่ถ้ำ ที่ไม่ต้องอาศัยคนอื่น พวกที่
อยู่ในถ้ำไม่ต้องพึ่งพาอาศัยพวกอื่น ถึงจะเป็นเศรษฐกิจพอเพียง 100% ถ้าเข้าใจผิดจากนี้ ต้อง
ไปศึกษากันใหม่แล้ว ว่าแต่ในนี้มีใครเข้าใจจริงบ้างล่ะ

ชอบแถไม่ต้องศึกษาใหม่หรอกครับ แค่เลิกแกล้งทำเป็นไม่เข้าใจก็โอเคแล้ว
บันทึกการเข้า

คนไม่มี "อุดมคติ" ไม่ใช่ "นักการเมือง"
อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« ตอบ #23 เมื่อ: 25-02-2007, 20:55 »

จะไปคิดเองได้อย่างไรทั้งหมดก็ต้องนำมาจากผู้คิดทฤษฎีสิคับ เน้นๆ เลยนะ เศรษฐกิจพอเพียง
จะทำทั้งหมดไม่ได้ ถ้าทำจะเป็นการถอยหลังถึงสมัยหิน สมัยอยู่ถ้ำ ที่ไม่ต้องอาศัยคนอื่น พวกที่
อยู่ในถ้ำไม่ต้องพึ่งพาอาศัยพวกอื่น ถึงจะเป็นเศรษฐกิจพอเพียง 100% ถ้าเข้าใจผิดจากนี้ ต้อง
ไปศึกษากันใหม่แล้ว ว่าแต่ในนี้มีใครเข้าใจจริงบ้างล่ะ

คำว่าไม่พึ่งคนอื่น คุณชอบแถ ตีความว่าไงครับ

ไม่พึ่งคนอื่นแปลว่า ทำเองผลิตเองใช้เอง พึ่งคนอื่นก็คือ ต้องเอาไปแลกกับของอื่นที่มีความจำเป็น
เศรษฐกิจพอเพียงจึงทำทั้งหมดไม่ได้ ปฏิบัติได้เพียง 25% ก็พอ

ไม่ได้แกล้งทำเป็นไม่เข้าใจซักนิด ที่อธิบายมานี่ตามเอกสารที่สุดแล้ว เคยอ่านมั่งหรือเปล่า ใครไม่เข้าใจกันแน่
บันทึกการเข้า
qazwsx
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,359


นักธุรกิจและตำรวจ ต้องออกไปจากการเมือง


« ตอบ #24 เมื่อ: 25-02-2007, 21:06 »

จะไปคิดเองได้อย่างไรทั้งหมดก็ต้องนำมาจากผู้คิดทฤษฎีสิคับ เน้นๆ เลยนะ เศรษฐกิจพอเพียง
จะทำทั้งหมดไม่ได้ ถ้าทำจะเป็นการถอยหลังถึงสมัยหิน สมัยอยู่ถ้ำ ที่ไม่ต้องอาศัยคนอื่น พวกที่
อยู่ในถ้ำไม่ต้องพึ่งพาอาศัยพวกอื่น ถึงจะเป็นเศรษฐกิจพอเพียง 100% ถ้าเข้าใจผิดจากนี้ ต้อง
ไปศึกษากันใหม่แล้ว ว่าแต่ในนี้มีใครเข้าใจจริงบ้างล่ะ

คำว่าไม่พึ่งคนอื่น คุณชอบแถ ตีความว่าไงครับ

ไม่พึ่งคนอื่นแปลว่า ทำเองผลิตเองใช้เอง พึ่งคนอื่นก็คือ ต้องเอาไปแลกกับของอื่นที่มีความจำเป็น
เศรษฐกิจพอเพียงจึงทำทั้งหมดไม่ได้ ปฏิบัติได้เพียง 25% ก็พอ

ไม่ได้แกล้งทำเป็นไม่เข้าใจซักนิด ที่อธิบายมานี่ตามเอกสารที่สุดแล้ว เคยอ่านมั่งหรือเปล่า ใครไม่เข้าใจกันแน่

ขอที่มาของเอกสาร ที่แถใช้อ้างอิง
บันทึกการเข้า

อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« ตอบ #25 เมื่อ: 25-02-2007, 21:13 »

ขอขอบใจท่านทั้งหลายที่มาชุมนุมกันในโอกาสใกล้จะถึงปีใหม่ ไม่ใช่ปีใหม่ เป็นปีใหม่ของเรา คือปีใหม่ของผู้พูด เพราะว่าพรุ่งนี้เริ่มศักราชใหม่ เริ่มอายุใหม่. นายกฯ ได้กล่าวสรุปชีวิตตั้ง๕๐กว่าปี ที่ได้ทำงานทำการ และชมว่าได้ช่วยให้ประเทศชาติอยู่เย็นเป็นสุข มีความร่มเย็น. วันนี้ท่านทั้งหลายมา ทั้งที่อยู่ข้างในข้างนอก มาเป็นจำนวนมาก นับว่าเป็นประวัติการณ์. การที่ได้ทำความเจริญหรือความสุขแก่ประเทศชาติและประชาชนนั้น มิได้เป็นงานของผู้หนึ่งผู้ใดที่จะปฏิบัติได้ ต้องร่วมมือกัน. ผู้ใดมีความรู้ทางใดก็ควรจะใช้ความรู้ความสามารถนั้นเพื่อสร้างความมั่นคง. ถ้ามีหลายคนที่มีความรู้อย่างเดียวกัน ก็ต้องร่วมมือกัน. บางคนมีความรู้เหมือนกันแต่ความเห็นต่างกัน ดังงนี้ก็จะต้องปรึกษากันมากกว่าที่จะเถียงกัน. คำว่าปรึกษากับคำว่าเถียงนี่ต่างกัน. คำว่าเถียงใช้แต่อารมณ์ คำว่าปรึกษาใช้ปัญญา. ถ้าสามารถที่จะใช้ปัญญาปรึกษากัน จะได้คำตอบ เพราะว่าความจริงนั้นมีอันเดียว. ความเท็จมีหลาย หรือทางที่ผิดมีมากมาย แต่ความจริงทางที่ดี ส่วนมาก เป็นทางเดียว ที่จะสามารถนำพาสู่ความสำเร็จ.

นายกฯ ได้กล่าวถึงกิจการต่างๆ เช่นเรื่องที่ได้กล่าวเมื่อปีที่แล้ว เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง. คำว่าเศรษฐกิจพอเพียงนี้ไม่มีในตำรา ไม่เคยมีระบบเศรษฐกิจพอเพียง. มีอย่างอื่นแต่ไม่ใช้คำนี้. ปีที่แล้วพูดว่า เศรษฐกิจพอเพียง เพราะหาคำอื่นไม่ได้. และได้พูดอย่างหนึ่งว่า เศรษฐกิจพอเพียงนี้ ให้ปฏิบัติเพียงครึ่งเดียว คือไม่ต้องทั้งหมด หรือแม้จะเศษหนึ่งส่วนสี่ก็พอ. ในคราวนั้น เมื่อปีที่แล้วนึกว่าเข้าใจกัน แต่เมื่อไม่นาน เดือนที่แล้ว มีผู้ที่ควรจะรู้ เพราะว่าได้ปฏิบัติเกี่ยวกับการพัฒนา มาช้านานแล้ว มาบอกว่าเศรษฐกิจพอเพียงนี่ดีมาก แล้วก็เข้าใจว่าปฏิบัติเพียงเศษหนึ่งส่วนสี่ก็พอนั้น หมายความว่า ถ้าทำได้เศษหนึ่งส่วนสี่ของประเทศก็จะพอ. ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง และทำได้เพียงเศษหนึ่งส่วนสี่ก็พอนั้น ไม่ได้แปลว่าเศษหนึ่งส่วนสี่ของพื้นที่ แต่เศษหนึ่งส่วนสี่ของการกระทำ.


ต้องพูดเข้าในเรื่องเลย เพราะหนักใจว่า แม้แต่คนที่เป็นดอกเตอร์ก็ไม่เข้าใจ. อาจจะพูดไม่ชัด แต่เมื่อกลับไปดูที่เขียนจากที่พูด ก็ชัดแล้วว่าควรจะปฏิบัติเศรษฐกิจพอเพียงไม่ต้องทั้งหมด เพียงครึ่งหนึ่งก็ใช้ได้ แม้จะเป็นเศษหนึ่งส่วนสี่ก็พอ. หมายความว่าวิธีปฏิบัติเศรษฐกิจพอเพียงนั้น ไม่ต้องทำทั้งหมด และขอเติมว่าถ้าทำทั้งหมดก็จะทำไม่ได้. ถ้าครอบครัวหนึ่ง หรือแม้หมู่บ้านหนึ่งทำเศรษฐกิจพอเพียงร้อยเปอร์เซ็นต์ก็จะเป็นการถอยหลังถึงสมัยหิน สมัยคนอยู่ในอุโมงค์หรือในถ้ำ ซึ่งไม่ต้องอาศัยหมู่อื่น เพราะว่าหมู่อื่นก็เป็นศัตรูทั้งนั้น ตีกัน ไม่ใช่ร่วมมือกัน จึงต้องทำเศรษฐกิจพอเพียง. แต่ละคนต้องหาที่อยู่ ก็หาอุโมงค์หาถ้ำ. ต้องหาอาหาร คือไปเด็ดผลไม้หรือใบไม้ตามที่มี หรือไปใช้อาวุธที่ได้สร้างได้ประดิษฐ์เอง ไปล่าสัตว์. กลุ่มที่อยู่ในอุโมงค์ในถ้ำนั้น ก็มีเศรษฐกิจพอเพียง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์. ก็ปฏิบัติได้.

แต่ต่อมาเมื่อออกจากถ้ำ ในสมัยต่อมา ที่สร้างบ้านเป็นที่อาศัย ก็เริ่มจะเป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหลือประมาณ ๘๐ เปอร์เซ็นต์ เพราะว่ามีคนไปผ่านมา ซึ่งไม่ได้เป็นศัตรู เอาอะไร ๆ มาแลกเปลี่ยนกัน. เช่นคนที่มาจากไกล ผ่านมามีหนังสัตว์ที่เหมาะสมที่จะใช้เป็นเครื่องนุ่งห่ม ก็ซื้อด้วยการแลกเปลี่ยนด้วยอาหาร เช่นปลาที่จับได้ในบึง. อย่างนี้ก็ไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียงแล้ว. เวลาก้าวล่วงมาอีก มาถึงปัจจุบันนี้ ถ้าคนที่อยู่ทั้งข้างนอกทั้งข้างในนี้ จะปฏิบัติเศรษฐกิจพอเพียง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ คงทำไม่ได้. และถ้าสำรวจตัวเอง หรือเศรษกิจของตัวเอง ก็เข้าใจว่า จะเห็นได้ว่าไม่ได้ทำ. เข้าใจว่าทำได้ไม่ถึง ๒๕ เปอร์เซ็นต์ ไม่ได้ถึงเศษหนึ่งส่วนสี่ เพราะว่าสิ่งที่ตนผลิตหรือทำ ส่วนใหญ่ก็เอาไปแลกกับของอื่นที่มีความจำเป็น. ฉะนั้นจึงพูดว่าเศรษฐกิจพอเพียง ปฏิบัติเพียงเศษหนึ่งส่วนสี่ ก็ควรจะพอและทำได้. อันนี้เป็นข้อหนึ่ง ที่จะอธิบายคำพูดที่พูดมาเมื่อปีที่แล้ว.

คำว่าพอเพียงมีความหมายอีกอย่างหนึ่ง มีความหมายกว้างออกไปอีก. ไม่ได้หมายถึงการมีพอสำหรับใช้เองเท่านั้น แต่มีความหมายว่าพอมีพอกิน. พอมีพอกินนี้ ถ้าใครได้มาอยู่ที่นี่ ในศาลานี้ เมื่อ เท่าไหร่ ๒๐ ๒๔ ปี เมื่อปี ๒๕๑๗. ๒๕๑๗ ถึง ๒๕๔๑ นี้ ก็ ๒๔ ปี ใช่ไหม. วันนั้นได้พูดว่า เราควรจะปฏิบัติให้พอมีพอกิน. พอมีพอกินนี้ก็แปลว่าเศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง. ถ้าแต่ละคนพอมีพอกิน ก็ใช้ได้. ยิ่งถ้าทั้งประเทศพอมีพอกินก็ยิ่งดี และประเทศไทยเวลานั้น ก็เริ่มจะไม่พอมีพอกิน บางคนก็มีมาก บางคนก็ไม่มีเลย. สมัยก่อนนี้พอมีพอกิน มาสมัยนี้ชักจะไม่พอมีพอกิน. จึงต้องมีนโยบายที่จะทำเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อที่จะให้ทุกคนมีพอเพียงได้. ให้พอเพียงนี้ก็หมายความว่า มีกินมีอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่หรูหราก็ได้ แต่ว่าพอ. แม้บางอย่างอาจจะดูฟุ่มเฟือย แต่ถ้าทำให้มีความสุข ถ้าทำได้ก็สมควรที่จะทำ สมควรที่จะปฏิบัติ. อันนี้ก็ความหมายอีกอย่างของเศรษฐกิจ หรือระบบพอเพียง. เมื่อปีที่แล้วตอนที่พูดพอเพียง แปลในใจ แล้วก็ได้พูดออกมาด้วย ว่าจะแปลเป็น Self-sufficiency (พึ่งตนเอง) ถึงได้บอกว่าพอเพียงแก่ตนเอง แต่ความจริงเศรษฐกิจพอเพียงนี้ กว้างขวางกว่า Self-sufficiency. คือ Self-sufficiency นั้นหมายความว่า ผลิตอะไรที่มีพอที่จะใช้ ไม่ต้องไปขอซื้อคนอื่น อยู่ได้ด้วยตนเอง (พึ่งตนเอง).

บางคนแปลจากภาษาฝรั่งว่า ให้ยืนบนขาตัวเอง. คำว่ายืนบนขาตัวเองนี่ มีคนบางคนพูดว่าชอบกล. ใครจะมายืนบนขา. คนอื่นมายืนบนขาเรา เราก็โกรธ แต่ตัวเองยืนบนขาตัวเองก็ต้องเสียหลักหกล้มหรือล้มลง. อันนี้ก็เป็นความคิดที่อาจจะเฟื่องไปหน่อย. แต่ว่า เป็นตามที่เขาเรียกว่ายืนบนขาของตัวเอง (ซึ่งแปลว่าพึ่งตนเอง). หมายความว่าสองขาของเรานี่ ยืนบนพื้น ให้อยู่ได้ไม่หกล้ม. ไม่ต้องไปขอยืมขาของคนอื่นมาใช้สำหรับยืน. แต่พอเพียงนี้มีความหมายกว้างขวางยิ่งกว่านี้อีก คือคำว่าพอก็เพียงพอ เพียงนี้ก็พอดังนั้นเอง. คนเราถ้าพอในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อย ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย. ถ้าทุกประเทศมีความคิด - อันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ - มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่าพอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข. พอเพียงนี้อาจจะมีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น. ต้องให้พอประมาณตามอัตภาพ พูดจาก็พอเพียง ทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง.

เคยพูดว่า ท่านทั้งหลายที่นั่งอยู่ตรงนี้ ถ้าอยากจะไปนั่งบนเก้าอี้ของผู้ที่อยู่ข้างๆ เช่นนี้ไม่พอเพียง และทำไม่ได้. ถ้าอยากนั่งอย่างนั้นก็เดือดร้อนกันแน่ เพราะว่าอึดอัด จะทำให้ทะเลาะกัน. เมื่อมีการทะเลาะกัน ก็ไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย. ฉะนั้นควรที่จะปฏิบัติสิ่งที่พอเพียง. ทางความคิดก็เหมือนกัน ไม่ใช่ทางกายเท่านั้น ถ้ามีใครมีความคิดอย่างหนึ่ง และต้องการบังคับให้คนอื่นคิดอย่างเดียวกับตัว ซึ่งอาจจะเป็นความคิดที่ไม่ถูก ก็ไม่สมควรทำ. ปฏิบัติอย่างนี้ก็ไม่ใช่การปฏิบัติแบบพอเพียง. ความพอเพียงในความคิดก็คือ แสดงความคิดของตัว ความเห็นของตัว และปล่อยให้อีกคนพูดบ้าง และมาพิจารณาว่าที่เขาพูด กับที่เราพูด อันไหนพอเพียง อันไหนเข้าเรื่อง. ถ้าไม่เข้าเรื่องก็แก้ไข เพราะว่าถ้าพูดกันโดยที่ไม่รู้เรื่องกัน ก็จะกลายเป็นการทะเลาะกัน. จากการทะเลาะด้วยวาจาก็กลายเป็นการทะเลาะด้วยกาย ซึ่งในที่สุดก็นำมาสู่ความเสียหาย เสียหายแก่ผู้ที่เป็นตัวละครทั้งสองคน. ถ้าเป็นหมู่ก็เลยเป็นการตีกันอย่างรุนแรงได้ ซึ่งจะทำให้คนอื่นอีกมากเดือดร้อน.

ฉะนั้น ความพอเพียงนี้ก็แปลว่า ความพอประมาณและความมีเหตุผล. ที่พูดอย่างนี้ก็เพราะต้องอธิบายคำว่าพอเพียงที่คนไม่เข้าใจเมื่อปีที่แล้ว และไม่เข้าใจจนกระทั่งถึงประมาณ ๒-๓ อาทิตย์นี้. ที่แปลกที่สุด คนที่มาพูดก็นึกว่าเขาเข้าใจ เพราะว่าเป็นคนที่เคยได้คุยด้วยมาก และก็คุยในเรื่องพรรณอย่างนี้ เรื่องเศรษฐกิจ เรื่องความหมายของคำต่างๆ แต่ก็ยังไม่วาย. ฉะนั้นจึงต้องอธิบายอย่างกว้างขวางพอใช้ ไม่ทราบว่าวันนี้พูดเข้าใจหรือไม่. ถ้าพูดไม่เข้าใจวันนี้อาจจะต้องอธิบายต่อปีหน้า (เสียงหัวเราะ) เพราะน่าเบื่อถ้าต้องอธิบายต่อไปอย่างนี้ คนที่อยู่ต่อหน้านี่ก็ชักจะง่วง (เสียงหัวเราะ) แต่ว่านี่ก็ได้อธิบาย ที่ท่านทั้งหลายหัวเราะ ก็คงแปลว่าท่านก็เริ่มเข้าใจนิดหน่อย (เสียงหัวเราะ) ก็ดีแล้ว เข้าใจนิดหน่อย ดีกว่าไม่เข้าใจ.

อันนี้ก็มาอีกเรื่องหนึ่ง. เรื่องที่นายกฯ ได้กล่าวว่าทรงทำอะไรๆ ดีๆ คล้ายๆ ว่าทำอยู่คนเดียว. ความจริงทุกสิ่งทุกอย่างที่ได้ทำ คนอื่นทำด้วย. ยกตัวอย่าง การปฏิบัติตามทฤษฎีใหม่ เป็นการกระทำของหลายคน ของเจ้าหน้าที่การพัฒนาส่วนหนึ่ง และของประชาชนเองที่ทำตามทฤษฏีใหม่. ทฤษฏีใหม่นี้เป็นทฤษฏีที่ได้กล่าวออกมา หรือได้แสดงออกมาเมื่อประมาณปี ๒๕๓๗. พิมพ์ลงไปในเครื่องคอมพิวเตอร์เป็น ๓ ขั้น และพยายามที่จะทำให้สั้นที่สุด. การทำให้สั้นที่สุดย่อมเข้าใจยาก แต่ว่าเมื่อทำให้สั้นที่สุด และให้มีใจความก็น่าจะเข้าใจได้ จึงให้ผู้ที่มีหน้าที่ได้ดู และให้เขาไปเลย. ไม่ได้นึกว่าทฤษฎีใหม่นี้จะไปปฏิบัติได้อย่างง่ายๆ แต่ว่าผู้ที่รับทฤษฏีใหม่นี้ไป ก็เกิดเข้าใจ และไปปฏิบัติได้.

ทฤษฎีใหม่นี้เกิดขึ้นมาอย่างไร. ก็มาจากการปฏิบัติ ซึ่งเป็นการปฏิบัติของคนอื่นด้วยตั้งแต่ต้น. ทฤษฏีใหม่นี้ ความจริงทางราชการได้ปฏิบัติมาหลายปีแล้ว ก่อนที่เกิดเป็นทฤษฎีใหม่ตามที่เรียกว่าทฤษฏีใหม่ในพระราชดำริ คือ การพัฒนาทางการเกษตร โดยเพาะปลูกหลายอย่างในที่เดียวกัน หรือผลัดปลูกหมุนเวียนกัน อย่างเช่นเขาปลูกข้าว หลังจากฤดูกาลข้าว เขาก็ปลูกถั่ว อย่างนี้เป็นทฤษฏีใหม่แล้ว แต่ไม่มีใครบอกว่าเป็นทฤษฎี ก็เลยได้หน้าว่าใช้คำว่า ทฤษฎีใหม่. นี่เป็นความคิดขึ้นมา และยอมรับกันว่าเป็นทฤษฎี. เมื่อยอมรับกันว่าเป็นทฤษฏี ก็ไปปฏิบัติต่อได้. ที่เริ่มทำทฤษฏีใหม่นี้ ก่อนที่จะได้เรียกว่าเป็นทฤษฏีก็ทำที่สระบุรี ที่นั้นได้ไปหา ซื้อที่ ๑๕ ไร่ ซึ่งคุณภาพไม่ดี. เงินที่ซื้อ๑๕ ไร่นั้น ส่วนหนึ่งเป็นเงินส่วนตัว อันนี้ส่วนตัวแท้ๆ ไม่ได้ไปเบิกจากงบประมาณแผ่นดิน หรือจากที่อื่น. เป็นเงินส่วนตัวที่เก็บอยู่เป็นเงินสด จนมีคนล้อว่าเป็นเศรษฐีเงินสด ไม่ได้เป็นเศรษฐีที่ไปลงทุนกินดอกเบี้ย. บางคนเขาตำหนิว่าทำไมเก็บเงินสด เก็บเงินสดไว้ในกระเป๋า เอาไว้ในห้อง ไม่ได้เอาไปไว้ที่ธนาคาร หรือบริษัทหลักทรัพย์ คนเขาก็บอกว่า การเก็บเอาไว้อย่างนั้นไม่ถูกหลักเศรษฐกิจ ก็เลยเอาเงินเช่นนั้นไปซื้อที่ดิน.

คนอื่นที่เห็นดีในการไปซื้อที่ดินเพื่อที่จะทดลองก็มาสมทบทุน เป็นเอกชน เป็นเพื่อนเป็นฝูง. ไปซื้อ ๑๕ ไร่ และคนที่เป็นเจ้าหน้าที่ทั้งฝ่ายจังหวัด ทั้งฝ่ายกระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรฯ ก็ได้ร่วมไปทำ. ก็บอกว่าให้ไปขุดสระ เพราะที่นี่ยังไม่มีน้ำ. คนที่ขายที่นั้นเขาบอกว่ามีบริษัทหนึ่งเข้ามาแถวนี้ จะมาขอซื้อ แต่ก็มีเงื่อนไขว่า ถ้าหาน้ำได้เขาจะซื้อ. ปรากฏว่าเขาขุด แล้วหาน้ำไม่ได้. อันนี้ก็แปลกเพราะว่าเมื่อซื้อที่ซึ่งห่างจากที่ที่บริษัทนั้นเคยจะมาซื้อ เพียงประมาณ ๒๐๐ - ๓๐๐ เมตร เราไปขุดมีน้ำ. เรียกว่าเราดวงดี ขุดมีน้ำได้. เมื่อมีน้ำแล้ว ก็สามารถที่จะนำน้ำนั้นมาทำการเพาะปลูกตลอดปี เลี้ยงปลาก็ได้. เลยใช้ที่ ๑๕ ไร่นี่มาปลูกข้าว ปลูกผัก ปลูกต้นไม้ ต้นไม้ผล ปลูกสมุนไพรก็มี และมีการเลี้ยงปศุสัตว์ ทั้งหมดนี่ใน ๑๕ ไร่นี้. คนก็บอกว่า แหม! ทำไมในที่แคบอย่างนี้ ทำได้ทุกอย่าง. เมื่อทำไปปีหนึ่งก็ได้ผล. ผลผลิตนั้นได้ให้นักเรียนที่โรงเรียนวัด และที่เหลือก็ยังขายไป ได้กำไร ๒๐,๐๐๐ บาท. แต่ที่บอกว่าการทำนี่ไม่ได้ทำเองแท้ เพียงแต่พูดไปว่ามีทฤษฏีทำอย่างนั้นๆ. คนที่ทำก็คือข้าราชการ และคนอื่นเข้ามาช่วยทำ. หมายความว่าต้องอาศัยเจ้าหน้าที่ราชการ คนงานและนักวิชาการต่างๆ. แต่อย่างไรก็ตาม เขาไม่ค่อยคิดว่าจะทำในที่ ๑๕ ไร่ที่แห้งแล้งแบบนี้ได้ แต่ก็ทำได้.

ผู้วางแผนเองก็ทึ่งตัวเอง. นี่พูดเหมือนว่า จะอวดตัวว่าเก่ง แต่ตกใจตัวเองว่าที่พูดไปใช้งานได้ จึงมาสรุปเป็นทฤษฏีใหม่. เมื่อเป็นทฤษฏีใหม่ก็ให้ไปที่มูลนิธิชัยพัฒนา แล้วเขียนข้างใต้ว่าเป็นทฤษฏีใหม่ของมูลนิธิชัยพัฒนา. ต่อมาคนก็ได้เห็นว่าใช้ได้ และไปปฏิบัติได้ในที่ที่แห้งแล้ง. เคยเล่าให้ฟังแล้วว่าที่ทำที่อำเภอเขาวง กาฬสินธุ์ ที่ได้ผลดี. ที่ตรงนั้นทำ ๑๒ ไร่ ภายในปีหนึ่งเขาก็มีข้าวกิน. ครั้งแรกที่ไปเยี่ยมเขาไม่มีข้าวกิน มีเพียงไม่กี่เม็ดต่อรวง. เมื่อชาวบ้านแถวนั้นเห็นว่าดี ก็ขอให้ช่วย. ปีต่อไปก็เพิ่มขึ้นเป็น ๑๐ ราย. ปีต่อๆ ไปก็เป็น ๑๐๐ และขยายออกไปในภาคอื่น. ได้เป็นการปฏิบัติตามทฤษฏีและได้ผล. เมื่อเป็นทฤษฏีใหม่แล้ว ก็มาเข้าเป็นเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียง. คนที่ทำนี้ ต้องไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ฟุ้งเฟ้อ. ได้เขียนไว้ในทฤษฏีนั้นว่าลำบาก เพราะผู้ที่ปฏิบัติ ต้องมีความเพียร และต้องอดทน. ไม่ใช่ว่าทำง่ายๆ ไม่ใช่บอกว่าเป็นทฤษฏีของในหลวง แล้วจะทำได้สะดวก. และไม่ใช่ว่าทำได้ทุกแห่ง ต้องเลือกที่. ถ้าค่อยๆ ทำไป ก็จะสามารถขยายความคิดของทฤษฏีใหม่นี้ไปได้ โดยดัดแปลงทฤษฏีนี้ แล้วแต่สภาพของภูมิประเทศ หรืออาจจะช่วยสภาพภูมิประเทศ โดยหาแหล่งน้ำเพิ่มเติม.

ความจริงทฤษฏีใหม่ที่ปฏิบัติที่สระบุรีนั้นได้คิดก่อนที่บัญญัติทฤษฎี. ที่สระบุรีนั้นได้ตั้งโครงการ ก่อนที่ตั้งมูลนิธิชัยพัฒนา. โครงการนี้เป็นคล้ายๆ โครงการแรกของมูลนิธิ และก่อนที่เขื่อนป่าสักได้เริ่มต้น. นึกว่าที่ตรงนั้นถ้าหากเขื่อนป่าสักสำเร็จ - ซึ่งเวลานี้ใกล้จะสำเร็จแล้ว - จะสามารถนำน้ำมาผ่านใกล้ที่ของทฤษฏีใหม่นั้นได้. ถ้าคลองส่งน้ำผ่านมา ทฤษฏีใหม่นี้ก็จะสมบูรณ์ เพราะมีโครงสร้างรองรับไว้แล้ว. และบริเวณที่ไม่ใช่บริเวณของทฤษฏีใหม่ เป็นของชาวบ้าน และปฏิบัติแบบเดียวกับที่ของทฤษฏีใหม่ ก็จะอยู่ดีมีกินมากขึ้น. ถ้าทำโครงการอะไรที่ให้สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศ ก็สามารถจะสร้างความเจริญให้กับเขตที่ใหญ่ขึ้นได้. เขตที่ใหญ่ ลงท้ายก็จะแผ่ทั่วประเทศได้ แต่เพื่อการนี้จะต้องมีความร่วมมืออย่างดี ระหว่างทุกฝ่าย ทั้งนักวิชาการ และนักปกครอง. ดังนี้ ถึงบอกว่าเศรษฐกิจพอเพียง และทฤษฏีใหม่ สองอย่างนี้จะทำความเจริญแก่ประเทศได้. แต่ต้องมีความเพียร แล้วต้องอดทน ต้องไม่ใจร้อน ต้องไม่พูดมาก ต้องไม่ทะเลาะกัน. ถ้าทำโดยเข้าใจกัน เชื่อว่าทุกคนจะมีความพอใจได้.

ต่อไปนี้คนละเรื่อง เป็นเรื่องจากข่าวที่ฟัง หรือจากการอภิปราย. ถูกหรือไม่ถูกต้องขออภัย เพราะว่าเกิดความคิดส่วนตัว เวลาฟังเขาเถียงกัน. เรื่องนี้อาจจะเป็นเรื่องปลีกย่อย. เขาพูดกันว่า คนที่เป็นนักธุรกิจส่งนอก บอกว่า เดี๋ยวนี้เงินบาทแข็งเกินไป. แต่ก่อนนี้เงินบาทลอยไป ไม่ต้องมีเครื่องบิน ไม่ต้องมีบอลลูนหรอก มันลอยขึ้นไป. พวกที่หัวใสในทางเก็งราคา ก็เก็งราคาดอลลาร์. ไปซื้อดอลล่าร์เพราะทราบว่าจะลอย ก็ซื้อดอลล่าร์มากมายทีเดียว เมื่อลอยก็ขายได้กำไร. ถ้าซื้อล้านบาท ก็ได้กำไรกลับคืนมาสองล้านบาทภายในไม่กี่เดือน. การที่เงินบาทขึ้นๆ ลงๆ นี้ รู้สึกว่าจะไม่ถูก. ถ้าอย่างที่เป็นอยู่เดี๋ยวนี้ เงินบาทมีความสม่ำเสมอ จะอยู่แค่ไหนก็ไม่เป็นไร ขอให้มีความมั่นคง คือไม่วูบวาบ ขึ้นแล้วลงมากเกินไป อยู่ตรงไหนก็ได้. ปัจจุบันนี้อยู่แถว ๓๖ มาแตะ ๓๕ บ้าง. ขึ้นๆ ลงๆ เพียง ๑๐ สตางค์ ๒๐ สตางค์ อย่างนี้ไม่เป็นไร. ถ้าเงินบาทอยู่อย่างเดี๋ยวนี้ นักธุรกิจที่ส่งนอกเขาบอกเขาแย่ เพราะว่าจะไม่สามารถผลิตสินค้า เพื่อที่จะไปขายต่างประเทศ. แต่หารู้ไม่ว่า ผู้ที่ผลิตนั้นไม่ใช่ว่า เขาพอเพียง หรือประเทศพอเพียง เพราะต้องสั่งวัตถุดิบ หรือส่วนประกอบของสินค้านั้นมาจากต่างประเทศ. ถ้าเงินขึ้นลง บางคนที่ไม่เก่งนัก ซื้อวัตถุดิบมาในราคาแพง แล้วขายสินค้าของเขาในราคาถูก คนเหล่านั้นก็ล่มจม. ส่วนใหญ่นักธุรกิจธรรมดาๆ ก็ไม่ทราบว่าเมื่อไหร่จะขึ้น เมื่อไหร่จะลง ก็เลยผิดจังหวะ เขาก็ล่มจม. ส่วนผู้ที่เรียกว่าฉลาด หรือหัวใสเก็งราคา คือรู้ว่าเงินมีขึ้นมีลง ก็เล็งเอาตอนที่เหมาะสม ซื้อวัตถุดิบมาในราคาถูก และขายสินค้าในราคาแพง. อย่างนี้ควบคุมไม่ได้ ก็ทำให้พวกนี้สบาย.

ความจริงมีคนที่ยังสบายอยู่ไม่น้อย. ถ้าเศรษฐกิจการคลัง อัตราแลกเปลี่ยนไม่วูบวาบเกินไป ทุกคนที่ขยัน ก็จะสามารถทำธุรกิจได้ดี. ในระยะหลังนี้ทราบข่าวมาว่า เดือนนี้เศรษฐกิจดีขึ้น จะเอาเกณฑ์อะไร ที่บอกว่าเศรษฐกิจดีขึ้น. ถ้าถามกระทรวงการคลัง หรือกระทรวงพาณิชย์ ก็ไม่มีใครเชื่อ. เขาบอกว่ารัฐมนตรีคลัง รัฐมนตรีพาณิชย์นี่ พูดอะไร เชื่อไม่ได้. ท่านพยายามพูดอธิบายจนกระทั่งท่านไม่พูดแล้ว. ท่านพูดๆๆ ไม่มีใครฟัง ท่านก็ไม่พูด. ที่ได้ถาม ไม่ใช่รัฐมนตรี ไม่ใช่กระทรวง ถามโหราจารย์ ไม่ใช่ถามว่าเดี๋ยวนี้เศรษฐกิจดีหรือไม่ดี ถ้าถามโหราจารย์ว่าเดี๋ยวนี้เศรษฐกิจดีหรือยัง ก็ไม่มีใครเชื่ออีก. หาว่างมงายไปฟังโหราศาสตร์. โหราจารย์นั้น ไม่ใช่บอกว่าเศรษฐกิจดีหรือไม่ดี โหราจารย์บอกว่าเดี๋ยวนี้เศรษฐกิจของโหราจารย์ดีขึ้น (เสียงหัวเราะ) ของตัวเองดี ไม่ใช่ของประเทศ ไม่ใช่ของนักธุรกิจ ไม่ใช่ของนักการเมือง ไม่ใช่ของฝ่ายค้าน ไม่ใช่ของฝ่ายรัฐบาล แต่ของตนเอง ของท่านโหราฯ เองดี. เอาเกณฑ์อะไร ที่บอกว่าดี. ก็เพราะว่ามีคนมาขอฤกษ์มากขึ้น. เมื่อปีก่อนนี้ ท่านโหราจารย์แย่ ไม่มีใครมาขอฤกษ์ เลยไม่มีใครบำรุงกิจการ บอกว่าล่มจม. แต่มาระยะหลังนี้ มีคนมาขอฤกษ์ หมายความว่าเศรษฐกิจชักกระเตื้อง. นี่เป็นเรื่องของเกณฑ์ ที่เราจะสามารถทราบว่าสถานการณ์เป็นอย่างไร.

นี่เป็นความคิดความเห็นที่เป็นกลาง เพราะเป็นเรื่องของตัวท่านโหราจารย์เอง เป็นข้อเท็จจริง และก็เถียงไม่ได้. ฉะนั้นทำให้นึกดูว่า ถ้าเศรษฐกิจสม่ำเสมอดี มีแต่ดีขึ้นได้. จึงต้องรักษาความเป็นอยู่ที่ดี สถานการณ์ที่ดีต่อไป โดยรักษาอัตราแลกเปลี่ยนที่สม่ำเสมอ. ไม่มีปัญหาว่าประเทศชาติจะรอดพ้นจากวิกฤติการณ์ ทั้งนี้เพราะวิกฤติการณ์นี้มาจากความฟุ้งเฟ้อ หรือความโลภ ไม่อยากจะพูดว่าความทุจริต เพราะไม่จำเป็นที่จะต้องมีความทุจริต ก็แย่ได้เหมือนกัน. ยิ่งมีทุจริตก็ยิ่งแย่ เพราะว่าถ้ามีทุจริต ไม่มีใครทำงานอะไรได้ ไม่มีใครเชื่อใคร แล้วผู้ที่จะพยายามทำงานก็ไม่สามารถทำงาน เพราะกลัวทุจริต. ข้อสำคัญอยู่ที่ว่า ถ้าไม่มีความสม่ำเสมอ ผู้ที่เป็นนักธุรกิจ หรืออุตสาหกรที่สุจริต ก็จะไม่สามารถกะงบประมาณ งบของตัวเอง จึงต้องค้ากำไรเกินควร เพื่อไม่ให้ขาดทุน. แต่มีหลายคนพยายามทำงานด้วยความไม่ฟุ้งเฟ้อ.

ได้พูดกับนักธุรกิจต่างประเทศ. ไม่ใช่ว่าจะต้องไปเชื่อชาวต่างประเทศ หรือนักเศรษฐศาสตร์ต่างประเทศ บางคนก็เข้าข้างตัวเอง จะมา เรียกว่า มาขุดทองในเมืองไทย. มีพวกที่เป็นอุตสาหกร ผู้ที่เป็นนักธุรกิจต่างประเทศ เขาหัวเราะเลย เมืองไทยนี่กำลังวุ่นวาย เขามาขุดทอง เพราะเมืองไทยยังมีทอง เมืองไทยยังเป็นสุวรรณภูมิ แต่ของเราเห็นทองแล้วโยนทิ้ง ก็เลยไม่ใช้ประโยชน์. ชาวต่างประเทศเห็นเราทิ้ง เขาก็เก็บ. อันนี้เป็นข้อสังเกตอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดความคิดขึ้นมา. ที่พูดทั้งหมดนี้ ฟังแล้ว อาจจะน่ากลุ้มใจ แต่ถ้าดูอีกแง่หนึ่งก็อาจจะน่าสบายใจ. น่าสบายใจ เพราะดูได้ว่าถ้าเราปฏิบัติอย่างเรียกว่าตรงไปตรงมา ด้วยความตั้งอกตั้งใจสักนิดหนึ่ง - บอกว่าสักนิด - ก็พอ ไม่ต้องตั้งอกตั้งใจอย่างเคร่งเครียดมากเกินไป แต่ให้สม่ำเสมอ. สม่ำเสมอนี้ก็แบบเดียวกับที่พูดถึงพอเพียง สม่ำเสมอในทุกอย่าง พอเพียงในทุกอย่าง.

เมืองไทยรอดเพราะโครงสร้างของประเทศ หรือนิสัยของประชากรชาวไทย. ประชากรนี่ หมายถึงประชาชนที่อยู่ในกรุง ประชาชนที่อยู่ในชนบท ประชาชนที่อยู่ชายทะเล ประชาชนที่อยู่บนภูเขา ยังดี คนยีงมีจิตใจที่กล้าคิด กล้าทำ. ถ้าทำตามคุณสมบัติของคน คือ คุณธรรมของคนหรือความดีของคน เมืองไทยสบาย ไม่ต้องให้ต่างประเทศมาขุด. แม้จะมีต่างประเทศมาขุด เขาก็ขุดให้เรา. เขาก็แบ่งให้เราด้วย เราก็แบ่งให้เขา. นี่ก็เลยกลายเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบเศษ ๑ ส่วน ๔ หรือมากกว่าเศษ ๑ ส่วน ๔ ด้วยความพอเพียงที่แปลว่า พอประมาณ และมีเหตุมีผล. อันนี้ก็กลับมาถึงที่เศรษฐกิจพอเพียง ก็เลยนึกว่าเป็นสิ่งที่น่าจะนำไปคิด.

มีอีกเรื่องที่ได้พูดปีที่แล้ว และปีนี้มีความเปลี่ยนแปลงไป คือเรื่องที่ท่านนายกฯ พูดเรื่องภัยพิบัติน้ำท่วม. ปีที่แล้วภัยพิบัติน้ำท่วมได้เกิดขึ้น แต่ปีนี้ไม่เกิดขึ้นที่จังหวัดชุมพร. ที่อำเภอเมืองจังหวัดชุมพรนั้น ปีที่แล้วน้ำท่วม ๒ ครั้ง ก็เสียหายไปเกือบ ๒ พันล้าน. ปีนี้เสียไปไม่เท่าไหร่ เพราะไม่มีน้ำท่วม. เสียสำหรับโครงการที่เล่าให้ฟังว่าไปขุดคลองให้ครบถ้วน. คลองชลประทาน เขาขุดไว้แล้ว แต่ไม่ทะลุ. ถามเขาว่าเมื่อไหร่จะทะลุ เขาก็บอกว่าอีก ๒ ปี. ตอนนั้นปลายปี ๔๐. ปี ๔๑ ปี ๔๒ ก็จะยังท่วมอีก เพราะว่าคลองไม่ทะลุ จึงได้ทำโครงการให้ทะลุภายในเดือนเดียว. เงินไม่มีก็ให้ ปีที่แล้วบอกว่ามูลนิธิราชประชานุเคราะห์ และมูลนิธิชัยพัฒนาให้ไป จะให้คืนหรือไม่คืนไม่เป็นไร.

ลงท้ายได้คืน. ได้เงินคืนจากประชาชนเอง และจากทางราชการ. ประชาชนเห็นว่าทำดี เขาก็บริจาค. ปีที่แล้วบ่นว่าชาวชุมพรไม่ยอมบริจาค แต่ปีนี้ยอมบริจาคช่วย จึงสามารถทำโครงการเพิ่มเติม. นอกจากการป้องกันน้ำท่วม ได้ทำโครงการเพิ่มเติมสำหรับการทำเกษตรที่ปลอดภัย และพอเพียง โดยใช้เงินที่ได้คืนมาตั้งกองทุน เพื่อให้เกษตรกรทำการเพาะปลูกได้เป็นกลุ่มๆ.

ในปีนี้ระยะหนึ่ง ถ้าวัดน้ำในจุดหนึ่ง มีสูงกว่าปีที่แล้ว แต่เมื่อผ่านโครงการมาแล้ว ทำให้ที่ๆ เคยท่วม ไม่ท่วม เพราะน้ำสามารถมาอยู่ในแก้มลิงอย่างที่อธิบายเรื่องแก้มลิงเมื่อปีที่แล้ว. แก้มลิงของเรานี้ ที่จริงเป็นแก้มลิงธรรมชาติที่ได้ปรับปรุงให้ดีขึ้น และต้องบริหารให้ดี. ลิงตัวนี้ตัวโตก็สามารถกักน้ำไว้ได้พอดี ถ้าบริหารดีแล้วน้ำจะไม่ท่วม.

ปีนี้คนที่อยู่ข้างนอก ใกล้ทางที่เดินผ่านมาจากรถ. ถ้าลองหันหลังไปดู มีกรงลิงแล้วมีลิงอยู่ในนั้น. ปีก่อนนี้ถามว่าเคยเห็นลิง ที่กินกล้วยไหม ก็ดูเหมือนไม่มีใครเคยเห็น จึงเอาลิงมาให้ดู. อยู่ในกรง หันหลังไปดูหน่อย. ลิงนี้เวลาให้กล้วยให้เงาะกิน มันใส่ปากแล้วเก็บไว้ในแก้ม ในแก้มลิง. หลังจากนั้นก็ค่อยๆ กลืน. น้ำที่อยู่ในแก้มลิงหนองใหญ่ที่ชุมพร ก็เป็นอย่างนั้น น้ำเข้ามาๆ แล้วจึงค่อยๆ ปล่อยออกไป. เป็นอันว่าเมื่อเข้ามาเก็บไว้ น้ำนั้นก็ไม่มาท่วมเมืองชุมพร. เมื่อน้ำที่ลงมาลดลงก็ปล่อยออก. ลิงนี้ก็เหมือนกัน. ได้พยายามถ่ายรูปลิงที่กินกล้วย ตอนนั้นลิงนี้ไม่ได้อยู่ตรงนั้น อยู่ที่ข้างสระกลม. ให้ถั่วลิสง มันก็เอาเข้าปาก แก้มลิงก็ตุ่ยออกมา แต่ถ่ายไม่ค่อยทัน ถ่ายไม่ได้ เพราะว่ามีลูกกรงทำให้รูปไม่ชัด. แต่คราวนี้มีอยู่ในกรงนี้ อาจจะสามารถถ่ายรูปลิงและแก้มของเขาให้เห็นชัด. แต่ท่านทั้งหลายที่ฟังเมื่อปีที่แล้ว เรื่องแก้มลิง คงได้ไปที่เขาดิน ดูลิงกินกล้วย กินเงาะ ก็คงได้เห็นแก้มลิงมาแล้ว เพราะสนใจเรื่องลิงขึ้น.

ตอนนี้เล่าเรื่องที่เกี่ยวข้องกับที่พูดเมื่อปีที่แล้ว และที่นายกฯ ได้บอกว่าเป็นสิ่งที่ได้ปฏิบัติมา. ฉะนั้น ก็คงสมควรแก่เวลาที่จะให้ท่านทั้งหลายไปพักผ่อนได้. วันนี้ท่านมา ในบัญชีที่อ่านเมื่อตะกี้ สองหมื่นกับเก้า (๒๐,๐๐๙) คน. ก็ไม่รู้ว่าครบหรือไม่ครบ (เสียงหัวเราะ) เพราะว่าเดิมเป็น สองหมื่นกับเจ็ด (๒๐,๐๐๗) คน. แต่มีคนมาเพิ่มอีกสองคนเป็นสองหมื่นกับเก้า (๒๐,๐๐๙) คน. คงอยากให้มีเลขที่เป็นมงคล (เสียงหัวเราะ). ก็ขอขอบใจทุกคน ทั้งสองหมื่นกับเก้า (๒๐,๐๐๙) คน ที่มาให้พร และเป็นกำลังใจ. ก็ขอให้กำลังใจนี้ สะท้อนกลับไปถึงแต่ละคน เพื่อให้ปฏิบัติงานได้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม. ใครทำอะไร มีหน้าที่อะไรก็ขอให้ทำได้อย่างดี และช่วยกัน ร่วมมือกัน ทำเพื่อความสงบสุข และความเจริญของประเทศและประชาชน


เนื่องจากพระราชดำรัสมีความยาวมากไม่สามารถย่อได้
http://kanchanapisek.or.th/speeches/1998/1204.th.html
บันทึกการเข้า
อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« ตอบ #26 เมื่อ: 25-02-2007, 21:17 »

การเศรษฐกิจ ที่ต้องมี การแลกเปลี่ยน เรียกว่า เป็นเศรษฐกิจการค้า ไม่ใช่เศรษฐกิจ ความพอเพียง

หวังว่าคงจะเข้าใจกันนะครับ ที่ยกขึ้นมาทั้งหมดนี่ ใครเข้าใจผิดแล้วต่อว่าเสียๆ หายๆ ก็ขอให้ไปทำความเข้าใจเสียใหม่
ไม่ยากหรอก เพียงแต่รัฐบาลนี้ทำเรื่องง่ายให้กลายเป็นยากเพื่อหวังผลทางการเมืองนั่นเอง ดูซิเข้าใจผิดกันหมดเลย
บันทึกการเข้า
qazwsx
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,359


นักธุรกิจและตำรวจ ต้องออกไปจากการเมือง


« ตอบ #27 เมื่อ: 25-02-2007, 21:24 »

ขอขอบใจท่านทั้งหลายที่มาชุมนุมกันในโอกาสใกล้จะถึงปีใหม่ ไม่ใช่ปีใหม่ เป็นปีใหม่ของเรา คือปีใหม่ของผู้พูด เพราะว่าพรุ่งนี้เริ่มศักราชใหม่ เริ่มอายุใหม่. นายกฯ ได้กล่าวสรุปชีวิตตั้ง๕๐กว่าปี ที่ได้ทำงานทำการ และชมว่าได้ช่วยให้ประเทศชาติอยู่เย็นเป็นสุข มีความร่มเย็น. วันนี้ท่านทั้งหลายมา ทั้งที่อยู่ข้างในข้างนอก มาเป็นจำนวนมาก นับว่าเป็นประวัติการณ์. การที่ได้ทำความเจริญหรือความสุขแก่ประเทศชาติและประชาชนนั้น มิได้เป็นงานของผู้หนึ่งผู้ใดที่จะปฏิบัติได้ ต้องร่วมมือกัน. ผู้ใดมีความรู้ทางใดก็ควรจะใช้ความรู้ความสามารถนั้นเพื่อสร้างความมั่นคง. ถ้ามีหลายคนที่มีความรู้อย่างเดียวกัน ก็ต้องร่วมมือกัน. บางคนมีความรู้เหมือนกันแต่ความเห็นต่างกัน ดังงนี้ก็จะต้องปรึกษากันมากกว่าที่จะเถียงกัน. คำว่าปรึกษากับคำว่าเถียงนี่ต่างกัน. คำว่าเถียงใช้แต่อารมณ์ คำว่าปรึกษาใช้ปัญญา. ถ้าสามารถที่จะใช้ปัญญาปรึกษากัน จะได้คำตอบ เพราะว่าความจริงนั้นมีอันเดียว. ความเท็จมีหลาย หรือทางที่ผิดมีมากมาย แต่ความจริงทางที่ดี ส่วนมาก เป็นทางเดียว ที่จะสามารถนำพาสู่ความสำเร็จ.

นายกฯ ได้กล่าวถึงกิจการต่างๆ เช่นเรื่องที่ได้กล่าวเมื่อปีที่แล้ว เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง. คำว่าเศรษฐกิจพอเพียงนี้ไม่มีในตำรา ไม่เคยมีระบบเศรษฐกิจพอเพียง. มีอย่างอื่นแต่ไม่ใช้คำนี้. ปีที่แล้วพูดว่า เศรษฐกิจพอเพียง เพราะหาคำอื่นไม่ได้. และได้พูดอย่างหนึ่งว่า เศรษฐกิจพอเพียงนี้ ให้ปฏิบัติเพียงครึ่งเดียว คือไม่ต้องทั้งหมด หรือแม้จะเศษหนึ่งส่วนสี่ก็พอ. ในคราวนั้น เมื่อปีที่แล้วนึกว่าเข้าใจกัน แต่เมื่อไม่นาน เดือนที่แล้ว มีผู้ที่ควรจะรู้ เพราะว่าได้ปฏิบัติเกี่ยวกับการพัฒนา มาช้านานแล้ว มาบอกว่าเศรษฐกิจพอเพียงนี่ดีมาก แล้วก็เข้าใจว่าปฏิบัติเพียงเศษหนึ่งส่วนสี่ก็พอนั้น หมายความว่า ถ้าทำได้เศษหนึ่งส่วนสี่ของประเทศก็จะพอ. ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง และทำได้เพียงเศษหนึ่งส่วนสี่ก็พอนั้น ไม่ได้แปลว่าเศษหนึ่งส่วนสี่ของพื้นที่ แต่เศษหนึ่งส่วนสี่ของการกระทำ.


ต้องพูดเข้าในเรื่องเลย เพราะหนักใจว่า แม้แต่คนที่เป็นดอกเตอร์ก็ไม่เข้าใจ. อาจจะพูดไม่ชัด แต่เมื่อกลับไปดูที่เขียนจากที่พูด ก็ชัดแล้วว่าควรจะปฏิบัติเศรษฐกิจพอเพียงไม่ต้องทั้งหมด เพียงครึ่งหนึ่งก็ใช้ได้ แม้จะเป็นเศษหนึ่งส่วนสี่ก็พอ. หมายความว่าวิธีปฏิบัติเศรษฐกิจพอเพียงนั้น ไม่ต้องทำทั้งหมด และขอเติมว่าถ้าทำทั้งหมดก็จะทำไม่ได้. ถ้าครอบครัวหนึ่ง หรือแม้หมู่บ้านหนึ่งทำเศรษฐกิจพอเพียงร้อยเปอร์เซ็นต์ก็จะเป็นการถอยหลังถึงสมัยหิน สมัยคนอยู่ในอุโมงค์หรือในถ้ำ ซึ่งไม่ต้องอาศัยหมู่อื่น เพราะว่าหมู่อื่นก็เป็นศัตรูทั้งนั้น ตีกัน ไม่ใช่ร่วมมือกัน จึงต้องทำเศรษฐกิจพอเพียง. แต่ละคนต้องหาที่อยู่ ก็หาอุโมงค์หาถ้ำ. ต้องหาอาหาร คือไปเด็ดผลไม้หรือใบไม้ตามที่มี หรือไปใช้อาวุธที่ได้สร้างได้ประดิษฐ์เอง ไปล่าสัตว์. กลุ่มที่อยู่ในอุโมงค์ในถ้ำนั้น ก็มีเศรษฐกิจพอเพียง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์. ก็ปฏิบัติได้.

แต่ต่อมาเมื่อออกจากถ้ำ ในสมัยต่อมา ที่สร้างบ้านเป็นที่อาศัย ก็เริ่มจะเป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหลือประมาณ ๘๐ เปอร์เซ็นต์ เพราะว่ามีคนไปผ่านมา ซึ่งไม่ได้เป็นศัตรู เอาอะไร ๆ มาแลกเปลี่ยนกัน. เช่นคนที่มาจากไกล ผ่านมามีหนังสัตว์ที่เหมาะสมที่จะใช้เป็นเครื่องนุ่งห่ม ก็ซื้อด้วยการแลกเปลี่ยนด้วยอาหาร เช่นปลาที่จับได้ในบึง. อย่างนี้ก็ไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียงแล้ว. เวลาก้าวล่วงมาอีก มาถึงปัจจุบันนี้ ถ้าคนที่อยู่ทั้งข้างนอกทั้งข้างในนี้ จะปฏิบัติเศรษฐกิจพอเพียง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ คงทำไม่ได้. และถ้าสำรวจตัวเอง หรือเศรษกิจของตัวเอง ก็เข้าใจว่า จะเห็นได้ว่าไม่ได้ทำ. เข้าใจว่าทำได้ไม่ถึง ๒๕ เปอร์เซ็นต์ ไม่ได้ถึงเศษหนึ่งส่วนสี่ เพราะว่าสิ่งที่ตนผลิตหรือทำ ส่วนใหญ่ก็เอาไปแลกกับของอื่นที่มีความจำเป็น. ฉะนั้นจึงพูดว่าเศรษฐกิจพอเพียง ปฏิบัติเพียงเศษหนึ่งส่วนสี่ ก็ควรจะพอและทำได้. อันนี้เป็นข้อหนึ่ง ที่จะอธิบายคำพูดที่พูดมาเมื่อปีที่แล้ว.

คำว่าพอเพียงมีความหมายอีกอย่างหนึ่ง มีความหมายกว้างออกไปอีก. ไม่ได้หมายถึงการมีพอสำหรับใช้เองเท่านั้น แต่มีความหมายว่าพอมีพอกิน. พอมีพอกินนี้ ถ้าใครได้มาอยู่ที่นี่ ในศาลานี้ เมื่อ เท่าไหร่ ๒๐ ๒๔ ปี เมื่อปี ๒๕๑๗. ๒๕๑๗ ถึง ๒๕๔๑ นี้ ก็ ๒๔ ปี ใช่ไหม.  วันนั้นได้พูดว่า เราควรจะปฏิบัติให้พอมีพอกิน. พอมีพอกินนี้ก็แปลว่าเศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง. ถ้าแต่ละคนพอมีพอกิน ก็ใช้ได้. ยิ่งถ้าทั้งประเทศพอมีพอกินก็ยิ่งดี และประเทศไทยเวลานั้น ก็เริ่มจะไม่พอมีพอกิน บางคนก็มีมาก บางคนก็ไม่มีเลย. สมัยก่อนนี้พอมีพอกิน มาสมัยนี้ชักจะไม่พอมีพอกิน. จึงต้องมีนโยบายที่จะทำเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อที่จะให้ทุกคนมีพอเพียงได้. ให้พอเพียงนี้ก็หมายความว่า มีกินมีอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่หรูหราก็ได้ แต่ว่าพอ. แม้บางอย่างอาจจะดูฟุ่มเฟือย แต่ถ้าทำให้มีความสุข ถ้าทำได้ก็สมควรที่จะทำ สมควรที่จะปฏิบัติ. อันนี้ก็ความหมายอีกอย่างของเศรษฐกิจ หรือระบบพอเพียง. เมื่อปีที่แล้วตอนที่พูดพอเพียง แปลในใจ แล้วก็ได้พูดออกมาด้วย ว่าจะแปลเป็น Self-sufficiency (พึ่งตนเอง) ถึงได้บอกว่าพอเพียงแก่ตนเอง แต่ความจริงเศรษฐกิจพอเพียงนี้ กว้างขวางกว่า Self-sufficiency. คือ Self-sufficiency นั้นหมายความว่า ผลิตอะไรที่มีพอที่จะใช้ ไม่ต้องไปขอซื้อคนอื่น อยู่ได้ด้วยตนเอง (พึ่งตนเอง).

บางคนแปลจากภาษาฝรั่งว่า ให้ยืนบนขาตัวเอง. คำว่ายืนบนขาตัวเองนี่ มีคนบางคนพูดว่าชอบกล. ใครจะมายืนบนขา. คนอื่นมายืนบนขาเรา เราก็โกรธ แต่ตัวเองยืนบนขาตัวเองก็ต้องเสียหลักหกล้มหรือล้มลง. อันนี้ก็เป็นความคิดที่อาจจะเฟื่องไปหน่อย. แต่ว่า เป็นตามที่เขาเรียกว่ายืนบนขาของตัวเอง (ซึ่งแปลว่าพึ่งตนเอง). หมายความว่าสองขาของเรานี่ ยืนบนพื้น ให้อยู่ได้ไม่หกล้ม. ไม่ต้องไปขอยืมขาของคนอื่นมาใช้สำหรับยืน. แต่พอเพียงนี้มีความหมายกว้างขวางยิ่งกว่านี้อีก คือคำว่าพอก็เพียงพอ เพียงนี้ก็พอดังนั้นเอง. คนเราถ้าพอในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อย ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย. ถ้าทุกประเทศมีความคิด - อันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ - มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่าพอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข. พอเพียงนี้อาจจะมีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น. ต้องให้พอประมาณตามอัตภาพ พูดจาก็พอเพียง ทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง.

เคยพูดว่า ท่านทั้งหลายที่นั่งอยู่ตรงนี้ ถ้าอยากจะไปนั่งบนเก้าอี้ของผู้ที่อยู่ข้างๆ เช่นนี้ไม่พอเพียง และทำไม่ได้. ถ้าอยากนั่งอย่างนั้นก็เดือดร้อนกันแน่ เพราะว่าอึดอัด จะทำให้ทะเลาะกัน. เมื่อมีการทะเลาะกัน ก็ไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย. ฉะนั้นควรที่จะปฏิบัติสิ่งที่พอเพียง. ทางความคิดก็เหมือนกัน ไม่ใช่ทางกายเท่านั้น ถ้ามีใครมีความคิดอย่างหนึ่ง และต้องการบังคับให้คนอื่นคิดอย่างเดียวกับตัว ซึ่งอาจจะเป็นความคิดที่ไม่ถูก ก็ไม่สมควรทำ. ปฏิบัติอย่างนี้ก็ไม่ใช่การปฏิบัติแบบพอเพียง. ความพอเพียงในความคิดก็คือ แสดงความคิดของตัว ความเห็นของตัว และปล่อยให้อีกคนพูดบ้าง และมาพิจารณาว่าที่เขาพูด กับที่เราพูด อันไหนพอเพียง อันไหนเข้าเรื่อง. ถ้าไม่เข้าเรื่องก็แก้ไข เพราะว่าถ้าพูดกันโดยที่ไม่รู้เรื่องกัน ก็จะกลายเป็นการทะเลาะกัน. จากการทะเลาะด้วยวาจาก็กลายเป็นการทะเลาะด้วยกาย ซึ่งในที่สุดก็นำมาสู่ความเสียหาย เสียหายแก่ผู้ที่เป็นตัวละครทั้งสองคน. ถ้าเป็นหมู่ก็เลยเป็นการตีกันอย่างรุนแรงได้ ซึ่งจะทำให้คนอื่นอีกมากเดือดร้อน.

ฉะนั้น ความพอเพียงนี้ก็แปลว่า ความพอประมาณและความมีเหตุผล. ที่พูดอย่างนี้ก็เพราะต้องอธิบายคำว่าพอเพียงที่คนไม่เข้าใจเมื่อปีที่แล้ว และไม่เข้าใจจนกระทั่งถึงประมาณ ๒-๓ อาทิตย์นี้. ที่แปลกที่สุด คนที่มาพูดก็นึกว่าเขาเข้าใจ เพราะว่าเป็นคนที่เคยได้คุยด้วยมาก และก็คุยในเรื่องพรรณอย่างนี้ เรื่องเศรษฐกิจ เรื่องความหมายของคำต่างๆ แต่ก็ยังไม่วาย. ฉะนั้นจึงต้องอธิบายอย่างกว้างขวางพอใช้ ไม่ทราบว่าวันนี้พูดเข้าใจหรือไม่. ถ้าพูดไม่เข้าใจวันนี้อาจจะต้องอธิบายต่อปีหน้า (เสียงหัวเราะ) เพราะน่าเบื่อถ้าต้องอธิบายต่อไปอย่างนี้ คนที่อยู่ต่อหน้านี่ก็ชักจะง่วง (เสียงหัวเราะ) แต่ว่านี่ก็ได้อธิบาย ที่ท่านทั้งหลายหัวเราะ ก็คงแปลว่าท่านก็เริ่มเข้าใจนิดหน่อย (เสียงหัวเราะ) ก็ดีแล้ว เข้าใจนิดหน่อย ดีกว่าไม่เข้าใจ.

อันนี้ก็มาอีกเรื่องหนึ่ง. เรื่องที่นายกฯ ได้กล่าวว่าทรงทำอะไรๆ ดีๆ คล้ายๆ ว่าทำอยู่คนเดียว. ความจริงทุกสิ่งทุกอย่างที่ได้ทำ คนอื่นทำด้วย. ยกตัวอย่าง การปฏิบัติตามทฤษฎีใหม่ เป็นการกระทำของหลายคน ของเจ้าหน้าที่การพัฒนาส่วนหนึ่ง และของประชาชนเองที่ทำตามทฤษฏีใหม่. ทฤษฏีใหม่นี้เป็นทฤษฏีที่ได้กล่าวออกมา หรือได้แสดงออกมาเมื่อประมาณปี ๒๕๓๗. พิมพ์ลงไปในเครื่องคอมพิวเตอร์เป็น ๓ ขั้น และพยายามที่จะทำให้สั้นที่สุด. การทำให้สั้นที่สุดย่อมเข้าใจยาก แต่ว่าเมื่อทำให้สั้นที่สุด และให้มีใจความก็น่าจะเข้าใจได้ จึงให้ผู้ที่มีหน้าที่ได้ดู และให้เขาไปเลย. ไม่ได้นึกว่าทฤษฎีใหม่นี้จะไปปฏิบัติได้อย่างง่ายๆ แต่ว่าผู้ที่รับทฤษฏีใหม่นี้ไป ก็เกิดเข้าใจ และไปปฏิบัติได้.

ทฤษฎีใหม่นี้เกิดขึ้นมาอย่างไร. ก็มาจากการปฏิบัติ ซึ่งเป็นการปฏิบัติของคนอื่นด้วยตั้งแต่ต้น. ทฤษฏีใหม่นี้ ความจริงทางราชการได้ปฏิบัติมาหลายปีแล้ว ก่อนที่เกิดเป็นทฤษฎีใหม่ตามที่เรียกว่าทฤษฏีใหม่ในพระราชดำริ คือ การพัฒนาทางการเกษตร โดยเพาะปลูกหลายอย่างในที่เดียวกัน หรือผลัดปลูกหมุนเวียนกัน อย่างเช่นเขาปลูกข้าว หลังจากฤดูกาลข้าว เขาก็ปลูกถั่ว อย่างนี้เป็นทฤษฏีใหม่แล้ว แต่ไม่มีใครบอกว่าเป็นทฤษฎี ก็เลยได้หน้าว่าใช้คำว่า ทฤษฎีใหม่. นี่เป็นความคิดขึ้นมา และยอมรับกันว่าเป็นทฤษฎี. เมื่อยอมรับกันว่าเป็นทฤษฏี ก็ไปปฏิบัติต่อได้. ที่เริ่มทำทฤษฏีใหม่นี้ ก่อนที่จะได้เรียกว่าเป็นทฤษฏีก็ทำที่สระบุรี ที่นั้นได้ไปหา ซื้อที่ ๑๕ ไร่ ซึ่งคุณภาพไม่ดี. เงินที่ซื้อ๑๕ ไร่นั้น ส่วนหนึ่งเป็นเงินส่วนตัว อันนี้ส่วนตัวแท้ๆ ไม่ได้ไปเบิกจากงบประมาณแผ่นดิน หรือจากที่อื่น. เป็นเงินส่วนตัวที่เก็บอยู่เป็นเงินสด จนมีคนล้อว่าเป็นเศรษฐีเงินสด ไม่ได้เป็นเศรษฐีที่ไปลงทุนกินดอกเบี้ย. บางคนเขาตำหนิว่าทำไมเก็บเงินสด เก็บเงินสดไว้ในกระเป๋า เอาไว้ในห้อง ไม่ได้เอาไปไว้ที่ธนาคาร หรือบริษัทหลักทรัพย์ คนเขาก็บอกว่า การเก็บเอาไว้อย่างนั้นไม่ถูกหลักเศรษฐกิจ ก็เลยเอาเงินเช่นนั้นไปซื้อที่ดิน.

คนอื่นที่เห็นดีในการไปซื้อที่ดินเพื่อที่จะทดลองก็มาสมทบทุน เป็นเอกชน เป็นเพื่อนเป็นฝูง. ไปซื้อ ๑๕ ไร่ และคนที่เป็นเจ้าหน้าที่ทั้งฝ่ายจังหวัด ทั้งฝ่ายกระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรฯ ก็ได้ร่วมไปทำ. ก็บอกว่าให้ไปขุดสระ เพราะที่นี่ยังไม่มีน้ำ. คนที่ขายที่นั้นเขาบอกว่ามีบริษัทหนึ่งเข้ามาแถวนี้ จะมาขอซื้อ แต่ก็มีเงื่อนไขว่า ถ้าหาน้ำได้เขาจะซื้อ. ปรากฏว่าเขาขุด แล้วหาน้ำไม่ได้. อันนี้ก็แปลกเพราะว่าเมื่อซื้อที่ซึ่งห่างจากที่ที่บริษัทนั้นเคยจะมาซื้อ เพียงประมาณ ๒๐๐ - ๓๐๐ เมตร เราไปขุดมีน้ำ. เรียกว่าเราดวงดี ขุดมีน้ำได้. เมื่อมีน้ำแล้ว ก็สามารถที่จะนำน้ำนั้นมาทำการเพาะปลูกตลอดปี เลี้ยงปลาก็ได้. เลยใช้ที่ ๑๕ ไร่นี่มาปลูกข้าว ปลูกผัก ปลูกต้นไม้ ต้นไม้ผล ปลูกสมุนไพรก็มี และมีการเลี้ยงปศุสัตว์ ทั้งหมดนี่ใน ๑๕ ไร่นี้. คนก็บอกว่า แหม! ทำไมในที่แคบอย่างนี้ ทำได้ทุกอย่าง. เมื่อทำไปปีหนึ่งก็ได้ผล. ผลผลิตนั้นได้ให้นักเรียนที่โรงเรียนวัด และที่เหลือก็ยังขายไป ได้กำไร ๒๐,๐๐๐ บาท. แต่ที่บอกว่าการทำนี่ไม่ได้ทำเองแท้ เพียงแต่พูดไปว่ามีทฤษฏีทำอย่างนั้นๆ. คนที่ทำก็คือข้าราชการ และคนอื่นเข้ามาช่วยทำ. หมายความว่าต้องอาศัยเจ้าหน้าที่ราชการ คนงานและนักวิชาการต่างๆ. แต่อย่างไรก็ตาม เขาไม่ค่อยคิดว่าจะทำในที่ ๑๕ ไร่ที่แห้งแล้งแบบนี้ได้ แต่ก็ทำได้.

ผู้วางแผนเองก็ทึ่งตัวเอง. นี่พูดเหมือนว่า จะอวดตัวว่าเก่ง แต่ตกใจตัวเองว่าที่พูดไปใช้งานได้ จึงมาสรุปเป็นทฤษฏีใหม่. เมื่อเป็นทฤษฏีใหม่ก็ให้ไปที่มูลนิธิชัยพัฒนา แล้วเขียนข้างใต้ว่าเป็นทฤษฏีใหม่ของมูลนิธิชัยพัฒนา. ต่อมาคนก็ได้เห็นว่าใช้ได้ และไปปฏิบัติได้ในที่ที่แห้งแล้ง. เคยเล่าให้ฟังแล้วว่าที่ทำที่อำเภอเขาวง กาฬสินธุ์ ที่ได้ผลดี. ที่ตรงนั้นทำ ๑๒ ไร่ ภายในปีหนึ่งเขาก็มีข้าวกิน. ครั้งแรกที่ไปเยี่ยมเขาไม่มีข้าวกิน มีเพียงไม่กี่เม็ดต่อรวง. เมื่อชาวบ้านแถวนั้นเห็นว่าดี ก็ขอให้ช่วย. ปีต่อไปก็เพิ่มขึ้นเป็น ๑๐ ราย. ปีต่อๆ ไปก็เป็น ๑๐๐ และขยายออกไปในภาคอื่น. ได้เป็นการปฏิบัติตามทฤษฏีและได้ผล. เมื่อเป็นทฤษฏีใหม่แล้ว ก็มาเข้าเป็นเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียง. คนที่ทำนี้ ต้องไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ฟุ้งเฟ้อ. ได้เขียนไว้ในทฤษฏีนั้นว่าลำบาก เพราะผู้ที่ปฏิบัติ ต้องมีความเพียร และต้องอดทน. ไม่ใช่ว่าทำง่ายๆ ไม่ใช่บอกว่าเป็นทฤษฏีของในหลวง แล้วจะทำได้สะดวก. และไม่ใช่ว่าทำได้ทุกแห่ง ต้องเลือกที่. ถ้าค่อยๆ ทำไป ก็จะสามารถขยายความคิดของทฤษฏีใหม่นี้ไปได้ โดยดัดแปลงทฤษฏีนี้ แล้วแต่สภาพของภูมิประเทศ หรืออาจจะช่วยสภาพภูมิประเทศ โดยหาแหล่งน้ำเพิ่มเติม.

ความจริงทฤษฏีใหม่ที่ปฏิบัติที่สระบุรีนั้นได้คิดก่อนที่บัญญัติทฤษฎี. ที่สระบุรีนั้นได้ตั้งโครงการ ก่อนที่ตั้งมูลนิธิชัยพัฒนา. โครงการนี้เป็นคล้ายๆ โครงการแรกของมูลนิธิ และก่อนที่เขื่อนป่าสักได้เริ่มต้น. นึกว่าที่ตรงนั้นถ้าหากเขื่อนป่าสักสำเร็จ - ซึ่งเวลานี้ใกล้จะสำเร็จแล้ว - จะสามารถนำน้ำมาผ่านใกล้ที่ของทฤษฏีใหม่นั้นได้. ถ้าคลองส่งน้ำผ่านมา ทฤษฏีใหม่นี้ก็จะสมบูรณ์ เพราะมีโครงสร้างรองรับไว้แล้ว. และบริเวณที่ไม่ใช่บริเวณของทฤษฏีใหม่ เป็นของชาวบ้าน และปฏิบัติแบบเดียวกับที่ของทฤษฏีใหม่ ก็จะอยู่ดีมีกินมากขึ้น. ถ้าทำโครงการอะไรที่ให้สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศ ก็สามารถจะสร้างความเจริญให้กับเขตที่ใหญ่ขึ้นได้. เขตที่ใหญ่ ลงท้ายก็จะแผ่ทั่วประเทศได้ แต่เพื่อการนี้จะต้องมีความร่วมมืออย่างดี ระหว่างทุกฝ่าย ทั้งนักวิชาการ และนักปกครอง. ดังนี้ ถึงบอกว่าเศรษฐกิจพอเพียง และทฤษฏีใหม่ สองอย่างนี้จะทำความเจริญแก่ประเทศได้. แต่ต้องมีความเพียร แล้วต้องอดทน ต้องไม่ใจร้อน ต้องไม่พูดมาก ต้องไม่ทะเลาะกัน. ถ้าทำโดยเข้าใจกัน เชื่อว่าทุกคนจะมีความพอใจได้.

ต่อไปนี้คนละเรื่อง เป็นเรื่องจากข่าวที่ฟัง หรือจากการอภิปราย. ถูกหรือไม่ถูกต้องขออภัย เพราะว่าเกิดความคิดส่วนตัว เวลาฟังเขาเถียงกัน. เรื่องนี้อาจจะเป็นเรื่องปลีกย่อย. เขาพูดกันว่า คนที่เป็นนักธุรกิจส่งนอก บอกว่า เดี๋ยวนี้เงินบาทแข็งเกินไป. แต่ก่อนนี้เงินบาทลอยไป ไม่ต้องมีเครื่องบิน ไม่ต้องมีบอลลูนหรอก มันลอยขึ้นไป. พวกที่หัวใสในทางเก็งราคา ก็เก็งราคาดอลลาร์. ไปซื้อดอลล่าร์เพราะทราบว่าจะลอย ก็ซื้อดอลล่าร์มากมายทีเดียว เมื่อลอยก็ขายได้กำไร. ถ้าซื้อล้านบาท ก็ได้กำไรกลับคืนมาสองล้านบาทภายในไม่กี่เดือน. การที่เงินบาทขึ้นๆ ลงๆ นี้ รู้สึกว่าจะไม่ถูก. ถ้าอย่างที่เป็นอยู่เดี๋ยวนี้ เงินบาทมีความสม่ำเสมอ จะอยู่แค่ไหนก็ไม่เป็นไร ขอให้มีความมั่นคง คือไม่วูบวาบ ขึ้นแล้วลงมากเกินไป อยู่ตรงไหนก็ได้. ปัจจุบันนี้อยู่แถว ๓๖ มาแตะ ๓๕ บ้าง. ขึ้นๆ ลงๆ เพียง ๑๐ สตางค์ ๒๐ สตางค์ อย่างนี้ไม่เป็นไร. ถ้าเงินบาทอยู่อย่างเดี๋ยวนี้ นักธุรกิจที่ส่งนอกเขาบอกเขาแย่ เพราะว่าจะไม่สามารถผลิตสินค้า เพื่อที่จะไปขายต่างประเทศ. แต่หารู้ไม่ว่า ผู้ที่ผลิตนั้นไม่ใช่ว่า เขาพอเพียง หรือประเทศพอเพียง เพราะต้องสั่งวัตถุดิบ หรือส่วนประกอบของสินค้านั้นมาจากต่างประเทศ. ถ้าเงินขึ้นลง บางคนที่ไม่เก่งนัก ซื้อวัตถุดิบมาในราคาแพง แล้วขายสินค้าของเขาในราคาถูก คนเหล่านั้นก็ล่มจม. ส่วนใหญ่นักธุรกิจธรรมดาๆ ก็ไม่ทราบว่าเมื่อไหร่จะขึ้น เมื่อไหร่จะลง ก็เลยผิดจังหวะ เขาก็ล่มจม. ส่วนผู้ที่เรียกว่าฉลาด หรือหัวใสเก็งราคา คือรู้ว่าเงินมีขึ้นมีลง ก็เล็งเอาตอนที่เหมาะสม ซื้อวัตถุดิบมาในราคาถูก และขายสินค้าในราคาแพง. อย่างนี้ควบคุมไม่ได้ ก็ทำให้พวกนี้สบาย.

ความจริงมีคนที่ยังสบายอยู่ไม่น้อย. ถ้าเศรษฐกิจการคลัง อัตราแลกเปลี่ยนไม่วูบวาบเกินไป ทุกคนที่ขยัน ก็จะสามารถทำธุรกิจได้ดี. ในระยะหลังนี้ทราบข่าวมาว่า เดือนนี้เศรษฐกิจดีขึ้น จะเอาเกณฑ์อะไร ที่บอกว่าเศรษฐกิจดีขึ้น. ถ้าถามกระทรวงการคลัง หรือกระทรวงพาณิชย์ ก็ไม่มีใครเชื่อ. เขาบอกว่ารัฐมนตรีคลัง รัฐมนตรีพาณิชย์นี่ พูดอะไร เชื่อไม่ได้. ท่านพยายามพูดอธิบายจนกระทั่งท่านไม่พูดแล้ว. ท่านพูดๆๆ ไม่มีใครฟัง ท่านก็ไม่พูด. ที่ได้ถาม ไม่ใช่รัฐมนตรี ไม่ใช่กระทรวง ถามโหราจารย์ ไม่ใช่ถามว่าเดี๋ยวนี้เศรษฐกิจดีหรือไม่ดี ถ้าถามโหราจารย์ว่าเดี๋ยวนี้เศรษฐกิจดีหรือยัง ก็ไม่มีใครเชื่ออีก. หาว่างมงายไปฟังโหราศาสตร์. โหราจารย์นั้น ไม่ใช่บอกว่าเศรษฐกิจดีหรือไม่ดี โหราจารย์บอกว่าเดี๋ยวนี้เศรษฐกิจของโหราจารย์ดีขึ้น (เสียงหัวเราะ) ของตัวเองดี ไม่ใช่ของประเทศ ไม่ใช่ของนักธุรกิจ ไม่ใช่ของนักการเมือง ไม่ใช่ของฝ่ายค้าน ไม่ใช่ของฝ่ายรัฐบาล แต่ของตนเอง ของท่านโหราฯ เองดี. เอาเกณฑ์อะไร ที่บอกว่าดี. ก็เพราะว่ามีคนมาขอฤกษ์มากขึ้น. เมื่อปีก่อนนี้ ท่านโหราจารย์แย่ ไม่มีใครมาขอฤกษ์ เลยไม่มีใครบำรุงกิจการ บอกว่าล่มจม. แต่มาระยะหลังนี้ มีคนมาขอฤกษ์ หมายความว่าเศรษฐกิจชักกระเตื้อง. นี่เป็นเรื่องของเกณฑ์ ที่เราจะสามารถทราบว่าสถานการณ์เป็นอย่างไร.

นี่เป็นความคิดความเห็นที่เป็นกลาง เพราะเป็นเรื่องของตัวท่านโหราจารย์เอง เป็นข้อเท็จจริง และก็เถียงไม่ได้. ฉะนั้นทำให้นึกดูว่า ถ้าเศรษฐกิจสม่ำเสมอดี มีแต่ดีขึ้นได้. จึงต้องรักษาความเป็นอยู่ที่ดี สถานการณ์ที่ดีต่อไป โดยรักษาอัตราแลกเปลี่ยนที่สม่ำเสมอ. ไม่มีปัญหาว่าประเทศชาติจะรอดพ้นจากวิกฤติการณ์ ทั้งนี้เพราะวิกฤติการณ์นี้มาจากความฟุ้งเฟ้อ หรือความโลภ ไม่อยากจะพูดว่าความทุจริต เพราะไม่จำเป็นที่จะต้องมีความทุจริต ก็แย่ได้เหมือนกัน. ยิ่งมีทุจริตก็ยิ่งแย่ เพราะว่าถ้ามีทุจริต ไม่มีใครทำงานอะไรได้ ไม่มีใครเชื่อใคร แล้วผู้ที่จะพยายามทำงานก็ไม่สามารถทำงาน เพราะกลัวทุจริต. ข้อสำคัญอยู่ที่ว่า ถ้าไม่มีความสม่ำเสมอ ผู้ที่เป็นนักธุรกิจ หรืออุตสาหกรที่สุจริต ก็จะไม่สามารถกะงบประมาณ งบของตัวเอง จึงต้องค้ากำไรเกินควร เพื่อไม่ให้ขาดทุน. แต่มีหลายคนพยายามทำงานด้วยความไม่ฟุ้งเฟ้อ.

ได้พูดกับนักธุรกิจต่างประเทศ. ไม่ใช่ว่าจะต้องไปเชื่อชาวต่างประเทศ หรือนักเศรษฐศาสตร์ต่างประเทศ บางคนก็เข้าข้างตัวเอง จะมา เรียกว่า มาขุดทองในเมืองไทย. มีพวกที่เป็นอุตสาหกร ผู้ที่เป็นนักธุรกิจต่างประเทศ เขาหัวเราะเลย เมืองไทยนี่กำลังวุ่นวาย เขามาขุดทอง เพราะเมืองไทยยังมีทอง เมืองไทยยังเป็นสุวรรณภูมิ แต่ของเราเห็นทองแล้วโยนทิ้ง ก็เลยไม่ใช้ประโยชน์. ชาวต่างประเทศเห็นเราทิ้ง เขาก็เก็บ. อันนี้เป็นข้อสังเกตอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดความคิดขึ้นมา. ที่พูดทั้งหมดนี้ ฟังแล้ว อาจจะน่ากลุ้มใจ แต่ถ้าดูอีกแง่หนึ่งก็อาจจะน่าสบายใจ. น่าสบายใจ เพราะดูได้ว่าถ้าเราปฏิบัติอย่างเรียกว่าตรงไปตรงมา ด้วยความตั้งอกตั้งใจสักนิดหนึ่ง - บอกว่าสักนิด - ก็พอ ไม่ต้องตั้งอกตั้งใจอย่างเคร่งเครียดมากเกินไป แต่ให้สม่ำเสมอ. สม่ำเสมอนี้ก็แบบเดียวกับที่พูดถึงพอเพียง สม่ำเสมอในทุกอย่าง พอเพียงในทุกอย่าง.

เมืองไทยรอดเพราะโครงสร้างของประเทศ หรือนิสัยของประชากรชาวไทย. ประชากรนี่ หมายถึงประชาชนที่อยู่ในกรุง ประชาชนที่อยู่ในชนบท ประชาชนที่อยู่ชายทะเล ประชาชนที่อยู่บนภูเขา ยังดี คนยีงมีจิตใจที่กล้าคิด กล้าทำ. ถ้าทำตามคุณสมบัติของคน คือ คุณธรรมของคนหรือความดีของคน เมืองไทยสบาย ไม่ต้องให้ต่างประเทศมาขุด. แม้จะมีต่างประเทศมาขุด เขาก็ขุดให้เรา. เขาก็แบ่งให้เราด้วย เราก็แบ่งให้เขา. นี่ก็เลยกลายเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบเศษ ๑ ส่วน ๔ หรือมากกว่าเศษ ๑ ส่วน ๔ ด้วยความพอเพียงที่แปลว่า พอประมาณ และมีเหตุมีผล. อันนี้ก็กลับมาถึงที่เศรษฐกิจพอเพียง ก็เลยนึกว่าเป็นสิ่งที่น่าจะนำไปคิด.

มีอีกเรื่องที่ได้พูดปีที่แล้ว และปีนี้มีความเปลี่ยนแปลงไป คือเรื่องที่ท่านนายกฯ พูดเรื่องภัยพิบัติน้ำท่วม. ปีที่แล้วภัยพิบัติน้ำท่วมได้เกิดขึ้น แต่ปีนี้ไม่เกิดขึ้นที่จังหวัดชุมพร. ที่อำเภอเมืองจังหวัดชุมพรนั้น ปีที่แล้วน้ำท่วม ๒ ครั้ง ก็เสียหายไปเกือบ ๒ พันล้าน. ปีนี้เสียไปไม่เท่าไหร่ เพราะไม่มีน้ำท่วม. เสียสำหรับโครงการที่เล่าให้ฟังว่าไปขุดคลองให้ครบถ้วน. คลองชลประทาน เขาขุดไว้แล้ว แต่ไม่ทะลุ. ถามเขาว่าเมื่อไหร่จะทะลุ เขาก็บอกว่าอีก ๒ ปี. ตอนนั้นปลายปี ๔๐. ปี ๔๑ ปี ๔๒ ก็จะยังท่วมอีก เพราะว่าคลองไม่ทะลุ จึงได้ทำโครงการให้ทะลุภายในเดือนเดียว. เงินไม่มีก็ให้ ปีที่แล้วบอกว่ามูลนิธิราชประชานุเคราะห์ และมูลนิธิชัยพัฒนาให้ไป จะให้คืนหรือไม่คืนไม่เป็นไร.

ลงท้ายได้คืน. ได้เงินคืนจากประชาชนเอง และจากทางราชการ. ประชาชนเห็นว่าทำดี เขาก็บริจาค. ปีที่แล้วบ่นว่าชาวชุมพรไม่ยอมบริจาค แต่ปีนี้ยอมบริจาคช่วย จึงสามารถทำโครงการเพิ่มเติม. นอกจากการป้องกันน้ำท่วม ได้ทำโครงการเพิ่มเติมสำหรับการทำเกษตรที่ปลอดภัย และพอเพียง โดยใช้เงินที่ได้คืนมาตั้งกองทุน เพื่อให้เกษตรกรทำการเพาะปลูกได้เป็นกลุ่มๆ.

ในปีนี้ระยะหนึ่ง ถ้าวัดน้ำในจุดหนึ่ง มีสูงกว่าปีที่แล้ว แต่เมื่อผ่านโครงการมาแล้ว ทำให้ที่ๆ เคยท่วม ไม่ท่วม เพราะน้ำสามารถมาอยู่ในแก้มลิงอย่างที่อธิบายเรื่องแก้มลิงเมื่อปีที่แล้ว. แก้มลิงของเรานี้ ที่จริงเป็นแก้มลิงธรรมชาติที่ได้ปรับปรุงให้ดีขึ้น และต้องบริหารให้ดี. ลิงตัวนี้ตัวโตก็สามารถกักน้ำไว้ได้พอดี ถ้าบริหารดีแล้วน้ำจะไม่ท่วม.

ปีนี้คนที่อยู่ข้างนอก ใกล้ทางที่เดินผ่านมาจากรถ. ถ้าลองหันหลังไปดู มีกรงลิงแล้วมีลิงอยู่ในนั้น. ปีก่อนนี้ถามว่าเคยเห็นลิง ที่กินกล้วยไหม ก็ดูเหมือนไม่มีใครเคยเห็น จึงเอาลิงมาให้ดู. อยู่ในกรง หันหลังไปดูหน่อย. ลิงนี้เวลาให้กล้วยให้เงาะกิน มันใส่ปากแล้วเก็บไว้ในแก้ม ในแก้มลิง. หลังจากนั้นก็ค่อยๆ กลืน. น้ำที่อยู่ในแก้มลิงหนองใหญ่ที่ชุมพร ก็เป็นอย่างนั้น น้ำเข้ามาๆ แล้วจึงค่อยๆ ปล่อยออกไป. เป็นอันว่าเมื่อเข้ามาเก็บไว้ น้ำนั้นก็ไม่มาท่วมเมืองชุมพร. เมื่อน้ำที่ลงมาลดลงก็ปล่อยออก. ลิงนี้ก็เหมือนกัน. ได้พยายามถ่ายรูปลิงที่กินกล้วย ตอนนั้นลิงนี้ไม่ได้อยู่ตรงนั้น อยู่ที่ข้างสระกลม. ให้ถั่วลิสง มันก็เอาเข้าปาก แก้มลิงก็ตุ่ยออกมา แต่ถ่ายไม่ค่อยทัน ถ่ายไม่ได้ เพราะว่ามีลูกกรงทำให้รูปไม่ชัด. แต่คราวนี้มีอยู่ในกรงนี้ อาจจะสามารถถ่ายรูปลิงและแก้มของเขาให้เห็นชัด. แต่ท่านทั้งหลายที่ฟังเมื่อปีที่แล้ว เรื่องแก้มลิง คงได้ไปที่เขาดิน ดูลิงกินกล้วย กินเงาะ ก็คงได้เห็นแก้มลิงมาแล้ว เพราะสนใจเรื่องลิงขึ้น.

ตอนนี้เล่าเรื่องที่เกี่ยวข้องกับที่พูดเมื่อปีที่แล้ว และที่นายกฯ ได้บอกว่าเป็นสิ่งที่ได้ปฏิบัติมา. ฉะนั้น ก็คงสมควรแก่เวลาที่จะให้ท่านทั้งหลายไปพักผ่อนได้. วันนี้ท่านมา ในบัญชีที่อ่านเมื่อตะกี้ สองหมื่นกับเก้า (๒๐,๐๐๙) คน. ก็ไม่รู้ว่าครบหรือไม่ครบ (เสียงหัวเราะ) เพราะว่าเดิมเป็น สองหมื่นกับเจ็ด (๒๐,๐๐๗) คน. แต่มีคนมาเพิ่มอีกสองคนเป็นสองหมื่นกับเก้า (๒๐,๐๐๙) คน. คงอยากให้มีเลขที่เป็นมงคล (เสียงหัวเราะ). ก็ขอขอบใจทุกคน ทั้งสองหมื่นกับเก้า (๒๐,๐๐๙) คน ที่มาให้พร และเป็นกำลังใจ. ก็ขอให้กำลังใจนี้ สะท้อนกลับไปถึงแต่ละคน เพื่อให้ปฏิบัติงานได้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม. ใครทำอะไร มีหน้าที่อะไรก็ขอให้ทำได้อย่างดี และช่วยกัน ร่วมมือกัน ทำเพื่อความสงบสุข และความเจริญของประเทศและประชาชน


เนื่องจากพระราชดำรัสมีความยาวมากไม่สามารถย่อได้
http://kanchanapisek.or.th/speeches/1998/1204.th.html


ไม่เห็นเหมือน "การใช้ชีวิตแบบดึกดำบรรพ์" หรืออยู่อย่างดักดานตามที่แถพยายา่มลากไปใส่ไฟหรือบิดเบือนเลยนี่

สงสัยอ่านหนังสือไม่แตก
เอาแต่บริบทเล็ก ๆ ( สีชมพู - วรรคก่อนหน้าตัวเน้น ) ไปขยายความเสียใหญ่โต
จนละเลยสารัตถะของพระราชดำรัสส่วนอื่น ๆ ทั้งหมด


แหม...ยิ่งทำให้อยากเจอตัวแถเร็ว ๆ จังเลย
ขอดูหน้าสักหน่อยซิว่าไอ้คนฟังไม่ได้ศัพท์แล้วจับไปกระเดียดนี่  มันหน้าตาอย่างไร - เป็นลูกเต้าเหล่าใคร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25-02-2007, 21:28 โดย qazwsx » บันทึกการเข้า

อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« ตอบ #28 เมื่อ: 25-02-2007, 21:28 »

เลิกตะแบงน่ารำคาญซะทีเถอะ คำว่า การใช้ชีวิตดึกดำบรรพ์ ก็ยกขึ้นมาเองทั้งนั้น เข้าใจผิดทั้งหมดแล้วไม่ยอมรับ
พระราชดำรัสชัดเจนมากไม่ต้องตีความอะไรเลย ทุกอย่างก็ไม่ได้ย่อ ที่ต้องทำตัวเล็กเพราะยาวมาก link ก็มี
หวังว่าคงไม่สงสัยในพระราชดำรัสนะ
บันทึกการเข้า
qazwsx
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,359


นักธุรกิจและตำรวจ ต้องออกไปจากการเมือง


« ตอบ #29 เมื่อ: 25-02-2007, 21:31 »


แถยอมรับมาเถอะว่าตัวเองตะแบง และจับเอาแค่ประเด็นเล็ก ๆ - ตัวอย่างเล็ก ๆ มาขยายจนสารัตถะทั้งหมดเสียหาย 

เมื่อตอแหลเสร็จสรรพ แล้วมีคนจับได้ ก็ออกอาการพาลพะโรโฉเกในทันทีเชียวนะ
บันทึกการเข้า

อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« ตอบ #30 เมื่อ: 25-02-2007, 21:35 »

ที่ยกพระราชดำรัสมายังสงสัยไม่เลิกอีกเหรอ ข้อความนั้นก็เป็นพระราชดำรัสเกี่ยวกับ เศรษฐกิจพอเพียง
อย่างชัดแจ้งไม่ต้องตีความ จะหาว่าเป็นประเด็นเล็กๆ นี่เข้าข่ายหมิ่นหรือไม่ลองคิดดูเอาเอง ส่วนที่พยายาม
ขยายใส่สีแดง คือ ความพอเพียง ไม่ใช่ คำว่า เศรษฐกิจพอเพียง ให้ไปอ่านใหม่ ความพอเพียงเป็นข้อที่หนึ่ง
ของสามห่วงสองเงื่อนไข ถามจริงๆ รู้มั่งหรือเปล่าเนี่ย หรือรู้แค่คำว่าพอเพียงแล้วเอามาตีความ
บันทึกการเข้า
RiDKuN
Administrator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,015



เว็บไซต์
« ตอบ #31 เมื่อ: 25-02-2007, 21:38 »

เลิกตะแบงน่ารำคาญซะทีเถอะ คำว่า การใช้ชีวิตดึกดำบรรพ์ ก็ยกขึ้นมาเองทั้งนั้น เข้าใจผิดทั้งหมดแล้วไม่ยอมรับ
พระราชดำรัสชัดเจนมากไม่ต้องตีความอะไรเลย ทุกอย่างก็ไม่ได้ย่อ ที่ต้องทำตัวเล็กเพราะยาวมาก link ก็มี
หวังว่าคงไม่สงสัยในพระราชดำรัสนะ

สิ่งที่ชอบแถแกล้งไม่เข้าใจตรงนี้ ไม่ใช่เรื่องของว่าต้องกี่ % แต่เป็นเรื่องที่ว่ามีใครซักคนบอกว่าต้องใช้ 100%
ทั้งที่ไม่มีคนในรัฐบาลคนไหนเลยที่บอกว่าจะใช้ 100% หรือเปลี่ยนแบบพลิกแผ่นดิน
ทุกวันนี้พอพูดถึงพอเพียง แถก็แกล้งเข้าใจว่า เขาจะเอาพอเพียงมาแทนทุนนิยมบ้างละ
เขาจะใช้พอเพียง 100% บ้างละ หรือแกล้งเข้าใจว่า พอเพียง คือจนยังไงก็ให้จนต่อไปบ้างละ
ที่บอกว่าให้เลิกแกล้งเข้าใจผิดคืออะไรเข้าใจหรือยัง
บันทึกการเข้า

คนไม่มี "อุดมคติ" ไม่ใช่ "นักการเมือง"
TwinDragon
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 83



« ตอบ #32 เมื่อ: 25-02-2007, 21:48 »

ทำไม แถคุง ไม่บินตามแม้วปุ้กคุ้งซะเลยล่ะครับ อยู่เมืองไทยทำไม ??
 
บันทึกการเข้า

ผู้คนพยายามกักขังตัวเองอยู่ในกะลาที่เรียกว่า ประชาธิปไตย จริงฤา ??
ริวเซย์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4,637


Worrior in The Blue Armor


เว็บไซต์
« ตอบ #33 เมื่อ: 25-02-2007, 22:10 »

คุณแถครับ ถ้าไม่เข้าใจแล้วไม่พูดก็ไม่มีใครว่าโง่หรอกครับ
บันทึกการเข้า

ถ้ามีแฟนแบบนี้เอาไหมครับ^^


Kittinunn
Aloha007
Global Moderator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,127


ไปได้สวย...ด้วยเกียร์ต่ำ!!!


เว็บไซต์
« ตอบ #34 เมื่อ: 25-02-2007, 22:39 »

เกลียดนักคนที่ชอบตะแบงเพียงเพื่อเอาชนะคนอื่น
ตรรกะตัวเองก็ไม่มีอะไรเลย แล้วชอบดูถูกคนอื่นว่าสะเออะ
คนพรรคนี้ป่วยการนักที่จะเสวนา นอกเสียจากเหลืออดทนไม่ได้

ถามจริงเถอะ ธุรกิจที่บ้านเจ๊งเหรอ ไม่มีอะไรจะเล่นแล้วเหรอไง...
บันทึกการเข้า

“ผมเขียนไปในบล็อกนั้น แบบข้างบนนี้เหมือนกัน นึกว่า จะโพสต์ ปรากฏว่า เขาบอกว่า ต้อง สมัครสมาชิกก่อน ผมขี้เกียจ เลยมาโพสต์ที่นี่แทน อ้อ ตอนเขียน ผมใส่คำว่า ทุเรศ และ น่าสมเพช ไปด้วย” (อ.สมศักดิ์ เจียมธีระสกุล-เว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน - ข้อความในเสรีไทย โดย Snowflake)

room5
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 573



« ตอบ #35 เมื่อ: 25-02-2007, 22:56 »

ความคิดชอบแถเนี่ยแหล่ะครับที่จะทำให้ประเทศไทยกลับไปยุคหิน
ไม่ใช่แบบพอเพียงหรอก

จะแกล้งโง่หรือไง่จริง(ท่าทางจะโง่จริง)
แต่ละกระทู้ที่สิ่งมีชีวิตที่หายใจแย่งเอาออกซิเจนคนอื่นตัวนี้มันโพส
จับประเด็นนู้นมั่วประเด็นนี้หมดเลย

วัยรุ่นเซ็ง
บันทึกการเข้า
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #36 เมื่อ: 25-02-2007, 23:27 »

เชิงอรรถขยายความ:

1. Sen, Amartya. Development as Freedom. New York: Knopf, 1999.
สำหรับการสรุปประเด็นเป็นภาษาไทย ดู คนชายขอบ. Development as Freedom
โดย Amartya Sen. ใน http://www.fringer.org/?p=56

2. คำว่า ‘ชาตินิยมชักดาบ’ นี้ผมไม่ได้ประดิษฐ์ขึ้นเอง แต่ได้มาจากอาจารย์ผู้ใหญ่
ทางรัฐศาสตร์ท่านหนึ่งที่ผมเคารพนับถือ ...

3. จะว่าไปแล้ว นวัตกรรมที่สำคัญประการหนึ่งของทุนนิยมแบบทักษิณพรรคพวก ก็
คือทุนนิยมสื่อสาร ที่ทำมาหากินกับการเสกคลื่นสัญญานบนฟ้าเอามาแสวงหากำไร
ได้ผ่านการผูกขาด องค์ประกอบสำคัญอย่างน้อยสองประการที่นำมาซึ่งการทำงาน
ของทุนสื่อสารก็คือ ทุนสื่อสารนั้นไม่ใช่ทุนที่เกิดจากการขูดรีดโดยตรง เหมือนทุน
อุตสาหกรรม ที่ทำให้แรงงานนั้นสามารถเข้าใจได้ว่าพวกเขาเป็นทั้งผู้บริโภคสินค้า
และเป็นผู้ผลิตสินค้าที่ถูกเอาเปรียบ ณ กระบวนการผลิต (เพราะเขาต้องขายกำลัง
แรงงานของตัวเขาเอง) และ ณ กระบวนการแลกเปลี่ยน และประการที่สอง ทุนนิยม
สื่อสารจะมีกำไรมหาศาลได้ด้วยการผูกขาดสิทธิในกระจายคลื่น ซึ่งว่าง่ายๆก็คือ ทุน
แบบนี้มีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดการทุจริตได้ง่ายมาก ด้วยว่าทุนเหล่านี้จะโตได้จาก
การ ‘จ่ายค่าเช่า’ ให้กับรัฐ และรัฐที่ ‘แสวงหาค่าเช่า’ โดยไม่มีกระบวนการที่โปร่งใส
ในการตัดสินใจกระจายคลื่นความถี่ ก็คือรัฐที่มีแนวโน้มที่จะทุจริต ทั้งนี้ทรัพยากรที่นำ
ไปสู่การทุจริตอาจไม่จำเป็นต้องเป็นตัวเงินก็ได้ แต่อาจหมายถึงความสัมพันธ์ระหว่าง
สื่อมวลชนกับตัวรัฐบาลที่อาจนำไปสู่การเซ็นเซ่อร์ตัวเองของสื่อ หรือการไม่สามารถ
หาคำตอบได้ว่าเหตุใดรัฐจึงเลือกผู้ประกอบการรายดังกล่าวมากกว่ารายอื่นๆ ในกรณี
ล่าสุดของกรมประชาสัมพันธ์นี้ เรายังไม่พบการสร้างบรรทัดฐานใหม่ใดๆในแง่ของการ
ตัดสินใจสาธารณะในแง่ของการกระจายคลื่นความถี่และการจัดผังรายการ นอกจาก
ปล่อยให้ผู้ที่เข้ามาร่วมจัดรายการต้องทำหน้าที่ช่วยอธิบายด้วยตรรกะทำนองว่า “จะ
กลัวไปทำไม ทีเมื่อก่อนปล่อยให้พวกอื่นจัดยังได้เลย”

4. ดูตัวอย่างที่ ‘เจ้าสัวซีพี ดำเนินธุรกิจ-ชีวิตประจำวัน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอ
เพียง’ ข่าวสังคม-สตรี. Thairath.co.th [23 ก.พ. 50 – 00:21] ลองดูเนื้อข่าวเต็มๆ
ดังนี้

“ในยุคที่สังคมกำลังเข้าเกียร์ว่าง ทิศทางเศรษฐกิจไม่แน่นอน คงไม่มีอะไรดีไปกว่าการ
หันมายึดหลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำรงชีวิตและดำเนินธุรกิจ ดังเช่นเจ้าสัว
ซีพี ธนินท์ เจียรวนนท์ ผู้กุมบังเหียนธุรกิจการเกษตรใหญ่ยักษ์เครือเจริญโภคภัณฑ์ ซึ่ง
มีสาขาอยู่ใน 11 ประเทศทั่วโลก และมียอดขายรวมหลายแสนล้านบาทต่อปี อาศัย
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักในการดำเนินชีวิตและประกอบธุรกิจ จึงส่งผลให้ธุรกิจ
ของเครือเจริญโภคภัณฑ์เติบโตอย่างมั่นคงและก้าวหน้ามาจนถึงปัจจุบัน

นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์
กล่าวถึงหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่ตนนำมาใช้ในการดำเนินชีวิตว่า “ส่วนตัวผมใช้ชีวิต
แบบพอเพียงในชีวิตประจำวัน เช่น ไม่กินจนเกินไป เพราะทำให้สุขภาพมีปัญหา ใช้จ่าย
อย่างพอเหมาะ ไม่ใช่ไม่ใช้เงินเลย ที่สำคัญคือไม่ใช้เงินจนเกินตัว มีเงินแล้วต้องใช้เงิน
โดยไม่ทำให้ตนเองและคนอื่นเดือดร้อน”

เจ้าสัวซีพีย้ำด้วยว่า ‘เศรษฐกิจพอเพียง’ เป็นปรัชญาที่คนทุกระดับสามารถนำไปปรับ
ใช้กับชีวิตของตนเองได้ และโดยส่วนตัวแล้วเพิ่งเข้าใจคำว่า ‘พอเพียง’ ลึกซึ้งขึ้น เมื่อ
ได้ฟังโอวาทของ ฯพณฯ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษใน
โอกาสหนึ่งที่ว่า “ปรัชญาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเรื่องความพอเพียงนี้
สามารถใช้ได้กับคนทุกระดับ ทุกกลุ่มบุคคล ทุกบริษัท รวมทั้งประเทศชาติ โดยคำ
ว่า พอเพียง’ นั้น ขึ้นต้นด้วยคำว่า ‘พอ’ นั่นหมายถึง ต้องรู้จักพอ คือพอเหมาะและพอดี
ส่วนคำว่า ‘เพียง’ นั้น มายถึง การไม่ทำอะไรที่เกินตัว” และซีพีก็ได้นำแนวคิดเรื่อง
เศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะในด้านของการลงทุน ซึ่งซีพีจะ
ประเมินตัวเองก่อนเสมอว่า มีความสามารถในการลงทุนเท่าใด และจะลงทุนอย่างไร
ที่จะไม่ทำให้มีภาระมากจนเกินไป โดยซีพีจะต้องทำตามความสามารถที่ตนเองมีอยู่
ไม่ใช่ทุ่มจนสุดตัวหรือเกินตัว เพราะหากมีวิกฤตการณ์ใดๆ เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทาง
ด้านเศรษฐกิจ การเงิน คน หรือสิ่งแวดล้อม อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาอย่างคาดไม่ถึง
ซีพีจะต้องอยู่ได้ โดยไม่ทำให้พนักงาน ผู้ถือหุ้น ธนาคารที่ให้เงินกู้ และสังคมเดือดร้อน

อย่างไรก็ตาม คำว่า ‘เศรษฐกิจพอเพียง’ ไม่ได้หมายความว่า ให้เราหยุดอยู่กับที่ใน
ขณะที่โลกยังก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง แต่ความพอเพียงคือความพอเหมาะพอสม ซึ่ง
ความหมายนั้นลึกซึ้ง ต้องใช้ให้ ถูกต้อง แล้วจะเป็นประโยชน์อย่างมหาศาลต่อบุคคล
ต่อประเทศชาติ โดยเฉพาะกับภาวะเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบัน.”

5. ดูตัวอย่างจากคำสัมภาษณ์ของ คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะ
กรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ว่า “สพฐ. (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ) จะสอดแทรกหลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียงเข้าสู่ในการอบรมทุก
ประเภท เพื่อให้ครูทุกคนได้มีโอกาสทราบและเข้าใจในหลักเศรษฐกิจพอเพียง และทุก
หน่วยงานในสังกัด สพฐ.ก็จะช่วยกันทำแผนว่าจะน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไป
สู่การปฏิบัติได้ อย่างไร และจะผลักดันให้ทุกโรงเรียนจัดกิจกรรมคุณธรรมนำความรู้ โดย
มีเกณฑ์กว้างๆ ว่าต้องมีการปลูกฝังคุณธรรมแทรกในการเรียนการสอน เป็นการปฎิบัติ
ร่วมกันระหว่างนักเรียนและครู กรรมการสถานศึกษา โดยจะมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่องทั้งปี

โดย สพฐ. คาดหวังว่าจะพัฒนาโรงเรียนประมาณ 10% หรือประมาณ 3,000 โรงเรียน
เพื่อเป็นต้นแบบจากนั้นจะค่อยๆ ขยายผลให้ไปสู่โรงเรียนทั่วประเทศ ประมาณการว่า
ภายใน 3 ปีจะทำได้ครบทุกแห่งทั่วประเทศ ภายใต้นโยบายคุณธรรมนำความรู้ สพฐ.
จะให้เงินทุกสถานศึกษานำไปฟื้นฟูกิจกรรมลูกเสืออย่างเต็มรูปแบบ เพื่อให้ลูกเสือจะ
น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฎิบัติ รวมทั้งการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ การทำ
ความดีถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเน้นว่าจะทำอย่างไรจะมีผู้บังคับบัญชา
ลูกเสือได้คุณภาพตามเกณฑ์ ที่กรรมการลูกเสือกำหนดในทุกสถานศึกษา รวมถึงจะมี
การประกวดดนตรีและละครคุณธรรม เชิญชวนให้นำคุณธรรมแทรกไปในดนตรีและละคร

“การปลูกฝังคุณธรรม การทำคุณงามความดี จะสร้างภูมิต้านทานไม่ให้เด็กที่มีปัญหา
ออกนอกลู่นอกทาง นอกจากนี้จะร่วมฟื้นฟูเรื่องระบบดูแลนักเรียน จะต่อยอดเรื่องระบบ
ดูแลนักเรียนโดยการพัฒนาให้มียุวชนแนะแนวเกิดขึ้นในทุก โรงเรียนที่มีช่วงชั้นที่ 3 และ
4 เหล่านี้จะเป็นเรื่องใหญ่ๆที่จะทำในปีนี้ภายใต้หัวข้อคุณธรรมนำความรู้” (‘หมอเกษม’
เผยฝรั่งเขียนโจมตี ศก.พอเพียง เทียบทักษิโณมิกส์เพราะมีคนจ้าง” ผู้จัดการออนไลน์
31 มกราคม 2550 17:23 น.)

และ ทำพจนานุกรมศัพท์ ‘พระราชดำริ’ -ศก.พอเพียง (มติชน วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ.
2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10572 หน้า 26 ความว่า

“นางจิตนา พันธุฟัก เลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน เปิดเผยว่า ขณะนี้สำนักราชบัณฑิตย-
สถานกำลังจัดทำพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2550 เพื่อเฉลิมพระเกียรติ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา ซึ่งจะ
บัญญัติคำศัพท์จากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในโครงการ ต่างๆ มา
ไว้ในพจนานุกรมเฉลิมพระเกียรติฉบับนี้ เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนได้เข้าใจ ทราบความ-
หมาย และข้อมูลที่ถูกต้อง เพราะที่ผ่านมามีประชาชนสอบถามมายังสำนักราชบัณฑิตย-
สถานเกี่ยวกับความหมาย คำศัพท์ การสะกดคำจากโครงการพระราชดำริจำนวนมาก จึง
จำเป็นต้องบัญญัติศัพท์เหล่านี้เอาไว้ เพื่อให้ใช้กันอย่างถูกต้องโดยนายชัยอนันต์ สมุท-
วณิช นายกราชบัณฑิตยสถาน ได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำต้นฉบับเพื่อจัดพิมพ์พจนา-
นุกรมฉบับราชบัณฑิต พ.ศ.2550 มาดำเนินการให้แล้วเสร็จในปี 2550

น.ส.ชลธิชา สุดมุด นักวรรณศิลป์ในฐานะกรรมการจัดทำต้นฉบับฯ กล่าวว่า มีคำศัพท์
จากโครงการพระราชดำริจำนวนมากที่จะบรรจุไว้ อาทิ แกล้งดิน แก้มลิง เศรษฐกิจ
พอเพียง ฝายแม้ว เป็นต้น โดยจะประสานไปยังสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อ
ประสานงานโครงการอันเนื่องมา จากพระราชดำริ (กปร.) ให้พิจารณาว่าจะนำคำใด
มาบัญญัติไว้บ้าง รวมทั้ง จะเพิ่มคำศัพท์ส่วนอื่นๆ ที่ใช้ไม่ต่ำกว่า 10 ปี มาบัญญัติไว้
ด้วย คาดว่าจะมีคำศัพท์เพิ่มขึ้น 30% จากที่มีอยู่ 30,000 คำในพจนานุกรมฉบับราช-
บัณฑิตยสถานในปัจจุบัน

คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า คำศัพท์จาก
โครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีอยู่หลายคำ โดยเฉพาะคำว่า
‘พอเพียง’ ที่พระองค์ได้สื่อสารกับวิถีชีวิตของคนไทยมาตลอด เมื่อบรรจุไว้ในพจนานุกรม
แล้ว จะช่วยให้ประชาชนทุกระดับเข้าใจความหมายมากขึ้น ถือเป็นโครงการที่ดีมาก

คุณหญิงไขศรีกล่าวอีกว่า ส่วนหนังสือสารานุกรมนั้น จากการเข้าเฝ้าฯสมเด็จพระเทพ-
รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระองค์มีพระราชกระแสถึงหนังสือสารานุกรมอยู่
เสมอว่าเป็นขุมคลังทางปัญญา ทรงใช้ประโยชน์อยู่เสมอ เพราะมีประวัติ บอกเล่า
ประเพณี วิถีชีวิต วัฒนธรรมท้องถิ่นของแต่ละภูมิภาคในประเทศไทย แต่เยาวชน และ
คนทั่วไปยังใช้ประโยชน์น้อยมาก ฉะนั้น จะทำอย่างไรให้ประชาชนใช้อย่างทั่วถึง ซึ่ง
วธ. ได้มอบให้นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ ปลัด วธ.ไปรณรงค์การให้คนไทยหันมาใช้พจนา-
นุกรม และสารานุกรม ควบคู่กับการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องอีกทางหนึ่ง”

6. การเมือง (และประชาธิปไตย) จึงมีความสำคัญเพราะทำให้เกิดการต่อสู้กันในการ
ให้ความหมายต่อสิ่งที่เราไม่มีทางไปถึงได้ผ่านการประดิษฐ์และสอดแทรกความหมาย
ลงไปในสัญญะที่กลวงเปล่านั่นเอง (“Politics is possible because the constitutive
impossibility of society can only represent itself through the production of
empty signifiers.” ใน Laclau, Ernesto. “Why Do Empty Signifiers Matter to
Politics?” In Emancipations(S). London: Verso, 1994 (1996). หน้า 44

ในปัจจุบัน ไม่มีใครที่ไม่พูดถึง ‘ความพอเพียง’ และเมื่อ ความพอเพียงถูกพูดถึงมาก
ขนาดนั้น ก็เป็นไปได้ที่ความพอเพียงนั้นจะไม่สามารถถูกผูกขาดไว้ได้ด้วยผู้ที่ถือ
อำนาจกลุ่มเดียวอีกต่อไป ดังที่เห็นว่ายิ่งพูดกันมาก รัฐก็ยิ่งพยายามออกมากำหนด
นิยามความพอเพียงที่ตายตัวมากขึ้น (ดูเชิงอรรถที่แล้ว) ซึ่งอาจเป้นไปได้ว่ายิ่งมีการ
เผยแพร่ความคิดเรื่องความพอเพียงมากเท่าไหร่ ความพอเพียงตามที่เสนอไว้แต่แรก
ก็จะสูญเสียความหมายดั้งเดิมมากขึ้น

ดังนั้นถ้าจะให้ความพอเพียงนั้นมีความยั่งยืนจริง การเมืองที่เปิดให้มีการรับฟัง แลก
เปลี่ยน และถกเถียงถึงคำจำกัดความของความพอเพียงต่างหากที่สำคัญมากกว่า
เนื้อหาสาระของความพอเพียงจากแหล่งเดียว
--------------------------------------------------------------------------------------------------

เพิ่มเติมเพื่อความสมบูรณ์ของเนื้อหา ตามเจตนารมณ์ของผู้เขียน
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #37 เมื่อ: 25-02-2007, 23:53 »

คุณ 55555 ลองดูเชิงอรรถข้อ 5 ว่าเข้าข่าย “ยัดเยียด” หรือยัง?
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
room5
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 573



« ตอบ #38 เมื่อ: 26-02-2007, 02:57 »

แล้วที่ทักษิญทำคราวที่แล้วไม่ได้ยัดเยียดหรือไง
สมัยแม้ว สมคิดก็หาแนวทางพัฒนาโครงการทุนนิยมต่างๆ
ที่คิดว่าจะได้ผลแล้วเอาไปใช้ไม่ใช่หรอ

Fake(ของปลอม) ก็รำพึงรำพันอย่างเดียวว่า
เลิกยัดเยียดเสียที ใครเขาจะไปยัดเยียดคู๊ณณณณณณ

หากคุณ Fake เห็นว่ามันไม่ดีก็ดำรงชีวิตของตัวเองแบบที่ตัวเองอยากเป็นสิ
หากชอบทุนนิยมก็ทำสิ ไม่มีใครเขาห้ามคุณเลย
หากคุณเงินเดือน สองสามหมื่นแล้วกระสันอยากออกเบ็นซ์คันละล้านมาขับ
แล้วไปกู้ธนาคาร ธนาคารจะออกมาบอกว่า
"ไม่ได้ค่ะต้องพอเพียงนะค๊ะ ขับไทยรุ่งก็พอแล้ว" หรือไง
ไม่มีใครห้ามเล๊ย

ใครเขาจะฆ่าคุณหากคุณไม่ิทำิตามเศรษกิจพอเพียง
แล้าที่เอา(ของเขา)มาพูดหนะ เคยไปมะตาม ตจว
เดินไปตามบ้านแล้วถามชาวบ้านตาดำๆ ว่าเห็นด้วยใหมเศรษกิจพอเพียง
แล้วเคยไปถามมะว่าชาวบ้านถึงตอนนี้เขาเข้าใจเศษกิจพอเพียงแค่ใหน
ไม่ต้องไปใกล บางคนในบอร์ดนี้ยังโง่อยู่เลย
บอกแต่ว่าต้องไปอยุ่ยุคหิน

ทำเป็นมาอ้างคนส่วนใหญ่เหมือนแม้วอีกละ
นี่ถ้าคุณทำงานใกล้ชิดกับประชาชนสอบถามความเห็นถึงบ้านหนะว่าไปอย่าง

ถ้าวันๆเอาแต่คลิ๊กๆจ้องหน้าจอ ก็อบมาโพส อยู่คนเดียวคุยกับตัวเองนี่ก็เพ้อเจ้อ
แหมขาดเถียงกันยังอ้างเชิงอรรถโน่นเชิงอรรถนี่เลย
พูดเป็นทำไม่เป็นมันก็้งั้นๆแหละว้า

จะมายืนกรี๊ดบอกดั้นรับไม่ได้ ในตำราที่ดั้นอ่านมันไม่ได้เป็นแบบนี้้ หรือไง



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26-02-2007, 03:07 โดย room5 » บันทึกการเข้า
อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« ตอบ #39 เมื่อ: 26-02-2007, 06:53 »

แถยอมรับมาเถอะว่าตัวเองตะแบง และจับเอาแค่ประเด็นเล็ก ๆ - ตัวอย่างเล็ก ๆ มาขยายจนสารัตถะทั้งหมดเสียหาย 
เมื่อตอแหลเสร็จสรรพ แล้วมีคนจับได้ ก็ออกอาการพาลพะโรโฉเกในทันทีเชียวนะ

พระราชดำรัสชัดเจนทรงอธิบายถึงว่า ได้ทรงกล่าวถึงเศรษฐกิจพอเพียงในพระราชดำรัสปี 25401
ผ่านมาหนึ่งปีแม้แต่คนที่เป็นด๊อกเตอร์ไม่เข้าใจ จึงทรงอธิบายให้ละเอียดดังที่ได้นำมาลงให้ดู แต่ยังมี
คน หัวสมองโง่อ่านไม่เข้าใจ บังอาจบอกว่า เป็นประเด็นเล็กๆ ตัวอย่างเล็กๆ ขอให้กลับไปอ่านใหม่แล้ว
เปลี่ยนความคิดซะ พระราชดำรัสในปี 2540 ก็มี จะได้เข้าใจ ถ้าผู้ที่อ่านพระราชดำรัสทั้งสองปีนี้แล้ว รู้
สึกมีความเห็นแย้งว่า ไม่ตรงกับความเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงที่เข้าใจเองอยู่ตอนนี้ ให้กลับไปทบ
ทวนดูว่า ได้รับความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงมาทางไหน จากรัฐบาล จากด๊อกเตอร์สุมั่ว หรือนำคำว่า
พอเพียงมาขยายความด้วยความรู้สึกตัวเอง หลังจากอ่านละเอียดแล้ว ถ้าบอกได้ว่าอันไหนผิดอันไหน
ถูก ก็จะรู้ว่าที่รับรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงมาไม่ตรงกับข้อความในพระราชดำรัส คือ ผู้ถ่ายทอดอธิบาย
ผิดโดยตั้งใจหรือไม่ก็ต้องคิดเอาเองแล้ว แต่เป็นการหวังผลทางการเมืองแน่นอน

1http://kanchanapisek.or.th/speeches/1997/1204.th.html
บันทึกการเข้า
อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« ตอบ #40 เมื่อ: 26-02-2007, 07:35 »

จะหาเรื่องล็อคกระทู้ลบกระทู้อีกหรือไง คราวนี้ทำเองเลยเหรอ ถามจริงเหอะ พระราชดำรัสอ่านจบหรือเปล่า

ต้องพูดเข้าในเรื่องเลย เพราะหนักใจว่า แม้แต่คนที่เป็นดอกเตอร์ก็ไม่เข้าใจ. อาจจะพูดไม่ชัด แต่เมื่อกลับไปดูที่เขียนจากที่พูด ก็ชัดแล้วว่าควรจะปฏิบัติเศรษฐกิจพอเพียงไม่ต้องทั้งหมด เพียงครึ่งหนึ่งก็ใช้ได้ แม้จะเป็นเศษหนึ่งส่วนสี่ก็พอ. หมายความว่าวิธีปฏิบัติเศรษฐกิจพอเพียงนั้น ไม่ต้องทำทั้งหมด และขอเติมว่าถ้าทำทั้งหมดก็จะทำไม่ได้. ถ้าครอบครัวหนึ่ง หรือแม้หมู่บ้านหนึ่งทำเศรษฐกิจพอเพียงร้อยเปอร์เซ็นต์ก็จะเป็นการถอยหลังถึงสมัยหิน สมัยคนอยู่ในอุโมงค์หรือในถ้ำ ซึ่งไม่ต้องอาศัยหมู่อื่น เพราะว่าหมู่อื่นก็เป็นศัตรูทั้งนั้น ตีกัน ไม่ใช่ร่วมมือกัน จึงต้องทำเศรษฐกิจพอเพียง. แต่ละคนต้องหาที่อยู่ ก็หาอุโมงค์หาถ้ำ. ต้องหาอาหาร คือไปเด็ดผลไม้หรือใบไม้ตามที่มี หรือไปใช้อาวุธที่ได้สร้างได้ประดิษฐ์เอง ไปล่าสัตว์. กลุ่มที่อยู่ในอุโมงค์ในถ้ำนั้น ก็มีเศรษฐกิจพอเพียง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์. ก็ปฏิบัติได้.
บันทึกการเข้า
qazwsx
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,359


นักธุรกิจและตำรวจ ต้องออกไปจากการเมือง


« ตอบ #41 เมื่อ: 26-02-2007, 07:38 »

เก็บเอาแค่ประโยค - วลี บางตอนมาขยายความเป็นตุเป็นตะ


ผมจะ Save กระทู้นี้แล้วใช้เป็นกรณีศึกษา
เพื่อให้ผู้คนทราบว่า "พวกทักษิณ" มันแปลงความหมายหลักของหลักเศรษฐกิจพอเพียงด้วย "สันดานศรีัธนญชัย" อย่างไร

บันทึกการเข้า

อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« ตอบ #42 เมื่อ: 26-02-2007, 07:50 »

....
ความจริง เคยพูดเสมอ ในที่ประชุม อย่างนี้ว่า การจะเป็นเสือนั้น ไม่สำคัญ. สำคัญอยู่ที่ เรามีเศรษฐกิจ แบบพอมีพอกิน. แบบพอมีพอกินนั้น หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียง กับตัวเอง. อันนี้ ก็เคยบอกว่า ความพอเพียงนี้ ไม่ได้ หมายความว่า ทุกครอบครัว จะต้องผลิตอาหารของตัว จะต้องทอผ้าใส่เอง. อย่างนั้น มันเกินไป แต่ว่าในหมู่บ้าน หรือในอำเภอ จะต้องมีความพอเพียง พอสมควร. บางสิ่งบางอย่าง ที่ผลิตได้ มากกว่าความต้องการ ก็ขายได้ แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไหร่ ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก. อย่างนี้ท่านนักเศรษฐกิจต่างๆ ก็มาบอกว่าล้าสมัย. จริง อาจจะล้าสมัย คนอื่นเขาต้องมี การเศรษฐกิจ ที่ต้องมี การแลกเปลี่ยน เรียกว่า เป็นเศรษฐกิจการค้า ไม่ใช่เศรษฐกิจ ความพอเพียง เลยรู้สึกว่า ไม่หรูหรา. แต่เมืองไทย เป็นประเทศ ที่มีบุญอยู่ว่า ผลิตให้พอเพียงได้.
....
http://kanchanapisek.or.th/speeches/1997/1204.th.html
ขออนุญาตไม่ลงทั้งหมดเพราะยาวมาก ไปอ่านตาม link เอง ไม่ได้บิดเบือน


ไม่คิดว่าต้องมาเสียเวลาอธิบายกับพวกอาหารเต่าแบบนี้ พระราชดำรัสทั้งสองปีก็ชัดเจนอยู่แล้วไม่ต้องตีความเลย
หมู่บ้านหนึ่ง ควรจะใช้เศรษฐกิจพอเพียง 1 ใน 4 ของการกระทำ ที่เหลือ 3 ใน 4 ก็ใช้เศรษฐกิจการค้า
บันทึกการเข้า
qazwsx
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,359


นักธุรกิจและตำรวจ ต้องออกไปจากการเมือง


« ตอบ #43 เมื่อ: 26-02-2007, 07:54 »


แทนที่จะเอา Concept มาอ้าง
มันกลับใช้ "บางวรรคบางตอน" ที่เป็นเพียง "บริบท" มาอ้างอิง

โดยเฉพาะถ้า "บางส่วนบางตอน" นั้น "ตรงตามภวสันดานอันเต็มไปด้วยโมหจริตของมัน
มันก็ทึกทักเอาทันทีว่า "คือสัจจธรรม"
บันทึกการเข้า

ล้างโคตรทักษิณ
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 903



« ตอบ #44 เมื่อ: 26-02-2007, 07:57 »

โฮ่ แม่ยกใจป๊อด สุดท้ายก็เก่งแต่แปะข้อความแล้วหนี

ตามความเข้าใจส่วนตัว ประชาธิปไตยจะเป็นหัวใจของเศรษฐกิจพอเพียงได้
ก็ต่อเมื่อประชาชนยอมรับเข้าไว้โดยสมัครใจ หาใช่ยัดเยียด

อ่านภาษาคนรู้เรื่องมั้ย? ตะแบงไม่ได้ก้ขอลบ => ความต้องการของมหาชนก็ใช่ว่าจะถูกต้องเสมอไป

รากหญ้าที่ถูกไอ้เหลี่ยมหลอกด้วยโครงการต่างๆว่าจะแจก จะให้ ทำให้ทุ่มเทใจให้

แต่หารู้ไม่ว่าทุกโปรเจค มีทุจริตสอดแทรกอยู่ โกงกินกันอย่างไม่อายฟ้าอายดิน

แล้วบอกว่าเป็นปชต. อ้วก!!!!



ก็เพราะไอ้ปชต.3วินาทีไม่ใช่เหรอ คตส.ถึงต้องมาย้อนหลังเช็คบิลพวกกังฉินครองเมือง ชาติถึงเสียรายได้และผลประโยชน์ที่พึงมีไปอย่างมหาศาล

ปชต.มันก็แค่หลักการที่เป็นที่นิยมครับ ถึงใช้ปชต.ไปเท่าไหร่ ถ้าคนใช้ไม่มีจิตสำนึกยังไงชาติก็ฉิบหายครับ



เลิกยัดเยียดข้อหาร้ายกาจแก่เพื่อนร่วมชาติซะที
อย่าให้ต้องมีการนองเลือด แยกแผ่นดิน

หางโผล่!!! ไม่ได้กาบัตรอย่างในแม่ก็จะแยกแผ่นดิน ไม่อยากพูดว่า เลว อย่าบอกว่าเป็นกลางอีก

บันทึกการเข้า
อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« ตอบ #45 เมื่อ: 26-02-2007, 07:59 »

....
ความจริง เคยพูดเสมอ ในที่ประชุม อย่างนี้ว่า การจะเป็นเสือนั้น ไม่สำคัญ. สำคัญอยู่ที่ เรามีเศรษฐกิจ แบบพอมีพอกิน. แบบพอมีพอกินนั้น หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียง กับตัวเอง. อันนี้ ก็เคยบอกว่า ความพอเพียงนี้ ไม่ได้ หมายความว่า ทุกครอบครัว จะต้องผลิตอาหารของตัว จะต้องทอผ้าใส่เอง. อย่างนั้น มันเกินไป
แต่ว่าในหมู่บ้าน หรือในอำเภอ จะต้องมีความพอเพียง พอสมควร. บางสิ่งบางอย่าง ที่ผลิตได้ มากกว่าความต้องการ ก็ขายได้ แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไหร่ ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก. อย่างนี้ท่านนักเศรษฐกิจต่างๆ ก็มาบอกว่าล้าสมัย. จริง อาจจะล้าสมัย คนอื่นเขาต้องมี การเศรษฐกิจ ที่ต้องมี การแลกเปลี่ยน เรียกว่า เป็นเศรษฐกิจการค้า ไม่ใช่เศรษฐกิจ ความพอเพียง เลยรู้สึกว่า ไม่หรูหรา. แต่เมืองไทย เป็นประเทศ ที่มีบุญอยู่ว่า ผลิตให้พอเพียงได้.
....
http://kanchanapisek.or.th/speeches/1997/1204.th.html

....
ต้องพูดเข้าในเรื่องเลย เพราะหนักใจว่า แม้แต่คนที่เป็นดอกเตอร์ก็ไม่เข้าใจ. อาจจะพูดไม่ชัด แต่เมื่อกลับไปดูที่เขียนจากที่พูด
ก็ชัดแล้วว่าควรจะปฏิบัติเศรษฐกิจพอเพียงไม่ต้องทั้งหมด เพียงครึ่งหนึ่งก็ใช้ได้ แม้จะเป็นเศษหนึ่งส่วนสี่ก็พอ. หมายความว่าวิธีปฏิบัติเศรษฐกิจพอเพียงนั้น ไม่ต้องทำทั้งหมด และขอเติมว่าถ้าทำทั้งหมดก็จะทำไม่ได้. ถ้าครอบครัวหนึ่ง หรือแม้หมู่บ้านหนึ่งทำเศรษฐกิจพอเพียงร้อยเปอร์เซ็นต์ก็จะเป็นการถอยหลังถึงสมัยหิน สมัยคนอยู่ในอุโมงค์หรือในถ้ำ ซึ่งไม่ต้องอาศัยหมู่อื่น เพราะว่าหมู่อื่นก็เป็นศัตรูทั้งนั้น ตีกัน ไม่ใช่ร่วมมือกัน จึงต้องทำเศรษฐกิจพอเพียง. แต่ละคนต้องหาที่อยู่ ก็หาอุโมงค์หาถ้ำ. ต้องหาอาหาร คือไปเด็ดผลไม้หรือใบไม้ตามที่มี หรือไปใช้อาวุธที่ได้สร้างได้ประดิษฐ์เอง ไปล่าสัตว์. กลุ่มที่อยู่ในอุโมงค์ในถ้ำนั้น ก็มีเศรษฐกิจพอเพียง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์. ก็ปฏิบัติได้.
....
http://kanchanapisek.or.th/speeches/1998/1204.th.html


ขอนำพระราชดำรัสทั้งสองปีมาชี้ให้เห็นเพื่อความเข้าใจ อย่าได้ลบกระทู้นี้เพราะเป็นความรู้ที่ถูกต้อง
เพราะมีคนพยายามใช้คำหยาบ หรือ ด่าแม่ เพื่อต้องการให้กระทู้ถูกลบ
บันทึกการเข้า
qazwsx
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,359


นักธุรกิจและตำรวจ ต้องออกไปจากการเมือง


« ตอบ #46 เมื่อ: 26-02-2007, 08:09 »


ปล่อยมันแสดง "การตัดต่อพระราชดำรัส" ต่อไป

การ "ตัดมาเพียงบางส่วน" โดยมีเจตนาให้สาระสำคัญนั้นเสียหาย
...มันคงไม่รู้หรอกว่า "คืออะไร"

บันทึกการเข้า

Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #47 เมื่อ: 26-02-2007, 08:18 »

ถามชอบแถ

คำว่าชนชั้นพอเพียง

มีอยู่ในเว็บไซต์กาญจนาภิเษกตรงไหน

ช่วยหามาให้ดูหน่อย
เห็นขยันหาข้อมูล มีหลักฐานอ้างอิงดี
บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #48 เมื่อ: 26-02-2007, 08:21 »

แหม ท่าทางคิดถึงกระทู้ที่ถูกลบไปนะ หัวยังอยู่เสียดายช่วงกลางหาย
อ้างถึง
1. ชนชั้นพอเพียง
มีทรัพย์สมบัติมากมายตกทอดมาให้ใช้ การศึกษาค่อนข้างสูง ถ้าไม่โง่จนเรียนไม่ได้
รายได้หลัก กินดอกเบี้ยธนาคาร เงินกู้, ค่าเช่าทรัพย์สิน
อาชีพหลัก เสือนอนกิน, รับราชการ, นักวิชาการ, มืออาชีพ, บริการธุรกิจ (Cash cow) ส่วนตัว
คนกลุ่มนี้แค่ใส่แตะหนีบไปเดินจตุจักรท่านก็ว่าพอเพียงแล้ว เดินพอเพียงนิดหน่อยก็กลับคฤหาสน์ร้อย
ถึงพันล้านนอนสบาย อยู่บ้านสบายคนใช้เพียบ

2. ชนชั้นนักธุรกิจ
บริหารธุรกิจขนาดใหญ่ แต่มีหนี้สินพอๆ กับทรัพย์สิน
คนกลุ่มนี้หากินโดยอาศัยทุนจากชนชั้นพอเพียง + โอกาสจากอำนาจหน้าที่ของข้าราชการชั้นพอเพียง

3. ชนชั้นพ่อค้า
เรียกนักธุรกิจก็ได้แต่ดูขนาดกิจการแล้วเรียกพ่อค้าดีกว่า ส่วนมากที่อยู่ได้จะเป็นคนเก่ง เห็นโอกาสลอย
มาตลอด ในขณะที่หลายคนมองไม่เห็น อาจจะมีสมบัติก่อนเก่าพอเป็นทุนนิดหน่อย ต้องอาศัยเงินกู้ใน
การทำกิจการ จะเป็นจำเลยอยู่เสมอว่าชอบทำอะไรเกินตัว

4. ชนชั้นกลาง
ก็เป็น generation ถัดมาที่ถีบตัวจากชั้นรากหญ้า หรือ ใช้เงินหมดหาเงินไม่ทันตกมาจากชั้นพอเพียง เนื่อง
จากรุ่นต่อมาคนเยอะขึ้นทรัพย์สมบัติก่อนเก่าเลี้ยงได้ไม่หมด
อาชีพหลัก พนักงาน, ลูกจ้าง, ข้าราชการ, อาชีพอิสระ
พวกที่อยู่อย่างสมถะพอเพียงก็มี เพราะคงมองไม่เห็นโอกาสจะลุย play safe สบายใจ หนี้สินบัตรเครดิตจัด
ว่าเป็นเรื่องธรรมดา บางทีมองว่ามีปัญญาหาเงินมาใช้ แต่เศรษฐกิจเน่าทำให้ต้องออกจากงาน หรือ รายได้
จากค่าคอมมิสชั่นไม่เข้าเป้า ตกเป็นจำเลยร่วมของความฟุ้งเฟ้อ

5. รากหญ้า
โดนด่ามากที่สุด ทั้งที่เป็นเกษตรกรซะส่วนมาก ราคาพืชผลเกษตรจะถูกชนชั้นบนตั้งราคาให้แบบเอาเปรียบ
มาตลอดตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ ทั้งที่เป็นสินค้าปัจจัยสี่ ควรจะมีค่ามากกว่าน้ำมันด้วยซ้ำ ทำให้ต้องจนดักดานมา
ตลอด เมื่อมีโอกาสในการเข้าถึงเงินมาให้ จะถูกมองว่าเป็นพวกสามล้อถูกหวยใช้เงินไม่เป็น เป็นจำเลยอันดับ
ต้นๆ โดยเฉพาะการซื้อรถมอเตอร์ไซด์ โทรศัพท์มือถือ

จากการที่รัฐบาลที่แล้วจะยกระดับกลุ่มที่ 3-5 ขึ้นมา ทำให้ส่วนหนึ่งของกลุ่มที่ 1-2 ไม่ค่อยสบอารมณ์ อาจจะ
เพราะความเป็นชนชั้นเริ่มแคบ ใช้โทรศัพท์มือถือดูดีกว่า คนใช้หายาก กรรมกรราคาถูกหายาก ต้องพึ่งแรงงาน
ต่างชาติ จึงตั้งข้อหาจากความล้มเหลวในการกู้เงินของกลุ่ม 3-5 ว่ากู้มาใช้เงินเกินตัว ทั้งที่ไม่มีผลการวิจัยเป็น
ชิ้นเป็นอันว่า ที่กู้มาไม่มีประโยชน์เลยล้มเหลวในการใช้คืน กับ พวกที่กู้มาสร้างโอกาสและประสบผลสำเร็จมี
อัตราส่วนเป็นอย่างไร เอาแค่กลุ่มเล็กๆ ที่ล้มเหลวประโคมข่าวให้เว่อร์ เพื่อปลุกระดมชนชั้นกลาง และหาเหตุผล
ในการปล้นอำนาจการปกครองแบบหน้าด้านๆ

กลุ่มที่ 1-2 มีรายได้ทางตรงและทางอ้อมก็มาจากกลุ่ม 3-5 หามาให้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นคนกู้เงินจ่ายดอกให้แบ๊งค์
เพื่อแบ๊งค์เอาไปจ่ายดอกเงินฝากให้ ค่าเช่าอะไรก็ตามก็ต้องมาจากคนเห็นโอกาสว่าทำรายได้มากกว่าค่าเช่า ถึง
จะเช่าในขณะกลุ่มที่ 1 ทำธุรกิจเองไม่เป็น ทำตัวเสือนอนกินอยู่หรูอยู่สบาย จะพอเพียงเมื่อไหร่ก็ได้ ไม่เหมือน
กลุ่ม 3-5 ที่ยังขาดยังไม่พอเพียงต้องดิ้นรนทำมาหากิน

ปัญหามาจากกลุ่ม 3-5 ยกระดับกันมากเกินไป ทำให้รัฐบาลเดิมดูดี จึงต้องใส่ข้อหาที่ทำให้ดูแย่ ประกอบกับ
ในหลวงทรงพระราชทานหลักเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นแนวทางในการดำรงชีวิตแบบไม่ประมาท กลับกลาย
ถูกใช้เป็นนโยบายรัฐบาล ทั้งที่ยากจะกำหนดขอบเขตชัดเจนในทางปฏิบัติได้ เป็นคำสอนซึ่งผู้ใช้ควรจะรู้ตัวด้วย
เกณฑ์ความพอเพียงของตัวเอง(อาจไม่เท่าคนอื่น) ความคลุมเครือนี้เองจึงทำให้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกล่าว
หารัฐบาลที่แล้ว เพราะพอเพียงระบุไม่ได้ว่าเท่าไหร่ กู้ก็ยังพอเพียง แต่ถ้ามีผลงานอะไรเสียหายขึ้นมาก็ใช้โทษ
ได้เลยว่างานนั้นทำขึ้นมาแบบไม่พอเพียง ถ้างานที่ทำเกินตัวแต่ประสบผลสำเร็จอย่างพืชสวนโลกกลับเงียบหาย
ซึ่งการใช้แนวทางในการดำรงชีวิตที่ดีผิดวัตถุประสงค์แบบนี้ จะก่อให้เกิดสงครามระหว่างชนชั้นได้ เหมือนใช้ข้อ
อ้างความพอเพียงเพื่อทำให้กลุ่ม 1-2 ดูดี แต่มาตัดโอกาสก้าวหน้าของกลุ่ม 3-5 ที่รัฐบาลที่แล้วยื่นให้

บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« ตอบ #49 เมื่อ: 26-02-2007, 08:45 »


ปล่อยมันแสดง "การตัดต่อพระราชดำรัส" ต่อไป

การ "ตัดมาเพียงบางส่วน" โดยมีเจตนาให้สาระสำคัญนั้นเสียหาย
...มันคงไม่รู้หรอกว่า "คืออะไร"

ภาษามวยเค้าเรียก RSC outclass โดนน็อคแล้วเหลือแค่ปาก ความเห็นตัวเองบอก concept

พระราชดำรัสชัดๆ บอกไม่ใช่สาระสำคัญ แน่จริงก็ให้ความเห็นมาว่าไม่ถูกตรงไหน กล้าหรือเปล่าจ๊ะไอ้ถุย
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3
    กระโดดไป: