ประชาธิปไตย แปลมาจากคำในภาษาอังกฤษว่า
Democracy ซึ่งคำนี้มาจากคำว่า Demokration ในภาษากรีก แปลว่า
การปกครองของประชาชน ดังที่อดีตประธานาธิบดี ลินคอนของสหรัฐอเมริกาเคยกล่าวไว้เป็นเสมือนคำคมว่า "รัฐบาลประชาธิปไตย คือ รัฐบาลของประชาชน เพื่อประชาชน และโดยประชาชน" ซึ่งหมายถึงระบบการปกครองตามอุดมคติ ระบบหนึ่ง ที่รัฐบาลในระบบประชาธิปไตยจะให้โอกาสอันเท่าเทียมกันในการดำรงชีวิต การแสวงหา ความสุข เป็นต้น๗
นอกจากนี้ "ประชาธิปไตย" คำนี้ใช้ใน ๓ ความหมายใหญ่ๆ ซึ่งถ้ากำหนดเป็น วงกรอบหรือฐานะใหญ่ๆ ได้ ๓ ฐานะด้วยกัน ซึ่งได้แก่
๑) เชิงความคิด ๒) รูปแบบการ ปกครอง และ ๓) วิถีชีวิต โดยมีคำอธิบายเพิ่มเติมโดยสังเขปคือ
๑. ในฐานะเป็นปรัชญา (Phi-osophy) ทฤษฎีหรืออุดมการณ์ทางการเมือง ประชาธิปไตยในความหมายนี้ มุ่งเน้นไปในเรื่องของความคิด เป็นสภาพทางมโนกรรมทั้งของผู้นำและคนทั่วไป คือ ทั้งของผู้บริหารประเทศ และ พลเมืองทั่วไป
๒. ในฐานะเป็นรูปแบบการปกครอง (Forms of Government) เป็นการพิจารณาประชาธิปไตยในเชิงโครงสร้างของรัฐบาลแบบประชาธิปไตย เช่น เป็นระบบรัฐสภา เป็นระบบประธานาธิบดี
๓. ในฐานะเป็นวิถีชีวิต (Way of -ife) หมายถึง
๓.๑ วิถีทางแห่งการยอมรับเสียงข้างมาก
๓.๒ ความมีใจกว้าง
๓.๓ การมีขันติธรรม
๓.๔ การไม่ใช้ความรุนแรง
๓.๕ การเอาใจใส่ในกิจการบ้านเมือง (การมีส่วนร่วมทางการเมืองของพลเมือง) อันเป็นเรื่องการประพฤติในสังคม๘ จากที่ได้นิยามความหมายของคำว่า ประชาธิปไตย มาโดยสังเขปนั้น ก็พอจะประมวล ลักษณะที่สำคัญของการปกครองแบบประชาธิปไตยได้เป็น ๔ ประการ ดังต่อไปนี้
๑. ประชาชน เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย คือ ประชาชนมีอำนาจสูงสุดในรัฐ อาจใช้อำนาจทางตรงหรือทางอ้อมก็ได้
๒. ประชาชนทุกคนในรัฐ มีความเสมอภาคเท่าเทียมกันตามกฎหมาย ตลอดจน มีสิทธิเสรีภาพในขอบเขตของกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน
๓. การดำเนินการต่างๆ ของรัฐนั้น คือ เอามติของเสียงข้างมากเป็นเครื่องตัดสิน แต่ในขณะเดียวกันเสียงข้างน้อยหรือคนส่วนน้อยของรัฐ จะได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายที่ป้องกันมิให้ประชาชนส่วนใหญ่ กดขี่ข่มเหงอย่างผิดกฎหมาย และผิดทำนองคลองธรรม
๔. กระบวนการของประชาธิปไตย คือ วิธีการปกครองซึ่งได้รับความยินยอมพร้อมใจของประชาชนส่วนใหญ่ ซึ่งแสดงออกในรูปของการเลือกตั้ง การอภิปราย การออกเสียง ประชามติ การเสนอร่างกฎหมายของประชาชน เป็นต้น พระธรรมปิฎกได้นิยามคำว่า
ประชาธิปไตยไว้อย่างน่าฟังยิ่งว่า เมื่อพูดถึงประชา- ธิปไตย ถ้ากล่าวถึงความหมาย มีวิธีพูดง่ายๆ อย่างหนึ่งคือ ยกเอาวาทะของประธานาธิบดี ลินคอล์น มาอ้าง เพราะคนชอบ และรู้จักกันมาก คือวาทะที่ว่า "ประชาธิปไตยเป็นการ ปกครองของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน" วาทะนี้คนจำได้แม่น เวลาพูดกัน คนมักมองความหมายในแง่ของความรู้สึกตื่นเต้นว่า ตนเองจะได้ เช่น จะได้สิทธิ ได้อำนาจ หรือ ได้ความเป็นใหญ่ในการที่จะเป็นผู้ปกครอง แต่อีกแง่หนึ่งที่ไม่ค่อยได้มองคือ "ความรับผิดชอบ"
ดังนั้น จากวาทะลินคอล์นนั้น พระธรรมปิฎกมีความเห็นเพิ่มเติมว่า ที่ว่า ประชา- ธิปไตยเป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชนนั้น เป็นการเตือนให้รู้สึกตัวด้วยว่า ....
คุณภาพของประชาธิปไตยอยู่ที่คุณภาพของประชาชน เพราะว่า โดยปกติ คุณภาพของการปกครองย่อมขึ้นต่อคุณของผู้ปกครองเป็นสำคัญ ด้วยว่าในสมัยก่อนการ ปกครองอยู่ในกำมือของผู้ปกครองโดยตรง คุณภาพของประชาธิปไตย ก็วัดได้จากผู้ปกครองนั่นเอง แต่ในสมัยนี้ ในเมื่อประชาชนมาเป็นผู้ปกครอง บ้านเมืองจะเป็นอย่างไร ประชาธิปไตยจะมีคุณภาพแค่ไหน ก็อยู่ที่คุณภาพของประชาชนเป็นสำคัญ๙ จึงกล่าวสรุปได้ว่า พระธรรมปิฎกได้นิยามประชาธิปไตยโดยให้ความสำคัญในแง่ คุณภาพของประชาธิปไตยเป็นหลัก โดยเน้นว่า
"ถ้าประชาชนมีคุณภาพดี ประชาธิปไตยก็มีคุณภาพดีด้วย ถ้าประชาชนมีคุณภาพต่ำ ประชาธิปไตยก็จะเป็นประชาธิปไตยอย่างเลวด้วย เพราะว่า คุณภาพของประชาธิปไตย ขึ้นต่อคุณภาพของประชาชน แล้วคุณภาพของประชาชนขึ้นต่ออะไร ก็ขึ้นต่อการศึกษา"๑๐http://202.28.52.4/article/article_file/13dissertation47.html