ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
28-03-2024, 15:46
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  == ก้าวไปให้ไกลกว่าการเมืองไทยแค่การเลือกตั้งกับอำนาจรัฐประหาร == 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
== ก้าวไปให้ไกลกว่าการเมืองไทยแค่การเลือกตั้งกับอำนาจรัฐประหาร ==  (อ่าน 716 ครั้ง)
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« เมื่อ: 11-12-2006, 20:23 »

ไปเจอบทความนี้มีเนื้อหาเข้าท่าดี เอาไปลงที่ WOM ก่อนเมื่อ 8/12/49 เพราะไม่แน่ใจว่า Serithai สบายดีหรือยัง
และนำลงที่ tmctoday พร้อมกันไปด้วย จนมาถึงวันนี้ลองเอามาลงเสรีไทยบ้างหวังว่าคงสบายดีแล้วนะครับ

คิดว่าบทความนี้เหมาะกับทุกฝ่ายนะครับ ไม่ว่าจะ Pro ใคร หรือ Anti ใคร   ลองอ่านดูนะครับ เสียดายที่ผู้เขียน-
อธิบายหลายๆ จุดน้อยไปสักหน่อย แต่ก็ยังพอให้คิดตามต่อยอดไปได้หลายประเด็นครับ  Smile

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ก้าวไปให้ไกลกว่าการเมืองไทยแค่การเลือกตั้งกับอำนาจรัฐประหาร
ชัชวาลย์  ทองดีเลิศ , วิทยาลัยการจัดการทางสังคม
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ไม่มีครั้งใดที่ปัญญาชนและขบวนประชาธิปไตยเห็นพิษภัยของกลุ่มทุนขนาดใหญ่ยึดกุมอำนาจ ยึดกุมประเทศ 
ควบคุมกลไกทุกอย่างไว้ในมือ แล้วแสวงหาผลประโยชน์กันอย่างสนุกมือ พร้อม ๆ กับการสร้างฐานคะแนนทาง-
การเมืองผ่านนโยบายประชานิยมจนคนยากคนจนรอคอยและหวังพึ่งพากันหนักหนาเหมือนติดยาเสพติด

ปัญญาชน ขบวนการประชาธิปไตยได้มีการเคลื่อนไหว กดดัน ขับไล่ทุนนิยมเผด็จการมาอย่างยาวนาน
แต่ก็ไม่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้

และแล้วก็มาถึงจุดจบโดยการรัฐประหารยึดอำนาจด้วยปลายกระบอกปืน ที่ปัญญาชนและขบวนประชาธิปไตย
เคยต่อสู้เรียกร้องโค่นล้มเสียเลือดเสียเนื้อมาแล้ว 8 ครั้ง 8 ครา แน่นอนผลที่ได้ก็คือการล้มกลุ่มนายทุนการเมือง
ออกไป แต่ของแถมที่ได้มานั้นก็แสนหนักหนา รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนปี 2540 ถูกฉีกทิ้ง และสิทธิ เสรีภาพ
ของประชาชนก็ถูกจำกัดลง

อย่างที่สังคมได้มีการถกเถียง วิพากษ์วิจารณ์กันมาพอควรแล้ว ทั้งเผด็จการนายทุนที่มาจากการเลือกตั้ง
และเผด็จการที่มาจากกระบอกปืน ประเด็นที่สำคัญก็คือสังคมไทยจะก้าวไปให้ไกลกว่าการเมืองที่เป็นอยู่ได้อย่างไร?

ประชาธิปไตยที่ติดอยู่แค่การเลือกตั้ง ถึงเวลาประชาชนเจ้าของอธิปไตยก็ไปเลือกตั้ง หย่อนบัตร แล้วก็มารอดู
ผู้แทนของตัวเองแสดงบทบาททางการเมืองตามที่พรรคและนายทุนพรรคกำกับ กอบโกยประโยชน์กันอย่าง
เป็นล่ำเป็นสัน เป็นการสร้างสวรรค์ของคนกลุ่มน้อย


นับเป็นการหนีเสือปะจระเข้ของสังคมไทยโดยแท้

เช่นเดียวกันกับการรัฐประหาร เมื่อยึดอำนาจได้แล้วก็เช็คบิลกลุ่มที่เคยมีอำนาจอยู่เดิม
แล้วก็สร้างอำนาจของคนกลุ่มใหม่ เอาไปเอามาก็เป็นเรื่องวังวนอำนาจของคนกลุ่มน้อยอีกเช่นเดิม


ประชาชนคนส่วนใหญ่ของประเทศก็ได้แต่มองดูกลเกมแห่งอำนาจครั้งแล้วครั้งเล่า
เหมือนดูหนังเรื่องเดิม ๆ ซ้ำ ๆ อยู่ 9 ครั้งแล้ว


การที่จะข้ามวังวนอำนาจแบบเดิม ๆ จำเป็นที่จะต้องสร้าง “จินตนาการทางการเมืองกันใหม่”
มิใช่อยู่แค่การร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตยแล้วก็ไปจบเพียงแค่รูปแบบการเลือกตั้ง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง
สร้างการเมืองของคนส่วนใหญ่ให้เป็น “การเมืองเพื่อสังคม”


ในสังคมที่มีระบอบประชาธิปไตยเข้มแข็งนั้น จะต้องมีฐานการเมืองท้องถิ่นที่เข้มแข็ง
ประชาชนท้องถิ่นสามารถดูแลปกครองท้องถิ่นตนเองได้อย่างดี

สำหรับสังคมไทย มิได้ให้ความสำคัญต่อการเมืองชุมชน การเมืองท้องถิ่นอย่างแท้จริง ยังมีการปกครองที่รวม
ศูนย์อำนาจอยู่ที่ส่วนกลาง จากคณะรัฐมนตรี ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน รับนโยบายลงมา
เป็นลำดับชั้นจากบนลงล่างตลอดเวลา

 การปกครองท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ยังอยู่ภายใต้
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การรับปลัดฯ ก็รับจากส่วนกลาง นายอำเภอ ผู้ว่า ยังมีสิทธิในการยุบองค์กร
ปกครองท้องถิ่น บัญญัติท้องถิ่นทั้งหลายที่จะออกมาได้นั้นต้องไม่ขัดกับกฎหมายที่มีมาอยู่แล้ว ระบบงบประมาณ
ก็เป็นแบบราชการ ต้องผ่านการตรวจสอบจากสตง.

ระบบที่เป็นอยู่แบบนี้ไม่มีทางเลยที่จะสร้างความเข้มแข็งชุมชนและองค์กรปกครองท้องถิ่น นี่ยังไม่รวม
การแทรกแซงและการอุปถัมภ์ของกลุ่มนักการเมืองและนายทุนภายนอกอีก  ที่ต้องการหวังผลประโยชน์
ทางการเมืองและประโยชน์ทางธุรกิจของตน

การมีทั้งการปกครองส่วนภูมิภาคที่ถูกควบคุมโดยระบบราชการจากส่วนกลางมาอย่างยาวนาน แม้จะพัฒนา
มาสู่การปกครองท้องถิ่น ก็มีกฎหมายที่ควบคุมให้อยู่ในกรอบอย่างน้อย 7 ฉบับ ดูไปแล้วประชาชน
เป็นผู้ถูกปกครองมากกว่าการปกครองตนเอง ตรงนี้เองที่ทำให้การมีส่วนร่วมทางการเมืองและการพัฒนา
ประชาธิปไตยของคนส่วนใหญ่จึงมีข้อจำกัด

สิ่งที่ขบวนประชาธิปไตยมองข้ามก็คือ การเมืองของชุมชนคนฐานรากนั้นอยู่ในกระบวนการของวิถีชีวิต
และวัฒนธรรมชุมชน มิใช่เป็นการเมืองแบบส่วนบุคคลตามแบบแผนประชาธิปไตยของตะวันตก


กระบวนการชุมชนนั้น ผู้นำถือเป็นบุคคลของชุมชน ชุมชนจะมีกระบวนการคัดสรร สรรหาผู้นำที่เป็นคนดี
มีคุณธรรม ซึ่งผู้นำที่เป็นคนดีมีคุณธรรมจะไปกันไม่ได้กับการลงสมัคร หาเสียง โฆษณาตัวเองแล้วให้คนมาเลือก
ถือเป็นการอวดอุตริมนุษยธรรม

การมีกระบวนการสรรหาของชุมชน แล้วจึงไปขอมาเป็นผู้นำ ชุมชนจะให้การสนับสนุนผู้นำอย่างเต็มที่
ขณะที่ผู้นำก็รู้สึกมีคุณค่า ทำงานร่วมกันอย่างดี ถ้าทำไม่ดี ชุมชนก็จะมีการวิพากษ์วิจารณ์ ถ้าไม่ฟัง
ชุมชนก็จะมีการถอดถอนหรือไล่ออก มีสภาผู้อาวุโส หรือสภาผู้นำคอยดูแล ตรวจสอบการทำงาน
ของผู้นำให้อยู่ในวิถีคุณธรรม

ประชาธิปไตยจึงมิใช่เพียงแค่การเลือกตั้ง แต่หมายถึงกระบวนการมีส่วนร่วมของคนทั้งชุมชนในการเลือก
ผู้นำที่มีคุณธรรมขึ้นมาดูแลท้องถิ่น พร้อม ๆ กับมีคณะผู้อาวุโสและผู้นำด้านต่าง ๆ คอยดูแลตรวจสอบ
มีการวางแผนชุมชนในการดูแล ปกครอง จัดการตนเองทั้งระบบ

มองในระดับที่ใหญ่ขึ้นในระดับจังหวัด ต้องมีตัวแทนชุมชนมาในรูปของสภาผู้นำในระดับจังหวัด มีส่วนในการ
วางแผนพัฒนาจังหวัด มิใช่มีเพียงผู้ว่าฯซีอีโอ สภาหอการค้า สภาอุตสาหกรรม และสมาคมธุรกิจท่องเที่ยว
แต่เป็นสภาที่ให้คนฐานรากมีส่วนร่วมกำหนดทิศทางการพัฒนาจังหวัดของตนเองได้  แล้วค่อย ๆ ออกแบบ
วุฒิสมาชิก อาจเลือกจากสภาผู้นำระดับจังหวัดและผู้ทรงคุณธรรม คุณวุฒิในจังหวัด ซึ่งไม่ควรเป็นไป
ในระบบการเลือกตั้งแบบครั้งที่ผ่านมา

ส่วน สส. อาจยังเป็นระบบเลือกตั้งที่มาจากระบบพรรคการเมืองและผู้สมัครอิสระ จำเป็นต้องทำให้การ
จดทะเบียนพรรคการเมืองง่ายขึ้นและผู้สมัครใช้เงินทุนน้อย ประชาชนคนเล็กคนน้อยก็สามารถสร้าง
พรรคการเมืองและสามารถลงสมัครได้

นอกจากนั้น ควรมีสภาผู้นำชุมชนในระดับชาติ สภาประชาชนระดับชาติที่คอยช่วยดูแล ตรวจสอบ
ถ่วงดุลการทำงานของรัฐบาล สภานิติบัญญัติ และองค์กรอิสระต่าง ๆ ด้วย เป็นการเปิดพื้นที่การเมือง
ภาคประชาชนอย่างแท้จริง

ช่วยกัน “จิตนาการการเมืองใหม่” ให้ก้าวพ้นการเลือกตั้งแบบเดิมกับการรัฐประหารแบบเก่า
แล้วสร้างขบวนการปฏิรูปสังคมและการเมืองในระดับรากฐาน และร่วมกันร่างรัฐธรรมนูญนำไปสู่การ
เปลี่ยนแปลงจากการเมืองของคนส่วนน้อยมาเป็นการเมืองเพื่อคนส่วนใหญ่ได้อย่างแท้จริง.

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
http://www.politic.tjanews.org/index.php?option=com_content&task=view&id=196&Itemid=31
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11-12-2006, 20:28 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
mini
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 407


« ตอบ #1 เมื่อ: 12-12-2006, 22:08 »

เท่าที่อ่านคร่าวๆ ผมเห็นด้วยเลยครับ
รัฐบาลเอง ต้องพยายามเลิกจัดระเบียบนู่นนี่ซักที
ปล่อยให้แต่ละคนเลิกในสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับตัวเอง โดยไม่ไปละเมิดคนอื่นก็พอ
เรียกง่ายๆว่า แค่เป็นผู้คุมกฎ ไม่ต้องมาเป็นผู้เล่น
บันทึกการเข้า
stromman
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 526



« ตอบ #2 เมื่อ: 13-12-2006, 11:57 »

อืม ถ้าผู้นำคิดถึงประชาชนเสมอ ไม่เอาผลประโยชน์ของตัวเองเป็นที่ตั้ง ดูในหลวงอันเป็นที่รักยิ่งของพวกเราเป็นตัวอย่าง แล้วดำเนินการบริหารประเทศตามแนวทางของพระองค์ท่าน รวมถึงประชาชน ศึกษาให้เข้าใจในปรัชญาที่พระองค์ท่านทรงให้เป็นแนวทางไว้แล้วน้อมนำมาปฏิบัตกันให้ได้ ประเทศไทยคงมีแต่ความสงบสุข ฝันว่าซักวันคงเป็นเช่นนั้นจริงๆนะครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: