ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
11-01-2025, 18:56
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  สิ้น!รัฐบาลทักษิณ โฮมสเตย์อวสาน 0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
สิ้น!รัฐบาลทักษิณ โฮมสเตย์อวสาน  (อ่าน 1572 ครั้ง)
สมาชิกพรรคสุขนิยม
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 63


« เมื่อ: 06-02-2007, 22:02 »

สิ้น!รัฐบาลทักษิณ โฮมสเตย์อวสาน [6 ก.พ. 50 - 17:30]

"โฮมสเตย์" เป็นหนึ่งในโครงการที่รัฐบาลชุดก่อนเคยให้การส่งเสริม แต่วันนี้มีทีท่าว่ารัฐบาลชุดนี้ไม่เอาด้วย ปล่อยให้นับถอยหลังอวสานไปเอง
การท่องเที่ยวรูปแบบโฮมสเตย์ (Home Stay) ซึ่งเน้นการได้เข้าไปสัมผัสเรียนรู้วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวบ้านในชนบท โดยการไปพักอาศัยอยู่กินร่วมกับเจ้าของวัฒนธรรมในชุมชน เป็นโครงการที่แจ้งเกิดและเคยเรืองรองในยุครัฐบาลทักษิณ

เป้าหมายหลักของโครงการ นอกจากหวังส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวที่นิยมธรรมชาติหรือสนใจศิลปะวัฒนธรรมท้องถิ่น มีโอกาสได้สัมผัสซึมซับกลิ่นอายร่วมกับเจ้าของวัฒนธรรมอย่างใกล้ชิดแล้ว

รัฐบาลชุดก่อน ยังหวังใช้โฮมสเตย์ช่วยโปรโมตสินค้าโอทอป
หลายปีที่ผ่านมา การท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ขยายตัวไปทั่วประเทศ แต่เป็นที่น่าสังเกต มักประสบความสำเร็จในจังหวัดที่ยังไม่มีโรงแรมขนาดใหญ่ ไปตั้ง ทั้งที่จังหวัดนั้นมีศักยภาพในการท่องเที่ยว

กลุ่มลูกค้ากว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของโฮมสเตย์คือ นักท่องเที่ยวชาวไทย ที่เหลือเป็นชาวต่างชาติที่หลงใหลการท่องเที่ยวและพักผ่อนลักษณะนี้ โดยเฉพาะชาวฝรั่งเศส สเปน ออสเตรเลีย อเมริกา และญี่ปุ่น

โดยหลักการแล้ว แม้โฮมสเตย์จะช่วยเพิ่มรายได้ให้ชุมชน หรือสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้เข้มแข็งขึ้น แต่จะต้องไม่เน้นหนักในเชิงธุรกิจอย่างออกหน้า

เสน่ห์ที่เป็นจุดขายแท้จริงของโฮมสเตย์อยู่ที่ชาวบ้าน ต้องไม่เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเดิมของตนที่มีอยู่ หรือพูดอีกอย่าง มีจุดขายอะไร ก็ขายทั้งสภาพดิบๆ...ทั้งยังให้ชาวบ้าน ระดับรากหญ้ามีรายได้เสริมจากอาชีพดั้งเดิมหรือการเกษตร ซึ่งเป็นอาชีพหลัก

ที่สำคัญ...รัฐบาลชุดก่อน ยังหวังให้โฮมสเตย์เป็นฟันเฟืองผลักดัน ให้เมืองไทยผงาดขึ้นมาเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียน

ในสังคมชนบท การที่ชาวบ้านมีรายได้เสริมเพิ่มขึ้นมาเดือนละ 1,000-2,000 บาท ต่อครัวเรือน เทียบกับความเป็นอยู่เดิมที่มีแต่รายได้จากการทำนาหรือหัตถกรรม ถือเป็นน้ำเลี้ยงที่ช่วยให้พวกเขามีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

นอกจากรายได้ส่วนที่นักท่องเที่ยวไปพักและอยู่กินกับโฮมสเตย์ ชาวบ้านยังมีรายได้จากการนำวัตถุดิบในท้องถิ่นมาเพิ่มมูลค่า ผลิตหรือแปรรูปเป็นของฝาก ของที่ระลึก ขายให้นักท่องเที่ยว ช่วยเพิ่มรายได้ให้อีกส่วน

แต่หลังจากรัฐบาลมีการผลัดใบขั้วอำนาจ ทุกวันนี้นอกจาก “โฮมสเตย์” หลายแห่งขาดการเหลียวแลจากผู้บริหารประเทศ ยังถูกปล่อยปละให้มีชะตากรรมไม่ต่างกับ ขยะ ที่รอวันบูดเน่าสูญสลายหายไปเอง

แม้แต่โฮมสเตย์ทั้ง 36 แห่ง ที่ ผ่านเกณฑ์มาตรฐานชี้วัดระดับชาติ (Home Stay Standard) ทั้งด้านที่พัก อาหาร ความปลอดภัย การจัดการ กิจกรรมท่องเที่ยว สภาพแวดล้อม ฯลฯ จาก สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

...ก็ล้วนมีชะตากรรมเดียวกันทั้งประเทศ

นพ.สุขสันติ พักธรรมนัก ผู้อำนวยการโรงพยาบาลค่ายบางระจัน ที่ปรึกษาโครงการโฮมสเตย์ “บ้านท่าข้าม” อ.ค่ายบางระจัน จ.สิงห์บุรี หนึ่งในโฮมสเตย์ที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานชี้วัดระดับชาติ เล่าให้ฟังว่า

โฮมสเตย์บ้านท่าข้ามถือกำเนิดจากการรวมตัวของชาวบ้านในชุมชน ซึ่งมีบ้านเรือนตั้งอยู่ริมแม่น้ำน้อย จำนวน 20 หลัง ภายใต้การสนับสนุนจากโรงพยาบาลค่ายบางระจัน อบต.ท่าข้าม อำเภอค่ายบางระจัน สำนักงานเกษตรอำเภอฯ สำนักงาน ททท.ภาคกลาง เขต 7 และสำนักพัฒนาการท่องเที่ยว

“เราพยายามดึงศักยภาพที่มีมาเน้นให้น่าสนใจและแตกต่างจากที่อื่น”

คุณหมอสุขสันติว่า

กิจกรรมหลัก มีให้เลือกทั้ง การจัดทัวร์สุขภาพตรวจเช็กร่างกาย ร่วมกับ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และ การเกษตร หรือจะเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง

รูปแบบกิจกรรม ประกอบด้วยการนอนค้างคืนและทานอาหารร่วมกับเจ้าของบ้าน (อาหารเย็น 1 มื้อ อาหารเช้า 1 มื้อ) ของใส่บาตรพระเช้า พาเยี่ยมชมเครื่องอัฐบริขาร เมื่อครั้งที่ ร. 5 เสด็จประพาสต้นแม่น้ำน้อย และได้ทรงถวายเครื่องอัฐบริขารแด่หลวงพ่อเพื่อน อดีตเจ้าอาวาสวัดกลางท่าข้าม สมัยเมื่อ 100 กว่าปีก่อน ซึ่งปัจจุบันหาดูที่อื่นได้ยาก

ต่อด้วยการพาชมของใช้พื้นบ้านในอดีต เช่น ตะเกียงรั้ว เครื่องสีฝัดข้าว ลอบ ไซ เบ็ด ชันโลง ไม้คานหางหงส์ กระบุง ตะกร้า ปฏัก คันไถ ปืนแก๊ป ฉมวก หน้าไม้ ครก เก้าอี้นั่งตัดผม รถจักรยานโบราณ ฯลฯ

ข้าวของแต่ละชิ้นล้วนสะท้อนวิถีชีวิตชุมชนภาคกลาง ชนิดที่คนรุ่นใหม่ ไม่มีโอกาสได้เห็น หรือเคยได้ยินเพียงแค่ชื่อ

นอกจากนี้ กรณีที่นักท่องเที่ยวประสงค์จะชมการแสดงพิเศษ ซึ่งเป็นศิลปะวัฒนธรรมพื้นบ้านเก่าแก่ของชาวชุมชนท่าข้าม เช่น การรำโทน รำกลองยาว และเพลงกล่อมลูก ตามแบบฉบับของ ชาวบ้านบางระจัน

หรืออยากล่องเรือชมวิถีชีวิตชุมชนเก่าริม 2 ฝั่งแม่น้ำน้อย โฮมสเตย์บ้านท่าข้ามก็จัดให้ได้

คุณหมอสุขสันติบอกว่า การได้ร่วมกินอาหารกับเจ้าของบ้านโฮมสเตย์ และพูดคุยกับชาวบ้านในละแวกนั้น ทำให้เกิดการไต่ถามสารทุกข์สุกดิบ แลกเปลี่ยนเรียนรู้วิถีชีวิตขนบธรรมเนียมประเพณีที่แตกต่างซึ่งกันและกัน

สิ่งเหล่านี้นำมาซึ่งความภาคภูมิใจของเจ้าของบ้านและคนในชุมชน ทำให้ พวกเขามีกำลังใจ และอยากอนุรักษ์คุณค่าความดีงามที่สั่งสมมาแต่ครั้งบรรพชน

“ผมเคยคุยกับผู้ที่มาพักโฮมสเตย์ครอบครัวหนึ่ง หัวหน้าครอบครัวเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนเอกชนมีชื่อในกรุงเทพฯ เขาต้องการให้สมาชิกในครอบครัวมาสัมผัสชีวิตในชนบท หรือพูดง่ายๆ อยากให้ลูกติดดิน”

“สิ่งที่ครอบครัวนี้ได้รับกลับไป ไม่เพียงได้เห็นชีวิตความเป็นอยู่ของครอบครัวขยายซึ่งมีบุคคลหลายวัย ทั้งพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย และลูกหลานรวมอยู่ในบ้านเดียวกัน ซึ่งเดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมีให้เห็น ยังได้เห็นวิถีการทำมาหากิน ความเหนื่อยยากของครอบครัวชนบท การกิน การนอน เช่น กินอาหารเท่าที่ หาได้ และนอนในมุ้ง ไม่มีแอร์ มีแต่ลมเย็นธรรมชาติ”

สิ่งเหล่านี้ ชีวิตคนเมืองที่เคยชินกับความสุขสบายและสิ่งอำนวยความสะดวก น้อยนักที่จะมีโอกาสได้เห็นหรือสัมผัส

เมื่อพวกเขาได้มาเห็นถึงความเป็นอยู่ที่แตกต่าง อาจเป็นแรงบันดาลใจติดตัวกลับไป ให้ตั้งใจเรียน ตั้งใจทำมาหากิน หรือใช้เงินอย่างรู้คุณค่ามากขึ้น

คุณหมอบอกว่า นับแต่กิจการโฮมสเตย์บ้านท่าข้ามเปิดดำเนินการเมื่อปี 2547 ดำเนินการอย่างราบรื่นมาตลอด จนกระทั่งย่างเข้าสู่ปี 2549 จนถึงขณะนี้ เหตุการณ์กลับตาลปัตร

จากที่เคยมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติผลัดเปลี่ยนกันไปพัก กลายเป็นไร้เงาผู้มาเยือน จนทุกวันนี้มีสภาพเหมือน...โฮมสเตย์ร้าง
เจ้าของบ้านทั้ง 20 หลังในชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ ยังมีไฟหรือใจรักที่จะทำต่อ บางรายถึงขนาดอยากให้จัดตั้งเป็นเครือข่ายประสานงานโฮมสเตย์ทั่วประเทศ แต่ติดขัดตรงทุกวันนี้ ภาครัฐไม่ยอมส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ให้เหมือนที่ผ่านมา

ลำพังชาวบ้านในชุมชน ไม่มีขีดความสามารถหรืองบประมาณพอที่จะไปทำแผนประชาสัมพันธ์หรือส่งเสริมการตลาด ดังเช่นธุรกิจท่องเที่ยวทั่วไป

“การมานอนพัก 1 คืน และกินอาหาร 2 มื้อ เจ้าของบ้านโฮมสเตย์จะเหลือรายได้หลังหักค่าใช้จ่าย อย่างมากหัวละไม่เกิน 100 บาท เดือนหนึ่งมีแขกเข้าพัก บ้านละไม่เกิน 20 คน พวกเขามีรายได้เสริมแค่ 2,000 บาท รายได้แค่นี้จะเอาไปวางแผนประชาสัมพันธ์ทำการตลาดสู้กับใครได้” นพ.สุขสันติชี้ปัญหา

ยิ่งไปกว่านั้น เวลาที่หน่วยราชการในจังหวัดได้รับการประสานมาว่า จะมีกลุ่มคณะผู้ศึกษาดูงานหรือนักท่องเที่ยว ไปประชุมสัมมนาและพักค้างคืนที่ จ.สิงห์บุรี

ที่ผ่านมา มีคณะศึกษาดูงานจาก จ.ปัตตานี กลุ่มใหญ่ 2 คันรถบัส ต้องการมาศึกษาวิถีชีวิตคนภาคกลาง ที่ จ.สิงห์บุรี แทนที่ทางจังหวัดซึ่งเป็นผู้ประสานงาน จะพาผู้มาเยือนคณะนี้ไปนอนพักค้างแรมที่โฮมสเตย์ กลับส่งให้ไปนอนพักที่รีสอร์ตแห่งหนึ่ง

คุณหมอสุขสันติทิ้งท้ายว่า

“ตราบใดที่ความอยู่รอดของโฮมสเตย์เชื่อมโยง กับความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของคนชนบทในหลายพื้นที่ ขืนปล่อยให้โฮมสเตย์มีสภาพเหมือนซากขยะที่ถูกทิ้งร้าง ย่อมไม่ต่างกับการบดขยี้หัวใจของใครอีกหลายคน”
ที่มา http://www.thairath.co.th/news.php?section=hotnews02&content=35912

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06-02-2007, 22:49 โดย RiDKuN » บันทึกการเข้า
ริวเซย์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4,637


Worrior in The Blue Armor


เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 06-02-2007, 22:13 »

เห็นใจมากครับสำหรับเรื่องธุรกิจปากท้องของชาวท้องถิ่น อยากให้ร้องเรียนไปทางรัฐบาลดูนะครับ
บันทึกการเข้า

ถ้ามีแฟนแบบนี้เอาไหมครับ^^


ลับ ลวง พราง
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 945



« ตอบ #2 เมื่อ: 06-02-2007, 23:51 »

นี่แหละผลงานไอ้แม้ว ทำอะไรฉาบฉวย หาเสียงไปวันๆ ไม่เคยสร้างรากฐานให้กับชาติบ้านเมืองเลย
บันทึกการเข้า

"คนฟุ่มเฟือย แม้จะรวยก็มักขัดสน คนประหยัด แม้จะจนก็มักมีเหลือเก็บ"
login not found
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,523



« ตอบ #3 เมื่อ: 07-02-2007, 01:19 »

สิ้น!รัฐบาลทักษิณ โฮมสเตย์อวสาน [6 ก.พ. 50 - 17:30]

"โฮมสเตย์" เป็นหนึ่งในโครงการที่รัฐบาลชุดก่อนเคยให้การส่งเสริม แต่วันนี้มีทีท่าว่ารัฐบาลชุดนี้ไม่เอาด้วย ปล่อยให้นับถอยหลังอวสานไปเอง
การท่องเที่ยวรูปแบบโฮมสเตย์ (Home Stay) ซึ่งเน้นการได้เข้าไปสัมผัสเรียนรู้วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวบ้านในชนบท โดยการไปพักอาศัยอยู่กินร่วมกับเจ้าของวัฒนธรรมในชุมชน เป็นโครงการที่แจ้งเกิดและเคยเรืองรองในยุครัฐบาลทักษิณ

เขาไม่พูดถึงมันแปลว่าไม่สนับสนุนหรือไง สมัยแม้วมันก็หลุดปากออกมาทีเดียว นอกนั้นไม่เห็นจะไปสนุบสนุนเขาตอนไหน

เป้าหมายหลักของโครงการ นอกจากหวังส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวที่นิยมธรรมชาติหรือสนใจศิลปะวัฒนธรรมท้องถิ่น มีโอกาสได้สัมผัสซึมซับกลิ่นอายร่วมกับเจ้าของวัฒนธรรมอย่างใกล้ชิดแล้ว

รัฐบาลชุดก่อน ยังหวังใช้โฮมสเตย์ช่วยโปรโมตสินค้าโอทอป
หลายปีที่ผ่านมา การท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ขยายตัวไปทั่วประเทศ แต่เป็นที่น่าสังเกต มักประสบความสำเร็จในจังหวัดที่ยังไม่มีโรงแรมขนาดใหญ่ ไปตั้ง ทั้งที่จังหวัดนั้นมีศักยภาพในการท่องเที่ยว

มันเกี่ยวกันที่ไหน โฮมสเตย์ต้องมาจากวัฒนธรรมในท้องถิ่นน่าศึกษา ไม่เกี่ยวกับมีโรงแรมหรือไม่

กลุ่มลูกค้ากว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของโฮมสเตย์คือ นักท่องเที่ยวชาวไทย ที่เหลือเป็นชาวต่างชาติที่หลงใหลการท่องเที่ยวและพักผ่อนลักษณะนี้ โดยเฉพาะชาวฝรั่งเศส สเปน ออสเตรเลีย อเมริกา และญี่ปุ่น

โดยหลักการแล้ว แม้โฮมสเตย์จะช่วยเพิ่มรายได้ให้ชุมชน หรือสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้เข้มแข็งขึ้น แต่จะต้องไม่เน้นหนักในเชิงธุรกิจอย่างออกหน้า

เสน่ห์ที่เป็นจุดขายแท้จริงของโฮมสเตย์อยู่ที่ชาวบ้าน ต้องไม่เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเดิมของตนที่มีอยู่ หรือพูดอีกอย่าง มีจุดขายอะไร ก็ขายทั้งสภาพดิบๆ...ทั้งยังให้ชาวบ้าน ระดับรากหญ้ามีรายได้เสริมจากอาชีพดั้งเดิมหรือการเกษตร ซึ่งเป็นอาชีพหลัก

ที่สำคัญ...รัฐบาลชุดก่อน ยังหวังให้โฮมสเตย์เป็นฟันเฟืองผลักดัน ให้เมืองไทยผงาดขึ้นมาเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียน

ในสังคมชนบท การที่ชาวบ้านมีรายได้เสริมเพิ่มขึ้นมาเดือนละ 1,000-2,000 บาท ต่อครัวเรือน เทียบกับความเป็นอยู่เดิมที่มีแต่รายได้จากการทำนาหรือหัตถกรรม ถือเป็นน้ำเลี้ยงที่ช่วยให้พวกเขามีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

นอกจากรายได้ส่วนที่นักท่องเที่ยวไปพักและอยู่กินกับโฮมสเตย์ ชาวบ้านยังมีรายได้จากการนำวัตถุดิบในท้องถิ่นมาเพิ่มมูลค่า ผลิตหรือแปรรูปเป็นของฝาก ของที่ระลึก ขายให้นักท่องเที่ยว ช่วยเพิ่มรายได้ให้อีกส่วน


555 เห็นแต่แม้วมันบอกให้ทำตัวเป็นโฮมสเตย์ แต่ก่อนไม่แต่งแม้ว พอทำโฮมสเตย์แต่งแม้วกันทั้งหมู่บ้าน เอาของมาขายนักท่องเที่ยว แทบจะไม่มีวัฒนธรรมจริงๆมีแต่วัฒนธรรมเพื่อขาย ถ้าจะไปอยู่แบบโฮมสเตย์นะ ต้องไปที่ที่รัฐไม่เข้าไปยุ่งด้วยต่างหาก

แต่หลังจากรัฐบาลมีการผลัดใบขั้วอำนาจ ทุกวันนี้นอกจาก “โฮมสเตย์” หลายแห่งขาดการเหลียวแลจากผู้บริหารประเทศ ยังถูกปล่อยปละให้มีชะตากรรมไม่ต่างกับ ขยะ ที่รอวันบูดเน่าสูญสลายหายไปเอง

แม้แต่โฮมสเตย์ทั้ง 36 แห่ง ที่ ผ่านเกณฑ์มาตรฐานชี้วัดระดับชาติ (Home Stay Standard) ทั้งด้านที่พัก อาหาร ความปลอดภัย การจัดการ กิจกรรมท่องเที่ยว สภาพแวดล้อม ฯลฯ จาก สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

...ก็ล้วนมีชะตากรรมเดียวกันทั้งประเทศ

นพ.สุขสันติ พักธรรมนัก ผู้อำนวยการโรงพยาบาลค่ายบางระจัน ที่ปรึกษาโครงการโฮมสเตย์ “บ้านท่าข้าม” อ.ค่ายบางระจัน จ.สิงห์บุรี หนึ่งในโฮมสเตย์ที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานชี้วัดระดับชาติ เล่าให้ฟังว่า

โฮมสเตย์บ้านท่าข้ามถือกำเนิดจากการรวมตัวของชาวบ้านในชุมชน ซึ่งมีบ้านเรือนตั้งอยู่ริมแม่น้ำน้อย จำนวน 20 หลัง ภายใต้การสนับสนุนจากโรงพยาบาลค่ายบางระจัน อบต.ท่าข้าม อำเภอค่ายบางระจัน สำนักงานเกษตรอำเภอฯ สำนักงาน ททท.ภาคกลาง เขต 7 และสำนักพัฒนาการท่องเที่ยว

“เราพยายามดึงศักยภาพที่มีมาเน้นให้น่าสนใจและแตกต่างจากที่อื่น”

คุณหมอสุขสันติว่า

กิจกรรมหลัก มีให้เลือกทั้ง การจัดทัวร์สุขภาพตรวจเช็กร่างกาย ร่วมกับ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และ การเกษตร หรือจะเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง

รูปแบบกิจกรรม ประกอบด้วยการนอนค้างคืนและทานอาหารร่วมกับเจ้าของบ้าน (อาหารเย็น 1 มื้อ อาหารเช้า 1 มื้อ) ของใส่บาตรพระเช้า พาเยี่ยมชมเครื่องอัฐบริขาร เมื่อครั้งที่ ร. 5 เสด็จประพาสต้นแม่น้ำน้อย และได้ทรงถวายเครื่องอัฐบริขารแด่หลวงพ่อเพื่อน อดีตเจ้าอาวาสวัดกลางท่าข้าม สมัยเมื่อ 100 กว่าปีก่อน ซึ่งปัจจุบันหาดูที่อื่นได้ยาก

ต่อด้วยการพาชมของใช้พื้นบ้านในอดีต เช่น ตะเกียงรั้ว เครื่องสีฝัดข้าว ลอบ ไซ เบ็ด ชันโลง ไม้คานหางหงส์ กระบุง ตะกร้า ปฏัก คันไถ ปืนแก๊ป ฉมวก หน้าไม้ ครก เก้าอี้นั่งตัดผม รถจักรยานโบราณ ฯลฯ

ข้าวของแต่ละชิ้นล้วนสะท้อนวิถีชีวิตชุมชนภาคกลาง ชนิดที่คนรุ่นใหม่ ไม่มีโอกาสได้เห็น หรือเคยได้ยินเพียงแค่ชื่อ

นอกจากนี้ กรณีที่นักท่องเที่ยวประสงค์จะชมการแสดงพิเศษ ซึ่งเป็นศิลปะวัฒนธรรมพื้นบ้านเก่าแก่ของชาวชุมชนท่าข้าม เช่น การรำโทน รำกลองยาว และเพลงกล่อมลูก ตามแบบฉบับของ ชาวบ้านบางระจัน

หรืออยากล่องเรือชมวิถีชีวิตชุมชนเก่าริม 2 ฝั่งแม่น้ำน้อย โฮมสเตย์บ้านท่าข้ามก็จัดให้ได้

คุณหมอสุขสันติบอกว่า การได้ร่วมกินอาหารกับเจ้าของบ้านโฮมสเตย์ และพูดคุยกับชาวบ้านในละแวกนั้น ทำให้เกิดการไต่ถามสารทุกข์สุกดิบ แลกเปลี่ยนเรียนรู้วิถีชีวิตขนบธรรมเนียมประเพณีที่แตกต่างซึ่งกันและกัน

สิ่งเหล่านี้นำมาซึ่งความภาคภูมิใจของเจ้าของบ้านและคนในชุมชน ทำให้ พวกเขามีกำลังใจ และอยากอนุรักษ์คุณค่าความดีงามที่สั่งสมมาแต่ครั้งบรรพชน

“ผมเคยคุยกับผู้ที่มาพักโฮมสเตย์ครอบครัวหนึ่ง หัวหน้าครอบครัวเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนเอกชนมีชื่อในกรุงเทพฯ เขาต้องการให้สมาชิกในครอบครัวมาสัมผัสชีวิตในชนบท หรือพูดง่ายๆ อยากให้ลูกติดดิน”

“สิ่งที่ครอบครัวนี้ได้รับกลับไป ไม่เพียงได้เห็นชีวิตความเป็นอยู่ของครอบครัวขยายซึ่งมีบุคคลหลายวัย ทั้งพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย และลูกหลานรวมอยู่ในบ้านเดียวกัน ซึ่งเดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมีให้เห็น ยังได้เห็นวิถีการทำมาหากิน ความเหนื่อยยากของครอบครัวชนบท การกิน การนอน เช่น กินอาหารเท่าที่ หาได้ และนอนในมุ้ง ไม่มีแอร์ มีแต่ลมเย็นธรรมชาติ”

สิ่งเหล่านี้ ชีวิตคนเมืองที่เคยชินกับความสุขสบายและสิ่งอำนวยความสะดวก น้อยนักที่จะมีโอกาสได้เห็นหรือสัมผัส

เมื่อพวกเขาได้มาเห็นถึงความเป็นอยู่ที่แตกต่าง อาจเป็นแรงบันดาลใจติดตัวกลับไป ให้ตั้งใจเรียน ตั้งใจทำมาหากิน หรือใช้เงินอย่างรู้คุณค่ามากขึ้น

คุณหมอบอกว่า นับแต่กิจการโฮมสเตย์บ้านท่าข้ามเปิดดำเนินการเมื่อปี 2547 ดำเนินการอย่างราบรื่นมาตลอด จนกระทั่งย่างเข้าสู่ปี 2549 จนถึงขณะนี้ เหตุการณ์กลับตาลปัตร

จากที่เคยมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติผลัดเปลี่ยนกันไปพัก กลายเป็นไร้เงาผู้มาเยือน จนทุกวันนี้มีสภาพเหมือน...โฮมสเตย์ร้าง
เจ้าของบ้านทั้ง 20 หลังในชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ ยังมีไฟหรือใจรักที่จะทำต่อ บางรายถึงขนาดอยากให้จัดตั้งเป็นเครือข่ายประสานงานโฮมสเตย์ทั่วประเทศ แต่ติดขัดตรงทุกวันนี้ ภาครัฐไม่ยอมส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ให้เหมือนที่ผ่านมา

ลำพังชาวบ้านในชุมชน ไม่มีขีดความสามารถหรืองบประมาณพอที่จะไปทำแผนประชาสัมพันธ์หรือส่งเสริมการตลาด ดังเช่นธุรกิจท่องเที่ยวทั่วไป

“การมานอนพัก 1 คืน และกินอาหาร 2 มื้อ เจ้าของบ้านโฮมสเตย์จะเหลือรายได้หลังหักค่าใช้จ่าย อย่างมากหัวละไม่เกิน 100 บาท เดือนหนึ่งมีแขกเข้าพัก บ้านละไม่เกิน 20 คน พวกเขามีรายได้เสริมแค่ 2,000 บาท รายได้แค่นี้จะเอาไปวางแผนประชาสัมพันธ์ทำการตลาดสู้กับใครได้” นพ.สุขสันติชี้ปัญหา

ยิ่งไปกว่านั้น เวลาที่หน่วยราชการในจังหวัดได้รับการประสานมาว่า จะมีกลุ่มคณะผู้ศึกษาดูงานหรือนักท่องเที่ยว ไปประชุมสัมมนาและพักค้างคืนที่ จ.สิงห์บุรี

ที่ผ่านมา มีคณะศึกษาดูงานจาก จ.ปัตตานี กลุ่มใหญ่ 2 คันรถบัส ต้องการมาศึกษาวิถีชีวิตคนภาคกลาง ที่ จ.สิงห์บุรี แทนที่ทางจังหวัดซึ่งเป็นผู้ประสานงาน จะพาผู้มาเยือนคณะนี้ไปนอนพักค้างแรมที่โฮมสเตย์ กลับส่งให้ไปนอนพักที่รีสอร์ตแห่งหนึ่ง

คุณหมอสุขสันติทิ้งท้ายว่า

“ตราบใดที่ความอยู่รอดของโฮมสเตย์เชื่อมโยง กับความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของคนชนบทในหลายพื้นที่ ขืนปล่อยให้โฮมสเตย์มีสภาพเหมือนซากขยะที่ถูกทิ้งร้าง ย่อมไม่ต่างกับการบดขยี้หัวใจของใครอีกหลายคน”
ที่มา http://www.thairath.co.th/news.php?section=hotnews02&content=35912

แล้วชีวิตปกติของชาวบ้านไปอยู่ที่ไหนครับ ชีวิตที่ชาวบ้านกินอยู่ ก่อนที่จะโฆษณาทำเป็นโฮมสเตย์ หรือเหลือเพียงแต่ชีวิตที่เอาไว้ขายเท่านั้น

ดูเอานะครับ ความจริงโอทอปที่เหลือรอดส่วนใหญ่ก็เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงอยู่แล้ว มีโรงงานในท้องถิ่นอยู่แล้ว การมีโครงการโอทอปมันก็ แค่เอาตราโอทอปมาติดให้เป็นผลงานแม้วเฉยๆ ส่วนโอทอปที่ไม่มีอะไรเด่นจนต้องเจ๊งไปไม่รู้เท่าไหร่ไม่ยักกะพูดถึง

ในความเป็นจริงหลักกของโฮมสเตย์ โอทอป มันต้องมาจากความพร้อมภายใน ถ้าเป็นโอทอปผลิตภัณฑ์ก็ต้องมีจุดเด่น ถ้าเป็นโฮมสเตย์ท้องถิ่นก็ต้องมีสิ่งที่น่าศึกษา แล้วนำเสนอออกภายนอก ภาครัฐอาจจะเข้ามาช่วยในรูปแบบของการจัดหาตลาด ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ความเข้าใจ เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้ชุมชน

แต่ด้วยแนวคิดแบบแม้วทำงานตามแต่ลมปากแม้วจะบัญชาไปวันๆ ไม่เห็นมีใครเหลียวแลสนใจอย่างจริงจัง เป็นระบบ แม้วบอกให้หาโอทอปมาทุกตำบล ตำบลที่ไม่มีอะไร ก็ทำน้ำหวานซ้ำกันเป็นร้อยๆตำบล ทั้งๆที่ในท้องถิ่นไม่ได้มีใครกินน้ำหวาน หรือผลิตอะไรที่ใช้ทำน้ำหวาน คนในท้องถิ่นไม่มีฝีมือในการทำน้ำหวานเลยไม่เคยทำมาก่อนด้วยซ้ำ เขาบอกให้ทำก็ทำ ผลิตภัณฑ์ก็ห่วย แล้วมันจะเป็นโอทอปได้ยังไง พอเจ๊งมาก็มาโทษรัฐบาลอื่น(ที่จริงมันเจ๊งตั้งแต่ปีแรกที่ทำแล้ว)

โถ่...โอทอปไหนที่เขารู้ตัวว่ามีดีพอเขาไม่ต้องการให้รัฐเข้ามายุ่งด้วยซ้ำ
โฮมสเตย์จริงก็ต้องเป็นโฮมสเตย์ที่ชาวบ้านกินอยู่จริง
ไม่ได้เป็นโฮมสเตย์ที่ต้องเน้นโฆษณา แล้วเอาอะไรเทียมๆมาขาย
บันทึกการเข้า
qazwsx
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,359


นักธุรกิจและตำรวจ ต้องออกไปจากการเมือง


« ตอบ #4 เมื่อ: 07-02-2007, 05:13 »


เศรษฐกิจ "ตัโป่ง" - ธุรกิจ "หนังกลางแปลง"
เมื่อหมดแรงมือตีโป่ง...ก็แฟบ - ฟุบ
จะอาศัยเพียง "น้ำแฟ้บใหม่ ๆ" เช่น ละลาย "รัฐวิสาหกิจ" ใส่ลงในตลาดหุ้นอย่างไร ๆ
...มันก็ไม่มีทาง "โป่งพอง" กลับไปเหมือนดังเก่า
ด้วยเหตุที่ "น้ำแฟ้บเน่าไปแล้ว"

แล้วเมื่อ "ฟ้าแจ้ง"
บรรดานักขายยา "ฉายหนังกลางแปลง ( อาชีพเก่าของครอบครัวชินวัตรเค้าล่ะ )" ก็ต้อง "เก็บของกลับบ้าน"
ร้านรวงต่าง ๆ เงียบเหงา
...งานวัดจึงมีแต่ความว่างเปล่า


"นักธุรกิจ ( ของจริง )" กับ "พ่อค้าเร่ ( ของปลอม )"
มันต่างกันตรงนี้
"เกษตรกร ( ผู้ผลิต )" กับ "คนรับจ้างเก็บเกี่ยว ( ผู้เอาผลผลิต )" มันต่างกันตรงนี้
"นักลงทุน ( ของจริง )" กับ "นักเล่นหุ้น ( นักการพนัน )" มันต่างกันตรงนี้
ฯลฯ

บันทึกการเข้า

Kittinunn
Aloha007
Global Moderator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,127


ไปได้สวย...ด้วยเกียร์ต่ำ!!!


เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 07-02-2007, 07:55 »

โฮมสเตย์สิ้น ไม่เกี่ยวกับทักษิณ แม้ทักษิณจะให้การสนับสนุน
หากแต่เป็นเพราะการที่ชาวบ้านที่ประกอบการไม่สามารถต่อยอดได้
พูดง่ายๆ ทักษิณเอาปลามาให้กิน แต่ไม่ได้สอนจับปลาในบ่อโดยตรง
ประชาชนจึงต้องตกเป็นเหยื่อ แรกๆ สบาย พอทักษิณไป หลังๆ ชักแหง่กๆ

ไม่ได้เกี่ยวว่า ทักษิณไปแล้วเจ๊ง
ที่อัมพวา หลายหมู่บ้านทำไมขายได้
แถมยังบอกอีกด้วยว่าไม่ได้ง้อเสี่ยแม้ว
แต่ข้าราชการน้ำลายชแลคเอาไปอ้างเพื่อ
เอาใจนายอย่างทักษิณเฉยๆ ให้รู้สึกว่าดูดีขึ้น
บันทึกการเข้า

“ผมเขียนไปในบล็อกนั้น แบบข้างบนนี้เหมือนกัน นึกว่า จะโพสต์ ปรากฏว่า เขาบอกว่า ต้อง สมัครสมาชิกก่อน ผมขี้เกียจ เลยมาโพสต์ที่นี่แทน อ้อ ตอนเขียน ผมใส่คำว่า ทุเรศ และ น่าสมเพช ไปด้วย” (อ.สมศักดิ์ เจียมธีระสกุล-เว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน - ข้อความในเสรีไทย โดย Snowflake)

THE THIRD WAY
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,821


Love looks not with eyes, but with the mind.


« ตอบ #6 เมื่อ: 07-02-2007, 08:26 »

ที่สมุทรสงคราม(แม่กลอง)
ศุกร์-เสาร์-อาทิตย์
ถ้าไม่จองล่วงหน้า
ไม่มีสิทธิ์ได้พักครับ
และไม่ใช่เทศกาลไดเทศกาลหนึ่ง
เป็นอย่างนี้ตลอดปี
วีถีชีวิตชาวบ้านริมคลอง ชมหิ่งห้อย ปั่นจักรยานชมสวน ฯลฯ

เกี่ยวกับทักษิณรึเปล่าหว่า?
บันทึกการเข้า

ความรักนั้นหวาน ไม่ว่าจะรับหรือให้
************************
การขับไล่ทรราช เป็นภารกิจของเจ้าของประเทศ
Kittinunn
Aloha007
Global Moderator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,127


ไปได้สวย...ด้วยเกียร์ต่ำ!!!


เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 07-02-2007, 09:05 »

จริงๆ ที่โฮมสเตย์สิงห์บุรีล่มสลาย ไม่ใช่อะไรหรอก
เพราะไม่มีจุดขายที่เด่นชัด อาศัยความเป็นชนบทภาคกลาง
ไม่เหมือนแม่กลอง อัมพวาที่ยังมีโปรแกรมการท่องเที่ยวบ้าง
อีกอย่าง การส่งเสริมไม่ใช่ว่าต้องรอให้รัฐบาลอ้าแขนรับอย่างเดียว
ชาวบ้านผู้ประกอบการต้องพึ่งพาตนเองด้วย ถึงจะไปได้ตลอดรอดฝั่ง
รู้ๆ กันอยู่ว่า การเมืองมันเปลี่ยน นโยบายเปลี่ยน ปรับตัวไม่ทัน ตายอย่างเดียว
บันทึกการเข้า

“ผมเขียนไปในบล็อกนั้น แบบข้างบนนี้เหมือนกัน นึกว่า จะโพสต์ ปรากฏว่า เขาบอกว่า ต้อง สมัครสมาชิกก่อน ผมขี้เกียจ เลยมาโพสต์ที่นี่แทน อ้อ ตอนเขียน ผมใส่คำว่า ทุเรศ และ น่าสมเพช ไปด้วย” (อ.สมศักดิ์ เจียมธีระสกุล-เว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน - ข้อความในเสรีไทย โดย Snowflake)

55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« ตอบ #8 เมื่อ: 07-02-2007, 09:25 »

โฮมสเตย์สิ้น ไม่เกี่ยวกับทักษิณ แม้ทักษิณจะให้การสนับสนุน
หากแต่เป็นเพราะการที่ชาวบ้านที่ประกอบการไม่สามารถต่อยอดได้
พูดง่ายๆ ทักษิณเอาปลามาให้กิน แต่ไม่ได้สอนจับปลาในบ่อโดยตรง
ประชาชนจึงต้องตกเป็นเหยื่อ แรกๆ สบาย พอทักษิณไป หลังๆ ชักแหง่กๆ
 ไม่ได้เกี่ยวว่า ทักษิณไปแล้วเจ๊ง
ที่อัมพวา หลายหมู่บ้านทำไมขายได้
แถมยังบอกอีกด้วยว่าไม่ได้ง้อเสี่ยแม้ว
แต่ข้าราชการน้ำลายชแลคเอาไปอ้างเพื่อ
เอาใจนายอย่างทักษิณเฉยๆ ให้รู้สึกว่าดูดีขึ้น

ตรงนี้สำคัญยิ่งกว่าการคอรัปชั่นอย่างสุวรรณภูมิอีกครับ.......หากผู้คนไม่รู้จัก การดิ้นรน งอมือ งอเท้า รอแต่รับความช่วยเหลือ .....ประเทศชาติก็ไปไม่ถึงไหนหรอกครับ.......คนต่างจังหวัด ที่แม้จะมีการศึกษาเฉลี่ยน้อยกว่า คนเมือง แต่ ก็มีข้อได้เปรียบในเรื่องงบประมาณ งบช่วยเหลือต่าง ๆ ถ้ารัฐบาลไหนสนใจ อย่างจริงจัง ชี้แนะไปในทางที่ถูกที่ควร นำงบประมาณที่รัฐบาลส่งไปช่วยเหลือมาต่อยอด ก็จะมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น.............กรณีนี้ผมโทษ นักการเมืองท้องถิ่น กับ สส. ที่เอาแต่จ้องฉกฉวยผลประโยชน์ ทำอะไร แค่เพียงฉาบหน้า........แล้วก็ไปหลอกชาวบ้านมาลงคะแนน
บันทึกการเข้า
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #9 เมื่อ: 07-02-2007, 10:28 »

โฮมสเตย์ที่อัมพวา นครนายก แม่ฮ่องสอน และอีกหลายที่ ที่เขาพัฒนามานานตั้งแต่ไอ้เหลี่ยมยังไม่ได้ไปโขมยความคิดเอามาเป็นของตนเอง ยังอยู่ดีมีสุข และกิจการก้าวหน้าค่ะ

การทำโฮมสเตย์นั้น หลักการของมันก็คือ ให้นักท่องเที่ยวไปพักอาศัยกับชาวบ้าน จึงเรียกว่าโฮมสเตย์ ไม่ใช่ให้ชาวบ้านสร้างบ้านไว้รับนักท่องเที่ยว อันนั้นเขาเรียกกิจการโรงแรมหรือสถานที่พักตากอากาศ

โฮมสเตย์นั้นเข้าข่ายการทำธุรกิจแบบเศรษฐกิจพอเพียง หากมีแขกมาพักที่บ้าน คือการเพิ่มรายได้ ไม่มีแขกมาพัก ชาวบ้านก็ต้องอยู่ต้องกินกันในบ้านนั้นอยู่แล้ว ไม่ได้ลงทุนอะไรมากมาย เพียงจัดสัดส่วนไว้รับนักท่องเที่ยว ตามกำลังและขนาดของบ้านตน

การลงทุนกู้เงินมาสร้างที่พักไว้รอรับนักท่องเที่ยว ตามโครงการโฮมสเตยต์ของไอ้เหลี่ยม คือระบบทักษิโณมิคส์ที่ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง เพราะไม่ยึดหลักพอเพียง นี่เป็นการเปรียบเทียบให้เห็นเป็นรูปธรรมเด่นชัด ว่าสมองของไอ้เหลี่ยม มันห่วยแตกสิ้นดี เป็นแนวคิดแบบนายทุนเฮงซวย ที่หวังแต่ผลกำไร และไปหลอกให้ชาวบ้านเขาเจ๊ง

ชัดเจนค่ะ  เศรษฐกิจพอเพียง  ใช้ได้จริง  ทักษิโณมิคส์ ทำแล้วเจ๊ง
บันทึกการเข้า
A-NOY
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 546


« ตอบ #10 เมื่อ: 07-02-2007, 11:10 »

โฮมสเตย์ ในความหมายการท่องเที่ยวก็คือบ้านของชาวบ้านอยู่อย่างไรก็ให้แขกที่เข้าพักอยู่อย่างนั้นอาหารการกินก็ต้องกินแบบชาวบ้าน  คนไทยเอาแบบอย่างมาจากการไปเที่ยวต่างประเทศแล้วได้ไปสัมผัสชีวิตในฟาร์มของฝรั่งก็เลยเอามาเผยแพร่  แต่ในต่างประเทศนั่นประชาชนเขามีความรู้ฟาร์มเขาก็สะอาดการแต่งเนื้อแต่งตัว พูดจาก็มีหลักมีเกณฑ์ แต่พอนำมาใช้ในประเทศไทยมันไม่ใช่  มีการสร้างบ้านขึ้นมาใหม่(บังกะโล) มีน้ำแข็งหลอดมีแก้ว มีโซดาแช่เย็น มีวิสกี้ต่างประเทศดื่ม มันใช่โฮมสเตย์ในความหมายที่แท้จริงฉะนั้นบางแห่งก็สร้างขึ้นมาตามคำแนะนำของราชการที่ไม่มีความรู้เรื่องการท่องเที่ยวเลยแม้แต่นิดเดียว
  เหมือนการทำรีสอร์ท หรือโรงแรมจะให้มันประสพความสำเร็จทุกคนคงเป็นไปไม่ได้คนที่บริการดีก็อยู่ได้คนที่บริการไม่ดีก็เจ๊งไป นี่มันคือธุรกิจครับ ถึงทักษิณอยู่ก็เจ๊ง(เป็นบางราย) อย่ามั่ว
บันทึกการเข้า

A-NOY
หน้า: [1]
    กระโดดไป: