ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
08-01-2025, 10:22
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  แย้ม ๆ "รัฐธรรมนูญ" ( ชั่วคราว ) 2549 ให้เสรีภาพเท่า รัฐธรรมนูญ 2540 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
แย้ม ๆ "รัฐธรรมนูญ" ( ชั่วคราว ) 2549 ให้เสรีภาพเท่า รัฐธรรมนูญ 2540  (อ่าน 1690 ครั้ง)
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« เมื่อ: 26-09-2006, 22:28 »

แย้ม ๆ "รัฐธรรมนูญ" ( ชั่วคราว ) 2549 ให้เสรีภาพเท่า รัฐธรรมนูญ 2540

น่ายินดี...วันนี้ หน.คปค. และเลขาคปค.  อ.จรัล และอธิการบดี มธ. อธิการบดี สุโขทัยธรรมาธิราช เข้าประชุมเอง

อ.มีชัยสรุปให้ฟัง ไม่มี วิษณุและบวรศักดิ์ในที่ประชุมแต่อย่างใด

สรุปสั้น ๆ ให้ฟังดังนี้

มาตรา 3 ให้พิทักษ์สิทธิ์ประชาชน เทียบเท่า รัฐธรรมนูญ 2540

มาตรา 34 เรื่องสภามนตรีความมั่นคง มี 5 คนจาก คปค. และแต่งตั้งเพิ่ม 15 คน เพื่อรองรับปลัดกระทรวง แม่ทัพนายกอง ให้ เลขา กฤษฎีกามาอยู่โดยตำแหน่ง ( เนื้อหาจะไม่แทรกแซง หรือไม่ควบคุมรัฐบาล แต่จะคุ้มครองภัยอันจะมากล้ำกรายรัฐบาลทั้งภัยจากในประเทศหรือขั้วอำนาจเก่า และปกป้องดูแลภัยจากภายนอกหรืออำนาจเงิน...)

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ จำนวน 250 คน มาจาก 4 ส่วนคือ จากภาครัฐ (ราชการ) ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคสภาบันการศึกษา

อำนาจหน้าที่ ทำกฎหมายนโยบายต่าง ๆ สนับสนุนรัฐบาลชั่วคราว

ในส่วนสภาต่าง ๆ มีดังนี้

ตอนนี้จะมี 3 สภา คือ

สภามนตรีความมั่นคงแห่งชาติ สมาชิก 20 คน ( คปค. 5 คนและแต่งตั้งเพิ่ม 15 คน )

สภานิติบัญญัติ สมาชิก 100 คน ( เลือกจากสมัชชาแห่งชาติ 2,000 คน คัดกันเองให้เหลือ 200 แล้วให้สภามนตรีความมั่นคงคัดเหลือ 100 คน )

สภาร่างรัฐธรรมนูญ 300-500 คน ( แต่งตั้งมาจาก สภานิติบัญญัติ ) มี คณะยกร่างรัฐธรรมนูญ 20-30 คน

หลังจากร่างเสร็จให้ทำประชามติทั่วประเทศ ประกาศใช้ภายใน 1 ปี แล้วมีเลือกตั้ง


สำนักข่าวลุงแคน
บันทึกการเข้า

ดาบฟ้าฟื้น
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 207


« ตอบ #1 เมื่อ: 26-09-2006, 22:32 »

แล้วจะฉีกทิ้งทำไม ในเมื่ออันไหม่กับอันเก่า เหมือนกัน..?

กร๊าก
บันทึกการเข้า
เพนกวินน้อยนักอ่าน
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 866



« ตอบ #2 เมื่อ: 26-09-2006, 22:35 »

แล้วจะฉีกทิ้งทำไม ในเมื่ออันไหม่กับอันเก่า เหมือนกัน..?

กร๊าก

อ่านเข้าใจบ้างไหมครับ
เขาพูดถึงประเด็นเสรีภาพ ในรธนฯ สองฉบับ เปรียบเทียบกัน
 
บันทึกการเข้า
ริวเซย์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4,637


Worrior in The Blue Armor


เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 26-09-2006, 22:41 »

หวังว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญที่ดีกว่าฉบับที่แล้วครับ
บันทึกการเข้า

ถ้ามีแฟนแบบนี้เอาไหมครับ^^


Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 26-09-2006, 22:42 »

รัฐธรรมนูญ อาจเหลือไม่ถึง 300 กว่ามาตรา คงทำให้กระชับมากขึ้น

การเกิดของวุฒิสภา องค์กรอิสระ ต่าง ๆ อาจต้องเปลี่ยนแปลง

หน้าที่ขององค์กรต่าง ๆ อาจเปลี่ยนแปลงไป เข้มขึ้นหรือยกเลิกบางองค์กร

การคานอำนาจหรือการตรวจสอบ อาจโอนไปทางอำนาจตุลาการ

อาจมีศาลเลือกตั้ง...อาจไม่มีวุฒิสภา ..ศาลรัฐธรรมนูญอาจไปอยู่ทางด้านศาลฎีกา

อาจ...อาจ...อาจ...รับประกันไม่เหมือนเดิม

แต่เสรีภาพของประชาชนให้น้อยกว่านั้นไม่ได้...พอมองออกใช่มั๊ย...

รัฐธรรมนูญมิได้มีเฉพาะด้านสิทธิ์พลเมือง แต่มีกลไกในการบริหารประเทศ การตรวจสอบ การกำหนดจริยธรรมนักการเมือง ฯลฯ

ลอง ๆ ไปพลิกดูรัฐธรรมนูญสิ มีหลายหมวดนะ...แต่หมวด 3 หใวดสิทธิ์ของพลเมืองจะเหมือนเดิม น้อยกว่านั้นไม่ได้ เข้าใจหรือยัง
บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 26-09-2006, 22:54 »

รัฐธรรมนูญ 2540

# คำปรารถ
# หมวด ๑ บททั่วไป
# หมวด ๒ พระมหากษัตริย์
# หมวด ๓ สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
# หมวด ๔ หน้าที่ของชนชาวไทย
# หมวด ๕ แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
# หมวด ๖ รัฐสภา

    * ส่วนที่ ๑ บททั่วไป
    * ส่วนที่ ๒ สภาผู้แทนราษฎร
    * ส่วนที่ ๓ วุฒิสภา
    * ส่วนที่ ๔ คณะกรรมการการเลือกตั้ง
    * ส่วนที่ ๕ บทที่ใช้แก่สภาทั้งสอง
    * ส่วนที่ ๖ การประชุมร่วมกันของรัฐสภา
    * ส่วนที่ ๗ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
    * ส่วนที่ ๘ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

# หมวด ๗ คณะรัฐมนตรี
# หมวด ๘ ศาล

    * ส่วนที่ ๑ บททั่วไป
    * ส่วนที่ ๒ ศาลรัฐธรรมนูญ
    * ส่วนที่ ๓ ศาลยุติธรรม
    * ส่วนที่ ๔ ศาลปกครอง
    * ส่วนที่ ๕ ศาลทหาร

# หมวด ๙ การปกครองส่วนท้องถิ่น
# หมวด ๑๐ การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ

    * ส่วนที่ ๑ การแสดงบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สิน
    * ส่วนที่ ๒ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
    * ส่วนที่ ๓ การถอดถอนออกจากตำแหน่ง
    * ส่วนที่ ๔ การดำเนินคดีอาญากับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

# หมวด ๑๑ การตรวจเงินแผ่นดิน
# หมวด ๑๒ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
# บทเฉพาะกาล

ที่กล่าวถึงในกระทู้ หมายถึง หมวด 3 แต่เพียงหมวดเดียวคือหมวดสิทธิ์และเสรีภาพของปวงชนชาวไทย ซึ่งจะอยู่ใน "รัฐธรรมนูญชั่วคราว" ซึ่งประชาชนเป็นห่วง...และรัฐธรรมนูญชั่วคราวนี้จะใช้เพียงแค่ 1 ปี

เมื่อมี "รัฐธรรมนูญใหม่" ก็ยกเลิกรัฐธรรมนูญชั่วคราวไปโดยของใหมออกมาแทน่ ซึ่งแน่นอนว่า เรายังมีเสรีภาพอยู่ แม้ในภาวะของรัฐบาลชั่วคราว
บันทึกการเข้า

tron
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 38


« ตอบ #6 เมื่อ: 27-09-2006, 02:23 »

แบ่งเค้ก หรือแบ่งเผือก เอาไปกิน เดี๋ยวก็รู้ กรรมติดจรวด
บันทึกการเข้า
eAT
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,066



« ตอบ #7 เมื่อ: 27-09-2006, 11:07 »

แล้วจะฉีกทิ้งทำไม ในเมื่ออันไหม่กับอันเก่า เหมือนกัน..?

กร๊าก

ฟายยังคนเป็นฟาย ไม่เปลี่ยนแปลง
แค่ไม่กี่บรรทัด ยังอ่านไม่เข้าใจ
กลับไปเรียนหนังสือเสียเถอะ
อ้ายพวกถ่วงความเจริญของชาติ
บันทึกการเข้า
soco
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,842



« ตอบ #8 เมื่อ: 27-09-2006, 11:11 »

เปิดสาระสำคัญ 39 มาตรา ร่าง รธน.(ชั่วคราว) 2549
วันที่ 27 ก.ย. 2549





คำปรารภ

ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2549 เป็นการกำหนดกลไกการปกครองไปพลางก่อน โดยจะคำนึงถึงหลักนิติธรรมตามประเพณีการปกครองของไทยในระบอบประชา ธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพื่อฟื้นฟูความรู้รักสามัคคี ฟื้นฟูเศรษฐกิจ และความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน การปฏิบัติตามกฎบัตรสหประชาชาติ พันธกรณีตามสัญญา หรือความตกลงระหว่างประเทศ การดำรงชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ขณะเดียวกัน จะเร่งดำเนินการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางในทุกขั้นตอน เพื่อให้เป็นไปตามที่ คปค. ได้นำความกราบบังคมทูลฯ

มาตรา 1 ว่าด้วยความเป็นหนึ่งเดียวของราชอาณาจักรและพระมหากษัตริย์

มาตรา 2 ว่าด้วยอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทยและพระมหากษัตริย์เป็นผู้ใช้อำนาจทางสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี และศาล

มาตรา 3 ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดย มีสาระว่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และความเสมอภาคที่ประชาชนเคยได้รับการคุ้มครองตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและตามพันธกรณีของระหว่างประเทศย่อมได้รับการคุ้มครอง

มาตรา 4 ว่าด้วยการแต่งตั้งคณะองคมนตรี

มาตรา 5 ว่าด้วยสภานิติบัญญัติแห่งชาติไม่เกิน 250 คน คุณสมบัติมีอายุไม่ต่ำ 35 ปีทำหน้าที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือรัฐสภาแล้วแต่กรณี การสรรหาให้คำนึงถึงบุคคลกลุ่มต่างๆ ในภาครัฐ เอกชน ภาคสังคม และภาควิชาการจากภูมิภาคต่างๆ อย่างเหมาะสม

มาตรา 6 ว่าด้วยการพ้นจากตำแหน่งของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

มาตรา 7 ให้ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเป็นผู้รับสนองแต่งตั้งสมาชิกสภา ประธาน และรองประธาน

มาตรา 8 ว่าด้วยการถอดถอนสมาชิกสภาที่มีพฤติการณ์ไม่เหมาะสม โดยให้สมาชิกไม่ต่ำกว่า 20 คน เข้าชื่อร้องต่อประธานสภา และที่ประชุมมีมติไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ให้พ้นจากตำแหน่ง

มาตรา 9 ว่าด้วยวิธีการประชุมสภา

มาตรา 10 วิธีการตราพระราชบัญญัติ โดย สมาชิกเข้าชื่อไม่น้อยกว่า 25 คนหรือคณะรัฐมนตรี เสนอ

มาตรา 11 การตั้งกระทู้ถามในสภานิติบัญญัติ และการขอเปิดอภิปรายเพื่อซักถามข้อเท็จจริงจากคณะรัฐมนตรี แต่ไม่มีสิทธิลงมติไม่ไว้วางใจ

มาตรา 12 ว่าด้วยเรื่องที่คณะรัฐมนตรีรับฟังความเห็นจากสมาชิกสภานิติบัญญัติโดยขอให้เปิดประชุมสภา

มาตรา 13 ว่าด้วยเอกสิทธิ์คุ้มครองสมาชิกในการอภิปรายข้อเท็จจริงในสภา

มาตรา 14 ว่าด้วยการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี และให้นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง โดยประธานคณะมนตรีความมั่นคงเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ทั้งนี้ กำหนดให้มีคณะรัฐมนตรีไม่เกิน 35 คน

มาตรา 15 ว่าด้วยการตราพระราชกำหนด

มาตรา 16 ว่าด้วยการตราพระราชกฤษฎีกา

มาตรา 17 การรับสนองพระบรมราชโองการเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน

มาตรา 18 ความเป็นอิสระของผู้พิพากษาและตุลาการในการพิพากษาคดี

มาตรา 19 สมัชชาแห่งชาติมีไม่เกิน 2,000 คน มีประธานคณะมนตรีความมั่นคงเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

มาตรา 20 ประธานสภานิติบัญญัติทำหน้าที่ประธานสมัชชาแห่งชาติ และรองประธานสภานิติ บัญญัติทำหน้าที่ประธานสมัชชาแห่งชาติ

มาตรา 21 สมัชชาทำหน้าที่เลือกกันเองให้เหลือ 200 คน เป็นผู้สมควรได้รับการเสนอชื่อเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญซึ่งต้องทำให้เสร็จภายใน 7 วัน นับแต่วันเปิดประชุมสมัชชาครั้งแรก ถ้าครบกำหนดเวลาไม่อาจคัดเลือกได้ให้สมัชชาแห่งชาติสิ้นสุดลง วิธีการคัดเลือก ให้สมาชิกสมัชชาเลือกได้คนละไม่เกิน 3 ชื่อ และผู้ได้คะแนนสูงสุด 200 คน

มาตรา 22 นำบัญชีรายชื่อ 200 คน ให้คณะ มนตรีเลือกเหลือ 100 คน เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญซึ่งต้องโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง

มาตรา 23 การพ้นจากตำแหน่งและการแต่งตั้งเพิ่มเติมสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ

มาตรา 24 ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแต่งตั้งประธานสภาร่าง และรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ

มาตรา 25 การแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญที่ได้รับการคัดเลือกจากสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ 25 คน และผู้ทรงคุณวุฒิที่คณะมนตรีความมั่นคงแต่งตั้ง 10 คน

มาตรา 26 เมื่อมีการยกร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้วให้เผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญและเอกสารชี้แจงว่ามีความแตกต่างจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 อย่างไร เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน

มาตรา 27 การแปรญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของสภาร่างรัฐธรรมนูญ

มาตรา 28 ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญนำความเห็นของประชาชนและคำแปรญัตติมาพิจารณา

มาตรา 29 ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญทำร่างรัฐธรรม นูญให้เสร็จภายใน 180 วัน เมื่อร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้วให้เผยแพร่กับประชาชนและจัดให้มีการออกเสียงลงประชามติไม่เกิน 30 วัน

มาตรา 30 ให้กรรมาธิการยกร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญเฉพาะที่จำเป็นที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งให้เสร็จภายใน 45 วัน และเสนอต่อสภานิติบัญญัติ ห้ามมิให้ประธานคณะมนตรีความมั่นคง สมาชิกสภานิติบัญญัติ และผู้ที่เกี่ยวข้องลงสมัครเป็น ส.ส. และ ส.ว. ภายในเวลา 2 ปี

มาตรา 31-32 ถ้าร่างรัฐธรรมนูญไม่เสร็จตามเวลาที่กำหนด หรือไม่ผ่านความเห็นชอบในการลงประชามติ ให้คณะมนตรีความมั่นคงประชุมร่วมกับคณะรัฐมนตรี โดยให้นำรัฐธรรมนูญฉบับเดิมมาปรับปรุงให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน และประกาศใช้ได้เลย

มาตรา 33 ว่าด้วยค่าตอบแทนของประธาน รองประธานสภานิติบัญญัติ สภาร่างรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในคณะมนตรีความมั่นคง และผู้ดำรงตำแหน่งในตุลาการรัฐธรรมนูญให้ออกเป็นกฤษฎีกา

มาตรา 34 ว่าด้วยองค์ประกอบคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ประธานคณะมนตรีฯอาจขอให้มีการประชุมร่วมกับคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาแก้ปัญหาใดๆ ที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน

มาตรา 35 ว่าด้วยอำนาจของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญซึ่งมีประธานศาลฎีกาเป็นประธาน ประธานศาลปกครองสูงสุดเป็นรองประธาน และมีผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ซึ่งที่ประชุมใหญ่เลือก 5 คน และตุลาการศาลปกครองสูงสุดเลือก 2 คน โดยมีอำนาจพิจารณาคดีเหมือนศาลรัฐธรรมนูญเดิม   

มาตรา 36 ให้ประกาศคำสั่งของ คปค. ให้มีผลบังคับใช้ต่อไปและเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

มาตรา 37 ให้การกระทำทั้งหลายของ คปค. ในการยึดและควบคุมทางด้านการปกครองแผ่นดิน ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง

มาตรา 38 ว่าด้วยการใช้ประเพณีการปกครองแผ่นดินเมื่อไม่บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญบังคับ

มาตรา 39 ในระหว่างนายกรัฐมนตรียังไม่ได้รับหน้าที่ ให้ประธานคณะมนตรีฯทำหน้าที่ไปพลางก่อน


http://www.matichon.co.th/breaking-news/breaking-news.php?nid=MjAwNjA5MjctMDcxMTEx
บันทึกการเข้า
ชอบแถ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,138



« ตอบ #9 เมื่อ: 27-09-2006, 11:23 »

มาตรา 34 ว่าด้วยองค์ประกอบคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ประธานคณะมนตรีฯอาจขอให้มีการประชุมร่วมกับคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาแก้ปัญหาใดๆ ที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน
มาตรานี้แปลว่า หอยต้องมีเปลือก

มาตรา 36 ให้ประกาศคำสั่งของ คปค. ให้มีผลบังคับใช้ต่อไปและเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
มาตรานี้แปลว่า ให้รู้ซะมั่งใครใหญ่กว่าใคร

มาตรา 37 ให้การกระทำทั้งหลายของ คปค. ในการยึดและควบคุมทางด้านการปกครองแผ่นดิน ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง
มาตรานี้แปลว่า นิรโทษกรรม

มาตรา 38 ว่าด้วยการใช้ประเพณีการปกครองแผ่นดินเมื่อไม่บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญบังคับ
อดีตเรียกมาตรานี้ว่า มอเจ็ด
บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #10 เมื่อ: 27-09-2006, 21:00 »

มาตรา 29 ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญทำร่างรัฐธรรม นูญให้เสร็จภายใน 180 วัน เมื่อร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้วให้เผยแพร่กับประชาชนและจัดให้มีการออกเสียงลงประชามติไม่เกิน 30 วัน

...กำหนดชัดเจน...ใช้เวลาร่าง 6 เดือน...ใช้ได้...เร็วดี

มาตรา 30 ให้กรรมาธิการยกร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญเฉพาะที่จำเป็นที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งให้เสร็จภายใน 45 วัน และเสนอต่อสภานิติบัญญัติ ห้ามมิให้ประธานคณะมนตรีความมั่นคง สมาชิกสภานิติบัญญัติ และผู้ที่เกี่ยวข้องลงสมัครเป็น ส.ส. และ ส.ว. ภายในเวลา 2 ปี

มาตรานี้ ป้องกันข้อครหา ร่างกฎหมายเพื่อตนเอง..มาตรานี้ดีครับ....ชัดเจนดี

มาตรา 31-32 ถ้าร่างรัฐธรรมนูญไม่เสร็จตามเวลาที่กำหนด หรือไม่ผ่านความเห็นชอบในการลงประชามติ ให้คณะมนตรีความมั่นคงประชุมร่วมกับคณะรัฐมนตรี โดยให้นำรัฐธรรมนูญฉบับเดิมมาปรับปรุงให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน และประกาศใช้ได้เลย

ที่ขีดเส้นใต้คือของดี..นะ... นะ...เพราะหากไม่ผ่านประชามติ ยังมีหลักประกันว่ามีของเดิมใช้ไปก่อน

มาตรา 38 ว่าด้วยการใช้ประเพณีการปกครองแผ่นดินเมื่อไม่บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญบังคับ

มาตรานี้คล้าย มาตรา 7 ในของเดิม นี่คือความจำเป็นของการปกครอง เพราะไม่มีใครสามารถร่างรัฐธรรมนูญได้ครอบคลุมทั้งหมด

การปล่อยร่างออกมาให้ประชาชนได้วิพากษ์วิจารณ์ อย่างน้อยจากสื่อต่าง ๆ คงได้รับฟังความเห็นจากฝ่ายต่าง ๆ บ้าง

มาตรา 35 ว่าด้วยอำนาจของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญซึ่งมีประธานศาลฎีกาเป็นประธาน ประธานศาลปกครองสูงสุดเป็นรองประธาน และมีผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ซึ่งที่ประชุมใหญ่เลือก 5 คน และตุลาการศาลปกครองสูงสุดเลือก 2 คน โดยมีอำนาจพิจารณาคดีเหมือนศาลรัฐธรรมนูญเดิม 

มาตรา 35...ผู้พิจารณาคดีในศาลรัฐธรรมนูญ น่าจะเป็นทางออกเพื่อไม่ให้ผู้ใดไปมีอิทธิพลเหนือศาลรัฐธรรมนูญ


โดยรวมก็นับว่าดี อย่างน้อยก็ตัด จำพวก มาตรา 17 หรือมาตราที่เป็นอำนาจเด็ดขาดทั้งหลาย


ที่สำคัญมีเงื่อนเวลาชัดเจน เบี้ยวไม่ได้
บันทึกการเข้า

ชอบแถ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,138



« ตอบ #11 เมื่อ: 27-09-2006, 21:23 »

น่าจะเพิ่มอีกข้อ ห้ามไม่ให้มีองค์กรแบบคณะมนตรีฯ อยู่ในรัฐธรรมนูญ
และผู้มีตำแหน่งในคณะมนตรีรวมทั้งผู้ทึ่คณะมนตรีฯ แต่งตั้งต้องแสดง
ทรัพย์สินก่อนพ้นสภาพ
บันทึกการเข้า
Killer
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,576


ช๊อบบ ชอบบ...ปฏิวัติ ปลื้ม ค่ะ


« ตอบ #12 เมื่อ: 27-09-2006, 22:09 »

มันจะเอากันยังไง ก็เรื่องของมรึงเหอะ....ถ้าชาติบ้านเมืองฉิบหายบรรลัยวายวอดขึ้นมา

โปรด... Exclamation แสดงความรับผิดชอบอย่างลูกผู้ชายด้วยก็แล้วกัน...
บันทึกการเข้า
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #13 เมื่อ: 27-09-2006, 23:02 »

แล้วจะฉีกทิ้งทำไม ในเมื่ออันไหม่กับอันเก่า เหมือนกัน..?

กร๊าก



ฮืมมม์............อเวไนยสัตว์ Exclamation

ปล. อเวไนยสัตว์ (a-way-nai-ya-sut)
(น.) สัตว์ที่ไม่อาจสั่งสอนได้. n. animals which cannot be taught.
บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
พระพาย
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 679



« ตอบ #14 เมื่อ: 27-09-2006, 23:18 »

จากอีกกระทู้หนึ่งครับ คัดลอกให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับมาตราต่างๆ ได้อยู่ด้วยกันครับ

โดยรวมๆ แล้ว ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ทำได้ชัดเจนทั้งในเรื่องเนื้อหา วิธีการ และกรอบเวลา

ทำให้มั่นใจได้ว่าเราจะมีรัฐธรรมนูญใช้งานภายใน 1 ปีแน่นอน... แต่จะได้รัฐธรรมนูญที่ดีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ว่าจะไปไกลถึงขนาดต้องใช้มาตรา 31-32 หรือไม่?

       มาตรา 31-32 ถ้าร่างรัฐธรรมนูญไม่เสร็จตามเวลาที่กำหนด หรือไม่ผ่านความเห็นชอบในการลงประชามติ ให้คณะมนตรีความมั่นคงประชุมร่วมกับคณะรัฐมนตรี โดยให้นำรัฐธรรมนูญฉบับเดิมมาปรับปรุงให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน และประกาศใช้ได้เลย

ถ้าหากสุดท้ายคือการปรับใช้รัฐธรรมนูญ 2540 จริง... ต้องอธิบายได้ว่าการปรับปรุงบางมาตราของรัฐธรรมนูญ 2540 ใช้หลักการใดบ้าง จะต้องอธิบายให้ชัดเจน.. ที่สำคัญจะต้องไม่ให้ประชาชนรู้สึกว่าเสียแรงปฏิรูปแล้วได้ของเดิมกลับมาทั้งดุ้น

ผมเห็นด้วยกับนักวิชาการกลุ่มหนึ่ง (จำไม่ได้ว่านำโดยท่านสุรพลหรือเปล่า) ที่นำเสนอไว้ตั้งแต่ตอนต้นปีให้ใช้ร่วมกับมาตรา 7 เป็นธงปฏิรูปการเมือง โดยสาระสำคัญเน้นไปที่เรื่ององค์กรกลางและการปรับปรุงระบบการตรวจสอบ... ถ้าจะนำของเก่ามาปรับใช้ ก็ควรมีการปรับปรุงสาระสำคัญตรงนี้เป็นหลัก

สำหรับข้อสังเกตในบางมาตราเช่น มาตรา 12
       มาตรา 12 ว่าด้วยเรื่องที่คณะรัฐมนตรีรับฟังความเห็นจากสมาชิกสภานิติบัญญัติโดยขอให้เปิดประชุมสภา

ผมได้สำรวจตรวจตราทั้ง 39 มาตรา... ไม่รู้หลงหูหลงตาไปหรือไม่ แต่เข้าใจว่ามาตรานี้ค่อนข้างโดดเดี่ยวจากข้ออื่นๆ ไม่มีมาตราที่รับลูกส่งลูกกับมาตรานี้เลย... เช่น อำนาจหน้าที่ของสภาฯ ในการให้คำปรึกษาต่อคณะรัฐมนตรีผ่านการประชุมสภาฯ... เป็นต้น (ไม่แน่ใจในวัตถุประสงค์ของมาตรานี้ว่าคืออะไร?)

และสุดท้ายคือแก้คำที่น่าจะผิดครับในมาตรา 20
       มาตรา 20 ประธานสภานิติบัญญัติทำหน้าที่ประธานสมัชชาแห่งชาติ และรองประธานสภานิติบัญญัติทำหน้าที่ประธานสมัชชาแห่งชาติ

ที่ขีดเส้นใต้ไว้น่าจะเป็น "รองประธานสมัชชาแห่งชาติ" มากกว่าครับ
บันทึกการเข้า

คลิป นปก บุกทำเนียบชนพันธมิตร
http://pirun.ku.ac.th/~g4685035/01mob.asf
กระทู้ขบวนการเสรีไทยในเวบบอร์ดร่วมคัดคัดกรณีปราสาทพระวิหาร นำโดยคุณ *bonny http://forum.serithai.net/index.php?topic=28065.0
และเอกสารยื่นคัดค้านกระทรวงต่างประเทศไทยและกัมพูชา  http://www.savefile.com/files/1629973
กระทู้สรุปประเด็นปราสาทพระวิหาร โดยคุณ Jerasak http://forum.serithai.net/index.php?topic=28392.0
ใบปลิวขนาด 2 หน้าสรุปประเด็นปราสาทพระวิหาร โดยคุณ Jerasak http://www.savefile.com/files/1626944

แม่น้ำร้อยสายล้วนต้นกำเนิดเดียวกัน... จากสายฝน จากภูเขา ที่ซึ่งคล้ายเจตนารมณ์แห่งฟ้า
เสรีไทยเวบบอร์ด http://forum.serithai.net/
We Open Mind http://www.weopenmind.com/board/index.php
อรุณสวัสดิ์ http://www.arunsawat.com/board/index.php
ที่ทำการเสี่ยวอีสาน[
ดาบฟ้าฟื้น
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 207


« ตอบ #15 เมื่อ: 27-09-2006, 23:28 »

รัฐธรรมนูญ ที่ไม่ผ่านความเห็นชอบจาก เสียประชาชนทั่วประเทศแล้วมาบอกดีที่สุด

มริงหลับตาเพ้อเหรอ

ถ้ามันเสรีจริง มรึงจะตั้ง คณะมนตรี ความมั่นคง ขึ้นมาขู่ ทำไม
จะไปก็ไปเลยสิ จะมามีเยื่อใยอะไรอีก

กร๊ากกกก สัน ดดด.ด. รสช แท้ๆ
บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #16 เมื่อ: 28-09-2006, 00:40 »

เอาไปเปรียบเทียบกับธรรมนูญการปกครองฉบับอื่น ๆ ดูสิ...

เข้าใจคำว่า ธรรมนูญการปกครอง กันหรือเปล่าล่ะ อายุมันปีเดียว ชัดเจน...


เท่าที่ดูแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างสภานิติบัญญัติกับ รัฐบาลยังไม่ค่อยชัดเจน ถึงที่สุดอภิปรายรัฐบาลได้ แต่ลงมติไม่ไว้วางใจไม่ได้

ดู ๆ แล้วเสมือนเป็นสภากระจก คือสะท้อนปัญหาให้รัฐบาลเท่านั้น...ไม่มีอำนาจอื่นที่จะโค่นรัฐบาลได้

อาจทำหน้าที่แค่เป็นเครื่องมือให้รัฐบาลเท่านั้น เพราะถึงที่สุด ตัวนายกยังต้องมาจาก สภามนตรีความมั่นคง อยู่ดี
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28-09-2006, 00:50 โดย CanCan » บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #17 เมื่อ: 28-09-2006, 00:59 »

ดูจากคำปรารภ คงพอจะรู้วัตถุประสงค์

คำปรารภ

ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2549 เป็นการกำหนดกลไกการปกครองไปพลางก่อน โดยจะคำนึงถึงหลักนิติธรรมตามประเพณีการปกครองของไทยในระบอบประชา ธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพื่อฟื้นฟูความรู้รักสามัคคี ฟื้นฟูเศรษฐกิจ และความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน การปฏิบัติตามกฎบัตรสหประชาชาติ พันธกรณีตามสัญญา หรือความตกลงระหว่างประเทศ การดำรงชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ขณะเดียวกัน จะเร่งดำเนินการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางในทุกขั้นตอน เพื่อให้เป็นไปตามที่ คปค. ได้นำความกราบบังคมทูลฯ
....................................

1. ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2549 เป็นการกำหนดกลไกการปกครองไปพลางก่อน ( ตามกรอบเวลา )

2. โดยจะคำนึงถึงหลักนิติธรรมตามประเพณีการปกครองของไทยในระบอบประชา ธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

3. เพื่อฟื้นฟูความรู้รักสามัคคี ฟื้นฟูเศรษฐกิจ

4. ความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง ( จำเป็นที่ต้องคงสภามนตรีความมั่นคงไว้ )

5. การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ( แตะต้องสื่อมวลชนให้น้อยที่สุด )

6. การปฏิบัติตามกฎบัตรสหประชาชาติ พันธกรณีตามสัญญา หรือความตกลงระหว่างประเทศ ( สร้างความมั่นใจให้ต่างชาติ )

7. การดำรงชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ( สนองพระราชดำริ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ )

8. ขณะเดียวกัน จะเร่งดำเนินการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางในทุกขั้นตอน

โดยหน้าที่ของร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว คงทำหน้าที่แต่เพียงเท่านี้

บันทึกการเข้า

หน้า: [1]
    กระโดดไป: