ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
29-03-2024, 04:18
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  "Circuit Breaker" ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ตลาดหุ้นไทย 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
"Circuit Breaker" ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ตลาดหุ้นไทย  (อ่าน 4754 ครั้ง)
ดอกฟ้ากับหมาวัด
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,042



« เมื่อ: 20-12-2006, 16:20 »

"Circuit Breaker" ครั้งแรกประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นไทย


วันที่ 20 Dec 2006 แสดงข่าวมาแล้ว 11ช.ม. 56นาที

     ทันทีที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ประกาศนโยบายสกัดกั้นเงินทุนต่างชาติไหลเข้าประเทศ

เพื่อเก็งกำไรค่าเงินบาท โดยออกมาตรการให้ธนาคารพาณิชย์กันสำรอง 30% ของเงินทุนนำเข้าจากต่างประเทศ

ที่อายุต่ำกว่า 1 ปีนั้น ทำให้ตลาดหุ้นไทยร่วงอย่างระเนระนาดแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

     โดยผลกระทบจากมาตรการของธปท.ดังกล่าว ทำให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ(SET INDEX)

 ปรับตัวลดลงสูงสุดระหว่างวันที่ระดับ 19.5 % และได้มีการ

นำมาตรการหยุดซื้อขายชั่วคราว(Circuit Breaker) มาใช้เมื่อดัชนีฯร่วงลงเกินระดับ 10%

ซึ่งถือเป็นการมานำใช้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นไทย

     ถึงแม้ที่ผ่านมาจะมีเหตุการณ์ ที่ไม่ดีเกิดขึ้นในอดีต ไม่ว่าจะเป็น เหตุการณ์แบล็คมันเดย์ สงครามอ่าวเปอร์เซีย

 คณะรสช.ยึดอำนาจรัฐบาลยุคสมัย พลเอกชาติชาย ชุหะวัณ เหตุการณ์พฤษภาฯทมิฬ

รวมถึง เหตุการณ์ 911 เวิลด์เทรด เซ็นเตอร์ ขณะที่เหตุการณ์ล่าสุด ที่คปค. มีการยึดอำนาจรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร

ซึ่งยังไม่กระทบกับดัชนีตลาดมากขนาดนี้

     การปรับตัวลงของดัชนีตลาดหุ้นที่มากถึง -108 จุด ถือว่าเป็นการปรับลดลงอย่างรุนแรง

หลังจากที่ธปท.ออกมาประกาศสกัดการไหลเข้าของเม็ดเงินต่างชาติ โดยการสำรองทุนต่างชาติที่เข้ามา

 เพื่อป้องกันการเก็งกำไรค่าเงินบาท เห็นได้ชัดเลยว่านอกจากจะเป็น "แบล็กทิวส์เดย์" แล้ว

ยังสามารถเรียกได้อีกอย่างว่า "ธาริษา เอฟเฟ็กต์"

     -ธาริษาเอฟเฟ็กต์

     ภายหลังจากที่นาง ธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ประกาศมาตรการคุมเงินเก็งกำไรระยะสั้น

 ให้ธนาคารพาณิชย์กันสำรอง 30% สำหรับเงินทุนไหลเข้าระยะ 1 ปี ในช่วงเย็นวันที่ 18 ธันวาคม 2549ที่ผ่านมานั้น

ทำให้ช่วงเช้าของวันต่อมาดัชนีตลาดหุ้นร่วงลงทันทีหลังจากเปิดทำการซื้อขาย

โดยปรับตัวลงทันทีเกือบ 8% มาอยู่ที่ 665.09 จุด ลดลง 62 จุด โดยมีมูลค่าซื้อขายเกือบ 1 หมื่นล้านบาท

     หลังจากนั้นเมื่อเวลา 10.30 น. ดัชนีได้มีการปรับตัวเด้งขึ้นมาจากเดิมที่เคลื่อนไหวอยู่ที่ 677.32 จุด

 ลดลง 53.23 จุด หรือ 7.29% มูลค่าการซื้อขาย 19593 ล้านบาท ซึ่งดัชนีสามารถยืนได้ที่ระดับดังกล่าวนานพอสมควร

 และยังไม่มีกาเรปลี่ยนแปลงใดๆ จนเมื่อเวลา 11.20 น. ดัชนีฯได้ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องอีกครั้ง และเมื่อเวลา 11.30 น.

     ดัชนีได้ร่วงลงต่ำกว่า 10 %เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยอยู่ที่ระดับ 656.49 จุด ลดลง 74.06

     จุด หรือลดลง 10.14% มูลค่าการซื้อขายกว่า 3 หมื่นล้านบาท

     ทันที่ดัชนีหลุด 10% ทำให้ตลาดหลักทรัพย์ฯประกาศใช้มาตรการ Circuit Breaker เพื่อหยุดการซื้อขายแล้ว

โดยนาง ภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดเผยว่า

 ตลท.ได้เตรียมมาตรการบรรเทาผลกระทบในภาวะที่ตลาดหุ้นตื่นตระหนก หากดัชนีปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง

โดยดัชนีปรับตัวลดลงถึงระดับ 10% ตลท.จะสั่งใช้มาตรการหยุดการซื้อขายชั่วคราว (Circuit Breaker) ในระดับที่ 1

หลังจากที่ตลาดหลักทรัพย์จึงหยุดทำการซื้อขายหลักทรัพย์ทั้งหมดเป็นการชั่วคราวเป็นเวลา 30 นาที ตั้งแต่เวลา 11.29 น. ถึง 11.59 น.

 โดยระบบการซื้อขายจะอนุญาตให้ผู้ลงทุนส่งคำสั่งใหม่หรือยกเลิกคำสั่งได้ (Pre-open) ตั้งแต่เวลา 11.49 น.

และจะเริ่มเปิดทำการจับคู่คำสั่งซื้อขายในเวลา 11.59 น. ซึ่งแนวโน้มดัชนียังปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง จนปิดตลาดในช่วงเช้า

     ต่อมาภายหลังจากเปิดตลาดหุ้นในช่วงบ่าย ดัชนีก็ดิ่งเหวเพิ่มเป็น 19.50 % เฉียดมาตรการห้ามซื้อขาย เซอร์กิต เบรกเกอร์ ระดับ 2

และเกือบลบไปถึง 150 จุด แต่หลังจากนั้นก็มีแรงซื้อเข้ามาไล่มาจนดัชนีปิดที่ระดับ 622.14 จุด สูงสุด 721.85 จุด

 ต่ำสุด 587.92 จุด ลบไป 108.41 จุด หรือลดลง 14.84 % โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 72131.55 ล้านบาท

ซึ่งถือว่าเป็นวันที่มีมูลค่าการซื้อขายมากที่สุดของตลาดหุ้นไทย ในลักษณะที่เป็นแบบเดย์เทรด

โดยที่ไม่ได้มีการซื้อขายแบบทำบิ๊กล็อตขายหุ้นแบบเฉพาะเจาะจง อย่างในกรณีการซื้อขายหุ้น SHIN ของเทมาเซก

 ที่ทำให้มูลค่าการซื้อขายสูงถึง 94062 ล้านบาท

     ถ้าถามว่าดัชนีจะปรับตัวลงต่อหรือไม่นั้น คงไม่มีใครสามารถฟันธงได้ จะรู้ก็แต่เพียงว่า

 ยอดเม็ดเงินสะสมของนักลงทุนต่างชาติที่ขนเงินเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยติดต่อกันนานถึง 3 ปีที่ผ่านมานั้น

มียอดเงินสะสมไม่ต่ำกว่า 2 แสนล้านบาท ซึ่งแรงเทขายออกมาวานนี้(19 ธ.ค.)เพียง 2.8 หมื่นล้านบาท

 นั่นแสดงให้เห็นว่านักลงทุนต่างชาติยังมีหุ้นที่จะรอทิ้งอีกไม่ต่ำกว่าแสนล้านบาท
 

จาก...kaohoon.com
บันทึกการเข้า

***ผู้ยิ่งใหญ่ในแผ่นดินเปรียบเสมือนเรือ ประชาชนเปรียบเสมือนน้ำ

      น้ำพยุงเรือให้แล่นไปได้ และน้ำก็จมเรือได้เช่นกัน***
ดอกฟ้ากับหมาวัด
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,042



« ตอบ #1 เมื่อ: 20-12-2006, 16:42 »

  Circuit Breaker เป็นคำสะแลง ที่หยิบยืมเอามาจากกระบวนการทำงานของเครื่องตัดกระแสไฟฟ้า ซึ่งจะตัดไฟทิ้งทันทีที่มีกระแสไฟเกิน

ระดับปกติ เพื่อป้องกันไฟไหม้บ้านหรืออาคารสถานที่ ในขณะที่ศัพท์ที่แท้จริงของคำนี้ มีอยู่หลายคำ ซึ่งล้วนแล้วแต่มีความหมายเดียวกัน คือ หมายถึงการ

หยุดพักการซื้อขายตลาดชั่วคราว เมื่อดัชนีราคาหุ้นร่วงลงเกินกว่าระดับ"ปรับฐาน"(หรือ market correction) โดยพิจารณาจากเหตุที่ทำให้หุ้นร่วงว่า เกิด

จากสาเหตุปกติหรือไม่เป็นแกนสำคัญ

     - Trading Curb คือ คำเรียกทางวิชาการที่แท้จริง หมายถึงจุดที่กำหนดเอาไว้ว่า เมื่อหุ้นร่วงมาถึงระดับ(คิดตามสัดส่วนร้อยละ)ของราคาปิดครั้งสุดท้าย

เมื่อใด ให้ถือว่า จุดนั้นคือจังหวะที่ต้องระงับการซื้อขายของตลาดชั่วคราว

     - Trading Collar หมายถึง มาตรการใดๆก็ตามที่ตลาดออกมา เพื่อป้องกันการกระหน่ำขายไม่ยั้งของนักลงทุนต่อหุ้นทั้งตลาด โดยไม่มีสาเหตุชัดเจนจาก

ปัจจัยภายในของหุ้นแต่ละบริษัทเอง รวมถึงการระงับซื้อขายทั้งตลาดด้วย

     ทั้งสองกรณีนี้ จะต้องเกิดขึ้นเมื่อการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นทั้งตลาด และดัชนีร่วงลงโดยไม่มีสาเหตุชัดเจนหรือผิดปกติของปัจจัยภายนอกเท่านั้น จะไม่

สามารถนำมาใช้กับกรณีที่นักลงทุนพากันกระหน่ำเทขายหุ้นบลูชิพบางตัวเพื่อขาดความเชื่อมั่นต่อตัวผุ้บริหาร ต่อบริษัทหรือต่องบการเงินของบริษัท จน

กระทั่งทำให้ดัชนีลดต่ำลงกว่าระดับที่กำหนดเอาไว้ ซึ่งกรณีหลังนี้ เรียกว่าเป็นกรณีที่เรียกว่า "การยอมจำนนของนักลงทุน" หรือ Capitulation

     คำนิยามของการยอมจำนนของนักลงทุน เกิดขึ้นเมื่อนักลงทุนต้องการทิ้งหุ้นบางตัวเมื่อเสื่อมศรัทธาในปัจจัยภายในของบริษัท เพื่อหาการลงทุนใหม่ๆที่

ปลอดภัยกว่า ถือเป็นการเคลื่อนย้ายเงินทุนตามปกติ แม้ว่าจะส่งผลต่อดัชนีให้ร่วงลงอย่างรุนแรงก็ตามที โดยปกติแล้วปรากฏการณ์เช่นนี้ จะกระทบต่อตลาด

เพียงระยะสั้นๆเท่านั้น เพราะเมื่อนักลงทุนหายตระหนกแล้ว ก็จะกลับมาซื้อหุ้นตัวอื่นๆ เพื่อดันดัชนีหุ้นกลับไปใกล้เคียงกับจุดเดิม

     นั่นก็หมายความว่า การที่ตลาดจะออกคำสั่งระงับการซื้อขายทั้งหมดชั่วคราวหรือ

     Circuit Breakerได้ จะต้องมีเงื่อนไขที่ชัดเจน ไม่ใช่ใช้ได้ในกรณีหุ้นร่งแรงทุกกรณี แบบชนิดที่เป็นปรากฏการณ์ทั่วไป ดังที่มีศัพท์เรียกในตลาดหุ้นวอลล์

สตรีทว่า เป็นปรากฏ การณ์ " วันสิ้นโลก" หรือ end-of-the-day syndrome ซึ่งเกิดจากการตระหนกแบบกระต่ายตื่นตูมของนักลงทุนเอง อันเป็นธรรมชาติ

ปกติของนักลงทุน


     ตลาดที่ริเริ่มนำมาตรการCircuit Breaker มาใช้เป็นครั้งแรกในโลก ได้แก้ตลาดหุ้นนิวยอร์ก อันเป็นมาตรการที่เกิดขึ้นหลังจากกรณี Balck Monday

1987 ซึ่งสร้างความเสียหายมหาศาล มาตรการที่นำออกมาใช้ และเป็นมาตรฐานของโลกมาจนถึงปัจจุบันประกอบด้วยมาตรการ 2 แนวทางคือ

     - Rule 80 A ใช้วิธีการคำนวณว่า ระดับของดัชนีที่จะเข้าเขตระงับการซื้อขายในแต่ละไตรมาส ควรอยู่ที่เท่าใด โดยมีคณะทำงานเป็นผู้กำหนด โดยระยะ

แรกใช้ดัชนีดาวโจนส์ เป็นฐานคำนวณ แต่ต่อมาเปลี่ยนเป็นการใช้ดัชนีรวมของตลาดที่เรียกว่า NYA index เป็นฐานคำนวณแทน กฎนี้ได้รับชื่อเสียงว่าช่วย

ป้องกันความผันผวนของตลาดได้ดี และไม่ได้กำหนดเงื่อนไขว่าสาเหตุอะไรบ้างที่ควรใช้ และไม่ควรได้

     เท่ากับเปิดกว้างให้ใช้ดุลยพินิจเต็มที่

     - Rule 80 B ใช้เฉพาะในกรณีตลาดผันผวนอย่างไม่มีพื้นฐานรองรับเท่านั้น ห้ามใช้กับเงื่อนไขภายในของตัวหุ้นเอง

โดยกำหนดไว้ที่ระดับการร่วงลงของดัชนีดาวโจนส์ 10 +10 +10 หรือ 20+10+10 เป็นสำคัญ โดยกำหนดเงื่อนไขและเวลาเอาไว้ชัดเจนว่า ในกรณีร่วงลง

มามากกว่า 10% และกรณีร่วงมากกว่า 20% ให้หยุดตลาดระงับการซื้อขายได้ โดยเงื่อนไขสำคัญคือ หากตลาดหุ้นร่วงใกล้กับเวลาปิดทำการตลาด จะไม่มี

การห้ามซื้อขายเด็ดขาด

     มีข้อสังเกตว่า กฎข้อ 80 B นี้ แม้จะเข้มงวดเอาไว้ แต่ก็มีการละเมิดอย่างน้อยหนึ่งครั้ง คือ ในวันที่ 27 ตุลาคม ค.ศ. 1997 เมื่อดัชนีดาวโจนส์ร่วงลงอย่าง

หนัก 550 จุดหลัง 15.30 น. อันเป็นเวลาใกล้ปิดตลาด ตลาดก็สั่งระงับการซื้อขายไปจนปิดตลาดวันนั้นเลย ซึ่งเป็นกรณีไม่ปกติ แสดงให้เห็นว่า ที่สุดแล้ว

 เงื่อนไขที่ตั้งเอาไว้ บางครั้งก็ถูกยกเว้นได้เช่นกัน

     เหตุผลที่ผู้บริหารของตลาดหุ้น นำมาใช้อ้างก็คือ เพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับตลาด และปกป้องนักลงทุนรายย่อย อันเป็นเหตุผลสารพัดนึกปกติธรรมดา




จาก...kaohoon.com
บันทึกการเข้า

***ผู้ยิ่งใหญ่ในแผ่นดินเปรียบเสมือนเรือ ประชาชนเปรียบเสมือนน้ำ

      น้ำพยุงเรือให้แล่นไปได้ และน้ำก็จมเรือได้เช่นกัน***
ดอกฟ้ากับหมาวัด
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,042



« ตอบ #2 เมื่อ: 20-12-2006, 17:29 »

ปรีดิยาธร"ปลื้มหุ้นเป็นบวก เงินไหลคืนแล้ว5แสนล้าน
 
ม.ร.ว.ปรีดิยาธรชี้ดัชนีตลาดทรัพย์ขณะนี้ ได้มาเก็ตแคปคืนแล้ว 5 แสนล้านบาท
 

ยืนยันไม่มีกลุ่มการเมืองเก่า เกี่ยวข้อง ประธานสมาคมธนาคารไทยเชื่อนักลงทุนจะพอใจและกลับเข้ามาลงทุน

สมาคมธนาคารไทยเตรียมเสนอ ธปท. ทบทวนการตั้งสำรองเงินกู้ต่างประเทศของเอกชนไทย ขณะนี้ตลาดช่วงบ่ายบวก 63.59 จุด

(20ธ.ค.) ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า

ขณะนี้ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในช่วงเช้าปรับตัวขึ้นมา 65 จุด ซึ่งมาเก็ตแคปของตลาดที่หายไป 8 แสนล้านบาท

ขณะนี้กลับคืนมา 5 แสนล้านบาทแล้ว

คงต้องรอดูดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในช่วงบ่ายอีกรอบ แต่ไม่ได้หวังให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้น 108 จุดเหมือนที่ตกลงไปเมื่อวานนี้

โดยดัชนีที่ปรับตัวขึ้นมา 65 จุด ถือว่าสบายใจได้ โดยขณะนี้ ไม่จำเป็นต้องมีมาตรการเพิ่มเติมอีก

เนื่องจากถึงจุดที่ ธปท.ต้องการแล้ว คือ ค่าเงินบาทไม่แข็งค่าขึ้นต่ออีก และตลาดหลักทรัพย์เริ่มกลับมาแล้ว

 
http://www.komchadluek.net/2006/12/20/a001_76028.php?news_id=76028
บันทึกการเข้า

***ผู้ยิ่งใหญ่ในแผ่นดินเปรียบเสมือนเรือ ประชาชนเปรียบเสมือนน้ำ

      น้ำพยุงเรือให้แล่นไปได้ และน้ำก็จมเรือได้เช่นกัน***
นู๋เจ๋ง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,877



« ตอบ #3 เมื่อ: 20-12-2006, 23:37 »

ครั้งแรก ออกมาตรการ สกัดกั้น 6 เดือน ยังเอาไม่อยู่
นี่แน่ะ เจอ 1 ปี
ต้องขอบคุณ คลังสมอง วปอ ที่ช่วยกันตีฆ้องร้องป่าว ..
ขอบคุณ หม่อมอุ๋ย ที่กล้าตัดสินใจ ทันเวลา
บันทึกการเข้า

~จะแน่วแน่...แก้ไข...ในสิ่งผิด~
ดอกฟ้ากับหมาวัด
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,042



« ตอบ #4 เมื่อ: 20-12-2006, 23:47 »

จริงๆแล้วทาง ธปท.และคลังคงจับตาดูมานานแล้ว

แต่ยังไม่สบโอกาส เพราะรู้ว่าบางกลุ่มพยายามเข้ามาเก็งกำไรค่าเงินบาท

รอให้ย่ามใจเสียก่อน เลยออกมาตรการดัดหลังซะเจียนตาย

ปัญหาเรื่องการส่งออกน่ะเป็นเรื่องรองลงมาค่ะ

และรับรองว่ายังมีอาฟเตอร์ช๊อค อีกหลายละลอกอย่างแน่นอน

เชื่อว่าคลังเองคงยังเฝ้าจับตามอง แบบไม่กระพริบตา หมากเกมนี้เดิมพันกันสูงจริงๆ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21-12-2006, 00:01 โดย ดอกฟ้ากับหมาวัด » บันทึกการเข้า

***ผู้ยิ่งใหญ่ในแผ่นดินเปรียบเสมือนเรือ ประชาชนเปรียบเสมือนน้ำ

      น้ำพยุงเรือให้แล่นไปได้ และน้ำก็จมเรือได้เช่นกัน***
หน้า: [1]
    กระโดดไป: