ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
25-04-2024, 10:54
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  .เป็นไปได้ยากง่ายแค่ไหนที่จะลดการทุจริตคอรัปชั่นในการเลือกตั้ง..!!!! 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
.เป็นไปได้ยากง่ายแค่ไหนที่จะลดการทุจริตคอรัปชั่นในการเลือกตั้ง..!!!!  (อ่าน 1606 ครั้ง)
รวงข้าวล้อลม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,103



เว็บไซต์
« เมื่อ: 28-01-2007, 13:52 »

***เมื่อไหร่ ?? อีกนานแค่ไหน..และจะเป็นไปได้ยากง่ายแค่ไหนที่สังคมไทยจะลดการทุจริตคอรัปชั่นในการเลือกตั้ง ?...
 


                        ***************************************




เอแบคโพลล์เผยผลสำรวจนักธุรกิจในกทม.และปริมณฑล ส่วนใหญ่เห็นว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกในอดีตมีปัญหาเอื้อประโยชน์พวกพ้องและคอร์รัปชั่นมากที่สุด

 ขณะที่รัฐบาลชุดปัจจุบันเป็นข้าราชการระดับกลาง-ล่าง มีเพียง 13.8% ที่เห็นว่าผู้มีอำนาจปัจจุบันทุจริต เชื่อหลังเลือกตั้งทุจริตรุนแรงขึ้น

ศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคมธุรกิจและการตลาด มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social Innovation of Business and Marketing, Assumption University)เสนอผลสำรวจภาคสนามเรื่องสำรวจความคิดเห็นของนักธุรกิจและผู้ประกอบการต่อหลักธรรมาภิบาลของรัฐบาลจากการเลือกตั้งในอดีตและการลงทุนทำธุรกิจแบบพอเพียง:กรณีศึกษาตัวอย่างนักธุรกิจและผู้ประกอบการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคมธุรกิจและการตลาด มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social Innovation of Business and Marketing, Assumption University) เปิดเผยผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง สำรวจความคิดเห็นของนักธุรกิจและผู้ประกอบการต่อหลักธรรมาภิบาลของรัฐบาลจากการเลือกตั้งในอดีตและการลงทุนทำธุรกิจแบบพอเพียง

โดยในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักธุรกิจและผู้ประกอบการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำนวนทั้งสิ้น 1,639 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินการสำรวจระหว่างวันที่ 1 - 27 มกราคม 2550 ที่ผ่านมา ประเด็นสำคัญที่ค้นพบคือนักธุรกิจและผู้ประกอบการส่วนใหญ่เกินกว่าร้อยละ 90 ติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำทุกสัปดาห์ ในขณะที่ร้อยละ 6.4 และร้อยละ 0.7 เท่านั้นที่ติดตามเป็นบางสัปดาห์และไม่ได้ติดตามเลย

ดร.นพดล กล่าวว่า เมื่อสอบถามและวิเคราะห์ถึงช่องว่างระหว่างความคาดหวังและสิ่งที่เห็นจริงต่อหลักธรรมาภิบาลของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในอดีตพบปัญหาวิกฤติสำคัญอันดับแรกสุดคือ

 ปัญหาการร้องเรียนยื่นเรื่องให้ศาลพิจารณาคดีหรือตำรวจดำเนินคดีทางการเมือง การเลือกปฏิบัติเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจ ความไม่เป็นธรรมในสัญญาธุรกิจ และการทุจริตคอรัปชั่น เพราะผลสำรวจพบมีกลุ่มนักธุรกิจและผู้ประกอบการคาดหวังต่อการร้องเรียนยื่นเรื่องให้ศาลพิจารณาคดีหรือตำรวจดำเนินคดีทางการเมือง การเลือกปฏิบัติเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจ ความไม่เป็นธรรมในสัญญาธุรกิจ และการทุจริตคอรัปชั่น สูงถึงร้อยละ 89.8 แต่เห็นจริงร้อยละ 20.4 จึงมีช่องว่างมากถึงร้อยละ 69.4

ปัญหาหลักธรรมาภิบาลรองลงมาคือ การที่รัฐบาลไม่เป็นที่ไว้วางใจและที่พึ่งได้ เพราะผลสำรวจพบว่ามีกลุ่มตัวอย่างคาดหวังว่าจะมีรัฐบาลเป็นที่ไว้วางใจและที่พึ่งได้สูงถึงร้อยละ 93.8 แต่เห็นจริงได้เพียงร้อยละ 26.0 จึงมีช่องว่างมากถึงร้อยละ 67.8 ในขณะที่ปัญหาหลักธรรมาภิบาลอันดับที่สาม คือ การที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่เป็นที่ไว้วางใจและที่พึ่งได้ เพราะผลสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างคาดหวังว่าจะมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ไว้วางใจและที่พึ่งได้สูงถึงร้อยละ 82.7 แต่เห็นจริงร้อยละ 22.4 มีช่องว่างสูงถึงร้อยละ 60.3

นอกจากนี้ ปัญหาช่องว่างของความคาดหวังและสิ่งที่เห็นจริงในเรื่องหลักธรรมาภิบาลของรัฐบาลจากการเลือกตั้งที่สำคัญรอง ๆ ลงไปคือ ร้อยละ 59.6 เป็นเรื่องของการตรวจสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร้อยละ 58.5 เป็นเรื่องการตรวจสอบรัฐบาล ร้อยละ 58.3 เป็นเรื่องนักการเมืองเป็นที่ไว้วางใจได้ ร้อยละ 58.2 เป็นเรื่องความโปร่งใสขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร้อยละ 57.9 เป็นเรื่องความสัมพันธ์ที่ดีช่วยเหลือกันพัฒนาประเทศระหว่างรัฐบาล ราชการและภาคประชาชน ร้อยละ 51.1 เป็นเรื่องการลดปัญหาความยากจน ในขณะที่ร้อยละ 48.3 เป็นเรื่องการตรวจสอบองค์กรอิสระ และร้อยละ 40.8 เป็นเรื่องของการเข้าใจ เข้าถึงหลักรัฐธรรมนูญและกฎหมายต่างๆ ในกลุ่มนักธุรกิจและผู้ประกอบการ

อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่น่าเป็นห่วงสำหรับรัฐบาลชุดปัจจุบันคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.7 ของกลุ่มนักธุรกิจและผู้ประกอบการระบุว่า ยังคงมีปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มเจ้าหน้าที่ของรัฐระดับท้องถิ่น ร้อยละ 64.9 ระบุยังคงมีปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มข้าราชการระดับล่าง ร้อยละ 55.7 ระบุยังคงมีปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มข้าราชการระดับสูง ในขณะที่ร้อยละ 13.8 ระบุยังคงมีปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มผู้มีอำนาจของรัฐบาลชุดปัจจุบัน และเพียงร้อยละ 5.1 เท่านั้นที่ระบุไม่มีปัญหาแล้ว

ยิ่งไปกว่านั้น ในกลุ่มผู้ที่ตอบว่ายังพบปัญหาทุจริตคอรัปชั่นนั้น ร้อยละ 35.7 ระบุมีปัญหารุนแรงในกลุ่มข้าราชการระดับสูง ร้อยละ 41.7 ระบุระดับปานกลาง และร้อยละ 22.6 ระบุระดับเบาบาง สำหรับปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มข้าราชการระดับล่างร้อยละ 54.2 ระบุระดับรุนแรง ร้อยละ 34.5 ระบุระดับปานกลาง และร้อยละ 11.3 ระดับเบาบาง

นอกจากนี้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐระดับท้องถิ่นร้อยละ 66.8 ระบุระดับรุนแรง ร้อยละ 22.7 ระดับปานกลาง และร้อยละ 10.5 ระดับเบาบาง และปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มผู้มีอำนาจของรัฐบาลชุดปัจจุบันร้อยละ 20.4 ระบุระดับรุนแรง ร้อยละ 51.2 ระดับปานกลาง และร้อยละ 28.4 ระดับเบาบาง

ที่น่าเป็นห่วงคือ เมื่อสอบถามถึงความคิดเห็นต่อระดับความรุนแรงของปัญหาทุจริตคอรัปชั่นหลังการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 60.7 ระบุปัญหาในกลุ่มข้าราชการระดับสูงจะกลับมาเหมือนเดิม ร้อยละ 23.2 จะรุนแรงมากขึ้น ร้อยละ 16.1 จะลดลง สำหรับปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มข้าราชการระดับล่างร้อยละ 57.6 ระบุจะกลับมาเหมือนเดิม ร้อยละ 31.7 ระบุจะรุนแรงมากขึ้น และร้อยละ 10.7 ระบุจะลดลง ตัวอย่างร้อยละ 56.1 ระบุปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐระดับท้องถิ่นจะกลับมาเหมือนเดิม ร้อยละ 34.6 จะมากขึ้นและร้อยละ 9.3 จะลดลง

ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือ ร้อยละ 36.9 ระบุปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มนักการเมืองจะกลับมารุนแรงมากขึ้น ร้อยละ 54.9 จะเหมือนเดิม และเพียงร้อยละ 8.2 ระบุจะลดลง

เมื่อสอบถามถึงสิ่งที่คิดและสิ่งที่ทำทั้งตัวชี้วัดและตัวขัดแย้งการลงทุนทำธุรกิจแบบพอเพียง พบว่า ..

ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.3 ระบุการแข่งขันทางธุรกิจสู่ชัยชนะเป็นเรื่องปกติ
 ในขณะที่ร้อยละ 80.4 คิดว่าตนเองเป็นคนที่มุมานะทำงานหนักมากที่สุดเมื่อเทียบกับคนอื่นอีกประมาณ 100 คน
 แต่ที่น่าเป็นห่วงคือส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.1 ระบุการทุจริตคอรัปชั่นเป็นเรื่องปกติธรรมดาในการทำธุรกิจ
ร้อยละ 64.4 ระบุทำธุรกิจเพื่อเอาชนะและต้องทำให้คู่แข่งเติบโตในวงจำกัด
ร้อยละ 63.5 คิดว่าถ้าธุรกิจที่กำลังทำขณะนี้ประสบปัญหาจะเดือดร้อนต้องพึ่งพาผู้อื่น
 ร้อยละ 58.6 ระบุธุรกิจที่กำลังทำอยู่มีปัญหาความสิ้นเปลืองอยู่มาก
ในขณะที่ร้อยละ 24.9 ระบุทุกวันนี้มุ่งทำธุรกิจเพื่อพออยู่ได้มากกว่ามุ่งหาผลกำไร
และร้อยละ 11.6 ระบุคิดอยากลงทุนอะไรก็จะลงทุนทันที


ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงหลายเรื่องส่วนใหญ่เป็นเรื่องปัญหาทุจริตคอรัปชั่นที่เคยเกิดขึ้นในอดีต กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน และจะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต ถ้าระบบโครงสร้างของประเทศไทยและคุณภาพของคนยังคงเป็นอยู่เหมือนเดิม

ดังนั้น ความรู้สึกนึกคิดของกลุ่มตัวอย่างนักธุรกิจและผู้ประกอบการในการศึกษาครั้งนี้อาจเป็นจริงตามที่ค้นพบ เพราะกลุ่มนักธุรกิจและผู้ประกอบการส่วนใหญ่ขณะนี้คิดกันว่าการทุจริตคอรัปชั่นเป็นเรื่องปกติธรรมดา ผลที่ตามมาก็คือ การลงทุนลงแรงแลกด้วยชีวิตของกลุ่มผู้ยึดอำนาจ (คมช.) จากรัฐบาลชุดที่แล้วก็จะไม่เกิดประโยชน์อะไร ถ้าการยึดอำนาจนั้นทำได้เพียงเปลี่ยนมือกลุ่มผู้ทุจริตคอรัปชั่นจากฝ่ายการเมืองกลุ่มหนึ่งมาสู่ กลุ่มข้าราชการ กลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐในท้องถิ่น และกลุ่มนักการเมืองกลุ่มอื่นๆ อีกต่อหนึ่ง ส่งผลให้วัฏจักรแห่งความชั่วร้ายและข้ออ้างเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับกลุ่มผู้ที่จะยึดอำนาจในอนาคตยังคงมีอยู่ต่อไป แนวทางแก้ไขที่น่าพิจารณาคือ



ประการแรก การแก้ไขรัฐธรรมนูญและกฎหมายลูกที่จะตามมาควรทำให้ชัดเจนเข้าใจง่ายว่า เพียงแค่มีพฤติการณ์วิ่งเต้นล็อบบี้เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มทุนและพวกพ้อง โดยไม่ต้องรอให้มีใบเสร็จก็เป็นความผิดได้ เช่น การเลี้ยงดูปูเสื่อคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างและสายสัมพันธ์ที่ส่อไปในทางที่เกินควรของผู้มีอำนาจตัดสินใจโครงการลงทุนของภาครัฐกับกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจหรือผู้มีอาชีพวิ่งเต้นล็อบบี้ต่างๆ เป็นต้น

ประการที่สอง รัฐควรเร่งให้การศึกษาสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักและการมีส่วนร่วมของประชาชนระดับชุมชนในการแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นอย่างกว้างขวางมากขึ้น เพราะผลสำรวจหลายครั้งที่ผ่านมาพบว่าทั้งประชาชนทั่วไปและกลุ่มนักธุรกิจประสบปัญหาการทุจิรตคอรัปชั่นและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐในระดับท้องถิ่นเป็นจำนวนมาก จึงต้องอาศัยสื่อมวลชนและการศึกษาแบบเป็นทางการในระบบ นำประวัติศาสตร์ความผิดพลาดของรัฐบาลชุดที่ผ่านมาๆ ในโครงการต่างๆ เช่น ค่าโง่ทางด่วน โครงการโฮปเวย์ บ่อบำบัดน้ำเสีย และสนามบินสุวรรณภูมิ เป็นต้น เข้าสู่เนื้อหาในตำราเรียนปลูกจิตสำนึกให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชนทั่วไปของชุมชนท้องถิ่นและเด็กเยาวชนชนรุ่นหลังเพื่อต่อต้านพฤติการณ์ทุจริตคอรัปชั่นทุกรูปแบบและทุกระดับ ชี้ให้เห็นว่าปัญหาทุจริตคอรัปชั่นและการเลือกปฏิบัติเอื้อประโยชน์ให้พวกพ้องของผู้มีอำนาจได้ทำลายความภาคภูมิใจของคนไทยต่อโครงการขนาดใหญ่ที่ถูกคาดหวังจากประชาชนว่าจะเป็นตัวชี้วัดความเจริญรุ่งเรืองของชุมชนและของประเทศ

ประการที่สาม กลไกต่างๆ ของรัฐต้องรวดเร็วฉับไวต่อการสะสางปัญหาทุจริตคอรัปชั่นเมื่อได้รับเรื่องราวร้องทุกข์กล่าวโทษต้องรีบดำเนินการสืบสวนสอบสวนทันที รัฐบาลควรเข้ามาสนับสนุนกลไกต่างๆ ของรัฐเหล่านี้ด้านทรัพยากรให้เพียงพอต่อปริมาณปัญหาทุจริตคอรัปชั่นที่กำลังเกิดขึ้นทั่วทุกแห่งหนของประเทศขณะนี้ เพราะมันยังไม่ได้หายไปไหนแม้แต่ในห้วงเวลาของรัฐบาลชุดปัจจุบันนี้

ประการที่สี่ รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงควรแสดงให้สาธารณชนเห็นเป็นตัวอย่างของประชาชนและนักธุรกิจที่มีความสุขจากการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง ชี้ให้เห็นว่าการลงทุนแบบพอเพียงนำไปสู่ความเติบโตและมั่นคงในฐานะทางเศรษฐกิจของบริษัทห้างร้านต่างๆ อย่างยั่งยืน และสามารถเป็นภูมิคุ้มกันปัญหาทุจริตคอรัปชั่นได้แท้จริง





 http://www.bangkokbiznews.com/viewNews.jsp?newsid=151226
บันทึกการเข้า

&..หลายๆทำไม ..คุณตอบได้ไหม ?
http://www.oknation.net/blog/roungkaw/2008/05/27/entry-4
รวงข้าวล้อลม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,103



เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 28-01-2007, 13:59 »

นายวิชา มหาคุณ รองประธานกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญกล่าวว่า จากการหารือในเบื้องต้นของกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญได้ข้อสรุปว่า ร่างรัฐธรรมนูญร่างแรกให้เสร็จในวันที่ 19 เม.ย.เพื่อส่งให้องค์กรต่าง ๆและประชาชนได้ดูในเบื้องต้นก่อนว่าพอใจหรือไม่พอใจ และจะต้องแก้ไขในเรื่องใด ส่วนร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรที่ได้ข้อยุติแล้ว คาดว่าจะเสร็จในวันที่ 9 มิ.ย.นี้ หรืออย่างช้าต้องเสร็จก่อนวันที่ 24 มิ.ย.

ผู้สื่อข่าวถามว่า หลายฝ่ายไม่เห็นด้วยกับการลดจำนวน ส.ส.และส.ว.ลง จนถึงขั้นอาจจะมีการคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ นายวิชาตอบว่า เป็นการคิดไกลไปหน่อย ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อยุติเรื่องใด ๆ และกรรมาธิการฯยังพร้อมเปิดรับฟังข้อเสนอจากทุกฝ่าย จึงไม่ควรตีตนไปก่อนไข้ หรือกลัวกันไปก่อน

"มั่นใจว่าหากขั้นตอนการร่างรัฐธรรมนูญดำเนินไปตามกรอบเวลาที่กำหนดไว้เบื้องต้นแล้ว หลังจากเดือนมิ.ย.ก็จะเปิดให้ประชาชนลงประชามติว่าจะรับร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ จากนั้นเชื่อว่า ในเดือนก.ย.จะจัดให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นได้"

http://www.bangkokbiznews.com/viewNews.jsp?newsid=151227
บันทึกการเข้า

&..หลายๆทำไม ..คุณตอบได้ไหม ?
http://www.oknation.net/blog/roungkaw/2008/05/27/entry-4
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #2 เมื่อ: 28-01-2007, 14:11 »

ปัญหานั้นคงจะต้องมองที่ต้นเหตุ นั่นก็คือการเลือกตั้ง

วิธีการเลือกตั้งที่ประเทศไทยนำมาใช้อยู่ในปัจจุบัญนี้ เป็นวิธีการเลือกตั้งตามภูมิศาสตร์ นั่นคือแบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วนๆ ตามแต่จะตกลงกัน ประชาชนมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตใด ก็ออกเสียงเลือกผู้แทนราษฎรในเขตนั้น ผู้แทนราษฎรก็ต้องมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตนั้น เป็นหลักการที่เราใช้กัน

ปัญหาก็คือ ประชาชนมีชื่อและทะเบียนราษฎรอยู่ในเขต แต่ตัวไม่ได้อยู่จริง รวมไปถึงผู้แทนก็เช่นกัน  บทสรุปของปัญหาข้อแรกก็คือ ไอ้ที่เลือกเข้ามา มันไม่ใช่ผู้แทนจริงๆเป็นส่วนใหญ่  เป็นคนที่มีเงินมีอิทธิพลเข้าไปยึกพื้นที่นั้นเป็นฐานเสียง

อีกประการก็คือ ผู้แทนนั้น เป็นผู้แทนของอะไรก็ไม่รู้ ไม่ได้ผูกพันอะไรกับคนเลือกเข้ามา สักแต่ว่าทั้งคนเลือกและคนถูกเลือก มีตัวอักษรบันทึกไว้ในเอกสารของกรมการปกครองว่า เป็นพลเมืองในพื้นที่นั้น  ผลก็คือ แลอกแล้วก็แล้วกัน ต่างคนต่างแยกทาง เลือกครั้งใหม่ มาเจอกันใหม่

และบรรดาผู้เสนอตัวเป็นผู้แทนราษฎรนั้น สถิติจากการทำโพลของหนูเอง ไม่พึ่งพิงสถาบันไหน และไม่อิงหลักการทำสถิติใดๆในโลกนี้ ร้อยละเก้าสิบเก้าจุดเก้าเก้า เข้ามาเพื่อหาผลประโยชน์ส่วนตน หากนับจำนวนผู้แทนราษฎรเท่าที่เยมีมาทั้งหมดแล้ว เชื่อว่าน่าจะมีไม่ถึง 100 คน ที่เข้ามาโดยไม่ได้อะไรติดไม้ติดมือกลับไป ที่ว่าติดไม้ติดมือกลับไปนั้น ติดกลับไปโดยมิชอบ

เลือกอีก ก็เป็นเช่นนั้นอีก

เขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หากผู้แทนเป็นผู้แทนของพื้นที่ ตามทะเบียนราษฎร มันก็จะเป็นเช่นนั้นอีก

วนเวียนไม่รู้จักจบ ฟันธงโดยไม่ต้องพึ่งหมอดูว่า มันก็เข้ามาโกงกันอีก แล้วจบที่ ปฎิวัติอีก

และด้วยระบบเดิมนั้น ไม่มีหนทางใดในการป้องกันการซื้อเสียง ทุจริต คอรัปชั่น ในการเลือกตั้ง 
บันทึกการเข้า
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #3 เมื่อ: 28-01-2007, 14:19 »

มองปัญหากันดูว่า ผู้แทนราษฎรนั้น น่าจะเป็นตัวแทนของกลุ่มคนในแต่ละสาขาอาชีพ เข้ามาปกป้องผลประโยชน์และสิทธิหน้าที่ของกลุ่มตน  หากชาวนาเลือกชาวนา ชาวไร่เลือกชาวไร่ พ่อค้าเลือกพ่อค้า นักธุรกิจเลือกนักธุรกิจ  และถ้าจะให้มันสนุกสุดเหวี่ยง ชายเลือกชาย หญิงเลือกหญิง  คราวนี้ไอ้พวกหมาหลง ไอ้พวกนายทุนมันก็ลำบากขึ้นมาอีกหน่อยนึง  ยกพวกยกโคตะระเข้าสภา ทำสภาผัวเมียนั้นคงลำบากขึ้น  สภาจะมีชายเกือบครึ่งและหญิงกว่าครึ่ง เพราะเพศหญิงนั้นมีมากกว่าเพศชายค่ะ  สภาของเราจะเท่าเทียมกันทางเพศเสียที สนุกแน่ๆ

การแบ่งสรรว่าใครอาชีพอะไรนั้น ก็ให้ดูการเสียภาษีและที่มาของรายได้เป็นหลัก เป็นเจ้าของบริษัท มีเงินเป็นล้านๆ ไปลงสมัครเป็นผู้แทนชาวนาคงไม่ได้แน่ แบ่งกันซะให้ดี หมาหลงจะหายไปเยอะ ฟังแล้วก็ยากๆอยู่  แต่ถ้าวางหลักการไว้แล้ว เดี๋ยวมันก็หาทางโกงกันเองค่ะ

อีกอย่างหนึ่งเวลาเลือกตั้ง  เขาซื้อเสียงกันทำไมคะ ซื้อเพื่อให้ไปลงคะแนนให้คนซื้อใช่ไหมคะ  เราก็ใช้วิธีใหม่  คือมีผูสมัครกี่คนก็ตาม เราให้ประชาชนไปเลือกมันออก  คือเหม็นหน้าใคร กาชื่อให้คนนั้น ใครได้คะแนนเยอะ เอาออกไป ฐานะคนรังเกียจเยอะ  คราวนี้อยากซื้อเสียง เอาแค่มีคู่แข้งสองคน ก็ต้องจ่ายสองเท่า ให้เขาไปกาไล่อีกสองคนออก ยิ่งมีผู้สมัครมากเข้า ซื้อไม่ไหว มีผู้สมัครแข่งกันสักสิบคน ต้องจ้างเก้าคนให้ไปกาไล่คนอื่นออก ซื้อไหวก็ลองดูค่ะ
บันทึกการเข้า
รวงข้าวล้อลม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,103



เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 28-01-2007, 14:24 »

..อ่านความคิดเห็นของน้องพรรณชมพู  อดที่จะคิดต่อไปอีกไม่ได้ว่า...


...ประเด็นที่เค้าออกมาปกป้อง  ออกมาตะโกนเรียกหาการเลือกตั้งกันนักกันหนา
มันใช่แน่หรือคือประชาธิปไตย....  แล้วแก้ไขรัฐธรรมนูญจะลดการทุจริตการเลือกตั้งได้จริงแท้แน่หรือ ?..

...ทีนี้  หลักธรรมมาภิบาล หลักคุณธรรม ยังจะมองว่าเป็นนามธรรม ของเพ้อฝันอีกหรือไม่ ? ...
บันทึกการเข้า

&..หลายๆทำไม ..คุณตอบได้ไหม ?
http://www.oknation.net/blog/roungkaw/2008/05/27/entry-4
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #5 เมื่อ: 28-01-2007, 14:25 »

ปัญหาของการซื้อเสียงอีกอย่างก็คือ คนไปเลือกนั้นก็ไม่รู้จักคนถูกเลือก เขาสั่งมาให้ไปกาเบอร์ไหน ก็กาเบอร์นั้น  นักการเมืองเขาก็วางแผนหลอกประชาชนไว้ว่า การเลือกตั้งที่ดี ต้องมีคนไปเลือกมากๆ อำนวยความสะดวกกันเหลือประมาณ  เอาใหม่ค่ะ  ให้มันเลือกยากๆ  ต้องลงทะเบียนใช้สิทธิ์เสียก่อน และบัตรเลือกตั้งนั้น ไม่มีหมายเลข อ่านชื่อผู้สมัครไม่ออก ช่วยไม่ได้ และเมื่อมันเป็นการเลือกเพื่อไล่ออกไป คิดไม่ออกก็กามั่วไป

ทีนี้คนก็มาใช้สิทธิ์น้อย กลุ่มใด อาชีพใด ในเขตไหน ออกมาใช้สิทธิ์ไม่ถึง 50 % ถือเป็นโมฆะ สอบตกยกพวง ไม่เอาใครเลย ไม่ต้องจ่ายเงินเดือน ไม่ต้องเข้าสภา เพราะต้องถือว่า คนในกลุ่มอาชีพ หรือคนในกลุ่มที่แยกไว้นั้น ไม่ต้องการปกครองตนเอง ขี้เกียจ สมควรถูกปกครอง เลือกคราวหน้าค่อยว่ากันใหม่ คราวนี้ไม่มีผู้แทนของพวกคุณ เพราะคุณไม่พร้อมจะปกครองตนเอง ประหยัดเงินหลวงไปได้เยอะค่ะ

หากเลือกตั้งทั้งประเทศแล้ว มีผู้แทนไม่ถึงครึ่งหนึ่งของจำนวนเต็มที่จัดวรรไว้ ให้ถือว่า ในช่วงระยะนั้น ประชาชนขี้เกียจปกครองตนเอง ทูลเกล้าขอนายกพระราชทานมาหนึ่งสมัย คราวหน้าว่ากันใหม่

รับรองค่ะ ทำอย่างหนูว่า ไม่เจ๊งก็เป็นมหาอำนาจค่ะ  
บันทึกการเข้า
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #6 เมื่อ: 28-01-2007, 14:29 »

..อ่านความคิดเห็นของน้องพรรณชมพู  อดที่จะคิดต่อไปอีกไม่ได้ว่า...


...ประเด็นที่เค้าออกมาปกป้อง  ออกมาตะโกนเรียกหาการเลือกตั้งกันนักกันหนา
มันใช่แน่หรือคือประชาธิปไตย....  แล้วแก้ไขรัฐธรรมนูญจะลดการทุจริตการเลือกตั้งได้จริงแท้แน่หรือ ?..

...ทีนี้  หลักธรรมมาภิบาล หลักคุณธรรม ยังจะมองว่าเป็นนามธรรม ของเพ้อฝันอีกหรือไม่ ? ...


บางคนเขาคิดว่าประชาธิปไตยคือการเลือกตั้งค่ะ  บางคนก็คิดว่าประชาธิปไตยต้องมีสภา มีผู้แทนราษฎร

เขียนรัฐธรรมนูญกันมากี่ฉบับ เคยถามประชาชนจริงๆมั่งไหมว่า เขาต้องการปกครองประเทศด้วยระบอบอะไร???

เปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ 2475 ไม่ได้ถามประชาชนสักคำ ทำกันเองแท้ๆ

หนูเห็นภาพบนถนนราชดำเนินเมื่อปีที่แล้ว ในงานมหามงคล เห็นผู้คนทั้งประเทศที่จงรักภักดีแล้ว  ลองถามเขาสิคะว่า เขาอยากให้ใครปกครองประเทศ

เราเดินทางผิดมาครบ 75 ปีแล้วค่ะ รู้สึกตัวกันหรือยัง  กลับไปยังจุดเริ่มต้นใหม่เถิดค่ะ อะไรที่ได้มาโดยมิชอบ กลับไปสู่จุดเดิมเสีย แล้วเริ่มต้นกันใหม่  ราชประชาสมาศัย  ประเทศของเราจะสุขสบายค่ะ 
บันทึกการเข้า
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #7 เมื่อ: 28-01-2007, 14:43 »

ให้ถือว่า ในช่วงระยะนั้น ประชาชนขี้เกียจปกครองตนเอง

 
บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
ภารโรงวัยดึก
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 123


« ตอบ #8 เมื่อ: 28-01-2007, 14:46 »

ผมขอเสนอว่า ใครมีปัญญาเสียภาษีเงินได้ให้รัฐ รัฐก็ให้สิทธิคนนั้นได้เลือกตั้ง
บันทึกการเข้า
bgn
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 87


« ตอบ #9 เมื่อ: 28-01-2007, 18:05 »

ไม่มีทาง
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: