ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
12-01-2025, 16:54
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ถ้าจะบริหารบริษัทแบบทักษิโณมิกส์และแบบพอเพียง 0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
ถ้าจะบริหารบริษัทแบบทักษิโณมิกส์และแบบพอเพียง  (อ่าน 2485 ครั้ง)
อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« เมื่อ: 03-02-2007, 20:11 »

ให้บริษัทมีรายได้จากการขายสินค้าที่ผลิตโดยใช้แรงงานคน
บริหารแบบทักษิโณมิกส์แบ่งคนเป็นสองกลุ่ม คือ
1. กลุ่มบริหาร+พนักงาน
- จะได้ค่าตอบแทนเพิ่มคิดจาก % ของผลกำไรบริษัท
2. กลุ่มแรงงานผู้ผลิตสินค้า
- เป็นแบบจ้างเหมา ผลิตมากได้มาก วัดผลงานอย่างชัดเจน
- มีสวัสดิการให้
   - รักษาพยาบาล
   - เครื่องไม้เครื่องมือ
   - เงินกู้ยืม
- ถ้าไม่มีงาน มีประกันรายได้ขั้นต่ำให้

ถ้าเพิ่มแบบพอเพียงเข้าไปด้วย จะเป็น
- มีการประเมินความเสี่ยงที่เหมาะสม เหมือนเป็นเพดานว่าไม่ควรทำให้ได้เงินมากที่สุด รู้ว่ากู้เท่าไหร่จะมีปัญญาชำระ
- มีการจัดการความรู้ เพื่อให้กลุ่มแรงงานสามารถรับผิดชอบงานได้เอง มีวุฒิภาวะในการใช้ชีวิต
- มีความรับผิดชอบต่อสังคม คุณธรรม ธรรมาภิบาลอะไรพวกนั้น

เทียบกับแบบโบราณอนุรักษ์นิยม
- กำไรเข้ากลุ่มผู้ถือหุ้นอย่างเดียว
- ผู้บริหาร บริหารแบบเผด็จการ ตรวจสอบไม่ได้เลย กำไรอาจไม่ไปถึงผู้ถือหุ้นเพราะผู้บริหารยักยอกได้ง่าย
- พนักงานได้เงินเดือนตามวุฒิการศึกษา ใครเลียทหารเอ๊ยผู้บริหารจะได้ดีบางทีได้หลายตำแหน่ง
- แรงงาน ก็กินค่าแรงขั้นต่ำไปวันๆ เผลอๆ แจกหวย กะ ยาเสพติดให้ จะได้คุมกันง่ายๆ
- ไม่มีการคิดพัฒนาองค์กร อยู่ไปวันๆ ทะเลาะกับลูกค้า ผู้ค้ารายอื่นไปหมด รอวันเจ๊ง

สรุปได้ว่าแบบทักษิโณมิกส์ก็ดีบวกกะพอเพียงยิ่งดีใหญ่ ส่วนแบบโบราณทหารคุมห่วยแตก
บันทึกการเข้า
irq5
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,149



« ตอบ #1 เมื่อ: 03-02-2007, 20:18 »

ข้อสำคัญของน้าแม้ว

คือแกจะบอกว่า บริษัท มั่นคง

อยากทำอะไรทำ ไม่ต้องเป็นห่วง

อยากได้ของอะไรกู้ได้เลย ทำงานผ่อนเอาได้เสมอ


และผู้บริหารเราตรวจสอบได้ (แต่จะถือว่าผู้ตรวจสอบและร้องเรียนเป็นผู้ถ่วงความเจริญโรงงาน)

 
บันทึกการเข้า

.:MMMMMMMMMMMMMMMMMMMMMddMMMs..
.:MMMMMMMMMMMMMMMMMMMMMssMMMMs..
.:Mddddddddddddddddddddddddddo+ddddNs..
.:M................................................hs..
.:M.............//:................//:.............hs..
.:M...........:MMs.............NMd............hs..
.:M................................................hs..
.:M................................................hs..
.:M.............yNNNNNNNNNN................hs..
.:M.................................................hs..
.:dyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyho..

....W..W::W:...AAA...NN...N...TTTTT..EEEEE...DDD..........
.....Ww.wW...AAAA..N..N..N......T.....EEE......D....D.......
.....-W...W...A......A N....NN......T.....EEEEE...DDD..........
. . . . . . . . . . . . thaksin shinawatra
ข้าวมันไก่
น้องใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18


อร่อย


« ตอบ #2 เมื่อ: 03-02-2007, 20:39 »

บริหารแบบทักสิโนมิก

แสดงว่า ceoบริษัท ต้องมีบริษัทของตัวเองข้างนอกอีกที

หาเรื่องเสนอให้สร้างตึกใหม่บ่อย ๆ

บริษัทจะสร้างตึกใหม่ ceoก็ไปสั่งผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อให้จัดซื้อวิธีพิเศษ

ล็อกสเป๊กของตามที่ceo สั่งมา จะได้สั่งกับบริษัทของceo

ถ้าผู้จัดการฝ่ายจัดซือไม่ทำตามก็หาเรื่องไล่ออกไปเลย

วิธีป้องกันพนักงงานระดับล่างปากสว่างก็เพิ่มโบนัสเงินเดือนให้

กว่าเจ้าของบริษัมาเห็นอีกทีบริษัทก็หนี้บานแล้ว
บันทึกการเข้า

อยู่เพื่อกิน
ไม่อยากสมานฉันท์กับคนชั่ว
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 592


เตือนให้นึกถึง Icarus ผู้ไม่ประมาณตน


« ตอบ #3 เมื่อ: 04-02-2007, 00:04 »

กว่าจะรู้เดียงสา นะ   

ความจริงผมว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ก็คือทุนนิยมที่ผสมแนวคิดด้านคุณธรรมเข้าไปอยู่ในตัวแล้วเพื่อไม่ให้สุดโต่ง
กระตุกให้ถอยมาบ้าง รู้จักพอบ้าง สละผลประโยชน์บางส่วนแลกกับความถูกต้อง  แลกกับความสุขของทุกฝ่าย

เมื่อก่อนตำราอเมริกันจะมีคำว่า maximize shareholders' wealth เท่านั้น
แล้วตำรารุ่นหลังๆก็จะมีคำว่า maximize stakeholders' wealth ขึ้นมา
คือไม่ใช่ดูแต่ผู้ถือหุ้น  บุคคลกลุ่มอื่นๆที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์กรก็ต้องนึกถึงด้วย เช่น ลูกจ้าง ผู้ค้าร่วม

เห็นได้ว่า แนวคิดแบบนี้ก็มีอยู่ในสมองอเมริกันมานานแล้วเหมือนกัน
บริษัทที่ประกาศชัดเจนว่า ต้องให้ความเป็นธรรมกับ suppliers และพนักงาน ก็เช่น black & decker, ben and jerry's


แล้วถ้าอย่างงั้น  อ้ายอีตนใดที่มันบังอาจใช้สื่อฝรั่งพยายามบิดเบือนให้คนดูแคลนเศรษฐกิจพอเพียง
แล้วยกยอให้ตนเองดีขึ้น

แถ คิดว่ามันเป็นคนยังไงล่ะ
บันทึกการเข้า
อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« ตอบ #4 เมื่อ: 04-02-2007, 06:07 »

ถ้าทักษิโณมิกส์สามารถกำหนดเป็น กฎ กติกา เพื่อใช้ในการปฏิบัติได้
เศรษฐกิจพอเพียง ก็จะเป็นเพียงมารยาทที่เสริมเข้ามาเพื่อให้ระบบสมบูรณ์
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาของการดำรงชีวิต ไม่ใช่ทฤษฎีทางเศรษฐกิจ
และไม่สามารถใช้เดี่ยวๆ ได้ ต้องใช้ประกอบเพื่อให้ระบบเดิมสมบูรณ์ ไม่ว่า
จะเป็นทุนนิยมแบบไหนก็ตาม
บันทึกการเข้า
55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« ตอบ #5 เมื่อ: 04-02-2007, 12:57 »

ให้บริษัทมีรายได้จากการขายสินค้าที่ผลิตโดยใช้แรงงานคน
บริหารแบบทักษิโณมิกส์แบ่งคนเป็นสองกลุ่ม คือ
1. กลุ่มบริหาร+พนักงาน
- จะได้ค่าตอบแทนเพิ่มคิดจาก % ของผลกำไรบริษัท
2. กลุ่มแรงงานผู้ผลิตสินค้า
- เป็นแบบจ้างเหมา ผลิตมากได้มาก วัดผลงานอย่างชัดเจน
- มีสวัสดิการให้
   - รักษาพยาบาล
   - เครื่องไม้เครื่องมือ
   - เงินกู้ยืม
- ถ้าไม่มีงาน มีประกันรายได้ขั้นต่ำให้

ถ้าเพิ่มแบบพอเพียงเข้าไปด้วย จะเป็น
- มีการประเมินความเสี่ยงที่เหมาะสม เหมือนเป็นเพดานว่าไม่ควรทำให้ได้เงินมากที่สุด รู้ว่ากู้เท่าไหร่จะมีปัญญาชำระ
- มีการจัดการความรู้ เพื่อให้กลุ่มแรงงานสามารถรับผิดชอบงานได้เอง มีวุฒิภาวะในการใช้ชีวิต
- มีความรับผิดชอบต่อสังคม คุณธรรม ธรรมาภิบาลอะไรพวกนั้น

เทียบกับแบบโบราณอนุรักษ์นิยม
- กำไรเข้ากลุ่มผู้ถือหุ้นอย่างเดียว
- ผู้บริหาร บริหารแบบเผด็จการ ตรวจสอบไม่ได้เลย กำไรอาจไม่ไปถึงผู้ถือหุ้นเพราะผู้บริหารยักยอกได้ง่าย
- พนักงานได้เงินเดือนตามวุฒิการศึกษา ใครเลียทหารเอ๊ยผู้บริหารจะได้ดีบางทีได้หลายตำแหน่ง
- แรงงาน ก็กินค่าแรงขั้นต่ำไปวันๆ เผลอๆ แจกหวย กะ ยาเสพติดให้ จะได้คุมกันง่ายๆ
- ไม่มีการคิดพัฒนาองค์กร อยู่ไปวันๆ ทะเลาะกับลูกค้า ผู้ค้ารายอื่นไปหมด รอวันเจ๊ง

สรุปได้ว่าแบบทักษิโณมิกส์ก็ดีบวกกะพอเพียงยิ่งดีใหญ่ ส่วนแบบโบราณทหารคุมห่วยแตก

อ่านมาเรื่อย ๆ กำลัง จะเห็นคล้อยตามด้วยการมองข้ามเรื่อง ๆ เล็ก น้อย ๆ อยู่แล้ว พอเจอตัวที่ผมทำแดง ๆ ....เลยไม่มองข้ามแระ ....ขอเหน็บมั่ง...........คุณแถ ควรจะใส่ไปด้วยว่า แบบทักษิโณมิกซ์ ของแท้มันต้องรวมเอา การคอรัปชั่น เข้าไปเป็นปัจจัยในการวิเคราะห์ด้วย.....หากไม่มีการคอรัปชั่น ทักษิโณมิกซ์ ก็เป็นเพียงทฤษฏีตามตำรา ที่หลายคนเรียนกันมาแค่นั้นเองครับ ไม่ใช่ของใหม่ ทีมีทีเด็ดอะไร



ส่วนแบบอนุรักษ์นิยม ผมไม่ชอบอยู่แล้ว.......แต่ไม่ใช่ว่ามันแย่อะไรขนาดที่ ชอบแถ ว่านั่นหรอก......หลักการสำคัญข้อหนึ่งที่เป็นปัจจัยในการทำธุรกิจแบบอนุรักษ์นิยม ก็คือ "ความสัมพันธ์ที่ดี " ครับ .......ไม่ใช่จ้องไปทะเลาะกับลูกค้า แต่กลับตรงกันข้าม มักสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าอยู่ตลอดเวลา.........

ส่วนเรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียง" จะเป็นปรัชญาการดำรงชีวิต หรือ เป็นทฤษฏี ก็เถียงกันไป ....แต่ผมไม่รู้ว่าเค้าจะเถียงกันไปทำไม ในเมื่อคนที่ยอมรับ ก็นำไปใช้เป็นปรัชญาดำรงชีวิต  หรือ นำไปเป็นหลักทฤษฏีในการบริหารองค์กร ก็ยังได้อีก...............เพราะ เศรษฐกิจพอเพียง มีลักษณะของการผสมผสาน ระหว่างทุนนิยม กับ อนุรักษ์นิยม ไม่สุดโต่งด้านใด ด้านหนึ่งจนเกินไป...........ส่วนคนที่ไม่ยอมรับ ก็สุดแท้แต่จะคิดกันปาย
บันทึกการเข้า
RiDKuN
Administrator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,015



เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 04-02-2007, 13:42 »

ดูจากที่ชอบแถยกมา ไม่เห็นจะเป็นทักษิโณมิกส์อะไรตรงไหน
ก็แค่หลักการบริหารบริษัทธรรมดา ทำกันมาหลายสิบปีแล้ว
ที่ได้เงินเพิ่มจากกำไรของบริษัท ก็อยู่ในรูปของโบนัส
ไม่ทราบว่าทักษิโณมิกส์มีอะไรเพิ่มขึ้นมาบ้าง อันนี้ไม่ทราบจริงๆ
บันทึกการเข้า

คนไม่มี "อุดมคติ" ไม่ใช่ "นักการเมือง"
อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« ตอบ #7 เมื่อ: 04-02-2007, 16:02 »

ทักษิโณมิค (Thaksinomics) เป็นคำเรียกนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลทักษิณ โดยผู้ที่ใช้คำนี้ครั้งแรกคือนางกลอเรีย

มาคาปากัล อาร์โรโย ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ ในสุนทรพจน์งานประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปค) เมื่อ พ.ศ.

2546 เพื่อเป็นเกียรติแก่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทย

การดำเนินเศรษฐกิจแบบทักษิโณมิคนั้น ทักษิณนิยามว่าคือ นโยบายเศรษฐกิจ 2 แนวทาง (Dual Track Policy) โดยกล่าวว่านโย

บายนี้ คือสูตรสำเร็จในการสร้างความเติบโตให้กับเศรษฐกิจไทย โดยที่แนวทางแรกคือ กระตุ้นการส่งออก การลงทุนจากต่าง

ประเทศ และการท่องเที่ยว เพื่อนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาในประเทศ และแนวทางที่สองคือ การกระตุ้นไปในระดับรากหญ้า มุ่ง

ไปที่เกษตรกร ช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) และสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ ๆ

ทั้ง 2 แนวทางมีความมุ่งหมายกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจ โดยหาทางลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และขยายโอกาสให้ประชาชน ดร.

ดาเนียล เลียน (en:Daniel Lian) หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์เศรษฐกิจภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ของบริษัทมอร์แกน สแตนเลย์

เรียกลักษณะเศรษฐกิจแบบนี้ว่า "สังคมทุนนิยม" (Social Capitalism) หลักการคือ การประยุกต์ระบบทุนนิยมเข้ากับระบบ

สังคมนิยม ระบบทุนนิยมเป็นระบบที่มีเป้าหมายแต่ไม่มีอุดมการณ์ ส่วนระบบสังคมนิยมเป็นระบบที่มีอุดมการณ์แต่ไม่มีเป้าหมาย

....
อย่างไรก็ดี ในช่วงแรกของการใช้นโนบายนี้ เศรษฐกิจของไทยขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็วมาก ผิดจากการคาดหมายของนัก

เศรษฐศาสตร์ที่ไม่เห็นด้วยบางท่าน เช่น ดร. อัมมาร์ สยามวาลา ที่เคยคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจปี พ.ศ. 2544 จะโตเพียง 1.5% แต่

เศรษฐกิจของไทยในปีนั้นก็ขยายตัวถึง 5.2% อย่างก็ไรก็ตามก็ยังมีเสียงเตือนว่า โครงสร้างเศรษฐกิจพื้นฐานนั้น ยังไม่ได้รับการ

แก้ปัญหาอย่างแท้จริง ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาขึ้นอีกเมื่อไรก็ได้

ผู้สนับสนุนกล่าวว่า จุดเด่นของทักษิโณมิคอยู่ที่การไม่ยึดแบบจำลองทางเศรษฐกิจอย่างตายตัว มีลักษณะเป็นพลวัตรและยืดหยุ่นสูง

ทำให้สามารถปรับตัวรับกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ค่อนข้างดี เช่นในปี พ.ศ. 2548 เศรษฐกิจไทยต้องเผชิญผลกระทบจาก ไข้หวัดนก

คลื่นสึนามิ รวมทั้งราคาน้ำมันที่สูงถึง 69 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาเรล แต่เศรษฐกิจไทยก็ยังขยายตัวได้ถึง 4.7%

....
ทักษิโณมิค มีแนวโน้มการอาศัยความสามารถในเชิงบริหารจัดการของฝ่ายบริหารเป็นกลไกสำคัญในการบริหารโนบาย จะเห็นได้

จากการจัดสรรงบประมาณกลางจำนวนสูงโดยไม่ได้กำหนดรายละเอียดการใช้จ่ายล่วงหน้า หรือการเข้าไปตรึงราคาน้ำมันเชื้อเพลิง

โดยหวังว่าราคาน้ำมันในตลาดโลกจะไม่ขึ้นสูงอย่างต่อเนื่อง อาจเรียกได้ว่าเป็นระบบ managed market economy
http://th.wikipedia.org/wiki/Thaksinomics
http://www.thaksinomics.com/


ในองค์กรระดับเล็ก การบริหารงานแยกกลุ่มคอเสื้อขาวและคอเสื้อน้ำเงินเป็นสองกลุ่ม แรงจูงใจในการทำงานของกลุ่มคอเสื้อขาว
ก็มาจากส่วนที่ได้รับเพิ่มจากผลประกอบการ เช่น โบนัส, มาร์เก็ตติ้งพูล, คอมมิสชั่น หรือ อะไรก็แล้วแต่ ขึ้นอยู่กับกิจการว่าต้องการ
กระตุ้นพนักงานกลุ่มนี้มากแค่ไหน โดยกำหนดอัตราส่วนระหว่าง รายได้คงที่ กับ รายได้ที่มาจากผลงาน กระตุ้นมากก็ให้อย่าง
หลังมาก สิ่งที่แตกต่างอย่างชัดเจนคือ การบริหารกลุ่มคอเสื้อน้ำเงินในลักษณะกึ่งจ้างเหมาที่มีการแทรกแซงเรื่องสวัสดิการ (
ค่ารักษาพยาบาล และอื่นๆ เนื่องจากยังเป็นพนักงานบริษัทฯ ไม่ใช่พนักงานของบริษัท out source หรือ ผู้รับเหมางานรายย่อย)
แทนที่จะจ่ายเป็นค่าแรงขั้นต่ำหรือค่าฝีมือคงที่ตามแบบเดิมๆ (เพราะควบคุมต้นทุนการผลิตง่าย) เข้าสูตรทำมากได้มากเหมือนกัน แต่มีการรับประกันขั้นต่ำ ถ้าไม่มีงานเข้ามาก็ยังมีรายได้อยู่ น่าจะใกล้เคียงสูตรทักษิโณมิคส์ เหมือนรากหญ้ามีโอกาสสร้างกิจการของตนเอง หรือ ทำอาชีพอิสระ (ทำมากได้มาก) โดยมีรัฐคอยแทรกแซงเรื่องสวัสดิการ และ ให้โอกาส ต่างๆ
บันทึกการเข้า
AThai
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 132



« ตอบ #8 เมื่อ: 04-02-2007, 22:20 »

ชอบแถ2 ยังไงกลับไปตอบผมก่อนนะที่กระทู้นี้

เศรษฐกิจเน่ามาก ยิ่งกว่าละครน้ำเน่า สาวกต้องปั่นกระทู้กิน

หาข้อมูลมันเหนื่อยนะ ถ้าจะไม่ตอบก็บอกก่อนจะได้ไม่เล่นด้วย


* Time.jpg (68.97 KB, 642x138 - ดู 189 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04-02-2007, 22:23 โดย AThai » บันทึกการเข้า

เหลี่ยมจนมุม => เรื่องปกติ-ไม่แปลก => บกพร่องโดยสุจริต => ป้ายสีความผิด
55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« ตอบ #9 เมื่อ: 05-02-2007, 09:43 »

คุณชอบแถวยกบทความที่เขียนมานานแล้ว ก่อนที่ ฝีทักษิณ จะแตก .....ผมได้อ่านข้อความเพิ่มเติมด้านล่าง มีข้อความนี้อยู่

^  Thaksinomics: Dual Track Policy and Social Capitalism (ภาษาไทย) รศ. ดร. ถวิล นิลใบ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

^ ดร. ดาเนียล เลียน นั้นมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ พ.ต.ท. ทักษิณ ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2548 นสพ.ไทยเดย์ ได้ตีพิมพ์จดหมายจากเลียนถึงทักษิณ มีใจความขอบคุณที่จัดเลี้ยงอาหารอย่างดี และรายงานสิ่งที่เขาได้ทำลงไปเพื่อทักษิณ ดู [3]

รวมทั้งผมได้อ่าน ข้อเขียนของ อ.วีระพงค์ รามางกูร ที่ทำลิ้งค์ให้ด้านล่างของบทความ ความที่คุณชอบแถยกมา .........เนื้อหาส่วนใหญ่เหมือนกัน ........แต่บังเอิญไปสะดุดตา ตรงนี้เข้า

ปี 2546 นี้ เป็นปีที่เศรษฐกิจของเราได้ฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัดเจน เพราะอัตราการขยายตัวของรายได้ประชาชาติ คงจะตกอยู่ระหว่างร้อยละ 6.5 ถึงร้อยละ 7 ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลประมาณ 5-6 พันล้านเหรียญสหรัฐ อัตราเงินเฟ้อต่ำกว่าร้อยละ 2 ค่าเงินบาทแข็งขึ้นประมาณร้อยละ 10 ทั้งที่ทางการพยายามดึงไว้ไม่ให้แข็งอย่างเต็มที่แล้ว ทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 41 พันล้านเหรียญสหรัฐ หลังจากธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ชำระหนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ จำนวน 15,000 ล้านเหรียญสหรัฐหมดก่อนกำหนด

อ.วีระพงศ์ ได้เขียนรวม ๆ ไว้เสมือนหนึ่ง ทักษิณ เป้นผู้ชำระหนี้ โดยมิได้แยกแยะไว้ว่าเป็น ทักษิณ มาจ่ายเพิ่มอีกเล็กน้อย เพื่อปิดหนี้ส่วนที่เหลือ..............ผมเชื่อว่าอ.วีระพงศ์ ตั้งใจให้ผู้คน มีความเข้าใจผิดในเรื่องการชำระหนี้

ถามว่าเหตุใด .........อ.วีระพงศ์ เป็นผู้หนึ่งที่ อยู่ใน ครม.ฟองสบู่แตก........เคยวิพากวิจารณ์ การทำเศรษฐกิจ ของ รัฐบาล ปชป.อย่างรุนแรง ช่วงหลังฟองสบู่แตก........ผมเคยอ่านบทสัมภาษณ์ของ อ.วีระพงศ์ ในปี42หรือ 43 ซึ่ง ได้ทำนายไว้ว่า GDP จะติดลบ 5.......แต่ในความเป็นจริง ปรากฏว่า GDP ปีนั้นเป็นบวก3 หรือ 4 (ประมาณนั้น) ....โห มันจะห่างไกลจากความเป็นจริง อะไรขนาดนั้น........


กลับมาที่ DUAL track ของ ทักษิโณมิกซ์  .....ผมยังยืน ว่า เป็นเหล้าเก่าในขวดใหม่ แค่นั้นเอง.......คุณชอบแถ อาจจะไม่เคย ได้ยินเรื่อง กองทุน กขคจ กองทุนส่งเสริมอาชีพต่าง ๆ หรือ บรรดาสหกรณ์ ที่ทำหน้าที่ เป็นแหล่งการเงินให้กับ บรรดา sme ทั้งหลาย........แทบไม่ได้มีความแตกต่างกัน ในเนื้อหา รวมทั้งเรื่องคอรัปชั่นที่แฝงตัวกันเข้าไปด้วย......ทักษิณ เป้น นักการตลาดตัวจริง แค่นำเอาของเก่า มา repack ใหม่ แล้ว ปิดฉลากหน้าเหลี่ยม เข้าไป




บันทึกการเข้า
อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« ตอบ #10 เมื่อ: 05-02-2007, 10:26 »

ถ้าจะเป็นแฟนพันธุ์แท้อาจารย์วีระพงษ์ก็น่าจะเขียนชื่อแกให้ถูกซะหน่อยนะ

ส่วนทักษิโณมิคส์จะเป็นเหล้าเก่าขวดใหม่อะไรก็ตามที เรื่องอย่างนี้มันก็แล้วแต่จะมอง ถ้าเอาหลายๆ ขนานมารวมกัน
จะบอกว่ามาจาก keynes บ้างหรืออย่างอื่นบ้าง อะไรก็แล้วแต่ ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการว่าเอามาผสมปนเปแล้ว
ทำได้ดีขนาดไหน อย่างชาเขียวก็มีมาก่อนตั้งเป็นพันปีมั้ง ทำไมเพิ่งจะมาดังในช่วงไม่กี่ปี ไม่ใช่เพราะฝีมือคนบริหาร
จัดการเหรอ กลับมาที่ทักษิโณมิคส์ตามประวัติคนยกย่องก็มาจากฟิลิบปินส์ หลังจากเห็นผลนโยบาย dual track แล้ว
ที่ว่ามีคนคิดแต่ละส่วนย่อยๆ ของนโยบายมันก็ไม่ใช่เรื่องแปลก แต่ว่าคนคิดนั้นมีปัญญาทำออกมาให้เห็นผลหรือเปล่า
ไม่ว่าจะยกตัวอย่างเรื่อง กองทุน หรือว่า รักษาฟรีแบบอนาถา ก็มาเห็นผลพุ่งกระฉูดในช่วงรัฐบาลทักษิณทั้งนั้น คนคิด
แต่แรกอาจเก่งไม่สุดก็ได้ มันต้องดูที่ผลงานครับ
บันทึกการเข้า
55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« ตอบ #11 เมื่อ: 05-02-2007, 12:28 »

ถ้าจะเป็นแฟนพันธุ์แท้อาจารย์วีระพงษ์ก็น่าจะเขียนชื่อแกให้ถูกซะหน่อยนะ

ผมก็ไม่ได้เป็นแฟนพันธ์แท้ของอ.วีรพงษ์ หรอกครับ............ที่จำบทสัมภาษณ์ ได้เพราะ มันเป็นการวิเคราะห์ที่พิศดารดี ..........ส่วนเรื่องพิมพ์ผิด ก็ไม่ได้ผิดปรกติอะไร ผมทำเป็นประจำอยู่แล้วครับ

ส่วนทักษิโณมิคส์จะเป็นเหล้าเก่าขวดใหม่อะไรก็ตามที เรื่องอย่างนี้มันก็แล้วแต่จะมอง ถ้าเอาหลายๆ ขนานมารวมกัน
จะบอกว่ามาจาก keynes บ้างหรืออย่างอื่นบ้าง อะไรก็แล้วแต่ ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการว่าเอามาผสมปนเปแล้ว
ทำได้ดีขนาดไหน อย่างชาเขียวก็มีมาก่อนตั้งเป็นพันปีมั้ง ทำไมเพิ่งจะมาดังในช่วงไม่กี่ปี ไม่ใช่เพราะฝีมือคนบริหาร
จัดการเหรอ กลับมาที่ทักษิโณมิคส์ตามประวัติคนยกย่องก็มาจากฟิลิบปินส์ หลังจากเห็นผลนโยบาย dual track แล้ว
ที่ว่ามีคนคิดแต่ละส่วนย่อยๆ ของนโยบายมันก็ไม่ใช่เรื่องแปลก แต่ว่าคนคิดนั้นมีปัญญาทำออกมาให้เห็นผลหรือเปล่า
ไม่ว่าจะยกตัวอย่างเรื่อง กองทุน หรือว่า รักษาฟรีแบบอนาถา ก็มาเห็นผลพุ่งกระฉูดในช่วงรัฐบาลทักษิณทั้งนั้น คนคิด
แต่แรกอาจเก่งไม่สุดก็ได้ มันต้องดูที่ผลงานครับ

ทักษิณ ทำงานมาเกือบ 6 ปี .......ถ้านโยบายประสพความสำเร็จ..........ผมว่ามันเห็นผลแล้วครับ..........ตามหลักทั่วไปในการบริหารธุรกิจ มักดูผลกันหลัง 3 ปี............ทักษิณ ทำได้รวดเร็วทันใจ 1-2 ปี ก็เห็นผลแล้ว ไม่ใช่เพราะระบบหรอก แต่การอัดเม็ดเงินมหาศาลขนาดนั้น  ผลมันก็เร็ว ..........ถ้าจะดูผลงาน ไหนลองวิเคราะห์ เรื่องหนี้ครัวเรือน เรื่อง เอ็น พี แอล ธกส. ธอส.หน่อย..........หากมีความสำเร็จในนโยบาย หลังจาก ทำงานมา 5-6 ปี ทำไมหนี้ภาคครัวเรื่อนเพิ่ม เอ็นพีแอล 2 แบ็งค์ ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับ นโยบาย ถึงเพิ่ม  แล้วทำไมยังมีชาวบ้านเดินแถวมาขอพักชำระหนี้อยู่คร๊าบ
บันทึกการเข้า
หลอเหมือนเดิม
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 58


« ตอบ #12 เมื่อ: 05-02-2007, 12:45 »

ทักษิณ เป้น นักการตลาดตัวจริง แค่นำเอาของเก่า มา repack ใหม่ แล้ว ปิดฉลากหน้าเหลี่ยม เข้าไป
 
เช่น สินค้า otop
บันทึกการเข้า
อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« ตอบ #13 เมื่อ: 05-02-2007, 13:54 »

บริหารประเทศคงวัดผลแบบธุรกิจในสามปีคงยาก บางธุรกิจยังรอเกินเจ็ดปีถึงมีกำไรก็ยังมี (อย่างไอทีวี1เงี้ย)
ยิ่งทักษิณเข้ามาตอนประเทศติดลบอยู่ก็ต้องให้เวลาสี่ปีในการซ่อมด้วย การวัดผลความสำเร็จของนโยบาย ไม่มีหลักเกณฑ์
สากลใช้มั้งถึงจะต่างคนต่างตีความ ถ้ายึดเอาตัวเลขทางเศรษฐกิจก็นับได้ว่าหรูหราไม่น้อย ส่วนเรื่องหนี้ครัวเรือน มันก็บอก
ยาก อย่างเช่นถ้าบริหารบริษัท หนี้ที่ก่อจะเป็นเพื่อสร้างรายได้ในอนาคต แม้ในทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงก็ไม่ได้ห้ามก่อหนี้
แต่พูดถึงเรื่อง risk management มากกว่า ซึ่งบอกเป็นเกณฑ์ชัดแจ้งยากว่า ก่อหนี้แค่ไหนเรียกว่าพอเพียง บอกได้แค่ว่า
ก่อแบบเกินตัวไม่มีปัญญาจ่ายเรียกว่าไม่พอเพียงซึ่งก็ไม่รู้ว่าเท่าไหร่ในแต่ละกลุ่มของสังคม มีข้อมูลถึงปี 2547 ของสำนัก
งานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พูดเรื่องหนี้ครัวเรือน2 ก็ลองอ่านดูเองแล้วกัน

1http://www.set.or.th/set/companyinfo.do?type=highlight&symbol=ITV&language=th&country=TH
2สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ


บันทึกการเข้า
55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« ตอบ #14 เมื่อ: 05-02-2007, 19:10 »

ผมหมายถึงหลักการบริหารธุรกิจ ทั่วไปครับ ธุรกิจอย่าง ITV คงไม่สามารถนำมาเป็นตัวอย่างได้หรอกครับ เพราะ คนที่ได้สัมปทาน ไม่รู้คิดอะไรอยู่ เสนอเงื่อนไขออกไปอย่างนั้น...อย่าง ITV ผมว่า อีก 20 ปี ก็ไม่กำไรหรอกครับ....สำหรับการบริหารธุรกิจ ทัวไป หลังจากผ่านพ้นไปแล้ว 3 ปี ถ้ายังไม่ประสพความสำเร็จ อย่างน้อย ควรจะต้องมีสัญญาณบางอย่างให้เห็น  คุณชอบแถ ไม่สังเกตุหรือครับ ว่า ทำไมหลาย ๆ ประเทศ เค้าเลือกรัฐบาล 4 ปีครั้ง...หรือหลายตำแหน่งในองค์กรระหว่างประเทศ มักจะมีอายุ 4 ปี หรือ มากกว่านั้น ก็ไม่เกิน 6 ปี


ผมว่าคุณชอบแถ คงเข้าใจผิดเรื่อง ทักษิณ เข้ามาตอนเศรษฐกิจ ติดลบ แล้วครับ...........ตรงกันข้าม ทักษิณ เข้ามาตอนปี 44 ขณะที่เศรษฐกิจกับ กำลังหักหัวขึ้นต่างหาก.......ในช่วงก่อนยุคทักษิณ เข้ามา เราหยุดรับความช่วยเหลือจาก IMF .......GDP เป็นบวกแล้ว ช่วงปี 42 ,43, ส่วนปี 41 หนึ่งดูเหมือนจะบวกนิดหน่อย ถ้าผมจำไม่ผิด...ผมขี้เกียจไปค้น.....ดอกเบี้ยเริ่มลดลง ...NPL ก็เริ่มลดลงเช่นกัน..เงินทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับที่มั่นคง......สัญญาณต่าง ๆ เป็นบวกเกือบหมดแล้ว....แต่ต้องออกตัวไว้ก่อนว่า ตลาดหุ้น อย่าไปพูดถึงน๊ะครับ เพราะเดี๋ยวเถียงกันไม่จบ

ส่วนเรื่อง หนี้ภาคครัวเรื่อน เดี๋ยว พรุ่งตอนสาย ๆ ค่อยคุยกัน .........ตอนนี้ผมมีเวลาน้อย .....พอมีข้อมูลอยู่บ้างครับ

 



ปล. อย่างนี้สิถึงจะค่อยเหมือนชอบแถคนเดิมหน่อย......
บันทึกการเข้า
stromman
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 526



« ตอบ #15 เมื่อ: 05-02-2007, 21:51 »

ตลกโครตๆเลยแถเอ้ย 
บันทึกการเข้า
อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« ตอบ #16 เมื่อ: 05-02-2007, 22:59 »

คุณฮ่าสั้น

ไอทีวีมันมีกำไรนะ ดูจาก link ก็ได้ ถ้าค่าสัมปทานมันไม่ไร้สาระเกินเหตุ จะแบกน้ำหนักแข่งกับช่องอื่นแล้วยังมีกำไรแสดงว่า
ฝีมือบริหารดีทีเดียว เสียดายมาเจอเรื่องการเมืองกับค่าปรับบ้องตื้นเลยจบ การบริหารกิจการโดยทั่วไปไอ้คำว่าสามปีมันเป็น
เรื่องบอกต่อกันมา บางธุรกิจเค้าใจเย็นกันถึงเจ็ดปีก็มีไม่ตายตัวหรอกว่าต้องสามปีเป็นหลัก สูตรใครสูตรมันเรื่องอย่างงี้ แล้วอยู่
เรื่องธุรกิจดีๆ ไหงข้ามไปวาระของรัฐบาลกับตำแหน่งองค์กรระหว่างประเทศได้หว่า งง

เรื่องทักษิณเข้ามาตอนเศรษฐกิจติดลบ ถ้ามองเฉพาะเรื่อง GDP ที่เพิ่มขึ้นจะบอกว่าหักหัวขึ้นก็ได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว มัน
ยังมีเรื่องค้างคาที่ต้องสะสางแต่ยังทำไม่เสร็จ เช่น การขายสินทรัพย์กองทุนฟื้นฟู เรื่องการเข้ากระบวนการฟื้นฟูของกิจการใหญ่ๆ
เช่น TPI รวมถึง เรื่องการแลกหุ้นธนาคารไทยพาณิชย์กับที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินฯ เรื่องใหญ่ๆ พวกนี้มันค้างมาจากรัฐบาลก่อนๆ
เป็นภาระให้รัฐบาลที่แล้วต้องเคลียร์เรื่องให้จบหมด พร้อมๆ กับทำตามนโยบายเศรษฐกิจใหม่ไปด้วย ก็แล้วแต่มุมมองว่าหักหัวขึ้น
หรือยังเป็นลบเพราะงานตามล้างตามเช็ดของเก่ายังไม่หมด เหมือนเข้ามาบ้านแทนที่จะได้อยู่กลับต้องมาเช็ดล้างซ่อมแซมก่อน
ถ้าจะว่าแค่ตัวเลขเศรษฐกิจไม่กี่ตัวแล้วตีความคำว่า 'หักหัวขึ้น' กับ 'ติดลบ' ก็คงจะเสียเวลาเถียงเปล่าๆ เพราะจะมองอย่างงั้นก็ได้
คือ หักหัวขึ้นแต่ยังมีขี้กองใหญ่ให้เช็ดอยู่
บันทึกการเข้า
qazwsx
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,359


นักธุรกิจและตำรวจ ต้องออกไปจากการเมือง


« ตอบ #17 เมื่อ: 06-02-2007, 02:00 »


โพสให้ได้อย่างนี้ตลอดไปนะแถเอ๊ยยยย
ได้ใจอักโขเชียว ( ส่วนจะแย้งหรือไม่คล้อยตามอย่างไร  ค่อยว่ากันอีกที )


...ไม่เอาแล้วนะ  ไอ้กระทู้จำพวก
"เศรษฐกิจเน่า  หมา ๆ แมว ๆ เมาแล้วชักดาบ..." << อะไรพรรค์เนี้ย
 
บันทึกการเข้า

อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« ตอบ #18 เมื่อ: 06-02-2007, 07:57 »

เรื่องหนี้ภาคครัวเรือน มันก็เป็นล้านเหตุผลของแต่ละครัวเรือนว่าจะเป็นหนี้เพื่ออะไร แต่เพราะความจำเป็นควรจะมากกว่าฟุ่มเฟือย
ส่วนข้อมูลที่จะสนับสนุนว่าคนไม่นิยมเป็นหนี้ และมีแนวโน้มการควบคุมการใช้จ่ายของตนเอง เป็นชิ้นเป็นอันคงไม่มีผลสำรวจ
นอกจากข่าวประเภทนี้ มองได้ว่าคนไม่อยากเป็นหนี้ มีการเรียนรู้และปรับตัว ไม่ใช่ไร้เหตุผลและเป็นหนี้มากเท่าที่มีคนเสนอให้
คาดยอดใช้จ่ายผ่านบัตรปี 50 ชะลอตัวจากปีที่แล้ว [26 ม.ค. 50 - 05:09]
http://www.thairath.co.th/online.php?section=newsthairathonline&content=34751
บันทึกการเข้า
55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« ตอบ #19 เมื่อ: 06-02-2007, 09:43 »

ภาระเฉลียต่อครัวเรื่อนเพิ่มจาก 74,135 บาทในปี 2537 คิดเป็น 8.4 เท่าของรายได้
                      ส่วนในปี 49 เฉลี่ย 160,718 บาท  คิดเป็น 10.6 เท่าของรายได้


คุณชอบแถ คงเห็น ปริมาณการก่อหนี้ ในช่วงปี 49.....ว่ามันเพิ่มขึ้น...จะว่าไม่เป็นนัยยะบ่งบอกอะไร ก็คงไม่ได้ครับ เพราะ มันไปสัมพันธ์กับรายได้........คุณชอบแถ ลอง ดูปี 42 เทียบปี 43 ยอดหนี้ดูเหมือนจะกำลังหักหัวลง ...แต่พอปี 44 กลับหักหัวขึ้น และเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปีต่อ ๆ มา

ผมมีอีกตารางหนึ่ง จะเอาไปอ่านดูเล่น ๆ ก็ได้ ตัวเลขแตกต่างกันบ้าง แต่ ค่าเฉลี่ยของการเพิ่มลด ผมลองคำนวณดูเล่น ๆ แล้ว ไม่แตกต่างกันมากนัก......

http://service.nso.go.th/nso/g_data23/stat_23/toc_7/7.1-1-47.xls


คุณฮ่าสั้น

ไอทีวีมันมีกำไรนะ ดูจาก link ก็ได้ ถ้าค่าสัมปทานมันไม่ไร้สาระเกินเหตุ จะแบกน้ำหนักแข่งกับช่องอื่นแล้วยังมีกำไรแสดงว่า
ฝีมือบริหารดีทีเดียว เสียดายมาเจอเรื่องการเมืองกับค่าปรับบ้องตื้นเลยจบ การบริหารกิจการโดยทั่วไปไอ้คำว่าสามปีมันเป็น
เรื่องบอกต่อกันมา บางธุรกิจเค้าใจเย็นกันถึงเจ็ดปีก็มีไม่ตายตัวหรอกว่าต้องสามปีเป็นหลัก สูตรใครสูตรมันเรื่องอย่างงี้ แล้วอยู่
เรื่องธุรกิจดีๆ ไหงข้ามไปวาระของรัฐบาลกับตำแหน่งองค์กรระหว่างประเทศได้หว่า งง

เรื่องทักษิณเข้ามาตอนเศรษฐกิจติดลบ ถ้ามองเฉพาะเรื่อง GDP ที่เพิ่มขึ้นจะบอกว่าหักหัวขึ้นก็ได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว มัน
ยังมีเรื่องค้างคาที่ต้องสะสางแต่ยังทำไม่เสร็จ เช่น การขายสินทรัพย์กองทุนฟื้นฟู เรื่องการเข้ากระบวนการฟื้นฟูของกิจการใหญ่ๆ
เช่น TPI รวมถึง เรื่องการแลกหุ้นธนาคารไทยพาณิชย์กับที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินฯ เรื่องใหญ่ๆ พวกนี้มันค้างมาจากรัฐบาลก่อนๆ
เป็นภาระให้รัฐบาลที่แล้วต้องเคลียร์เรื่องให้จบหมด พร้อมๆ กับทำตามนโยบายเศรษฐกิจใหม่ไปด้วย ก็แล้วแต่มุมมองว่าหักหัวขึ้น
หรือยังเป็นลบเพราะงานตามล้างตามเช็ดของเก่ายังไม่หมด เหมือนเข้ามาบ้านแทนที่จะได้อยู่กลับต้องมาเช็ดล้างซ่อมแซมก่อน
ถ้าจะว่าแค่ตัวเลขเศรษฐกิจไม่กี่ตัวแล้วตีความคำว่า 'หักหัวขึ้น' กับ 'ติดลบ' ก็คงจะเสียเวลาเถียงเปล่าๆ เพราะจะมองอย่างงั้นก็ได้
คือ หักหัวขึ้นแต่ยังมีขี้กองใหญ่ให้เช็ดอยู่


ส่วนเรื่อง ไอทีวี  ลองสังเกตุดู ว่ามันมีกำไรมาก ๆ ในปี 48-49 ผมไม่แน่ใจ ว่ามีการปรับเปลี่ยนผังรายการ กันตั้งแต่เมื่อไหร่ครับ ขี้เกียจกลับไปค้น

คุณชอบแถ บอกว่า รัฐบาลทักษิณ ต้องมานั่งเช็ดขี้กองใหญ่ ของรัฐบาลก่อนหน้านั้น.........ผมเชื่อว่าคุณชอบแถ สติปัญญาดีทีเดียว ลองนึกภาพ รัฐบาลปชป. ไปเช็ดขี้ที่รัฐบาลชวลิตทำไว้ซิครับ......เรื่องความเชื่อมั่นเศรษฐกิจ...เรื่องการปิดไฟแนนซ์ 58 แห่ง (ต่อมาคืนชีพมา 2 แห่ง).....เรื่องการคืนเงิน ที่นายทนง พิทยะ ไปสวอปค่าเงินบาท อีก 3 หมื่นกว่าล้านเหรียญ แล้วยังเรื่องการเพิ่มทุนของธนาคารต่างที่ได้รับผลกระทบ...ฯลฯ.........ทักษิณ เพียงเข้าเก็บส่วนที่ รัฐบาลก่อนที่ตัวเองและคนในรัฐบาลทักษิณส่วนใหญ่มีส่วนร่วม ไปขี้ไว้เลอะเทะ เท่านั้นเองครับ


บันทึกการเข้า
อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« ตอบ #20 เมื่อ: 06-02-2007, 10:23 »

เรื่องหนี้ภาคครัวเรือนส่วนหนึ่งก็คงแล้วแต่มุมมอง ตามกราฟของคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ดูแล้วอัตราส่วนก็ไม่ได้มากมายอะไร เมื่อเทียบกับชาวบ้าน ส่วนระยะยาวว่าใครจะนิสัยเสียเป็นหนี้ไม่เลิกก็พิสูจน์กันยาก
ส่วนเรื่องเช็ดขี้มันก็เป็นทอดๆ เอารายงานที่เค้าสรุปไปอ่านดีกว่า

ขั้นตอนของความเพลี่ยงพล้ำในการดำเนินนโยบายการเงิน ลำดับได้ดังต่อไปนี้

1. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อาจเลือกที่จะไม่ให้เปิดตลาดเงินทุนเสรีตั้งแต่ พ.ศ. 2533 แต่ ธปท. ก็เลือกที่จะให้เปิด
การตัดสินใจให้เปิดครั้งนั้น นับว่าเป็นผลพวงของแนวนโยบายที่เป็นมาโดยต่อเนื่องเป็นระยะยาวนาน และสะท้อนความต้องการ
ของฝ่ายการเมืองในขณะนั้นอย่างเต็มที่ เมื่อนายวิจิตรเข้ามารับตำแหน่งเป็นผู้ว่าการ ก็สานต่อนโยบายนั้นอย่างขะมักเขม้น ถึงขั้นเปิดวิเทศธนกิจ
ซึ่งก็ได้รับความเห็นชอบจากทุกฝ่าย
2. เมื่อ ธปท. เลือกที่จะเปิดตลาดเงินทุนให้เสรีแล้ว ธปท. ก็ควรเลือกที่จะให้อัตราแลกเปลี่ยนยืดหยุ่นมากกว่านี้ แต่ ธปท. ก็เลือกที่จะ รักษาช่วง (band) อัตราแลกเปลี่ยนที่แคบมากไว้ จะมาเริ่มพิจารณาก็ในเดือนเมษายน 2539 ซึ่งสายไปเสียแล้ว เพราะหลังจากนั้น อีกไม่กี่เดือน
ปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ก็รุนแรงจนทำให้ ธปท. กลัวที่จะดำเนินการใดๆ อีกต่อไป เพราะเกรงว่าจะส่งสัญญาณผิด ให้กับตลาด
3. เมื่อ ธปท. เลือกที่จะรักษาช่วงอัตราแลกเปลี่ยนที่แคบไว้เช่นนั้น ก็หมายความว่าแนวนโยบายทางด้านอุปสงค์รวมจะต้อง มีความระมัดระวัง (conservative) เป็นพิเศษ โดยเฉพาะในระยะตั้งแต่ พ.ศ. 2537 เป็นต้นมา นโยบายการคลังเป็นเรื่องของรัฐบาล และรัฐสภาก็จริงอยู่ แต่ ธปท. ก็มิได้ผลักดันอย่างจริงจัง ให้รัฐบาลมีนโยบายเกินดุลซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในช่วงนั้น ส่วนนโยบายการเงิน ที่ดึงปริมาณเงินในประเทศก็ไร้ผล
เพราะถูกลบล้างด้วยเงินกู้จาก ต่างประเทศที่ไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง
4. เมื่อ ธปท. ไม่สามารถใช้นโยบายการคลังหรือการเงินได้ ก็ควรจะใช้มาตรการไม่ให้เงินกู้ไหลเข้าประเทศอย่างมากมายเสียตั้งแต่ต้น แต่มาตรการที่ประกาศเป็นมาตรการที่อ่อน และนำมาใช้เมื่อสายไปแล้ว คือหลังจากไทยมีหนี้สินระยะสั้นในระดับสูงมากเกินไปเสียแล้ว
http://www.info.tdri.or.th/reports/published/soporo/foreword.htm
บันทึกการเข้า
55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« ตอบ #21 เมื่อ: 06-02-2007, 10:38 »

เอาเปลี่ยนเรื่องคุย ก็ไม่เป็นไร ถือว่าเป็นการเสวนาหาความรู้กัน........คุณชอบแถลองสรุปประเด็น วัตถุประสงค์ในการตัดแปะ ว่ามีความเข้าอย่างไร  หน่อยซิครับ...ถ้าผมพอแสดงความเห็นได้ ก็จะลองดู .......แต่ถ้าไม่เข้าใจ หรือ ไม่รู้จริง ก็จะลองไปสอบถามคนอื่น เผื่อได้ความรู้เพิ่ม
บันทึกการเข้า
อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« ตอบ #22 เมื่อ: 06-02-2007, 10:44 »

ไม่ได้เปลี่ยนเรื่องคุย แค่ตอบเรื่องเช็ดขี้กองใหญ่ ซึ่งก็เช็ดกันมาเป็นทอดๆ ไง ไม่ใช่รัฐบาลชวลิตจะผิดหมด
เอาผลสรุป ศปร มาให้ดู มันก็ชัดเจนในตัวเองอยู่แล้ว ไม่รู้จะวิเคราะห์วิจารณ์ยังไงได้อีก
บันทึกการเข้า
55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« ตอบ #23 เมื่อ: 06-02-2007, 11:07 »

ไอ้ที่ผมพูดเรื่องขี้กองใหญ่ ก็เพราะคุณชอบแถวพูดแบบนี้.....

เรื่องทักษิณเข้ามาตอนเศรษฐกิจติดลบ ถ้ามองเฉพาะเรื่อง GDP ที่เพิ่มขึ้นจะบอกว่าหักหัวขึ้นก็ได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว มัน
ยังมีเรื่องค้างคาที่ต้องสะสางแต่ยังทำไม่เสร็จ เช่น การขายสินทรัพย์กองทุนฟื้นฟู เรื่องการเข้ากระบวนการฟื้นฟูของกิจการใหญ่ๆ


ผมเพียงแต่ต้องการบอกว่า ทุกรัฐบาล เข้ามาใหม่ แทนที่รัฐบาลเดิม........มันก็ต้องมาสะสาง งานเก่าที่คนอื่นทำไว้ไม่ถูกใจ หรือ ขัดกับนโยบายตัวเอง .....ก็แค่นั้น........นี่คือเหตุผลที่ผมพูดบ่อย ว่า ทำไมเค้าถึงประเมิน ผลงานกัน หลังจากทำงานไปแล้ว 3 ปี เพราะเค้าต้องมาทำสิ่งเหล่านี้ สะสางงานเก่า จัดระบบองค์กรใหม่.....
บันทึกการเข้า
อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« ตอบ #24 เมื่อ: 06-02-2007, 15:21 »

จากข้อมูลใน ศปร บอกว่าต้นเหตุ คือ ธปท รัฐบาลเก่าๆ เช่น รัฐบาลชวนก็ช่วยกันขี้ คือ ไม่ออกนโยบายการคลังเป็นชิ้นเป็นอัน
ให้ ธปท ทำตาม ปล่อย ธปท โซโล่เดี่ยว หลังจากขี้ระเบิดในรัฐบาลชวลิต รัฐบาลต่อมาทำหน้าที่เช็ดขี้อย่างเดียวก็น่าจะเหมาะ
แล้ว แต่ดันทะลึ่งเช็ดไม่หมด แถมปล่อยขี้ตามน้ำเพิ่มไงคือ ปรส ทำให้รัฐบาลพรรคไทยรักไทยต้องมาเช็ดทั้งที่ตัวเองไม่ได้มี
ส่วนร่วมขี้ด้วย จะประเมินผลงานแค่ 3 ปี ดูจะให้โอกาสน้อยไปหน่อย
บันทึกการเข้า
55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« ตอบ #25 เมื่อ: 06-02-2007, 18:46 »

จากข้อมูลใน ศปร บอกว่าต้นเหตุ คือ ธปท รัฐบาลเก่าๆ เช่น รัฐบาลชวนก็ช่วยกันขี้ คือ ไม่ออกนโยบายการคลังเป็นชิ้นเป็นอัน
ให้ ธปท ทำตาม ปล่อย ธปท โซโล่เดี่ยว หลังจากขี้ระเบิดในรัฐบาลชวลิต รัฐบาลต่อมาทำหน้าที่เช็ดขี้อย่างเดียวก็น่าจะเหมาะ
แล้ว แต่ดันทะลึ่งเช็ดไม่หมด แถมปล่อยขี้ตามน้ำเพิ่มไงคือ ปรส ทำให้รัฐบาลพรรคไทยรักไทยต้องมาเช็ดทั้งที่ตัวเองไม่ได้มี
ส่วนร่วมขี้ด้วย จะประเมินผลงานแค่ 3 ปี ดูจะให้โอกาสน้อยไปหน่อย

.......อย่างนี้ต้องโทษสมเด็จพระนารายมหาราช ที่ปล่อยให้คนต่างชาติเค้ามาค้าขายในประเทศไทย

ผู้บริหาร ที่เก่งเค้าวัดฝีมือกันยามที่เผชิญวิกฤติ.........ไม่ใช่ไปตีโพยตีพาย โทษโน่นโทษนี่ครับ.....
บันทึกการเข้า
อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« ตอบ #26 เมื่อ: 06-02-2007, 20:12 »

   เมื่อสมเด็จพระนารายณ์เสด็จเถลิงถวัยราชสมบัติ ณ ราชอาณาจักรศรีอยูธยาแล้ว ปัญหากิจการบ้านเมืองในรัชสมัยของพระองค์เป็นไปในทางเกี่ยวข้องกับชาวต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ ด้วยในขณะนั้น มีชาวต่างประเทศเข้ามาค้าขาย และอยู่ในราชอาณาจักรไทยมากว่าที่เคยเป็นมาในกาลก่อน ที่สำคัญมาก คือ ชาวยุโรปซึ่งเป็นชาติใหญ่มีกำลังทรัพย์ กำลังอาวุธ และผู้คน ตลอดจน มีความเจริญรุ่งเรืองทางวิทยาการต่าง ๆ เหนือกว่าชาวเอเซียมาก และชาวยุโรปเหล่านี้กำลังอยู่ในสมัยขยายการค้า ลัทธิคริตส์ศาสนา และอำนาจทางการเมืองของพวกตนมาสู่ดินแดนตะวันออก
   ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์นั้น ชาวฮอลันดาได้กีดกันการเดินเรือค้าขายของไทย ครั้งหนึ่งถึงกับส่งเรือรบมาปิดปากแม่น้ำเจ้าพระยา ขู่จะระดมยิงไทย จนไทยต้องผ่อนผันยอมทำสัญญายกประโยชน์การค้าให้ตามที่ต้องการ แต่เพื่อป้องกันมิให้ฮอลันดาข่มเหงไทยอีก สมเด็จพระนารายณ์จึงทรงสร้างเมืองลพบุรีไว้เป็นเมืองหลวงสำรอง อยู่เหนือขึ้นไปจากกรุงศรีอยุธยา และเตรียม สร้างป้อมปราการไว้คอยต่อต้านข้าศึก เป็นเหตุให้บาทหลวงฝรั่งเศสที่มีความรู้ทางการช่าง และต้องการเผยแผ่คริสต์ศาสนา นิการโรมันคาทอลิก ได้เข้ามาอาสาสมัครรับใช้ราชการจัดกิจการเหล่านี้ ข้าราชการฝรั่งที่ทำราชการมีความดีความชอบในการปรับปรุงขยายการค้าของไทยขณะนั้นคือ เจ้าพระยาวิชเยนทร์ ซึ่งกำลังมีข้อขุ่นเคืองใจกับบริษัทการค้าของอังกฤษที่เคยคบหาสมาคมกันมาก่อน เจ้าพระยาวิชเยนทร์ จึงดำเนินการเป็นคนกลาง สนับสนุนทางไมตรีระหว่างสมเด็จพระนารายณ์กับทางราชการฝรั่งเศส ซึ่งเป็นรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ฝ่ายสมเด็จพระนารายณ์กำลังมีพระทัยระแวงเกรงฮอลันดายกมาย่ำยี และได้ทรงทราบถึงพระเดชานุภาพของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ในยุโรปมาแล้ว จึงเต็มพระทัยเจริญทางพระราชไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ไว้ เพื่อให้ฮอลันดาเกรงขาม ด้วยเหตุนี้ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ จึงได้มีการส่งทูตฝรั่งเศสไปสู่พระราชสำนักฝรั่งเศส และต้อนรับคณะทูตฝรั่งเศสอย่างเป็นงานใหญ่ถึงสองคราว แต่การคบหาสมาคมกับชาติมหาอำนาจคือฝรั่งเศสในยุคนั้น ก็มิใช่ว่าจะปลอดภัยนัก ด้วยพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ มีพระราโชบายที่จะให้สมเด็จพระนารายณ์ และประชาชนชาวไทยรับนับถือคริสต์ศาสนา ซึ่งบาทหลวงฝรั่งเศสนำมาเผยแผ่ โดยพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ทรงส่งพระราชสาสน์มาทูลเชิญสมเด็จพระนารายณ์เข้ารับ นับถือคริสต์ศาสนาพร้อมทั้งเตรียมบาทหลวงมาไว้คอยถวายศีลด้วย แต่สมเด็จพระนารายณ์ได้ทรงใช้พระปรีชาญาณตอบปฏิเสธอย่างทะนุถนอมไมตรี ทรงขอบพระทัยพระเจ้าหลุยส์ที่มีพระทัยรักใคร่พระองค์ถึงแสดงพระปราถนาจะให้ร่มศาสนาด้วย แต่เนื่องด้วยพระองค์ยังไม่เกิดศรัทธาในพระทัย ซึ่งก็อาจเป็นเพราะพระเป็นเจ้าประสงค์ที่จะให้นับถือศาสนาคนละแบบคนละวิธี เช่นเดียวกับที่ทรงสร้างมนุษย์ให้ผิดแผกเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ หรือทรงสร้างสัตว์ให้มีหลายชนิดหลายประเภทก็ได้ หากพระเป็นเจ้ามี พระประสงค์จะให้พระองค์ท่านเข้ารับนับถือศาสนาตามแบบตามลัทธิที่พระเจ้าหลุยส์ทรงนับถือแล้ว พระองค์ก็คงเกิดศรัทธาขึ้นในพระทัย และเมื่อนั้นแหละ พระองค์ท่านก็ไม่รังเกียจที่จะทำพิธีรับศิลร่วมศาสนาเดียวกัน
http://www.pt.ac.th/ptweb/studentweb/maharach/three.html


   สมเด็จพระเพทราชา ปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์บ้านพลูหลวง ราชวงศ์สุดท้ายของอาณาจักรอยุธยา เป็นกษัตริย์ลำดับที่ ๒๘ ของอาณาจักรอยุธยา พระเพทราชา เดิมเป็นสามัญชนชาวบ้านพลูหลวง แขวงเมืองสุพรรณบุรี ต่อมาได้รับราชการในวังโดยรับตำแหน่งสูงเป็นที่พึงพอพระราชหฤทัย ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้ขึ้นครองราชย์โดยการปราบดาภิเษก โดยหลวงสรศักดิ์ (สมเด็จพระเจ้าเสือ) ซึ่งเชื่อว่าเป็นบุตรบุญธรรมของพระองค์ ขุนนาง อำมาตย์พร้อมกันกราบทูลเชิญขึ้นครองราชย์ เป็น สมเด็จพระเพทราชา หรือ สมเด็จพระมหาบุรุษ ในปี พ.ศ. ๒๒๓๑ ด้วยพระชนมายุ ๕๖ ชันษา สิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ. ๒๒๔๖ พระชนมายุ ๗๑ ชันษา

จะไปโทษพระนารายณ์ก็ไม่ถูกต้องนัก เพราะถ้าปล่อยไปเรื่อยๆ ประเทศอาจเจริญกว่านี้ ตอนใกล้หมดรัชสมัยพระนารายณ์ตอนทรง
พระประชวรก็โดน พระเพทราชาทรงพระสอยพระนารายณ์ แล้วไล่ต่างชาติไป (คล้ายๆ สมัยไหนหว่าคุ้นๆ) แต่ตอนจบแล้วพระเพทราชา
ก็โดนพระเจ้าเสือซึ่งร่ำลือว่าเป็นโอรสลับๆ ของพระนารายณ์ทรงพระสอยอีกรอบ สอยกันไปมาถึงสี่รัชสมัยบ้านเมืองถึงเจริญถอยหลัง
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: