ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
18-04-2024, 11:05
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  "ผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสี่" หรือ Big Four 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
โพลล์
คำถาม: คุณคิดว่า สื่อใหน ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก
รอยเตอร์ (Reuters) แห่งสหราชอาณาจักร - 1 (100%)
เอเอฟพี (Agence France Presse) แห่งฝรั่งเศส - 0 (0%)
ยูพีไอ (United Press International) แห่งสหรัฐอเมริกา - 0 (0%)
เอพี (Associated Press) - 0 (0%)
จำนวนผู้โหวตทั้งหมด: 1

หน้า: [1]
"ผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสี่" หรือ Big Four  (อ่าน 1379 ครั้ง)
NGO_ngo
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 21


« เมื่อ: 29-01-2007, 12:19 »

 ถ้าถามผม ผมคงต้องตอบว่า รอยเตอร์ คือ สื่อสารมวลชนระดับโลกที่ยิ่งใหญ่ และเป็น เสมือนผู้สร้างโลก ในรอบ 150 ปีที่ผ่านมา

คำขวัญของรอยเตอร์ 150 ปีเพื่อประชาคมโลก เพื่อโลกยุคใหม่ และเพื่อ โลกเดียว รัฐบาลเดียว

๑๕๐ ปี รอยเตอร์
 
นิรมล มูนจินดา : เรียบเรียง / รอยเตอร์ : ภาพ
   
        ปีนี้สำนักข่าวรอยเตอร์มีอายุ ๑๕๐ ปี กำลังขับเคลื่อนเครือข่ายสำนักข่าวใหญ่ที่สุดในโลกใน ๑๖๐ ประเทศ พร้อมกองทัพผู้สื่อข่าวมากกว่า ๒,๕๐๐ คน ประจำสำนักงานใน ๑๙๐ เมือง รายงานข่าวเป็นภาษาต่าง ๆ ๒๓ ภาษา
     ในตำราวิชาการสื่อสารเมื่อ ๒๐ ปีก่อน จัดให้รอยเตอร์เป็นหนึ่งในสำนักข่าวต่างประเทศ "ผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสี่" หรือ Big Four ซึ่งประกอบด้วย เอพี (Associated Press) ยูพีไอ (United Press International) แห่งสหรัฐอเมริกา เอเอฟพี (Agence France Presse) แห่งฝรั่งเศส และ รอยเตอร์ (Reuters) แห่งสหราชอาณาจักร   
       สำนักข่าวแห่งนี้สร้างและสั่งสมชื่อเสียง ในการให้บริการข้อมูลข่าวสารด้วยความรวดเร็ว ถูกต้อง และเป็นกลาง จนเป็นที่เชื่อถือของคนทั่วโลก บรรทัดฐานดังกล่าว ยังเป็นพื้นฐานวิชาชีพหนังสือพิมพ์ตะวันตก ที่แพร่หลายจนกลายเป็นสากล
     ในฐานะที่เป็นผู้ทรงอิทธิพลด้านการข่าว รอยเตอร์จึงเป็นผู้กำหนดทิศทาง และหัวข้อข่าว กรอบการมอง และเนื้อหาข่าวให้แก่โลก นั่นคือเป็นผู้เลือกและไม่เลือก ว่าเหตุการณ์ใดควรเป็น หรือไม่ควรเป็นข่าวด้วย
     ความหมายการครบรอบ ๑๕๐ ปีของรอยเตอร์ จึงไม่ได้เป็นเพียงการเฉลิมฉลองขององค์กรเท่านั้น แต่ได้แสดงให้คนทั้งโลกเห็นถึงพลังยิ่งใหญ่ ของข้อมูลข่าวสาร - สิ่งที่พลเมืองโลกต้องการ และยอมจ่ายเงินเพื่อบริโภค และความสำคัญขององค์กรจัดหาข่าวอย่างรอยเตอร์
     จูเลียส รอยเตอร์ ผู้ก่อตั้งกิจการเป็นดังพ่อมดผู้ล่วงรู้ และซาบซึ้งเรื่องนี้ดี เขายังอาจรู้ด้วยว่าวัตถุดิบ เช่น รายงานข่าวสงคราม สถิติและตัวเลขขึ้นลงของตลาดการค้าและตลาดหุ้น ข่าวภัยธรรมชาติ และเรื่องราวทั้งดีและร้ายของคนสำคัญมาก และสำคัญน้อย ที่สำนักข่าวของเขารายงานแก่โลกตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๙๔ เป็นต้นมานั้น เป็นทั้งตัวประวัติศาสตร์เอง และเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดประวัติศาสตร์
     เนื่องจากในแต่ละวัน การตัดสินใจสำคัญ ๆ เกี่ยวกับการเมือง การต่างประเทศ เศรษฐกิจ และธุรกิจนับร้อยนับพัน ล้วนเกิดขึ้นบนพื้นฐานข้อมูลข่าวสารทั้งหลายเหล่านั้น
     พูดได้ว่า โลกที่เราเห็นและที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้ สำนักข่าวรอยเตอร์มีส่วนในการปั้นมันขึ้นมา

--------------------------------------------------------------------------------
 
   เรื่องของรอยเตอร์
     ถึงรอยเตอร์จะเป็นสำนักข่าวแห่งประเทศอังกฤษ แต่ พอล จูเลียส รอยเตอร์ (Paul Julius Reuter) ผู้ก่อตั้งกลับไม่ใช่คนอังกฤษแท้ แถมยังเป็นคนที่ ชาร์ลส์ ดิกเกนส์ เอาไปพูดล้อเลียนในวงสนทนา เป็นคนที่ คาร์ล มาร์กซ์ ไม่ค่อยชอบ เป็นคนที่ได้รับบรรดาศักดิ์บารอนจากควีนวิกตอเรีย และเป็นคนที่ฮอลลีวูดนำชีวิตไปสร้างเป็นหนัง
 
   - ๑ -
     ๑๘๕ ปีก่อน รอยเตอร์เกิดมาในประเทศเยอรมนีด้วยชื่อ อิสราเอล เบะเอล โจเชอฟาท (Israel Beer Josaphat) บอกความเป็นเชื้อชาติยิวชัดเจน พออายุ ๓๐ ปี เขาเดินทางมาอังกฤษด้วยชื่อ จูเลียส โจเชอฟาต (Julius Josaphat) ระบุอาชีพพ่อค้าในพาสปอร์ต ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นพอล จูเลียส รอยเตอร์ และเปลี่ยนศาสนาจากยูดายเป็นคริสต์
     ไม่มีใครรู้ว่าทำไมเขาถึงเลือกชื่อรอยเตอร์ แต่ถ้านับว่าชื่อเดิมฟังดูเป็นยิวเกินไป รอยเตอร์ซึ่งเป็นชื่อสกุลธรรมดาของคนเยอรมัน ก็ดูเข้าท่ากว่ามาก เพราะต่อมาเขาก็เป็นที่ยอมรับในวงธุรกิจเยอรมัน และเริ่มร่ำรวย
     แม้ว่าตอนนั้นลอนดอนเริ่มเปิดรับคนเชื้อสายยิวมากขึ้น ถึงขนาดมีนายกเทศมนตรีเป็นคนยิว แต่รอยเตอร์กลับถูกเพื่อนร่วมเชื้อชาติรังเกียจ เพราะตามพจนานุกรมยิวฉบับมาตรฐานบอกว่า ยิวที่เปลี่ยนศาสนาเป็นคริสต์นั้น "ไม่เกี่ยวข้องกับชุมชนยิว" เขาจึงมักทำธุรกิจกับคนเยอรมัน และยุโรปมากกว่า
     รอยเตอร์เริ่มเปิดกิจการร้านหนังสือ กับหุ้นส่วนชาวเยอรมันในเบอร์ลิน แต่ถูกหุ้นส่วนกล่าวหาว่าขโมยเงิน ทำให้ร้านล้มละลาย และเพื่อนต้องกลายเป็นบ้า ต่อมาเขาพิมพ์ใบปลิวเสนอความคิดทางการเมือง อันเป็นเหตุให้อยู่ในเยอรมันต่อไปไม่ได้ ต้องระเห็จไปเป็นนักหนังสือพิมพ์ ให้สำนักข่าวอาวาส (Havas) ในฝรั่งเศส (ภายหลังกลายเป็นสำนักข่าวเอเอฟพี) ก่อนจะไปทำหนังสือพิมพ์รายวันของตัวเอง และประสบความล้มเหลว
     พ.ศ. ๒๓๙๓ รอยเตอร์เปิดกิจการสำนักข่าวผ่านกิจการโทรเลข ในเมืองอาคเคน เยอรมนี เพื่อขายข่าวและราคาหุ้นให้นักธุรกิจ และหนังสือพิมพ์ในเบอร์ลิน เวียนนา และปารีส เมื่อรอยเตอร์พบว่า พื้นที่บางแห่งยังไม่มีโทรเลข เขาจึงใช้นกพิราบ ๔๕ ตัว ส่งข่าวราคาตลาดหุ้น ระหว่างบรัสเซลส์กับอาคเคน ได้ในเวลาเพียง ๒ ชั่วโมง ทำเวลาเร็วกว่าการส่งข่าวทางรถไฟถึง ๔ เท่า
 
       ปีรุ่งขึ้น รอยเตอร์ย้ายกลับมาเปิดกิจการโทรเลขในลอนดอน และในปีนั้นเอง ที่ลอนดอนจัด "นิทรรศการครั้งยิ่งใหญ่" (The Great Exhibition) หรืองานแสดงความเจริญก้าวหน้าทางอุตสาหกรรม และเทคโนโลยี ผู้แสดงงานจำนวน ๑๔,๐๐๐ เจ้า นำของ ๑ แสนอย่าง มาจัดให้คนเป็นล้าน ๆ ได้ชมภายในคริสตัลพาเลซ อาคารกระจกทรงโค้งขนาดมหึมา ณ สวนสาธารณะไฮด์ปาร์ก
     รอยเตอร์รู้ได้ทันทีว่า เขาตัดสินใจถูกแล้วที่กลับมาลอนดอน เพราะที่นี่เอง ที่เป็นศูนย์กลางการค้าของโลก
     พ.ศ. ๒๓๙๔ รอยเตอร์เปิดสำนักงานขนาดสองห้อง โดยมีเด็กรับใช้อายุ ๑๑ ปี เป็นผู้ช่วย สำนักงานรอยเตอร์บริการส่งข่าวราคาตลาดหุ้น และราคาสินค้าจากแผ่นดินยุโรป พร้อมประกาศว่า สำนักงานของเขาส่งข่าวราคาตลาดหุ้นได้เร็วที่สุด และเก็บข้อมูลราคาสินค้าทั่วโลก ได้กว้างขวางที่สุด ด้วยเทคโนโลยีที่รอยเตอร์เชี่ยวชาญที่สุด นั่นคือ เครือข่ายโทรเลข นักข่าวชาวเบลเยียมคนหนึ่ง เคยสรรเสริญไว้ว่า เขาสามารถทำให้เสาโทรเลข เป็นแหล่งสร้างความร่ำรวยอย่างมหาศาลให้
     นั่นเป็นจริงที่สุด   
       รอยเตอร์รู้จักอำนาจของข้อมูลข่าวสารดี รู้ว่าค่าของข่าวอยู่ที่ความเร็ว และความเร็วที่สุดก็หาได้จากเทคโนโลยี รอยเตอร์จึงเป็นผู้ใช้เทคโนโลยีล้ำยุค อันเกี่ยวกับความเร็วได้คุ้มค่าที่สุดคนหนึ่ง
     รอยเตอร์จึงมักเป็นผู้รายงานเหตุการณ์สำคัญ ทั้งที่น่าตระหนก และน่าชื่นชมให้ชาวโลกได้รับรู้ก่อนใคร ไม่ว่าจะเป็นการลอบสังหารประธานาธิบดีลินคอล์น การเสียชีวิตของมหาตมะ คานธี หรือการพิชิตยอดเขาเอเวอเรสต์
     อันที่จริง รอยเตอร์เคยกังวลว่า เขาไม่สามารถทำให้ตัวเองดูน่าเชื่อถือได้นักในหมู่คนอังกฤษ ความที่รูปร่างหน้าตา และสำเนียงภาษาของเขาส่อว่า เขาไม่ได้เป็นผู้ดีอังกฤษของแท้ แถมอาชีพนักข่าวก็เพิ่งเกิดขึ้น คำว่า Journalism ก็เพิ่งถูกยืมมาจากฝรั่งเศสหมาด ๆ แม้แต่นักข่าวจากหนังสือพิมพ์ใหญ่ ๆ ยังถูกกังขา
     อย่างไรก็ตาม ความกระตือรือร้นในการหาช่องทางใหม่ ๆ ในการส่งข่าวและความคงเส้นคงวาของเขา ก็ทำให้คนอังกฤษและยุโรปไว้เนื้อเชื่อใจ
     ๒๐ ปีหลังย้ายมาอยู่ลอนดอน เขาได้รับบรรดาศักดิ์เป็น "บารอน" จากควีนวิกตอเรีย
--------------------------------------------------------------------------------
 
  - ๒ -
     คาร์ล มาร์กซ์ นินทาเรื่องนี้กับเอเกิลว่า การได้รับบรรดาศักดิ์บารอนของรอยเตอร์ เป็นเรื่องการเมือง
     มาร์กซ์ผู้กำลังลี้ภัยอยู่ในลอนดอน เรียกรอยเตอร์ว่า "คนยิวที่มีชื่อเสียงจากโทรเลข" บ้าง หรือ "ยิวรอยเตอร์ผู้ไม่แตกเรื่องภาษา" บ้าง ทั้งคู่ไม่เคยเจอกันเลย แต่มาร์กซ์ใส่ใจจับสังเกตรอยเตอร์อยู่ตลอด
     ในจดหมายที่มาร์กซ์เขียนถึงเอเกิล แสดงความรังเกียจรอยเตอร์ และมือขวาของเขาที่ชื่อ ซิกมุนด์ เองเลนเดอร์ (Sigmund Englander) อย่างโจ่งแจ้ง โดยเฉพาะคนหลังนั้น มาร์กซ์ไส่ร้าย เป็นสายลับทรยศที่ถูกไล่ออกจากฝรั่งเศส เพราะถูกจับได้ว่าเป็นสายลับทั้งของฝรั่งเศสและรัสเซีย มาร์กซรับไม่ได้ที่ยิวอย่างเองเลนเดอร์เป็นคนที่กำลังบรรณาธิกร (edit) ประวัติศาสตร์แห่งโลกยุโรป ภายใต้ชื่อของรอยเตอร์
 
       ในขณะที่รอยเตอร์เชี่ยวชาญการโทรเลข และการตัดสินใจทางธุรกิจ เองเลนเดอร์ผู้ไม่ถนัดเรื่องเหล่านั้นเลย กลับชำนาญข่าวรายวัน เป็นได้ทั้งบรรณาธิการคนแรกของสำนักข่าวรอยเตอร์ ผู้สื่อข่าวและนักเจรจาต่อรอง พร้อมกันในคนเดียว
     ชาร์ลส์ ดิกเกนส์ นักเขียนคนดังร่วมยุคสนใจรอยเตอร์ และมีแก่ใจจะพูดล้อเลียนเขาในงานเลี้ยงมื้อค่ำ ในสมาคมแห่งหนึ่งว่า ตอนกลางคืนรอยเตอร์คงนอนอยู่ข้าง ๆ เมีย พร้อมกับแบตเตอรี่ไฟฟ้าใต้หมอน สายโทรเลขที่หัวเตียง และกระดิ่งไฟฟ้าเสียบอยู่ในหูทั้งสองข้าง คอยรับส่งข่าว
     แต่ถึงอย่างไร นักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ก็ยังเรียกรอยเตอร์ว่า "รอยเตอร์ผู้ยิ่งใหญ่" นอกจากนั้น นิตยสารชั้นแนวหน้าของอังกฤษอย่าง พันช์ และ วานิตี แฟร์ ก็เขียนถึงคนดังอย่างรอยเตอร์ด้วย
     รอยเตอร์เกษียณตัวเองจากงานเมื่ออายุ ๖๒ ปี และให้ลูกชายสืบทอดกิจการแทน
     ๓๗ ปีต่อมา ลูกชายฆ่าตัวตาย เป็นอันสิ้นสุดการบริหารงานตามสายโลหิต
     ชีวิตของรอยเตอร์ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์โดยฮอลลีวูด This Man Reuter ออกฉายในประเทศอังกฤษ ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ นำแสดงโดย เอ็ดเวิร์ด โรบินสัน
     นักวิจารณ์บอกว่าหนังห่วยแตก แต่ วอร์เนอร์ บราเดอร์ ผู้สร้างไม่สนใจ
--------------------------------------------------------------------------------
 
  เรื่องของสำนักข่าวรอยเตอร์
     ใน "คู่มือสำหรับนักข่าวรอยเตอร์" (REUTERS Handbook for Journalists) เขียนโดย เอียน แม็กโดวอลล์ (Ian MacDowall) หัวหน้าบรรณาธิการข่าวคนหนึ่งของสำนักข่าวรอยเตอร์ กล่าวว่า ชื่อเสียงของสำนักข่าวรอยเตอร์ตั้งอยู่บนความถูกต้อง ความรวดเร็ว และความเชื่อถือได้ เขาย้ำว่า "ผู้อ่านไม่ควรต้องสงสัยว่า รอยเตอร์ (และสำนักข่าวอื่น ๆ) รู้ได้อย่างไรว่าเรื่องนี้เป็นจริง"
     อุดมการณ์ข้อนี้ของรอยเตอร์ถูกยึดถือและปฏิบัติสืบตลอดมาศตวรรษครึ่ง
 
   - ๑ -
     รอยเตอร์เติบโตมั่นคงคู่ไปกับจักรวรรดินิยมอังกฤษ จนมีคนบอกว่า ข่าวของรอยเตอร์ คือมุมมองของอังกฤษที่มีต่อโลก แม้ครึ่งศตวรรษที่แล้ว ระบบอาณานิคมจะล้มเลิก และจักรวรรดิอังกฤษจะสูญไป แต่สำนักงานของรอยเตอร์ ก็ยังตั้งอยู่ในอดีตเมืองอาณานิคมเหล่านั้น และเจริญงอกงามไปเรื่อย ๆ
     นอกเหนือจากอุดมการณ์ที่สำนักข่าวรอยเตอร์ยึดมั่น เป็นขนบมาตลอด เหตุผลแห่งความยิ่งใหญ่ ของรอยเตอร์อีกอย่างหนึ่ง คือการใช้ประโยชน์สูงสุด จากเทคโนโลยีอย่างหนักหน่วง ที่ จูเลียส รอยเตอร์ วางรากฐานความคิดไว้ และไม่เคยมีสักครั้งที่ผู้สืบทอดจะละเลยวิธีคิดนี้
 
       หลักกิโลแรกทางเทคโนโลยีของรอยเตอร์ คือ โทรเลขและนกพิราบ และหลักกิโลต่อ ๆ มาของประวัติศาสตร์รอยเตอร์ ก็เกาะติดกับประวัติศาสตร์ของเทคโนโลยีด้านสื่อ และโทรคมนาคมอยู่ตลอดมา
ปัจจุบันรอยเตอร์ใช้การสื่อสาร ผ่านเทคโนโลยีนำสมัยมากกว่า ๓๐ อย่าง ก่อตั้งบริษัทอินเทอร์เน็ต และประกาศว่าจะสร้าง Reuters.Net ที่จะเป็นชุมทางของตลาดการเงินโลก ร่วมกับไมโครซอฟต์ และบริษัทการเงินชั้นนำอีก ๒๕ บริษัท ทั้งนี้ทั้งนั้น รอยเตอร์ไม่เคยทอดทิ้งเทคโนโลยีรุ่นโบราณ อย่างโทรเลขเลย
     เหตุผลสำคัญอีกข้อที่ทำให้รอยเตอร์มั่นคงตลอดมา คือบุคลากร การรับคนมีการศึกษาสูงเข้ามาทำงาน และฝึกฝนคนเหล่านั้นให้มีมาตรฐานสูงยิ่งขึ้นไปอีก คือนโยบายของรอยเตอร์ มูลนิธิรอยเตอร์ (Reuters Foundation) องค์กรฝึกฝนนักข่าว ก็คือรูปธรรมส่วนหนึ่งของนโยบายดังกล่าว
     นักเขียนคนดังมากมายที่ไม่ได้ดังในตลาดหนังสือเมืองไทยอย่าง จอห์น บะคาน เฟรดเดอริก ฟอร์ซิท ล้วนเคยทำงานกับรอยเตอร์มาก่อน เช่นเดียวกับนักเขียนที่เราและคนทั่วโลกรู้จักกันดีอย่าง เอียน เฟลมมิง ผู้เขียนหนังสือชุด เจมส์ บอนด์ ก็ให้เครดิตแก่รอยเตอร์ว่า "เป็นเพราะรอยเตอร์ทำให้ผมฝึกฝนการเขียนเร็ว และเหนือสิ่งอื่นใดคือเรื่องความถูกต้อง เพราะที่รอยเตอร์ ถ้าคุณไม่ถูกต้องแม่นยำ คุณถูกไล่ออก"
--------------------------------------------------------------------------------
 
  - ๒-
     สถานีโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ชั้นนำในบ้านเรา ล้วนเป็นลูกค้าของรอยเตอร์
     ภาพที่นำมาตีพิมพ์ในที่นี้ เป็นส่วนหนึ่งของภาพข่าว ที่ลงตีพิมพ์ไปแล้วจำนวนเป็นล้าน หลายภาพได้รับรางวัลภาพข่าวยอดเยี่ยม
     หัวหน้าข่าวคนหนึ่งของหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งกล่าวว่า ภาพข่าวของรอยเตอร์มีราคาแพงที่สุด แต่ก็สวยงามที่สุด ทั้งในแง่ความเป็นข่าว และความเป็นศิลปะ "มันพอดีไปหมด"
     แต่ละวัน ลูกค้าของรอยเตอร์จะได้รับภาพข่าวราว ๒๐๐-๓๐๐ ภาพ ช่างภาพรอยเตอร์ใช้กล้องดิจิตอล และคอมพิวเตอร์แล็ปท็อป เพื่อส่งภาพจากสนามตรงถึงโต๊ะข่าวได้เลย ในกีฬาโอลิมปิกที่ซิดนีย์ รอยเตอร์สามารถส่งภาพพร้อมคำบรรยาย ถึงลูกค้าทั่วโลกได้ภายในเวลา ๔ นาทีนับจากเวลาถ่ายภาพ
     แต่ภาพข่าวที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์และภาพข่าวโทรทัศน์ ที่คนทั่วไปเห็นกันอยู่ทุกวันนั้น นับว่าเป็น "ผลิตภัณฑ์" ส่วนน้อยนิดของรอยเตอร์
     กำไรกว่าร้อยละ ๙๐ ของรอยเตอร์มาจากผลิตภัณฑ์ที่บริการตลาดการเงิน และตลาดการค้าโลก เช่น ข่าวราคาหุ้น ราคาโภคภัณฑ์ ข้อมูลการธนาคาร การวิเคราะห์ด้านการตลาดและการลงทุน บริการซื้อขายในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตรา เป็นต้น
     การมุ่งขยายบริการโดยเน้นหนักตลาดการเงิน และการค้าของรอยเตอร์เกิดขึ้นเมื่อ ๒๐ ปีก่อน เมื่อเศรษฐกิจโลกเริ่มบูม ในปี ๒๕๓๙ รอยเตอร์มีรายได้ทั้งสิ้นเกือบ ๓,๐๐๐ ล้านปอนด์
..............................................................

     ปลายทศวรรษ ๑๙๘๐ อันเป็นช่วงเวลาแห่งการล่มสลายของคอมมิวนิสต์ เกิดคำถามในหมู่นักข่าวรอยเตอร์กันเองว่า รอยเตอร์เสนอข่าวนิยม "ตะวันตก" มากเกินไปหรือไม่ และมองอย่างตะวันตกมากเกินไปหรือไม่
     เอียน แม็กโดวอลล์ ตอบว่า ถ้าเราจะรายงานเพื่อโลกตะวันตก มันก็ไม่ใช่เพราะเรื่องเชื้อชาติ หรืออคติทางวัฒนธรรม แต่เป็นเพราะเราให้ความสำคัญกับความต้องการของลูกค้า ที่ยอมจ่ายสูงที่สุดเพื่อบริการของเรา

--------------------------------------------------------------------------------
 
  ๑๕๐ ปีแห่งการพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารของรอยเตอร์
     ๒๓๙๓ - พอล จูเลียส รอยเตอร์ เป็นคนแรกที่ใช้โทรเลขในการรับส่งราคาหุ้น และข่าวสารโดยเฉพาะให้แก่หนังสือพิมพ์ และบริษัทการเงินในยุโรปตะวันตก และใช้นกพิราบส่งข่าว ในที่ที่ไม่มีเครือข่ายโทรเลข

     ๒๓๙๔ - รอยเตอร์ใช้ประโยชน์จากสายโทรเลขใต้ทะเลเส้นแรก เชื่อมระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส ทำให้แลกเปลี่ยนข่าวสาร และราคาหุ้น ระหว่างลอนดอนกับศูนย์กลางธุรกิจการเมืองในยุโรปได้เร็วขึ้น

     ๒๔๐๖-๒๔๐๙ - รอยเตอร์ลงทุนสร้างสายโทรเลขใต้น้ำของตัวเอง ระหว่างไอร์แลนด์ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกมายังลอนดอน ทำให้ส่งข่าวเร็วกว่าคู่แข่งถึง ๘ นาที และสร้างสายโทรเลขเชื่อมระหว่าง เกาะอังกฤษกับทวีปยุโรปเพิ่มเติม

     ๒๔๒๕ - ข้อมูลข่าวสารถูกส่งด้วยกระแสไฟฟ้าถึงลูกค้า โดยเครื่องพิมพ์คอลัมน์ โดยไม่ต้องใช้คนวิ่งส่ง

     ๒๔๖๖ - สำนักข่าวรอยเตอร์บุกเบิกการใช้วิทยุในการส่งข่าวไปยังประเทศต่าง ๆ ด้วยรหัสมอส ๑๖ ปีถัดมา ร้อยละ ๙๐ ของข่าวจากรอยเตอร์ ถูกส่งโดยคลื่นวิทยุแบบสั้น

     ๒๔๗๐ - ใช้เครื่องโทรพิมพ์ในการส่งข่าว ถึงหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ ในลอนดอน เวลานี้เองที่โทรพิมพ์เป็นเครื่องสื่อสารสำคัญของรอยเตอร์ ในการส่งข้อมูลไปทั่วโลกด้วยความเร็วสูง

     ๒๔๙๖ - เปิดสถานีรับฟังข่าวที่ชานเมืองลอนดอน

     ๒๕๐๕ - สำนักข่าวรอยเตอร์ส่งดาวเทียมดวงแรกของตัวเอง เพื่อรายงานข่าวไปยังสหรัฐอเมริกา เป็นบริษัทเอกชนแห่งแรก ที่บุกเบิกการสื่อสารผ่านดาวเทียม

     ๒๕๐๗ - รอยเตอร์บุกเบิกการใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อส่งข้อมูลการเงินระหว่างประเทศ ด้วยการเปิดใช้ "Stockmaster"
 
 
     ๒๕๑๓ - รอยเตอร์เริ่มใช้ "Videomaster" แสดงราคาหุ้นและราคาสินค้าทางจอภาพ

     ๒๕๑๖ - บริการ "The Reuter Monitor Money Rates Service" ของรอยเตอร์เสนอะบบการค้าเงิน ผ่านจอภาพให้ตลาดโลก นอกเหนือจากค้าผ่านทางโทรศัพท์และเทเลกซ์ พร้อมกันนั้นสำนักงานรอยเตอร์แห่งนิวยอร์ก ได้เริ่มใช้ระบบการตัดต่อวิดีโอเป็นครั้งแรก นักข่าวได้ใช้ VDU (video display unit - จอภาพ) แทนเครื่องพิมพ์ดีดเพื่อเขียนและส่งข่าว

     ๒๕๒๔ - "The Reuter Moniter Dealing Service" เปิดให้บริการทำให้ผู้ค้าเงินตราต่างประเทศ ได้สรุปข้อมูลการค้าผ่านชุมทางวิดีโอเป็นเจ้าแรกของโลก บริการนี้ย่นเวลาสื่อสารจาก ๔๐ วินาที ให้เหลือ ๒ วินาที

     ๒๕๒๙ - รอยเตอร์เข้าถือสิทธิ์ "Instinet" - บริษัทอิเล็กทรอนิกส์โบรกเกอร์ที่ใหญ่ที่สุด ช่วยให้ลูกค้าค้นราคาที่ดีที่สุด ด้วยวิธีที่ง่าย และมีประสิทธิภาพมากที่สุด

     ๒๕๓๐ - ให้บริการ "Reuters Equities 2000" ทาง IDN ซึ่งเป็นศูนย์รวมภาพข่าว มีระบบตัดต่อภาพอิเล็กทรอนิกส์ และจอภาพขนาดกระเป๋าพกพาได้เพื่อให้บริการข้อมูลการเงิน ทั้งยังเป็นบริษัทแรกที่ใช้ดาวเทียม INTELSAT ส่งข่าว ภาพ และราคาตลาด ในช่วงนี้รอยเตอร์เริ่มใช้ "ระบบเปิด" ทำให้ลูกค้าไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เฉพาะ เพื่อรับข้อมูลข่าวสาร

     ๒๕๓๕ - เริ่มใช้ Dealing 2000-2 บริการการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศผ่านระบบคอมพิวเตอร์ และ GLOBEX ระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์สำหรับอนาคต

     ๒๕๓๗ - รอยเตอร์เข้าถือสิทธิ์ TIBCO ซึ่งกลายเป็นผู้นำด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับอินเทอร์เน็ต และเริ่มให้บริการธุรกิจแบบอินเตอร์แอ็กทีฟ

     ๒๕๓๘ - ตั้ง Reuters Greenhouse Fund เพื่อลงทุนให้รอยเตอร์เข้าถึงเทคโนโลยีไฮเทคได้ก่อนใคร   
 
     ๒๕๓๙ - เปิดให้บริการ Reuters 3000 คลังข้อมูลการเงิน และเปิดเว็บไซต์ Reuters.com

     ๒๕๔๑ - Reuter Mobile ให้บริการการเข้าถึงข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต PccketReuters เพจเจอร์ให้ข้อมูลการเงินตลอด ๒๔ ชั่วโมง และ Newsbreaker ชุดข่าวมัลติมีเดียแรกของโลก พร้อมกันนั้นช่างภาพกีฬาของรอยเตอร์ ก็ได้ใช้เทคโนโลยีใหม่ในการส่งข่าวถึงโต๊ะข่าวในสำนักงาน ได้ในเวลา ๕ นาที

     ๒๕๔๒ - ให้บริการ Rerters 3000 xtra service พัฒนาการล่าสุดของเทคโนโลยีเดสก์ทอป และอินเทอร์เน็ต ตั้งบริษัท Reuters Inform ให้บริการข้อมูลอีคอมเมิร์ชผ่านอินเทอร์เน็ต และ Reuters Online Report PLUS บริการข่าวรายวันและวิดีโอ

     ๒๕๔๓ - ตั้งบริษัท Multex Investor Europe และ Sila Communications เพื่อความเป็นผู้นำเทคโนโลยีด้านอินเทอร์เน็ต

     ๒๕๔๔ - ประกาศการพัฒนา Reuters.Net ชุมทางตลาดการเงินโลก ร่วมกับไมโครซอฟต์และบริษัทการเงินชั้นนำ ๒๕ บริษัท
--------------------------------------------------------------------------------
 
  หนังสือประกอบการเขียน
     ๑. การสื่อสารมวลชนโลก (๒๕๔๒), ดรุณี หิรัญรักษ์, โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ.
     ๒. REUTERS Handbook for Journalists (1992), Ian MacDowall, Butterworth Heineman, Oxford.
     ๓. The Power of News : the History of Reuters 1849-1989 (1994), Donald Read, Oxford University Press.
     ๔. http://www.reuters.com
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29-01-2007, 12:26 โดย NGO_ngo » บันทึกการเข้า
NGO_ngo
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 21


« ตอบ #1 เมื่อ: 29-01-2007, 12:29 »

 ถ้าไม่มี รอยเตอร์ มีรึที่ ประเทศไทย จะมีสื่อเลว ๆ อย่าง ช่อง 3 ช่อง 5 ช่อง 7 ช่อง9 และ ช่อง 11 ได้ พูดได้เลยว่า รอยเตอร์ คือ แสงสว่างที่บริษุทย์ ในรอบ 150 ปีที่ผ่านมา มี สื่อใหนทำได้ดีเท่า รอยเตอร์ บ้าง สื่อของประชาคมโลก สื่อที่นำเสนอทุกด้าน ด้วยความเป็นกลาง สื่อที่มี จรรณญาบรรณ อย่างสูง

      
บันทึกการเข้า
มดโฟร์
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 122



« ตอบ #2 เมื่อ: 29-01-2007, 13:29 »

สื่อที่ดีต้องเลียทักสินอย่างไม่ลืมหูลืมตา  เช่นหนังสือพิมพ์ผู้จัดการก่อนที่ท่านสนธิลิ้มจะโดนปลดรายการเมืองไทย

บันทึกการเข้า

หลอกคนอื่นนะหลอกง่าย แต่หลอกตัวเองอะไม่มีทาง
มดโฟร์
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 122



« ตอบ #3 เมื่อ: 29-01-2007, 13:31 »

ขออภัยที่ลืมชื่อสื่อของไอ้สมัครฆาตกรเดือน6ตุลา  ไม่งั้นจะเเถมให้อีกชื่อ
บันทึกการเข้า

หลอกคนอื่นนะหลอกง่าย แต่หลอกตัวเองอะไม่มีทาง
irq5
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,149



« ตอบ #4 เมื่อ: 29-01-2007, 13:52 »

ก็อย่าไปยึดติดครับ

ใหญ่ไม่ใหญ่  วินาทีทำอะไรผิดพลาดมันก็พลาดกันหมด

อยู่ที่จะกล้ายอมรับผิดหรือไม่

หรือจะจ้างลูกกระเป๋งมาเบี่ยงเบนความสนใจ

แล้วหน้าด้านไม่ยอมรับผิด


 
บันทึกการเข้า

.:MMMMMMMMMMMMMMMMMMMMMddMMMs..
.:MMMMMMMMMMMMMMMMMMMMMssMMMMs..
.:Mddddddddddddddddddddddddddo+ddddNs..
.:M................................................hs..
.:M.............//:................//:.............hs..
.:M...........:MMs.............NMd............hs..
.:M................................................hs..
.:M................................................hs..
.:M.............yNNNNNNNNNN................hs..
.:M.................................................hs..
.:dyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyho..

....W..W::W:...AAA...NN...N...TTTTT..EEEEE...DDD..........
.....Ww.wW...AAAA..N..N..N......T.....EEE......D....D.......
.....-W...W...A......A N....NN......T.....EEEEE...DDD..........
. . . . . . . . . . . . thaksin shinawatra
cameronDZ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,827


my memory


« ตอบ #5 เมื่อ: 29-01-2007, 14:03 »

ไม่กล้าโหวต

กระทู้นี้กลิ่นมันแปลก ๆ พิกล 
บันทึกการเข้า

ข้าพเจ้าอยู่ที่นี่มาหลายปี ยังไม่เคยได้รับคำขอโทษ ขอขมา
จากใครแม้แต่สักคนเดียวเลย
...เช่นกัน คำขอบคุณ ก็ยังไม่เคยมีสักคำ...
แต่ข้าพเจ้าคิดว่า ในใจพวกเขาคงคิดคำเหล่านี้อยู่บ้างหรอก
...แค่คิด ไม่ต้องบอกออกมา ข้าพเจ้าก็พอใจแล้ว...
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #6 เมื่อ: 29-01-2007, 14:30 »

ถ้าไม่มี รอยเตอร์ มีรึที่ ประเทศไทย จะมีสื่อเลว ๆ อย่าง ช่อง 3 ช่อง 5 ช่อง 7 ช่อง9 และ ช่อง 11 ได้ พูดได้เลยว่า รอยเตอร์ คือ แสงสว่างที่บริษุทย์ ในรอบ 150 ปีที่ผ่านมา มี สื่อใหนทำได้ดีเท่า รอยเตอร์ บ้าง สื่อของประชาคมโลก สื่อที่นำเสนอทุกด้าน ด้วยความเป็นกลาง สื่อที่มี จรรณญาบรรณ อย่างสูง

      

สำนักข่าวเป็นผู้สร้างโลกเลยเรอะ!!!
ถ้ามีเวลาสนใจประวัติศาสตร์ของสำนักข่าวระดับโลก น่าจะเจียดเวลามาหัดเขียนภาษาไทยให้เป็นผู้เป็นคนมากกว่านี้หน่อย 
บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
room5
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 573



« ตอบ #7 เมื่อ: 29-01-2007, 14:53 »

จขกท พึ่งสมัครมาสดๆร้อน มาช่วยลิ่วล้อปั่นกระทู้ดีๆให้ตก โปรดระวัง
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: