ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
25-01-2025, 07:37
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  สัญญาณอันตรายของ รัฐบาล คปค. เมื่อ ม.เที่ยงคืนยื่นมือจับกับรากหญ้า 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: 1 [2]
สัญญาณอันตรายของ รัฐบาล คปค. เมื่อ ม.เที่ยงคืนยื่นมือจับกับรากหญ้า  (อ่าน 5263 ครั้ง)
TAKSIN THE BEST PM.
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 258


« ตอบ #50 เมื่อ: 29-09-2006, 14:20 »

ดูสิ คำไหน ผมว่าท่าน ไม่เคารพท่าน ลุงแคนล่ะครับ

 
บันทึกการเข้า
-3-
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,186


« ตอบ #51 เมื่อ: 29-09-2006, 14:22 »

นี่ก็อีกนะ ท่าทางจะแก้ไขยากแล้ว 

ดูสิ คำไหน ผมว่าท่าน ไม่เคารพท่าน ลุงแคนล่ะครับ

 
บันทึกการเข้า



ประชาธิปไตยตัดสินความต้องการได้ แต่ตัดสินความถูกต้องไม่ได้!!
buntoshi
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,348



« ตอบ #52 เมื่อ: 29-09-2006, 14:26 »

ดูสิ คำไหน ผมว่าท่าน ไม่เคารพท่าน ลุงแคนล่ะครับ

 

น่าจะรู้ตัวนะครับ

ที่คุณตอบมามันอยู่ในหัวข้อกระทู้หรือเปล่าหล่ะครับ

ที่ผมชมลุงแคน เพราะผมรู้สึกอย่างนั้นจริงๆ และผมก็ไม่ได้ ตามชมไปทุกกระทู้ หรือ บางคน ชมท่านเหลี่ยมทุกกระทู้นะครับ

ทำอะไรควรจะมีเหตุผล และก็มีมารยาทในการตอบกระทู้ด้วย จะเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับ คนที่เชียร์ทักษิณนะครับ
บันทึกการเข้า


เราต้องสร้างคนดีมากกว่าคนเก่ง เพราะคนเก่งจะเห็นคนอื่นเก่งกว่าไม่ได้ จะพยายามเก่งกว่าคนอื่น แต่คนดีจะมีความสุขที่ได้ทำให้คนอื่นเก่ง รวมทั้งคนดีทุกคน ล้วนเก่งทั้งนั้น....  ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา
---------------------------
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #53 เมื่อ: 29-09-2006, 17:44 »

ถ้าลิ่วล้อทักษิณ เข้าไปอ่านเข้าไปศึกษา ม.เที่ยงคืนซัก 3-4 ปี เป็นต้นมา ผมจะยกย่องลิ่วล้อพวกนั้นนะ...

เพราะอย่างน้อย ม. เที่ยงคืน ก็มีความเป็น "วิชาการ" อยู่บ้าง หากลิ่วล้อทักษิณในราชดำเนินเข้าไปหาความรู้จากที่นั่น

ไม่ใช่เข้าไป "หาพวก" หรือ เข้าไปเพียงเพราะมีคนเกลียดการปฏิวัติรัฐประหาร

เพราะหากเป็น "แฟน" ม. เที่ยงคืน...คงไม่สนับสนุน พรก.ฉุกเฉิน คงไม่สะใจกับการตายของกรือเซะ - ตากใบ

หรือแม้แต่เรื่อง "ฆ่าตัดตอน" ในกรณียาเสพติด...หรือการทำ "ฟรีเทรด" หรือ FTA

ผมบอกแต่แรกว่า คิดต่างกัน มีแนวทางต่างกัน นั่นมิใช่เรื่องผิดอะไร เพราะต่างคนต่างก็มีอิสระ เสรีทางความคิด

แต่ที่ผิดมาก ๆ หากจะออกมาเคลื่อนไหว ส่งเสริมให้ รากหญ้าจัดตั้ง ออกมาคัดค้าน คปค.

ทำไมไม่เสนอแนะ รากหญ้า นำเสนอความต้องการกับ คปค. หรือ สภาร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังจะเกิดขึ้น

อาจารย์จาก ม. เที่ยงคืน กำลังจะนำไปสู่การเคลื่อนไหวแบบใหนครับ...ผมอยากรู้ "เป้าหมายแท้ ๆ" ของ ม. เที่ยงคืนคืออะไร

หรือว่าจะออกมาขับไล่ คปค. เหมือนที่พันธมิตรขับไล่ระบอบทักษิณ....


บันทึกการเข้า

ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #54 เมื่อ: 29-09-2006, 17:54 »

ชื่อยาวๆ ของ คปค ไม่ต้อง อ นิธิหรอกครับ ผมก็เครียดเหมือนกัน
เหมือนก้าวไปข้างหลังจากจุดที่อุตสาห์เปลี่ยนแปลงมาแล้ว

ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีมากๆด้วยซ้ำ ที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างออกมา
ให้ทุกฝ่ายได้มีโอกาสหยุดคิดและทบทวน ไม่ใช่กระแสพาไป
เหมือนที่ทักษิณได้รับเลือกตั้งครั้งแรก
คปค จะทำอะไร ก็มีคนจับตามอง มีคนระแวง ก็จะได้เกรงใจกันบ้าง
ถ้าคิดจะทำอะไรที่ไม่ได้บอกออกมาตั้งแต่แรก
ผมเชื่อว่า คนดี ที่มีอำนาจมากเกินไป อำนาจนั้นจะเปลี่ยนแปลงคนดีคนนั้นได้
ดังนั้น อะไรที่แตกต่าง ไม่ใช่ว่าจะต้องเลวร้าย และไม่ใชว่า จะต้องเป็นศัตรูเสมอไป
ส่วนเรื่องรัฐธรรมนูญเนี่ย






ผมเห็นด้วยกับความคิดเห็นนี้
และไม่คิดว่าอาจารย์ใจล์กับอาจารย์นิธิจะไปร่วมกับ
ขบวนการกู้อำนาจของทักษิณอย่างแน่นอน...

ถ้าเรายอมรับฟังความคิดเห็นไร้สาระของคนรักทักษิณในเสรีไทยเว็บบอร์ดได้
ก็ควรจะยอมรับฟังความคิดเห็นของอาจารย์ใจล์และอาจารย์นิธิได้เหมือนกัน จะมีสาระมากกว่าด้วยซ้ำไป Exclamation

บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
stromman
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 526



« ตอบ #55 เมื่อ: 29-09-2006, 17:56 »

 
สู้เว้ย พวกลิ่วล้อ มาเลย เมื่อไหร่ก็ได้
บันทึกการเข้า
kumtong
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 82


« ตอบ #56 เมื่อ: 29-09-2006, 19:48 »

อ่านความเห็นคนเหล่านี้  ( ใจ,จอน,นิธิ ฯลฯ) แล้วเลี่ยนๆยังไงไม่รู้
ตอน เหลี่ยมมีอำนาจล้นฟ้า ย่ำยีกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นว่าเล่นคนพวกนี้ไม่รู้ทำอะไรอยู่ 
จนสิงคโปร์ กะเหลี่ยมและพวกพ้อง มันจะฮุบประเทศไทยทั้งประเทศแล้วคนพวกนี้ไม่เห็นกล้าต่อต้านเหลี่ยม
ประชาชนหลายล้านคน แทบจะอ้อนวอนให้ทหารเข้ามาจัดการเหลี่ยม  เพราะหมดปัญญาจัดการกะเหลี่ยมทั้งที่รู้เห็นเต็มตา ว่ามันทำอะไรกับประเทศไทย   แต่คนพวกนี้ทำเหมือนไม่เห็น  พอทหารเข้ามาจัดการคนเหล่านี้กลับออกมาต่อต้านบอกว่าไม่เป็นประชาธิปไตย
อยากรู้ว่าคนพวกนี้ต้องการประชาธิปไตยไปทำไม  ในเมื่อที่ผ่านมามันก็เป็นประชาธิปไตยแบบเหลี่ยมๆ 
หรือว่า แท้ที่จริง พวกมันก็คือ สมุนเหลี่ยม 
หรือว่า แท้ที่จริง พวกมันก็เห็นด้วยกะเหลี่ยม 
บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #57 เมื่อ: 29-09-2006, 20:04 »

ขอบคุณทุกท่านที่เห็นด้วย แต่คนที่คิดต่างก็ไม่ว่ากันครับ เพราะทุกคนต่างก็มีปฏิกริยาจากปรากฎการณ์ที่แตกต่างกัน

จุดยืนของอ.นิธิ และสหายทั้งหลาย ผมเห็นใจ เพราะหากไปยืนฝั่งช่วยกันร่างรัฐธรรมนูญ ก็จะกลายเป็นพวก คปค. เสียจุดยืนไปอีก

นอกจากอาจารย์ผาสุก ประกาศไม่ร่วมเป็นที่ปรึกษา คปค. ล่าสุด "แม่พระแห่งสลัม" ครูประทีป อึ๊งทรงธรรม ก็ออกมาแสดงจุดยืนไม่ขอร่วมอีกคนหนึ่ง อ้างเป็นกลุ่มต่อต้านเผด็จการ ( แต่ในใจผมคิดว่า ครูประทีป รู้ดีแก่ใจว่า "จุดยืน" ของตนเองอยู่ตรงใหน )

แต่ไม่เป็นไรครับ นาทีนี้ มันเป็นนาทีที่ต้อง "ขาย" จุดยืน ก็ไม่ว่ากัน เลยอยากให้อ่านคนที่เค้าลอง ๆ "ยำใหญ่" ร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราวของคปค. ไว้เผื่อจะได้ข้อมูลเพิ่มบ้าง

เค้าวางแนวทาง รับฟังความคิดเห็นของประชาชนไว้อย่างไร...

ยำใหญ่ธรรมนูญฯ ฉบับ รสช.-คปค.

ทันทีที่ “ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2549” ลงตัว พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้า คปค. คาดว่า ไม่เกินวันที่ 30 ก.ย. หรือ 1 ต.ค. 2549 สามารถนำขึ้นทูลเกล้าฯ ประกาศใช้เป็นกฎหมายสูงสุดบริหารประเทศ

73 ปีที่ผ่านมา บนวิถีทางในระบอบประชาธิปไตย เมืองไทยเคยประกาศใช้ทั้งรัฐธรรมนูญฉบับถาวร และธรรมนูญการปกครองแผ่นดินฉบับชั่วคราว มาแล้วทั้งสิ้น 16 ฉบับ

หากวันที่ 30 ก.ย. หรือ 1 ต.ค.นี้ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ทำคลอดรัฐธรรมนูญชั่วคราว ปี 2549 ได้สำเร็จ เมืองไทยจะได้สถิติใหม่ เปลี่ยนใช้รัฐธรรมนูญมาแล้วทั้งสิ้น 17 ฉบับ

เทียบกันระหว่าง “ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2534” ยุคที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (รสช.) เคยประกาศใช้ กับ “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2549” ภายใต้การกำกับของ คปค.

แม้จะมีกลิ่นอายที่คล้ายคลึง แต่ก็มีเนื้อหาหลายส่วนแตกต่างอย่างน่าสนใจ

เริ่มจากในส่วนของคำปรารภ หรือเหตุผลที่ต้องมีการประกาศใช้ ใน “ธรรมนูญฯ ฉบับ รสช.” ระบุว่า

เพื่อให้การปกครองประเทศเป็นไปโดยราบรื่น ประกอบกับมีความมุ่งหมายที่จะขจัดภยันตรายที่มีต่อประเทศ และสถาบันพระมหากษัตริย์ให้หมดสิ้น และบังเกิดความสงบเรียบร้อยโดยเร็ว


รวมทั้งกำหนดกลไกการปกครอง ที่เอื้ออำนวยให้การบริหารประเทศ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเหมาะสมแก่สภาพของประเทศ พื้นฐานทางเศรษฐกิจ และสังคมของคนในชาติ จึงสมควรให้มีธรรมนูญการปกครองประเทศ ใช้ไปพลางก่อน

เทียบกับคำปรารภ ใน “ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2549” ฝีมือ คปค. ให้เหตุผลในการประกาศใช้ไว้ว่า

เพื่อเป็นการกำหนดกลไกการปกครองไปพลางก่อน โดยคำนึงถึงหลักนิติธรรม ตามประเพณีการปกครองของไทยในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข


เพื่อฟื้นฟูความรู้รักสามัคคี ฟื้นฟูเศรษฐกิจ และความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ปฏิบัติตามกฎบัตรสหประชาชาติ พันธกรณีตามสัญญา หรือความตกลงระหว่างประเทศ และการดำรงชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

จะเร่งดำเนินการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางทุกขั้นตอน เพื่อให้เป็นไปตามที่ คปค.ได้นำความกราบบังคมทูลฯ


เนื้อหาในคำปรารภที่แตกต่าง บ่งชี้ถึงเหตุผลความจำเป็น และสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ก่อนหน้าจะมีการทำรัฐประหารทั้ง 2 ครั้ง

ที่น่าสนใจถัดมาก็คือ เนื้อหาว่าด้วย “สภานิติบัญญัติแห่งชาติ” ในธรรมนูญการปกครอง ฉบับ รสช. ระบุไว้ในมาตรา 6

ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีหน้าที่จัดทำรัฐธรรมนูญ และพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ในการจัดทำรัฐธรรมนูญ โดยให้ คำนึงถึงการเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งจะมีขึ้นภายในพุทธศักราช 2534 (ปีเดียวกับที่ประกาศใช้ธรรมนูญฯชั่วคราว ฉบับ รสช.)

ในมาตรา 7 ระบุให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน ไม่น้อยกว่า 200 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจาก ผู้มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด ตามที่ประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ นำความกราบบังคมทูลฯ

เทียบกับเนื้อหาในมาตรา 5 ของร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2549 ระบุว่า ให้สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีจำนวน ไม่เกิน 250 คน ต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติ มีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี เพื่อทำหน้าที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือรัฐสภา แล้วแต่กรณี

การสรรหาผู้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ให้คำนึงถึงบุคคลกลุ่มต่างๆ ทั้งจาก ภาครัฐ เอกชน ภาคสังคม และ ภาควิชาการ จากภูมิภาคต่างๆ อย่างเหมาะสม

เป็นที่ทราบดี ภายหลังมีการนำร่างรัฐธรรมนูญฯ ฉบับชั่วคราว ปี 2549 ขึ้นทูลเกล้าฯ “คปค.” จะเปลี่ยนชื่อเรียก และสถานะใหม่เป็น “คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ” มีหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่รัฐบาลที่จัดตั้งขึ้น

จึงมีการบัญญัติรองรับไว้ในมาตรา 7 ของร่างรัฐธรรมนูญฯชั่วคราว ปี 2549 ให้ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประธานฯ และรองประธานฯ

รวมทั้งยังระบุไว้ในมาตรา 14 ของร่างฯ ให้ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ แต่งตั้งและถอดถอนนายกรัฐมนตรี โดยกำหนดให้มีคณะรัฐมนตรี จำนวนไม่เกิน 35 คน

อีกกลไกหลักที่น่าจับตา คือ “ผู้ทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญ” (ฉบับถาวร) เพื่อปูทางไปสู่การเลือกตั้งในอนาคต

ธรรมนูญการปกครองสมัย รสช. ระบุให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ แต่งตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นมาคณะหนึ่ง มีจำนวน ไม่เกิน 20 คน ทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

เมื่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้รับร่างรัฐธรรมนูญจากคณะกรรมาธิการ กำหนดให้การพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ แบ่งออกเป็น 3 วาระ

หลังจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้ลงมติให้ความเห็นชอบในวาระที่ 3 แล้ว ให้ประธานสภานิติบัญญัติฯ นำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญ เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอน

เทียบกับกลไก “ผู้ทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญ” ฉบับมี คปค.เป็นพี่เลี้ยง ระบุไว้ในมาตรา 19-30 ของร่างรัฐธรรมนูญฯชั่วคราว ปี 2549 รวมความว่า

กำหนดให้มี “สมัชชาแห่งชาติ” จำนวน ไม่เกิน 2,000 คน โดยมีประธานคณะมนตรีความมั่นคงฯ เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง

ให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่ประธานสมัชชาแห่งชาติ


ให้สมัชชาแห่งชาติ ทำหน้าที่ เลือกกันเอง ให้เหลือ 200 คน เพื่อสรรหาผู้สมควรได้รับการเสนอชื่อเป็น “สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ” โดยต้องกระทำให้เสร็จภายใน 7 วัน นับแต่วันเปิดประชุมสมัชชาครั้งแรก

วิธีคัดเลือก ให้สมาชิกสมัชชาเลือกได้คนละไม่เกิน 3 ชื่อ เพื่อสรรหาผู้ที่ได้คะแนนสูงสุด จำนวน 200 คน

เมื่อได้รายชื่อผู้ทำหน้าที่ “สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ” ทั้ง 200 คน ให้นำบัญชีรายชื่อ ส่งให้คณะมนตรีฯ ทำการคัดเลือกให้เหลือ 100 คน เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ โดยจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งต่อไป

ให้ประธานคณะมนตรีความมั่นคงฯ เป็นผู้แต่งตั้งประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ และรองประธานฯ

ประเด็นสำคัญอยู่ที่ เมื่อสภาร่างรัฐธรรมนูญ ยกร่างรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จ ให้เผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญ และเอกสารชี้แจงว่า มีความแตกต่าง จากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 อย่างไร เพื่อรับฟังความเห็นจากประชาชน

ขั้นต่อไป ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญ นำความเห็นของประชาชน และคำแปรญัตติไปพิจารณาจากนั้น ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญ จัดทำร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จภายใน 180 วัน เมื่อร่างรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จ ให้นำออกเผยแพร่แก่ประชาชนอีกครั้ง และจัดให้มีการออกเสียงลงประชามติภายในไม่เกิน 30 วัน

นอกจากนี้ ยังระบุว่า ให้กรรมาธิการยกร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ อันเกี่ยวกับการเลือกตั้งเฉพาะที่จำเป็น กระทำให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน และเสนอต่อสภานิติบัญญัติ

และ ห้ามมิให้ประธานคณะมนตรีความมั่นคงฯ สมาชิกสภานิติบัญญัติ รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้อง ลงสมัครเป็น ส.ส. และ ส.ว.ภายในเวลา 2 ปี


น่าสังเกต สาระหลายอย่างในร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว พ.ศ.2549 มีสีสันแปลกใหม่สอดแทรก แตกต่างจากธรรมนูญการปกครองฯหลายฉบับ ในช่วงที่ผ่านมา

แต่จุดหมายปลายทางนำไปสู่การมีรัฐธรรมนูญฉบับถาวร เพื่อให้เกิดการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม ดังที่ฝันกันไว้ จะเป็นจริงเป็นจัง สักแค่ไหน ยังมีเวลาเหลือเฟือให้ติดตาม.

****************************

อ้างจาก สกู๊ฟหน้าหนึ่งไทยรัฐ

กระทู้นี้คงไม่ยืนที่ประเด็นหลักของกระทู้เพียงอย่างเดียวนะครับ คือไม่อยากติดตามหลาย ๆ กระทู้ ที่เกี่ยวเนื่องกับ "ร่างรัฐธรรมนูญ" แค่นั้นเอง

ก็แตกประเด็นอยู่ในกระทู้นี้นี่แหละครับ

ที่สำคัญ ไม่ได้พยายามจะทำให้ทุกคน "ยอมรับ" การปฏิรูปปฏิวัติ แต่อย่างใดนะครับ...อย่าได้เข้าใจผิดไปถึงปานนั้น

เพราะยังยืนยันว่า...คิดต่างได้เสมอ...และอยากให้มองถึงเหตุการณ์ที่เป็นจริงและสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมไทย

ในเมื่ออยากให้ทุกฝ่ายสมานฉันท์...อยากได้ความเป็นหนึ่งเดียว ทำไมไปตั้ง "ข้อรังเกียจ" ในการร่างรัฐธรรมนูญ เพียงเพราะว่า มันมาจากการปฏิวัติ

หรือเพียงเพราะ "พ่อมันชั่ว" เลยไม่ยอมรับว่า ..."ลูกมันดี"

เราพิจารณากันแค่นี้เองหรือ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29-09-2006, 21:43 โดย CanCan » บันทึกการเข้า

decison_making
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 254


แม่ไม่ว่าเหรอแม้ว ทำตัวอย่างงี้


« ตอบ #58 เมื่อ: 29-09-2006, 21:23 »

เข้ามาเห็นด้วยกับคุณแคน เพราะเรามัวแต่ห่วงประชาธิประไตยแบบสุดโต่ง
จนลืมไปแล้วว่า ตอนนี้ เราต่างจากตอน ไม่ได้ปฏิวัติหรือไม่
คำตอบคือ ไม่ต่างหรอก เราตรวจสอบรัฐได้มั้ย เรามีระบบเอาผิดผู้นำรึเปล่า

แล้วประชาธิประไตย ที่ปราศจากการตรวจสอบ มันจะต่างอะไรกับรัฐบาลเผด็จการ
  form ต่างกัน แต่  content เหมือนกันแทบแยกไม่ออก

ประชาธิประไตย ของคนเที่ยงคืน คือการเลือกตั้ง แล้วทำไมไม่คิดถึงความถูกต้องชอบธรรม บ้าง
อย่ามองอะไรที่มันนอกเหนือจากความเป็นจริงมากนัก บ้านเมืองเรา ไม่ได้ มีลักษณะที่ใกล้เคียงกับฝรั่ง
ที่ประชาธิประไตยและเสียงส่วนใหญ่ คือ ตัวตัดสิน แต่บ้านเราเสียงเราไม่ได้บริสุทธิ์แบบนั้น
ต้องยอมรับกันบ้าง แล้วถ้าแนวทางแบบประชาธิประไตยของท่าน มันถูกต้องมากนัก

มันแก้ปัญหาอะไรให้เราได้บ้าง เห็นมีแต่ดิ่งเหวลงทุกวัน
บันทึกการเข้า
Killer
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,576


ช๊อบบ ชอบบ...ปฏิวัติ ปลื้ม ค่ะ


« ตอบ #59 เมื่อ: 30-09-2006, 00:35 »

No Comment...รู้แต่ว่า มันไม่ง่ายอย่างที่คิดหรอก
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
    กระโดดไป: