ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
26-04-2024, 20:11
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  หาว่าโกง องค์กรอิสระไม่อิสระ ไหนละ หลักฐาน ฟ้องซิ นี้อาจเป็นสาเหตุหนึ่ง 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
หาว่าโกง องค์กรอิสระไม่อิสระ ไหนละ หลักฐาน ฟ้องซิ นี้อาจเป็นสาเหตุหนึ่ง  (อ่าน 1118 ครั้ง)
maninbox
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 74



« เมื่อ: 27-04-2006, 20:42 »

ศาลฎีกาแผนกคดีฯการเมืองข้องใจเปิดดำเนินการ5ปีมีคดีขึ้นศาล4เรื่อง

ศาลฎีกา แผนกคดีอาญาฯ ข้องใจเปิดทำการ 5 ปี มีคดีขึ้นศาล 4 เรื่อง เปิดสัมมนาระดมสมองแก้ไข พบปัญหาติดขัดที่ป.ป.ช. “เจิมศักดิ์”แนะปรับโครงสร้าง ป.ป.ช. เปลี่ยนให้ประชาชนเป็นผู้เสียหายคดีทุจริตแทนหน่วยราชการ ด้านตุลาการข้องใจทุจริตเชิงนโยบาย

(27เมษายน) ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จัดสัมมนาหัวข้อ”บทบาทของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในคดีฉ้อราษฎร์บังหลวง” โดยนายประพันธ์ ทรัพย์แสง ประธานแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาและศึกษาเรื่องเกี่ยวกับการทุจริต วุฒิสภา และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ร่วมเป็นวิทยากร

นายประพันธ์ กล่าวว่า ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯ เปิดมา 5 ปี มีคดีทุจริตคอรัปชั่นเข้ามายังศาลเพียง 4 คดี ที่เหลือจับมือใครดมไม่ได้ ซึ่งเป็นประเด็นให้สงสัยว่า วุฒิสภาทำงานตรวจสอบมา 6 ปีเต็ม นักการเมืองหลบไปได้อย่างไร แม้แต่ขั้นตอนการตรวจสอบของฝ่ายค้าน ก็ทำไม่ได้เต็มที่ เพราะมีเสียงไม่พอที่จะลงมติถอดถอนนายกรัฐมนตรี และยังต้องผ่านขั้นตอนการไต่สวนของ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จึงจะส่งฟ้องศาลได้ ขณะนี้อยู่ในภาวะไม่มี ป.ป.ช. ดังนั้นจึงต้องขอรับฟังความเห็น เพื่อสร้างโอกาสให้คดีเข้าสู่ศาลมากขึ้น ไม่ต้องกลัวว่าคดีจะล้นศาล เพราะผู้พิพากษาเก่ง บางคดีฟ้องเช้า เย็นตัดสินได้เลยก็มี

นายเจิมศักดิ์ กล่าวว่า ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯ เป็นศาลที่ประดิษฐ์ขึ้นมา เพื่อจัดการกับนักการเมืองทุจริต แต่ขั้นตอนไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปฟ้องคดีได้ ตนเคยส่งเรื่องไป ป.ป.ช.จำนวนมาก จนถึงวันนี้คดีก็ยังค้างอยู่ป.ป.ช. ยกเว้นคดีที่ ป.ป.ช.ทำความผิดเสียเอง ที่เปิดช่องทางให้มาศาลได้เลย แต่ก็มีอุปสรรคคือ ต้องรวบรวมเสียงจาก 2 สภาให้ได้ 1 ใน 4 หรือ 175 เสียง แต่วุฒิสภาถูกครอบ จึงต้องทำหนังสือไปถึงพรรคการเมือง เพื่อขอเสียงสนับสนุน ซึ่งได้พรรคประชาธิปัตย์พรรคเดียว ตนทำงานแทบตายยังสำเร็จแค่เรื่องเดียว ในภาวะที่การเลือกตั้งได้สภาจากพรรคการเมืองใหญ่ กับส.ส.จากพรรคเล็กพรรคน้อย วุฒิสภาก็เป็นสภาเครือญาติ ส.ว.ชุดใหม่คงทำงานลำบากขึ้น เรากำลังเจอเข้ากับทางตันใหญ่

นายเจิมศักดิ์ กล่าวว่า ปัญหาที่ทำให้คดีไม่เข้าสู่ศาล เป็นปัญหาทั้งข้อกฎหมาย และวิธีปฏิบัติ ป.ป.ช.เองก็มีเวลาทำงานไม่ไหว ต้องแก้ไขที่โครงสร้าง ไม่ให้ ป.ป.ช.เป็นด่านในการส่งคดีให้ศาล นอกจากนี้ ป.ป.ช.ยังยึดหลักการว่า การดำเนินคดีต้องมีผู้เสียหายโดยตรง คำถามคือ จะตีความให้ใครเป็นผู้เสียหาย ยกตัวอย่าง คดีทุจริตยาปลัดกระทรวงสาธารณสุขรับเป็นผู้เสียหาย แต่การจัดซื้อคอมพิวเตอร์กระทรวงศึกษา มีหลักฐานถึงการกินคอมมิชชั่น แต่ปลัดกระทรวงบอกว่าไม่เสียหาย เพราะวงเงินจัดซื้ออยู่ในกรอบงบประมาณ อีกทั้งได้คอมพิวเตอร์ตรงตามสเป็ค ทั้งที่รู้ดีว่าถ้าไม่มีคอมมิชชั่น จะซื้อของได้ถูกลง ปัจจุบันคนๆนี้ก็อยู่ในพรรคไทยรักไทย ดังนั้นในการยกเครื่องรัฐธรรมนูญ ควรแก้ไขให้ประชาชนเป็นผู้เสียหาย และแยก ป.ป.ช.นักการเมือง ออกจาก ป.ป.ช.ข้าราชการ

“การถอดถอนรัฐมนตรีที่มีพฤติกรรมส่อทุจริต ป.ป.ช. ควรใช้บรรทัดฐานต่างจากคดีอาญา ที่ต้องพิสูจน์ให้สิ้นสงสัย โดยให้กรรมการลงมติ 2 ใน 3 เพราะการถอดถอนไม่มีโทษจำคุก แค่ให้เว้นวรรคออกไปจากตำแหน่ง เพราะพฤติกรรมไม่น่าไว้วางใจ น่าส่งคดีไปสู้กันในศาล”นายเจิมศักดิ์กล่าว

นายเจิมศักดิ์ กล่าวอีกว่า สำหรับองค์กรอิสระ ซึ่งมีที่มาจากคณะกรรมการสรรหาของพรรคการเมือง ก็มีการฮั้วระหว่างตัวแทนพรรคการเมือง แม้ว่าการเมืองจะไม่มีสิทธิ์เลือกกรรมการองค์กรอิสระ แต่มีอำนาจบล็อกคนบางกลุ่มไม่ให้เข้าสู่การคัดเลือกของ ส.ว. จึงควรนำแนวทางที่ดีจากศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯ ซึ่งเลือกตุลาการจากที่ประชุมศาลฎีกา โดยพิจารณาความเหมาะสมเป็นรายคดี คู่ความร้องคัดค้านได้ คิดจะวิ่งเต้นก็วิ่งไม่ถูก เพราะไม่รู้ว่าใครจะมาวินิจฉัยคดี ตรงกันข้ามกับ ป.ป.ช. มีวาระ 9 ปี อยู่นานจนรากงอก วิ่งเต้นได้ทั้งล่วงหน้าและล่วงหลัง ดังนั้นหากเราปลดล็อคเหล่านี้ไม่ได้ ศาลก็คงได้แต่ยืนรอ

นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า คนในพรรคประชาธิปัตย์เองหลายคน บ่ายเบี่ยงไม่อยากลงชื่อถอดถอน ป.ป.ช. เพราะพวกเขากลัว ป.ป.ช. จะมาเล่นงานภายหลัง โชคดีที่ศาลตัดสินว่ามีความผิด พวกตนจึงรอดตัวกันมาได้ ทั้งนี้ที่มาของกรรมการองค์กรอิสระเป็นด่านสำคัญ ทำให้คดีถูกส่งมาศาล ยิ่งในภาวะไม่มี ป.ป.ช. ได้ถูกนำมาใช้เป็นข้ออ้างคุ้มครองนักการเมือง ดังนั้นจึงควรให้ประชาชนเป็นผู้เสียหายในคดีทุจริต โดยเข้าชื่อกัน 50,000 รายชื่อ ถ้ากลัวว่าคดีจะล้นศาล ก็ต้องส่งเรื่องให้ส.ว.ไต่สวนเบื้องต้นก่อนส่งฟ้อง จะหวังให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ดำเนินการกับผู้บังคับบัญชาคงไม่ได้ ยกตัวอย่างกรณี รมว.คลัง ใช้อำนาจไม่ชอบ ทำให้การจัดเก็บภาษีของผู้เกี่ยวข้องกับผู้มีอำนาจในรัฐบาลไม่ถูกต้อง ป.ป.ช. ก็ดำเนินการกับเจ้าหน้าระดับล่าง ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าการประเมินภาษีผิด เฉพาะกับผู้ใกล้ชิดรัฐบาล จะไม่มีผู้สั่งการอยู่เบื้องหลัง ดังนั้นจึงเรียกร้องให้ศาลขยายบทบาทเชิงรุก ในการสร้างค่านิยมปราบฉ้อราษฎร์บังหลวง สนับสนุนคนดี ต่อต้านคนโกง

นายอภิสิทธิ์ ให้สัมภาษณ์ว่า ขณะนี้จำเป็นต้องทบทวนกระบวนการ ที่เป็นปัญหาในการดำเนินคดีกับผู้ทุจริต เมื่อพบว่ามีปัญหาติดขัดที่ ป.ป.ช. ก็ต้องสร้างขั้นตอนให้ประชาชนยื่นฟ้องต่อศาลได้ นอกจากนี้ควรนำวิธีปฏิบัติที่ดีของศาลฎีกา ไปปรับใช้กับองค์กรอิสระอื่นๆ โดยเฉพาะบทเรียนจากการให้อำนาจองค์กรใดองค์กรหนึ่งมากเกินไป หลังจากนี้คงต้องคิดด้วยความรอบคอบ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้ง หรือการวินิจฉัยประเด็นรัฐธรรมนูญ โดยอาจเปลี่ยนมาให้ศาลฎีกาและศาลปกครองสูงสุด ร่วมกันวินิจฉัย ซึ่งทั้งหมดจะนำมาเป็นแนวทางในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

ในช่วงตอบข้อซักถาม ผู้พิพากษาได้สอบถามถึงความหมายของทุจริตเชิงนโยบาย นายเจิมศักดิ์ อธิบายพร้อมยกตัวอย่างว่า ตนกล่าวหานายกฯมีส่วนได้ส่วนเสียกับกิจการของตัวเอง ในการออกพ.ร.ก.ภาษีสรรพสามิตกิจการโทรคมนาคม ซึ่งในสัญญาสัมปทาน กำหนดให้จ่ายค่าตอบแทนให้รัฐทุกปี โดยปีแรกๆจ่ายน้อย และจะปรับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ภายหลังมีการเปิดเสรีกิจการโทรคมนานคม ผู้ประกอบการรายใหม่ไม่ต้องจ่าย แต่ตัวเองยังต้องจ่ายมากขึ้น จึงดิ้นทุกทางมาลงตัวที่การเรียกเก็บภาษีสรรพสามิต จากผู้ใช้บริการ โดยให้เรียกเก็บกับผู้ประกอบการทุกราย ซึ่งผู้ประกอบการรายเก่าให้นำมาภาษีสรรพสามิตไปหักเป็นค่าตอบแทน วิธีการเช่นนี้ทำให้มีเงินผูกขาดได้ยาวขึ้นอีก แม้แต่ดาวเทียมไอพีสตาร์หรือไทยคม 4 บริษัทชินแซทเทิลไลท์ก็ไปขอให้บีโอไอ ยกเว้นภาษีรายได้ 16,400 ล้านบาท และขอทำสัญญาลงทุนในถิ่นธุรกันดาร ทั้งที่ดาวเทียมครอบคลุมทั่วประเทศ โดยนายกฯนั่งเป็นประธานบีโอไอ

นายเจิมศักดิ์ กล่าวอีกว่า การที่เอ็กซิมแบงค์ปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำ 4,000 ล้านบาทให้รัฐบาลพม่า เพื่อให้ลูกชายของผู้นำพม่าทำธุรกิจโทรศัพท์ ตนได้สอบถามไปยังเอ็กซิมแบงค์ ว่าไม่กลัวหนี้สูญหรืออย่างไร เพราะไม่มีประเทศใดยอมให้กู้ คำตอบที่ได้รับคือ เป็นนโยบายที่ไม่มีลายลักษณ์อักษร ซึ่งไม่เคยมีในแผนการทำงาน ผู้บริหารเอ็กซิมแบงค์กลัวมีปัญหาภายหลัง จึงขอให้เป็นมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) และขอให้รัฐบาลค้ำประกันเงินกู้ สำหรับดอกเบี้ยเก็บจากพม่า 2 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีก 2 เปอร์เซนต์ นำมาจากงบประมาณแผ่นดิน สำหรับเงินกู้ก็ไม่ต้องส่งไปพม่า แต่ส่งข้ามถนนพหลโยธินไป ตนจึงอยากถามว่า คดีลักษณะเช่นนี้ ตนยื่นฟ้องได้หรือไม่ ถ้าฟ้องแล้วศาลจะตัดสินอย่างไร เพราะทุกขั้นตอนเป็นมติครม. ถูกกฎหมาย
บันทึกการเข้า
*~จ๋าจ้ะ~*
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 45



« ตอบ #1 เมื่อ: 27-04-2006, 20:49 »

ขอบคุณที่นำมาเผยแพร่ค่ะ

จากที่อ่าน จะเห็นว่า ที่ผ่านมา หลายคดีอาจถูก"ป.ป.ช."ตัดตอน ไม่ส่งให้ศาล  Mad


เฮ้อ....เศร้าๆๆๆ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27-04-2006, 23:00 โดย *~จ๋าจ้ะ~* » บันทึกการเข้า
maninbox
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 74



« ตอบ #2 เมื่อ: 27-04-2006, 21:01 »

ลืมบอกทีมา   http://www.komchadluek.net/news/2006/04-27/p1--69990.html
บันทึกการเข้า
ผู้ทำลาย
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,496


lynnicky


เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 27-04-2006, 22:10 »

ขอให้โลกสงบสุข
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27-04-2006, 22:29 โดย lynnicky » บันทึกการเข้า

แสนยานุภาพผู้ยิ่งใหญ่เสมอฟ้าดิน
ppl
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 72



« ตอบ #4 เมื่อ: 27-04-2006, 22:39 »

อ่านจบแล้วก็เศร้า
คนธรรมดาอย่างเราๆจะไปทำอะไรได้
ถ้าทำก็คงจะเดือดร้อน ลำบากในการที่จะไปทำ
ก็ทำได้แค่ในส่วนที่คิดว่าพอจะทำได้

ขนาด ปปช ชุดนี้อดีตเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ทั้งนั้น
และปัจจุบันหลายคนก็ยังมีตำแหน่งหน้าที่สำคัญ
ทั้งที่เคยต้องโทษคดีอาญา

พล.ต.อ.วุฑฒิชัย ศรีรัตนวุฑฒิ ประธาน ป.ป.ช. จำเลยที่ 1
อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ปัจจุบันเป็น กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ

กรรมการ ป.ป.ช.ประกอบด้วย
นายชิดชัย พินิชพัฒน์ จำเลยที่ 2

พล.ต.ท.วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ จำเลยที่ 3
อดีตรองปลัดกระทรวงยุติธรรม ปัจจุบันเป็น คณะกรรมการธนาคารกรุงไทย คณะกรรมการอำนวยการโรงงานยาสูบ

นายวิเชียร วิริยะประสิทธิ์ จำเลยที่ 4
เคยเป็นถึงอัยการสูงสุด(ใหญ่ซะ) ลง สว.กทม. หลุดได้ลำดับที่ 73

นายวิสุทธิ์ โพธิแท่น จำเลยที่ 5
อดีตอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญประเภทผู้เชี่ยวชาญสาขารัฐศาสตร์ฯ
ปัจจุบัน กรรมการการเลือกตั้ง

นายยงยุทธ กปิลกาญจน์ จำเลยที่ 6
อดีต รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปัจจุบัน คณะกรรมการอำนวยการโรงงานยาสูบ

นายประดิษฐ์ ทรงฤกษ์ จำเลยที่ 7
ลง สว.กทม. หลุดได้ลำดับที่ 76

นายเชาว์ อรรถมานะ จำเลยที่ 8
อดีต รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ

และนายพินิต อารยะศิริ จำเลยที่ 9 ลาออกจากการเป็น ปปช คนแรก


ส่วนข้าราชการบางคนที่มีอำนาจก็ยังเฉยๆกันเลย
กลัวสะเทือนหน้าที่การงาน
ถ้าออกตัวตรงข้ามรัฐบาล รัรฐบาลรอดไปได้ ก็ซวย
ถ้าออกตัวเข้าข้างรัฐบาล รัฐบาลหลุดไป ก็ซวย
อยู่เฉยๆกินเงินเดือนหลายหมื่น แสน จะดีกว่า
บันทึกการเข้า

มันเป็นลิขิตสวรรค์
หน้า: [1]
    กระโดดไป: