ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
19-04-2024, 05:36
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  >>>>> "ยำยำจอมตบทรัพย์" เปิดช่องให้ต่างชาติโจมตีมาตั้งแต่ 2546 แล้ว (CLICK) <<<< 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
>>>>> "ยำยำจอมตบทรัพย์" เปิดช่องให้ต่างชาติโจมตีมาตั้งแต่ 2546 แล้ว (CLICK) <<<<  (อ่าน 1267 ครั้ง)
AsianNeocon
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,277


中華萬歲﹗ LONG LIVE CHINA!


เว็บไซต์
« เมื่อ: 18-12-2006, 20:18 »

นี่คือตัดตอนบทสัมภาษณ์จากรายการสภาท่าพระอาทิตย์ วันที่ 31 ก.ค. 2546 สมัยที่ ASTV ยังไม่เกิด

โปรดฟังอีกครั้ง ปี 2546

ผู้ดำเนินรายการมี อ.สามารถ มังสัง, คำนูณ สิทธิสมาน และเชิญ อ.สมภพ มานะรังสรรค์ ปัจจุบันเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจจีน และออกคำเตือนเกี่ยวกับฟองสบู่โลกเป็นคนแรกๆ

วันนั้นเป็นวันหลังจากไอ้ยำยำเหลี่ยมนรกรีบเสนอหน้าทางทีวี "กูคืนเงินกู้ IMF ได้แล้ว เราเป็นผู้ให้กู้ เรามีทุนสำรองเยอะๆ เรารวยแล้ว" โถ! คนไทยโดนไอ้ยำยำเหลี่ยมนรกนี่ต้มเกือบทั้งประเทศ

แต่เราไม่รู้ว่าเรามีไอ้ยำยำจอมตบทรัพย์อีกคนหนึ่ง ที่จะต้องรับผลของการกระทำต่อเนื่องมาตลอด 3 ปี มันกำลังส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยและค่าเงินบาทแล้ว และปีหน้าต้องจับตาดู อ่านดูแล้วกัน




คำนูณ - วันนี้จะเป็นวันที่ชำระหนี้ไอเอ็มเอฟได้หมดนะครับ และก็หมดก่อนกำหนดด้วยครับ ประมาณปีหนึ่ง จะมีผลดี ผลเสียอย่างไร และก็มีนัยมีความาหมายอย่างไร แปลว่าเศรษฐกิจดีขึ้น ประเทศไทยพ้นวิกฤติแล้วหรือไม่ เราจะไปมองจากมุมมองของนักวิชาการที่ติดตามทางด้านเศรษฐกิจมาโดยตลอด รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ แห่งคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครับ สวัสดีครับอาจารย์สมภพครับ เป็นยังไงบ้างครับ ฟังดูแล้วเป็นเรื่องใหญ่โตนะ รัฐบาลท่านนายกฯจะแถลงค่ำนี้ทางทีวีทีเดียว อาจารย์เห็นว่าเป็นยังไงครับ มันเป็นสัญญาณที่บ่งบอกอะไร เศรษฐกิจของเราพ้นวิกฤติแล้วมีเงินเหลือเฟือถึงขนาดใช้หนี้ได้ก่อนกำหนดตั้ง 1 ปี

สมภพ - คือผมว่าตัวแปรที่สำคัญตัวหนึ่งนะครับที่ทำให้เราใช้หนี้ได้คืนล่วงหน้า ก็คงเกิดจากการที่ทุนสำรองของเราขยายตัวขึ้นมาค่อนข้างมาก ทุนสำรองของแบงก์ชาติขณะนี้ก็มีร่วมๆ 40,000 ล้านเหรียญสหรัฐนะครับถือว่าเป็นอัตราที่สูง เป็นอัตราที่ใกล้เคียงกับในช่วงก่อนที่เราจะไปปกป้องค่าเงินบาทเมื่อ 6-7 ปีที่แล้ว แต่บางทีเราก็ต้องวิเคราะห์ต่อว่าทุนสำรองที่เพิ่มนั้นเกิดจากอะไร ที่ทำให้เราเพิ่มได้อย่างค่อนข้างมากที่ทำให้เราเพิ่มได้ขณะนี้ ผมว่ามีอยู่ 3 ตัวแปรครับ ที่ทำให้ทุนสำรองของเราเพิ่มขึ้นมาก ตัวแปรตัวแรกคือการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ตัวอย่างเช่นที่เราส่งออกได้มากขึ้นนะครับมีรายได้จากการท่องเที่ยวมากกว่าที่คนไทยไปเที่ยวต่างประเทศ เป็นต้น ที่ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดของเราเพิ่มขึ้น เช่นคาดว่าปีนี้จะเพิ่มได้ประมาณซัก 7,000 ล้านเหรียญนะครับซึ่งการเพิ่มเหล่านี้ส่งผลทำให้ทุนสำรองของเราเพิ่มมากขึ้นเพราะเงินมันไหลเข้าประเทศใช่ไหมครับ แต่ว่ามีอีก 2 ตัวแปรครับที่ผมคิดว่ามีส่วนทำให้ทุนสำรองเราเพิ่มขึ้นก็คือ การไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศ เงินจำนวนมากเกิดจากการเห็นเมืองไทยเป็นศาลาพักร้อน การหนีร้อนมาพึ่งเย็นของเงินทุนต่างประเทศเอง

คำนูณ – เพราะที่อื่นมันแย่หมด

สมภพ – ครับ ตัวอย่างเช่น การที่ฟันด์เมเนเจอร์ ทั้งหลายยังไม่ค่อยไว้วางใจเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาเอง เพราะมันขึ้นๆ ลงๆ นะ ตลาดหุ้นเอง ก็สามวันดีสี่วันไข้ และขณะเดียวกันเฟด ก็เพิ่มปริมาณเงินออกมากมายนะครับ เฟดก็ทำเหมือนกับที่ธนาคารกลางประเทศต่างๆ ในขณะนี้ทำกัน ไม่ว่าในญี่ปุ่นหรือแม้แต่ในไทยเราเอง ก็คือเพิ่มฐานเงินออกมา เงินก็เพิ่มมากขึ้น เงินเหล่านี้ก็ยิ่งไหลออกมานอกประเทศมากขึ้น เพราะเกรงว่าเงินดอลลาร์จะต้องอ่อนตัวลง เมื่อออกมา ก็ยิ่งทำให้เงินเหล่านี้เข้ามาอยู่ในทุนสำรองของเรา แต่เราต้องคำนึงต่อไปคือว่า ตัวแปรตรงนี้มันยั่งยืนหรือไม่ เพราะว่าเวลามันมีเงินทุนไหลเข้า มันก็จะมีเงินทุนไหลออก ทุกวันนี้เราต้องยอมรับนะครับว่าภาคเงินโลกเองมันค่อนข้างจะขยายตัวโดยตัวมันเองค่อนข้างจะเป็นเอกเทศ มันเชื่อมเข้าหาศรษฐกิจจริง ไม่ค่อยสนิทนะครับ เพราะว่าภาคการเงินก็มีการโตด้วยตัวมันเองนะครับ ปริมาณเงินเพิ่มมากขึ้นตลาดเงินตลาดทุนโตโดยเอกเทศ ด้วยสิ่งที่เราเรียกว่าเศรษฐกิจแบบคาสิโน คือเศรษฐกิจแบบเก็งกำไร เมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว การไหลเวียนของเงินทุนก็จะมีความถี่กระชั้น ไร้ทิศทาง เดี๋ยวเข้าเดี๋ยวออกได้เสมอ ตัวแปรตัวนี้ทำให้ทุนสำรองของเราเพิ่มขึ้นมาก เป็นตัวแปรที่เราจะต้องชั่งใจอยู่พอสมควร ว่ามันยั่งยืนหรือไม่ ตัวแปรตัวที่สาม ที่ผมคิดว่ามีส่วนอย่างมากที่ทำให้ทุนสำรองของเราเพิ่มขึ้นใน 2-3 ปีที่ผ่านมาก็คือการใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากๆ ของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มสิ่งที่เราเรียกว่าฐานเงินนะครับ ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาแบงก์ชาติได้เพิ่มฐานเงิน 200,000 กว่าล้านบาทนะครับ ไม่น่าจะหนี 200,000 กว่าล้านบาทนะครับ เพราะผมจำได้ว่าเมื่อ 3 ปีฐานเงินของเรามีประมาณซัก 400,000 ล้านบาทต้นๆ นะครับตอนนี้เราขึ้นมาเป็น 600,000 ล้านบาทต้นๆ ลองคิดดูซิครับว่าเงินเหล่านี้ถ้ามันหมุนได้ประมาณซักเกือบ 3 รอบนะ ตอนนี้เงินมันหมุนช้าลงนิดนึง แต่มันก็หมุนได้เกือบ 3 รอบ 200,000 กว่าล้านก็ออกมาเป็น 600,000-700,000 ล้านนะครับ ก็เอามาไล่ซื้อดอลลาร์ได้เพิ่มมากขึ้นเพราะเราอยากเห็นดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น และอยากเห็นบาทที่อ่อนตัวลง เมื่อเป็นอย่างนี้แน่นอนเราเอาเงินบาทมาไล่ซื้อดอลลาร์ ดอลลาร์ก็เพิ่มมากขึ้น ทุนสำรองเราก็เพิ่มสูงขึ้นนะครับ แต่มันก็มีผลข้างเคียงพอสมควร เพราะทำให้สภาพคล่องของเราที่ล้นเกินอยู่แล้ว ยิ่งล้นเกินหนักยิ่งขึ้น ลองไปเช็กดูตัวเลขจะเห็นความชัดเจนนะครับว่า 2-3 ปีที่ผ่านมาที่เราเพิ่มฐานเงินมากๆ สภาพคล่องล้นเกินที่แบงก์ปล่อยไม่ออกก็เพิ่มอย่างฮวบฮาบเช่นกัน ยิ่ง 6-7 เดือนที่ผ่านมาจะเห็นชัดเจนว่าอยู่ดีๆ สภาพคล่องล้นเกินที่แบงก์ปล่อยไม่ออก เพิ่มจาก 600,000 ล้านขึ้นมาเป็นกว่าล้านล้านบาท นะครับฉะนั้นเมื่อเป็นอย่างนี้ มันก็แน่นอนมันก็มีไซด์เอฟเฟ็คท์ในตัวมันเอง ตัวอย่างเช่น โอกาสการเกิดขึ้นของเศรษฐกิจแบบฟองสบู่ก็ดี การบริโภคเกินตัวของคนบางกลุ่มก็ดี และรวมตลอดถึงการที่เงินออมเองในประเทศถูกทำร้ายรังแกเพิ่มมากขึ้น เช่นถูกลดดอกเบี้ย จนกระทั่งดอกเบี้ยติดลบในขณะนี้ ถูกถอนออกมาเล่นหุ้นบ้าง ถูกถอนออกมาไล่ซื้อรถยนต์บ้าง เปลี่ยนเป็นอสังหาริมทรัพย์ ทั้ง ๆที่เป็นบ้านที่สอง บ้านที่สาม โดยที่เขาอาจไม่จำเป็นต้องซื้อเลย แต่เห็นแล้วว่า เงินบาทต่อไปเป็นสิ่งที่ไม่มีแรงจูงใจ ซึ่งตัวแปรเหล่านี้ เมื่อดูจากทุนสำรองที่เพิ่มขึ้นแบบนี้ คำถามคือว่ามันเพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืนหรือไม่

สามารถ – ผมเรียนถามนิด การเพิ่มฐานเงินในอดีต เขามีข้อจำกัดมากกว่าในปัจจุบันใช่ไหมครับ

สมภพ – อ๋อ ครับ ในอดีตเราไม่จำเป็นต้องเร่งฐานเงินมากเพราะว่าเราพยายามทำให้ระบบแบงก์มันทำงาน เพราะว่าเงินในเงินในระบบมันมี 2 ลักษณะ ใช่ไหมครับ หนึ่งคือสิ่งที่เราเรียกว่าฐานเงิน ฐานเงินส่วนใหญ่ก็คือเงินสดนะครับ ธนบัตร เหรียญที่อยู่ในกระเป๋าเรา คือฐานเงิน เงินอีกส่วนหนึ่งเราเรียกว่าเงินเครดิต ปกติแล้วเงินเครดิตจะมากกว่านะครับ ฐานเงินมีอยู่ 600,000 กว่าล้านบาทในขณะนี้ แต่ว่าเงินเครดิตมีถึง 6.5 ล้านล้านในขณะนี้ มากกว่าถึง 10 เท่า แต่ขณะนี้ระบบแบงก์ไม่ทำงาน ทำงานได้น้อย เราก็เลยใช้วิธีการเพิ่มในเชิงปริมาณ ก็คืออัดเงินเข้าไปในส่วนของฐานเงิน โดยที่คำถามคือว่าถ้าเผื่อเราอัดฐานเงินเข้าไป เพื่อกระตุ้นหลายๆเรื่องแบบที่เราได้กล่าวมาแล้ว ความจำเป็นในการทำให้ระบบแบงก์มันทำงานก็ลดน้อยลงไปนะครับ และคิดดูซิครับเรายังคาราซังซื้อเวลาไปเรื่อยๆ โดยที่ระบบแบงก์ยังเป็นแบบทุกวันนี้โดยเราไม่กระตุ้นการปรับโครงสร้าง การปฏิรูปในเชิงคุณภาพที่ทำให้ระบบการเงินมันฟื้นตัวขึ้นมาทำงานได้ตามปกติเหมือนเดิม

คำนูณ – ไม่ได้แก้ปัญหาที่รากฐาน

สมภพ – ใช่ครับ ปัญหาต่างๆ เหล่านี้มันก็จะทำให้ต้นทุนของเราในอนาคตได้ครับ <----- มันมาถึงแล้วไง


คำนูณ – อาจารย์ครับ ภาษาชาวบ้านของการเพิ่มฐานเงินคือพิมพ์แบงก์เพิ่มใช่ไหมครับ

สมภพ – ใช่ครับ

สามารถ – แล้วการที่เรายืดหยุ่นเพื่อการพิมพ์แบงก์เพิ่มนะครับมันยืดหยุ่นในประเด็นไหนบ้าง ถึงพิมพ์ออกมาได้เยอะขนาดนี้

สมภพ –พิมพ์ได้เยอะเพราะว่าเราก็เอากระดาษไปซื้อกระดาษ ตัวอย่างเช่นการเอาเงินบาทไปซื้อดอลลาร์ ทุนสำรองเราก็เลยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนะครับ เราอยู่ในเกมการเงินนั่นเอง ฉะนั้นการฟื้นตัวแบบเกมการเงินคิดว่าเราคงต้องระวังพอสมควร ดูจาก 3 ตัวแปรที่ทำให้ทุนสำรองเราเพิ่มนะครับ ตัวแปรตัวแรกดีมาก คือการที่เราเกินดุลบัญชีเดินสะพัด เพราะเราส่งออกเพิ่มขึ้น ใช่ไหมครับ เรามีรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น ตรงนี้เรียกได้ว่าเป็นโอกาสของปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ แต่อีก 2 ตัว การเพิ่มขึ้นมาเพราะว่ามีเงินทุนไหลเข้าต่างประเทศระยะสั้น มาใช้เราเป็นศาลาพักร้อน ก็ดี เพราะว่าดอลลาร์ในโลกมันเพิ่มขึ้นมากนะครับและรวมตลอดถึงการที่เราเพิ่มฐานเงินเพื่อมาไล่ซื้อดอลลาร์ เราก็ต้องมองต่อว่ามันคือฝีไม้ลายมือของเรา หรือว่าเป็นปัจจัยพื้นฐาน ที่เป็นศักยภาพที่แท้จริงของเศรษฐกิจของเราเอง

สามารถ – การที่เราเอาเงินบาทที่เกิดจากการเพิ่มฐานเงินไปซื้อดอลลาร์มามากๆ และเงินบาทไปตกอยู่เมืองนอก แล้วเงินบาทมีโอกาสที่จะถูกโจมตีค่าเงินไหมครับ

สมภพ – นั่นแหละครับ มันก็ทำให้ฐานของเงินบาทที่อยู่ในมือของต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้น ในขณะเดียวกันเงินบาทที่อยู่ในมือของคนไทยเองที่เป็นผู้ออมมาตลอด มันก็จะมีค่าที่ลดลงในอนาคตได้นะครับ พอมันออกมามากขึ้นใช่ไหมครับ


.
.
คำนูณ – ก็เรียกว่าเป็นโอกาสอันดี ในช่วงนี้ อย่าไปหลงใหลได้ปลื้มกับการชำระหนี้ได้ครบถ้วนอย่างเดียวอย่าหลงประเด็น
บันทึกการเข้า

hison
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 217


« ตอบ #1 เมื่อ: 18-12-2006, 20:27 »

 

บันทึกการเข้า
นทร์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,441



เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 18-12-2006, 20:58 »

งานนี้ ฝากความหวังไว้ที่ ธนาคราแห่งประเทศไทย

กับความพร้อมของแต่ละคน
บันทึกการเข้า

"ประชาชน อย่าทิ้งประเทศชาติ"
นทร์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,441



เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 18-12-2006, 22:05 »

ธปท.สั่งแบงก์หักสำรอง30% เงินทุนระยะสั้นไหลเข้า

18 ธันวาคม 2549 16:55 น.
(Update) ธปท.ออกมาตรการเก็งกำไรค่าเงินบาท สั่งธนาคารพาณิชย์หักสำรอง 30% ของเงินทุนไหลเข้าระยะสั้น ที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปี และมูลค่าเกิน 20,000 ดอลลาร์ต่อรายการ มีผลพรุ่งนี้ ค่าบาททรุดทันทีหลังประกาศมาตรการ

ดร.ธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) แถลงมาตรการสกัดเก็งกำไรค่าเงินบาท เมื่อ 16.30 น.วันนี้ว่า สั่งให้ธนาคารพาณิชย์กันเงินไว้ 30%ของเงินทุนนำเข้าที่มีอายุต่ำกว่า 1ปี โดยหากต่างประเทศมีการนำเงินทุนเข้ามา ให้ธนาคารพาณิชย์ดึงเงินทุนดังกล่าว 30%สำรองไว้ทันที แต่หาก เม็ดเงินดังกล่าว มีอายุเกิน 1ปี ธนาคารพาณิชย์ จะคืนเงิน 30%ให้กับนักลงทุนต่างประเทศดังกล่าว โดยจะบังคับใช้สำรองเงินนำเข้าที่เกินกว่า 20,000 ดอลลาร์ต่อรายการ ไม่รวมกลุ่มผู้ส่งออก

"ทั้งนี้มาตรการดังกล่าว เพื่อลดการเก็งกำไรระยะสั้น และลดความผันผวนของตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเนื่องจากในช่วงเดือนธันวาคม มีเงินระยะสั้นสัปดาห์ละ 950 ล้านดอลลาร์ จากพฤศจิกายน ที่เฉลี่ยสัปดาห์ละ 300 ล้านดอลลาร์ "ดร.ธาริษา กล่าว

เงินบาทยังคงแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่น ซึ่งเป็นการปรับตัวแข็งค่าขึ้นถึง 16% เมื่อเทียบกับช่วงต้นปีที่ผ่านมา และเป็นการปรับแข็งค่ามากสุดในรอบ 9 ปี จากเงินทุนต่างประเทศที่ไหลเข้ามาเก็งกำไรค่าเงินบาท เพราะมีการขายเงินดอลลาร์สหรัฐในตลาดเพื่อแลกเป็นเงินบาทจำนวนมาก ทำให้ ธปท.จำเป็นต้องประกาศมาตรการเพิ่มเติมในการดูแลค่าเงินบาทเพื่อลดการเก็งกำไรในช่วงเย็นวันนี้ (18 ธ.ค.)

โดยค่าเงินบาทเช้าวันนี้ เปิดตลาดที่ 35.11-35.16 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นจากอัตราปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาซึ่งอยู่ที่ 35.24-35.26 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ท่ามกลางการซื้อขายที่เข้ามาอย่างต่อเนื่อง และเคลื่อนไหวแข็งสุดที่ระดับ 35.06 บาทต่อดอลลาร์ เมื่อเวลา 10.00 น.

อย่างไรก็ตามหลังมีข่าวว่า ธปท.จะแถลงมาตรการ ส่งผลให้ค่าเงินบาท อ่อนค่าลงก่อนที่จะปิดตลาดที่ 35.34 บาทต่อดอลลาร์

สำหรับมาตรการของธปท. มีรายละเอียดดังนี้ :

ในช่วงที่ผ่านมา พบว่ายังคงมีเงินทุนนำเข้าระยะสั้นเพื่อเก็งกำไรในค่าเงินบาทในรูปแบบต่าง ๆ ทำให้ค่าเงินบาทยังคงผันผวนและแข็งค่าขึ้นเกินกว่าพื้นฐานเศรษฐกิจของประเทศ จึงเห็นควรมีมาตรการ เพิ่มเติมโดยกำหนดให้สถาบันการเงินที่รับซื้อหรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินบาท ต้องกันเงินสำรองเป็นเงินตราต่างประเทศไว้จำนวนร้อยละ 30 ของเงินตราต่างประเทศดังกล่าว ส่วนที่เหลือร้อยละ 70 ให้รับซื้อหรือแลกเปลี่ยนเป็นเงินบาทให้แก่ลูกค้า ยกเว้นเงินตราต่างประเทศที่รับซื้อ หรือแลกเปลี่ยนเป็น เงินบาทที่ได้รับจากค่าสินค้า บริการ หรือเงินที่บุคคลหรือนิติบุคคลไทยได้รับคืนจากการลงทุนในต่างประเทศ ไม่ต้องกันเงินไว้ตามมาตรการนี้ โดยมีรายละเอียดและวิธีปฏิบัติดังนี้

1. ลูกค้าที่สถาบันการเงินกันเงินไว้จะขอคืนเงินได้ เมื่อครบกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ถูกกันเงิน โดยลูกค้าต้องแสดงเอกสารหลักฐานให้ชัดเจนว่าเงินที่ตนนำเข้ามาลงทุนนั้นอยู่ในประเทศไม่น้อยกว่า 1 ปี

2. เมื่อสถาบันการเงินพิสูจน์และรับรองแล้วว่าลูกค้ารายนั้นมีการนำเข้าเงินทุนและอยู่ในประเทศไม่น้อยกว่า 1 ปีแล้ว ให้แจ้ง ธปท. เพื่อดำเนินการส่งเงินให้สถาบันการเงินคืนแก่ลูกค้าต่อไป

3. ลูกค้ารายใดนำเงินลงทุนกลับคืนก่อนครบระยะเวลา 1 ปี จะได้รับเงินคืนเพียง 2 ใน 3 ของเงินที่กันไว้

4. ธุรกรรมเงินตราต่างประเทศที่สถาบันการเงินต้องปฏิบัติตามสัญญาการรับซื้อหรือ แลกเปลี่ยนเป็นเงินบาทที่ได้ตกลงก่อนวันที่ 19 ธันวาคม 2549 ให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องกันเงินตราต่างประเทศดังกล่าว

5. สำหรับธุรกรรมเงินตราต่างประเทศที่เป็นการลงทุนโดยตรง (Foreign Direct Investment) ที่เป็นส่วนของทุน หรือเงินโอน ให้ลูกค้าผู้ถูกกันเงินยื่นคำร้องผ่านสถาบันการเงินพร้อมเอกสารหลักฐาน เมื่อสถาบันการเงินพิสูจน์และรับรองความถูกต้อง และ ธปท. เห็นสมควร จะคืนเงินดังกล่าวแก่ลูกค้าโดยเร็ว

6. เมื่อสถาบันการเงินกันเงินดังกล่าวแล้ว ให้นำส่งแก่ ธปท. ทุกวันที่ 7 ของเดือนถัดไป

7. ผลประโยชน์ที่ ธปท. ได้จากมาตรการนี้จะดูแลเพื่อใช้เป็นประโยชน์ของรัฐและสาธารณชนต่อไป
 
มาตรการที่กำหนดให้ต้องดำรงเงินสำรองเงินทุนระยะสั้นจากต่างประเทศ ที่ออกเพิ่มเติมในวันนี้ เคยใช้มาแล้วในหลายประเทศในภาวะที่จำเป็น เพื่อควบคุมการนำเข้าเงินทุนระยะสั้น และ ธปท. เห็นว่า เป็นมาตรการที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันเพื่อป้องกันการเก็งกำไรค่าเงินบาท ธปท. จะได้ติดตาม และประเมินผลของมาตรการอย่างใกล้ชิดต่อไป

http://www.bangkokbiznews.com/viewNews.jsp?newsid=140709
นักเก็งกำไรค่าเงินเจอแบงค์ชาติ ใช้ไม้แข็งแล้ว 
บันทึกการเข้า

"ประชาชน อย่าทิ้งประเทศชาติ"
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #4 เมื่อ: 18-12-2006, 23:31 »

คอยดูกันว่า อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท จะอ่อนค่าลงถึง 36.00 บาทภายในสิ้นเดือนนี้หรือไม่ Question

บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #5 เมื่อ: 19-12-2006, 21:23 »

สัญญานเตือนมีมานานแล้ว  แต่มันเป็นปัญหาของกลุ่มทุนนิยม ซึ่งพินาศได้เร็วเท่าไหร่ ประเทศไทยจะเจริญเร็วขึ้นเท่านั้น

โสน้าหน้า

 

พอเพียง ประหยัด อดทน

คาถาที่จะทำให้ร่ำรวย ไม่ต้องโลภไปเล่นหุ้น ไม่ต้องซื้อหวยใต้ดิน

รู้จักพอ รู้จักธรรม

ตลาดลักทรัพย์มันจะพัง ก็ไม่เดือดร้อนค่ะ   
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: