ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
28-03-2024, 22:16
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  ชายคาพักใจ  |  ราชภัฏในห้างฯ ชีวิตนักศึกษายุคใหม่ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
ราชภัฏในห้างฯ ชีวิตนักศึกษายุคใหม่  (อ่าน 6289 ครั้ง)
รวงข้าวล้อลม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,103



เว็บไซต์
« เมื่อ: 15-02-2007, 15:29 »


การพัฒนาไปอีกก้าวหนึ่งของระบบการศึกษา  ถ้าเลือกในสิ่งที่เป็นบวกก็บวก  ถ้าแยกลบไม่ออกก็กลายเป็นได้ความวุ่นวายแทนความรู้
ก็เท่านั้นเอง

                 ------------------------------------------------------------------------





ราชภัฏในห้างฯ ชีวิตนักศึกษายุคใหม่

ราชภัฏวันนี้



การเปิดศูนย์การศึกษาภายในห้างสรรพสินค้าของศูนย์เซ็นทรัล ปิ่นเกล้า ของ ม.ราชภัฏสวนดุสิต (มสด.) และที่ศูนย์แฟชั่นไอส์แลนด์ และศูนย์รามสแควร์ ของ ม.ราชภัฏพระนคร (มรภ.พระนคร) กลายเป็นประเด็นที่ถูกตั้งคำถามจากผู้ที่ไม่รู้จำนวนมาก

โดยศูนย์เซ็นทรัล ปิ่นเกล้า หรือ ศูนย์บริการการศึกษาธนาลงกรณ์ อยู่ที่อาคารของห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล โดยแบ่งพื้นที่ในชั้น 3-4 และชั้น 6-7 ของกระทรวงวัฒนธรรม ที่มาเช่าที่ของห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล

ส่วนศูนย์แฟชั่น ไอส์แลนด์ อยู่ที่ชั้นใต้ดินของห้างแฟชั่น ไอส์แลนด์ ถ.รามอินทรา กรุงเทพฯ ศูนย์รามสแควร์ อยู่ที่อาคารห้างสรพสินค้าพาต้า สาขารามคำแหง เดิม ที่เปลี่ยนมาเป็น "ไอทีสแควร์" ซึ่งเป็นศูนย์บริหารด้านไอทีของมรภ.พระนคร

สภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลง สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ชีวิตนักศึกษาภายในรั้วมหาวิทยาลัยก็กำลังเปลี่ยนไปด้วย



จากที่เคยใส่ชุดนักศึกษาเดินเข้าไปภายในมหาวิทยาลัยเพื่อศึกษาหาความรู้ และทำกิจกรรมของมหาวิทยาลัย เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ตัวเอง ปัจจุบันมีนักศึกษากลุ่มหนึ่งที่ต้องผันตัวเองจากรั้วมหาวิทยาลัยไปศึกษาหาความรู้ภายในอาคารของห้างสรรพสินค้า

สำหรับคนที่เพิ่งรับรู้ถึงการเปิดศูนย์การศึกษาภายในห้างสรรพสินค้าอาจเป็นเรื่องแปลกใหม่ แต่นักศึกษาเองที่อยู่ในภาวะที่ต้องเดินเข้าไปเรียนในห้างสรรพสินค้าก็มีมุมมองชีวิตนักศึกษาของตัวเองแตกต่างกันไป




น.ส.วารี เหมโหมด นักศึกษาศูนย์เซ็นทรัลปิ่นเกล้า มสด. แสดงความเห็นว่า ไม่ว่าจะเรียนที่ศูนย์หรือที่มหาวิทยาลัยก็เหมือนกัน เพราะนักศึกษาที่มาเรียนที่ศูนย์ก็เนื่องจากว่า คณะ/สาขาวิชาที่นักศึกษาเลือกเรียนไม่ได้เปิดสอนในมหาวิทยาลัย แต่มาเปิดสอนที่ศูนย์ ทั้งนี้ทางมหาวิทยาลัยอาจดูตามความเหมาะสมว่า คณะ/สาขาวิชาใดบ้างที่สามารถนำมาเปิดสอนที่ศูนย์ได้บ้าง เรื่องการเดินทางไม่ว่าจะเรียนที่ไหนก็ไม่ค่อยต่างกันสักเท่าไหร่ เพราะก็ไกลพอๆ กัน และรถติดเหมือนกัน

สำหรับความรู้สึกที่มาเรียนที่ศูนย์คิดว่า ก็มีทั้งส่วนดีและส่วนเสียค่ะ ส่วนดีก็คือ ได้ใกล้ชิดและอาจารย์มีความเป็นกันเองกับนักศึกษา เมื่อต้องการติดต่อกับอาจารย์ก็สามารถเข้าพบได้อย่างสะดวก รวดเร็ว เพราะว่าห้องพักอาจารย์มีอยู่ที่เดียวคือชั้น 7 และที่สำคัญอาจารย์ทุกท่านดูแลและเอาใจใส่เราได้อย่างทั่วถึง เพราะว่านักศึกษามีจำนวนน้อย


 ส่วนเสียก็คือ มีพื้นที่ในการพักผ่อน นั่งเล่น และอ่านหนังสือน้อยมาก ส่วนใหญ่นักศึกษาที่มาเรียนที่ศูนย์ หลังเลิกเรียนแล้วก็จะต้องออกจากศูนย์ทันที เนื่องจากภายในศูนย์เป็นสถานที่ราชการ สำนักงาน และบริษัทอีกมากมาย จึงมีผู้คนมากมายและมีความวุ่นวายเป็นอย่างมาก

น.ส.สุภาพร บรรจงกระเสนา ณ อยุธยา นักศึกษาศูนย์เซ็นทรัลปิ่นเกล้า มสด. บอกว่า จะเรียนที่มหาวิทยาลัย หรือที่ศูนย์ก็ไม่ต่างกันหรอก เพราะได้ความรู้เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับความตั้งใจจริงของเรามากกว่า ว่าเรามีความตั้งใจที่จะเรียนมากน้อยแค่ไหน เพราะอาจารย์ผู้สอนก็ล้วนแต่มีความรู้ และประสบการณ์ด้วยกันทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับเราเองว่ามีความสามารถที่จะเก็บเกี่ยวความรู้ได้มากน้อยเพียงใด 


เรียนที่ศูนย์ก็มีความประทับใจหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการดูแลเอาใจใส่ของอาจารย์ หรือเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ที่คอยอำนวยความสะดวกให้นักศึกษา ส่วนการเดินทางก็ลำบากบ้างเพราะต้องเจอกับความคับคั่งของจราจร และความแออัดของคนบนรถเมล์นั้นไม่ต้องพูดถึงเลย



น.ส.เสาวรีย์ แดนพัฒนไพบูลย์ คณะวิทยาการจัดการ สาขาบริหารทรัพย์ ปี 3 นักศึกษาศูนย์แฟชั่นไอส์แลนด์ มรภ.พระนคร พูดถึงตัวเองว่า ตั้งใจสมัครเข้ามาเรียนที่นี่ เนื่องจากใกล้บ้าน และก็ทำงานพิเศษอยู่ในห้างนี้ด้วย คิดว่าน่าจะสะดวกที่สุดแล้ว ชีวิตประจำวันในการเรียนที่ศูนย์ มาเรียนตอนเช้าปกติ แต่ต้องเข้าทางด้านหลังห้าง เพราะทางห้างยังไม่เปิดให้บริการ พักเที่ยงขึ้นไปเดินเล่นบนห้างบ้างเหมือนกัน แต่ก็ไม่เคยเดินเล่นจนไม่ยอมเข้าเรียน มีเพื่อนหลายคนที่หายไปทั้งวันเพราะทนสื่อยั่วยุไม่ไหว นี่คงเป็นข้อเสียของการเรียนในห้าง พอหลังเลิกเรียนหลายคนยังเดินเล่นอยู่ไม่ยอมกลับบ้านกัน

"อยากให้เด็กในสถาบัน หรือคนภายนอกมองว่า เราไม่ใช่เด็กนอกคอก เราก็เหมือนเด็กมหา"ลัยทั่วไป เวลารับเข้าทำงาน อยากได้สิทธิเท่าเทียมกับที่อื่น อยากให้มองว่าเราก็มีสมองเหมือนกัน และอาจมีมากกว่าด้วยซ้ำ ส่วนอีกเรื่องคือค่าเทอมที่เด็กในศูนย์ต้องเสียมากกว่าเด็กในสถาบัน 2-3 เท่าตัว แต่เข้าใจว่าต้องเสียค่าเช่าสถานที่การเรียน แต่ค่าหน่วยกิตก็แพงกว่าในสถาบัน ความรู้ การศึกษา อุปกรณ์การเรียนกลับด้อยกว่าในสถาบัน"

"ความแตกต่างที่เรียนในศูนย์กับเรียนในรั้วมหาวิทยาลัย รู้สึกไม่ได้รสชาติของการเป็นเด็กมหาวิทยาลัย ไม่มีรุ่นพี่ ไม่มีกิจกรรมของชมรม และพื้นที่ของศูนย์คับแคบ เล่นกีฬาไม่ได้ ส่วนบรรยากาศไม่ต้องพูดถึงเลย ต่างกันลิบลับ ในสถาบันบรรยากาศน่าอยู่กว่า มีสถานที่พักผ่อนได้เห็นต้นไม้สีเขียวๆ ทำให้สมองปลอดโปร่งมากขึ้น พอปี 4 ที่จะได้เข้ามาเรียนในสถาบันทุกคณะคงจะแปลกที่แปลกทางไม่น้อย"


น.ส.ลลินทิพย์ สังข์ทอง คณะวิทยาการจัดการ สาขาบริหารทรัพย์ ปี 3 นักศึกษาศูนย์แฟชั่นไอส์แลนด์ มรภ.พระนคร เล่าว่า ตั้งใจสมัครมาเรียนที่ศูนย์แฟชั่นฯ เพราะเดินทางสะดวก รถไม่ติด เหมือนไปสถาบัน แถมอยู่ใกล้บ้าน ที่เรียนเย็นสบายไม่ร้อนเหมือนในสถาบัน เวลาซื้อของก็สะดวก เรียนเสร็จพักกลางวัน เลือกกิน เที่ยวชมได้ตามใจชอบ ไม่ต้องไปที่ไหนไกลๆ ทุกอย่างลงตัว เว้นแต่ต้องการพบอาจารย์บางรายวิชาต้องรอให้ท่านมีสอน หรือไม่ก็เข้าไปหาในสถาบัน


"การใช้ชีวิตในการเรียนเหมือนคนอื่นทั่วไป อาจเหมือนเด็กในสถาบันหลายคนที่ไปเรียนเสร็จก็กลับบ้าน เรียนที่ศูนย์แฟชั่นฯ ดี ไม่ต้องรีบตื่นแต่เช้าเพราะใกล้บ้าน มาเรียนก็เหมือนมาเดินเที่ยวห้าง เพียงแต่สถานที่เรียนอาจดูคับแคบไปหน่อย แต่ก็ไม่เป็นอุปสรรคอะไร"

ความแตกต่างของเด็กศูนย์กับเด็กในสถาบัน ต่างกันแค่เรียนคนละที่ ในศูนย์อาจเรียนแค่ในตำรา ส่วนในสถาบันมีโอกาสเรียนทั้งในตำรา และนอกตำรา ส่วนเรื่องข่าวสารและกิจกรรมวันนี้ไม่เป็นปัญหา เพราะเรามาเรียน ไม่ใช่มามัวแต่ทำกิจกรรม ควรนำเอาเวลาเหล่านี้ไปใช้ในการอ่านหนังสือ ทำรายงานมากกว่า มาเรียนที่ศูนย์ก็ไม่อยากได้อะไร เว้นแต่ค่าเทอมที่แพงเกินไปถ้านำมาเปรียบเทียบกับในสถาบันแล้วน่าจะลดลงได้บ้าง

นายประพันธ์ ก่ำครบุรี โปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์ เอกประชาสัมพันธ์ ปี 2 นักศึกษาศูนย์แฟชั่นไอส์แลนด์ มรภ.พระนคร กล่าวว่า ไม่ได้ตั้งใจเข้ามาเรียนที่ศูนย์แฟชั่นฯ สอบเข้าเรียนที่ในสถาบันเพราะใกล้บ้าน แต่กลับได้มาเรียนที่ศูนย์แฟชั่นฯ ที่ใกล้บ้าน แต่ก็ต้องมาเรียน

การเรียนในศูนย์ ปกติไปเรียนแต่เช้า อาจมีสายบ้างเพราะบ้านอยู่ไกลต้องนั่งรถหลายต่อ พักกลางวันอาจเดินเที่ยวเล่นบ้าง เดินจนจำได้ทุกซอกทุกมุมของห้างแล้ว บางทีก็มีหายไปทั้งวัน และหลายๆ คนก็เป็นเหมือนกัน บางคนไม่เคยเข้าเรียนแต่ไปเล่นเกมส์ ดูหนังบ้าง นั่งเล่นห้องเพื่อนที่อยู่ใกล้ๆ บ้าง ทำให้ต้องออกไปเรียนที่อื่น เพราะเอาชนะใจตัวเองไม่ได้

"ความรู้สึกพูดแบบชาวบ้านคือเหมือนเป็นลูกเมียน้อย มีเรื่องอะไรแล้วไม่รู้เรื่อง ถึงรู้ก็ช้ากว่าที่อื่น กิจกรรมการรับน้อง หรือกิจกรรมในสถาบันก็ไม่มี ถ้าเป็นไปได้จริงๆ อยากให้ยุบศูนย์ไปเลย จะได้เข้ามาเรียนในสถาบันให้หมด และได้สัมผัสถึงการเป็นเด็กมหาวิทยาลัยซะที ได้เดินเรียนทำกิจกรรมกับรุ่นพี่ นั่งคุยกันตามซุ้มต่างๆ คนอื่นอาจมองไม่ออกว่าจะแตกต่างกันยังไง แต่ถ้าเป็นตัวเราจะรู้ได้ทันทีว่า เราเสียโอกาสในการแสดงความคิด และการแสดงออก ซึ่งประสบการณ์เหล่านี้ช่วยเราได้มากในอนาคต ที่เป็นอยู่ในตอนนี้เหมือนร.ร.สอนพิเศษตามห้าง เดินออกมาก็เจอลานจอดรถ แทนที่จะเจอกับบรรยากาศที่ร่มรื่น สนามกีฬา และค่าเทอมที่แพงพอๆ กับม.เอกชน"



นายสุพัฒนพงษ์ ปักพฤกษชาติ คณะวิทยาการจัดการ เอกวิทยุ-โทรทัศน์ ปี 4 นักศึกษาศูนย์รามสแควร์ มรภ.พระนคร กล่าวว่า จริงๆ แล้วผมไม่ได้ตั้งใจจะมาเรียนที่ศูนย์รามสแควร์แม้แต่นิดเดียวเลย อยากเรียนในมหาวิทยาลัยมากกว่า แต่พอสอบเข้ามาก็มีรายชื่อส่งมาอยู่ที่ศูนย์รามสแควร์ บ้านผมอยู่รังสิต คลอง 5 ต้องนั่งรถมาเรียนที่รามคำแหง รู้สึกว่าไกลมาก ถ้าได้เรียนในมหาวิทยาลัยก็คงดี บรรยากาศดูเหมือนในมหาวิทยาลัยหน่อย มีรุ่นพี่ รุ่นน้อง มีกิจกรรมทำอยู่ตลอดเวลา มีต้นไม้ ม้านั่ง เป็นธรรมชาติดูอบอุ่นมากๆ ถ้าเปรียบเทียบกับที่ศูนย์พอตอนเย็นหลังเลิกเรียนทุกคนต่างแยกย้ายกันกลับบ้าน มานั่งคุยแบบในมหาวิทยาลัยไม่ได้ แต่ก็ต้องยอมรับสภาพคิดว่าคะแนนอาจจะไม่ถึงเกณฑ์ เลยถูกส่งมาเรียนที่นี่

"บางคนคิดว่าดีที่ไม่ต้องทำกิจกรรมใดๆ สบายๆ แต่ผมว่าไม่ดี แต่สำหรับการเรียนก็ไม่ได้แตกต่างจากในมหาวิทยาลัยมากนัก ความยากง่ายพอๆ กัน อยู่ที่เรามากกว่าว่าจะตั้งใจมากน้อยแค่ไหน ดีนะที่ศูนย์รามสแควร์ไม่ใช่ห้างสรรพสินค้า ถ้าเป็นแบบนั้นคงไม่มีใครสนใจเรียนมากนัก คงเดินห้างกันจนเพลิน แต่ก็ไม่ใช่ศูนย์รามสแควร์ไม่ดี ดีนะครับ แอร์เย็น ร้านอาหารก็หรูหรา แต่ขายแพงไปหน่อย และเด็กศูนย์พอจบไปแล้วก็มีศักยภาพไม่น้อยกว่าคนอื่นหรอกครับ ถ้าตั้งใจ"

น.ส.น้ำทิพย์ ทรัพย์อร่าม คณะวิทยาการจัดการ เอกวารสารศาสตร์ ปี 4 นักศึกษาศูนย์รามสแควร์ มรภ.พระนคร บอกว่า ตอนที่มาสมัครเรียนที่มรภ.พระนคร ก็ตั้งใจว่าจะเรียนที่นั่นเพราะใกล้บ้าน ไม่ได้ตั้งใจจะมาเรียนที่ศูนย์รามสแควร์เลย เพราะอยากเรียนในมหาวิทยาลัยเหมือนทุกๆ คน เพราะในมหาวิทยาลัยมีความพร้อมมากกว่า ทั้งร้านอาหารก็ไม่แพง ห้องสมุดก็เพียบพร้อมกว่า มีหนังสือเยอะกว่า และมีศูนย์ไอทีที่อำนวยความสะดวก ที่สำคัญก็ได้สัมผัสกับธรรมชาติบ้างไม่ใช่อยู่ในที่แคบๆ ไม่ค่อยมีกิจกรรม

ครั้งแรกไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตั้งอยู่ตรงไหน เคยได้ยินแต่ศูนย์แฟชั่นไอส์แลนด์ที่สอนอยู่ในห้างสรรพสินค้า ตอนแรกก็คิดว่ารามสแควร์จะสอนอยู่ในห้างสรรพสินค้า ตอนนั้นคิดว่าไม่อยากเรียนเพราะมีสิ่งยั่วยุเยอะ มารู้ตอนหลังว่าไม่ใช่ห้างสรรพสินค้า แต่เคยเป็นห้างสรรพสินค้าเก่า มารู้ตอนที่สอบสัมภาษณ์ว่าได้เรียนที่ศูนย์ก็ผิดหวังนิดหน่อย

บางครั้งก็ลำบากใจ รู้สึกเสียดายที่ไม่ได้รับโอกาสเข้าไปเรียนในมหาวิทยาลัยที่มีความพร้อมในทุกเรื่อง บางทีเบื่อ เหมือนกันที่อุปกรณ์ไม่เพียงพอกับนักศึกษา เรียนวิชาปฏิบัติแต่ไม่ได้ทำกิจกรรม หรือปฏิบัติงาน เหมือนยังขาดประสบการณ์ในการเรียน

"เรื่องการเรียนการสอนก็มีประสิทธิภาพดี แค่บรรยากาศไม่น่าเรียนเท่าไหร่ ก็เลยทำให้ดูไม่ค่อยลงตัวนัก บางคนก็ขอทำเรื่องย้ายเข้าไปในมหาวิทยาลัยวุ่นวายกัน แต่คิดว่าเรียนที่ศูนย์ก็มีมาตรฐานการเรียนเดียวกันกับในมหาวิทยาลัย เพียงแต่ขาดบรรยากาศที่ได้ชื่อว่า "รั้วมหาวิทยาลัย" ก็เท่านั้นเองค่ะ"

เป็นชีวิตของนักศึกษาอีกแบบหนึ่งที่ต้องปรับตัวปรับใจ ต้องต่อสู้กับสภาพแวดล้อมเพื่อนำความรู้มาประดับตนเองมากกว่านักศึกษาทั่วๆ ไป
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15-02-2007, 15:54 โดย รวงข้าวล้อลม » บันทึกการเข้า

&..หลายๆทำไม ..คุณตอบได้ไหม ?
http://www.oknation.net/blog/roungkaw/2008/05/27/entry-4
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #1 เมื่อ: 18-02-2007, 23:10 »

น่าสงสารครับ ค่าเรียนน่าจะแพง

นศ.ในสถาบันมาเที่ยวในห้างได้
แต่ นศ.ในห้างอาจไม่มีโอกาสสัมผัสชีวิตแบบในสถาบัน 

บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
หน้า: [1]
    กระโดดไป: