ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
09-01-2025, 01:36
378,182
กระทู้ ใน
21,926
หัวข้อ โดย
9,412
สมาชิก
สมาชิกล่าสุด:
MAN4U
หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ปฏิทิน
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)
|
ทั่วไป
|
สภากาแฟ
|
"สิทธิชัย"เล็งรื้อสัมปทานดาวเทียมไทยคม
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า:
[
1
]
ส่งหัวข้อนี้
พิมพ์
"สิทธิชัย"เล็งรื้อสัมปทานดาวเทียมไทยคม (อ่าน 991 ครั้ง)
taworn09220
ขาประจำ
ออฟไลน์
กระทู้: 302
"สิทธิชัย"เล็งรื้อสัมปทานดาวเทียมไทยคม
«
เมื่อ:
11-10-2006, 11:59 »
"สิทธิชัย"เล็งรื้อสัมปทานดาวเทียมไทยคม
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 11 ตุลาคม 2549 09:50 น.
สิทธิชัย โภไคยอุดม รมว.ไอซีทีคนใหม่ เตรียมเข้ากระทรวง 12 ต.ค. นี้ เล็งปรับแผนแม่บทไอซีทีใหม่ให้ทัดเทียมประเทศเพื่อนบ้าน ดึงนักวิชาการ วิศวกร ตั้งเป็นทีมที่ปรึกษา ส่วนโครงการจัดซื้อบัตรสมาร์ทการ์ด เตรียมทบทวนใหม่ ยุติการจัดซื้อวิธิพิเศษ ตรวจสอบสัมปทานดาวเทียมไทยคม ไม่อยากให้เสียเปรียบต่างชาติ
นายสิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีว่า นโยบายในส่วนที่มอบหมายหรือเรื่องเร่งด่วนให้กระทรวงไอซีทีดำเนินการ ทางพล.อ.สุรยทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ยังไม่ได้มอบหมายออกมาเฉพาะ โดยที่ประชุมมีเพียงกรอบนโยบายหลักการบริหารของคณะรัฐมนตรี ซึ่งคาดว่าในสัปดาห์หน้านายกรัฐมนตรีจะมอบหมายแนวทางของแต่ละกระทรวงออกมาอย่างชัดเจน
ส่วนการเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ รมว.ไอซีที วันแรก ตนจะเดินทางเข้าทำงานพร้อมเข้าสักการะสิ่งศักสิทธิ์ตั้งแต่ช่วงเช้าของวันพฤหัสที่ 12 ตุลาคม ส่วนสาเหตุที่เลือกเข้าไปในวันดังกล่าวเนื่องจากติดภารกิจมอบหมายหน้าที่ให้กับ อธิการบดีใหม่ มหาวิทยาลัยมหานคร และสะสางงานส่วนตัวให้เรียบร้อย ก่อนที่จะเข้ามาทำหน้าที่ เป็น รมว.ไอซีที
อย่างไรก็ตามตนได้หารือกับนายไกรสร พรสุธี ปลัดกระทรวงไอซีที เพื่อรับทราบข้อมูลการบริหารงานราชการ และนโยบายของคณะรัฐมนตรีในชุดที่ผ่านมา รวมถึง ปัญหาด้านการทำงาน เพื่อที่จะสามารถเข้ารับช่วงต่อหรือแก้ไขได้ทันที โดยเฉพาะเรื่องปัญหาการจัดหาบัตรประชาชนอเนกประสงค์(สมาร์ทการ์ด) ที่จะต้องเร่งดำเนินการจัดหาให้มหาดไทย เพื่อทำการออกบัตรให้ประชาชนได้ ซึ่งในขณะนี้จากที่รับทราบข้อมูลเบื้องต้น บัตรได้อยู่ในภาวะขาดแคลน ไม่สามารถออกบัตรให้กับประชาชนได้
เรื่องสำคัญเร่งด่วนที่สุดในขณะนี้ของกระทรวงไอซีทีก็คือ การจัดหาบัตรสมาร์ทการ์ดที่กระทรวงไอซีทีจะแก้ไขปัญหาอย่างไรในการจัดหาบัตร ถ้าจะมีการเดินหน้าต่อผมจะไม่ให้มีการจัดซื้อพิเศษ ทุกอย่างจะดำเนินการอย่างเร็วที่สุด มีความโปร่งใส ชัดเจนในทุกเรื่อง
นอกจากนี้ตนจะเชิญผู้บริหารหน่วยงานทุกสังกัดที่อยู่ภายใต้กระทรวงไอซีที อาทิ สำนักงานสถิติแห่งชาติ บริษัท ทีโอที บริษัท กสทโทรคมนาคม บริษัท ไปรษรีย์ไทย กรมอุตุนิยมวิทยา สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ ซิป้า เข้ามาประชุมเพื่อรับทราบข้อมูล พร้อมปัญหาของการบริหารที่ผ่านมา เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติหน้าที่และการบริหารงานให้เป็นรูปธรรมของแผนพัฒนาไอซีทีของประเทศ ทั้งในแบบระยะสั้น ที่เป็นลักษณะปีต่อปี และแบบระยะยาว ใน5 ปี
จากที่ติดตามผลงานของไอซีที ในช่วงที่ผ่านมา มีหลายเรื่องไม่มีประโยชน์ หรือ ทำออกมาแล้วให้เป็นรูปธรรมจับต้องได้ มีหลายบางจุดต้องปรับแก้ สร้างความชัดเจนให้เป็นรูปธรรมออกมามากว่านี้ ถึงแม้จะมีการเขียนแม่บทออกมาแล้วก็ตาม โดยผมจะเข้าไปดูทุกๆส่วน ทั้งในส่วนของแผนดำเนินงาน แง่กฎหมาย แง่เทคนิค และ กระบวนการ เพื่อให้ทุกอย่างนั้นสามารถเอาไปใช้งานได้จริง ซึ่งประเทศไทยในงานด้านไอซีที ได้ถูกประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ว่ามาเลเซีย เวียดนาม กัมพูชา ลาว แซงหน้าไปแล้ว รมว.ไอซีที กล่าว
ส่วนงานด้านดาวเทียมเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่หลายฝ่ายได้มีการท้วงติง หรือตั้งข้อสังเกต อย่างกรณีเรื่องสัมปทานดาวเทียมไทยคม นายสิทธิชัยกล่าวว่า ในเรื่องนี้ตนจะเข้าไปดูด้วยเช่นกัน โดยอาจจะเข้าไปทบทวนเรื่องสิทธิการบริหารวงโคจรการให้สัมปทาน ซึ่งตนจะมอบหมายให้ทีมที่ปรึกษารมว.ไอซีที ที่ตนได้เชิญนักวิชาการ นักวิศวกร นักกฎหมาย เข้ามาช่วยดูส่วนนี้ด้วย เพื่อให้การบริหารสิทธิที่ไอซีทีดูแลรับผิดชอบอยู่เกิดความชัดเจน นอกเหนือจากการเข้าไปจัดทำแผนแม่บทไอซีที
สำหรับโครงการของกระทรวงไอซีทีซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ หรือ คตส. ได้เข้ามาตรวจสอบอยู่นั้น ตนจะไม่ขอไปก้าวก่ายหน้าที่และให้เป็นหน้าที่ของการตรวจสอบพิจารณา หากเรื่องดังกล่าวมีความผิดจริงก็ว่ากันไปตามข้อเท็จจริง โดยตนจะขอทำหน้าที่ รมว.ไอซีที ให้สมกับที่ทุกฝ่ายได้ไว้วางใจและยอมรับมากที่สุด
รมว.ไอซีที กล่าวอีกว่า คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กทช.) จะเป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่กระทรวงไอซีที จะต้องทำงานควบคู่ด้วย โดยไอซีทีจะเป็นฝ่ายนโยบาย กทช. เป็นผู้อนุมัติ ซึ่งตนจะเข้าไปหารือในการทำงานร่วมกันอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่ได้รับทราบพร้อมกับมอบนโยบายให้กับหน่วยงานในสังกัดเรียบร้อยแล้ว ซึ่งที่ผ่านมาการทำงานระหว่างกระทรวงไอซีที และ กทช. ยังขาดการประสานงานร่วมกัน
พล.อ.ชูชาติ พรหมพระสิทธิ์ ประธาน กทช. กล่าวว่า สิ่งที่อยากให้ กระทรวงไอซีที และรัฐบาล เข้ามาสนับสนุนกิจการโทรคมนาคม ในขณะนี้ คือ เรื่องการเจรจาของส่วนต่างประเทศ ซึ่งที่ผ่านมาเรื่องดังกล่าวได้ผ่านมาหลายรัฐมนตรี ที่กำกับดูแลแล้ว แต่ความคืบหน้าหรือการสนับสนุนจากทางรัฐบาลไม่ได้ให้ความชัดเจนกับเรื่องนี้ จนทำให้ การเจรจา ของ กทช. กับ ต่างประเทศ ไม่สามารถตกลงกันได้
Company Related Links :
ICT
NTC
บันทึกการเข้า
ชอบแถ
ขาประจำขั้นที่ 3
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 3,138
Re: "สิทธิชัย"เล็งรื้อสัมปทานดาวเทียมไทยคม
«
ตอบ #1 เมื่อ:
11-10-2006, 18:27 »
จารย์ เริ่มต้นก็จะล่อผลประโยชน์ทับซ้อนซะแล้ว ดาวเทียมของตัวเองใช้ได้ดีแล้วเหรอ
ระวังป้าย่นนะ
บันทึกการเข้า
Limmy
ขาประจำขั้นที่ 3
ออฟไลน์
กระทู้: 1,346
Re: "สิทธิชัย"เล็งรื้อสัมปทานดาวเทียมไทยคม
«
ตอบ #2 เมื่อ:
11-10-2006, 18:48 »
ดาวเทียมของ ม.มหานครเน้นใช้ในเรื่องการศึกษาครับ ไม่ใช่การทำธุรกิจ
ก็ใช้ได้ดีตามอัตภาพ
วิศวกรโทรคม ฯ บ้านเราก็ลูกศิษย์อาจารย์ทั้งนั้นแหละ เรื่องใจสู้ มือสะอาด ไม่ต้องพูดถึง
บันทึกการเข้า
นทร์
ขาประจำขั้นที่ 3
ออฟไลน์
กระทู้: 7,441
Re: "สิทธิชัย"เล็งรื้อสัมปทานดาวเทียมไทยคม
«
ตอบ #3 เมื่อ:
11-10-2006, 21:44 »
สัมปทานของรัฐ วันดีคืนดีโดนขายให้สิงค์โปร์ ไม่ใช่ของไทยแล้วแล้วจะให้มาใช้ทรัพยากรไทย(วงโคจรดาวเทียม)อีกทำไม... แปลกมาก
บันทึกการเข้า
"ประชาชน อย่าทิ้งประเทศชาติ"
music
image&file
news
ชอบแถ
ขาประจำขั้นที่ 3
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 3,138
Re: "สิทธิชัย"เล็งรื้อสัมปทานดาวเทียมไทยคม
«
ตอบ #4 เมื่อ:
11-10-2006, 21:45 »
คุ้นว่าแกพาพรรคพวกออกจากลาดกระบังไปเริ่มกันใหม่ที่หนองจอกนะ
ส่วนดาวเทียมชื่อไทยพัฒน์ใช่ป่าว มันเก่าไปแล้ว หวังว่าคงไม่มีรายการ
ซุกดาวเทียมดวงใหม่นะ ทีมของอาจารย์แกเก่งขนาดทำดาวเทียมเอง
ได้ไม่ใช่เหรอ
บันทึกการเข้า
ชอบแถ
ขาประจำขั้นที่ 3
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 3,138
Re: "สิทธิชัย"เล็งรื้อสัมปทานดาวเทียมไทยคม
«
ตอบ #5 เมื่อ:
11-10-2006, 21:47 »
อ้างจาก: นทร์ ที่ 11-10-2006, 21:44
สัมปทานของรัฐ วันดีคืนดีโดนขายให้สิงค์โปร์ ไม่ใช่ของไทยแล้วแล้วจะให้มาใช้ทรัพยากรไทย(วงโคจรดาวเทียม)อีกทำไม... แปลกมาก
มันจะไม่แปลกเลยถ้ามันยังเป็นของไทยอยู่ เข้าใจผิดกันไปเองตามสื่อว่าสิงคโปร์ซื้อไปแล้ว
บันทึกการเข้า
Killer
ขาประจำขั้นที่ 3
ออฟไลน์
กระทู้: 3,576
ช๊อบบ ชอบบ...ปฏิวัติ ปลื้ม ค่ะ
Re: "สิทธิชัย"เล็งรื้อสัมปทานดาวเทียมไทยคม
«
ตอบ #6 เมื่อ:
11-10-2006, 21:50 »
เค้าให้มานั่งประดับครม. อย่ากระแดะไปทำอะไรซี้ซั๊วะเล้ยย...
เดี๋ยวจะซวยตามมาไม่รู้จบ ลุงเอ๊ยยย
บันทึกการเข้า
ชอบแถ
ขาประจำขั้นที่ 3
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 3,138
Re: "สิทธิชัย"เล็งรื้อสัมปทานดาวเทียมไทยคม
«
ตอบ #7 เมื่อ:
11-10-2006, 22:04 »
คนเก่งเกินไปมักอยู่ไม่สุข รู้สึกว่าแกจะเฒ่าน้อยเกือบที่สุดนะครับ
บันทึกการเข้า
taworn09220
ขาประจำ
ออฟไลน์
กระทู้: 302
Re: "สิทธิชัย"เล็งรื้อสัมปทานดาวเทียมไทยคม
«
ตอบ #8 เมื่อ:
11-10-2006, 22:21 »
ยื่นกทช.ยกเลิกสัมปทานกลุ่มชิน
(14ก.พ.)สหพันธ์องค์กรผู้บริโภค เดินหน้ายื่นหนังสือ กทช. เลิกสัมปทานกลุ่มชิน ระบุขายหุ้น "เทมาเส็ก" ผิดกฎหมายชัดเจน ขู่ไม่ดำเนินการจะฟ้องศาลปกครอง พร้อมยื่นก.ล.ต. เพิกถอนซื้อ-ขายหุ้นอ้างมิชอบด้วยกฎหมาย จี้เปิดสัญญาดีลยักษ์รายนี้ ด้าน ทีโอที-ไอซีที ประสานเสียง "เอกชน" ไม่ต้องแจ้งเปลี่ยนโครงสร้างผู้ถือหุ้น เหตุไม่ได้ระบุไว้ในสัญญาสามารถเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นหลักได้ แต่ห้ามโอนสิทธิในสัมปทานให้นิติบุคคลอื่น
น.ส.รสนา โตสิตระกูล กรรมการสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคมีสมาชิก 25 องค์กร มีวัตถุประสงค์ใช้สื่อและโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ เปิดเผยว่า วันนี้ (15 ก.พ.) สมาพันธ์จะไปยื่นหนังสือต่อคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เพื่อขอให้เพิกถอนสัมปทานของกลุ่มบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้แก่ สัมปทานโทรศัพท์มือถือของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส สัมปทานดาวเทียมไทยคม ของบริษัท ชิน แซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) และสัมปทานสถานีโทรทัศน์ไอทีวี เนื่องจากการขายหุ้นกลุ่มชินให้กองทุนเทมาเส็กของสิงคโปร์ เป็นการดำเนินการมิชอบด้วยกฎหมายตาม พ.ร.บ.โทรคมนาคม, พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจคนต่างด้าว เรื่องสัดส่วนการถือหุ้นของต่างชาติ ซึ่งการขายหุ้นครั้งนี้ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของต่างชาติเกินกว่ากฎหมายกำหนดไว้ 49% แน่นอน
"การขายหุ้นกลุ่มชิน ทำให้คนต่างชาติเข้ามาถือหุ้นในกิจการที่เป็นสัมปทานของรัฐเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ 49% กรณีเอไอเอสเดิมมีสัดส่วนผู้ถือหุ้นต่างชาติกว่า 10% เมื่อชินขายไปอีก 49% ต่างชาติจึงถือหุ้นเกินแน่นอน และแม้จะอ้างว่าบริษัทที่ซื้อหุ้นครั้งนี้เป็นบริษัทไทย แต่กฎหมายไม่ได้ดูที่การถือหุ้น คณะกรรมการกฤษฎีกาเคยตีความว่า การพิจารณาการเข้าครอบงำกิจการต่างชาติ ไม่ได้ดูที่สัดส่วนถือหุ้นอย่างเดียว แต่ดูที่ทุนและอำนาจการครอบงำกิจการ" น.ส.รสนากล่าว
ดังนั้น องค์กรประชาชน จึงต้องเคลื่อนไหวกดดัน เริ่มที่คณะกรรมการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ในฐานะองค์กรกำกับดูแลกฎหมายโทรคมนาคม ดังนั้น ต้องดำเนินการตามกฎหมาย ถ้าไม่ดำเนินการสหพันธ์จะยื่นฟ้องร้องต่อศาลปกครองต่อไป
ส่วนกรณีสถานีโทรทัศน์ไอทีวีก็เช่นกัน แม้จะยังไม่มีองค์กรกำกับดูแล รวมถึงร่างกฎหมาย พ.ร.บ.การประกอบกิจการวิทยุ-โทรทัศน์ ไม่เสร็จ แต่ถือว่ารัฐธรรมนูญ มาตรา 39 ระบุไว้ชัดเจนว่าเจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อสารมวลชนต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทย ดังนั้น กรณีของไอทีวีเข้าข่ายผิดเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ โดยกลุ่มชินถือหุ้นไอทีวี 53% จึงเท่ากับกลุ่มเทมาเส็กถือหุ้นไอทีวี 53% ซึ่งความเป็นจริงแล้วผิดพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจคนต่างด้าว
เล็งยื่นก.ล.ต.เพิกถอนขายหุ้นชิน
นอกจากนี้ ในสัปดาห์นี้ สหพันธ์จะยื่นหนังสือถึงสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ขอให้เพิกถอนการซื้อ-ขายหุ้นกลุ่มชินเช่นกัน เพราะดำเนินการมิชอบด้วยกฎหมาย รวมทั้งขอให้เปิดสัญญาซื้อ-ขายหุ้นด้วย เพื่อตรวจสอบให้ชัดเจนว่า ปิดบังซ่อนเร้นผลประโยชน์ใดๆ หรือไม่ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ภาคประชาชนต้องการคำตอบ เพราะกิจการที่กลุ่มชินขายไปเป็นกิจการที่ได้จากสัมปทานของรัฐ เป็นสมบัติของชาติที่กระทบต่อประชาชน ดังนั้น จึงเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสร้างความกระจ่างด้วย
หาช่องทางทวงไอทีวีคืน
ส่วนการเคลื่อนไหวเพื่อทวงคืนสถานีไอทีวีนั้น ภาคประชาชนเห็นพ้องว่าการดำเนินการกับสถานีไอทีวีต้องทำลายที่ต้นตอ คือ ระบอบทักษิโณมิกส์ ซึ่งครอบงำสังคมไทยอยู่ขณะนี้ เพราะใช้สื่อเป็นเครื่องมือสร้างอำนาจการเมือง เอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มทุนและพวกพ้อง ดังนั้น หากไม่ทำลายระบอบดังกล่าว ก็ไม่สามารถทำสื่อให้เป็นอิสระได้
"ทุกวันนี้ สังคมไทยอยู่ในขั้นกลียุค ซึ่งเกี่ยวข้องกับสื่อเป็นอย่างมาก เพราะเป็นยุคที่ความจริงเหลือส่วนเดียว อีก 3 ส่วนเป็นเรื่องเท็จ และนำไปสู่การเกิดมิคสัญญี ทุกวันนี้ สังคมมีแต่การเผชิญหน้า ปัญหาความรุนแรง เพราะสื่อนำเสนอความเท็จ รายงานความจริงส่วนเดียว สื่อทำหน้าที่รับใช้ทุนนิยม บริโภคนิยม และเป็นอันตรายอย่างยิ่ง หากสื่อทำหน้าที่เช่นนี้ต่อไป" น.ส.รสนาระบุ
น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) กล่าวว่าภาคประชาชนได้วางแนวทางศึกษาการนำสถานีโทรทัศน์ไอทีวีกลับเป็นของสาธารณชน โดยกำลังปรึกษานักเศรษฐศาสตร์ นักการเงิน ให้หาโมเดลดำเนินการ โดยอาจจะกลับไปสู่เจตนารมณ์เดิมคือ มีผู้ถือหุ้น 10 ราย อย่างไรก็ตาม ภารกิจหลักของภาคประชาชนขณะนี้ คือ ทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ลงจากอำนาจ ประเด็นอื่นๆ จะดำเนินการหลังจากนี้ไป
ทั้งนี้ ฝ่ายวิชาการสายนิเทศศาสตร์ ได้ศึกษารูปแบบใหม่ๆ ในการบริหารกิจการโทรทัศน์ โดยน.ส.วิลาสินี พิพิธกุล ได้พูดถึงรูปแบบของสหกรณ์โทรทัศน์ โดยให้ประชาชนออกเงินซื้อหุ้นสถานีโทรทัศน์ หรือกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ โดยให้ประชาชนร่วมเป็นเจ้าของ แต่ต้องมีกฎหมายกำกับเฉพาะสำหรับกิจการสื่อสารมวลชน ไม่ให้มีการถือหุ้นของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเกิน 20 หรือ 25% เป็นต้น
สัญญาเอไอเอส-ชินแซท"เปิดช่อง"เอกชน
นายคณวัฒน์ วศินสังวร ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า สัญญาสัมปทานดาวเทียมของกลุ่มชินไม่ได้ระบุให้ต้องชี้แจง กรณีเปลี่ยนโครงสร้างผู้ถือหุ้นหลัก ดังนั้น จึงไม่ถือเป็นสาระสำคัญที่ไอซีที ต้องพิจารณาซึ่งความเห็นส่วนตัว การเปลี่ยนโครงสร้างผู้ถือหุ้นในเอไอเอส และชินแซท ซึ่งรับสัมปทานจากทีโอที และไอซีที จึงไม่จำเป็นต้องแจ้งให้คู่สัญญารับทราบ
ขณะที่ในสัญญาจะระบุให้เอกชนต้องแจ้ง และขอความเห็นชอบจากเจ้าของสัมปทานเป็นรายกรณีโดยเฉพาะส่วนที่กระทบการให้บริการประชาชน ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญในสัญญาสัมปทาน
"การพิจารณาต้องใช้มุมมองนิติศาสตร์ โดยใช้กรอบกฎหมายที่ชัดเจน ถ้าพิสูจน์ได้ว่ามีกฎหมายใดเกี่ยวข้องอีก ก็นำมาพิจารณาเป็นเรื่องๆ ไป แต่จะใช้มุมมองรัฐศาสตร์ที่เป็นกระแสสังคม เป็นดุลยพินิจของแต่ละบุคคลไม่ได้" นายคณวัฒน์กล่าว
นอกจากนี้ การแก้ไขเงื่อนไขในสัญญาสัมปทาน ต้องได้รับความเห็นชอบจากคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย รัฐจะแก้เองไม่ได้ รวมถึงการยกเลิกสัญญา ซึ่งได้ระบุเหตุแห่งการยกเลิกไว้ชัดเจน ถ้าคู่สัญญาปฏิบัติถูกต้อง ก็ไม่สามารถยกเลิกสัญญาได้ มิฉะนั้นเอกชนมีสิทธิฟ้องศาลปกครองทันที
ชินต้องถือหุ้นไม่ต่ำกว่า 40%
ด้านนายริชาร์ด โจนส์ ผู้จัดการฝ่ายนักลงทุน และประชาสัมพันธ์ บริษัทชินแซท กล่าวว่า สัญญาสัมปทานของชินแซท กำหนดว่าให้ชิน คอร์ป ต้องถือหุ้นหลัก 40% ขึ้นไป และมีอำนาจควบคุมบริษัท ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นในชินคอร์ป จึงไม่กระทบสัญญาสัมปทาน รวมถึงการถือหุ้นโดยตรงจากต่างชาติเพียง 1.61% ในนาม "เอ็นวีดีอาร์" ซึ่งเป็นกองทุนที่ถือแทนต่างชาติ แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุม ทั้งนี้ สัมปทานโครงการดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติ ของกระทรวงคมนาคม มีอายุสัญญา 30 ปี ตั้งแต่ 2534-2564
ชี้สัญญาเอไอเอสระบุแค่ห้าม"โอนสิทธิ"
นายธีรวิทย์ จารุวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือทีโอที กล่าวว่า การเปลี่ยนผู้ถือหุ้นหลักของเอไอเอสเป็นเรื่องที่ทำได้ เพราะไม่ได้กำหนดไว้ในสัญญาสัมปทาน ซึ่งเงื่อนไขในสัญญาข้อ 23 ระบุว่า ห้ามเอไอเอส โอนสิทธิหน้าที่ตามสัญญาให้นิติบุคคลอื่น เว้นแต่จะได้รับการยินยอมจากทีโอที ดังนั้น เท่ากับคู่สัญญาของทีโอทีเป็นเอไอเอสตลอดไป
"เมื่อเอไอเอสเปลี่ยนผู้ถือหุ้นเป็นสิงเทล สิงเทลจะโอนสิทธิให้บริษัทอื่นๆ ต่อไม่ได้ แต่การโอนหุ้นไม่ขัดแย้งกับสัญญา" นายธีรวิทย์กล่าว
ด้านนายปริญญา วิเศษศิริ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักกฎหมายของทีโอที กล่าวว่า สัญญาเอไอเอส ไม่ได้ระบุการเปลี่ยนผู้ถือหุ้น และกรณีซื้อขายหุ้นชินคอร์ป ก็เกิดขึ้นในตลาดหลักทรัพย์ จึงไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทีโอทีทราบ
สำหรับสาระสำคัญของ "สัญญาอนุญาตให้ดำเนินการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่" ซึ่งเอไอเอสทำไว้กับทีโอที ได้แก่ อายุสัญญา 25 ปี นับจาก 1 ตุลาคม 2533 ถึง 30 กันยายน 2558 ต้องแบ่งผลตอบแทนช่วงปีที่ 1-5 ในสัดส่วน 15% ของรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่าย ปีที่ 6-10 แบ่ง 20% ปีที่ 11-15 แบ่ง 25% ปีที่ 16-25 แบ่ง 30% รวมถึงลักษณะการลงทุนเป็นแบบบีทีโอ (สร้าง-โอน-ดำเนินงาน) ซึ่งผู้รับสัมปทานคือ เอไอเอส ต้องลงทุนโครงข่ายแล้วโอนกรรมสิทธิ์ให้ทีโอที ณ วันที่สร้างโครงข่าย เมื่อหมดอายุสัญญาจะต้องโอนทรัพย์สินให้ทีโอที ในสภาพที่ใช้การได้ดี นั่นหมายถึง เอไอเอสจะต้องดูแลโครงข่ายให้มีสภาพดีจนถึงวันสิ้นสุดสัญญา
พาณิชย์ยันไม่เห็นเอกสาร2บริษัทขอทำธุรกิจ
นายยรรยง พวงราช รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึง กรณีที่ฝ่ายค้านระบุว่า บริษัท ไซเพรส โฮลดิ้งส์ และแอสเพน โฮลดิ้งส์ ซึ่งถือหุ้นในบริษัทซีดาร์ โฮลดิ้งส์ เข้ามาซื้อหุ้นชินคอร์ป ซึ่งทั้ง 2 บริษัทเพิ่งจดทะเบียน เมื่อเดือนพฤศจิกายน และธันวาคม 2548 โดยอยู่ในช่วงห้ามทำธุรกรรมใดๆ เพราะต้องรออนุมัติจากคณะกรรมการประกอบธุรกิจต่างด้าว ภายใน 60 วันก่อนว่า จะอนุมัติหรือไม่ ขณะนี้ ยังไม่ได้รับเอกสารขอประกอบธุรกิจของทั้ง 2 บริษัท จึงต้องให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าพิจารณาเอกสาร คำร้อง ยื่นขอเป็นบริษัทต่างด้าวก่อน
"ยังไม่เห็นเอกสารที่บริษัทดังกล่าวยื่น ประเด็นคือบอร์ดประชุมทุกเดือนดูแค่การอุทธรณ์หรือบริษัทต่างด้าวที่มีปัญหา แต่ถ้าเป็นการส่งคำร้องขอตั้งบริษัทต่างด้าว คงต้องถามจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า" นายยรรยงกล่าว
ด้านนางสาวอรจิต สิงคาลวณิช อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กล่าวว่า ต้องขอตรวจสอบเอกสารและหลักฐานต่างๆ ของทั้ง 2 บริษัทที่ขอจดทะเบียนก่อน จึงยังให้ข้อมูลไม่ได้ เกรงว่าผิดพลาดคาดว่าวันนี้ (15 ก.พ.) จะรวบรวมข้อมูลทั้งหมดและเปิดเผยได้
พาณิชย์ชี้ไม่มีอำนาจตรวจแอมเพิล ริช
นางสาวอรจิต ยังกล่าวถึง กรณีพรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่า ไม่มีชื่อบริษัทแอมเพิล ริช ไม่มีตัวตน และเรียกร้องให้กระทรวงพาณิชย์ตรวจสอบ ว่า ขณะนี้ ต้องดูในแง่กฎหมายและระเบียบ ว่า จะตรวจสอบบริษัทจดทะเบียนในต่างประเทศได้หรือไม่ แต่ตามกฎหมาย การตรวจสอบบริษัทจดทะเบียนจะตรวจสอบกิจการไม่ว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด นิติบุคคล หรือต่างชาติที่จดทะเบียนในไทยเท่านั้น
บันทึกการเข้า
ชอบแถ
ขาประจำขั้นที่ 3
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 3,138
Re: "สิทธิชัย"เล็งรื้อสัมปทานดาวเทียมไทยคม
«
ตอบ #9 เมื่อ:
11-10-2006, 22:24 »
คนยื่นนี่โคตรโง่เลย เค้ารอเอาบริษัทใหม่เสียบอยู่แล้ว สัมปทานก็ถูกกว่า ลูกค้าก็เอามาจากที่เดิม
พนักงานก็เอามาจากที่เดิม ใครงี่เง่าก็ไม่ต้องจ่ายชดเชยด้วย รอให้มีควายมาเตะหมูเข้าปาก***เท่านั้น
บันทึกการเข้า
หน้า:
[
1
]
ส่งหัวข้อนี้
พิมพ์
กระโดดไป:
เลือกหัวข้อ:
-----------------------------
ทั่วไป
-----------------------------
=> ตะกร้าข่าว
=> ห้องสาธารณะ
=> สภากาแฟ
=> ชายคาพักใจ
=> ร้อยรักษ์กวีวรรณ
=> สโมสรริมน้ำ
-----------------------------
ด้านเทคนิค
-----------------------------
=> ปัญหาการใช้งาน
=> ห้องทดสอบ
===> ทดสอบบอร์ดย่อย
Powered by SMF 1.1.20
|
SMF © 2005, Simple Machines
|
Thai language by ThaiSMF
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.1 วินาที กับ 22 คำสั่ง