ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
16-01-2025, 17:49
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  จบการแสดงเรื่องหน้าเหลี่ยมจรลีลี้ลั้นดั้น รายการต่อไป ละคร "ดอกไม้ไร้เหลี่ยม" 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
จบการแสดงเรื่องหน้าเหลี่ยมจรลีลี้ลั้นดั้น รายการต่อไป ละคร "ดอกไม้ไร้เหลี่ยม"  (อ่าน 825 ครั้ง)
Kittinunn
Aloha007
Global Moderator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,127


ไปได้สวย...ด้วยเกียร์ต่ำ!!!


เว็บไซต์
« เมื่อ: 06-10-2006, 13:21 »

ประชาชนให้กำลังใจ ทรท. วอนผู้บริหารอย่าทิ้งพรรค  

13:01 น. เวลา 11.40 น. มีกลุ่มประชาชนอ้างเป็นองค์กรความจริงเพื่อประชาธิปไตยใน กทม. นำโดยนายมารุต ศินาคม แกนนำ พร้อมประชาชนและเด็ก ๆ นำกระเช้าดอกไม้มามอบให้กำลังใจแก่ผู้บริหารพรรคไทยรักไทยที่ทำการพรรคไทยรักไทย ซึ่งมีนายเอกพร รักความสุข อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย นายจตุพร พรหมพันธุ์ รองโฆษกพรรคไทยรักไทย และนายกมล บันไดเพชร คณะทำงานฝ่ายกฎหมายของพรรค เป็นตัวแทนรับ

นายมารุต กล่าวว่า พวกเราสนับสนุนพรรคไทยรักไทยมาตลอดจึงมาให้กำลังใจ เพราะเรายึดมั่น เชื่อมั่นในความจริงที่พรรคไทยรักไทยมีต่อประชาชนตลอดมา ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ขอสนับสนุนพรรคตลอดไป เรียกร้องให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตหัวหน้าพรรคไทยรักไทย กลับมาอีกครั้ง เพราะตอนนี้ประชาชนจะเป็นโรคเครียดแล้ว ขอให้ผู้บริหารพรรคอยู่ อย่าทิ้งประชาชน
 
...

เสียดาย... ละครเรื่องนี้ขาดพระเอกคนเดียว เนื่องจากตายกลางตอน
บันทึกการเข้า

“ผมเขียนไปในบล็อกนั้น แบบข้างบนนี้เหมือนกัน นึกว่า จะโพสต์ ปรากฏว่า เขาบอกว่า ต้อง สมัครสมาชิกก่อน ผมขี้เกียจ เลยมาโพสต์ที่นี่แทน อ้อ ตอนเขียน ผมใส่คำว่า ทุเรศ และ น่าสมเพช ไปด้วย” (อ.สมศักดิ์ เจียมธีระสกุล-เว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน - ข้อความในเสรีไทย โดย Snowflake)

Kittinunn
Aloha007
Global Moderator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,127


ไปได้สวย...ด้วยเกียร์ต่ำ!!!


เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 06-10-2006, 13:31 »

อย่าลืม... หน้าปกมติชนสุดสัปดาห์ฉบับนี้  Very Happy Very Happy



สะดุดตากับปกมติชนสุดฯ ฉบับนี้ เห็นแล้วสะดุ้งโหยง

... เข้าใจเล่น ...
บันทึกการเข้า

“ผมเขียนไปในบล็อกนั้น แบบข้างบนนี้เหมือนกัน นึกว่า จะโพสต์ ปรากฏว่า เขาบอกว่า ต้อง สมัครสมาชิกก่อน ผมขี้เกียจ เลยมาโพสต์ที่นี่แทน อ้อ ตอนเขียน ผมใส่คำว่า ทุเรศ และ น่าสมเพช ไปด้วย” (อ.สมศักดิ์ เจียมธีระสกุล-เว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน - ข้อความในเสรีไทย โดย Snowflake)

Kittinunn
Aloha007
Global Moderator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,127


ไปได้สวย...ด้วยเกียร์ต่ำ!!!


เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 06-10-2006, 13:33 »





บทความพิเศษ

"ดีที่สุด" พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ รับประกันคุณภาพ

"ถือว่าเป็นบุคคลที่ดีที่สุดแล้ว"

คำกล่าวของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ภายหลังมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี นั้น

เป็นเสมือนเป็นการ "การันตี" นายกรัฐมนตรีคนใหม่ อย่างชัดเจน และตรงไปตรงมา

ไม่เพียง พล.อ.เปรม เท่านั้น

คงไม่อาจมองข้ามบรรยากาศอันอบอุ่น ที่หลังจากการเข้ารับหน้าที่ในวันแรก พล.อ.สุรยุทธ์ได้เดินทางไปยังทำเนียบองคมนตรี ย่านวังสราญรมย์ เพื่อรับประทานอาหารกลางวันร่วมกับ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ และคณะองคมนตรีคนอื่นๆ ด้วย

พล.อ.เปรม ซึ่งแม้จะพูดอะไรกับสื่อน้อยอยู่แล้ว แต่ก็ยังอุตส่าห์บอกว่า "มาแสดงความยินดี"

ยิ่งตอกย้ำว่า ไม่เพียง พล.อ.เปรมจะยืนอยู่เคียงข้าง พล.อ.สุรยุทธ์เต็มที่เท่านั้น หากแต่องคมนตรีทั้งคณะล้วน "ยินดี" กับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.สุรยุทธ์

การที่ พล.อ.สุรยุทธ์ก้าวสู่หมายเลข 1 ของฝ่ายบริหาร จึงอบอุ่นยิ่ง!

000

ขณะเดียวกัน ความอบอุ่นนั้นย่อมแผ่ซ่านไปถึง พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ด้วย

เพราะการที่ พล.อ.สุรยุทธ์ตอบรับคำเชิญมาเป็นนายกรัฐมนตรีให้ ทำให้เบาใจขึ้นอย่างมาก

เนื่องจาก พล.อ.สนธิ และ คมช. ได้ให้คำมั่นกับประชาชนไว้ว่า จะคืนอำนาจภายใน 2 สัปดาห์ แล้วจะไปยืนในฐานะ "พี่เลี้ยง"

ซึ่งการเป็น "พี่เลี้ยง" นั้น แม้จะมีช่องทางการใช้อำนาจได้อย่างเต็มที่ แต่เมื่อประกาศจะถอยกลับที่ตั้งและไม่แทรกแซงการทำงานของรัฐบาลใหม่ ทำให้การใช้อำนาจเป็นไปอย่างไม่เต็มที่

ซึ่ง "ความไม่เต็มที่" นี้ พล.อ.สนธิ และ คมช. ก็คงไม่อาจวางใจกับการหวนกลับมาของ "อำนาจเก่า" ภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้

เพราะอย่างที่ทราบกันดี 6 ปีกว่า ระบอบทักษิณที่ชูธง "ประชานิยม" ได้หยั่งรากฝังลึกในสังคมไทยอย่างกว้างขวาง หากมีช่องว่าง ช่องโหว่ "เชื้ออำนาจเก่า" ก็มีสิทธิหวนกลับมาได้อีก

เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้ที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรี คมช. จะต้องฝากผีฝากไข้ได้พอสมควร

บทเรียนจากสมัยสภารักษาความมั่นคงแห่งชาติ (รสช.) ที่ พล.อ.สุจินดา คราประยูร เลือก นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี นั้น แม้จะเป็นผลดีต่อประเทศชาติมาก แต่สำหรับคณะ รสช. แล้ว อาจจะรู้สึกว่าเลือกคนผิด

ไม่ใช่เลือกคนผิดเพราะนายอานันท์ไม่ใช่คนดี

ตรงกันข้าม นายอานันท์เป็นคนดี ดีจนกระทั่งเปล่งรัศมีบดบัง "อำนาจ" ของ รสช. ทำให้นายอานันท์และรัฐบาลเป็นอิสระแทบจะหลุดลอยไปจากคณะ รสช.

สภาพดังกล่าวไม่เพียงแต่ทำให้ รสช. ไม่อาจควบคุมรัฐบาลได้ ในหลายเรื่องการตัดสินใจของนายอานันท์ ยังเป็นผลลบต่อ รสช. ด้วย

ประสบการณ์เช่นนี้ คมช. ย่อมตระหนักดี และคงไม่อยากให้สภาพ "ไม่เป็นเสียงเดียวกัน" ระหว่างรัฐบาลกับคณะผู้ยึดอำนาจ เกิดขึ้น

นี่จึงนำไปสู่การมองหาสเปคผู้นำ ที่มีคุณสมบัติเป็นทั้งคนดี ขณะเดียวกัน คุยกับ คมช. รู้เรื่อง

เช่นนี้แล้ว ใครจะเหมาะสมเท่ากับ พล.อ.สุรยุทธ์

000

กล่าวสำหรับการเป็น "คนดี" แล้ว

เพียงแค่การที่ พล.อ.สุรยุทธ์เกษียณราชการจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด และได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นองคมนตรีนั้น สำหรับคนไทย ก็ดูจะไม่มีคำถามในเรื่อง "ความดี" แล้ว

ส่วนประเด็น "คุยกับ คมช. รู้เรื่อง" นั้น พล.อ.สนธิยิ่งต้องสบายใจ เพราะความสัมพันธ์ระหว่าง พล.อ.สุรยุทธ์ กับ พล.อ.สนธิ ดำเนินมาอย่างยาวนานตั้งแต่เป็นนายทหารชั้นผู้น้อย โดยมี "หน่วยรบพิเศษ" เป็นตัวเชื่อมโยง

หลายพันธกิจในกองทัพ ทั้งเปิดเผยและไม่เปิดเผย พล.อ.สุรยุทธ์ทำเคียงคู่กกับ พล.อ.สนธิ ในฐานะรุ่นพี่และในฐานะผู้บังคับบัญชาและใต้บังคับบัญชามาโดยตลอด

ถือว่าได้ผ่านการร่วมเป็นร่วมตายมาแล้ว

จึงไม่ต้องมา "วัดใจ" อะไรกันอีก

พล.อ.สนธิย่อมมั่นใจอย่างเต็มร้อย ว่า จะเป็นเสียงเดียวกันกับ พล.อ.สุรยุทธ์ ไม่เกิดสภาพ "ขัดแย้ง" เหมือนนายอานันท์ กับ รสช. อย่างแน่นอน

นอกจากความเป็นเสียงเดียวกันแล้ว

สิ่งที่ พล.อ.สนธิวางใจได้อีกประการหนึ่ง ก็คือ ความระมัดระวัง ที่จะไม่ให้ "อำนาจเก่า" ฟื้นกลับขึ้นมาอีกอย่างแน่นอน

เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่า การที่ พ.ต.ท.ทักษิณประกาศสงครามกับ "ผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ" นั้น ได้ทำให้จุดยืนของ พล.อ.สุรยุทธ์ ที่แม้จะไม่ได้ประกาศออกมา แต่ก็น่าจะมั่นใจได้ว่า เป็นจุดยืนที่ตรงข้าม พ.ต.ท.ทักษิณ อย่างแน่นอน

ขณะเดียวกัน ก็พร้อมจะยืนหยัดแบบ "ถวายหัว" อยู่ข้างฝ่าย "ผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ" อย่างไม่ต้องสงสัย

000

มีปรากฏการณ์ที่น่าสนใจเกี่ยวกับจุดยืนของ พล.อ.สุรยุทธ์ ที่อยู่ตรงข้ามกับ พ.ต.ท.ทักษิณ

กล่าวคือ หลังจากการยึดอำนาจแล้ว พ.ต.ท.ทักษิณได้เดินทางไปพำนักที่ประเทศอังกฤษ มีผู้สื่อข่าวไปสอบถาม พล.อ.สนธิ ว่าหาก พ.ต.ท.ทักษิณจะเดินทางกลับประเทศได้หรือไม่

ด้วย "อำนาจ" ที่อยู่ในมืออย่างเต็มที่ของ พล.อ.สนธิ สามารถกล่าวอย่างเต็มปากเต็มคำได้ว่า ยังไม่ควรกลับ

แต่ พล.อ.สนธิ ก็กล่าวแบบเลี่ยงๆ ว่า คนไทยทุกคนมีสิทธิกลับเข้าประเทศ แต่ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็คงจะพิจารณาได้เองว่า ควรจะทำอย่างไร

อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการนำคำถามนี้ไปถาม พล.อ.สุรยุทธ์ ซึ่งเป็นการถามก่อนที่จะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนายกรัฐมนตรีด้วยซ้ำ

พล.อ.สุรยุทธ์กลับตอบเต็มปากเต็มคำมากกว่า พล.อ.สนธิ เสียอีก

คือไม่ควรกลับ

ด้วยเหตุผลว่า "มีความกังวลอยู่ อย่างที่คิดว่าจะเป็นประโยชน์คือ การพยายามสร้างความสมานฉันท์แห่งชาติตรงจุดนี้เป็นส่วนสำคัญ เพราะส่วนหนึ่งที่ผมและหลายคนที่ติดตามสถานการณ์นี้อยู่คงจะเข้าใจเช่นเดียวกันว่า หากฝ่ายต่อต้านคุณทักษิณ กับฝ่ายที่สนับสนุนคุณทักษิณมาพบกันในวันที่คุณทักษิณจะเดินทางกลับมา เหตุการณ์จะเป็นอย่างไร เราคงจะวาดภาพได้ว่า คงต้องชุลมุนกันพอสมควร

"เหตุการณ์เช่นนี้ ถือว่าไม่ควรจะบังเกิดขึ้นมาในบ้านเมืองของเรา"

"ยังไม่ทราบว่า พ.ต.ท.ทักษิณจะตัดสินใจอย่างไร แต่ภาพรวมหากเกิดความสมานฉันท์ขึ้นมาภายในชาติเราได้ก็จะเป็นสิ่งที่ดีและเป็นประโยชน์ ไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์ไปจนถึงกับมีการปะทะกัน ผมค่อนข้างสนใจในประเด็นนี้มาก เพราะเคยพูดหลายครั้งว่า ไม่อยากเห็นคนไทยฆ่ากันเอง"

นี่ถือเป็นสัญญาณที่ชัดเจนยิ่ง สำหรับจุดยืนของ พล.อ.สุรยุทธ์

และความชัดเจนนี้ พล.อ.สนธิย่อมจะสบายใจอีกเช่นกันว่า พล.อ.สุรยุทธ์ในฐานะนายกรัฐมนตรี จะสนับสนุนกลไกที่ คมช. สร้างขึ้นอย่างเต็มที่ เพื่อ "ชำระล้าง" อำนาจเก่า โดยเฉพาะคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน ซึ่งจะเป็นหัวใจสำคัญในการสกัดไม่ให้ "ระบอบทักษิณ" พลิกฟื้นขึ้นมาอีก

000

พิจารณาแค่นี้ อาจจะไม่เป็นธรรมแก่ พล.อ.สุรยุทธ์นัก เพราะจะมีภาพเพียงแค่เป็นนายกรัฐมนตรีของ คมช. ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อสกัดกั้น "อำนาจเก่า"

ว่ากันตามจริงแล้ว ภาวะ "บุคคลที่ดีที่สุดแล้ว" ตามคำพูดของ พล.อ.เปรม นั้น

ได้รับการคาดหมายที่มากและกว้างขวางไปกว่านั้น

จริงอยู่ พล.อ.สุรยุทธ์ย่อมจะต้องร่วมมือกับ คมช. ใช้กลไกทั้งทางกฎหมายและอำนาจของคณะปฏิวัติ ในการควบคุมไม่ให้อำนาจเก่าฟื้นขึ้นมา

แต่การจะสกัดไม่ให้ระบอบทักษิณฟื้นขึ้นมาได้อย่างเด็ดขาด และเป็นระยะยาวนั้น ย่อมต้องขึ้นอยู่กับฝีมือการบริหารเป็นสำคัญ

ซึ่งเมื่อพิจารณาคำมั่นสัญญาและนโยบายที่ พล.อ.สุรยุทธ์ประกาศจะทำ หลังจากรับพระบรมราชโองการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีนั้น ก็ดูจะมีปฏิกิริยาในเชิง "ตอบรับ" ค่อนข้างสูง

โดยได้มุ่งเน้นไปที่ปัญหาหลัก 2 ประการ คือ

1. ปัญหาทางการเมือง

2. ปัญหาภาคใต้

กล่าวปัญหาทางการเมือง นอกจากจะอำนวยความสะดวกในการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ เพื่อการปฏิรูปการเมืองแล้ว พล.อ.สุรยุทธ์ได้กล่าวเน้นถึงการยืนอยู่ในระบบคุณธรรม สร้างความเป็นธรรมในระบบการบริหารงาน ดูความสามารถ ประสิทธิภาพ และความซื่อตรง

ซึ่ง "เรื่องคุณธรรม" นี้ รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณถูกวิจารณ์ว่าละเลยและเป็นปัญหาอย่างมาก

ส่วนปัญหาภาคใต้ คงเห็นความเป็นเอกภาพมากขึ้น ระหว่างฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายกองทัพ

ในส่วนของเศรษฐกิจ พล.อ.สุรยุทธ์ประกาศว่า จะยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทาน ไม่ได้มุ่งตัวเลขจีดีพีมากนัก แต่จะดูในเรื่องตัวชี้วัดความผาสุกของประชาชนมากกว่า

ทิศทางของ "ความพอเพียง" ที่ พล.อ.สุรยุทธ์ประกาศจะทำนี้ เป็นความ "คาดหวัง" ที่กำลังได้รับการจับตามอง เพราะถือเป็นการ "ยูเทิร์น" ประเทศ จากแนวทางของ พ.ต.ท.ทักษิณ อันจะช่วยถอนพิษ "ประชานิยม" จากสังคมไทยออกไป

เวลา 1 ปีเศษ ที่รัฐบาลของ พล.อ.สุรยุทธ์มี อาจจะยังไม่เห็นอะไรที่เป็นรูปธรรมนัก แต่หากได้มีการวางพื้นฐานที่ดีผ่านรัฐธรรมนูญใหม่ แล้วส่งผ่านไปยังรัฐบาลที่มาตามระบอบประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ ก็เชื่อว่าจะเป็นมรรคผลในเชิงบวกที่สำคัญ หลังจากที่เราต้องสูญเสีย "ค่าใช้จ่ายมหาศาล" ไปกับการ "รัฐประหาร"

ซึ่งหาก พล.อ.สุรยุทธ์พิสูจน์ให้เห็นได้ เชื่อว่าจะเกื้อหนุนคำกล่าวของ พล.อ.เปรม ที่ว่า พล.อ.สุรยุทธ์เป็น "บุคคลที่ดีที่สุด" ให้ชัดเจนขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง

http://www.matichon.co.th/weekly/weekly.php?srctag=MDQwOTA2MTA0OQ==
บันทึกการเข้า

“ผมเขียนไปในบล็อกนั้น แบบข้างบนนี้เหมือนกัน นึกว่า จะโพสต์ ปรากฏว่า เขาบอกว่า ต้อง สมัครสมาชิกก่อน ผมขี้เกียจ เลยมาโพสต์ที่นี่แทน อ้อ ตอนเขียน ผมใส่คำว่า ทุเรศ และ น่าสมเพช ไปด้วย” (อ.สมศักดิ์ เจียมธีระสกุล-เว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน - ข้อความในเสรีไทย โดย Snowflake)

หน้า: [1]
    กระโดดไป: