ถ้ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่เป็นที่พอใจของประชาชนแล้ว
คนที่ไม่ชอบรัฐประหารมาก่อน แต่ยอมรับคณะปฏิรูปการปกครองคราวนี้
ซึ่งก็เรียกร้องรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ด้วยเหมือนกัน
จะเป็นหนี้บุญคุณคนที่ไม่ชอบรัฐประหาร ไม่ชอบคณะปฏิรูปการปกครอง
และเรียกร้องรัฐธรรมนูญใหม่ด้วยเหมือนกันหรือไม่
พูดให้เข้าใจง่ายมากยิ่งขึ้น คือรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ดีนั้น
เป็นเพราะการเรียกร้องของคนไม่ชอบรัฐประหารทุกรูปแบบ
ต่อต้านคณะปฏิรูปการปกครองฯ
เป็นกลุ่มที่เรียกร้องจนสำเร็จฝ่ายเดียวใช่หรือไม่
บุญคุณความแค้นอะไรไม่เข้าใจ ไม่สนใจ และไม่เห็นสำคัญที่ตรงไหน
ที่สำคัญ คือ การยอมรับการใช้อำนาจปืนหรือความรุนแรง
ในการแก้ไขปัญหาสังคมและการเมือง ว่าเหมาะสมกับสังคมไทย
และยินดีให้เกิดขึ้นซ้ำรอยไปทุก 15 ปี
โดยไม่มีการเรียนรู้ที่จะห้ามปราม หรือยับยั้ง
ปล่อยให้เกิดเป็นวงจรอุบาทว์
นี่สิ ที่น่าอนาถใจ
สมมุติว่า รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ไม่ได้เกิดขึ้นโดย ผาสุก พงษ์ไพจิตร...
ถ้าไม่มีการยึดอำนาจทักษิณและพลพรรคฝ่ายทหารที่สนับสนุนเขาอาจจะวางแผนปฏิวัติ
เพื่อให้อยู่ในอำนาจต่อไปได้ และอาจจะเกิดความรุนแรงขึ้น
แต่แนวทางนี้คง
เป็นไปไม่ได้ เพราะว่ากำลังทหารของฝ่ายสนับสนุนทักษิณมีไม่มาก
เท่ากับฝ่ายไม่สนับสนุน ภายหลังจากที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงโผทหารครั้งที่แล้ว อีกนัย
หนึ่งถ้าหาก ผบ.ทบ.คนปัจจุบันไม่ร่วมมือ (ซึ่งขณะนี้ก็เป็นที่ประจักษ์แล้วว่าไม่ร่วมมือ)
ฟากทักษิณก็ทำการปฏิวัติไม่สำเร็จแน่นอน ดังนั้น ในท้ายที่สุดกล่าวได้ว่า แนวทางที่สอง
นี้ไม่ใช่ทางเลือกที่เป็นไปได้ ภาพแรกที่บรรยายไปก่อนหน้านี้น่าจะเป็นไปได้มากกว่า
ประเด็นที่บทความนี้ต้องการเน้นก็คือ ผลกระทบต่อวัฒนธรรมการเมืองของการยึดอำนาจ
โดย คปค.เมื่อ 19 กันยายน 2549 เทียบกับภาวะที่การยึดอำนาจไม่เกิดขึ้นจะแตกต่าง
กันอย่างสิ้นเชิง
รัฐประหารเมื่อ 19 กันยายน 2549 คือการตอกย้ำวัฒนธรรมอำนาจนิยมและการใช้
อำนาจปืนหรือความรุนแรง เพื่อแก้ไขปัญหาสังคม (การคอร์รัปชั่น) และการเมือง
(นายกฯ มีอำนาจล้นเกิน) เหมาะสมกับสังคมไทย สังคมไทยควรรับได้และวัฒนธรรมนี้
ควรคงอยู่ต่อไป (ซึ่งตรงกันข้ามกับประสบการณ์ของทั่วโลก ในกรณีของไทยเราก็ได้
เห็นชัดเจนว่า รสช.เมื่อยึดอำนาจเมื่อปี 2534 ก็ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงในการแก้ปัญหา
คอร์รัปชั่น)
แต่ในทางกลับกัน ถ้ารัฐประหาร เมื่อ 19 กันยายน 2549 ไม่ได้เกิดขึ้นแต่มีการเลือกตั้ง
ตามด้วยการปฏิรูปการเมืองภายใน 1 ปี ตามด้วยการยุบสภา และการเลือกตั้งอีก ดังที่
ได้บรรยายมาข้างต้น ผลกระทบต่อวัฒนธรรมการเมืองไทย จะแตกต่างไปจากเมื่อมี
การรัฐประหาร
กล่าวคือ ไม่มีการตอกย้ำวัฒนธรรมอำนาจนิยม แต่เป็นการก่อร่างและเสริมสร้าง
วัฒนธรรมการเมืองที่สนับสนุนกระบวนการประชาธิปไตยภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญ ที่มี
หลักการ สิทธิเสรีภาพและการมีส่วนร่วมของประชาชนและหลักการนิติรัฐ
และหลักการดังกล่าวนี้ สามารถจัดการกับนักการเมืองที่ไร้จริยธรรมได้
พลังของประชาชนมีผลเปลี่ยนแปลงการเมืองได้โดยไม่ต้องมีรัฐประหาร และประเทศไทย
ก็จะได้รับความนิยมจากนานาประเทศแทนที่จะถูกประณามดังในขณะนี้
หมายเหตุ ผู้เขียนเป็นหนึ่งใน "ขาประจำ" ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และเป็น
หนึ่งในผู้เขียนหนังสือ Thaksin : The Business of Politics in Thailand ร่วมกับ
Chris Baker http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01act03290949&day=2006/09/29To people power with love.
Grow up already!