ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
28-03-2024, 19:47
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ตุลาการภิวัฒน์สร้างปัญหา - ณี่ปุ่นขอไม่ขึ้นศาลไทย 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: 1 [2]
ตุลาการภิวัฒน์สร้างปัญหา - ณี่ปุ่นขอไม่ขึ้นศาลไทย  (อ่าน 3401 ครั้ง)
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #50 เมื่อ: 24-12-2006, 20:31 »

คำว่าตุลาการภิวัฒน์เป็นคำใหม่ในสังคมไทย
โดยนักวิชาการจุดประเด็นขึ้นมาเพียงแค่เหตุการณ์ที่ศาลมา
แก้ปัญหาการเมืองเท่านั้น  ผมพิจารณาดูแล้วคงมีแต่กรณีที่
ที่ศาลออกมาพูดกดดันให้กกต.ลาออกเท่านั้นที่ดูเหมือนศาล
ยุติธรรมจะยุ่งเกี่ยวกับการเมือง
ส่วนการพิจารณา พิพากษา
จำคุกกกต. ก็ล้วนเป็นไปตามกฏหมาย ตามลักษณะความ
ร้ายแรงและความเสียหายจากการกระทำความผิด ซึ่งก็เป็น
ไปตามตัวบทกฏหมายล้วนๆ หาใช่เป็นการตีความยืดหยุ่น
ยึดหลักรัฐศาสตร์ อันเป็นลักษณะของตุลาการภิวัฒน์ดังที่
จขกท.อ้างไม่ และ

ข้อความโดย: ลุงม้วน ok.


คุณ"ลุงม้วน ok. ครับ

เมื่อหลายเดือนก่อน ศาลแพ่ง/ศาลอาญา ได้พิพากษาคดีเงินกู้จากสถาบันการเงินกลุ่ม"เงินด่วน"
ที่มีดอกเบี้ยมหาโหด และ เงื่อนไขซ่อนเร้น บังคับ ผูกพันอย่างมาก....

ศาลฯไม่ยอมพิพากษาตามเงื่อนไขและกติกาของสถาบันการเงินกลุ่ม"เงินด่วน" ตามเคยที่ศาลฯ เคยพิพากษามาแล้ว นับเป็น "ตุลาการภิวัฒน์" ระยะเริ่มต้นได้เหมือนกัน....
บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
ooo
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 670


« ตอบ #51 เมื่อ: 24-12-2006, 21:31 »

     ท่านปุครับ...คดีที่ท่านว่าน่าจะเป็นคดีของศาลแขวงเชียงใหม่
และศาลแขวงแห่งหนึ่งในกรุงเทพซึ่งผมจำไม่ได้ว่าศาลใด และเป็น
เรื่องที่สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารไปคิดผลประโยชน์จากผู้กู้เกิน
กว่าร้อยละ15ต่อปี ซึ่งศาลตีว่าผลประโยชน์ดังกล่าวคือดอกเบี้ยเมื่อ
เกินร้อยละ15ต่อปี ซึ่งในขณะนั้นยังไม่ได้รับอนุญาติจากธนาคารแห่ง
ประเทศไทยดอกเบี้ยจึงเป็นโมฆะ ก็เป็นเรื่องการตีความกฏหมายธรรมดา
และเป็นไปตามกฏหมายครับ

     อันที่จริงคดีประเภทนี้เข้าสู่ศาลได้ไม่นานและจำเลยมักไม่เข้ามาสู้คดี
นักกฏหมายเรียกว่าคดีฝ่ายเดียว ซึ่งส่วนใหญ่โจทก์มักจะชนะคดี เพราะได้
ชกข้างเดียวโดยจำเลยไม่มาต่อสู้ด้วย แต่ถ้าจำเลยเข้ามาสู้คดี เข้ามาต่อสู้
ด้วยอย่างกรณีนี้จำเลยแค่ต่อสู้ว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยเกิน15%ต่อปีศาลคงจะ
พิพากษาให้จำเลยชนะคดีเหมือนอย่างที่เราได้ยินกันมา

     ผมว่าจากกรณีดังกล่าวยังไม่น่าเรียกว่าตุลาการภิวัฒน์ แต่จะว่าไปแล้ว
ผมคุยเรื่องตุลาการภิวัฒน์มา ก็พอเดาๆว่าตุลาการภิวัฒน์ หมายถึงอะไรได้
แต่ไม่รู้จริงๆว่า คำจำกัดความจริงๆมันคืออะไร ใครรู้ช่วยบอกที...
บันทึกการเข้า
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #52 เมื่อ: 24-12-2006, 22:05 »


คุณ"ลุงม้วน ok."ครับ....
 
 ผมว่าจากกรณีดังกล่าวยังไม่น่าเรียกว่า ตุลาการภิวัฒน์แต่จะว่าไปแล้ว
ผมคุยเรื่องตุลาการภิวัฒน์มา ก็พอเดาๆว่าตุลาการภิวัฒน์ หมายถึงอะไรได้
แต่ไม่รู้จริงๆว่า  คำจำกัดความจริงๆมันคืออะไร ใครรู้ช่วยบอกที...


ผมเข้าใจว่าผู้พิพากษาที่เป็น"ตุลาการภิวัฒน์" นั้นพิจารณาคดีรอบคอบ รอบข้าง ข้อเท็จจริง มากกว่า "ตัวอักษร" ในกฏหมายต่าง ๆ เช่น คดีข้างบนนี้ ก็ไม่ได้พิจารณาตามที่ตำรวจหรืออัยการ "ป้อน"มาให้เหมือนก่อนหน้านี้
ซึ่งจำเลย หรือ ลูกหนี้ สู้หรือไม่สู้ ก็แพ้ทุกครั้ง เพราะข้อตกลง ข้อสัญญานั้นล่างโดยนักกฏหมาย ไม่ใช่ลูกหนี้....





บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
ooo
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 670


« ตอบ #53 เมื่อ: 24-12-2006, 22:56 »

    ท่านปุครับ...

คดีที่เราพูดถึงเป็นคดีแพ่ง ตำรวจหรืออัยการไม่เกี่ยวครับ
และการตัดสินคดีดังกล่าวผมเห็นว่าเป็นการตัดสินโดยยึด
หลักกฏหมายแน่นอน เป็นการตัดสินตามตัวอักษร ไม่ได้
พลิกแพลงอย่างใด ข้อเท็จจริงในคดีดังกล่าวค่อนข้างชัดเจน
ว่าโจทก์ไม่ใช่ธนาคาร จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยเกิน15%
ต่อปี แม้สถาบันต่างๆเหล่านี้จะระบุในสัญญาว่าคิดดอกเบี้ย
เพียงร้อยละ12ต่อปีแต่เลี่ยงไปเก็บผลประโชน์อย่างอื่นอีก
เช่นเก็บค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินอีกร้อยละ1ต่อเดือน ซึ่ง
ศาลได้แปลสัญญาว่าค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินแท้จริง
ก็คือดอกเบี้ยนั่นเอง ซึ่งเมื่อคิดรวมกับดอกเบี้ยร้อยละ12ต่อปี
จะเท่ากับอัตราร้อยละ24ต่อปีซึ่งเกินกว่าร้อยละ15ต่อปี
ดอกเบี้ยจึงเป็นโมฆะตาม พรบ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ
เป็นการตัดสินตามกฏหมายครับ และก็ไม่ใช่เป็นการตัดสิน
แบบกลับหลักหรอกครับ เพราะสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร
ดังกล่าวเพิ่งจะเกิดมีขึ้นในประเทศไทยคดีประเภทดังกล่าวเพิ่ง
จะเข้าสู่ศาลได้ไม่นานนัก

     ส่วนข้อตกลง หรือข้อสัญญาที่เจ้าหนี้เป็นผู้ร่าง ลูกหนี้ทำอะไร
ไม่ได้ ได้แต่จำยอมลงชื่อไป ก็มีพรบ.ว่าด้วยสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
ให้อำนาจศาลที่จะเพิกถอนสัญญาที่ไม่เป็นธรรมนั้นได้ ก็เป็นไป
ตามที่ตัวบทกฏหมายให้อำนาจไว้ ผมคิดว่าคงจะไม่เกี่ยวกับกระบวน
ตุลาการภิวัฒน์หรอกครับ...
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
    กระโดดไป: