ไหนๆ ช่วงนี้ก็มีกระบวนการตรวจสอบทุจริต การดำเนินงานของรัฐบาลชุดที่แล้ว
กันอย่างคึกคัก แต่มีอยู่เรื่องหนึ่งที่คาใจของผมเองมาเป็นแรมปี และเท่าที่ทราบ
จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีการกล่าวถึงจากฝ่ายตรวจสอบใดๆ ทั้งสิ้น
ก็เลยอยากชวนพวกเราที่นี่ พูดคุยพิจารณากันอีกสักหัวข้อหนึ่งครับ..
...
ตามที่รัฐบาลทักษิณก่อนการเลือกตั้ง เม.ย.49 ได้ตัดสินใจใช้เงินกองทุนน้ำมันตรึง-
ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งมีผลต่อคะแนนเสียงเลือกตั้งของพรรคไทยรักไทยโดยตรง
โดยอ้างขณะนั้นว่าราคาน้ำมันจะสูงอยู่เพียงชั่วระยะเวลาหนึ่ง และหากไม่ตรึงราคา
จะเกิดผลกระทบกับค่าครองชีพของประชาชน และต้นทุนของภาคธุรกิจ แต่หลังจาก
เวลาผ่านไปเกือบ 1 ปี ราคาน้ำมันก็พุ่งสูงอย่างต่อเนื่องไม่มีแนวโน้มที่จะลดลง
เป็นที่ยอมรับกันว่าการตรึงราคาครั้งนั้นเป็นการตัดสินใจผิดพลาดของรัฐบาล ที่เกิด
ผลกระทบต่อโครงสร้างเศรษฐกิจอย่างกว้างขวาง เพราะทำให้ภาคประชาชนและ
ภาคธุรกิจต่างๆ ไม่เกิดความตระหนักรับรู้ในราคาทุนน้ำมันที่แท้จริง มีการระดมซื้อ
รถกระบะใหม่ที่ใช้น้ำมันดีเซลกันเป็นจำนวนมากหลายแสนคัน ทำให้เร่งการใช้น้ำมัน
ดีเซลหนักขึ้นไปอีก ทำให้กองทุนฯ เกิดความเสียหายอย่างหนักกว่า 8 หมื่นล้านบาท
และรัฐบาลจำเป็นต้องประกาศยกเลิกการตรึงราคาในที่สุด
และเป็นที่น่าสังเกตว่า
ในการยกเลิกการตรึงราคารัฐบาลให้เหตุผลว่าราคาน้ำมันที่จะปรับตัวสูงขึ้นมีผลกระทบ
กับค่าครองชีพของประชาชน และต้นทุนของภาคธุรกิจเพียงเล็กน้อย ถ้าเป็นแบบนั้นแล้วที่ผ่านมาตรึงราคาจนเสียหายหลายหมื่นล้านทำไม.. ![](http://oldforum.serithai.net/Smileys/default/slime_doubt.gif)
ความเสียหายครั้งนั้นยังส่งผลกระทบมาจนถึงปัจจุบัน ที่ทำให้ราคาน้ำมันไม่สามารถ
สะท้อนราคาแท้จริงตามตลาดโลกได้ เนื่องจากติดภาระใช้หนี้คืนให้กองทุนน้ำมันฯ
ในที่สุดกลายเป็นทำให้ภาคธุรกิจเสียโอกาสในการแข่งขันกับต่างประเทศ
...
การดำเนินนโยบายที่ผิดพลาดครั้งนี้ น่าจะสามารถเปรียบเทียบได้กับการตัดสินใจ
ตรึงค่าเงินบาทของธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนวิกฤติเศรษฐกิจ 2540 ซึ่งต่อมา
ยอมรับกันว่าเป็นการตัดสินใจทางนโยบายที่ผิดพลาด จนเกิดความเสียหายนับหมื่น-
นับแสนล้าน และความเสียหายครั้งนั้นยังต้องใช้ดอกผลจากเงินสะสมของประเทศ
ตัดชำระไปอีกยาวนานนับสิบปี เรื่องนี้มีการฟ้องร้องดำเนินคดีจนศาลแพ่งตัดสินให้
อดีตผู้ว่าการ ธปท. ต้องชดใช้ความเสียหายเป็นเงินกว่า 1.8 แสนล้านบาท พร้อมทั้ง
ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี คาดว่าคดียังมีการต่อสู้กันต่อในชั้นอุทธรณ์
แม้จะมีการกล่าวกันว่านายเริงชัยเป็นแพะรับบาป แต่อย่างน้อยก็มีการดำเนินคดี
หาตัวผู้รับผิดชอบ ในขณะที่ความเสียหายที่เกิดกับกองทุนน้ำมันถึง 8 หมื่นล้าน
ซึ่งเป็นเงินจำนวนมหาศาล (ลองคิดดูว่าถ้าไม่เสียหายไป เงิน 8 หมื่นล้านจะเอาไป
ทำอะไรได้บ้าง) กลับไม่มีการหาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ
มีใครตอบได้บ้างครับว่าทำไมกรณีตรึงค่าเงินบาทมีการดำเนินคดี แต่การตรึงราคา
น้ำมันซึ่งมีความคล้ายคลึงกันกลับไม่มีการดำเนินการใดๆ เพื่อหาตัวผู้รับผิดชอบ?