ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
25-04-2024, 20:50
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ตลาดหุ้นตกเนี่ยประเทศเสียหายยังไงครับ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: 1 [2]
ตลาดหุ้นตกเนี่ยประเทศเสียหายยังไงครับ  (อ่าน 4404 ครั้ง)
type
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 525


« ตอบ #50 เมื่อ: 22-12-2006, 19:21 »

คือ ตลาดหุ้นบูม และมันบูมเพราะว่า ประเทศไทยมีพื้นฐานแข็งแกร่ง คนอยากเข้ามาลงทุน แบบนี้มีแต่คนโมทนาสาธุ

แต่ถ้ามันบูมแบบไร้เหตุผล ตัวตลาดเองมันไม่ได้ส่งผลร้ายอะไรหรอก แต่มันเป็นผลพวงจากการเก็งกำไรที่มาทำร้ายกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่แท้จริง แบบนี้คือ จะต้องไปทำยังไงกับต้นเหตุ จะพลาดเป้าไป หรือแรงไป อันนี้เป็นอีกเรื่องนึง

เหมือนปี 36 ที่มันไปถึง 1700 ตอนนั้นก็บอก โอ้โห นี่เป็นตัวชี้วัดความน่าลงทุน ประเทศไทยแข็งแกร่งจะเป็น NICS (จำได้ปะ) เป็นเสือตัวใหม่ เป็น financial hub (ตอนนั้นก็ฮิตคำนี้อะ) in-out out-in  out-out เพ้อเจ้อตามฝรั่งไปเรื่อยตอนนั้นน่ะ แต่เบื้องหลังดุลการเงินเกินเอาๆๆๆ ไปทำให้ทุนสำรองพุ่งๆ คนไทยเลยนึกว่ากูรวยแล้ว แต่ต่างชาติมันรู้ไส้ในครับ ไอ้โบรกเกอร์มันก็รู้กันกับต่างชาติ เพราะว่าปริมาณการซื้อขายก็คือหม้อข้าวมันนี่ แต่ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลเละ เพราะเราขาดดุลการค้าเละเทะไง แล้วหลังจากนั้นเป็นไงเหรอ? ก็แตกสิครับ จากบทเรียนแบบนั้น มันสอนเราว่า ให้ความสำคัญกับภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงดีกว่าครับ และให้ตลาดหลักทรัพย์เป็น "ดัชนี" อย่างแท้จริง


ก็นี่หล่ะครับ มันเปรียบเทียบกันได้ครับเรื่องเศรษฐกิจระหว่างรัฐบาลที่แล้วกับรัฐบาลใหม่
รัฐบาลที่แล้วอยู่พวกเก็งกำไรไม่กล้ามาตอแย พอไม่อยู่ เป็นไงหล่ะ เข้ามาเลย หึหึ
  มันเป็นบทพิสูจน์เลยนะเนี่ย ว่า ต่างชาติมันมีกึ๋นรู้จักดู ว่าใครรู้เท่าทันมัน

อ่ะพอๆๆแล้วคุณผมไม่อยากสบประมาทรัฐบาลใหม่หน่ะ 
บันทึกการเข้า
type
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 525


« ตอบ #51 เมื่อ: 22-12-2006, 19:25 »

ถ้าเชื่อมั่นแบบว่า เงินดอลล่าร์อ่อน เงินบาทจะต้องแข็งขึ้น ตลาดหุ้นเปิดช่อง พันธบัตร อะไรเปิดช่องหมด งั้นมาเก็งกำไรดีกว่า แต่เศรษฐกิจที่แท้จริงประสบปัญหา กระทบไปถึงการจ้างงาน

คนที่หวังแค่สภาพคล่องจากต่างชาติไหลเข้าตลาดแล้วก็มาเล่นเกมกันในตลาด ก็คงดีใจ  แต่ผมไม่

โถ........ไม่อยากจะอธิบาสยยากนะ รัฐบาลเก่าเขาสนับสนุนการ ลงทุนด้านต่างๆ
พวกเก็งกำไรไม่กล้าที่จะมาเก็งกำไรด้วย แต่พอไม่อยู่
ผมไม่อย่างบอกนะว่ารัฐบาลปัจจุบันมันเป็นยังไง เขาถึงหันมาถล่มด้วยการ ทำแบบนี้   



ตอนนี้ก็เห็นตรงกันแล้วว่ามันมีพวกอีแร้งฟันเข้ามาถล่ม.........แล้ว แบ็งค์ชาติออกมาตรการมาสกัดกั้น ทำไมคุณ Type ถึงไม่ชอบ........

เรื่องรัฐบาลเผด็จการ แล้วไม่มีคนไปลงทุน........ผมก็ไม่รู้จะไปเถียงยังไง.....เห็นที่ประเทศจีน คนทั่วโลกเค้าก็ไปลงทุนกัน หรือแม้แต่อิหร่าน ที่เป็นเผด็จการยิ่งกว่าเรา ก็ยังมีผรั่งเศสเข้าไปลงทุน......ปากีสถาน ทุกวันนี้ยังรับเงินช่วยเหลือจากอเมริกา เจ้าของตำรับ ประชาธิปไตยจ๋า แม้แต่พม่า ยังมีคนไทยบางคนไปลงทุนอยู่เลย คงไม่ต้องบอกหรอกว่าใคร..เรื่องแบบนี้เถียงกันไปก็ไม่จบหรอกครับ ...เอาเป็นว่า ถ้ามีใครมาปั่นฟองสบู่ในบ้านเรา แล้ว แบ็งค์ชาติไม่ทำอะไร ค่อยมาด่าดีกว่า  ....ดูตัวอย่างปี 40 ก็แล้วกัน


ออกมาตรการป้องกัน แล้ว มันกันได้รึเปล่าหล่ะจ๊ะ 
คนที่จะกันได้รุ้เท่าทันต่างชาติก็ไปไล่เขาหนีซะนี่ 
อ่ะ เป็นไง บริหารประเทศมันไม่ใช่เรื่องง่าย
แต่ดันอยาก ได้ก็ลองเอาไปทำดูหล่ะกัน  ทำเป็นรึเปล่า จ๊ะ รอดูอยู่นะ
บันทึกการเข้า
(ก้อนหิน) ละเมอ
Moderator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,041



เว็บไซต์
« ตอบ #52 เมื่อ: 22-12-2006, 19:26 »

คือ ตลาดหุ้นบูม และมันบูมเพราะว่า ประเทศไทยมีพื้นฐานแข็งแกร่ง คนอยากเข้ามาลงทุน แบบนี้มีแต่คนโมทนาสาธุ

แต่ถ้ามันบูมแบบไร้เหตุผล ตัวตลาดเองมันไม่ได้ส่งผลร้ายอะไรหรอก แต่มันเป็นผลพวงจากการเก็งกำไรที่มาทำร้ายกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่แท้จริง แบบนี้คือ จะต้องไปทำยังไงกับต้นเหตุ จะพลาดเป้าไป หรือแรงไป อันนี้เป็นอีกเรื่องนึง

เหมือนปี 36 ที่มันไปถึง 1700 ตอนนั้นก็บอก โอ้โห นี่เป็นตัวชี้วัดความน่าลงทุน ประเทศไทยแข็งแกร่งจะเป็น NICS (จำได้ปะ) เป็นเสือตัวใหม่ เป็น financial hub (ตอนนั้นก็ฮิตคำนี้อะ) in-out out-in  out-out เพ้อเจ้อตามฝรั่งไปเรื่อยตอนนั้นน่ะ แต่เบื้องหลังดุลการเงินเกินเอาๆๆๆ ไปทำให้ทุนสำรองพุ่งๆ คนไทยเลยนึกว่ากูรวยแล้ว แต่ต่างชาติมันรู้ไส้ในครับ ไอ้โบรกเกอร์มันก็รู้กันกับต่างชาติ เพราะว่าปริมาณการซื้อขายก็คือหม้อข้าวมันนี่ แต่ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลเละ เพราะเราขาดดุลการค้าเละเทะไง แล้วหลังจากนั้นเป็นไงเหรอ? ก็แตกสิครับ จากบทเรียนแบบนั้น มันสอนเราว่า ให้ความสำคัญกับภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงดีกว่าครับ และให้ตลาดหลักทรัพย์เป็น "ดัชนี" อย่างแท้จริง


ก็นี่หล่ะครับ มันเปรียบเทียบกันได้ครับเรื่องเศรษฐกิจระหว่างรัฐบาลที่แล้วกับรัฐบาลใหม่
รัฐบาลที่แล้วอยู่พวกเก็งกำไรไม่กล้ามาตอแย พอไม่อยู่ เป็นไงหล่ะ เข้ามาเลย หึหึ
  มันเป็นบทพิสูจน์เลยนะเนี่ย ว่า ต่างชาติมันมีกึ๋นรู้จักดู ว่าใครรู้เท่าทันมัน

อ่ะพอๆๆแล้วคุณผมไม่อยากสบประมาทรัฐบาลใหม่หน่ะ 

เหตุผลอะไรที่บอกว่าไม่กล้าตอแย ถ้ามีข้อมูลก็ช่วยเอามาให้อ่านหน่อยก็ดี
ไม่ใช่เพราะบังเอิญมันเกิดคึกตอนที่ รบ. ใหม่มาดำรงตำแหน่งหรอกรึ
บันทึกการเข้า

type
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 525


« ตอบ #53 เมื่อ: 22-12-2006, 19:33 »

คือ ตลาดหุ้นบูม และมันบูมเพราะว่า ประเทศไทยมีพื้นฐานแข็งแกร่ง คนอยากเข้ามาลงทุน แบบนี้มีแต่คนโมทนาสาธุ

แต่ถ้ามันบูมแบบไร้เหตุผล ตัวตลาดเองมันไม่ได้ส่งผลร้ายอะไรหรอก แต่มันเป็นผลพวงจากการเก็งกำไรที่มาทำร้ายกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่แท้จริง แบบนี้คือ จะต้องไปทำยังไงกับต้นเหตุ จะพลาดเป้าไป หรือแรงไป อันนี้เป็นอีกเรื่องนึง

เหมือนปี 36 ที่มันไปถึง 1700 ตอนนั้นก็บอก โอ้โห นี่เป็นตัวชี้วัดความน่าลงทุน ประเทศไทยแข็งแกร่งจะเป็น NICS (จำได้ปะ) เป็นเสือตัวใหม่ เป็น financial hub (ตอนนั้นก็ฮิตคำนี้อะ) in-out out-in  out-out เพ้อเจ้อตามฝรั่งไปเรื่อยตอนนั้นน่ะ แต่เบื้องหลังดุลการเงินเกินเอาๆๆๆ ไปทำให้ทุนสำรองพุ่งๆ คนไทยเลยนึกว่ากูรวยแล้ว แต่ต่างชาติมันรู้ไส้ในครับ ไอ้โบรกเกอร์มันก็รู้กันกับต่างชาติ เพราะว่าปริมาณการซื้อขายก็คือหม้อข้าวมันนี่ แต่ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลเละ เพราะเราขาดดุลการค้าเละเทะไง แล้วหลังจากนั้นเป็นไงเหรอ? ก็แตกสิครับ จากบทเรียนแบบนั้น มันสอนเราว่า ให้ความสำคัญกับภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงดีกว่าครับ และให้ตลาดหลักทรัพย์เป็น "ดัชนี" อย่างแท้จริง


ก็นี่หล่ะครับ มันเปรียบเทียบกันได้ครับเรื่องเศรษฐกิจระหว่างรัฐบาลที่แล้วกับรัฐบาลใหม่
รัฐบาลที่แล้วอยู่พวกเก็งกำไรไม่กล้ามาตอแย พอไม่อยู่ เป็นไงหล่ะ เข้ามาเลย หึหึ
  มันเป็นบทพิสูจน์เลยนะเนี่ย ว่า ต่างชาติมันมีกึ๋นรู้จักดู ว่าใครรู้เท่าทันมัน

อ่ะพอๆๆแล้วคุณผมไม่อยากสบประมาทรัฐบาลใหม่หน่ะ 

เหตุผลอะไรที่บอกว่าไม่กล้าตอแย ถ้ามีข้อมูลก็ช่วยเอามาให้อ่านหน่อยก็ดี
ไม่ใช่เพราะบังเอิญมันเกิดคึกตอนที่ รบ. ใหม่มาดำรงตำแหน่งหรอกรึ
เหตุผลเหรอ ก็มันไม่เข้ามาตอนรัฐบาลเก่าอยู่ไงครับ พอไม่อยู่ปุ๊ปมันเข้ามาปั๊ปเลยอ่ะครับ

ตอบแค่นี้เป็นเหตุผลได้รึเปล่า  ยังไงรัฐบาลใหม่ก็สู้ๆนะครับ
บันทึกการเข้า
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #54 เมื่อ: 22-12-2006, 19:35 »

เกรียนมาเชียว 
เหลี่ยมเก่งไม่มีใครกล้าทุบ
บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
type
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 525


« ตอบ #55 เมื่อ: 22-12-2006, 19:38 »

ก็เห็นๆอ่ะครับ ตอนเขาอยู่ ไม่เห็นมาทุบพอไม่อยู่ปุ๊ปก็เหมือนกับแร้งลงประเทศยังไงยังงั้น 
บันทึกการเข้า
(ก้อนหิน) ละเมอ
Moderator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,041



เว็บไซต์
« ตอบ #56 เมื่อ: 22-12-2006, 19:45 »

ก็เห็นๆอ่ะครับ ตอนเขาอยู่ ไม่เห็นมาทุบพอไม่อยู่ปุ๊ปก็เหมือนกับแร้งลงประเทศยังไงยังงั้น 
มีเหตุผลอะไรที่หนักแน่นกว่านี้ไหมครับ
บันทึกการเข้า

type
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 525


« ตอบ #57 เมื่อ: 22-12-2006, 19:49 »

ก็เห็นๆอ่ะครับ ตอนเขาอยู่ ไม่เห็นมาทุบพอไม่อยู่ปุ๊ปก็เหมือนกับแร้งลงประเทศยังไงยังงั้น 
มีเหตุผลอะไรที่หนักแน่นกว่านี้ไหมครับ
มีครับ ........ อยากรู้ไหมหล่ะ 


























  อ่ะลองทายมาก่อนสิ ทำไม??
บันทึกการเข้า
(ก้อนหิน) ละเมอ
Moderator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,041



เว็บไซต์
« ตอบ #58 เมื่อ: 22-12-2006, 19:52 »

ก็เห็นๆอ่ะครับ ตอนเขาอยู่ ไม่เห็นมาทุบพอไม่อยู่ปุ๊ปก็เหมือนกับแร้งลงประเทศยังไงยังงั้น 
มีเหตุผลอะไรที่หนักแน่นกว่านี้ไหมครับ
มีครับ ........ อยากรู้ไหมหล่ะ 


























  อ่ะลองทายมาก่อนสิ ทำไม??

ไม่ดีกว่า ทายไม่เป็น
บันทึกการเข้า

type
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 525


« ตอบ #59 เมื่อ: 22-12-2006, 19:55 »

ก็เห็นๆอ่ะครับ ตอนเขาอยู่ ไม่เห็นมาทุบพอไม่อยู่ปุ๊ปก็เหมือนกับแร้งลงประเทศยังไงยังงั้น 
มีเหตุผลอะไรที่หนักแน่นกว่านี้ไหมครับ
มีครับ ........ อยากรู้ไหมหล่ะ 


























  อ่ะลองทายมาก่อนสิ ทำไม??

ไม่ดีกว่า ทายไม่เป็น

งั้นขอถามกลับ ทำไม ต่างชาติมันถึงมาเล่นกับไทย จ๊ะๆๆๆๆๆ ไม่ทายนะ อย่าให้ทายอ่ะ 
บันทึกการเข้า
(ก้อนหิน) ละเมอ
Moderator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,041



เว็บไซต์
« ตอบ #60 เมื่อ: 22-12-2006, 20:20 »

ก็เห็นๆอ่ะครับ ตอนเขาอยู่ ไม่เห็นมาทุบพอไม่อยู่ปุ๊ปก็เหมือนกับแร้งลงประเทศยังไงยังงั้น 
มีเหตุผลอะไรที่หนักแน่นกว่านี้ไหมครับ
มีครับ ........ อยากรู้ไหมหล่ะ 


























  อ่ะลองทายมาก่อนสิ ทำไม??

ไม่ดีกว่า ทายไม่เป็น

งั้นขอถามกลับ ทำไม ต่างชาติมันถึงมาเล่นกับไทย จ๊ะๆๆๆๆๆ ไม่ทายนะ อย่าให้ทายอ่ะ 

ก็เห็นเล่นกันทุกประเทศในเขตเอเชียเลยไม่ใช่เหรอครับ
ไอ้พวกค่าเงินแข็งตัวน่ะ.. มันกระทบไปทั้งเอเชียเลย
บันทึกการเข้า

type
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 525


« ตอบ #61 เมื่อ: 22-12-2006, 20:33 »

ก็เห็นๆอ่ะครับ ตอนเขาอยู่ ไม่เห็นมาทุบพอไม่อยู่ปุ๊ปก็เหมือนกับแร้งลงประเทศยังไงยังงั้น 
มีเหตุผลอะไรที่หนักแน่นกว่านี้ไหมครับ
มีครับ ........ อยากรู้ไหมหล่ะ 


























  อ่ะลองทายมาก่อนสิ ทำไม??

ไม่ดีกว่า ทายไม่เป็น

งั้นขอถามกลับ ทำไม ต่างชาติมันถึงมาเล่นกับไทย จ๊ะๆๆๆๆๆ ไม่ทายนะ อย่าให้ทายอ่ะ 

ก็เห็นเล่นกันทุกประเทศในเขตเอเชียเลยไม่ใช่เหรอครับ
ไอ้พวกค่าเงินแข็งตัวน่ะ.. มันกระทบไปทั้งเอเชียเลย

ของพี่เบิ้มเขาอ่อน อ่ะจ๊ะ
บันทึกการเข้า
(ก้อนหิน) ละเมอ
Moderator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,041



เว็บไซต์
« ตอบ #62 เมื่อ: 22-12-2006, 21:50 »

ก็นั่นสิครับ ผมไม่ค่อยรู้เรื่องเศรษฐกิจ หรือหุ้นๆ เท่าไร และก็ไม่เคยเล่น ก็เลยไม่รู้เรื่อง
รู้แต่ว่า กลไกการประกาศลอยตัวค่าเงินในปี 40 ทำไมบริษัทหลายๆ แห่งถึงเจ๊ง แต่บางคนที่อมดอลลาร์ไว้ทำไมพุงกางกันทุกคน

เมื่อมองมาที่ปี 49 จะเห็นว่าเงินดอลล์มันอ่อนค่าลง เพราะนักลงทุนอมไว้ ไม่ยอมซื้อดอลลาร์ มีแต่ขายออก
สินค้าอะไรที่มีคนค้ามากๆ คนซื้อน้อย ราคามันก็จะลดลงเอง
จนอเมริกาต้องปั๊มเงินเพิ่มในระบบ --> ค่าเงินเลยลดลง
ทำให้สกุลเงินในประเทศต่างๆ ที่อยู่ในตะกร้าเงินของ US ก็แข็งค่าขึ้น มากน้อยตามแต่มาตรการปกป้องค่าเงินบาทของประเทศนั้นๆ

ผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็งค่า
มันส่งผลดีต่อการนำเข้า เพราะจะนำเข้าสินค้าถูกลง
แต่ผู้ส่งออก จะขายของได้ยากขึ้น เพราะราคาสินค้าที่ส่งออกจะแพงขึ้น

ธปท. ควรที่จะปกป้องค่าเงินไม่ให้ผันผวนมากเกินไป แต่ต้องคำนึงว่าค่าใช้จ่ายในการปกป้องค่าเงินมันคุ้มค่าหรือไม่สำหรับการปกป้องนั้น
สำหรับแสนกว่าล้านที่จ่ายไปเพื่อปกป้องค่าเงิน ถามผมว่ามันคุ้มค่าไหม สำหรับประเทศไทยที่มีรายได้หลัก คือ การส่งออก และธุรกิจท่องเที่ยว

ขอตอบว่า "ผมไม่ทราบ" เพราะผมไม่ทราบว่าถ้าค่าเงินบาทแข็งตัวขึ้น 1 จุด จะทำให้ชาติเสียหายไปกี่ล้าน
ผมไม่มีตัวเลขตรงนี้ และผมก็ไม่มีวิธีคำนวณเพื่อให้ได้ตัวเลขนั้นมาครับ
บันทึกการเข้า

type
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 525


« ตอบ #63 เมื่อ: 22-12-2006, 22:19 »

ก็นั่นสิครับ ผมไม่ค่อยรู้เรื่องเศรษฐกิจ หรือหุ้นๆ เท่าไร และก็ไม่เคยเล่น ก็เลยไม่รู้เรื่อง
รู้แต่ว่า กลไกการประกาศลอยตัวค่าเงินในปี 40 ทำไมบริษัทหลายๆ แห่งถึงเจ๊ง แต่บางคนที่อมดอลลาร์ไว้ทำไมพุงกางกันทุกคน

เมื่อมองมาที่ปี 49 จะเห็นว่าเงินดอลล์มันอ่อนค่าลง เพราะนักลงทุนอมไว้ ไม่ยอมซื้อดอลลาร์ มีแต่ขายออก
สินค้าอะไรที่มีคนค้ามากๆ คนซื้อน้อย ราคามันก็จะลดลงเอง
จนอเมริกาต้องปั๊มเงินเพิ่มในระบบ --> ค่าเงินเลยลดลง
ทำให้สกุลเงินในประเทศต่างๆ ที่อยู่ในตะกร้าเงินของ US ก็แข็งค่าขึ้น มากน้อยตามแต่มาตรการปกป้องค่าเงินบาทของประเทศนั้นๆ

ผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็งค่า
มันส่งผลดีต่อการนำเข้า เพราะจะนำเข้าสินค้าถูกลง
แต่ผู้ส่งออก จะขายของได้ยากขึ้น เพราะราคาสินค้าที่ส่งออกจะแพงขึ้น

ธปท. ควรที่จะปกป้องค่าเงินไม่ให้ผันผวนมากเกินไป แต่ต้องคำนึงว่าค่าใช้จ่ายในการปกป้องค่าเงินมันคุ้มค่าหรือไม่สำหรับการปกป้องนั้น
สำหรับแสนกว่าล้านที่จ่ายไปเพื่อปกป้องค่าเงิน ถามผมว่ามันคุ้มค่าไหม สำหรับประเทศไทยที่มีรายได้หลัก คือ การส่งออก และธุรกิจท่องเที่ยว

ขอตอบว่า "ผมไม่ทราบ" เพราะผมไม่ทราบว่าถ้าค่าเงินบาทแข็งตัวขึ้น 1 จุด จะทำให้ชาติเสียหายไปกี่ล้าน
ผมไม่มีตัวเลขตรงนี้ และผมก็ไม่มีวิธีคำนวณเพื่อให้ได้ตัวเลขนั้นมาครับ

ผมจะบอกอะไรให้ก็ได้  ผมก็ไม่รู้เรื่องเศรษฐกิจตลาดหุ้นอะไรหรอกผมจบ ป.4 เอง
จะมาหลอกอะไรผมก็หลอกนะ   
ผมก็โต้ตอบไปตามที่ผมเข้าใจนั่นหล่ะ ไม่ถูกตรงไหนก็แย้งมาเถอะ จ้า อิอิ


บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #64 เมื่อ: 23-12-2006, 02:30 »

มีบทความหามาให้อ่านซัก 2 บทความครับ
...................................................
การเคลื่อนย้าย "เงินทุน" กับ "ค่าเงินบาท" : วีรพงษ์ รามางกูล

คอลัมน์ คนเดินตรอก  ประชาชาติธุรกิจ 11/12/2549

โดย วีรพงษ์ รามางกูล



ใกล้จะสิ้นปี 2549 แล้ว ตอนนี้ไม่ว่าจะไปที่ไหน ....
หัวข้อที่ถามไถ่กันอยู่ตลอดเวลาก็คงไม่พ้นเรื่องเศรษฐกิจว่าเป็นอย่างไรบ้าง
เพราะปีนี้เป็นปีที่ประเทศของเราประสบกับปัญหาหลายๆ อย่างพร้อมๆ กัน


เริ่มตั้งแต่ปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองซึ่งเป็นเรื่องใหญ่
เรื่องความไม่สงบเรียบร้อยในบริเวณจังหวัดชายแดนภาคใต้
พอปลายปีก็มีเรื่องปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ภาคกลาง
ซึ่งเป็นปัญหาของฝนฟ้าอากาศที่ไม่มีใครจะพยากรณ์ได้.........

แต่ในขณะเดียวกัน ราคาน้ำมันซึ่งเราเคยห่วงกันมาก
ว่าราคาจะพุ่งสูงขึ้นจนจะทะลุ 100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ก็ไม่เป็นความจริง
พอราคาจะชน 80 เหรียญต่อบาร์เรล หรือประมาณ 78 เหรียญต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันก็ลดลงอย่างรวดเร็วอย่างต่อเนื่อง จนมาอยู่ที่ประมาณ 55-60 เหรียญต่อบาร์เรล
และดูท่าจะอยู่ที่ระดับนี้ต่อไปอย่างน้อยก็อีกสักระยะหนึ่ง

เมื่อราคาน้ำมันลดลง ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ ต่างก็พากันทยอยลดลงไปด้วย
เช่น ราคายางพาราที่เคยพุ่งสูงขึ้นจนถึงระดับกว่า 100 บาทต่อ ก.ก.
ก็ลดลงมาต่ำกว่า ก.ก.ละ 50 บาท
ราคาน้ำตาล ราคามันสำปะหลัง ราคาข้าว ก็พลอยลดลงตามราคาน้ำมัน
รวมทั้งราคาแร่ธาตุต่างๆ เช่น เหล็ก ทองแดง สังกะสี และอื่นๆ
ก็พลอยลดราคาลงไปด้วย ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในช่วงหลังของปี

เมื่อราคาน้ำมันอ่อนลง การคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อก็เปลี่ยนไป
จากที่เคยคาดการณ์กันว่าราคาน้ำมันที่จะสูงขึ้นอีก
จะทำให้มีความกดดันในเรื่องเงินเฟ้อสูงขึ้น
การคาดการณ์ก็เปลี่ยนไปว่าอัตราเงินเฟ้อในระยะต่อไปคงจะลดลงตามการลดลงของราคาน้ำมัน



เมื่อการคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อน่าจะมีอัตราลดลง
การคาดการณ์ในเรื่องอัตราดอกเบี้ย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งอัตราดอกเบี้ยในสหรัฐอเมริกาก็น่าจะลดลง
ภาวะเศรษฐกิจของอเมริกาเองก็อ่อนตัวลงแล้วตั้งแต่ต้นปีนี้

การคาดการณ์ในเรื่องอัตราดอกเบี้ย จึงเริ่มกลับกันกับเมื่อก่อน
กล่าวคือ เมื่อก่อนพอจะมีการประชุมคณะกรรมการของธนาคารกลางของสหรัฐ
ตลาดก็มักจะคาดการณ์ว่ากรรมการของธนาคารกลางจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้หรือจะขึ้นดอกเบี้ย
แล้วต่อมาการคาดการณ์ก็เป็นไปในลักษณะที่ธนาคารกลางสหรัฐจะขึ้นดอกเบี้ยแน่
เพียงแต่จะขึ้นเท่าไร จะขึ้น 0.25 หรือ 0.50 เปอร์เซ็นต์ ติดต่อกันมาหลายปี

แต่ปีนี้การคาดการณ์ก็กลับกัน
กล่าวคือพอจะมีการประชุมกรรมการของธนาคารกลางสหรัฐ
ก็คาดการณ์ว่าธนาคารกลางของสหรัฐจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่เดิมหรือจะลดอัตราดอกเบี้ย
เพราะการขึ้นลงของอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐมีความสำคัญต่อตลาดการเงินของโลกเป็นอันมาก


แต่ปีนี้ความผันผวนที่สำคัญที่เพิ่มเข้ามาอีกคือ
เมื่อการคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยในสหรัฐถึงจุดสูงสุดและมีแต่จะลดลง
เพราะอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของอเมริกาตัวเลขออกมาต่ำกว่าที่คาดการณ์

อ่านจากหนังสือพิมพ์เห็นว่าเศรษฐกิจของอเมริกาปีนี้จะขยายตัวเพียงร้อยละ 2.4 เท่านั้น
จากที่เคยประเมินไว้เมื่อตอนกลางปีว่าเศรษฐกิจของอเมริกาจะขยายตัวประมาณร้อยละ 3.2

ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและความมั่นใจของนักลงทุนลดลงอย่างรวดเร็ว
ด้วยตัวเลขการค้าปลีกและราคาอสังหาริมทรัพย์ลดลงอย่างรวดเร็ว
ซึ่งเป็นอาการเริ่มต้นของเศรษฐกิจขาลง......

นอกจากนั้นข่าวคราวเรื่องสงครามในอิรัก และอัฟกานิสถานก็ย่ำแย่
สถานการณ์ในสองประเทศไม่ดีขึ้น และทำท่าจะปกครองไม่ได้
มีสงครามกลางเมืองเกิดขึ้นไม่หยุดหย่อน
ไม่แน่ว่าสหรัฐจะเอาไม่อยู่ .........

เมื่อมีการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาและผู้ว่าการมลรัฐ
พรรครีพับลิกันของท่านประธานาธิบดีบุชก็เสียที่นั่งในรัฐสภาไปมาก
จนถือได้ว่าพรรครีพับลิกันแพ้การเลือกตั้ง
จนทำให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมต้องประกาศลาออก
เท่ากับยอมรับว่านโยบายการเข้าไปทำสงครามในอิรักไม่ประสบความสำเร็จ

ลือกันถึงขั้นว่าสหรัฐอาจจะต้องถอนทหารของตนออกจากอิรักและอัฟกานิสถาน
ก็ยิ่งทำให้คาดการณ์ต่อไปอีกว่าเศรษฐกิจของอเมริกาจะยิ่งถดถอยลงไปอีก


เมื่อเป็นอย่างนี้เงินทุนจึงไหลออกจากอเมริกาไปยังภูมิภาคอื่น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งยุโรป และเอเชีย
ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ก็พยายามเปลี่ยนทุนสำรองระหว่างประเทศของตนไปถือทองคำ และเงินยูโรแทน
ทำให้ราคาทองคำสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์มาตั้งแต่ต้นปี
เงินยูโรก็แข็งค่าขึ้นเรื่อยๆ จนเกือบจะถึงหนึ่งยูโรต่อ 1.40 ดอลลาร์
และทำท่าจะสูงขึ้นไปอีก เพราะเงินดอลลาร์ยังไหลออกจากอเมริกาไปสู่ยุโรปไม่หยุด

นอกจากดอลลาร์ยังไม่หยุดไหลจากอเมริกาไปสู่ยุโรป แล้วยังไหลมาสู่เอเชียด้วย
แต่หลายประเทศในเอเชียก็ไม่ยอมปล่อยให้ค่าเงินของตนลอยตัวอย่างเสรี
ไม่ว่าจะเป็นจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย ไต้หวัน

ฮ่องกงนั้นยังใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่
คือ ตรึงค่าเงินของตนไว้กับเงินดอลลาร์อย่างเหนียวแน่น
เมื่อดอลลาร์อ่อนค่าลง ค่าเงินดอลลาร์ฮ่องกงก็อ่อนค่าลงตามดอลลาร์
เมื่อเทียบกับค่าเงินของประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค

ส่วนจีน มาเลเซีย ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ตรึงค่าเงินไว้กับตะกร้าเงิน
แต่ในตะกร้าเงินคงจะมีเงินดอลลาร์อยู่มากสักหน่อย
ค่าเงินหยวน และเงินริงกิตเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์
จึงไม่ค่อยจะเปลี่ยนแปลงมากมายนัก

สำหรับเกาหลีใต้ และสิงคโปร์ รวมทั้งไต้หวัน
แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงก็ไม่หวือหวามากนัก

เที่ยวนี้เงินเยนทางการของญี่ปุ่นก็สามารถรักษาเสถียรภาพของค่าเงินไว้ค่อนข้างดี
ค่าของเงินเยนไม่สูงขึ้นมากนัก
เพราะอัตราดอกเบี้ยของเงินเยนต่ำมากจนตลาดไม่อยากจะถือเงินเยน
เมื่อใครได้เงินเยนก็ถือเงินตราสกุลอื่นไว้แทนมานานแล้ว
เพราะได้ผลตอบแทนดีกว่า
การอ่อนค่าของเงินดอลลาร์เดี๋ยวนี้จึงไม่กระเทือนค่าของเงินเยนมากนัก...........

เมื่อเงินดอลลาร์ไหลออกจากสหรัฐอเมริกามาสู่ภูมิภาคเอเชีย
จึงทำให้ค่าเงินของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียพลอยแข็งขึ้นไปด้วย
ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ต้นปี และมารุนแรงขึ้นอย่างมากในช่วงครึ่งหลังของปีนี้

ส่วนค่าเงินของประเทศใดเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ
จะแข็งมากแข็งน้อยอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับนโยบายการเงิน
และนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนของแต่ละประเทศจะเป็นอย่างไร

ถ้าประเทศใดฐานะทางการเงินค่อนข้างไม่ค่อยเข้มแข็ง
เช่น ฟิลิปปินส์ หรืออินโดนีเซีย
แม้ว่าทางการจะปล่อยค่อนข้างเสรี แต่ค่าเงินก็ไม่ค่อยจะแข็งขึ้นเร็วนัก
คงสามารถเกาะกลุ่มกับประเทศที่ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่
หรือประเทศที่ตรึงค่าเงินของตนไว้กับตะกร้าของเงิน


ด้วยเหตุผลดังกล่าว
การไหลเข้าออกของเงินทุนเพื่อการเก็งกำไร
จึงเป็นสิ่งที่น่าจะต้องระมัดระวัง
เพราะเงินประเภทนี้เป็นเงินที่สามารถทำให้เกิดความเสียหายได้อย่างมาก

มีข้อน่าสังเกตอย่างหนึ่งของการเก็งกำไร
หรือการ "ทำราคา" เพื่อเก็งกำไรก็คือ
มักจะมีการปล่อยข่าวออกมาล่วงหน้าก่อนว่าราคาหรือ "ค่าเงิน" จะไปถึงที่นั่นที่นี่
เช่น เมื่อต้นปีก็มีการปล่อยข่าวว่าน้ำมันดิบราคาจะถึง 100 เหรียญต่อบาร์เรล
แต่พอถึง 80 เหรียญต่อบาร์เรล
นักเก็งกำไรก็ปล่อยของ  ราคาก็ลดลงอย่างรวดเร็ว ...

ผู้ที่เชื่อข่าวลือเช่นว่า ก็เกิดความเสียหายอย่างมหาศาล
ส่วนกลุ่มนักปั่นราคาก็ได้กำไรอย่างงาม........

ในกรณีของบ้านเราถ้าจะสังเกตให้ดี
ค่าเงินบาทแข็งขึ้นมากกว่าเงินสกุลอื่นๆ ในภูมิภาค

ถ้านับตั้งแต่ต้นปีมา กล่าวคือเงินบาทแข็งค่าขึ้นกว่า 15 เปอร์เซ็นต์
เมื่อเทียบกับเงินอื่นๆ ที่ไม่ได้ตรึงค่าเงินไว้กับดอลลาร์สหรัฐ
หรือตรึงไว้กับตะกร้าเงิน อย่างเช่น เงินหยวนของจีน
หรือเงินริงกิตของมาเลเซีย

เงินสิงคโปร์ดอลลาร์นั้น  แม้ว่าจะไม่ได้ประกาศตรึงไว้กับอะไร
แต่ทางการของสิงคโปร์ก็ควบคุมการเคลื่อนย้ายเงินดอลลาร์สิงคโปร์อย่างแข็งแรง
ไม่ให้มีเงินดอลลาร์สิงคโปร์อยู่ในตลาดต่างประเทศเลย
การเคลื่อนย้ายเงินดอลลาร์เข้าออกเพื่อเก็งกำไรจากการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนจึงทำได้ยาก.........



ที่น่าห่วงในระยะใกล้ๆ นี้ก็คือ
มีการปล่อยข่าวลือกันในท้องตลาดมากว่าเงินบาทจะแข็งไปถึง 35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
การที่มีข่าวลือเช่นนี้ก็แสดงว่าเงินของเรากลายเป็นเงินที่นักเก็งกำไรใช้เป็นเครื่องมือในการเก็งกำไร
ได้สะดวกกว่าเงินตราสกุลอื่นๆ ในภูมิภาค

เพราะอัตราการขึ้นลงของอัตราแลกเปลี่ยนของเรา
มีอัตราขึ้นลงสูงกว่าอัตราการขึ้นลงของเงินตราสกุลอื่นในภูมิภาค

หากเป็นเช่นนี้ในระยะต่อไปข้างหน้า
เมื่อค่าเงินบาทของเราแข็งเข้าใกล้เป้าหมาย
ที่นักเก็งกำไรตั้งเป้าหมายเอาไว้คือที่ 35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

นักเก็งกำไรจะเทขายเงินบาทไปซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐ
ถึงตอนนั้นค่าเงินบาทก็จะอ่อนตัวลงอย่างรวดเร็ว
ก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้นำเข้า
กลับกันกับเมื่อตอนเงินบาทอยู่ในช่วงขาขึ้น


ซึ่งก็ต้องดูกันต่อไป ......
เพราะพฤติกรรมของนักเก็งกำไรไม่มีใครสามารถพยากรณ์ได้ถูกต้อง 100 เปอร์เซ็นต์
ได้แต่ดูพฤติกรรมในอดีตเท่านั้นเอง........

เมื่อถึงตอนนั้นหากทางการจะเข้าไปแทรกแซงตลาด
ก็จะต้องนำทุนสำรอง หรือสิทธิการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าเอาออกมาใช้
ซึ่งก็มีข่าวรั่วไหลออกมาก็ไม่น่าจะเป็นผลดี

เสถียรภาพหรือความมั่นคงของอัตราแลกเปลี่ยน
กล่าวคือ การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนที่ไม่มากเกินไปในระยะเวลาอันสั้น
เป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการผลิต การส่งออก การค้าขาย
และการขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นอันมาก


ในทางตรงกันข้าม.....
ความแน่นอนมั่นคงของอัตราแลกเปลี่ยน
มีความสำคัญต่อการผลิต การส่งออก การนำเข้า และการค้าขายของภาคเอกชนเป็นอันมาก

ยิ่งค่าเงินบาทแข็งเร็วกว่าเงินสกุลอื่นมากเท่าไร
โอกาสที่ค่าเงินบาทจะอ่อนลงเร็วกว่าเงินตราสกุลอื่นๆ ในภูมิภาค
ก็ยิ่งจะมีมากขึ้นเท่านั้น.............

การประกันความเสี่ยงของผู้ส่งออกหรือผู้นำเข้า
เป็นเครื่องมือเพียงส่วนเดียวและเป็นส่วนน้อย
และเป็นต้นทุนที่สำคัญที่ผู้ส่งออกและผู้นำเข้า
ต้องนำเข้าไปบวกกับต้นทุนที่สำคัญของการผลิต

และที่สำคัญตลาดซื้อขายล่วงหน้าก็ขึ้นลงพร้อมๆ
กับอัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน และอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันด้วย...

     การสั่งซื้อวัตถุดิบก็ดี การผลิตก็ดี
     การรับคำสั่งซื้อขายก็ดี การส่งมอบก็ดี ล้วนมีเวลาเข้ามาเกี่ยวข้อง
     ต้องมีการคาดการณ์ทุกอย่างทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย

     เมื่อเงินแข็งขึ้น...
     ผู้ซื้อในต่างประเทศก็คาดการณ์ว่าของจะต้องมีราคาถูกลง
     เพราะผู้ผลิตบางคนที่ยังไม่ได้สั่งวัตถุดิบ
     จะสามารถจัดหาวัตถุดิบได้ในราคาที่เปลี่ยนไป
     สภาพการแข่งขันทั้งในประเทศในการรับคำสั่งซื้อ
     และการแข่งขันซื้อจากผู้ซื้อในต่างประเทศก็จะเปลี่ยนไปด้วย

     การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนภายในเวลาอันสั้น
     เช่น 10-15 เปอร์เซ็นต์ ภายในเวลาอันสั้น
     จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงที่จะกระทบต่ออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
     กระทบต่อผลประกอบการของบริษัท
     กระทบต่อตลาดทุน ตลาดเงิน ...เกือบทุกอย่าง



     การแข็งค่าของเงินบาทเที่ยวนี้ก็มีเรื่องดีใจอยู่ 2 เรื่อง

     1.เอกชนกล้าออกมาร้องบอกทางการว่ามีผลกระทบ
     ทั้งหอการค้าฯ ทั้งสภาอุตสาหกรรมฯ
     แทนที่จะบ่นกันในที่เงียบๆ เหมือนเมื่อก่อน

     2.ทางการออกมายอมรับว่ามีผลกระทบต่อธุรกิจและเศรษฐกิจ..ต้องหาทางแก้ไข
     แม้ว่าจะยังไม่รู้ว่าจะใช้มาตรการใดก็ยังดี
     เพียงแต่กว่าจะยอมรับว่ามีการไหลของเงินทุนเข้ามาปั่นตลาดช้าไปหน่อย
     จนอาจจะถึงอัตราแลกเปลี่ยนที่เป็นเป้าหมายของนักเก็งกำไรแล้วเท่านั้น


     เฝ้ามองดู ฟังข่าวลือในท้องตลาดแล้วก็ไม่สบายใจ ....
บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #65 เมื่อ: 23-12-2006, 02:32 »

วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 30 ฉบับที่ 3855 (3055)

มาตรการสกัดบาทแข็ง ยาแรงหรือตื่นเกินเหตุ ?


19 ธันวาคม 2549 เป็น วันแห่งประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นไทยในรอบ 30 ปี

ตลาดหุ้นไทยระเนนระนาด ดัชนีตลาดหุ้นร่วงไปถึง 150 จุด ในช่วงเช้าปิดตลาดหุ้นร่วงไป 108.41 จุด ทำให้มูลค่าราคาตลาดหลักทรัพย์ฯรวมหรือความมั่งคั่งของประเทศหายไปทันทีประมาณ 820,000 ล้านบาท

เจ้าหน้าที่โบรกเกอร์ที่เคยผ่านร้อนผ่านหนาวกับตลาดหุ้นตั้งแต่สมัยแบล็กมันเดย์

มินิแบล็กมันเดย์ สงครามอ่าวเปอร์เซีย การลดค่าเงินบาทปี 2540 และสงครามอิรัก บอกว่าไม่เคยเห็นตลาดหุ้นร่วงหนักขนาดนี้ และครั้งนี้นับเป็นประวัติศาสตร์ของตลาดหุ้นไทยในรอบ 30 ปี ที่ตลาดหุ้นถูกทุบโดย "นโยบาย" ทางการ ไม่ใช่ปัจจัยภายนอกอื่นๆ

ทั้งนี้เป็นผลจากมาตรการเข้มของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ต้องออกมาปกป้องค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่าเกินไป โดยประกาศมาตรการเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2549 ว่า นักลงทุนต่างประเทศที่นำเงินเข้ามาลงทุนจะต้องถูกหักเพื่อกันสำรองเป็นเงินตราต่างประเทศ 30% โดยไม่ได้รับผลตอบแทนใดๆ ทั้งสิ้น และเงินดังกล่าวทาง ธปท.จะนำไปบริหารจัดการในการลงทุนต่อไป หากนักลงทุนถือนานเกิน 1 ปี สามารถที่จะมาขอเงินในส่วน 30% คืนได้ แต่ถ้าถือไม่ถึง 1 ปี จะได้รับเงิน 2 ใน 3 ของ 30% เท่านั้น

โดยยกเว้นสำหรับนักลงทุนที่ทำธุรกรรมจริงๆ อาทิ ผู้นำเข้า ส่งออก นักลงทุนโดยตรง

ซึ่งมาตรการนี้ทางแบงก์ชาติมองว่าจะทำให้นักลงทุนประเภทเก็งกำไรมีต้นทุนสูงขึ้นประมาณกว่า 1% และเชื่อว่ามาตรการนี้น่าจะสกัดเงินร้อนที่เข้ามาได้อย่างชะงักงัน จากค่าเงินบาทที่เกือบจะทะลุ 35 บาท/ดอลลาร์อยู่รอมร่อ ก็ดีดกลับมาแตะๆ ที่ 36 บาท/ดอลลาร์ได้ทันที

ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2549 แบงก์ชาติได้ออกมาตรการสกัดค่าเงินบาทมาระลอกหนึ่งแล้ว ทั้งนี้เป็นผลจากแรงกดดันจากภาคเอกชนและจากภาครัฐบาล คือ

1.ขอความร่วมมือไม่ให้สถาบันการเงินซื้อขายตราสารหนี้ทุกประเภทกับบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ (non-resident : NR) ในลักษณะมีข้อตกลงว่าจะขายคืนในระยะสั้น (sell and buy back) ของทุกอายุสัญญา เนื่องจากเป็นธุรกรรมที่เทียบเคียงได้กับธุรกรรม repurchase agreement ที่ ธปท.เคยขอความร่วมมือสถาบันการเงินไม่ให้ทำกับ NR

2.ขอความร่วมมือสถาบันการเงินดูแลการซื้อขายเงินตราต่างประเทศและรับฝากถอนเงินบาทของ NR ที่เกิดจากการลงทุนหรือรับคืนเงินลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง และพันธบัตร ธปท. โดยให้สถาบันการเงินทำได้เฉพาะตราสาร ที่ NR ถือครองไว้เกิน 3 เดือนเท่านั้น

3.ธปท.จะอนุญาตให้สถาบันการเงินที่กู้เงินจาก NR กรณีที่ไม่มีธุรกรรมรองรับ (ไม่มี underlying) เช่น การกู้ในรูปแบบ sell-buy swap กู้ยืมได้เฉพาะที่มีอายุสัญญาเกิน 6 เดือนเท่านั้น จากเดิมที่อนุญาตให้ทำสำหรับอายุสัญญาเกิน 3 เดือน

ในตอนนั้น นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. ได้กล่าวว่า "เงินทุนไหลเข้าประเทศไทยจำนวนมากเข้าลงทุนในตราสารหนี้ โดยเข้าลงทุนระยะสั้น ซึ่งได้รับดอกเบี้ยแล้ว ยังได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทด้วย และที่ผ่านมาภาคเอกชนได้ออกตราสารหนี้ขายให้ NR มากขึ้น ดังนั้นการออกมาตรการนี้เพื่อลดความผันผวนของค่าเงิน และ ธปท.จะติดตามและประเมินผลมาตรการอย่างใกล้ชิด หากจำเป็นก็พร้อมจะออกมาตรการเพิ่มเติม ส่วนผลกระทบที่อาจมีต่อสภาพคล่องในระบบ ธปท.ได้เตรียมมาตรการเสริมสร้างสภาพคล่อง จึงไม่น่าจะมีปัญหาต่อตลาดเงิน"

ปรากฏว่ากว่า 1 เดือน ธปท.ก็ต้องออกมาตรการคุมเข้มยิ่งขึ้น เพราะเงินร้อนต่างทะลักเข้ามาจนบาทเกือบทะลุ 35 บาท/ดอลลาร์ ตัวเลขที่ทำให้ตาลุกก็คือสัปดาห์แรกของเดือนธันวาคม 2549 เงินต่างชาติทะลักเข้ามาถึง 950 ล้านดอลลาร์/สัปดาห์ เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายนที่เข้ามาเฉลี่ยสัปดาห์ละ 300 ล้านดอลลาร์

แหล่งข่าวในวงการการเงินให้ความเห็นว่า มาตรการของแบงก์ชาติครั้งนี้น่าจะถูกแรงกดดันจากคนในรัฐบาลถึงได้ออกมาตรการที่แรงมาก

นางธาริษากล่าวตอนแถลงว่า วันที่ 18 ธันวาคม 2549 ซึ่งเป็นการเรียกแถลงข่าวด่วน และเป็นการแถลงหลังตลาดหุ้นปิดทำการ โดยให้เหตุผลว่าหลังจาก ธปท.ได้ออกมาตรการดูแลเงินทุนนำเข้าระยะสั้น เพื่อป้องกันการเก็งกำไรค่าเงินบาทและดูแลเงินบาทไม่ให้ผันผวนเกินกว่าพื้นฐานเศรษฐกิจของประเทศ แต่พบว่ายังคงมีเงินทุนนำเข้าระยะสั้นเพื่อเก็งกำไรในค่าเงินบาทในรูปแบบต่างๆ ทำให้ค่าเงินบาทยังคงผันผวนและแข็งค่าขึ้นเกินกว่าพื้นฐานเศรษฐกิจของประเทศ

"มาตรการที่กำหนดให้ต้องดำรงเงินสำรองเงินทุนระยะสั้นจากต่างประเทศ ที่ออกเพิ่มเติมในวันนี้ เคยใช้มาแล้วในหลายประเทศในภาวะที่จำเป็น เพื่อควบคุมการนำเข้าเงินทุนระยะสั้น และ ธปท.เห็นว่าเป็นมาตรการที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันเพื่อป้องกันการเก็งกำไรค่าเงินบาท ซึ่ง ธปท.จะได้ติดตาม และประเมินผลของมาตรการอย่างใกล้ชิดต่อไป และมาตรการนี้ก็ไม่ถือเป็นมาตรการระยะยาว แต่มีความยืดหยุ่นสามารถเปลี่ยนแปลงเงินสำรองที่เรียกเก็บได้ กล่าวคือ หากหลังจากใช้มาตรการนี้แล้ว เงินบาทเริ่มมีเสถียรภาพก็อาจปรับลดเงินที่เรียกเก็บลง"

นางธาริษาเชื่อว่า "การออกมาตรการรอบนี้ของ ธปท. ไม่ได้สวนทางกับเป้าหมายที่ต้องการส่งเสริมบรรยากาศการลงทุนในประเทศ เพราะ สิ่งที่อยากเห็นคือความมีเสถียรภาพของประเทศซึ่งรวมถึงค่าเงิน ซึ่งการที่จะเสริมตลาดเงินและตลาดทุนก็ต้องทำให้มีเสถียรภาพเพื่อรองรับกับการเติบโตของเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ และการเป็นแหล่งทุนเพิ่มเติมได้

ฉะนั้น เชื่อว่าเราสามารถอธิบายได้ชัดเจนว่า นี่ไม่ใช่สิ่งที่สวนทางหรือไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์เดิมเลย และจริงๆ แล้วมาตรการนี้มีผลเฉพาะกับเงินระยะสั้น"

นั่นคือมุมมองของแบงก์ชาติ !!!

การให้ยาแรงในครั้งนี้คนวงการการเงินมองว่าแบงก์ชาติไม่สามารถแบกภาระการแทรกแซงค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่าไม่ไหวแล้ว เพราะล่าสุดได้ขอวงเงินเพื่อออกพันธบัตรจากกระทรวงการคลังอีก 200,000 ล้านบาท เพื่อดูดซับสภาพคล่อง และในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ธปท.ต้องออกพันธบัตรดูดสภาพคล่องไปแล้วเกือบ 800,000 ล้านบาท รวมของใหม่ก็ประมาณ 1 ล้านล้านบาท หากคิดภาระดอกเบี้ยจ่ายปีละ 5% แต่ละปี ธปท.ต้องจ่ายดอกเบี้ยไม่น้อยกว่า 50,000 ล้านบาท ไม่นับรวมค่าเงินดอลลาร์ที่ถืออยู่ในทุนสำรองระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นทุกวัน จากมกราคม 2549 อยู่ที่ 53,228.6 ล้านเหรียญสหรัฐ และ ณ 8 ธันวาคม 64,690.4 ล้านเหรียญสหรัฐ หากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นก็ขาดทุนเท่าไรไม่รู้

นี่คือภาระต้นทุนของ ธปท.ที่ต้องอุ้มค่าเงินบาทในปัจจุบัน !!!!

แต่ถ้าในมุมมองของโบรกเกอร์แล้ว ทุบโต๊ะเลยว่าแบงก์ชาติใช้มาตรการผิด แม้ว่าวันนี้โบรกเกอร์บางรายจะมีรายได้จากค่าคอมมิสชั่นมากที่สุดในรอบหลายสิบปี จากแรงเทขายของนักลงทุนต่างชาติที่ถล่มทลาย และเป็นการตัดสินใจที่ไม่ได้ตื่นตระหนกอย่างที่คนทางการมอง แต่เป็นการทิ้งตลาดหุ้นไทย เพราะรู้สึกว่าผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาดหุ้นและมาตรการของ ธปท.ทำให้เขามีภาระต้นทุนที่สูงขึ้น จึงเทขายหุ้นทันที

ขณะที่นักวิชาการ นักเศรษฐศาสตร์ ต่างลุกขึ้นปรบมือให้แบงก์ชาติ บอกว่าทำถูกแล้ว ขอให้ทำต่อไป อย่าหวั่นไหวกับคนบางกลุ่มที่เก็งกำไรระยะสั้นๆ

นั่นเป็นความเห็นต่าง ขึ้นอยู่ว่าใครจะ ยืนอยู่ในบทบาทไหน เพราะวันนี้ก็ยังถกเถียงกันในมุมของตัวเอง แต่ยังไม่มีใครมองได้ทะลุและลึกว่ามาตรการแบบไหนที่เหมาะสมกับประเทศแบบไทยๆ

แต่ในที่สุด "หม่อมอุ๋ย" ก็กลับลำ 180 องศา หลังหารือ ก.ล.ต. ตลาดหลักทรัพย์ คัสโตเดียน และนายแบงก์ เป็นการเอาข้อมูลมาแชร์กันและร่วมกันหาทางออกที่ดีที่สุดให้ประเทศไทย
บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #66 เมื่อ: 23-12-2006, 02:37 »

ถ้าว่างพอ อ่านกระทู้ที่ผมเล่นไว้ อย่าเพิ่งเชื่อนะ คัด ๆ เอาแต่ที่มันถูกต้องผมอาจไม่ถูกทั้งหมด
..............................................................................................................

นี่คือสงครามค่าเงินบาท น่าอนาถ ที่ประชาชนไม่ยอมรับรู้ว่า "ค่าเงิน" กำลังโดนโจมตี

http://www.weopenmind.com/board/index.php?topic=4015.0

กระทู้นี้จับกันมาตั้งแต่ 25 ตุลาคม

เงินบาทแข็งค่าสุดในรอบ 6 ปี จับตาสิ้นปีแตะ 36.50 บ./ดอลลาร์
http://www.weopenmind.com/board/index.php?topic=3319.0
บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #67 เมื่อ: 23-12-2006, 02:40 »

กราฟค่าเงินบาทตั้งแต่ต้นปี พอเราสู้ ค่าเงินอ่อนทันที


บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #68 เมื่อ: 23-12-2006, 02:52 »

มาตรการนี้ นักวิชาการลึก ๆ แล้วเชียร์ เพราะมันวิกฤติจริง ๆ ไม่รู้ว่าเราจะโดนโจมตีเมื่อใด

หลายเสียงให้ระวัง 35 บาท/US ( ดร.โกร่ง เก็งไว้เหมือนกัน )

กลางปี ( เมษา-พฤษภา ) ตอน 37บาท/US ดร.อาภรณ์ ก็ออกมาเตือนแล้ว

หลักใหญ่ใจความ มีคำพูดหนึ่งของ ผู้ว่าฯแบ๊งค์ชาติ กับการสัมภาษณ์สดกับช่อง 9 เมื่อเช้านี้ว่า

เพราะดอลล่าไม่ได้ผูกโบว์ไว้ ว่าตัวใหนมาจากใหน ยังไง

จึงจำเป็นต้องผูกโบว์ไว้ก่อน...เท่านั้นเอง


เงินต่างชาติเราก็อยากได้ แต่เข้ามาเก็งกำไนเราไม่อยากได้

ที่สำคัญ ส่วนที่สร้างรายได้อย่างแท้จริงคือ "ภาคส่งออก" ครับ
บันทึกการเข้า

55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« ตอบ #69 เมื่อ: 23-12-2006, 08:32 »

ก็เห็นๆอ่ะครับ ตอนเขาอยู่ ไม่เห็นมาทุบพอไม่อยู่ปุ๊ปก็เหมือนกับแร้งลงประเทศยังไงยังงั้น 


ลองกลับไปดูใหม่ว่าค่าเงินบาท เริ่มแข็งตั้งแต่เมื่อไหร่
บันทึกการเข้า
O_envi
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 495



« ตอบ #70 เมื่อ: 23-12-2006, 09:47 »

แล้วทำไมไม่ลดอัตราดอกเบี้ยล่ะครับ
บันทึกการเข้า

The change musts come one by one.It has to start with you
55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« ตอบ #71 เมื่อ: 23-12-2006, 13:35 »

แล้วทำไมไม่ลดอัตราดอกเบี้ยล่ะครับ

เท่าที่ตามข่าว ดูเหมือนแบ็งค์ชาติแถลงว่า ตอนนี้ดอกเบี้ยของเราก็ต่ำกว่าภูมิภาคอยู่แล้ว ดังนั้นการลดดอกเบี้ย อาจไม่ช่วยมากนัก ...........

สิ่งสำคัญ เป้าหมายที่โจมตี ก็เพื่อจะเอากำไรจากค่าเงิน และ หุ้น ผลประโยชน์จากดอกเบี้ยจึงไม่น่าจะใช่สิ่งจูงใจ
บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #72 เมื่อ: 23-12-2006, 14:17 »

แล้วทำไมไม่ลดอัตราดอกเบี้ยล่ะครับ

เท่าที่ตามข่าว ดูเหมือนแบ็งค์ชาติแถลงว่า ตอนนี้ดอกเบี้ยของเราก็ต่ำกว่าภูมิภาคอยู่แล้ว ดังนั้นการลดดอกเบี้ย อาจไม่ช่วยมากนัก ...........

สิ่งสำคัญ เป้าหมายที่โจมตี ก็เพื่อจะเอากำไรจากค่าเงิน และ หุ้น ผลประโยชน์จากดอกเบี้ยจึงไม่น่าจะใช่สิ่งจูงใจ

เหตุผลหลักจริงๆ ที่แบงค์ชาติไม่ต้องการลดดอกเบี้ย นอกจากคิดว่าไม่ได้ผลมากนักในการป้องกันเก็งกำไรค่าเงิน
การลดดอกเบี้ยจะมีผลทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงมากขึ้นครับ โดยที่ตอนนี้ก็ถือว่าเงินเฟ้อสูงมากปริ่มดอกเบี้ยอยู่แล้ว

เท่าที่ดูๆ คิดว่าต้องมีการลดดอกเบี้ยแน่นอน แต่จะต้องเกิดสภาวะเศรษฐกิจชลอตัวก่อนเมื่อค่าเงินดอลลาร์ตกกว่านี้
เนื่องจากจะกระทบภาคส่งออกแน่นอน  เนื่องจากภาคส่งออกของไทยมีความสามารถทำกำไรได้ไม่ถึง 20% ต่อทุน
เมื่อค่าเงินบาทต่อดอลลาร์แข็งค่าขึ้นถึง 15%  เมื่อหักลบกันแล้วภาคส่งออกจะแทบไม่เหลือกำไร

ตอนนี้ภาคการผลิตของไทยถือว่าดำเนินการผลิตเต็มกำลังผลิตแล้ว ตามปกติจะต้องมีการลงทุนเพิ่มเพื่อขยายกิจการ
แต่กลับไม่พบว่ามีการลงทุนเพิ่ม ก็เพราะไม่มีความมั่นใจเลยรอสถานการณ์กันอยู่ครับ

การลดดอกเบี้ยเมื่อถึงจุดเศรษฐกิจชลอตัวจะช่วยกระตุ้นให้ภาคธุรกิจเดินหน้าต่อได้

---

ดูจากรูปการณ์นโยบายที่จะออกมาต่อไป น่าจะเป็นมาตรการควบคุมโดยใช้ภาษีแบบเฉพาะจุด
เนื่องจากต่อไปการนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาจะต้องจำแนกประเภทวัตถุประสงค์ชัดเจนขึ้น
ทำให้สามารถใช้มาตรการภาษีเฉพาะจุดได้ครับ 

ที่ผ่านมา ธปท.ใช้วิธีขอความร่วมมือ (แต่คาดว่าไม่ได้รับความร่วมมือเท่าที่ควร)
หลังเจอมาตรการ 70/30 เข้าไปแต่ละฝ่ายเลยอยากร่วมมือแล้วครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23-12-2006, 14:24 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #73 เมื่อ: 23-12-2006, 14:25 »

กว่าจะมาถึงเรื่อง ธปท. ป้องกันการเก็งกำไรค่าเงินในตอนนี้
ทักษิณได้ใช้นโยบายแทรกแซงให้ค่าเงินบาทอ่อนเกินจริง
เพื่อเอาใจภาคส่งออก และเพื่อผลทางด้านตัวเลขการขยายตัว
ของภาคส่งออก เอาไปใช้หาเสียงสร้างภาพ

คราวนี้พอค่าเงินดอลลาร์ตกต่ำ เลยทำให้ค่าเงินบาทดีดตัวขึ้น
สูงกว่าแรงกว่าเพื่อนบ้าน จน ธปท.ต้องแทรกแซงเพื่อชลอ
การแข็งค่า กลายเป็นเป้าให้พวกเก็งกำไรค่าเงินเห็น

หลักฐานน่าจะเห็นได้จาก ค่า Net Forward Position
ในข้อมูล International Reserves ตั้งแต่ต้นปี 2003
ที่มีการซื้อเงินดอลลาร์ล่วงหน้าต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ในขณะที่
ตัวเลขทุนสำรองเงินตราต่างประเทศก็เพิ่มสูงขึ้นมากมาย

ในปีนั้นตัวเลข GDP growth ดีดตัวสูงเป็นประวัติการณ์ด้วย
หลังจากนั้นก็ Down ลงเป็นลำดับ ต่างกับประเทศเพื่อนบ้าน
ที่มีอัตราการขยายตัวสูงขึ้นเป็นลำดับ แสดงถึงผลการอัดฉีด
จนเศรษฐกิจโตเกินจริง

เรื่องนี้ไม่ได้แตกต่างจากการทุ่มเงินตรึงราคาน้ำมันเพื่อหวังผล
ด้านคะแนนเสียงก่อนเลือกตั้งปี 48 แม้แต่น้อย
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
type
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 525


« ตอบ #74 เมื่อ: 23-12-2006, 14:48 »

แล้วทำไมไม่ลดอัตราดอกเบี้ยล่ะครับ
ลดไปเขาก็ไม่สนแล้วจ้า เขาเอามาลงเยอะแล้ว รอทุบอย่างเดียว 
บันทึกการเข้า
type
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 525


« ตอบ #75 เมื่อ: 23-12-2006, 15:21 »

กว่าจะมาถึงเรื่อง ธปท. ป้องกันการเก็งกำไรค่าเงินในตอนนี้
ทักษิณได้ใช้นโยบายแทรกแซงให้ค่าเงินบาทอ่อนเกินจริง
เพื่อเอาใจภาคส่งออก และเพื่อผลทางด้านตัวเลขการขยายตัว
ของภาคส่งออก เอาไปใช้หาเสียงสร้างภาพ

คราวนี้พอค่าเงินดอลลาร์ตกต่ำ เลยทำให้ค่าเงินบาทดีดตัวขึ้น
สูงกว่าแรงกว่าเพื่อนบ้าน จน ธปท.ต้องแทรกแซงเพื่อชลอ
การแข็งค่า กลายเป็นเป้าให้พวกเก็งกำไรค่าเงินเห็น

หลักฐานน่าจะเห็นได้จาก ค่า Net Forward Position
ในข้อมูล International Reserves ตั้งแต่ต้นปี 2003
ที่มีการซื้อเงินดอลลาร์ล่วงหน้าต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ในขณะที่
ตัวเลขทุนสำรองเงินตราต่างประเทศก็เพิ่มสูงขึ้นมากมาย

ในปีนั้นตัวเลข GDP growth ดีดตัวสูงเป็นประวัติการณ์ด้วย
หลังจากนั้นก็ Down ลงเป็นลำดับ ต่างกับประเทศเพื่อนบ้าน
ที่มีอัตราการขยายตัวสูงขึ้นเป็นลำดับ แสดงถึงผลการอัดฉีด
จนเศรษฐกิจโตเกินจริง

เรื่องนี้ไม่ได้แตกต่างจากการทุ่มเงินตรึงราคาน้ำมันเพื่อหวังผล
ด้านคะแนนเสียงก่อนเลือกตั้งปี 48 แม้แต่น้อย

ประเทศ ไทยส่วนใหญ่ เราก็ได้จากการส่งออกนี่จ๊ะ
 ไม่หนับหนุนการส่งออกจะไปเชียร์พวกนำเข้ารึไง
ถ้าภาคส่งออกอยู่ไม่ได้  มันจะ อยู่ได้เหรอไทย

ที่พวกอีแร้งมันมาทึ้ง ค่าเงินไทยเพราะ ความเชื่อมั่นไงจ๊ะ
ถ้ารัฐบาลเก่าอยู่ เล่นเลยว่ามันไม่กล้าเพราะเขามีแรงหนุนจากมหาอำนาจอย่างจีน
ทั้ง เจแปน และอีกหลายๆพันธมิตรที่เชื่อมั่นในตัว เสี่ยแม้ว
มันจะกวนไปถึงไหนก็กวนไปเถอะจ๊ะ  กำลังภายในเสี่ยแม้วเขาเยอะ
แต่พอรัฐบาลนี้อยุ่เปงไง  จีนส่ายหน้า เจแปน กลุ้ม เวียดนามมึน
เขาเห็นแล้วใครจะให้การช่วยหลือเนี่ย

Mr.24ไปแก้ตัว ในเอเปคจนปากจะฉีกถึงหูเขาก็ไม่ฟัง

ความเชื่อมั่นสำคัญ นะ นานาอารยะประเทศเขามีความเชื่อมั่นในรัฐบาลชุดที่แล้ว
 เขาจึงเชียร์ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์รว่มกัน
แต่ตอนนี้พวกคนเก่งคนฉลาดคนรู้ทันเขาก็ไล่ไปแล้ว ต่างชาติเขาคงหัวเราะ
คนไทยนี่แปลก คนมีความสมารถอยุ่ไม่รุ้จักใช้ให้เกิดประโยชน์
 
บันทึกการเข้า
sleepless
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 525


Sleepless


« ตอบ #76 เมื่อ: 23-12-2006, 16:18 »



ที่พวกอีแร้งมันมาทึ้ง ค่าเงินไทยเพราะ ความเชื่อมั่นไงจ๊ะ
ถ้ารัฐบาลเก่าอยู่ เล่นเลยว่ามันไม่กล้าเพราะเขามีแรงหนุนจากมหาอำนาจอย่างจีน
ทั้ง เจแปน และอีกหลายๆพันธมิตรที่เชื่อมั่นในตัว เสี่ยแม้ว
มันจะกวนไปถึงไหนก็กวนไปเถอะจ๊ะ  กำลังภายในเสี่ยแม้วเขาเยอะ
แต่พอรัฐบาลนี้อยุ่เปงไง  จีนส่ายหน้า เจแปน กลุ้ม เวียดนามมึน
เขาเห็นแล้วใครจะให้การช่วยหลือเนี่ย

Mr.24ไปแก้ตัว ในเอเปคจนปากจะฉีกถึงหูเขาก็ไม่ฟัง

ความเชื่อมั่นสำคัญ นะ นานาอารยะประเทศเขามีความเชื่อมั่นในรัฐบาลชุดที่แล้ว
 เขาจึงเชียร์ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์รว่มกัน
แต่ตอนนี้พวกคนเก่งคนฉลาดคนรู้ทันเขาก็ไล่ไปแล้ว ต่างชาติเขาคงหัวเราะ
คนไทยนี่แปลก คนมีความสมารถอยุ่ไม่รุ้จักใช้ให้เกิดประโยชน์
 

หากประเทศไทยทั้งประเทศ 60 ล้านคนต้องพึ่งความเชื่อมั่นจากต่างชาติในตัวทักษิณคนเดียว มองยังไงก็ไม่น่าจะไปรอด ยังไงให้เจ๊งไปทั้งประเทศตั้งแต่ตอนนี้จะดีกว่า

ประเทศไทยที่มีอยู่ได้ทุกวันนี้ผมว่าเพราะเรามีระบบที่ค่อนข้างแข็งแรง อาจจะเต็มไปด้วยคอร์รับชั่น แต่เครื่องยนต์ออกแบบมาดี (ผ่านวิวัฒนาการอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่ก้าวกระโดด) มันน่าจะวิ่งของมันไปได้เรื่อยๆ หากมีคนบอกว่าเราต้องพึ่งกำลังภายในของทักษิณเพียงคนเดียว ผมว่าเราไปตายเสียดีกว่านะ (กระโดดน้ำฆ่าตัวตายไปทั้งประเทศเลย )

ระบบที่ดีมันไม่ควรจะมี Single Point of Failure โดยเฉพาะไอ้ Single Point ที่ว่าเนี่ย มันไม่ได้เป็นชิ้นส่วนที่ดีจริงตามที่คนขายมันโฆษณาสักหน่อย มันเป็นชิ้นส่วนเกรดสองที่ salesman เอามาหลอกขาย โฆษณาซะเกินจริง หลอกเอาเงินชาวบ้านไปวันๆ คุณจะให้ทั้งประเทศขึ้นกับไอ้ชิ้นส่วนสัปปะรังเคเนี่ยนะ
บันทึกการเข้า
type
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 525


« ตอบ #77 เมื่อ: 23-12-2006, 16:40 »



ที่พวกอีแร้งมันมาทึ้ง ค่าเงินไทยเพราะ ความเชื่อมั่นไงจ๊ะ
ถ้ารัฐบาลเก่าอยู่ เล่นเลยว่ามันไม่กล้าเพราะเขามีแรงหนุนจากมหาอำนาจอย่างจีน
ทั้ง เจแปน และอีกหลายๆพันธมิตรที่เชื่อมั่นในตัว เสี่ยแม้ว
มันจะกวนไปถึงไหนก็กวนไปเถอะจ๊ะ  กำลังภายในเสี่ยแม้วเขาเยอะ
แต่พอรัฐบาลนี้อยุ่เปงไง  จีนส่ายหน้า เจแปน กลุ้ม เวียดนามมึน
เขาเห็นแล้วใครจะให้การช่วยหลือเนี่ย

Mr.24ไปแก้ตัว ในเอเปคจนปากจะฉีกถึงหูเขาก็ไม่ฟัง

ความเชื่อมั่นสำคัญ นะ นานาอารยะประเทศเขามีความเชื่อมั่นในรัฐบาลชุดที่แล้ว
 เขาจึงเชียร์ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์รว่มกัน
แต่ตอนนี้พวกคนเก่งคนฉลาดคนรู้ทันเขาก็ไล่ไปแล้ว ต่างชาติเขาคงหัวเราะ
คนไทยนี่แปลก คนมีความสมารถอยุ่ไม่รุ้จักใช้ให้เกิดประโยชน์
 

หากประเทศไทยทั้งประเทศ 60 ล้านคนต้องพึ่งความเชื่อมั่นจากต่างชาติในตัวทักษิณคนเดียว มองยังไงก็ไม่น่าจะไปรอด ยังไงให้เจ๊งไปทั้งประเทศตั้งแต่ตอนนี้จะดีกว่า

ประเทศไทยที่มีอยู่ได้ทุกวันนี้ผมว่าเพราะเรามีระบบที่ค่อนข้างแข็งแรง อาจจะเต็มไปด้วยคอร์รับชั่น แต่เครื่องยนต์ออกแบบมาดี (ผ่านวิวัฒนาการอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่ก้าวกระโดด) มันน่าจะวิ่งของมันไปได้เรื่อยๆ หากมีคนบอกว่าเราต้องพึ่งกำลังภายในของทักษิณเพียงคนเดียว ผมว่าเราไปตายเสียดีกว่านะ (กระโดดน้ำฆ่าตัวตายไปทั้งประเทศเลย )

ระบบที่ดีมันไม่ควรจะมี Single Point of Failure โดยเฉพาะไอ้ Single Point ที่ว่าเนี่ย มันไม่ได้เป็นชิ้นส่วนที่ดีจริงตามที่คนขายมันโฆษณาสักหน่อย มันเป็นชิ้นส่วนเกรดสองที่ salesman เอามาหลอกขาย โฆษณาซะเกินจริง หลอกเอาเงินชาวบ้านไปวันๆ คุณจะให้ทั้งประเทศขึ้นกับไอ้ชิ้นส่วนสัปปะรังเคเนี่ยนะ

ทักษิณเขาเป็นรัฐบาลที่ได้การยอมรับและผ่านความชอบธรรมจากประชาชนแล้วครับ
เมื่อรัฐบาลที่มีประชาชนให้การสนับสนุนมากมายขนาดนั้นต่างชาติยิ่งมั่นใจ
เพราะเป็นรัฐบาลที่ประชาชนพร้อมที่จะก้าวเดินตามไปด้วยอันที่จริงผมก็ไม่ได้จะยึดติดว่ามีทักษิณคนเดียวนะ ที่จะเป็นผู้นำประเทศได้แต่แผนงานเขาวางไว้ระยะยาวต่างชาติต่างชื่นชมและพร้อมจะให้ความร่วมมือ
แต่ รากฐานทุกอย่างที่เขาวางไว้ พังลงก็เพราะอะไร พวกคุณน่าจะรู้ แล้วเขาก็พิสูจน์ให้ต่างชาติเห็นแล้วว่า ประชาชนส่วนมากในประเทศยังต้องการทักษิณ มองโดยนัยยะง่ายๆก็คือพร้อมจะให้การสนับสนุนทักกษิณนั่นหล่ะ
ทักษิณเขาก็บอกแ้ลวเมื่อประชาชนไม่ต้องการเขาก็ไป มาด้วยประชาธิปไตยก็ไปด้วยประชาธิปไตย ไม่ต้องอธิบายต่างชาติยาก   
เขาวางรากฐานต่างๆในชาติไว้ดีแล้วด้วย ถ้าทักษิณหมดวาระ เขาถามใครจะมาแทน
แน่ นอน ท่านสมคิดเป็นแคนดิเคต เขาต่างพอใจในแผนงานทักษิณแล้วก็ท่านสมคิดที่จะมาสานงานต่อ
แต่ มันพังหมดแล้วครับ จะให้ต่างชาติมาเริ่มต้นกับ รัฐบาลใหม่เหรอคัรบ แผนเศรษฐกิจก็อะไรไม่รู้ ตะแบงพอเพียงอย่างเดียว ไม่มีไรเลยนอกจากนี้ ไหนตอนนี้จะโดน อีแร้งลุมทึ้งอีก สารพัดปัญหา
ไหนจะไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชน แล้วจะดำเนินการบริหารประเทศยังไงเมื่อประชาชนไม่เอาด้วย
ไหนจะเรื่องความสามารถ ในการทำงานอีก หุหุ   ผมหล่ะกลุ้มแทนประเทศไทยจริงๆเลย




เอานโยบาย่ไปแถลงมั้ย เดี๋ยวออกคอนเซปให้ เอาเนี่ยไปให้ต่างชาติฟังสิ 

"ตอแหล แถเก่ง เบ่งกร่าง สร้างภาพ กราบโจร โยนขี้ หนี้เบี้ยว เที่ยวขโมยผลงาน"

บันทึกการเข้า
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #78 เมื่อ: 23-12-2006, 17:03 »

เหลี่ยมเหลือทนแล้วนั่น.. ขวัญของเหลี่ยม
หวนคิดผิดแล้วขมขื่น ฝืนใจเจียม
เคยโลมเหลี่ยมเลียบฝั่งมาแต่หลัง ยังจำ

..คำ ที่ขวัญเคยพรอดเคยพร่ำ
ถ้วนทุกคำยังเรียกยังร่ำเร่าร้องก้องอยู่
แว่วๆ แจ้วหูว่าขวัญชู้เจ้ายังคอย


คิดถึงเหลี่ยมจังเลย ..เหลี่ยมจ๋าาาาา 

 
บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
(ก้อนหิน) ละเมอ
Moderator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,041



เว็บไซต์
« ตอบ #79 เมื่อ: 23-12-2006, 17:13 »

โห ถ้าอย่างที่คุณ type ว่า
ถ้าหากแม้วมีอันเป็นไป ประเทศชาติมิล่มจมไปเลยเหรอครับ
บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #80 เมื่อ: 23-12-2006, 18:00 »

มาตรการดอกเบี้ย หากจะทำมันต้องค่อย ๆ ทำมาตั้งแต่เมษา-พฤษภา ค่อยๆ ปรับลด ไม่ใช่ปรับพรวดเดียว

ในเมื่อทักษิณก็มองเห็นอยู่ เรื่องค่าเงินและภาพรวมในสมัยเป็นรัฐบาลรักษาการ

หากจะมาโทษกันยามนี้ก็เห็นจะไม่ถูกนัก

รัฐบาลเข้ามา มันก็เริ่มทุ่มเงินเข้าประเทศอย่างน่าตกใจ หากไม่มีเงินไหลเข้าในห้วง 2 เดือนที่ผ่านมาอย่างผิดสังเกต

อาจจะใช้มาตรการเดิม ๆ เช่นลดอัตราดอกเบี้ยได้

ผมคิดว่า อาจจะมีมาตรการดอกเบี้ยหรือภาษีเป็นจุด ๆ อย่างที่ "ลมเปลี่ยนทิศ" เสนอ

คือถ้าคุณเก็งกำไรหรือเงินการค้าขายระยะสั้นไม่เกิน 3 เดือน ตอนคุณขายบาทแลกดอลกลับ คุณอาจเจอภาษีพิเศษ

ไม่รู้นะ ผมคิดเอาเอง
บันทึกการเข้า

type
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 525


« ตอบ #81 เมื่อ: 23-12-2006, 18:32 »

โห ถ้าอย่างที่คุณ type ว่า
ถ้าหากแม้วมีอันเป็นไป ประเทศชาติมิล่มจมไปเลยเหรอครับ

จะช้าจะเร้ว ยังไงทักษิณก็ไม่ได้เป็นนายกไปจนตายหรอกครับ ถึงเวลาเขาก็ต้องลงจากอำนาจ แต่การลงจากอำนาจด้วยการรัฐประหารนี่ ต่างชาติเขา anti นะครับ แก้ตัวยังไงก็ไม่ขึ้น

จะให้ต่างชาติเขามาจับมือกับโจรเหรอ ความสามารถ มีอะไรที่ให้เขาเชื่อมั่นได้บ้าง
ขนาดประชาชนในชาติยังไม่เอาด้วยแล้วจะ ทำงานยังไง รอให้มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งมาจากการยอมรับของประชาชนนุ่นเหรอ
งั้นก็ปล่อยให้แร้งมันลุมประเทศต่อไปเถอะ กว่าจะได้เลือกตั้ง เป็นผุยผงหมด ประเทศไทย
 
อ่อลืมไป ประเทศไทยเป็นไงไม่สน ไล่แม้วไปได้เป็นพอ
จะโกงกินยังไงไม่ต้องพิสูจน์ กล่าวหาเขาให้มันเป็นเหตุผลสร้างความชอบธรรมในการโค่นพอ
ประชาชนเขาได้แต่ส่ายหน้า เอา เหตุผลมาโค่นล้มด้วยการกล่าวหา
ใครไม่เห้นด้วยไม่เป็นไร ตะหานเขามีปืน  รถถังก็มี หึหึ
แล้วบอกให้สมานฉันทื  (ข้างเดียว) 
บันทึกการเข้า
type
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 525


« ตอบ #82 เมื่อ: 24-12-2006, 00:13 »

มาตรการดอกเบี้ย หากจะทำมันต้องค่อย ๆ ทำมาตั้งแต่เมษา-พฤษภา ค่อยๆ ปรับลด ไม่ใช่ปรับพรวดเดียว

ในเมื่อทักษิณก็มองเห็นอยู่ เรื่องค่าเงินและภาพรวมในสมัยเป็นรัฐบาลรักษาการ

หากจะมาโทษกันยามนี้ก็เห็นจะไม่ถูกนัก

รัฐบาลเข้ามา มันก็เริ่มทุ่มเงินเข้าประเทศอย่างน่าตกใจ หากไม่มีเงินไหลเข้าในห้วง 2 เดือนที่ผ่านมาอย่างผิดสังเกต

อาจจะใช้มาตรการเดิม ๆ เช่นลดอัตราดอกเบี้ยได้

ผมคิดว่า อาจจะมีมาตรการดอกเบี้ยหรือภาษีเป็นจุด ๆ อย่างที่ "ลมเปลี่ยนทิศ" เสนอ

คือถ้าคุณเก็งกำไรหรือเงินการค้าขายระยะสั้นไม่เกิน 3 เดือน ตอนคุณขายบาทแลกดอลกลับ คุณอาจเจอภาษีพิเศษ

ไม่รู้นะ ผมคิดเอาเอง


เป็นรักษาการณ์อำนาจมันไม่เต็มไม้เต็มมือหรอกครับ ขนาด เป็นในวาระแท้
 ยังบอกว่า เผด็จการว่าบ้าอำนาจกันเลย แล้วเป็นรักษาการณ์จะให้ทำไง
พอเขาจะใช้อำนาจตอนรักษาการณ์ก็ว่าเขาบ้าอำนาจ

ตกลงจะเอาไงกันแน่  ท่าจะบ้าเอาเหตุมาอ้าง
 มีแต่ขัดกับสิ่งที่เมื่อก่อนพวกคุณชอบออ้างกันทั้งนั้นว่าเขาบ้าอำนาจ
บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #83 เมื่อ: 24-12-2006, 00:29 »

ไม่จริงหรอก...ถ้ารู้จริง ก็เรียกร้อง ธปท. ได้นี่

แต่นี่ไม่มี แสดงว่ามองไม่เห็น

ลอง ๆ ไปค้นข่าวเก่ามาดูซิ ว่าทักษิณ เคยพูดเรื่องลดดอกเบี้ยหรือไม่
บันทึกการเข้า

type
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 525


« ตอบ #84 เมื่อ: 24-12-2006, 00:49 »

ไม่จริงหรอก...ถ้ารู้จริง ก็เรียกร้อง ธปท. ได้นี่

แต่นี่ไม่มี แสดงว่ามองไม่เห็น

ลอง ๆ ไปค้นข่าวเก่ามาดูซิ ว่าทักษิณ เคยพูดเรื่องลดดอกเบี้ยหรือไม่


โถ..... เพิ่งรู้ตัวกันว่าหลงงับเผือกร้อนหน่ะสิครับ    หลงงับเหยื่อเข้าเต็มๆ

บอกแล้วครับกำลังภายในเสี่ยแม้วเขาสูง ถ้าตอนนี้
 เสี่ยแม้วอยู่ไม่ต้องไป 70/30 ไรนั่นหรอก
ผิวปากหาจีนหาพี่ยุ่น ขอตังค์มาใช้ซำบาย 

อิอิอิ   อีกฉามเดือนจะหาเงินไหนน้อ ท่านขิงแก
 
บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #85 เมื่อ: 24-12-2006, 02:30 »

เฮ้ย...จะเอาประเทศไปจำนำเชียวรึ หน้าเหลี่ยม

ปีที่แล้วให้เสี่ยเพ้งไปขอกู้ญี่ปุ่น เพื่อนยังส่ายหน้าเล้ย...ทำคุย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24-12-2006, 02:32 โดย CanCan » บันทึกการเข้า

Naymoon
น้องใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13


« ตอบ #86 เมื่อ: 24-12-2006, 03:11 »

ถ้าผมจำไม่ผิด หลังๆ นี่เงินไหลเข้ามาทางตราสารหนี้ระยะสั้นนะ
ไม่ใช่ตลาดหลักทรัพย์   

เพราะเงินที่ไหลเข้ามาในตลาดหลักทรัพย์นั้นทยอยค่อยๆ ไหลออกไปทีละเล็ก ทีละน้อย
ตั้งแต่แบงก์ชาติเริ่มคิดว่าจะมีมาตรการตั้งนานแย้ววว

แต่ก็เอาเถอะมันก็ได้ผลในระดับนึง  แต่อย่าออกมาตรการอะไรแรงๆ แล้วประเมินต่ำกว่าคาดการณ์ไว้อีกละขอรับ




พอจะมีใครรู้รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องทองคำ, การเก็งกำไร ฯลฯ บ้างครับ
กำลังสงสัยบางอย่าง ยิ่งมาได้อ่านที่คุณ Cancan เขียนแว๊บๆ -_-" หาไม่เจอแล้ว
ยิ่งสงสัย
บันทึกการเข้า
type
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 525


« ตอบ #87 เมื่อ: 24-12-2006, 14:12 »

ถ้าผมจำไม่ผิด หลังๆ นี่เงินไหลเข้ามาทางตราสารหนี้ระยะสั้นนะ
ไม่ใช่ตลาดหลักทรัพย์   

เพราะเงินที่ไหลเข้ามาในตลาดหลักทรัพย์นั้นทยอยค่อยๆ ไหลออกไปทีละเล็ก ทีละน้อย
ตั้งแต่แบงก์ชาติเริ่มคิดว่าจะมีมาตรการตั้งนานแย้ววว

แต่ก็เอาเถอะมันก็ได้ผลในระดับนึง  แต่อย่าออกมาตรการอะไรแรงๆ แล้วประเมินต่ำกว่าคาดการณ์ไว้อีกละขอรับ




พอจะมีใครรู้รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องทองคำ, การเก็งกำไร ฯลฯ บ้างครับ
กำลังสงสัยบางอย่าง ยิ่งมาได้อ่านที่คุณ Cancan เขียนแว๊บๆ -_-" หาไม่เจอแล้ว
ยิ่งสงสัย

แลกดอลล่า กะจะให้ดอลล่าแข็ง    มึนเขาเอาเงินที่เราแลกมาตุน ตราสาร หุหุ หอกทมิฬแทงทมิฬ จริงๆ
ซวยๆของประเทศไทยเรา   เขาเรียกว่าอะไรอ่ะ  เอาของๆตัวเองไปให้เขามาฆ่าตัวเอง 
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
    กระโดดไป: