ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
20-04-2024, 13:11
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  เอ็มเจทีเอลั่นเจบิค-ทอท.รับรองแบบสุวรรณภูมิ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
เอ็มเจทีเอลั่นเจบิค-ทอท.รับรองแบบสุวรรณภูมิ  (อ่าน 842 ครั้ง)
55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« เมื่อ: 22-02-2007, 10:22 »

ผู้บริหารเอ็มเจทีเอ เปิดแจงแบบก่อสร้างอาคารผู้โดยสารสนามบินสุวรรณภูมิ ยันได้มาตรฐานความปลอดภัยทุกขั้นตอน มีเซ็นรับรองจากเจบิค ก่อนนำแบบไปใช้ก่อสร้าง ยอมรับมีการเปลี่ยนแบบเกิดขึ้นแต่ได้รับคำสั่งให้ดำเนินการจากทอท.-เจบิค
นายวันชัย วิมุกตายน กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอ็ค คอนซัลแทนส์ จำกัด ในฐานะกรรมการบริหารกลุ่มเมอร์ฟี่ย์ จาห์น แทมส์ แอ็ค หรือเอ็มเจทีเอ ผู้ออกแบบอาคารผู้โดยสารและอาคารเทียบเครื่องบินในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เปิดเผยว่า โครงการดังกล่าวใช้เงินกู้จากธนาคารเพื่อความร่วมมือแห่งประเทศญี่ปุ่นหรือเจบิค ดังนั้นเอกสารการประกวดราคา รวมทั้งแบบก่อสร้างต่างๆ จะต้องผ่านการพิจารณาจากเจบิคทุกครั้ง ก่อนจะนำไปใช้การประกวดราคา

นอกจากนั้น แบบก่อสร้างของเอ็มเจทีเอ ยังดำเนินการตามข้อกำหนดและเงื่อนไขทีโออาร์ และเป็นไปตามเอกสารกำกับการออกแบบ (CONCEPTUAL AND SCHEMATIC DESIGN) จำนวน 21 เล่ม และการออกแบบต่างๆ ยังถูกกำกับโดยที่ปรึกษาของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท. ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มจีอีซี หรือกลุ่มพีเอ็มซี ขณะที่การก่อสร้างจะถูกกำกับโดยที่ปรึกษาควบคุมงาน คือกลุ่มทีซีเอส คอนซอร์เทียม

“ยืนยันว่าโครงการนี้มีแบบก่อสร้างแน่นอน และแบบทุกแผ่นที่ใช้จะมีการลงชื่อกำกับ โดยผู้แทนจากเอ็มเจทีเอ และผู้แทนจาก ทอท. ก่อนจะนำไปใช้ในการก่อสร้าง ไม่เข้าใจว่าเหตุใดจึงมีการระบุว่าโครงการนี้ไม่มีแบบก่อสร้าง” นายวันชัย กล่าว

ทอท.-เจบิคไฟเขียวแก้แบบ

ส่วนการแก้ไขแบบก่อสร้างอาคารผู้โดยสารและอาคารเทียบเครื่องบินนั้น ยอมรับว่ามีการแก้ไขหลายครั้ง ซึ่งเป็นการแก้ไขระหว่างการประกวดราคาและการแก้ไขระหว่างการก่อสร้าง โดยการแก้ไขดังกล่าวดำเนินการโดยกลุ่มเอ็มเจทีเอ จำนวน 13 ภาคผนวก และแก้ไขโดยบริษัท แอ็คฯ จำนวน 11 ภาคผนวก

อย่างไรก็ตาม ในแต่ละภาคผนวกจะมีรายละเอียดรายการที่แก้ไขเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นการแก้ไขเพื่อให้ค่าก่อสร้างลดลง และการแก้ไขเพื่อให้รองรับผู้โดยสารได้ปีละ 45 ล้านคน เช่น การลดความสูงของอาคารผู้โดยสาร การลดความสูงและความกว้างของอาคารเทียบเครื่องบิน การยกเลิกสถานีรถไฟใต้อาคารผู้โดยสาร การปรับแก้พื้นที่สำนักงานในอาคารเทียบเครื่องบินเอและจี
นอกจากนั้น ยังมีการเพิ่มพื้นที่ร้านค้าที่จุดตัดของอาคารเทียบเครื่องบินแต่ละด้าน และในอาคารดี การยกเลิกทางเลื่อน 4 ชุดในพื้นที่ผู้โดยสารขาออกในประเทศ ที่อาคารดี เพื่อให้บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) ใช้เป็นห้องรับรองหลัก ยืนยันว่าการแก้ไขในทุกรายการได้รับอนุมัติจาก ทอท.และไม่ได้มีผลต่อสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในการใช้บริการแต่อย่างใด
รับก่อสร้างผิด พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ
ส่วนการระบุว่าอาคารผู้โดยสารและอาคารเทียบเครื่องบินก่อสร้างโดยผิด พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ทั้งในส่วนของจำนวนห้องน้ำหรือทางหนีไฟนั้น ยอมรับว่าเป็นเรื่องจริง เพราะหากต้องก่อสร้างตามข้อกำหนด พ.ร.บ.ดังกล่าวจะต้องมีห้องน้ำชายและหญิงประมาณ 2 หมื่นห้อง แต่เรื่องดังกล่าวไม่ได้เป็นปัญหาใหญ่ โดยกระทรวงคมนาคมสามารถออกกฎกระทรวงเพื่อขอยกเว้นได้ เพราะเป็นอาคารของรัฐ ซึ่งมีอาคารของรัฐอีกหลายโครงการที่อาจเข้าข่ายผิด พ.ร.บ.ดังกล่าว

ยันปัญหาเกี่ยวข้องเอ็มเจทีเอแค่ 31 ปัญหา

นายวันชัย ยังกล่าวถึงกรณีที่คณะทำงานแก้ไขปัญหาของผู้โดยสาร พนักงาน และประชาชนบริเวณภายในและโดยรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระบุว่ามีปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไข จำนวน 61 ปัญหานั้น จากการตรวจสอบพบว่าปัญหาที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเอ็มเจทีเอ มีจำนวน 31 ปัญหา ซึ่งได้ทำหนังสือชี้แจง พร้อมทั้งข้อเสนอแนะไปยังคณะทำงานดังกล่าวแล้ว

สำหรับตัวอย่างปัญหาและข้อเสนอแนะที่ชี้แจงไปยังคณะทำงาน เช่น ปัญหาไม่มีแบบก่อสร้างนั้น ทอท.จะต้องเป็นเจ้าภาพในการรวบรวมแบบที่เขียนขึ้นหลังการก่อสร้างแล้วเสร็จ (AS -BUILT DRAWING)จากกลุ่มไอทีโอ จอยท์เวนเจอร์ ผู้ก่อสร้างอาคารและผู้รับเหมารายอื่น รวมทั้งต้องสั่งการให้ผู้รับสัมปทานหรือผู้เช่าพื้นที่จัดทำแบบ AS -BUILT DRAWING เพื่อส่งมอบให้ ทอท.ต่อไป

อ้างไออาต้าสั่งเพิ่มพื้นที่พาณิชย์

สำหรับปัญหาทางเดินภายในอาคารคับแคบ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสมาคมการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศหรือไออาต้า ให้ข้อเสนอแนะว่าควรเพิ่มพื้นที่เชิงพาณิชย์ เพื่อให้ ทอท.มีรายได้จากส่วนนี้เพิ่มขึ้นเป็น 50-55% เพราะเกรงว่าหากมีพื้นที่เชิงพาณิชย์น้อยเกินไป จะส่งผลให้ ทอท.เรียกเก็บค่าธรรมเนียมและค่าบริการจากสายการบินในอัตราที่สูงเกินไป

ทั้งนี้ ทางเดินเชื่อมจากอาคารผู้โดยสารไปยังอาคารเทียบเครื่องบิน ดี จะมี 3 จุด โดยทางเดินเชื่อมด้านตะวันออกจะเป็นของผู้โดยสารการบินไทย ส่วนด้านกลางอาคารและด้านตะวันตก จะเป็นของผู้โดยสารทั่วไป

อย่างไรก็ตาม ทอท.อาจช่วยลดปัญหาผู้โดยสารขาออกระหว่างประเทศ โดยการกำหนดจุดเช็คอิน เคาน์เตอร์ของสายการบินให้สอดคล้องกับจุดจอดเครื่องบินของแต่ละสายการบิน เช่น เครื่องบินที่ออกจากอาคารเทียบเครื่องบินซี และดี ฝั่งตะวันออก ผู้โดยสารต้องใช้ทางเดินเชื่อมจากอาคารผู้โดยสารที่จุดกลางอาคาร

ส่วนเครื่องบินที่จอดที่อาคารเทียบเครื่องบินดี ฝั่งตะวันตก และอี เอฟ และ จี ต้องใช้ทางเดินเชื่อมจากอาคารผู้โดยสารฝั่งตะวันตก โดยพนักงานเช็คอินต้องเป็นผู้แนะนำ เพื่อลดระยะทางการเดินในอาคารดี

โบ้ยทอท.-ผู้รับเหมาต้นตอปัญหา

นายวันชัย ยังกล่าวถึงปัญหาจำนวนห้องน้ำไม่เพียงพอว่า การออกแบบจำนวน ห้องน้ำเป็นไปตามแผนแม่บทที่จัดทำโดยกลุ่มจีอีซี ยอมรับว่าอาจมีจำนวนน้อยไปบ้าง เพราะ ทอท.ได้ปรับเปลี่ยนการใช้งานพื้นที่บางส่วน ส่งผลให้ห้องน้ำในส่วนผู้โดยสารในประเทศและที่นั่งพักคอยหายไปจำนวนหนึ่ง

สำหรับปัญหาประตูหมุน ซึ่งระบุว่าไม่สะดวกต่อการใช้งานนั้น กลุ่มไอทีโอ ไม่สามารถจัดหากระจก FLOAT GLASS หนา 12 มิลลิเมตรตามสเปคได้ทันกำหนดการทดสอบในวันที่ 29 กันยายน 2549 จึงเปลี่ยนความหนาเป็น 8 มิลลิเมตร ซึ่งการใช้ประตูหมุนจะมีผลดีต่อระบบปรับอากาศ โดยเอ็มเจทีเอเสนอให้ติดฟิล์มภายในเพื่อป้องกันอันตรายจากกระจกแตก และติดสติกเกอร์เตือนว่ามีกระจก
ย้ำระบบดับเพลิงได้มาตรฐานสากล

นายฉัตรชัย ภมรสูต หัวหน้าฝ่ายวิศวกรรมเครื่องกล บริษัท แอ็คฯ กล่าวถึงการออกแบบระบบป้องกันเพลิงและระบบดับเพลิงในอาคารผู้โดยสารและอาคารเทียบเครื่องบิน ว่า เป็นไปตามข้อกำหนดของ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 และข้อกำหนดเอ็นเอฟพีเอ โดยระบบดับเพลิงที่ใช้ ประกอบด้วย 1.ท่อส่งน้ำและตู้ดับเพลิง รวมถึงถังเก็บน้ำสำรองและเครื่องสูบน้ำดับเพลิง 2.ระบบหัวฉีดอัตโนมัติ และ 3.ระบบดับเพลิงอัตโนมัติชนิดใช้ก๊าซ FM-200 จะใช้ในจุดที่ไม่ใช้น้ำ เพื่อป้องกันความเสียหายต่ออุปกรณ์ต่างๆ

นอกจากนั้น ยังมีระบบระบายควันไฟ เพราะผู้ที่เสียชีวิตจากเหตุเพลิงไหม้ส่วนใหญ่จะเสียชีวิตจากควันมากกว่าเสียชีวิตจากเพลิงไหม้โดยตรง ซึ่งในอาคารทั้งหมดจะติดตั้งพัดลมระบายควันบริเวณหลังคาอาคาร จำนวน 192 ชุด แบ่งเป็นอาคารผู้โดยสาร 72 ชุด ในอาคารเทียบเครื่องบิน 112 ชุด และบริเวณจุดตัดของอาคารเทียบเครื่องบินอีก 8 ชุด


http://www.bangkokbiznews.com/2007/02/22/news_22861879.php?news_id=22861879

แล้วอย่ามาโม้ ว่าช่วยประหยัดค่าก่อสร้างอีกน๊ะ
บันทึกการเข้า
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #1 เมื่อ: 22-02-2007, 12:58 »

หาแบบก่อสร้างเจอแล้วเหรอคะ ถึงออกมาเถียงฉอดๆๆ

อ้างถึง
ส่วนการระบุว่าอาคารผู้โดยสารและอาคารเทียบเครื่องบินก่อสร้างโดยผิด พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ทั้งในส่วนของจำนวนห้องน้ำหรือทางหนีไฟนั้น ยอมรับว่าเป็นเรื่องจริง เพราะหากต้องก่อสร้างตามข้อกำหนด พ.ร.บ.ดังกล่าวจะต้องมีห้องน้ำชายและหญิงประมาณ 2 หมื่นห้อง

ไม่ต้องมากถึงขนาดนั้นคนก็เข้าใจได้พ่อคู๊ณ แต่ไอ้ที่ไม่พอจะฉี่จะอึอยู่ตอนนี้ ลดลงมากี่เปอร์เซนต์ กล้าพูดไหม  ตามกฎหมายต้องมีสองหมื่นห้อง แล้วตอนนี้มีถึงสองพันห้องไหม นี่เอาแค่สิบเปอร์เซนต์ของที่กฎหมายกำหนดนะ มีถึงหรือเปล่า  ฮ่วย 

อ้างถึง
สำหรับปัญหาทางเดินภายในอาคารคับแคบ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสมาคมการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศหรือไออาต้า ให้ข้อเสนอแนะว่าควรเพิ่มพื้นที่เชิงพาณิชย์ เพื่อให้ ทอท.มีรายได้จากส่วนนี้เพิ่มขึ้นเป็น 50-55% เพราะเกรงว่าหากมีพื้นที่เชิงพาณิชย์น้อยเกินไป จะส่งผลให้ ทอท.เรียกเก็บค่าธรรมเนียมและค่าบริการจากสายการบินในอัตราที่สูงเกินไป

เขาเสนอแนะมา ไม่ได้บังคับ เสนอมาแล้วไม่ดี ก็อย่าไปทำสิ นี่ฉวยโอกาศให้ร้านปลอดภาษี ยังจะเอาสีข้างมาถูอีก ฮ่วย 

อ้างถึง
สำหรับปัญหาประตูหมุน ซึ่งระบุว่าไม่สะดวกต่อการใช้งานนั้น กลุ่มไอทีโอ ไม่สามารถจัดหากระจก FLOAT GLASS หนา 12 มิลลิเมตรตามสเปคได้ทันกำหนดการทดสอบในวันที่ 29 กันยายน 2549 จึงเปลี่ยนความหนาเป็น 8 มิลลิเมตร ซึ่งการใช้ประตูหมุนจะมีผลดีต่อระบบปรับอากาศ โดยเอ็มเจทีเอเสนอให้ติดฟิล์มภายในเพื่อป้องกันอันตรายจากกระจกแตก และติดสติกเกอร์เตือนว่ามีกระจก

ความผิดของใคร กระจก FLOAT GLASS หนา 12 มิลลิเมตรตามสเปค หาไม่ได้ แล้วมีสเป็กไว้ทำหยัง ฮ่วย 

อ้างถึง
อย่างไรก็ตาม ในแต่ละภาคผนวกจะมีรายละเอียดรายการที่แก้ไขเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นการแก้ไขเพื่อให้ค่าก่อสร้างลดลง และการแก้ไขเพื่อให้รองรับผู้โดยสารได้ปีละ 45 ล้านคน เช่น การลดความสูงของอาคารผู้โดยสาร การลดความสูงและความกว้างของอาคารเทียบเครื่องบิน การยกเลิกสถานีรถไฟใต้อาคารผู้โดยสาร การปรับแก้พื้นที่สำนักงานในอาคารเทียบเครื่องบินเอและจี
นอกจากนั้น ยังมีการเพิ่มพื้นที่ร้านค้าที่จุดตัดของอาคารเทียบเครื่องบินแต่ละด้าน และในอาคารดี การยกเลิกทางเลื่อน 4 ชุดในพื้นที่ผู้โดยสารขาออกในประเทศ ที่อาคารดี เพื่อให้บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) ใช้เป็นห้องรับรองหลัก ยืนยันว่าการแก้ไขในทุกรายการได้รับอนุมัติจาก ทอท.และไม่ได้มีผลต่อสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในการใช้บริการแต่อย่างใด

อ้างถึง
แล้วอย่ามาโม้ ว่าช่วยประหยัดค่าก่อสร้างอีกน๊ะ

ม่ายด้าย โม้ ค่ะ  ตอแหล เลยล่ะ 
บันทึกการเข้า
login not found
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,523



« ตอบ #2 เมื่อ: 22-02-2007, 13:26 »

ลดสเปคบางอย่างใช้เงินเท่าเดิม บางอย่างใช้เงินมากขึ้น
แถมเอาพื้นที่ๆควรเปิดโล่งไปทำพื้นที่ขายของอีก
มันไม่ประหยัดแล้วละ หาเรื่องรับประทานมากกว่า
บันทึกการเข้า
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #3 เมื่อ: 22-02-2007, 15:08 »

เอ็มเจทีเอลั่นเจบิค-ทอท.รับรองแบบสุวรรณภูมิ....

เจบิค-ทอท. รับรองการออกแบบให้มี....
1. ห้องน้ำชาย หนึ่งห้อง มี หนึ่งโถ'อึ' หนึ่งโถ'ฉี่'...
2. พื้นที่'คิงเพาเวอร์'ขวางทางเดินของผู้โดยสาร...
3.
มีบันไดเลื่อน เท่าที่เห็นในขณะนี้....
4. .................ฯลฯ


บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
หน้า: [1]
    กระโดดไป: