ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
15-01-2025, 08:58
378,182
กระทู้ ใน
21,926
หัวข้อ โดย
9,412
สมาชิก
สมาชิกล่าสุด:
MAN4U
หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ปฏิทิน
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)
|
ทั่วไป
|
สภากาแฟ
|
ครอบครัว ตระกูล ชิน
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า:
[
1
]
ส่งหัวข้อนี้
พิมพ์
ครอบครัว ตระกูล ชิน (อ่าน 4235 ครั้ง)
กระบี่เดียวดาย
น้องใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 2
ครอบครัว ตระกูล ชิน
«
เมื่อ:
09-10-2006, 15:18 »
ถอดสมการ 'รวย' (ทางลัด) ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ขาย 'SHIN-ADVANC' ฟันเงิน 1,128 ล้านบาท
เส้นทางรวยของ 'ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร' ถูกโยงใยไปยังดีล 73,300 ล้านบาท ของตระกูลชินวัตร เพราะเธอคือ หนึ่งในกลุ่มผู้ที่ขายหุ้นชินคอร์ป (SHIN) ให้กับเทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ จำนวน 20 ล้านหุ้น ขณะเดียวกัน 'ยิ่งลักษณ์' ยังถูกตั้งข้อสังเกตด้วยว่าอาจใช้ 'อินไซด์ เทรดดิ้ง' ขายหุ้น ADVANC ออกมาก่อนหรือไม่ ในราคาสูงกว่า 100 บาท ก่อนจะมาสรุปราคาเทนเดอร์ฯที่ 72.31 บาท
กรุงเทพธุรกิจ BizWeek ถอดรหัสวิถีรวย 'ทางลัด' ของ 'น้องรัก-คนเล็ก' ท่านผู้นำ กับที่มาแห่งความมั่งคั่ง จากการขายหุ้น 'SHIN-ADVANC' มูลค่า 1,128 ล้านบาท และเงินเดือนเฉียด 1 ล้านบาทในตำแหน่ง 'กรรมการผู้อำนวยการ' บริษัทสื่อสารอันดับ 1 ของประเทศ
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เปิดแถลงข่าวด่วนโดยอ้างว่าการขายหุ้นแอดวานซ์ อินโฟร์ (ADVANC) เป็นไปตามสิทธิที่ได้จากการเป็นผู้บริหาร และทุกครั้งที่มีการขายก็ปฏิบัติตามเกณฑ์ของ ก.ล.ต. ที่ต้องแจ้งการขายหุ้นทุกครั้งอย่างถูกต้อง
'หุ้นที่ขายออกมาเป็นเพียงส่วนน้อย ยังขายไม่หมดถ้าเปรียบเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์หุ้นที่ขาย กับหุ้นที่ได้รับแล้วถือว่าน้อย และปกติผู้บริหารทุกคนก็จะได้รับหุ้นอยู่แล้ว ซึ่งในพอร์ตก็ยังมีหุ้นที่ไม่ได้ขายเหลืออีกมาก ถ้าไม่ขายก็จะเจอกับช่วงไซเรนท์ พีเรียด ทำให้ขายไม่ได้'
สำหรับหุ้นที่ได้รับ ต้องนำเงินสดไปวางก่อนซื้อ รวมทั้งเสียภาษีทันทีอย่างถูกต้อง ไม่ได้หุ้นมา 'ฟรี' แต่อย่างใด ส่วนต้นทุนราคาหุ้นก็ขึ้นกับผลประกอบการที่แตกต่างกันในแต่ละปี
ทั้งนี้การขายหุ้นก็จะมีข้อกำหนดว่าหุ้นล็อตใดบ้างที่ขายได้ หรือยังขายไม่ได้ ส่วนล็อตที่ขายไปนี้เป็นหุ้นที่ได้รับมาตั้งแต่ 3 ปีที่แล้ว ถ้าไม่ใช้สิทธิ 3 ปีก็จะหมดสิทธิ
ทั้งหมดนี้เป็นคำชี้แจงของ 'คุณปู' ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หญิงเก่ง แห่งวงการโทรคมนาคม ที่ถูกแรงกระเพื่อม จากการตรวจสอบของ 'สื่อ' 'นักวิชาการ' ตลอดจน 'ประชาชนคนไทย'
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในประเด็นข้อสงสัย 'หลบเลี่ยงภาษี' และ ใช้ 'อินไซด์เดอร์ เทรดดิ้ง' เอาเปรียบนักลงทุนรายย่อย
'ยิ่งลักษณ์' ถูกจับตามอง เพราะเธอคือหนึ่งในทายาท 'ตระกูลชินวัตร' และตลอดเส้นทางในตำแหน่ง 'กรรมการผู้อำนวยการ' บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ เอไอเอส (ADVANC) เธอ 'ขายหุ้น ADVANC' ออกมาตลอด ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2546 ถึง วันที่ 10 มกราคม 2549
ที่คนสงสัยก็เพราะ 'ยิ่งลักษณ์' ขายไม้สุดท้าย ก่อนจะมีการสรุปดีลขาย 'ชินคอร์ป' เพียงไม่กี่วัน
หลายคนตั้งข้อสังเกตว่า เส้นทางที่ ' โรยราบ' ไปด้วยผลประโยชน์จำนวนมหาศาลที่พรั่งพรูไหลเข้าสู่ 'กรุสมบัติ' (ส่วนตัว) ของยิ่งลักษณ์ ก็คือ ช่วงที่ 'พี่ษิณ' (สรรพนามที่เธอใช้เรียกพี่ชาย) กำลังครองอำนาจสูงสุดทางการเมือง
ความมั่งคั่งของ 'ยิ่งลักษณ์' เกิดขึ้นนับตั้งแต่ 'พี่ชาย' ที่มีอายุห่างจากเธอมากถึง 18 ปี ที่ชื่อ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร แสดงความรักกับน้องสาวคนนี้ โดยโอนหุ้น SHIN โดยระบุไว้ในรายงานที่แจ้งต่อสำนักงาน ก.ล.ต.ว่า 'ขายโดยตรงให้แก่ผู้ซื้อ' (จริงๆคือให้ฟรี) เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2543 จำนวน 2 ล้านหุ้น (พาร์ 10 บาท) คิดเป็น 0.68%
เป็นการ 'โอนหุ้น' ให้ 'น้องสาว' เพียงคนเดียว ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 7 คน (เยาวลักษณ์, ทักษิณ, เยาวเรศ, เยาวภา, พายัพ, มณฑาทิพย์ และยิ่งลักษณ์) เห็นได้ชัดว่า 'พี่ษิณ' รักและเป็นห่วงน้องสาวคนนี้มากกว่าใครๆ
ด้วยอายุที่ห่างกันมาก 'ปู' จึง ได้รับความเอ็นดูมากที่สุด เป็นน้องเพียงคนเดียวที่ได้รับ 'ทุนส่วนตัว' จาก 'พี่ชาย' ไปศึกษาต่อต่างประเทศ จนจบปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐเคนทักกี สหรัฐอเมริกา กลับมาเริ่มต้นงานแรกที่ บริษัท ชินวัตร ไดเรคทอรีส์ จำกัด
ในปี 2546 เธอก้าวขึ้นสู่ตำแหน่ง 'กรรมการผู้อำนวยการ' เอไอเอส และปี 2548 ควบงาน รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานการตลาด อีกหนึ่งตำแหน่ง แทน 'กฤษณัน งามผาติพงศ์' ที่ลาออกไปอยู่เครือเมเจอร์ฯ
ยิ่งลักษณ์ ได้รับการโปรโมทจาก 'บุญคลี ปลั่งศิริ' จนกลายเป็น 'ดอกไม้เหล็ก' ประดับวงการ ที่ขับเคี่ยวกับ 'ซิคเว่ เบรกเก้' แห่งค่าย 'ดีแทค' อย่างสมน้ำสมเนื้อ
'ยิ่งลักษณ์' ร่ำรวยขึ้นเพียงชั่วข้ามคืน จากการพ่วงขายหุ้น SHIN จำนวน 20 ล้านหุ้น (พาร์ 1 บาท) ได้ในราคา 'สูงปี๊ด' ให้กับ 'เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์' กองทุนของรัฐบาลสิงคโปร์ ในราคาหุ้นละ 49.25 บาท
ใครๆก็รู้ว่า...มันเป็นฝีมือของ 'พี่ษิณ' และ 'คุณหญิงอ้อ' พี่ชาย และพี่สะใภ้ของเธอ
ทำให้ 'ยิ่งลักษณ์' กลายเป็น 'เศรษฐี..ขนาดย่อมๆ' ได้เงินก้อนใหญ่เข้ากระเป๋าทันที 985 ล้านบาท
ไม่เสียภาษีแม้แต่ 'บาทเดียว' (เช่นกัน) เพราะเป็นการทำรายการ 'ซื้อ-ขาย' ในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งได้รับการยกเว้นภาษี
เส้นทางการเติบโตของ 'ยิ่งลักษณ์' ใน 'เอไอเอส' ยังทำให้เธอได้รับการจัดสรร 'วอร์แรนท์' ในฐานะผู้บริหารระดับสูง จำนวนทั้งหมด 4 รุ่น ในระหว่างปี 2545, 2546, 2547 และ 2548
ล็อตแรก..รุ่นปี 2545 ได้รับจัดสรรจำนวน 1,250,000 หน่วย ใช้สิทธิแปลงเป็นหุ้น ADVANC ที่ราคา 46.16 บาท
ล็อตที่สอง..รุ่นปี 2546 ได้รับจัดสรรจำนวน 786,600 หน่วย ใช้สิทธิแปลงเป็นหุ้น ADVANC ที่ราคา 41.74 บาท
ล็อตที่สาม..รุ่นปี 2547 ได้รับจัดสรรจำนวน 676,000 หน่วย ใช้สิทธิแปลงเป็นหุ้น ADVANC ที่ราคา 89.43 บาท และ ล็อตที่สี่..รุ่นปี 2548 ได้รับจัดสรรจำนวน 650,000 หน่วย ใช้สิทธิแปลงเป็นหุ้น ADVANC ที่ราคา 105.24 บาท
วอร์แรนท์ทั้ง 4 รุ่น (2545-2548) 'ยิ่งลักษณ์' ได้รับจัดสรร รวมกันทั้งสิ้น 3,362,600 หน่วย
เธอใช้สิทธิแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ ADVANC ไปแล้วประมาณ 1,657,000 หุ้น และได้ขายหุ้น ADVANC ออกจากพอร์ตไปแล้ว 55 ครั้ง (ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2546 ถึง วันที่ 10 มกราคม 2549) จำนวนรวม 1,537,395 หุ้น ขายที่ราคาเฉลี่ย 93.17 บาท เป็นมูลค่ากว่า 143.24 ล้านบาท
ยิ่งลักษณ์ บอกเองว่าหุ้นที่เธอขายมาจาก 'ล็อตแรก' และ 'ล็อตที่สอง' ซึ่งมีต้นทุนต่ำเพียง 46.16 บาท และ 41.74 บาทตามลำดับ
เพราะฉะนั้นตั้งแต่ปี 2546 ถึงต้นปี 2549 'ยิ่งลักษณ์' ขายหุ้น ADVANC มีกำไรเข้ากระเป๋าไปแล้วระหว่าง 75-80 ล้านบาท จากมูลค่าขายทั้งหมด 143 ล้านบาท หรือ มีกำไรเฉลี่ยหุ้นละ 50 บาท ธุรกรรมทั้งหมดทำผ่านโบรกเกอร์-คู่ใจ เพียงรายเดียว ก็คือ บล.ธนชาต และในปี 2548 ที่ผ่านมา เธอยังได้รับ หุ้นจอง (ไอพีโอ) เป็นการตอบแทน ในฐานะ 'นักลงทุนรายใหญ่' ของโบรกฯรายนี้โดยตลอด อาทิ หุ้นแมงป่อง (PONG)
ถ้ารวมเม็ดเงินที่ได้มาจากการขายหุ้น SHIN ให้กับ 'เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์' จำนวน 985 ล้านบาท บวกกับเม็ดเงินที่ได้จากการขายหุ้น ADVANC จำนวน 55 ครั้ง รวมกันอีก 143 ล้านบาท 'ยิ่งลักษณ์' จะมีความมั่งคั่ง (ทางลัด) จากการที่ 'พี่ชาย' หยิบยื่นโอกาสให้ในฐานะ 'น้องเล็ก' แห่งตระกูลชินวัตร จำนวนรวมกัน 1,128 ล้านบาท
ในระหว่างที่ถือหุ้น SHIN 'ยิ่งลักษณ์' ยังได้รับ 'เงินปันผล' ในระหว่างปี 2545-ครึ่งปีแรก 2548 รวมกันอีก 108 ล้านบาท (ปี 2540-2544 งดจ่าย)
นอกจากนี้ในระหว่างที่นั่งในตำแหน่ง 'กรรมการผู้อำนวยการ' บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ เอไอเอส 'ยิ่งลักษณ์' ยังได้รับผลตอบแทนในฐานะผู้บริหารระดับ 'ท็อป 5' ของบริษัท อีกปีละประมาณ 10.50 ล้านบาท หรือ เฉลี่ยเดือนละ 875,800 บาท
นี่คือ เส้นทาง (ลัด) แห่งความมั่งคั่งของ 'ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร' ที่ประกาศอำลาทุกตำแหน่งใน 'เอไอเอส' แล้ว เธอเตรียมเดินจากไปพร้อมกับ 'เงินสด' ในกระเป๋ามากกว่า 1 พันล้านบาท โดยมี 'ตลาดหุ้น' เป็นทางผ่านของเงินก้อนโต เหมือนพี่ชายที่แสนดีของเธอ
'พายัพ ชินวัตร' ไผ่แตกกอ..'รวย' แตกแถว ผู้อยู่เบื้องหลัง 'หุ้นร้อน' นับสิบตัวในตลาด
'ร่องรอยของหุ้นทุกตัวที่ 'พายัพ' เข้าไปเกี่ยวข้องล้วนเป็น 'หุ้นสร้าง' จนกลายเป็นหุ้น 'ยอดฮิต' เป็นที่น่าอึดอัดของหน่วยงานภาครัฐ'
ยุคนี้ใคร?ไม่รู้จัก...'เสี่ย พ.' ถือว่าเชย!!! 'พายัพ ชินวัตร' คือ เซียนหุ้น..หมายเลข 1 ที่ถูกพูดถึงมากที่สุดในปี 2548 ยุคที่ 'อำนาจ' ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เดินทางมาถึงขีดสุด เป็นยุคที่ 'พายัพ' รวยขึ้นนับ 10 เท่าตัวจาก 'หุ้นร้อน' ในตลาด และเป็นยุคที่ 'เสี่ย' ทุกคนในตลาดต้องหลีกทางให้กับเขา
แค่ชื่อ พายัพ ชินวัตร ไปปรากฏในหุ้นตัวไหน หุ้นตัวนั้นก็จะทะยานขึ้นราวกับมีอภินิหาร
'พายัพ' เคยให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งว่า ตนเองเริ่มเข้ามาแสวงหาโอกาสในตลาดหุ้นราวปี 2532-2533 และได้รับบทเรียนกลับออกไปอย่างสาสม
'สมัยก่อนผมก็เล่นไปเรื่อย (หุ้น) มีอนาคตบ้างไม่มีอนาคตบ้าง เข้ามาเล่นแรกๆ ก็เจ๊ง 16 ปีที่แล้ว เข้ามาในตลาดตอนดัชนีขึ้นไปที่ 1,200 จุด แล้วมันก็ดิ่งลงไปเรื่อยๆ จำได้ว่าตอนล้างพอร์ต ปี 2538 จำแม่นๆ เลย ขาดทุนไป 392 ล้านบาท'
แต่ในปี 2548 ไม่เพียง 'พายัพ' จะถอนทุนคืนได้ทั้งหมดแล้ว เขายังได้กำไรกลับคืนมาอีกเกือบ 10 เท่าตัว จากการกลับมาผงาดในตลาดหุ้นเป็นคำรบที่สอง เข้ามาเก็บหุ้นในช่วงที่ดัชนีตกลงไปเหลือ 300 จุด ทั้งหมดเป็นคำยืนยันจาก 'ปาก' ของเขาเอง
ถ้าประเมินจากคำพูดของเขา เท่ากับว่า วันนี้ 'พายัพ ชินวัตร' น่าจะมีเงินที่ได้กำไรจากตลาดหุ้นไปไม่ต่ำกว่า 3,000-4,000 ล้านบาท
จากการตามแกะรอยของทีมข่าว 'กรุงเทพธุรกิจ BizWeek' พบว่า พายัพ เริ่มมีชื่อเสียงโด่งดังในตลาดหุ้นจริงๆเมื่อปี 2547-2548 จากหุ้นปิคนิค (PICNI) แม้จะไม่มีชื่อเขาปรากฏอยู่ แต่คนในวงการโบรกเกอร์ต่างเล่าต่อๆ กันว่า 'ก๊วนพายัพ' ได้กำไรกลับออกไป 'มหาศาล' จากหุ้นตัวนี้
พายัพ เคยกล่าวว่า หุ้นที่ทำกำไรให้เขาที่ผ่านมา มาจากหุ้นในกลุ่ม สื่อสาร, บันเทิง และ กลุ่มรีฮาฟโก้(หมวดฟื้นฟูกิจการ) ที่เพื่อนๆในก๊วนต้องวิ่งมาหาเพื่อให้ช่วยเหลือ (ลงทุน) และทั้งสามกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ทำให้กลับฟื้นคืนมาได้
หุ้นบันเทิงที่ 'พายัพ' พูดถึง ก็คือ หุ้น BNT ส่วนหุ้นสื่อสารที่เขาพูดถึง ก็คือ หุ้น IT และ SVOA ส่วนหุ้นกลุ่มรีฮาฟโก้ ก็น่าจะหมายถึงหุ้น EMC, EWC และ PICNI
หุ้นที่เอ่ยมานี้ส่วนใหญ่ เป็น 'หุ้นร้อน' ที่ถูกจับตาโดยหน่วยงานภาครัฐ โดยเฉพาะ BNT, EWC และ PICNI ล่าสุดยังมีชื่อเขาเข้าไปเกี่ยวข้องกับหุ้น IEC และ ASL ผ่าน 'นอมินี' บางคน
เส้นทางร่ำรวยของ 'พายัพ' อาจแตกต่างจากพี่น้อง 'ชินวัตร'
แม้ปลายทางของผลประโยชน์จำนวนมหาศาลจะอยู่ที่ 'ตลาดหุ้น' (เหมือนกัน) แต่วิธีการให้ได้มาซึ่งความมั่งคั่งของเขากลับแตกต่างจากพี่น้องชินวัตรคนอื่นๆ นั่นคือ 'ไม่เคยรักษาฟอร์ม'
เพราะร่องรอยของหุ้นทุกตัวที่ 'พายัพ' เข้าไปเกี่ยวข้องล้วนเป็น 'หุ้นสร้าง' จนกลายเป็นหุ้น 'ยอดฮิต' และ 'หวือหวา' เป็นที่น่าอึดอัดของหน่วยงานภาครัฐ ด้วยรูปแบบการทำกำไรก็..โฉ่งฉ่าง-ไม่เกรงใคร
เมื่อย้อนตรวจสอบ 'โครงสร้างผู้ถือหุ้น' ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา (2547-2548) ปรากฏว่ามีชื่อ 'พายัพ ชินวัตร' เข้าไปลงทุนในหุ้นทั้งหมด 11 บริษัท ประกอบด้วย หุ้น ASL, BNT, KTECH, EMC, EWC, IT, SVOA, SPORT, PLE, PATKL และ STRD
แหล่งข่าวในวงการโบรกเกอร์ รายหนึ่ง กล่าวว่า การลงทุนของ 'พายัพ ชินวัตร' ส่วนใหญ่จะทำผ่าน 'นอมินี' (ตัวแทน) ที่กระจายกันเปิดบัญชีกับโบรกเกอร์หลายแห่ง นอกจากนี้ยังมีเครือข่ายพันธมิตรที่คนในวงการระบุว่าน่าจะมีเครือข่ายเชื่อมโยงกับ กลุ่มดิวตี้ฟรี, กลุ่มอีเอ็มซี, กลุ่มเพาเวอร์-พี และ กลุ่มเพาเวอร์ไลน์
เอ่ยชื่อก็จะรู้ทันทีว่ามีใครบ้าง เพราะแกนนำแต่ละกลุ่มล้วนมีฐานะทางสังคม และมีทุนหนาระดับพันล้านบาทขึ้นไปทั้งนั้น
'เครือข่ายเล่นหุ้นส่วนใหญ่เชื่อมโยงมาจากเพื่อน ที่เรียน วปรอ. รุ่นที่ 4414 ด้วยกัน (วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน ปีการศึกษา 2544-2545)'
จากการตรวจสอบรายชื่อเพื่อนร่วมรุ่น วปรอ. รุ่นที่ 4414 รุ่นเดียวกันกับ 'พายัพ ชินวัตร' ที่ได้ยินชื่ออยู่บ่อยๆ ในวงการหุ้น และเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงในวงสังคม ประกอบไปด้วย กนกศักดิ์ ปิ่นแสง, ดร.ก้องเกียรติ โอภาสวงการ, ชัยสิทธิ์ วิริยะเมตตากุล (เจ้าของรพ.วิภาวดี), ไชยยันต์ ชาครกุล, บุญคลี ปลั่งศิริ, ปมุข อัจฉริยะฉาย (เจ้าของกะตะกรุ๊ป-ภูเก็ต), ราชศักดิ์ สุเสวี, สุทธิศักดิ์ โล่ห์สวัสดิ์, พล.ท.หญิงสำอาง ทองปาน(มือการเงิน EMC) และองอาจ เอื้ออภิญญกุล (กรรมการบริหาร-บ้านปู) เป็นต้น
ขณะที่ 'กนกศักดิ์ ปิ่นแสง' ก็เป็นเพื่อนสนิทกับ 'พล.ต.ต.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง และ 'พล.ต.ต.สมยศ' ก็อยู่กลุ่มเดียวกันกับ 'ทนายมานัส กำเหนิดงาม' และ 'วิชัย รักศรีอักษร'
ทั้งหมดนี้ คือ ก๊วนเล่นหุ้นที่โด่งดังพอๆกับ พายัพ ชินวัตร
นอกจากนี้ยังมีกระแสข่าวระบุว่า พายัพ ยังลงทุนผ่านบุคคลใกล้ชิดหลายคน เช่น 'โยคิน เจริญสุข' ที่ปรากฏในรายชื่อของสำนักงาน ก.ล.ต.ว่า โยคิน เข้าไปไล่เก็บหุ้น BNT และ BOL เกิน 5% และมีการซื้อขายเปลี่ยนมือในหุ้น BNT หลายรอบ ล่าสุดมีรายชื่อเข้าไปเกี่ยวข้องกับหุ้น IEC
ขณะที่ 'ฉันทิดา กรินพงศ์' ที่ถูกระบุว่าเป็น 'ตัวแทน' ของ พายัพ ชินวัตร พบรายชื่อเข้าไปเล่นรอบหุ้น BNT ซึ่งบุคคลทั้ง 2 รายนี้ เคยถูกเปิดเผยว่า มีฐานะเป็นพนักงานของ บริษัท ชินวัตร ไหมไทย
รายใหญ่อีกคนในตลาดหุ้น ที่มีบทบาทมากในระยะหลังๆ โดยเฉพาะมีผลงานเข้าไปไล่เก็บหุ้น ASL-W4, ASL, TRAF และ THECO ก็คือ 'ชนะชัย ลีนะบรรจง' ที่ข่าววงในระบุว่ามีความใกล้ชิดกับ พายัพ ชินวัตร อย่างมากเช่นเดียวกัน
ใครจะคิดว่า พายัพ น้องชายคนเดียวของนายกฯ ทักษิณ ที่บรรดาพี่น้องในตระกูลต่างห่วงมากที่สุด เพราะเป็นคนเดียวที่ถูกกล่าวขวัญว่าไม่มีชิ้นอันที่ชัดเจน จนพี่ๆ ต้องโอบอุ้มสม่ำเสมอ
ปัจจุบันพายัพมีฐานะเป็น ส.ส.เชียงใหม่ เขต 2 และ มีฐานะมั่งคั่งขึ้นอย่างรวดเร็ว
ทั้งที่ย้อนกลับไปเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา (ปี 2540-2544) บริษัท ชินวัตรไหมไทย ที่เขานั่งเป็นประธานบริษัท ยังประสบปัญหาขาดทุนต่อเนื่องกว่า 600 ล้านบาท
พายัพ เคยยอมรับว่า 'ความผิดพลาดเป็นเรื่องธรรมดา เมื่อก่อนผมไม่เข้าใจธุรกิจ ไม่เข้าใจเรื่องเงิน หาเงินแบบอ้อมโลก เช่น อยากจะขายสินค้าก็ไปตั้งโรงงาน ไปซื้อที่ดิน สร้างโรงงาน ซื้อวัตถุดิบ ฝึกคน ก็จ่ายตังค์ ผลิตได้ ไม่แน่ว่าจะขายได้ ขายได้ ก็ไม่แน่ว่าจะได้กำไร กำไรก็ไม่รู้จะคืนทุนเมื่อไหร่'
วันนี้วิธีคิดของเขาไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เขาเลิกหาทางรวยแบบอ้อมโลกเหมือนในอดีต แค่ 'เลือกหุ้น' จากนั้นก็ 'สร้างหุ้น' และรอจังหวะ 'ขายหุ้น' (เมื่อราคาขึ้นไป 20%)
เยาวภา วงศ์สวัสดิ์ 'มือปั้นหุ้นเข้าตลาด' แห่งตระกูล 'ชิน'
บารมีของ 'เยาวภา วงศ์สวัสดิ์' น้องรอง ของทักษิณ ในฐานะแกนนำ 'กลุ่มวังบัวบาน' วันนี้กำลังถูกต่อยอดขึ้นไปสู่ความมั่งคั่งที่เหนือกว่า ด้วยแนวคิดอันชาญฉลาด 'ปั้นหุ้นเข้าตลาด' เฉพาะ วินโคสท์ (WIN) ปั้นปีเดียวสร้างมูลค่าแล้วกว่า 600 ล้านบาท
ถึงวันนี้ไม่มีใครปฏิเสธถึงบารมี ของ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ไทยรักไทย เจ๊แดง 'เยาวภา วงศ์สวัสดิ์' น้องสาวคนที่ 2 ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในฐานะแกนนำ 'กลุ่มวังบัวบาน' กลุ่มที่มีพลกำลังมากที่สุดในบรรดามุ้งของพรรคไทยรักไทย
เป็นกลุ่มที่ทำให้ผู้เฒ่า เสนาะ เทียนทอง แห่ง 'วังน้ำเย็น' ที่เคยสวมบท 'ป๋าดัน' ต้องสะท้านจนถึงทุกวันนี้
ความร่ำรวยที่เยาวภา ได้รับมา มักจะถูกตั้งปุจฉาไว้ว่าใช้ 'สายสัมพันธ์ทางการเมือง' เอื้อให้เกิดประโยชน์กับบริษัทตนเองที่มีอยู่มากมายหลายแห่ง โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ อสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจสื่อสาร
นอกจากการเป็นนักธุรกิจการเมือง เยาวภา ยังเป็นที่รู้จักในฐานะผู้อยู่เบื้องหลังการปั้นหุ้นเข้าตลาด รวมไปถึงการกล่าวขวัญว่าเป็นกระเป๋าเงินให้กับ 'พายัพ ชินวัตร' น้องชาย ผู้โลดแล่นในวงการ 'หุ้นอภินิหาร' หลายๆ ตัว
ในปี 2545 เยาวภา ควักกระเป๋าเงินร่วมกับ น้องสาว 'มณฑาทิพย์ โกวิทเจริญกุล' ก่อตั้ง 'บมจ.เอ็มลิงค์ คอร์ปอเรชั่น' (MLINK) โดยส่งลูกชายคนโต 'ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์' และลูกสาวคนรอง 'ชินณิชา วงศ์สวัสดิ์' เข้าถือหุ้นรวมกันในสัดส่วน 36.96% ก่อนที่ล่าสุดจะลดสัดส่วนการถือหุ้นเหลือ 28.63%
ว่ากันว่าจุดประสงค์ของการเข้าสู่ตลาดหุ้นของ MLINK คือการต่อยอดธุรกิจมือถือของพี่ชาย แต่ในที่สุดเมื่อการแข่งขันระอุขึ้น ทิศทางของ MLINK ก็เปลี่ยน มาตั้ง บริษัท พอร์ทัลเน็ท จำกัด ในปี 2546 รุกประมูลโครงการระบบของภาครัฐ
โดยที่ผ่านมาได้รับงานจัดซื้อเครื่องโทรศัพท์สาธารณะแบบหยอดเหรียญและใช้บัตรในเครื่องเดียวกัน 'บมจ. ทศท คอร์ปอเรชั่น' มูลค่า 289.2 ล้านบาท และ โครงการเช่าระบบคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปสำหรับธุรกิจหลักของ 'การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค' มูลค่า 3,192 ล้านบาท
แม้วันนี้ราคาหุ้น MLINK จะไม่สดใสดังเดิม แต่หากจะนับมูลค่าหุ้นที่เยาวภาครองอยู่ในหุ้นนี้ที่ราคา 2.96 บาท ก็สูงถึง 457.62 ล้านบาท
อันที่จริง เยาวภา ดำเนินธุรกิจมาหลายอย่าง ตั้งแต่ธุรกิจผ้าไหม จนถึงอสังหาริมทรัพย์ แต่ MLINK นับเป็นหุ้นครอบครัวตัวแรกที่ปั้นเข้าตลาด ก่อนที่จะสยายปีกเดินเกมรุกแต่งตัว 'บริษัทที่ไม่ใช่ธุรกิจครอบครัว' เพื่อเข้าตลาดหลักทรัพย์ถึง 2 บริษัท ในปี 2547
'บมจ.วินโคสท์ อินดัสเทรียล พาร์ค' (WIN) (เดิมคือ บมจ.เคพโทรนิค อินเตอร์เนชั่นแนล) นับเป็นหนึ่งในบริษัทที่เยาวภา เข้าไปปรับโครงสร้างธุรกิจและนำเข้ากลับสู่ตลาดหุ้น โดยเริ่มเข้าไปเมื่อ เมื่อ 31 พฤษภาคม 2547 ผ่านการถือหุ้นของ ลูกทั้ง 3 คน (ยศนันท์ ชินณิชา ชยาภา) รวมไปถึง นางสุนิสาปฐม พฤกษ์ สัดส่วนรวมกัน 62.44%
พร้อมทั้งเปลี่ยนทิศทางของบริษัท ชนิดหน้ามือเป็นหลังมือ
จากการประกอบธุรกิจผลิต จำหน่าย และให้บริการหลังการขายสำหรับสินค้าประเภทจอภาพคอมพิวเตอร์จอภาพแอลซีดี ทีวี ตามคำสั่งและภายใต้ตราสินค้าของลูกค้า (OEM Customers) ซึ่งขาดทุนทุกปี เฉพาะปี 2545-2546 ขาดทุนรวมกัน 930 ล้านบาท
มาเป็นธุรกิจรับจ้างประกอบรถโกคาร์ทและจักรยานให้กับบริษัทในกลุ่มบริษัท แอล เอ ไบซิเคิล จำกัด และเตรียมทำธุรกิจและธุรกิจขายหรือให้เช่าพื้นที่ในเขตปลอดอากร บนเนื้อที่ 70 ไร่ ริมถนนบางตราด กิโลเมตรที่ 53 โดยได้รับใบอนุญาตจากกรมศุลกากรแล้ว
เพียงแค่ปีเศษครอบครัว 'วงศ์สวัสดิ์' ทำให้สภาพของบริษัทพลิกกลับมามีกำไร 17.54 ล้านบาท ในงบดุล 30 กันยายน 2548
WIN กลับมาร้อนแรงในตลาดอีกครั้งใน วันที่ 16 ธันวาคม 2548 ราคากระโดดขึ้นมาสูงสุดที่ 4.80 บาท ก่อนที่จะปิดตลาดที่ 3.48 บาท
นั่นหมายถึงมูลค่าหุ้นของครอบครัววงศ์สวัสดิ์ที่จะมากขึ้นมาตามมาอย่างมาก โดย ชิณนิชา ได้ใช้จังหวะนี้ขายหุ้นออกไปในตลาด 19.20 ล้านหุ้น ขณะที่ 'ยศชนันท์' โอนหุ้นออกไปให้ น.ส.นฤมล นววัฒนทรัพย์ 2.06 ล้านหุ้น
ซึ่ง ณ ราคาล่าสุดที่ 3.10 บาท หากครอบครัววงสวัสดิ์ ยังไม่ขายทำกำไรอีก หุ้นนี้จะสร้างความมั่งคั่งให้มากถึง 612.02 ล้านบาท เลยทีเดียว
เช่นเดียวกับ บมจ. แอสคอน คอนสตักชั่น (ASCON) ของ 'ตระกูลตนุมัธยา' โดยเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2547 เยาวภา เข้าไปถือหุ้นในสัดส่วน 19.6% พร้อมกับ 'ธวัชชัย วิไลลักษณ์' ผู้ถือหุ้นใหญ่ สามารถ คอร์ป ที่เข้าไปถือหุ้นสัดส่วน 13.6%
จากนั้นได้เสริมความแข็งแกร่ง ปรับธงนำของ แอสคอน ให้มีจุดเด่นทางด้านการรับเหมาก่อสร้าง ที่เน้นประมูลงานจากโครงการรัฐ ขณะที่ธุรกิจตัวแทนจำหน่ายสินค้าอุตสาหกรรม ธุรกิจดั้งเดิมของบริษัทที่ดำเนินงานตั้งแต่ช่วงที่ก่อตั้งในปี 2541 ถูกลดบทบาทลงไป
ขณะที่กำไรของบริษัทก็ก้าวกระโดดขึ้นมาอย่างมาก จากปี 2546 ที่มีกำไร 13 ล้านบาท แต่ในปี 2547 บริษัทมีกำไร 25 ล้านบาท และใน 9 เดือนแรกของปี 2548 บริษัททำกำไรไปแล้ว 24 ล้านบาท
ในขณะเตรียมที่จะนำ ASCON เข้าตลาดนั้น เยาวภา ต้องเผชิญกับกระแสสังคมที่ต่อต้านนักการเมืองซื้อขายหุ้นปั่นอย่างหนัก ทำให้ท้ายที่สุด เยาวภาต้องประกาศถอย ขาย หุ้น ASCON ทั้งหมดให้กับกลุ่มวิไลลักษณ์ ในเดือน เมษายน 2548
แต่หลายคนก็ยังคงเชื่อว่า กลุ่มวิไลลักษณ์ อาจจะเป็นนอมินีให้กับเยาวภาอยู่ ท่ามกลางความโชคดีของบริษัทรับเหมาก่อสร้างหน้าใหม่ ที่ได้รับงานประมูลก่อสร้างที่พักผู้โดยสารในสนามบินสุวรรณภูมิ
จะว่าไปแล้วความสัมพันธ์ของกลุ่มวิไลลักษณ์ และเยาวภา ดูจะยิ่งแน่นแฟ้นขึ้นในช่วงหลัง
'ธวัชชัย วิไลลักษณ์' เล่นบทบาทรับช่วงซื้อหุ้นต่อจาก 'กลุ่มวงศ์สวัสดิ์' ชนิดไม่ปริปาก
นอกจากจะรับซื้อหุ้น ASCON แล้ว เขายังรับช่วงซื้อหุ้น บมจ. ทราฟฟิก คอร์นเนอร์ (TRAF) ต่อจาก 'ตระกูลวงศ์สวัสดิ์' แบบยกแผง ก่อนที่ราคาหุ้นของ TRAF ที่นับวันจะย่ำแย่ลงเรื่อยๆ
กลุ่มวงศ์สวัสดิ์ ได้เข้าซื้อหุ้น TRAF ครั้งแรกเมื่อเดือนกันยายน 2547 จำนวน 20 ล้านหุ้น พร้อมกับ 'ชนะชัย ลีนะบรรจง' นักอสังหาฯ ที่ถูกเชื่อมโยงไปยังกลุ่มชินวัตร และร่วมเก็บหุ้นมาโดยตลอด
ทว่าอาการขาดทุนของ TRAF และทิศทางที่ไม่สู้ดีด้านวิทยุ ก็ทำให้ราคาหุ้นรูดลงเรื่อย หลังจากทนถือหุ้นนี้มาเป็นเวลา 1 ปี 'กลุ่มวงศ์สวัสดิ์ 'ก็ส่งไม้ต่อ ให้ 'ธวัชชัย-เจริญรัฐ วิไลลักษณ์' แห่งค่ายสามารถฯ แบ่งกันคนละ 10 ล้านหุ้น
ชนิดที่ทุกวันนี้ 'ธวัชชัย' ก็ยังไม่เอ่ยปากถึงหุ้นนี้เลย
เห็นชัดว่ารัศมีของเยาวภา นองสาวคนที่สองของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่ใช่แผ่อยู่แค่ในมุ้งไทยรักไทย แต่ยังแผ่ขยายออกมาต่อยอดความมั่งคั่งใน 'ตลาดหลักทรัพย์'
***********************************************************
โค้ด
'นอกจากการเป็นนักธุรกิจการเมือง เยาวภา ยังเป็นที่รู้จักในฐานะผู้อยู่เบื้องหลังการปั้นหุ้นเข้าตลาด รวมไปถึงการกล่าวขวัญว่าเป็นกระเป๋าเงินให้กับ 'พายัพ ชินวัตร' น้องชาย ผู้โลดแล่นในวงการ 'หุ้นอภินิหาร' หลายๆ ตัว
บันทึกการเข้า
ParaDos
คนในวงการ
ขาประจำขั้นที่ 3
ออฟไลน์
กระทู้: 1,393
FLY WITH NO FEAR !!
Re: ครอบครัว ตระกูล ชิน
«
ตอบ #1 เมื่อ:
09-10-2006, 15:40 »
UP!!!!!
บันทึกการเข้า
"Be without fear in the face of your enemies. Be brave and upright that God may love thee.
Speak the truth, always, even if it leads to your death. Safeguard the helpless, and do no wrong. That is your oath."
- Balian of Ibelin -
นทร์
ขาประจำขั้นที่ 3
ออฟไลน์
กระทู้: 7,441
Re: ครอบครัว ตระกูล ชิน
«
ตอบ #2 เมื่อ:
09-10-2006, 16:00 »
หุ้นปั่น หุ้นการเมือง หุ้นชิน ร่วงไปตามสภาพ
บันทึกการเข้า
"ประชาชน อย่าทิ้งประเทศชาติ"
music
image&file
news
HILTON (ปาล์มาลี)
ขาประจำขั้นที่ 3
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 1,310
Re: ครอบครัว ตระกูล ชิน
«
ตอบ #3 เมื่อ:
09-10-2006, 18:47 »
อีกหนึ่งผลงานคุณภาพ จากครอบครัวตระกูล ชิน
บันทึกการเข้า
คนเดินดิน
ขาประจำ
ออฟไลน์
กระทู้: 388
Re: ครอบครัว ตระกูล ชิน
«
ตอบ #4 เมื่อ:
09-10-2006, 22:32 »
นังเยา มันบอกว่าจบเมืองนอกนี่
แต่พอ ผู้สื่อข่าว ถามว่า จบยูไหน
มันตอบว่าจำชื่อ มหาวิทยาลัย ไม่ได้
ดูมัน มีสมองหรือปล่าว จะโกหก อีกครั้ง ก็ไม่ทำให้มันเนียนหน่อย
บันทึกการเข้า
หน้า:
[
1
]
ส่งหัวข้อนี้
พิมพ์
กระโดดไป:
เลือกหัวข้อ:
-----------------------------
ทั่วไป
-----------------------------
=> ตะกร้าข่าว
=> ห้องสาธารณะ
=> สภากาแฟ
=> ชายคาพักใจ
=> ร้อยรักษ์กวีวรรณ
=> สโมสรริมน้ำ
-----------------------------
ด้านเทคนิค
-----------------------------
=> ปัญหาการใช้งาน
=> ห้องทดสอบ
===> ทดสอบบอร์ดย่อย
Powered by SMF 1.1.20
|
SMF © 2005, Simple Machines
|
Thai language by ThaiSMF
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.097 วินาที กับ 22 คำสั่ง