ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
24-04-2024, 03:50
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ทางด่วน บูรพาวิถี ตอม่อร้าว แต่ไม่เป็นไร ใช้ต่อไปได้ พังแล้วก็รู้เอง 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
ทางด่วน บูรพาวิถี ตอม่อร้าว แต่ไม่เป็นไร ใช้ต่อไปได้ พังแล้วก็รู้เอง  (อ่าน 2767 ครั้ง)
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« เมื่อ: 14-02-2007, 18:48 »



http://www.thairath.co.th/offline.php?section=hotnews&content=36871

ขณะที่ข่าวอื้อฉาวการชำรุดของสนามบินสุวรรณภูมิ ยังอยู่ระหว่างการสอบสวนหาผู้รับผิดชอบนั้น ล่าสุด มีรายงานว่า ทางด่วนสายบางนา-ชลบุรี ที่ก่อสร้างขึ้น เพื่อรองรับสนามบินสายดังกล่าว ก็เริ่มมีปัญหาส่อแวว ชำรุดก่อนเวลาอันสมควรเช่นกัน ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการสำรวจโครงสร้างของทางด่วนบูรพาวิถี หรือทางด่วนสายบางนา-ชลบุรี พบว่า มีเสาตอม่อจำนวนมากอยู่ในสภาพผิดปกติ มีร่องรอยชำรุดเสียหาย เช่น เสาตอม่อจากบริเวณ กม.30 หมายเลข 30/21 ที่อยู่ในเขตอำเภอบางบ่อ จ.สมุทรปราการ เรื่อยมาจนถึงเสาตอม่อหมายเลขที่ 29/20 ระยะทางยาวประมาณ 1 กิโลเมตร ซึ่งมีเสารวมทั้งสิ้น 40 ต้น เสาแต่ละต้นล้วนมีรอยแตกร้าวปรากฏอย่างเห็นได้ชัด ทั้งบริเวณโคนเสาหรือ ตรงกลางของเสา โดยบางต้นมีรอยร้าวในแนวตั้ง บางต้นมีรอยแตกร้าวในตอนแนวนอน กระจายอยู่ทั่วไป ทั้งนี้ จากการสังเกตอย่างละเอียดพบว่า เสาบางต้นที่มีรอยแตกเป็นทางยาวนั้น ถูกอุดด้วยกาวซีเมนต์สีขาว (อีป๊อกซี่) เพื่อปิดบังรอยแตกดังกล่าว ขณะที่เสาบางต้นถูกสกัดเอาเนื้อคอนกรีตเดิมออกแล้วฉาบปิดทับใหม่ เนื่องจากสีของคอนกรีตต่างกันอย่างเห็นได้ชัด   

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า การสำรวจครั้งนี้ยังพบว่า มีเสาตอม่อบางต้นมีรอยแตกร้าวมากเป็นพิเศษ เช่น เสาทางด่วนหมายเลข 30/06 โดยที่ฐานเสาตอม่อที่ตั้งอยู่บนพื้นมีรอยแตกร้าวไปทั่วทั้งต้น คล้ายแผ่นดินที่แห้งแตกระแหง ในขณะที่ฐานเสาตอม่อบางต้นยังพบว่าลักษณะแตกต่างจากฐานเสาต้นอื่นๆ เนื่องจากมิได้เป็นทรงรูปคอนกรีตสี่เหลี่ยม แต่ที่ขอบด้านหนึ่งกลับเป็นรูปคลื่น คล้ายกับเป็นการเทคอนกรีตหล่อเสาโดยใช้แผ่นเหล็กกันดินทรุดเป็นเหล็กแบบแล้วแกะแบบออก ในขณะที่คอนกรีตยังไม่แห้งตัว ทั้งๆที่แผ่นเหล็กกันดินทรุดนั้น ตามหลักการก่อสร้างแล้ว จะต้องฝังเป็นแนวขอบนอกเพื่อป้องกันดินทรุดตัว หรือหากจะใช้หล่อเป็นแบบคอนกรีตก็จะไม่แกะเหล็กแบบออก 

จากสภาพความเสียหายดังกล่าว ผู้สื่อข่าวได้สอบถามวิศวกรผู้เชี่ยวชาญงานโยธาท่านหนึ่ง ทำให้ทราบว่า โครงสร้างของเสาทางด่วนสายบางนา-ชลบุรีนั้น ใช้เทคนิค การเทคอนกรีตด้วยวิธีพิเศษแบบหนึ่ง เรียกว่า Prestress ซึ่งจะใช้วิธียืดเหล็กเพื่อเฉลี่ยการรับน้ำหนักของคอนกรีต เพื่อให้โครงสร้างของสิ่งปลูกสร้างมีขนาดเล็กลง ทั้งนี้จากการยืดเหล็กออกดังกล่าว จึงทำให้ผิวคอนกรีตมีโอกาสแตกได้หากเกิดแรงสั่นสะเทือนๆมาก เช่น บริเวณด้านบนของเสาที่ใกล้กับพื้นทางด่วน อย่างไรก็ตาม จากการสังเกตจากภาพความเสียหายที่ผู้สื่อข่าวบันทึกมานั้น วิศวกรผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวให้ความเห็นว่า เป็นรอยร้าวที่ไม่ควรเกิดขึ้น และรอยร้าวบางแห่งที่พบนั้น มีความเป็นไปได้ว่า อาจจะไม่ใช่ความเสียหายที่เกิดเฉพาะบนผิวเท่านั้น 

ผู้สื่อข่าวถามว่า รอยร้าวที่เกิดขึ้น น่าจะมาจากความบกพร่องของการออกแบบหรือขั้นตอนการก่อสร้าง วิศวกรผู้เชี่ยวชาญดังกล่าว ตอบว่า เป็นไปได้ทั้ง 2 กรณี อย่างไร ก็ตาม สาเหตุที่แท้จริง คงไม่สามารถระบุได้เพียงแค่การสังเกตจากตาเปล่า แต่การทางพิเศษฯ หรือผู้รับผิดชอบจะต้องรีบดำเนินการตรวจสอบด้วยวิธีการด้านเทคนิคต่อไป ทั้งนี้ ในเบื้องต้นยังไม่สามารถระบุได้ว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้น จะเกิดอันตรายต่อตัวโครงสร้างส่วนอื่นของทางด่วนหรือไม่ อย่างไรก็ตาม การอุดด้วยกาวซีเมนต์ หรือการสกัดผิวคอนกรีตออกที่ทำไปนั้น จะไม่ทำให้สภาพโครงสร้างดีขึ้นแต่อย่างใด แต่จะช่วยพรางหรือบดบังมิให้ เห็นร่องรอยที่เกิดขึ้นเท่านั้น 

สำหรับทางด่วนสายบางนา-ชลบุรี หรือทางด่วนบูรพาวิถี เริ่มเปิดใช้ตลอดสาย ตั้งแต่วันที่ 7 ก.พ. 2543 เป็นทางด่วนยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร ไป 3 กลับ 3 เริ่มจากปลายทางด่วนสายเฉลิมมหานคร หรือทางด่วน 1 บริเวณบางนา ไปสิ้นสุดที่จังหวัดชลบุรี รวมระยะทาง 55 กม. เริ่มอนุมัติโครงการเมื่อปี 2537 มีกิจการร่วมค้าบีบีซีดี ประกอบด้วย บริษัทบิลฟิงเกอร์ แอนด์ เบอร์เกอร์ฯ, บริษัท ช.การช่าง และบริษัท ดิคเกอร์ฮอฟ วิดแมน เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง แต่มาลงมือก่อสร้างจริงได้ในปี 2539 เนื่องจากมีปัญหาหลายอย่าง เช่น การเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ปัญหาน้ำท่วมใหญ่ในปี 2538 จนทำให้เกิดปัญหาในการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างล่าช้า ทำให้ต้องขยายเวลาก่อสร้างไปอีก 11 เดือน เป็นเหตุให้ผู้รับเหมาเรียกร้องค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเป็นเงินกว่า 4 พันล้านบาท กลายเป็นข้อพิพาทระหว่างบริษัทผู้รับเหมา กับการทางพิเศษฯมีการต่อสู้คดีทั้งในรูปตั้งคณะอนุญาโตตุลาการขึ้นมาชี้ขาด และการดำเนินการของศาลแพ่ง ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 30 ธ.ค. 2546 ให้การทางพิเศษฯ จ่ายเงินแก่ผู้รับเหมา รวมดอกเบี้ย เป็นเงินรวมทั้งสิ้นประมาณ 6 พันล้านบาท แต่รัฐบาลในขณะนั้นได้มอบหมายอัยการต่อสู้คดีต่อ และศาลฎีกามีกำหนดอ่านคำพิพากษาในวันที่ 15 ก.พ. 2550 นี้

-------------

ไม่ต้องวิตกกังวลค่ะ ประชาชนชาวไทย การก่อสร้างย่อมมีข้อบกพร่องบ้างเป็นธรรมดา สนามบินสุวรรณภูมิรันเวย์ร้าว ยังให้เครื่องบินขึ้นลงต่อไปได้ ค่อยๆซ่อมไป เรื่องเล็กค่ะ

ตอม่อทางด่วนแตกก็ไม่เป็นไร จ่ายเงินค่าใช้งานเต็มอัตรา ไม่มีการลดราคาเพราะมันร้าว พังแล้วก็รู้เองค่ะ เดี๋ยวเอาปูนตราช้างตราเสือตราอินทรีย์ตราจรเข้ ไปปะๆอุดๆไว้ ก็มองไม่เห็นแล้ว  อย่าตกใจค่ะ อย่าพูดมาก เดี๋ยวเค้าว่าพังเพราะทรายขี้ปาก ถ้าเราไม่พูด มันก็คงไม่พัง

ส่วนความรับผิดชอบนั้น คงไม่มีใครรับผิดชอบค่ะ แหม สนามบินเปิดใช้สี่เดือนพัง ยังหาคนรับผิดชอบไม่ได้ ทางด่วนเนี่ย ใช้มาตั้งสิบปีแล้วมั้ง มีแตกมีร้าวมั่งก็ธรรมดาค่ะ โบราณสถานก็แบบนี้แหละ

ส่วนท่านที่กลัวมันจะพังเมื่อขับรถผ่าน ก็อย่าประมาทนะคะ กลัวทางด่วนพัง ไม่จ่ายตังขึ้นไปวิ่ง วิ่งอยู่ข้างล่าง ถ้ามันพัง มันก็พังลงมาทับตายเหมือนกันค่ะ ไปใช้ทางมอร์เตร์เวย์ก็ได้นะคะ 
บันทึกการเข้า
AsianNeocon
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,277


中華萬歲﹗ LONG LIVE CHINA!


เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 14-02-2007, 19:14 »

ฟันธง ไม่ต้องมีใครรับผิดชอบ
บันทึกการเข้า

Kittinunn
Aloha007
Global Moderator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,127


ไปได้สวย...ด้วยเกียร์ต่ำ!!!


เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 14-02-2007, 19:55 »

กทพ. ยืนยันโครงสร้างทางพิเศษบูรพาวิถีมีความปลอดภัย
 


การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.)  กระทรวงคมนาคม  ยืนยันกรณีตรวจพบรอยร้าวบริเวณฐานรากของทางพิเศษบูรพาวิถี ไม่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างและการรับน้ำหนัก รวมถึงรอยร้าวดังกล่าวสามารถซ่อมแซมได้  โดยขณะนี้อยู่ระหว่างร่วมกับคณะที่ปรึกษาจากภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  สำรวจตรวจสอบ   ซึ่งทางคณะที่ปรึกษาฯ จะสรุปเรื่องพร้อมเสนอวิธีการซ่อมแซมให้  กทพ.  ภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์  2550 นี้

จากกรณีที่มีสื่อมวลชนนำเสนอข่าวรอยร้าวบริเวณฐานรากของทางพิเศษบูรพาวิถี   (ทางด่วนสายบางนา-ชลบุรี)  ว่าอาจส่งผลกระทบต่อโครงสร้างทางพิเศษฯ และความปลอดภัยของผู้ใช้บริการนั้น

นายเผชิญ  ไพโรจน์ศักดิ์  ผู้ว่าการ กทพ.  เปิดเผยรายละเอียดในเรื่องดังกล่าวว่า   ทางพิเศษบูรพาวิถี  ได้ก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2543  และตรวจพบรอยร้าวบริเวณฐานรากในปี 2543-2545  ซึ่งได้แจ้งบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้าง  (JV-BBCD)  ดำเนินการซ่อมแซม หลังจากนั้น กทพ. ได้ตรวจสอบโครงสร้างฯ อย่างต่อเนื่อง  แต่อย่างไรก็ตามปลายปี 2547  กทพ. ได้ตรวจพบรอยร้าวอีกจำนวนหนึ่งบริเวณฐานราก และได้ติดตามลักษณะของรอยร้าวที่พบมาโดยตลอด โดยเมื่อวันที่ 2  สิงหาคม 2548  กทพ. ได้ดำเนินการจ้างคณะที่ปรึกษาภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  เข้าทำการตรวจสอบและประเมินความแข็งแรงของโครงสร้าง ซึ่งทางที่ปรึกษาฯ  นำโดย  ดร.ชัยชาญ  สุทธิกานต์  และ  ดร.สุวิมล  สัจจวนิชย์  ได้รายงานผลการตรวจสอบเบื้องต้น  โดยได้สำรวจฐานรากที่อยู่เหนือดิน จำนวน 584 ฐาน  จากฐานรากทั้งหมดที่มีอยู่เหนือดินและใต้ดินจำนวน  1,278  ฐาน  จำแนกรอยร้าวได้  3  ระดับ  ดังนี้

               ระดับที่ 1        มีความเสียหายมาก (รอยร้าวยาวมากกว่า 0.50 เมตร กว้างมากกว่า 0.1 มิลลิเมตร)  จำนวน 130  ฐาน แบ่งเป็น
                                       - 39 ฐาน  รอยร้าวลึกน้อยกว่า 20 เซนติเมตร
                                       - 26 ฐาน รอยร้าวลึกระหว่าง 20-25 เซนติเมตร
                                       - 65 ฐาน รอยร้าวลึกมากกว่า 25 เซนติเมตร
               ระดับที่ 2        มีความเสียหายน้อยกว่าระดับ 1  จำนวน 229  ฐาน
               ระดับที่ 3        เกือบไม่มีรอยร้าว จำนวน 38 ฐาน
               สภาพดี           ไม่มีรอยร้าว จำนวน 139 ฐาน
               สำรวจไม่ได้    เพราะอยู่ในน้ำ  จำนวน  48  ฐาน

สาเหตุรอยร้าวคาดว่า อาจเกิดจากการควบคุมอุณหภูมิขณะเทคอนกรีตไม่ใช่สาเหตุมาจากการรับน้ำหนักเนื่องจากการใช้งาน

ทั้งนี้ ที่ปรึกษาฯ  ยืนยันว่ารอยร้าวบริเวณฐานรากดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อโครงสร้างยังคงรับน้ำหนักได้เพราะคอนกรีตมีกำลัง (Strength)  เกินค่าที่ออกแบบไว้และการเสริมเหล็กก็เพียงพอ สำหรับการซ่อมแซมรอยร้าว ที่ปรึกษาได้เสนอให้มีการซ่อมแซมโดยใช้กาว Epoxy อัดฉาบปิดรอยร้าวดังกล่าวได้  ยกเว้นรอยร้าวที่ลึกกว่า 25 เซนติเมตร ที่ปรึกษาจะนำเสนอวิธีการซ่อมแซมภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2550

ดังนั้น  ผู้ใช้บริการทางพิเศษบูรพาวิถีจึงมั่นใจได้ว่าทางพิเศษบูรพาวิถียังคงมีความปลอดภัยในการใช้งานตามมาตรฐานด้านความปลอดภัยทุกประการ

http://www.eta.co.th/eng/news/news_week_1.php?NewsID=321

  เอาข่าวพี.อาร์.มาฝากครับ
บันทึกการเข้า

“ผมเขียนไปในบล็อกนั้น แบบข้างบนนี้เหมือนกัน นึกว่า จะโพสต์ ปรากฏว่า เขาบอกว่า ต้อง สมัครสมาชิกก่อน ผมขี้เกียจ เลยมาโพสต์ที่นี่แทน อ้อ ตอนเขียน ผมใส่คำว่า ทุเรศ และ น่าสมเพช ไปด้วย” (อ.สมศักดิ์ เจียมธีระสกุล-เว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน - ข้อความในเสรีไทย โดย Snowflake)

AsianNeocon
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,277


中華萬歲﹗ LONG LIVE CHINA!


เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 14-02-2007, 20:02 »

อันนี้ยังมั่นใจกว่า เพราะมีผู้ว่าการฯ คณะที่ปรึกษาฯ ออกมายืนยันว่า "ปลอดภัย" แต่ของสนามบินนั่น พอถูกทวงถามว่า ให้ยืนยัน รับประกัน ให้หน่อย ไม่กล้าสักคน
บันทึกการเข้า

ริวเซย์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4,637


Worrior in The Blue Armor


เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 14-02-2007, 22:44 »

ไอ้พวกกินหินกินทรายตามเคย เมื่อไหร่ชาติบ้านเมืองจะปลอดจากไอ้กระจั๊วะพวกนี้สักที
บันทึกการเข้า

ถ้ามีแฟนแบบนี้เอาไหมครับ^^


jrr.
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 670


« ตอบ #5 เมื่อ: 15-02-2007, 00:28 »

นึกว่าเป็นรอยแตกร้าว...ทางเทคนิค !!!

จำไม่ได้ ใครพูดคำนี้....อยากเบิร์ดมันจริงๆ พับผ่า !!!
บันทึกการเข้า
so what?
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,729


« ตอบ #6 เมื่อ: 15-02-2007, 00:57 »

ในฐานะผู้มีส่วนร่วมในโครงการคนหนึ่ง กล้าพูดเต็มปากว่าการออกแบบไม่มีปัญหาครับ   

เหล็กเสริมที่เห็น มากเกินกว่าที่ควรจะเป็นในหลายๆจุด ทั้งในส่วนของตอม่อ และฐานราก ปัญหาคงมาจากการควบคุมคอนกรีตในช่วงก่อสร้าง ซึ่งเกิดได้ในทุกๆโครงการครับ ซึ่งถ้าเทียบกับปัญหาสนามบินแล้ว อันนี้ nothing ครับ เพราะถ้าโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กแบบนี้จะพัง มันจะไม่มีโอกาสแสดงอาการให้เห็นแบบนี้หรอกครับ พอมันแตกร้าวได้นิดหน่อยก็พังโครมแล้ว เพราะแรงอัดมากขนาดนั้น เชื่อว่าปูนที่แตกกระเทาะหรือร้าวคงเป็นแค่ส่วนผิว แต่รอย crack อาจผ่านเหล็กเสริมเข้าไป อันนี้ก็แก้ได้โยการใช้ epoxy อัดเข้าไป

แต่ที่แน่ๆ การก่อสร้างของโครงการนี้ไม่ควรจะเกิดขึ้นตั้งแต่แรกแล้ว เพราะการทางพิเศษฯ ขาดทุนย่อยยับก็จากงานนี้ ลงทุนไปสามสี่หมื่นล้าน พอเปิดโครงการเก็บค่าผ่านทางได้วันละแปดแสนกว่าบาท ลองไปถามท่านพลเอกเชาวลิตดูแล้วกนครับ ว่าโครงการนี้อนุมัติได้ยังไงในสมัยที่ท่านเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยดูแล กทพ. ในสมัยรัฐบาลชวน 1 ทั้งๆที่ feasibility study น่าเกลียดแบบนั้น   Mr. Green Laughing Mr. Green
บันทึกการเข้า
ดอกฟ้ากับหมาวัด
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,042



« ตอบ #7 เมื่อ: 15-02-2007, 01:06 »

นึกว่าเป็นรอยแตกร้าว...ทางเทคนิค !!!

จำไม่ได้ ใครพูดคำนี้....อยากเบิร์ดมันจริงๆ พับผ่า !!!

ทำแบบนี้ใช่ป่าว อิ อิ.... ก็อยากเหมือนกัน


บันทึกการเข้า

***ผู้ยิ่งใหญ่ในแผ่นดินเปรียบเสมือนเรือ ประชาชนเปรียบเสมือนน้ำ

      น้ำพยุงเรือให้แล่นไปได้ และน้ำก็จมเรือได้เช่นกัน***
Şiłąncē Mőbiuş
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,215



เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 15-02-2007, 17:14 »

นึกว่าเป็นรอยแตกร้าว...ทางเทคนิค !!!

จำไม่ได้ ใครพูดคำนี้....อยากเบิร์ดมันจริงๆ พับผ่า !!!

ทำแบบนี้ใช่ป่าว อิ อิ.... ก็อยากเหมือนกัน




555 ไปเอามาจากไหนเนี่ย

ชอบอ่ะ 
บันทึกการเข้า



“People should not be afraid of their governments. Governments should be afraid of their people.”

. “ประชาชนไม่ควรกลัวรัฐบาลของตนเอง รัฐบาลต่างหากที่ควรกลัวประชาชน” .

. แวะไปเยี่ยมกันได้ที่ http://silance-mobius.blogspot.com/ นะครับ .
หน้า: [1]
    กระโดดไป: