ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
28-12-2024, 17:31
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  "มีชัย" อธิบายถี่ยิบ ขั้นตอนก่อกำเนิดรธน.ฉบับคปค. 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
"มีชัย" อธิบายถี่ยิบ ขั้นตอนก่อกำเนิดรธน.ฉบับคปค.  (อ่าน 951 ครั้ง)
taworn09220
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 302


« เมื่อ: 27-09-2006, 19:47 »

"มีชัย" อธิบายถี่ยิบ ขั้นตอนก่อกำเนิดรธน.ฉบับคปค.
วันที่ 27 ก.ย. 2549


"มีชัย" แจงขั้นตอน ระบุ 1 เดือน สภานิติบัญญัติ-สภาร่าง รธน.เสร็จ ยัน คปค.-สสร. ลงสมัคร ส.ส.-ส.ว.ได้ ไม่ปฏิเสธ นั่งเก้าอี้ประธานสภานิติบัญญัติ เผย "สนธิ" โทรมาบอกว่าจะเอารถไรับตอน 4 ทุ่ม บ่นถ้ารู้ล่วงหน้าหนีไปเที่ยวดีกว่า ระบุอาจมีการเพิ่ม ป.ป.ช. เพราะงานเยอะมากจำเป็นต้องหาคนช่วย มั่นใจไม่มีปฏิวัติอีกแล้ว

ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา 2 วันนี้ (27 ก.ย.) นายมีชัย ฤชุพันธ์ อดีตประธานวุฒิสภา ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ในฐานะประธานร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราว ให้สัมภาษณ์ ว่า ร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราวที่สรุปเสร็จเรียบร้อยแล้วนั้น เป็นการยกร่างโดยที่ไม่ได้นำเอารัฐธรรมนูญเมื่อปี 2534 มาดูกันเลย แต่เป็นการร่างเพื่อให้เหมาะกับสภาวะการณ์ในปัจจุบัน โดยให้สั้นและครอบคลุมถึงสิ่งที่รัฐบาลจะนำไปบริหารได้ และให้มีการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และความเสมอภาคให้อยู่ในกรอบประเพณีที่เคยมีมา รวมถึงพันธะกรณีที่มีต่อต่างประเทศด้วย และมีการใส่โครงสร้างว่าด้วยเรื่องการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับถาวรเอาไว้ด้วย ซึ่งจะไม่เหมือนกับครั้งไหนๆ และอาจมีความใกล้เคียงกับเนื้อหาสาระของการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ. 2540 บ้างโดยนำมาเทียบเคียง โดยสาระสำคัญเกี่ยวกับเรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้มีการสะกัดเอาส่วนดีๆ หรือย่อส่วนมาจากรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 มาเขียนไว้สั้นๆ แต่ไม่ได้หมายความว่าเอาข้อบกพร่องของรัฐธรรมนูญปี 2540 มาแก้ไข เพียงแต่มีการบอกว่าเมื่อคณะกรรมาธิการยกร่างฯ เสร็จแล้ว ให้ทำคำชี้แจงว่าผิดแผกแตกต่างจากรัฐธรรมนูญปี 2540 อย่างไร พร้อมเหตุผล ทั้งนี้ ไม่เกินวันที่ 2 ต.ค.รัฐธรรมนูญชั่วคราวก็คงจะออกมาเรียบร้อย จากนั้นเมื่อได้ตัวนายกรัฐมนตรีแล้วไม่เกิน 1 เดือน ก็จะสามารถตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ

นายมีชัย กล่าวว่า ขั้นตอนการดำเนินการนั้นจะต้องให้มีการทูลเกล้าฯ รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวให้เกิดขึ้น ก่อนที่จะมีนายกรัฐมนตรี และ ครม. ซึ่งกระบวนการในการร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราวจะแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1.จะต้องมีการตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จำนวน 250 คน ที่มาจากการแต่งตั้งของ คปค.ให้ทำหน้าที่ในการร่างกฎหมายที่ไม่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญเหมือนสภาปกติ และให้สมาชิกสภานิติบัญญัตติเป็นผู้เลือกประธานสภานิติบัญญัติกันเอง 2.ให้มีการตั้งสมัชชาแห่งชาติ ที่จะมาจากการสรรหาจากบุคคลหลากหลายสาขาอาชีพที่จะพยายามเฟ้นลงไปให้ถึงประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วทุกภูมิภาค จำนวน 2,000 คน มาทำหน้าที่ 7 วัน เพื่อเลือกบุคคลที่สมควรเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) จำนวน 200 คน จากนั้นนำเสนอต่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติให้คัดเลือกเหลือเพียง 100 คน  ทำหน้าที่ สสร. และ 3.เมื่อเป็น สสร.100 คนแล้ว ก็จะไปเลือกกันเอง ขึ้นมาทำหน้าที่ยกร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 25 คน และอีก 10 คน ที่จะเลือกตามคำแนะนำของประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ รวมเป็นคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 35 คน เนื่องจากหากให้ สสร.เลือกกันเองทั้ง 35 คน หากไม่มีผู้เชี่ยวชาญในการเขียนรัฐธรรมนูญก็จะเกิดปัญหา ทั้งนี้ กำหนดให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่เป็นประธานสมัชชาแห่งชาติ

"คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจะทำหน้าที่โดยอิสระ ใครจะไปสั่งอะไรไม่ได้ เพราะเมื่อยกร่างรัฐธรรมนูญเสร็จในรัฐธรรมนูญชั่วคราวจะบังคับให้ส่งร่างรัฐธรรมนูญไปให้องค์กรต่างๆ ทั้งองค์กรอิสระ องค์กรภาคประชาชน สถาบันศึกษา ครม.และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ รวมทั้งประชาชนทั่วไป ได้เสนอแนะความคิดเห็น ซึ่งคณะกรรมาธิการยกร่างฯ จะแก้ไขตามความเห็นนั้นหรือไม่ก็ได้ แต่ต้องให้เหตุผล ทั้งนี้ ให้สิทธิ สสร.รวมทั้งประชาชนทั่วไปขอแปรญัตติในการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเสร็จ ก็ต้องส่งร่างฯดังกล่าวให้กับ สสร.เพื่อโหวตว่าจะเอาหรือไม่เอา การจะแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญที่ส่งมาต้องใช้เสียง สสร.ถึง 2 ใน 3 จึงจะแก้ตามนั้นได้ หรือคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ต้องยินยอมให้แก้ ยืนยันว่าไม่มีใครจะไปสั่งคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ได้" นายมีชัย กล่าว 

ประธานร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวต่อว่า ขั้นตอนการร่างรัฐธรรมนูญนับตั้งแต่วันที่เปิดประชุมสภา สสร.จนถึงส่งไปให้องค์กรต่างๆ ดูและแสดงความคิดเห็นให้ได้เวลาทั้งหมด 180 วัน หรือ 6 เดือน เมื่อเสร็จเรียบร้อยก็ให้นำร่างรัฐธรรมนูญไปทำประชามติ โดยให้เวลา 20-30 วัน ซึ่งถ้าประชาชนไม่เอาร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว ก็ให้ สสร.เป็นอันสิ้นสุดลง แล้วให้นายกรัฐมนตรีกับประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติไปเลือกรัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งมาปรับปรุงแก้ไข แล้วนำมาประกาศเพื่อบังคับใช้ โดยกระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญเสร็จสิ้นรวมทั้งหมด ต้องใช้เวลาประมาณ 8 เดือน และยังกำหนดให้ สสร.ทำหน้าที่ยกร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญควบคู่ไป หลังจากที่ส่งร่างรัฐธรรมนูญไปทำประชามติ เขาก็ต้องลงมือร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน และเสนอให้สภานิติบัญญัติ ซึ่งต้องพิจารณาแล้วเสร็จภายใย 45 วันเช่นกัน  ทั้งหมดก็จะใช้เวลา 9 เดือน จากนั้นจึงจะจัดการเลือกตั้งภายใน 30-60หรือ 90  วัน

นายมีชัย กล่าวว่า ทั้งนี้ ในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญชั่วคราว จะมีการกำหนดว่าคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจะไปลงสมัครเป็น ส.ส.และ ส.ว.ไม่ได้ภายในเวลา 2 ปี เพราะคนกลุ่มนี้เป็นคนร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมา เนื่องจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2540 กลับไปลงสมัครรับเลือกตั้งเสียเอง ทั้งนี้จึงปิดประตูไว้ แต่ไม่ได้กำหนดห้ามประธานคณะมนตรีความมั่นคงฯ สมาชิกสภานิติบัญญัติ สสร.และผู้ที่เกี่ยวข้อง ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นการไปตัดสิทธิเสรีภาพของเขา ส่วนคณะกรรมาธิการยกร่างฯ 35 คน จะเป็นรัฐมนตรีได้หรือไม่นั้นต้องดูบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับถาวรว่าจะเขียนกำหนดให้รัฐมนตรีต้องมาจากสมาชิกสภาหรือไม่

ประธานร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ยังมีการบัญญัติเกี่ยวกับคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเอาไว้ด้วย ซึ่งแปลงสถานะมาจาก คปค. โดยกำหนดให้มีการนิรโทษกรรม เพราะทุกครั้งที่มีการปฏิวัติรัฐประหารหรือปฏิรูปการปกครอง ก็ให้มีนิรโทษกรรมทุกครั้ง แม้จะได้รับการโปรดเกล้าฯ ตำแหน่งประธาน คปค.ก็ตาม แต่ถือว่าการกระทำก่อนที่จะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ถือว่าไม่ได้รับการยกเว้น โดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติจะมีหน้าที่แต่งตั้งและถอดถอนตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รวมทั้งกำกับดูแลเรื่องความมั่นคงแห่งชาติ โดยเมื่อไหร่ที่มีความจำเป็นให้คณะมนตรีความมั่นคงฯ สามารถร่วมประชุมกับ ครม.ได้เป็นครั้งคราว หรือหากรัฐบาลอยากมาปรึกษาก็สามารถทำได้ ไม่ถือว่าแทรกแซงการทำงานของรัฐบาล เพราะไม่มีอำนาจที่จะไปสั่งอะไรได้  อย่างไรก็ตาม หากอนาคตเกิดมีสถานการณ์ฉุกเฉินเรื่องการออกประกาศภาวะฉุกเฉินหรือกฎอัยการศึก ก็เป็นอำนาจของรัฐบาล เพียงแต่คณะมนตรีความมั่นคงฯ ในฐานะที่คุมกำลังอาจเป็นผู้เสนอแนะว่าต้องดำเนินการอย่างไรในสถานการล่อแหลมหรือเป็นอันตรายต่อประเทศชาติ

นายมีชัย กล่าวด้วยว่า สำหรับหมวดที่ว่าด้วยบทบาทของ คปค.ที่จะแปลงสถานะไปเป็นคณะมนตรีความมนคงแห่งชาตินั้น ตอนที่คปค.บอกว่าจะปฏิรูปการเมืองก็ได้บอกวัตถุประสงค์ว่าต้องการเข้ามาทำเรื่องการทุจริตและประพฤติมิชอบ รวมทั้งการปฏิรูปรัฐธรรมนูญใหม่ ซึ่ง คปค.ต้องมีความรับผิดชอบต่อไปจนกว่าจะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องให้ คปค.มีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการในการร่างรัฐธรรมนูญ จึงต้องจับ คปค.มาผูกมือไว้ โดยให้มีแต่หน้าที่ไม่ให้มีอำนาจ ยกเว้นกรณีจำเป็น เช่น นายกรัฐมนตรีล้มหายตายจากไป จึงต้องให้ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเป็นผู้นำความขึ้นกราบบังคมทูลฯ เพื่อแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีใหม่ โดยมีการกำหนดไว้ชัดเจนว่าคณะมนตรีความมั่นคงฯ จะพ้นไปเมื่อรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวหมดอายุ และมีรัฐธรรมนูญใหม่ออกมาบังคับใช้

เมื่อถามว่าเมื่อรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวประกาศใช้คำสั่งห้ามการชุมนุมต่างๆ ตามกฎอัยการศึกจะถูกยกเลิกทันทีหรือไม่ นายมีชัย กล่าวว่า ถ้าประกาศกฎอัยการศึกยกเลิกคำสั่งห้ามการชุมนุมต่างๆ ก็ถูกยกเลิกไป ไม่ได้ขึ้นอยู่กับรัฐธรรมนูญ

เมื่อถามว่า จะเข้ามามีบทบาทในสภาร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ นายมีชัย กล่าวว่า ตนจะไม่ร่วมอยู่ในสภาร่างรัฐธรรมนูญ และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ทุกวันที่ตนทำงานมีแต่หน้าที่ ไม่มีอำนาจ และไม่คิดจะเข้าไปทำ เพราะรู้สึกเหนื่อย

เมื่อถามว่าจะรับเป็นประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือไม่ นายมีชัย กล่าวเพียงว่า ยังไม่ทราบ แต่บทบาทของตนจะยุติเมื่อมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ต่อข้อถามว่ามีกระแสข่าวเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี นายมีชัย กล่าวว่า เพราะคนที่หวังดี ตนจึงถูกด่าเสียแทบตาย

เมื่อถามว่ามีการทาบทามมาหรือไม่ นายมีชัย กล่าวว่า ไม่มี ฝันยังไม่ได้ฝันเลย ถ้าเกิดฝันอย่างนั้น ตื่นมาคงเหงื่อตก เย็นใจได้ว่าตนไม่เป็น ถึงทาบทามตนก็ไม่เป็น เรื่องการบริหารราชการพอกันที ต่อข้อถามว่าสถานการณ์ขณะนี้คนมาเป็นนายกรัฐมนตรีต้องเชี่ยวชาญด้านกฎหมายหรือเศรษฐกิจ นายมีชัย กล่าวว่า ตนไม่มีเวลาคิดเรื่องนี้จึงตอบไม่ได้

ต่อข้อถามว่ามีความเห็นอย่างไรที่มีเสียงคัดค้านนายวิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกรัฐมนตรี และนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่เข้ามาร่วมยกร่างธรรมนูญการปกครองชั่วคราว นายมีชัย กล่าวว่า ตนไม่รู้จะคิดอย่างไร อย่านึกว่าตนขวนขวาย เข้าไปหาเหาใส่หัว ตนนอนอยู่ที่บ้านดีๆ เขาก็เอารถมารับไป และตนเห็นว่าทุกคนเรียกร้องกันมาก ถ้าตนไม่มีส่วนไปช่วยบ้าง ก็คงแย่เต็มที เขาเอารถมารับก็ไปตัวคนเดียว หลังจากนั้น 2 วันนายวิษณุ และนายบวรศักดิ์ เดินทางกลับจากต่างประเทศ ตนไม่รู้จะทำอย่างไร ไม่รู้จะหันหน้าไปหาใครแล้ว จึงบอกให้มาช่วยกัน ตอนนี้ทั้งสองคนทิ้งตนแล้ว ตนยิ่งแย่หนักเข้าไปอีก ตนก็อายุมากแล้ว
เมื่อถามว่า คณะปฏิรูปฯ ทาบทามอย่างไรจึงยอมเข้าร่วมยกร่างธรรมนูญการปกครอง นายมีชัย กล่าวว่า คืนนั้นประมาณ 22.00 น.พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะปฏิรูปฯ โทรมาให้อยู่ที่บ้าน รถกำลังไปรับ ถ้าบอกล่วงหน้าตนหนีไปเที่ยวแล้ว ตอนนั้นตนจะหนีไปไหนได้เพราะสี่ทุ่มแล้ว แต่ก่อนที่พล.อ.สนธิจะโท 

 
 
 
E-mail : webeditor@matichon.co.th
Copyright © by Matichon Public Co.,Ltd. All Rights Reserved. Design by Matichon Information Center.   
 
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: