นิทานเรื่องนี้สอนไว้ดี
หากตีความตามเนื้อหา ก็คงเป็นเช่นนั้น
ผู้ที่ไม่มีความกรุณา จะไม่ยอมรับฟังเหตุผล เนื่องจากมีความโหดร้าย และอยุติธรรมในใจเป็นสิ่งที่ไร้ประโยชน์ที่จะไปต่อปากต่อ คำด้วย ผู้ที่กดขี่ข่มเหงมักจะหาทางที่จะทำลายเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายจนได้
แต่การจะนำมาเปรียบเทียบกับ มนุษย์ มันมีเงื่อนไข ที่เพิ่มขึ้นหลายอย่าง
ต่าง กรรม ต่างวาระ ความหมายก็ต่างออกไป
ต่างผู้ถูกกระทำ กับผู้กระทำ ความหมายก็ต่างออกไป
ต่างเหตุ ที่ผลเดียวกัน ก็ไม่เหมือนอีก
ต่างผล ที่เหตุเดียวกัน ก็ไม่เหมือน เหมือนกัน
แล้วถ้า ตีความแบบ มีนัย หละถ้า หมาป่า คือ อำนาจ ลาภ ยศ สรรเสริญ
ลูกแกะ คือ คน ที่กำลังอยู่ใกล้ห้วงของอำนาจหละการที่ลูกแกะ ถูกขย้ำ ก็คือการถูกครอบงำ หละลูกแกะ (คน) ผู้บริสุทธิ์ (แต่เดิม) หลงมาอยู่ในที่หากินของหมาป่า (อำนาจ) ทั้ง ๆ ที่ หนองน้ำแห่งนั้น ตนก็ย่อมรู้ดีอยู่แก่ใจ หรืออาจรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ว่าไม่ควรไปย่างกราย ด้วยเป็นที่ ๆ หมาป่า (อำนาจ) คอยเฝ้าอยู่
เมื่อลูกแกะ (คน) ผู้อ่อนเยาว์ ไม่สามารถ ตอบคำถาม (สร้างกำแพงเพื่อหลบเร้น สิ่งภายในใจ อันมี รัก โลภ โกรธ หลง โทสะ โมหะ) ที่หมาป่า (อำนาจ) เฝ้าถาม จึงถูก หมาป่า(อำนาจ) ขย้ำ (ครอบงำ)
ผมไม่ีตีความนะครับ ว่า ใครเป็นลูกแกะ ผู้ถูก หมาป่า ขย้ำละกัน
มันเป็นเรื่องของท่านทั้งหลายตีความกันตามเจตนารมย์ ละกันครับ