ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
26-04-2024, 21:53
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  นายกรัฐมนตรี ต้องมาจากการเลือกตั้ง จากสมาชิกสภาผู้แทนฯ....! 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
นายกรัฐมนตรี ต้องมาจากการเลือกตั้ง จากสมาชิกสภาผู้แทนฯ....!  (อ่าน 2964 ครั้ง)
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« เมื่อ: 29-01-2007, 17:39 »

วันที่ : 29 มกราคม 2550
เวลา : 8:32
 
 
 กมธ.ยัน'กันยา'คนไทยได้เลือกตั้ง
    
‘ครป.’เปิดโปงมีจริงยุทธศาสตร์คว่ำ รธน.มาร์คชี้ต้องเลือก ส.ว.
“ครป.”แฉยุทธศาสตร์คว่ำ รธน. มีอยู่จริง เรียกร้อง "ระบอบทักษิณ" เลิกใช้เกมการเมืองทำลายล้างกัน ส่วน "บิ๊กแอ้ด" จุดพลุได้ผล "นักการเมืองอาชีพ" ดาหน้าค้านลด "ส.ส.-ส.ว." กันไม่หยุด "มาร์ค" ชี้ ส.ว. ต้องเลือกตั้ง หวั่นใจสรรหาย้อนยุคเป็นสภาข้าราชการ "ปชป." ชูธงซักฟอกนายกฯ ย้ำ "ทัก ษิณ" ควรล้างมือการเมืองเพื่อชาติได้แล้ว ฝ่าย "อดีต ส.ว.เลือกตั้ง" รุมต้านไอเดียถอยหลังเข้าคลอง เตือนฝืนกระแสระวังเกิดวิกฤติการเมืองอีกระลอก จี้ "กมธ." อย่าสร้างปมขัดแย้งใหม่ ด้าน  "ทรท." วอนรัฐเลิกประกาศ คปค. ห้ามประชุมพรรค ปูดข้อมูล "สภายุคปฏิรูป" รับเงินเดือนหลายทาง ฟื้นความจำ "มีชัย-จำลอง" อย่าลืมอดีต ส่วน "กมธ." เผยปฏิทินทำคลอด รธน.ปี 50 ชี้ 19 เม.ย. ได้ต้นแบบ-ปลาย มิ.ย. ได้ตัวจริง-เลือกตั้ง ก.ย. ชัวร์ ขณะที่ "สนธิ" เช็กร่างกายฟิตเปรี๊ยะ

19 เม.ย.คลอดรธน.ต้นแบบ
 เมื่อวันที่ 28 ม.ค. นายวิชา มหาคุณ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ในฐานะรองประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ให้สัมภาษณ์ว่า จากการหารือเบื้องต้น กมธ. ได้ข้อสรุปว่าจะจัดทำร่างรัฐธรรมนูญร่างแรกให้เสร็จในวันที่ 19 เม.ย. เพื่อส่งให้องค์กรต่าง ๆ และประชาชนได้ดูในเบื้องต้นว่าพอใจหรือไม่พอใจ และจะแก้ไขในเรื่องใด ส่วนร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรที่ได้ข้อยุติแล้วคาดว่าจะเสร็จในวันที่ 9 มิ.ย. หรืออย่างช้าต้องเสร็จก่อนวันที่ 24 มิ.ย. นี้  
 
ผู้สื่อข่าวถามว่าหลายฝ่ายไม่เห็นด้วยกับการลดจำนวน ส.ส. และ ส.ว. จนถึงขั้นอาจจะมีการคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ นายวิชากล่าวว่า เป็น การคิดไกลไป ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อยุติเรื่องใด ๆ และ กมธ. พร้อมเปิดรับฟังข้อเสนอจากทุกฝ่าย จึงไม่ควรตีตนไปก่อนไข้หรือกลัวกันไปก่อน มั่นใจว่าหากขั้นตอนการร่างรัฐธรรมนูญดำเนินไปตามกรอบเวลาที่กำหนดไว้เบื้องต้นแล้ว หลังจากเดือน มิ.ย. นี้ ก็จะเปิดให้ประชาชนลงประชามติว่าจะรับร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ จากนั้นเชื่อว่าในเดือน ก.ย.นี้ จะจัดให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นได้

 "วิชา" หนุนลดอำนาจ ส.ว.
 สำหรับข้อเสนอของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ที่ให้ลดจำนวน ส.ส. และ ส.ว. นั้น นายวิชา กล่าวว่า เป็นแค่ข้อเสนอแนะของนายกฯ ตามที่มีผู้เสนอมา แต่ยังไม่ถือเป็นความคิดที่ตกผลึก ส่วนตัวเห็นว่า ส.ส. ไม่ควรมีมากถึง 500 คน เพราะต้องใช้งบประมาณจัดเลือกตั้งมาก มีหน่วยเลือกตั้งหลายแสนหน่วย และต้องใช้เจ้าหน้าที่ดูแลเลือกตั้งกว่า 1 ล้านคน รวมทั้งถ้าหากไม่มี ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ ก็จะทำให้จำนวน ส.ส. ลดลง
 
รองประธาน กมธ. กล่าวว่า ในส่วนของ ส.ว. ก็ไม่ควรให้มีอำนาจล้นฟ้าเหมือนสมัยที่ผ่านมาที่สามารถถอดถอน ให้คุณให้โทษแก่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ ถ้ามีอำนาจมากเกินไปจะไปเหมือนกับระบบประธานาธิบดีของสหรัฐ ดังนั้นร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จึงควรให้ ส.ว. มีหน้าที่กลั่นกรองกฎหมาย และเป็นที่ปรึกษาด้านจริยธรรมคุณธรรมเท่านั้น ขณะที่การคัดเลือกองค์กรอิสระนั้นก็ไม่ควรให้นักการเมืองเข้ามายุ่งเกี่ยวในขั้นตอนการคัดเลือก เพราะจะทำให้เกิด การแทรกแซงองค์กรอิสระได้ ส่วนที่มาของ ส.ว. ก็ให้สรรหามาจากผู้ทรงคุณวุฒิแทน


กมธ.ยัน "แอ้ด" ไม่ได้กดปุ่ม
 นายปกรณ์ ปรียากร โฆษก กมธ. กล่าวว่า กมธ. ยังไม่ได้พูดคุยกันในรายละเอียดซึ่งการประชุมวันที่ 29 ม.ค. จะมาหารือเพิ่มเติมจากกรอบที่วางเอาไว้ หลังจากนั้นค่อยลงลึกในรายละเอียด โดยจะมีคณะอนุ กมธ. ของกรอบต่าง ๆ นำประเด็นทั้งหมดไปศึกษา "ตอนนี้เรายังไม่มีธงในเรื่องต่าง ๆ ทั้งที่มา ส.ว. การลดจำนวน ส.ส. สิ่งที่เป็นข่าวออกไปถือเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของนายกฯ ผมไม่ทราบว่าท่านไปเอาตัวเลข 300 มาจากไหน แต่ทั้งนี้ท่านไม่ได้สั่งอะไรมาที่ กมธ. ว่าจะต้องเอาแบบนี้ และ กมธ. บางคนยังไม่ทราบข่าวที่ออกไปเลยก็มี"
 
โฆษก กมธ. กล่าวว่า หากพิจารณาถึงสัดส่วนของผู้แทนกับประชาชน ถ้าประชาชนเพิ่มขึ้นก็ต้องมี ส.ส. เพิ่มขึ้น มิฉะนั้นจะเป็นการเสียสิทธิของประชาชนหรือไม่ ต้องตอบคำถามเหล่านี้กับประชาชนให้ได้ด้วย ซึ่งตนเห็นว่าหากจะลดจริง ๆ อาจไปลดที่ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ ส่วนจะเป็นการเปิดโอกาสให้พรรคเล็กมากขึ้นหรือไม่นั้น เราต้องดูถึงความเท่าเทียมกัน แต่หากตามธรรมชาติถ้ามีพรรคมากเกินไปก็จะเกิดความสับสน เราต้องการความคิดเห็นจากประชา     ชนเพื่อมาวิเคราะห์ในประเด็นเหล่านี้

อดีต ส.ว.ชี้สืบทอดอำนาจ 100%
 นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ กมธ. ปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นในเรื่องดังกล่าว โดยเห็นว่า สิ่งที่ผู้ยกร่างต้องคำนึงถึงคือ ควรจะมาดูเรื่อง กรอบเวลาการทำงาน รวมทั้งโครงสร้างของรัฐธรรมนูญในอดีตทั้ง 18 ฉบับมากกว่า หากจะพูดอะไรควรออกจากโฆษก กมธ. เท่านั้น
 
นายไสว พราหมณี อดีต ส.ว.นครราชสีมา กล่าวถึงแนวคิดการลดจำนวน ส.ส. และ ส.ว. ว่า ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ความจริงยิ่งมี ส.ส. มากคนที่ได้ประโยชน์คือประชาชน เพราะนักการเมืองจะได้เข้าไปดูแลปัญหาอย่างทั่วถึง แต่มีข้อเสียคือต้องเพิ่มงบเป็นค่าเงินเดือนอีกเล็กน้อย ส่วน ส.ว. จำนวน 200 คนนั้นเหมาะสมอยู่แล้วและต้องมาจากการเลือกตั้งเหมือนเดิมตามรัฐธรรมนูญปี 2540 เพียงแต่ต้องแก้ไขในส่วนสำคัญอย่างเช่น การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ที่มาขององค์กรอิสระ เท่าที่ดูการรับลูกกันเป็นทอด ๆ แบบนี้โดยเฉพาะประเด็น ส.ว. ไม่ต้องมาจากการเลือกตั้ง มีเจตนาที่จะสืบทอดอำนาจกัน 100%

เตือนการเมืองปรอทแตกแน่
 อดีต ส.ว.นครราชสีมา กล่าวว่า การแก้ไขปรับปรุงไม่ควรหยิบยกประเด็นขึ้นมามากมาย แค่ริเริ่มก็ก่อให้เกิดความขัดแย้งในสังคมแล้ว ถ้ายังดึงดันต่อไปอาจจะเกิดวิกฤติการเมือง ยิ่งกว่านี้ ดังนั้นคนกุมอำนาจที่ได้มาจากการปฏิวัติจะต้องรีบคืนอำนาจให้ประชาชน อย่าไปสร้างเงื่อนไขของความให้มากกว่านี้ และคนที่รับผิดชอบในการร่างรัฐธรรมนูญก็อย่าเอาแต่โยนหินถามทาง
 
นายพิชัย บุณยเกียรติ อดีต ส.ว.นครศรีธรรมราช กล่าวว่า อยากจะท้วงติงนายจรัญ ภักดีธนากุล รองประธาน กมธ. ว่าการร่างรัฐธรรมนูญต้องมองในภาพกว้าง ต้องดูต้นตอปัญหาที่แท้จริงคือการใช้อำนาจเงินซื้อทุกอย่าง การรับลูกความคิดจากนายกฯ อาจทำให้ประชาชนมองได้ว่ามีการฮั้วกันระหว่างนายกฯ และ กมธ. ไม่อยากให้เกิดภาพการครอบงำหรือการชี้นำจากส่วนบนลงล่าง โดยที่ประชาชนไม่มีส่วนร่วมอะไรเลย กมธ. ควรรับฟังความเห็นจากประชาชนในภาพรวมเสียก่อนแล้วค่อยมากำหนดประเด็นว่าจะแก้ตรงไหน อย่างไร ตอนนี้ยังไม่ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นอะไรเลย การออกมาขานรับกันเรื่อย ๆ อย่างนี้ตนกลัวว่าจะนำไปสู่วิกฤติการเมืองอีกครั้ง

 "มาร์ค" ไม่เอา ส.ว. แต่งตั้ง
 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เขียนบทความเรื่อง "ข้อเสนอเกี่ยวกับวุฒิสภาในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ : สร้างสภาให้นักการเมืองภาคประชาชน" มีเนื้อหาว่า ประเด็นการร่างรัฐธรรมนูญที่มองว่ายากที่สุดคือประเด็นที่มาของวุฒิสภา ตนขอเสนอกรอบความคิดเห็นเกี่ยวกับวุฒิสภาในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่าประเทศไทยยังควรใช้ระบบสองสภา ส.ว. ควรเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ส่วนที่มาของ ส.ว. ไม่ควรมาจากการแต่งตั้งหรือสรรหา เพราะมีความเสี่ยงที่วุฒิสภาจะกลายเป็นสภาข้าราชการอีก
 
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่า ทาง ออกที่ดีที่สุด คือ การเลือกตั้ง แต่ปรับปรุงระบบเลือกตั้ง คุณสมบัติ และบทบาทใหม่ คือ 1.ห้ามมิให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งในสภาหนึ่งสภาใดไปสมัครรับเลือกตั้งในอีกสภาหนึ่ง 2.อนุญาตให้ผู้สมัคร ส.ว. หาเสียงได้เพื่อประกาศกำหนดจุดยืน แทนที่จะอิงกับการเป็นญาติของนักการเมือง หรือผู้มีอิทธิพลทางการเมือง 3.ขยายเขตเลือกตั้งให้ใหญ่กว่าจังหวัดอาจเป็นกลุ่มจังหวัด 4.ยกเลิกอำนาจในเรื่องการถอดถอนแต่งตั้งองค์กรอิสระ เพราะเป็นเหตุจูงใจให้ฝ่ายการเมืองเข้ามาแทรกแซงครอบงำวุฒิสภา
 

"ปชป." ชูธงซักฟอกนายกฯ
 ที่พรรคประชาธิปัตย์  นายองอาจ คล้าม ไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่า พรรคมีข้อเสนอ 4 ประการต่อการยกร่างรัฐธรรมนูญ คือ 1.นายกฯ ต้องมาจาก ส.ส. 2.ต้องหาทางป้องกันไม่ให้ผู้มีอำนาจในบ้านเมืองใช้ช่องว่างของรัฐธรรมนูญมาสร้างเผด็จการรัฐสภา จนรัฐสภากลายเป็นสภาเป็ดง่อยไม่สามารถที่จะทำหน้าที่    ของตัวเองได้สมศักดิ์ศรี 3.ไม่ควรเอาวุฒิการศึกษามาปิดกั้นการลงสมัครรับเลือกตั้ง เพราะการตัดสินใจว่าบุคคลนั้นจะได้เป็น ส.ส.หรือไม่ ขึ้นอยู่กับประชาชน 4.ต้องหาทางสร้างกลไกของรัฐสภา เช่น คณะกรรมาธิการสามัญเป็นยักษ์ที่มีกระบองไม่ใช่ยักษ์หลับเหมือนในอดีต และที่สำคัญการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีต้องเกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะมีฝ่ายค้านกี่คนก็ตาม เพราะการไม่สามารถตรวจสอบนายกฯ จะนำไปสู่ความขัดแย้งอย่างรุนแรงของผู้คนในสังคมและในบ้านเมือง

วอน "แม้ว" วางมือเพื่อชาติ
 นายองอาจ ยังกล่าวถึงการเคลื่อนไหวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ว่า เป็นการเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างชัดเจน ตรงข้ามกับสิ่งที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เคยพูดไว้ว่าจะไม่เคลื่อนไหวอะไรและจะวางมือทางการเมือง อีกทั้งยังออกมาบอกว่าจะกลับมาทำประโยชน์ให้กับประเทศโดยแสดงท่าทีกลับมาทวงคืนอำนาจทุกรูปแบบเพื่อผลประโยชน์ตัวเอง ดังนั้นขอเรียกร้องว่า พ.ต.ท.ทักษิณอย่าได้เอาประโยชน์ของประเทศชาติเป็นตัวประกันอีกต่อไปเพื่อประ โยชน์ของตัวเองและบริวารโดยควรหยุดเคลื่อน   ไหวใด ๆ ที่ก่อให้เกิดปัญหาบานปลาย
 
"วันนี้ถ้าอดีตนายกฯ ทักษิณ รักชาติจริงเหมือนที่เคยพูดไว้ เหมือนกับที่ท่านตั้งคำถามกับคนอื่นว่ารักชาติหรือไม่ ผมคิดว่าท่านควรจะหยุดเคลื่อนไหวใด ๆ อันมีส่วนทำให้ปัญหาบานปลายมากขึ้น เพราะตราบใดที่ท่านเคลื่อนไหวอยู่ ผมคิดว่าปัญหาจะมีมากขึ้นเรื่อย ๆ และแน่นอนที่สุดผมคิดว่าไม่เป็นผลดีต่อประเทศชาติโดยรวม ถ้าท่านรักชาติจริง ถ้าท่านอยากเห็นประเทศชาติบ้านเมืองไม่มีปัญหา ผมคิดว่าท่านไม่ควรเคลื่อนไหวอีกต่อไป"

 
 http://www.dailynews.co.th/dailynews/pages/front_th/popup_news/Default.aspx?Newsid=115616&NewsType=1&Template=2

 
 
 หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่า ทาง ออกที่ดีที่สุด คือ การเลือกตั้ง แต่ปรับปรุงระบบเลือกตั้ง คุณสมบัติ และบทบาทใหม่ คือ
1.ห้ามมิให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งในสภาหนึ่งสภาใดไปสมัครรับเลือกตั้งในอีกสภาหนึ่ง
2.อนุญาตให้ผู้สมัคร ส.ว. หาเสียงได้เพื่อประกาศกำหนดจุดยืน แทนที่จะอิงกับการเป็นญาติของนักการเมือง หรือผู้มีอิทธิพลทางการเมือง
3.ขยายเขตเลือกตั้งให้ใหญ่กว่าจังหวัดอาจเป็นกลุ่มจังหวัด
4.ยกเลิกอำนาจในเรื่องการถอดถอนแต่งตั้งองค์กรอิสระ เพราะเป็นเหตุจูงใจให้ฝ่ายการเมืองเข้ามาแทรกแซงครอบงำวุฒิสภา
 


ผมอยากเสนอความคิดเห็นเพิ่มเติม คือ....
เนื่องจาก'วุฒิสมาชิก'เป็น'สภาพี่เลี้ยง'หรือ'สภาที่ปรึกษ' ดังนั้นจึงต้องพิจารณาคุณสมบัติให้เหมาะสม จึงควรกำหนดข้อห้ามไว้ดังนี้....

1. 'วุฒิสมาชิก'ไม่สามารถไปสมัครเป็น'สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ได้อีก'....
2. 'วุฒิสมาชิก'ไม่สามารถเป็นต่อเนื่อง 2 สมัย...
3. อดีต'สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร์' สามารถสมัครเป็น 'วุฒิสมาชิก'ได้
    แต่ได้เป็นแล้ว จะกลับไปสมัครเป็น 'สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์'อีกไม่ได้..



'วุฒิสมาชิก' จะต้องมาจากการเลือกตั้งเท่านั้น....
ถ้ามาจากการแต่งตั้ง ไม่มีเลย ดีกว่า..........
   
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13-03-2007, 22:52 โดย ปุถุชน » บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #1 เมื่อ: 29-01-2007, 18:38 »

คงต้องมาพิจารณากันก่อนว่า จะมีวุฒิสภาหรือไม่  วุฒิสภานั้นจะมีหน้าที่ทำอะไร  และจะมาจากไหน

ดั้งเดิมนั้น เรากำหนดให้วุฒิสภานั้น เป็นสภาพี่เลี้ยงของสภาผู้แทน เพราะในยุคเริ่มแรกนั้น เชื่อกันว่าสภาผู้แทนอาจจะยังใหม่ และอาจทำงานได้ไม่เรียบร้อย จำต้องมีผู้ทรงคุณวุฒิมากลั่นกรองกฎหมายที่เสนอเข้าสภา ต่อมาก็พัฒนาอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภาเข้ามามากมาย จนถึงสุดท้ายในยุคที่ผ่านมา ปรากฎว่าวุฒิสภามีอำนาจล้นฟ้า แต่กลับเน่าหนอนเสียยิ่งกว่าสภาผู้แทน และที่มาก็มาจากที่เดียวกัน นั่นคือการเลือกตั้งโดยอาศัยภูมิประเทศ เป็นตัวแบ่งแยกเขต

การคัดค้านที่มาของวุฒิสภาจากการแต่งตั้งนั้น ก็ด้วยเกรงกันว่า ผู้แต่งตั้งจะครอบงำอำนาจ โดยอาศัยวุฒิสภานั่นเอง

กฎเกณฑ์ควบคุมที่มาและระเบียบต่างๆของการได้มาซึ่งวุฒิสมาชิกนั้น คงจะต้องเข้มงวดกว่าเก่าอีกมาก เพื่อหนีสภาพสภาผัวเมีย หนีอิทธิพลในท้องถิ่นที่ครอบงำประชาชนอยู่ ไม่แต่วุฒิสมาชิกเท่านั้น ผู้แทนราษฎรก็ต้องออกกฎเกณฑ์ให้ปราศจากอืทธิพลของผู้มีเงินและอำนาจ ไม่ให้แอบแฝงเข้ามาได้

ตรงนี้แหละค่ะที่ลำบากที่สุด 75 ปีของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้น ประชาชนไทยส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจถึงการเมืองการปกครองเลย ผู้แทนราษฎรที่จะเข้าไปเป็นปากเป็นเสียงของตนเองนั้น กลับกลายเป็นคนที่จ่ายให้มากที่สุด คนที่ไปช่วยเผาผี ไปประกันตัวให้เวลาเล่นไฮโลแล้วตำรวจจับ หรือไกล่เกลี่ยเวลาต้องคดีต่างๆ ภาพโดยรวมของสภาจึงกลายเป็นแหล่งรวมของคนที่มีโอกาศในสังคม ที่มุ่งเข้ามารักษาและหาผลประโยชน์ให้แก่ตน

ไม่ว่าสภาผู้แทนหรือวุฒิสภาในสมัยต่อไป รับรองได้ว่าหากมาในรูปแบบเดิม ก็เน่าเหมือนเดิม

และคงต้องยอมรับกันว่า คนไทยนั้นแบ่งออกเป็นสามพวก พวกหนึ่งฉวยโอกาศและหาจังหวะที่จะมาปกครอง อีกพวกก็คอยรับเงินจากพวกแรก ใครจ่ายมากกว่าก็ชนะ  พวกสุดท้ายพยายามทำให้บ้านเมืองดี พยายามบอกให้พวกอื่นรู้ว่า ประเทศจะไปรอด ต้องเลือกคนดีเข้ามา แต่พวกสุดท้ายก็มีน้อยนิด

หนูเชื่อว่า ไม่มีอนาคตสำหรับการเมืองการปกครองที่ดีในระยะเวลาอันใกล้นี้ เราจะกลับเข้าสู่วงจรอุบาทว์เหมือนเดิม ล้มๆลุกอยู่อย่างนี้ จนถึงจุดวิบัติ และประเทศก้าวเข้าสู่หายนะ หากไม่เสียเอกราชประเทศพินาศไป ก็จะต้องมีการต่อสู้ครั้งใหญ่ ระหว่างกลุ่มอำนาจหลายกลุ่ม อนาคตอาจจะถูกกำหนดไว้แล้วค่ะ 
บันทึกการเข้า
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #2 เมื่อ: 04-02-2007, 22:41 »

มติให้วุฒิสภามาจากการสรรหา   
   
  โดยทีมข่าว INN News 01 กุมภาพันธ์ 2550 19:53:01 น.     


 
อนุกรรมาธิการสถาบันการเมือง มีมติเอกฉันท์ คงไว้ทั้งสองสภา กำหนดให้วุฒิสภามาจากการสรรหา จากแต่ละสาขาอาชีพอย่างเป็นธรรม

ที่ประชุมอนุกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ณ สถาบันการเงินที่มี นายจรัญ ภักดีธนากุล เป็นประธาน ได้มีการประชุมนัดแรกเพื่อวางกรอบร่างรัฐธรรมนูญโดยที่ประชุมมีมติเอกฉันท์ในการที่จะให้ใช้ระบบสองสภาโดยคงวุฒิสภาเอาไว้เพื่อทำหน้าที่ในการกลั่นกรองกฏหมายตรวจสอบถ่วงดุลสภาผู้แทนราษฎรรวมถึงมีหน้าที่ในการคัดสรรบุคคลเข้าสู่องค์กรอิสระต่างๆ ส่วนจะมีหน้าที่ในการถอดถอนหรือไม่นั้นต้องไปศึกษาในรายละเอียดอีกครั้ง ทั้งนี้ในที่ประชุมยังได้มีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวางเรื่องของที่มาของวุฒิสภาซึ่งส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่าจะไม่ใช้วิธีการแต่งตั้งและการเลือกตั้งโดยตรงแต่ควรมีการสรรหาให้เหมาะสมในการเป็นตัวแทนของกลุ่มตัวแทนอาชีพต่างๆและกลุ่มของประชาชนทุกภาคส่วน เพราะจุดอ่อนของ ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้งนั้นจะมีการเชื่อมโยงกับฝ่ายการเมือง การจัดตั้งคะแนนโดยมีการวางตัวบุคคลระดับซีไว้ให้เป็น ส.ว.ขณะที่คนเกรดเอจะได้เป็นรัฐมนตรี ทั้งนี้ นายพิสิฐ ลี้อาธรรม เห็นว่าไม่ควรปิดช่องทางการเลือกตั้งเอาไว้เพื่อให้เกิดความโปร่งใส
     
 http://www.innnews.co.th/Politic.php?nid=19862 
 
   
 
บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
1ktip
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,457



« ตอบ #3 เมื่อ: 04-02-2007, 22:48 »

สรรหารายชื่อ ตรวจสอบคุณสมบัติ แล้วค่อยส่งให้ประชาชนเลือกตั้งดีไหมครับ? จะได้ฝ่าหลายๆ ด่านหน่อย

ลุงปุฯ หายดีรึยังครับ ยังไงก็พักผ่อนมากๆ นะครับ
บันทึกการเข้า
AsianNeocon
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,277


中華萬歲﹗ LONG LIVE CHINA!


เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 04-02-2007, 23:09 »

ผมคิดว่า ยังไงชื่อมันบอกว่า "วุฒิ" ความหมายเราไม่ต้องมาเถียงกันว่าคืออะไร ดังนั้นก็ไม่ควรมาจากการเลือกตั้งครับ เพราะเมื่อมาจากการเลือกตั้งก็จะแยกบทบาทตัวเองไม่ออกว่า ตัวเองนั้นเป็นส.ส.หรืออะไร และในที่สุดก็หลีกเลี่ยงไม่ได้กลายเป็นสภาผัวเมียไปอีก ซึ่งไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย

น่าจะหา "วิธีสรรหา" อะไรก็ตามที่ไม่ใช่การเลือกตั้งและการแต่งตั้งโดยคนๆเดียว จะดีกว่า แล้วเปิดเผยรายชื่อให้สังคมได้วิพากษ์วิจารณ์กันก่อน


แต่ก็อะนะ..... ถ้าคนสรรหามันเลว ก็ได้คนเลวๆมาแหละครับ ...... อันที่จริงในประเทศออสเตรเลีย แคนาดา นายกรัฐมนตรีเป็นคนเสนอรายชื่อสมาชิกวุฒิสภา เพื่อทูลเกล้าฯสมเด็จพระราชินีแห่งออสเตรเลียหรือแคนาดา (ผ่าน Governor General หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์) และไม่ว่านายกฯจะมาจากฝ่ายอนุรักษ์นิยมหรือเสรีประชาธิปไตย เขาก็ไม่มีปัญหาเรื่องวุฒิสภามีความเอนเอียง หรือไปรับทรัพย์ใครมา หรือมีการถือเรื่องบุญคุณว่า กูแต่งตั้งมึงมา ดังนั้นกูมีบุญคุณต่อมึง มึงก็ต้องยกมือให้กู มันไม่มีเรื่องไร้สาระแบบนี้อะครับ  Confused
บันทึกการเข้า

ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #5 เมื่อ: 04-02-2007, 23:18 »

ผมอยากเสนอความคิดเห็นเพิ่มเติม คือ....
เนื่องจาก'วุฒิสมาชิก'เป็น'สภาพี่เลี้ยง'หรือ'สภาที่ปรึกษา' ดังนั้นจึงต้องพิจารณาคุณสมบัติให้เหมาะสม จึงควรกำหนดข้อห้ามไว้ดังนี้....

1. 'วุฒิสมาชิก'ไม่สามารถไปสมัครเป็น'สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ได้อีก'....
2. 'วุฒิสมาชิก'ไม่สามารถเป็นต่อเนื่อง 2 สมัย...
3. อดีต'สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร์' สามารถสมัครเป็น 'วุฒิสมาชิก'ได้
    แต่ได้เป็นแล้ว จะกลับไปสมัครเป็น 'สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์'อีกไม่ได้..
4. ประชาชนสามารถยื่น'ถอดถอน'ได้โดยไม่ต้องมีผู้ลงชื่อถึง 50.000 คน


'วุฒิสมาชิก' จะต้องมาจากการเลือกตั้งเท่านั้น....
ถ้ามาจากการแต่งตั้ง ไม่มีเลย ดีกว่า..........   
 
ข้อความโดย: ปุถุชน

บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
login not found
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,523



« ตอบ #6 เมื่อ: 05-02-2007, 01:14 »

ผมเห็นว่าวุฒิสมาชิกควรมาจากการแต่งตั้ง
เพื่อให้ได้คนที่มีความรู้ความสามารถจริงๆ
เข้าไปเป็นผู้กลั่นกรองและตรวจสอบ
ไม่เช่นนั้นก็จะเห็นกฎหมายโดนตีกลับมาอีกหลายฉบับ
ส่วนวิธีการสรรหา และวิธีการป้องกันให้วุฒิสมาชิก
เป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร นักการเมืองในระดับต่างๆ
เป็นเรื่องที่ต้องคิดกันอีกที
บันทึกการเข้า
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #7 เมื่อ: 14-02-2007, 23:24 »

22:18 น.  นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึง แนวทางของคณะอนุกรรมาธิการ(กมธ.)ยกร่างรัฐธรรมนูญว่าด้วยสถาบันการเมือง ที่จะให้ส.ว.มาจากการแต่งตั้งโดยคณะผู้อาวุโส ว่า ถ้าจะให้ส.ว.มาจากการแต่งตั้งขอให้ยกเลิกส.ว.ไปเลยดีกว่า เพราะเราไม่ควรกลับไปจุดนั้นอีกแล้ว ตามประวัติศาสตร์แล้วส.ว.ที่มาจากการแต่งตั้งไม่ว่าจะแต่งตั้งโดยใคร สุดท้ายจะเป็นฐานกำลังของรัฐบาล  โดยเฉพาะในรัฐบาลที่มาจากการยึดอำนาจของทหารส.ว.แต่งตั้งเป็นช่องทางที่ใช้ในการสืบทอดอำนาจของคณะทหารชัดเจน ทั้งนี้ ในประเทศที่มีส.ว.นั้นแทบทั้งหมดจะเป็นระบบสาธารณรัฐที่ต้องมีตัวแทนแต่ละมลรัฐเข้ามาเป็นสภาสูงเพื่อดูแลกฎหมายกลางว่าจะกระทบกระเทือนท้องที่ตัวเองหรือไม่ แต่สำหรับประเทศไทยเป็นรัฐเดี่ยวไม่จำเป็นต้องมีส.ว.ก็ได้
ในสมัยรสช. มีการแต่งตั้งส.ว.ถึง 270 คนคิดเป็น 3 ใน 4 ของสภาทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นทหาร และกลุ่มข้าราชการ ซึ่งเป็นฐานอำนาจคอยคุมเกมในสภาให้กับรัฐบาล”นักวิชาการ ผู้นี้ กล่าวและว่า ในเรื่องส.ว.นั้นต้องพิจารณาที่มาและอำนาจหน้าที่ไปพร้อมๆกันหากจะให้มีอำนาจมากก็ต้องให้มาจากการเลือกตั้งซึ่งต้องแก้ปัญหาสภาผัวเมียให้ได้ แต่ถ้าจะไม่ให้มีอำนาจมากก็อาจจะมาจากการเลือกตั้งทางอ้อม ซึ่งตนไม่เห็นด้วยเพราะจะเหมือนการขี่ช้างจับตั้กแตนคือต้องลงทุน ลงแรงมหาศาลเพื่อให้ได้ส.ว.ที่ไม่มีอำนาจ


http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?lang=T&newsid=242868


 
ตามประวัติศาสตร์แล้วส.ว.ที่มาจากการแต่งตั้งไม่ว่าจะแต่งตั้งโดยใคร สุดท้ายจะเป็นฐานกำลังของรัฐบาล  โดยเฉพาะในรัฐบาลที่มาจากการยึดอำนาจของทหารส.ว.แต่งตั้งเป็นช่องทางที่ใช้ในการสืบทอดอำนาจของคณะทหารชัดเจน

สว.มาจากการแต่งตั้ง มีความจำดีว่า 'ใคร'เป็นคนแต่งตั้ง
และจะจงรักภักดี ตอบแทน'น้ำข้าว'ด้วยวิธีใด...........ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า



บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #8 เมื่อ: 10-03-2007, 00:35 »

ปลุกนายกฯคนนอก'ประสงค์'งัดข้อส่อหัก'นรนิติ'อ้างการเลือกตั้งไม่เป็น'ปชต.'


9 มีนาคม 2550    กองบรรณาธิการ

ปลุกกระแสนายกรัฐมนตรีคนนอก "ประสงค์" เผยตัวจริง ขวางนายกฯ มาจากเลือกตั้ง อ้างเขียนตายตัวเกินไป ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย การเมืองไม่มีทางออก


สุดท้ายสร้างเงื่อนไขฉีกรัฐธรรมนูญ  "นรนิติ" ไม่เอาด้วย ดิ่งตรงจากกรุงเทพฯ ถึงชะอำ  ยันต้องมาจากเลือกตั้ง  ส่อแตกหักหลังทั่นประธานทั้งสองเห็นต่าง หน้าไม่มอง ไม่คุย ไม่กินข้าวร่วมโต๊ะ


ที่โรงแรมสปริงฟิลด์ฯ จ.เพชรบุรี มีการประชุมวันที่ 4 ของกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ  ในช่วงเช้ามีประเด็นที่น่าสนใจคือ การพิจารณาว่าด้วยเรื่องวุฒิสภา   ซึ่งกรรมาธิการส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการสรรหาเพื่อแต่งตั้งและเลือกตั้งทางอ้อม   โดยไม่เห็นด้วยกับการเลือกตั้งโดยตรงเหมือนรัฐธรรมนูญปี 2540

[color]นายสมคิด   เลิศไพฑูรย์  เลขานุการกรรมาธิการยกร่างฯ สรุปว่ากระบวนการได้มาของ  ส.ว. ที่ประชุมเสียงส่วนใหญ่เห็นว่าควรมาจากการสรรหาหรือเลือกตั้งทางอ้อม  แต่ทั้งนี้ยังไม่สรุปลงไปว่าจะไม่ใช้ระบบเลือกตั้ง  โดยจะต้องไปคิดวิธีการสรรหาว่าจะเป็นอย่างไร
ส่วนจำนวนน่าจะน้อยกว่า  200 คน อาจ 160 คน คือมาจาก 1 ใน 3 ของ ส.ส.เขต 400 คน บวกกับ ส.ส.ระบบสัดส่วน 80 คน

นายจรัญ   ภักดีธนากุล   ในฐานะประธานอนุกรรมาธิการกรอบที่  2  ว่าด้วยสถาบันการเมือง กล่าวว่า ตนกับคณะจะรับไปหารูปแบบการสรรหาหรือเลือกตั้งทางอ้อมมาเสนอต่อที่ประชุมใหญ่  แต่ยอมรับว่าเป็นเรื่องยากที่จะหารูปแบบที่ลงตัว   เพราะถ้าหาไม่ได้   โอกาสที่จะได้รับความเห็นชอบจากสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญคงยาก   โดยจะทำออกมา  3  รูปแบบ  ให้ กมธ.พิจารณา ทั้งนี้ อาจจะนำรูปแบบต่างๆ มาผสมเข้าด้วยกันก็ได้เพื่อความเหมาะสม

หลังการประชุมกว่า  2  ชั่วโมง  น.ต.ประสงค์ได้กล่าวปิดการประชุมในช่วงเช้า ว่า ฟังเสียงแล้วเข้าใจว่าเรากำลังเข้าสู่กระบวนการหา ส.ว.ที่หมายความถึง "สมหวัง" ไม่ใช่ "สิ้นหวัง"

ช่วงบ่ายกรรมาธิการยกร่างฯ    ได้พิจารณาในประเด็นคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของ ส.ว.  ที่ประชุมสรุปว่าต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า  40  ปี  และต้องมีคุณสมบัติไม่เคยเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการบริหารของพรรคการเมืองไม่น้อยกว่า  2 ปี จนถึงวันเลือกตั้ง และจะมีวาระในการดำรงตำแหน่ง 1 วาระ 6 ปี และต้องคัดออกทุก 3 ปี และให้เริ่มดำเนินการคัดสรรใหม่

ยังมีผลสรุปการประชุมที่น่าสนใจคือ การสรรหากรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. นายพิสิฐ ลี้อาธรรม  โฆษกกรรมาธิการยกร่างฯ  แถลงว่า เดิมจะมีตัวแทนศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกา ตัวแทนพรรคการเมือง  และตัวแทนมหาวิทยาลัยของรัฐเป็นกรรมการสรรหา  แต่ระบบใหม่จะประกอบด้วย 5  คน ประกอบด้วย  ประธานศาลศาลฎีกา  ประธานศาลปกครองสูงสุด   ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานสภาผู้แทนราษฎร   และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร  เป็นกรรมการสรรหาผู้ที่สมควรเป็นกรรมการการเลือกตั้ง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  ต่อมากรรมาธิการยกร่างฯ ได้พิจารณาหัวข้อที่มาของนายกรัฐมนตรี ซึ่งคณะอนุกรรมาธิการที่มีนายจรัญ ภักดีธนากุล เป็นประธาน ได้เสนอให้มาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  อย่างไรก็ตาม นายศรีราชา เจริญพานิช แย้งว่าไม่จำเป็นต้องระบุตายตัวในรัฐธรรมนูญ  ควรจะปล่อยให้เป็นสิทธิ์ของพรรคการเมืองเสียงข้างมาก  ที่จะเสนอบุคคลมาเป็นนายกฯ ซึ่งโดยปกติจะให้หัวหน้าพรรคการเมืองเสียงข้างมากเป็นนายกฯ อยู่แล้ว  ไม่จำเป็นต้องกำหนด เพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุทางการเมืองก็แก้ไขอะไรไม่ได้

"การกำหนดตายตัวทำให้เราต้องยอมรับให้พรรคการเมืองที่เห็นอยู่ไม่กี่พรรคผลัดเปลี่ยนกันครองอำนาจ   ถ้าปล่อยให้นายกฯ มาจาก ส.ส. การเมืองก็เป็นเรื่องแค่พรรคการเมืองไม่กี่พรรคมาตั้งคณะรัฐมนตรี   ความคิดของตนไม่ได้ต่อท่ออำนาจ  แต่ในเมื่อเราแก้รัฐธรรมนูญ  ทำงานใหญ่เราต้องใช้โอกาสนี้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับการเมือง ไม่เช่นนั้นจะเสียแรงเปล่า" นายศรีราชากล่าว

ด้าน  นายนรนิติ  เศรษฐบุตร  ประธาน ส.ส.ร. อภิปรายแย้งว่า ควรกำหนดให้นายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้งของประชาชน  เพราะเป็นจุดที่ยึดโยงกับประชาชน การที่ไม่เขียนไว้ให้ชัดเจนอาจเกิดปัญหาเหมือนในอดีต   เมื่อ  15  ปีที่แล้วไม่เขียนเอาไว้  ก็เกิดปัญหาความยุ่งยากทางการเมือง ถ้าไม่เขียนเราจะถูกระแวงและสงสัยตลอดเวลา

น.ต.ประสงค์  สุ่นศิริ  ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างฯ  กล่าวว่า ขอฝากข้อสังเกตต่อที่ประชุมเรื่องที่มานายกฯ  ว่าการรัฐประหารครั้งล่าสุด  เพราะหาทางออกไม่ได้  รัฐธรรมนูญเขียนจำกัดไว้ตายตัว ในเมื่อไม่มีทางออกก็ต้องฉีกรัฐธรรมนูญ   เราจึงต้องกลับมาอยู่ในระบบนี้  การตัดสินใจทุกอย่างต้องคำนึงถึงคุณภาพของการเลือกตั้ง  ทั้งผู้เลือก และรับเลือก ไม่ใช่ว่าเมื่อเลือกตั้งเสร็จแล้วเป็นประชาธิปไตย  ไม่ใช่ว่าตนไม่นิยมการเลือกตั้ง แต่ประชาธิปไตยที่มีแต่การเลือกตั้งอย่างเดียว ขนาดประเทศคอมมิวนิสต์ที่เป็นเผด็จการก็มีการเลือกตั้ง แต่ก็ไม่เป็นประชาธิปไตย

"ถ้าบอกว่าการเลือกตั้งเป็นการให้กำเนิดประชาธิปไตย ต้องขยายความมากกว่านี้ ถ้าเราทำอะไรตึงตัว  โดยไม่คิดยืดหยุ่น  ประวัติศาสตร์ก็จะซ้ำรอยเรื่อยๆ เรื่องที่มานายกฯ จะกำหนดอย่างไร ผมไม่สามารถบอกอะไรได้  ขึ้นอยู่กับกรรมาธิการ  แต่เชื่อว่าทุกคนอยากให้บ้านเมืองเป็นประชาธิปไตย ซึ่ง  5-6 ปีที่ผ่านมา มีการเลือกตั้ง 2 ครั้ง แต่ก็ไม่สามารถเป็นประชาธิปไตย เพราะนักธุรกิจเข้าสู่การเมืองได้โดยตรง  นักการเมืองถูกใช้เป็นเครื่องมือ  กลายเป็นรัฐบาลอุตริ การทำอะไรที่ตึงตัวนั้น ต้องคิดว่ามาแก้ปัญหาทั้งระบบหรือไม่  หรือจะทำให้เราเดินวนรอบตัวเองเหมือน  10  ปีที่ผ่านมา ถ้ารัฐธรรมนูญถูกฉีกอีก 10 ปีข้างหน้าผมคงอยู่ไม่ถึงร่างรัฐธรรมนูญแล้ว" ประธาน กมธ.กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า    การแสดงความเห็นของ น.ต.ประสงค์   ถือว่าเป็นครั้งแรกที่ใช้เวลานานมากที่สุด และมีท่าทีเคร่งเครียด จริงจัง ต่างกับการกล่าวในช่วงอื่นที่มักมีอารมณ์ขัน ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ยืนยันว่าจะทำหน้าที่ประธานด้วยความเป็นกลาง และจะไม่ชี้นำความคิดเห็นของที่ประชุม

นายสมคิด   เลิศไพฑูรย์  เลขานุการกรรมาธิการ เสริมว่า แม้ว่าตนจะเห็นด้วยกับการไม่ต้องกำหนดที่มานายกฯ ไว้ แต่ฝ่ายเลขานุการก็จะเขียนไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ ว่าให้นายกฯ  มาจาก ส.ส.ตามข้อเสนอของคณะอนุกรรมาธิการ  ส่วนวาระการดำรงตำแหน่งนายกฯ  นั้นที่ประชุมได้ข้อสรุปว่า ให้ดำรงตำแหน่งไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน

เป็นที่น่าสังเกตว่า   การประชุมของกรรมาธิการยกร่างฯ  วันนี้ โดยเฉพาะมีการหยิบยกที่มาของนายกรัฐมนตรีมาพิจารณา นายนรนิติ เศรษฐบุตร ประธาน ส.ส.ร.ได้เดินทางเข้าร่วมประชุมทั้งที่ต้องเป็นประธานดูแลการประชุมใหญ่ที่กรุงเทพฯ  แต่เมื่อมีการประชุมในวาระดังกล่าว จึงได้มาร่วมประชุมและได้แสดงความเห็นยืนยันว่านายกฯ   จะต้องมาจากการเลือกตั้งเท่านั้น ไม่เช่นนั้นรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะมีปัญหาไม่ผ่านประชามติ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  ภายหลังการประชุมบรรดากรรมาธิการยกร่างฯ  ต่างแยกย้ายกันไปรับประทานอาหารเป็นกลุ่มๆ   แต่ที่น่าสนใจคือกลุ่มของ   น.ต.ประสงค์ ได้นั่งร่วมโต๊ะกับ พล.อ.ปานเทพ  ภูวนารถนุรักษ์   สนช.สาย คมช. และกรรมาธิการคนอื่นอีก  4-5  คน   ขณะที่นายนรนิติที่เป็นถึงประธาน  ส.ส.ร. กลับนั่งรับประทานอาหารเพียงคนเดียวอยู่อีกโต๊ะข้างๆ  และหลังจากรับประทานอาหารเสร็จ นายนรนิตไม่ได้เข้าไปทักทาย น.ต.ประสงค์แต่อย่างใด

มีรายงานว่า  กรรมาธิการยกร่างฯ ร่วมกับคณะกรรมาธิการประชาสัมพันธ์ เตรียมจัดพิมพ์ร่างรัฐธรรมนูญทันทีที่แล้วเสร็จ ซึ่งตามตารางร่างรัฐธรรมนูญจะเสร็จในวันที่ 19 เมษายน  2550 และน่าจะแจกจ่ายให้กับประชาชนได้ในวันที่ 20-26 เมษายน 2550 อีกทั้งจะมีการประสานความร่วมมือกับสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยด้วย

http://www.thaipost.net/index.asp?bk=thaipost&post_date=9/Mar/2550&news_id=139060&cat_id=501




1. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  ต่อมากรรมาธิการยกร่างฯ ได้พิจารณาหัวข้อที่มาของนายกรัฐมนตรี ซึ่งคณะอนุกรรมาธิการที่มีนายจรัญ ภักดีธนากุล เป็นประธาน ได้เสนอให้มาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร   

2. ด้าน  นายนรนิติ  เศรษฐบุตร  ประธาน ส.ส.ร. อภิปรายแย้งว่า ควรกำหนดให้นายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้งของประชาชน  เพราะเป็นจุดที่ยึดโยงกับประชาชน การที่ไม่เขียนไว้ให้ชัดเจนอาจเกิดปัญหาเหมือนในอดีต   เมื่อ  15  ปีที่แล้วไม่เขียนเอาไว้  ก็เกิดปัญหาความยุ่งยากทางการเมือง ถ้าไม่เขียนเราจะถูกระแวงและสงสัยตลอดเวลา

3. อย่างไรก็ตาม นายศรีราชา เจริญพานิช แย้งว่าไม่จำเป็นต้องระบุตายตัวในรัฐธรรมนูญ  ควรจะปล่อยให้เป็นสิทธิ์ของพรรคการเมืองเสียงข้างมาก  ที่จะเสนอบุคคลมาเป็นนายกฯ ซึ่งโดยปกติจะให้หัวหน้าพรรคการเมืองเสียงข้างมากเป็นนายกฯ อยู่แล้ว.............

น.ต.ประสงค์  สุ่นศิริ  ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างฯ  กล่าวว่า ขอฝากข้อสังเกตต่อที่ประชุมเรื่องที่มานายกฯ  ว่าการรัฐประหารครั้งล่าสุด  เพราะหาทางออกไม่ได้  รัฐธรรมนูญเขียนจำกัดไว้ตายตัว ในเมื่อไม่มีทางออกก็ต้องฉีกรัฐธรรมนูญ



ประชาชนที่รักระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ต้องขอบคุณคุณจรัญ ภักดีธนากุล
และคุณนรนิติ เศรษฐบุตร ที่ไม่ให้รัฐธรรมนูญ 2550 หวนกลับไปสมัยพล.อ.เปรม ฯ .....


ขอคัดค้านความคิดเห็นของนายศรีราชา เจริญพานิช  น.ต.ประสงค์  สุ่นศิริ  และนายสมคิด   เลิศไพฑูรย์  ร่างรัฐธรรมนูญปี 250 ถอยหลังเข้าคลอง เปิดทางให้คนที่ไม่มาจากการเลือกตั้ง ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีก ประวัติซ้ำรอย พล.อ.เปรม พล.อ.สุจินดา .........



นายสมคิด   เลิศไพฑูรย์  เลขานุการกรรมาธิการยกร่างฯ สรุปว่ากระบวนการได้มาของ  ส.ว. ที่ประชุมเสียงส่วนใหญ่เห็นว่าควรมาจากการสรรหาหรือเลือกตั้งทางอ้อม  แต่ทั้งนี้ยังไม่สรุปลงไปว่าจะไม่ใช้ระบบเลือกตั้ง  โดยจะต้องไปคิดวิธีการสรรหาว่าจะเป็นอย่างไร

สสร.และกรรมาธิการยกร่างฯ คิดถึง'สิทธิพิเศษ'ของพวกพ้อง ที่เข้าข่ายจะถูกสรรหา..... Exclamation


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10-03-2007, 00:37 โดย ปุถุชน » บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #9 เมื่อ: 11-03-2007, 21:33 »

สปป.ค้านนายกฯคนนอก หวั่นซ้ำรอยพฤษภาทมิฬ
 
11 มีนาคม พ.ศ. 2550 17:09:00
 
 
สมัชชาประชาชนฯ ค้านข้อเสนอ'ประสงค์ สุ่นศิริ' ให้นายกฯไม่จำเป็นต้องมาจาก ส.ส. หวั่นประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยพฤษภา 2535

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : นายสมศักดิ์ โกศัยสุข ในฐานะกรรมการอำนวยการสมัชชาประชาชนเพื่อการปฏิรูปการเมือง(สปป.) กล่าวถึงกรณี น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เสนอให้นายกรัฐมนตรี ไม่จำเป็นต้องมา ส.ส. ว่า เรื่องดังกล่าวส่งผลให้เกิดข้อถกเถียงทางสังคมและกระแสคัดค้านเป็นอย่างมาก ถึงแม้จะยังไม่เป็นข้อสรุปจากกรรมมาธิการฯ แต่การออกมาชี้นำสังคม โดยลืมประวัติศาสตร์การเมืองไทยเมื่อครั้งเหตุการณ์พฤษภา 2535

ที่มีการเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง จนนำมาสู่การได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญ ฉบับประชาชน 2540 ซึ่งถือว่าเป็นความก้าวหน้าของระบอบประชาธิปไตยครั้งสำคัญของการเมืองไทย .


ทั้งนี้ข้อเสนอให้นายกฯมาจากคนนอกได้ เพื่อมาแก้วิกฤตทางการเมืองอย่างอดีตนั้น เป็นข้ออ้างที่ฟังไม่ขึ้น แต่กลับจะนำพาประชาธิปไตยกลับไปล้าหลังมากยิ่งขึ้น เพราะปัญหาที่ผ่านมาเกิดจากการใช้อำนาจเกินขอบเขต การแทรกแซงการถ่วงดุลอำนาจ การแทรกแซงองค์กรอิสระ ของตัวผู้บริหารและรัฐมนตรีจำพวกหนึ่งเท่านั้น

"การพัฒนาประชาธิปไตยให้ก้าวหน้า ต้องสร้างระบบถ่วงดุลจากต้นทุนเดิมที่เป็นอยู่และบกพร่องไปให้สามารถเข้ามาควบคุมการบริหารประเทศได้อย่างสมดุลนั่นเอง ซึ่งก็เท่ากับการให้สถาบันต่างๆ และกลุ่มองค์กรต่างๆในบ้านเมืองเข้ามามีส่วนในการรับผิดชอบชะตาประเทศไปพร้อมๆกันไม่ใช่การฝากความหวังไว้กับบุคคลหนึ่งบุคคลใดเข้ามาแก้วิกฤต" นายสมศักดิ์ กล่าว

นายสมควร พรมทอง รองเลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย(ครป.) กล่าวว่า สปป.เห็นว่านายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้งเท่านั้นอย่างไม่มีเงื่อนไข และขอคัดค้านแนวคิดที่เปิดโอกาสให้คนนอกมาเป็นนายกรัฐมนตรีได้ ซึ่งการเปิดโอกาสให้มีนายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ยิ่งจะก่อให้เกิดความวุ่นวายภายในสังคม อันเนื่องมาจากการที่จะมีกลุ่มบุคคล จากพรรคการเมือง องค์กรประชาชนหลายส่วน นักวิชาการ ออกมาขับเคลื่อนคัดค้านแนวคิดนี้และนำมาสู่การคว่ำร่างรัฐธรรมนูญในที่สุด ซึ่งก็จะการเปิดประตูให้แก่กลุ่มอำนาจเก่าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

“เพื่อให้การเมืองไทยกลับสู่สภาวะประชาธิปไตยอย่างแท้จริงอย่างรวดเร็ว กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ควรตัดประเด็นนายกรัฐมนตรีมาจากคนนอกออกจากการพิจารณาทันที และเร่งสร้างกรอบรัฐธรรมนูญที่ประชาชนสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมได้อย่างแท้จริง ตั้งแต่กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ และการเปิดพื้นที่ในรัฐธรรมนูญเพื่อให้ประชาชนเข้าไปตรวจสอบนักการเมือง การนำเสนอกฎหมาย การมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายภาครัฐ ให้ประชาชนเข้าถึงได้อย่างแท้จริง” รองเลขา ครป.กล่าว

รองเลขาครป.กล่าวอีกว่า แกนนำพัธมิตรทั้ง 5 คน จะเดินทางไปรับฟังความคิดเห็นประชาชนเรื่องรัฐธรรมนูญ โดยในวันที่ 17 มี.ค. ที่ จ.นครราชสีมา วันที่ 18 มี.ค.จังหวัดบุรีรัมย์ และพิษณุโลก และในวันที่ 20 มี.ค. จังหวัดขอนแก่น จากนั้นจะมีการรวบรวมก่อนที่จะมาประชุมครั้งใหญ่ที่กรุงเทพในวันที่ 1 เม.ย.
 

 http://www.bangkokbiznews.com/2007/03/11/WW10_WW10_news.php?newsid=58373



นต.ประสงค์และกรรมาธิการฯ บางคนกำลังสร้างปัญหาให้กับระบอบประชาธิปไตย เพื่อให้'คนนอก' เป็นนายกรัฐมนตรีได้.......

บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #10 เมื่อ: 11-03-2007, 21:41 »

"บิ๊กสุ" หนุนนายกฯคนนอกอ้างจำเป็น

  "สุจินดา" หนุนเปิดทางนายกฯ คนนอก ชี้หากนักการเมืองเหมาะเป็นนายกฯ ก็ไม่เกิด คมช. เตือนอย่าร่าง รธน.กันใครเพียงคนเดียว ขณะที่ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 1 ได้ข้อสรุปกรอบเนื้อหา 15 หมวด 170 มาตรา โดยส่วนรายละเอียดกรอบ 3 ถกต่อกรุงเทพฯ "ประสงค์" ยืนยันประชาชนมีสิทธิเสรีภาพที่เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น เตือนนักวิชาการ-เอ็นจีโอ-การเมือง อย่าตีโพยตีพายค้านนายกฯ คนนอก ชี้ธรรมชาติการเมืองเลือกหัวหน้าพรรคอันดับหนึ่งเป็นนายกฯ
มีความเห็นจากอดีตนายกรัฐมนตรีในเรื่องประเด็นนายกฯ มาจากคนนอก โดยค่ำวานนี้ (10 มี.ค.) ที่เมืองทองธานี พล.อ.สุจินดา คราประยูร อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตรองประธานคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) เป็นประธานงานเลี้ยงรุ่น คณะนายทหารรุ่น 0143 ภายในงานใช้ชื่อว่า 0143 งานเลี้ยงนี้ไม่มีวันเลิกรา โดยมีนายทหารมาร่วมงานจำนวนมาก อาทิเช่น พล.อ.วิโรจน์ แสงสนิท อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด พล.อ.อิสรพงษ์ หนุนภักดี อดีตผู้บัญชาการทหารบก พล.อ.อ.เกษตร โรจนนิล อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ

พล.อ.สุจินดา กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ มีแนวคิดให้นายกฯ ไม่ต้องมาจาก ส.ส. ว่า ความเห็นส่วนตัวคิดว่าไม่ควรไปกำหนดไว้ว่าจะต้องเป็น ส.ส.เพราะว่าถ้าเรากำหนดไว้ พอเวลามีปัญหามันแก้ไขปัญหาไม่ได้ ปกติพรรคการเมืองถ้าเขามีเสียงเขาจะไม่เอาคนนอกมาเป็น อย่าไปกลัวในเรื่องการสืบทอดอำนาจ มันไม่ได้อยู่ในแนวความคิดอย่างนั้น แต่เราอย่าไปหวังแก้รัฐธรรมนูญในจุดใดจุดหนึ่ง มันจะไม่ยั่งยืน มันต้องมองไปข้างหน้าว่าสิ่งไหนดีที่สุดในการปกครองระบอบประชาธิปไตยในบ้านเรา

“ตอนนี้มีความน่าเป็นห่วงว่า เราไปแก้ชนิดที่ว่า กันคนๆ หนึ่งเท่านั้นเองในเวลานี้ มันไม่เกิดผล และไม่ยั่งยืนถาวร แม้แต่เรื่องที่ไม่ให้นักการเมืองเข้ามายุ่งกับสื่อมวลชนก็ไม่เห็นด้วย มันไม่ถูก ซึ่งสมัยก่อนไม่ว่าจะเป็นคุณบรรหาร (บรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย) คุณสมัคร (สมัคร สุนทรเวช อดีตหัวหน้าพรรคประชากรไทย) ก็เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ แล้วเขาไปชี้นำอะไรได้ ไม่เห็นทำอะไรได้เลย ซึ่งการไปกันคนๆ เดียวแล้วออกมาทำอย่างนี้ มันไม่ถูกเรื่อง แล้วก็ไม่มีที่ไหนที่ไปกำหนดรัฐธรรมนูญ ไปห้ามคนที่มีอาชีพหนึ่งทำไม่ได้”

เมื่อถามว่า เห็นด้วยกับการให้คนนอกสามารถเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีใช่หรือไม่ พล.อ.สุจินดา กล่าวว่า ถ้าเผื่อไม่สามารถที่จะหาคนที่เป็นผู้แทนที่มาจากนักการเมืองมาเป็นได้ ในบางครั้งมันก็เกิดมีขึ้น ก็เหมือนครั้งนี้ที่เกิดคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ขึ้นมา เพราะไม่มีทางออก นี่ความเห็นของตน เพราะตนไม่ใช่นักการเมือง ที่เห็นว่าไม่ควรจะกำหนดไว้ตายตัวอย่างนั้น เพราะโดยหลักธรรมดาถ้านักการเมืองมีความสามารถที่จะเป็นได้ ใครเขาจะเอาคนนอกมาเป็น

http://www.bangkokbiznews.com/2007/03/11/news_23025017.php?news_id=23025017



  "สุจินดา" หนุนเปิดทางนายกฯ คนนอก ชี้หากนักการเมืองเหมาะเป็นนายกฯ ก็ไม่เกิด คมช. ...........
อดีตนายพลเอกนอกราชการและอดีต รสช.สุจินดา บิดเบือนข้อเท็จจริง
อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณหัวหน้ากลุ่มอำนาจเก่า จะยอมให้มีการแต่งตั้ง นายกรัฐมนตรี'คนนอก' ในเวลานั้นหรือ... Question


บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #11 เมื่อ: 11-03-2007, 21:58 »

ชท.ฟันธงเปิดทางนายกฯคนนอก-รธน.ไม่ผ่านประชามติ
 
10 มีนาคม พ.ศ. 2550 15:49:00
 

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : "ชาติไทย"ย้ำหนุนนายกฯเลือกตั้ง ฟันธงประชาชนร่วมคว่ำหากร่าง รธน.เปิดทางนายกฯ คนนอก

นายจองชัย เที่ยงธรรม แกนนำพรรคชาติไทย กล่าวกรณีคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญยังไม่ได้ข้อสรุปว่านายกรัฐมนตรีจะมาจากการเลือกตั้งหรือแต่งตั้งว่า ตนไม่เห็นด้วยหากนายกฯจะไม่มาจากการเลือกตั้งแน่นอน ซึ่งหนังสือที่พรรคชาติไทยเสนอต่อกรรมาธิการยกร่างฯ ก็ระบุชัดเจนว่าต้องการนายกฯมาจากการเลือกตั้งและผ่านรับรองจากสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น นอกจากนี้เห็นว่าหากร่างรัฐธรรมนูญยังเป็นเช่นนี้เมื่อไปถึงขั้นประชามติ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ผ่านการทำประชามติแน่นอน สุดท้ายก็จะมีหยิบรัฐธรรมนูญฉบับ คมช.มาใช้

เมื่อถามว่าหลายฝ่ายระบุว่าขณะนี้อยู่ในช่วงวิกฤติควรหันหน้ามาสมานฉันท์ ดังนั้นหากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ระบุให้นายกฯมาจาก ส.ส.อาจปิดทางคนดีเข้ามาและจะทำให้เกิดรัฐประหารอีกครั้ง นายจองชัย กล่าวว่า การเมืองมีการเปลี่ยนแปลงตลอด การเกิดปฏิวัติหรือทำรัฐประหารก็มีทั้งโลก แต่รูปแบบไม่เหมือนกันของประเทศไทยก็ชัดที่ทหารถือปืนมาล้มรัฐบาลเก่า แต่อย่างอเมริกาหากเกิดการเปลี่ยนแปลงเขาก็ใช้ปืนเพื่อกำจัดผู้นำ สุดท้ายก็เกิดการเปลี่ยนแปลงฐานอำนาจเก่าเหมือนกัน

ด้านนายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ รักษาการรองหัวหน้าพรรคฯ กล่าวว่า ตนเคยพูดก่อนที่จะยกร่างรัฐธรรมนูญว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะซ้ำรอยกับปี 2535 ซึ่งเป็นที่มาของรัฐธรรมนูญปี 2540 เพราะรัฐธรรมนูญปี 2540 ต้องการให้อำนาจของรัฐบาลมีมาก เพื่อความมีเสถียรภาพในการบริหารงาน แต่พอมารัฐธรรมนูญปี 2550 กลับต้องการทอนอำนาขของฝ่าบบริหาร สุดท้ายก็กลับไปที่เดิม ซึ่งหลังเลือกตั้งแล้วอาจจะมีพรรคเล็กพรรคน้อยเป็นรัฐบาลผสมและถูกกระตุกขาอยู่เรื่อยๆ เป็นรัฐบาลไม่นานก็เลือกตั้งกันใหม่ ตนเห็นว่าที่มานายกฯต้องระบุให้ชัดว่ามาจาก ส.ส.เท่านั้น และขอทำนายว่า ถ้าหากยังดึงดันที่จะไม่ระบุที่มาของนายกฯ ว่ามาจากการเลือกตั้ง เชื่อว่าสัปดาห์สุดท้ายก่อนการทำประชามติ จะมีพลังมวลชนออกมาเรียกร้องว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้มาจากรัฐประหารและสานต่ออำนาจของรัฐบาลทหาร และจะมีคนออกมาต่อต้านเป็นเรื่องเป็นราวใหญ่โต  เปรียบไปแล้วกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเหมือนสถาปนิกที่สร้างบ้านให้คนอยู่ ประชาชนที่อยู่อาศัยไม่พอใจบ้านที่สร้างขึ้นมา ดังนั้นก่อนยกร่างต้องมีการคุยกันก่อนว่าคนที่อยู่ต้องการอะไร ไม่เช่นนี้ก็จะกลายเป็นวัฏจักรเช่นเดิม
 
http://www.bangkokbiznews.com/2007/03/10/WW01_0101_news.php?newsid=58332
 
 
   
 
บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
หน้า: [1]
    กระโดดไป: