ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
28-12-2024, 03:07
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราว พุทธศักราช 2549 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
ร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราว พุทธศักราช 2549  (อ่าน 654 ครั้ง)
taworn09220
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 302


« เมื่อ: 27-09-2006, 18:14 »

ร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราว พุทธศักราช 2549
 
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 27 กันยายน 2549 12:42 น.
 
 
 
*หมายเหตุ - ร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ. 2549 หลังจากคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ยึดอำนาจการปกครองเมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2549 และยกเลิกรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540
       

       คำปรารภ

       
       ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2549 เป็นการกำหนดกลไกการปกครองไปพลางก่อน โดยจะคำนึงถึงหลักนิติธรรมตามประเพณีการปกครองของไทยในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพื่อฟื้นฟูความรู้รักสามัคคี ฟื้นฟูเศรษฐกิจ และความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน การปฏิบัติตามกฎบัตรสหประชาชาติ พันธกรณีตามสัญญา หรือความตกลงระหว่างประเทศ การดำรงชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ขณะเดียวกัน จะเร่งดำเนินการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางในทุกขั้นตอน เพื่อให้เป็นไปตามที่ คปค.ได้นำความกราบบังคมทูลฯ
       
       มาตรา 1 ว่าด้วยความเป็นหนึ่งเดียวของราชอาณาจักรและพระมหากษัตริย์
       
       มาตรา 2 ว่าด้วยอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทยและพระมหากษัตริย์เป็นผู้ใช้อำนาจทางสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี และศาล
       
       มาตรา 3 ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยมีสาระว่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และความเสมอภาคที่ประชาชนเคยได้รับการคุ้มครองตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและตามพันธกรณีของระหว่างประเทศย่อมได้รับการคุ้มครอง
       
       มาตรา 4 ว่าด้วย การแต่งตั้งคณะองคมนตรี
       
       มาตรา 5 ว่าด้วยสภานิติบัญญัติแห่งชาติไม่เกิน 250 คน คุณสมบัติมีอายุไม่ต่ำ 35 ปีทำหน้าที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือรัฐสภาแล้วแต่กรณี การสรรหาให้คำนึงถึงบุคคลกลุ่มต่างๆ ในภาครัฐ เอกชน ภาคสังคม และภาควิชาการจากภูมิภาคต่างๆ อย่างเหมาะสม
       
       มาตรา 6 ว่าด้วยการพ้นจากตำแหน่งของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
       
       มาตรา 7 ให้ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเป็นผู้รับสนองแต่งตั้งสมาชิกสภา ประธาน และรองประธาน
       
       มาตรา 8 ว่าด้วยการถอดถอนสมาชิกสภาที่มีพฤติการณ์ไม่เหมาะสม โดยให้สมาชิกไม่ต่ำกว่า 20 คน เข้าชื่อร้องต่อประธานสภา และที่ประชุมมีมติไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ให้พ้นจากตำแหน่ง
       
       มาตรา 9 ว่าด้วยวิธีการประชุมสภา
       
       มาตรา 10 วิธีการตราพระราชบัญญัติ โดยสมาชิกเข้าชื่อไม่น้อยกว่า 25 คนหรือคณะรัฐมนตรีเสนอ
       
       มาตรา 11 การตั้งกระทู้ถามในสภานิติบัญญัติ และการขอเปิดอภิปรายเพื่อซักถามข้อเท็จจริงจากคณะรัฐมนตรี แต่ไม่มีสิทธิลงมติไม่ไว้วางใจ
       
       มาตรา 12 ว่าด้วยเรื่องที่คณะรัฐมนตรีรับฟังความเห็นจากสมาชิกสภานิติบัญญัติโดยขอให้เปิดประชุมสภา
       
       มาตรา 13 ว่าด้วยเอกสิทธิ์คุ้มครองสมาชิกในการอภิปรายข้อเท็จจริงในสภา
       
       มาตรา 14 ว่าด้วยการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี และให้นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง โดยประธานคณะมนตรีความมั่นคงเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ทั้งนี้ กำหนดให้มีคณะรัฐมนตรีไม่เกิน 35 คน
       
       มาตรา 15 ว่าด้วยการตราพระราชกำหนด
       
       มาตรา 16 ว่าด้วยการตราพระราชกฤษฎีกา
       
       มาตรา 17 การรับสนองพระบรมราชโองการเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน
       
       มาตรา 18 ความเป็นอิสระของผู้พิพากษาและตุลาการในการพิพากษาคดี
       
       มาตรา 19 สมัชชาแห่งชาติมีไม่เกิน 2,000 คน มีประธานคณะมนตรีความมั่นคงเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
       
       มาตรา 20 ประธานสภานิติบัญญัติทำหน้าที่ประธานสมัชชาแห่งชาติ และรองประธานสภานิติบัญญัติทำหน้าที่ประธานสมัชชาแห่งชาติ
       
       มาตรา 21 สมัชชาทำหน้าที่เลือกกันเองให้เหลือ 200 คน เป็นผู้สมควรได้รับการเสนอชื่อเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญซึ่งต้องทำให้เสร็จภายใน 7 วันนับแต่วันเปิดประชุมสมัชชาครั้งแรก ถ้าครบกำหนดเวลาไม่อาจคัดเลือกได้ให้สมัชชาแห่งชาติสิ้นสุดลง วิธีการคัดเลือก ให้สมาชิกสมัชชาเลือกได้คนละไม่เกิน 3 ชื่อ และผู้ได้คะแนนสูงสุด 200 คน
       
       มาตรา 22 นำบัญชีรายชื่อ 200 คน ให้คณะมนตรีเลือกเหลือ 100 คน เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญซึ่งต้องโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง
       
       มาตรา 23 การพ้นจากตำแหน่งและการแต่งตั้งเพิ่มเติมสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
       
       มาตรา 24 ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแต่งตั้งประธานสภาร่าง และรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ
       
       มาตรา 25 การแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญที่ได้รับการคัดเลือกจากสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ 25 คน และผู้ทรงคุณวุฒิที่คณะมนตรีความมั่นคงแต่งตั้ง 10 คน
       
       มาตรา 26 เมื่อมีการยกร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้วให้เผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญและเอกสารชี้แจงว่ามีความแตกต่างจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 อย่างไร เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน
       
       มาตรา 27 การแปรญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของสภาร่างรัฐธรรมนูญ
       
       มาตรา 28 ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญนำความเห็นของประชาชนและคำแปรญัตติมาพิจารณา
       
       มาตรา 29 ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญทำร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จภายใน 180 วัน เมื่อร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้วให้เผยแพร่กับประชาชนและจัดให้มีการออกเสียงลงประชามติไม่เกิน 30 วัน
       
       มาตรา 30 ให้กรรมาธิการยกร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญเฉพาะที่จำเป็นที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งให้เสร็จภายใน 45 วัน และเสนอต่อสภานิติบัญญัติ
       
       ห้ามมิให้ประธานคณะมนตรีความมั่นคง สมาชิกสภานิติบัญญัติ และผู้ที่เกี่ยวข้องลงสมัครเป็น ส.ส.และ ส.ว. ภายในเวลา 2 ปี
       
       มาตรา 31-32 ถ้าร่างรัฐธรรมนูญไม่เสร็จตามเวลาที่กำหนด หรือไม่ผ่านความเห็นชอบในการลงประชามติ ให้คณะมนตรีความมั่นคงประชุมร่วมกับคณะรัฐมนตรี โดยให้นำรัฐธรรมนูญฉบับเดิมมาปรับปรุงให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน และประกาศใช้ได้เลย
       
       มาตรา 33 ว่าด้วยค่าตอบแทนของประธาน รองประธานสภานิติบัญญัติ สภาร่างรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในคณะมนตรีความมั่นคง และผู้ดำรงตำแหน่งในตุลาการรัฐธรรมนูญให้ออกเป็นกฤษฎีกา
       
       มาตรา 34 ว่าด้วยองค์ประกอบคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ประธานคณะมนตรีฯอาจขอให้มีการประชุมร่วมกับคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาแก้ปัญหาใดๆ ที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน
       
       มาตรา 35 ว่าด้วยอำนาจของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญซึ่งมีประธานศาลฎีกาเป็นประธาน ประธานศาลปกครองสูงสุดเป็นรองประธาน และมีผู้พิพากษาหัวหน้าคณะที่ศาลฎีกาเลือก 5 คน และตุลาการศาลปกครองสูงสุดเลือก 2 คน โดยมีอำนาจพิจารณาคดีเหมือนศาลรัฐธรรมนูญเดิม
       
       มาตรา 36 ให้ประกาศคำสั่งของ คปค. ให้มีผลบังคับใช้ต่อไปและเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
       
       มาตรา 37 ให้การกระทำทั้งหลายของ คปค. ในการยึดและควบคุมทางด้านการปกครองแผ่นดิน ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง
       
       มาตรา 38 ว่าด้วยการใช้ประเพณีการปกครองแผ่นดินเมื่อไม่บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญบังคับ
       
       มาตรา 39 ในระหว่างนายกรัฐมนตรียังไม่ได้รับหน้าที่ ให้ประธานคณะมนตรีฯทำหน้าที่ไปพลางก่อน

 
 
 
 
 http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9490000121048
 
 
 
บันทึกการเข้า
MacBookPro
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 765



« ตอบ #1 เมื่อ: 27-09-2006, 18:21 »

มาตรา 37 ให้การกระทำทั้งหลายของ คปค. ในการยึดและควบคุมทางด้านการปกครองแผ่นดิน ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง

กันตัวเองได้ดีเลยทีเดียว  เยี่ยม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27-09-2006, 18:28 โดย MacBookPro » บันทึกการเข้า

ไอ้เหลี่ยม - ทักษิณ ชินวัตร ชาตะ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 มรณะ 19 กันยายน พ.ศ. 2549
นู๋เจ๋ง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,877



« ตอบ #2 เมื่อ: 27-09-2006, 18:26 »

บันทึกการเข้า

~จะแน่วแน่...แก้ไข...ในสิ่งผิด~
พระพาย
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 679



« ตอบ #3 เมื่อ: 27-09-2006, 22:48 »

โดยรวมๆ แล้ว ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ทำได้ชัดเจนทั้งในเรื่องเนื้อหา วิธีการ และกรอบเวลา

ทำให้มั่นใจได้ว่าเราจะมีรัฐธรรมนูญใช้งานภายใน 1 ปีแน่นอน... แต่จะได้รัฐธรรมนูญที่ดีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ว่าจะไปไกลถึงขนาดต้องใช้มาตรา 31-32 หรือไม่?

       มาตรา 31-32 ถ้าร่างรัฐธรรมนูญไม่เสร็จตามเวลาที่กำหนด หรือไม่ผ่านความเห็นชอบในการลงประชามติ ให้คณะมนตรีความมั่นคงประชุมร่วมกับคณะรัฐมนตรี โดยให้นำรัฐธรรมนูญฉบับเดิมมาปรับปรุงให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน และประกาศใช้ได้เลย

ถ้าหากสุดท้ายคือการปรับใช้รัฐธรรมนูญ 2540 จริง... ต้องอธิบายได้ว่าการปรับปรุงบางมาตราของรัฐธรรมนูญ 2540 ใช้หลักการใดบ้าง จะต้องอธิบายให้ชัดเจน.. ที่สำคัญจะต้องไม่ให้ประชาชนรู้สึกว่าเสียแรงปฏิรูปแล้วได้ของเดิมกลับมาทั้งดุ้น

ผมเห็นด้วยกับนักวิชาการกลุ่มหนึ่ง (จำไม่ได้ว่านำโดยท่านสุรพลหรือเปล่า) ที่นำเสนอไว้ตั้งแต่ตอนต้นปีให้ใช้ร่วมกับมาตรา 7 เป็นธงปฏิรูปการเมือง โดยสาระสำคัญเน้นไปที่เรื่ององค์กรกลางและการปรับปรุงระบบการตรวจสอบ... ถ้าจะนำของเก่ามาปรับใช้ ก็ควรมีการปรับปรุงสาระสำคัญตรงนี้เป็นหลัก

สำหรับข้อสังเกตในบางมาตราเช่น มาตรา 12
       มาตรา 12 ว่าด้วยเรื่องที่คณะรัฐมนตรีรับฟังความเห็นจากสมาชิกสภานิติบัญญัติโดยขอให้เปิดประชุมสภา

ผมได้สำรวจตรวจตราทั้ง 39 มาตรา... ไม่รู้หลงหูหลงตาไปหรือไม่ แต่เข้าใจว่ามาตรานี้ค่อนข้างโดดเดี่ยวจากข้ออื่นๆ ไม่มีมาตราที่รับลูกส่งลูกกับมาตรานี้เลย... เช่น อำนาจหน้าที่ของสภาฯ ในการให้คำปรึกษาต่อคณะรัฐมนตรีผ่านการประชุมสภาฯ... เป็นต้น (ไม่แน่ใจในวัตถุประสงค์ของมาตรานี้ว่าคืออะไร?)

และสุดท้ายคือแก้คำที่น่าจะผิดครับในมาตรา 20
       มาตรา 20 ประธานสภานิติบัญญัติทำหน้าที่ประธานสมัชชาแห่งชาติ และรองประธานสภานิติบัญญัติทำหน้าที่ประธานสมัชชาแห่งชาติ

ที่ขีดเส้นใต้ไว้น่าจะเป็น "รองประธานสมัชชาแห่งชาติ" มากกว่าครับ
บันทึกการเข้า

คลิป นปก บุกทำเนียบชนพันธมิตร
http://pirun.ku.ac.th/~g4685035/01mob.asf
กระทู้ขบวนการเสรีไทยในเวบบอร์ดร่วมคัดคัดกรณีปราสาทพระวิหาร นำโดยคุณ *bonny http://forum.serithai.net/index.php?topic=28065.0
และเอกสารยื่นคัดค้านกระทรวงต่างประเทศไทยและกัมพูชา  http://www.savefile.com/files/1629973
กระทู้สรุปประเด็นปราสาทพระวิหาร โดยคุณ Jerasak http://forum.serithai.net/index.php?topic=28392.0
ใบปลิวขนาด 2 หน้าสรุปประเด็นปราสาทพระวิหาร โดยคุณ Jerasak http://www.savefile.com/files/1626944

แม่น้ำร้อยสายล้วนต้นกำเนิดเดียวกัน... จากสายฝน จากภูเขา ที่ซึ่งคล้ายเจตนารมณ์แห่งฟ้า
เสรีไทยเวบบอร์ด http://forum.serithai.net/
We Open Mind http://www.weopenmind.com/board/index.php
อรุณสวัสดิ์ http://www.arunsawat.com/board/index.php
ที่ทำการเสี่ยวอีสาน[
หน้า: [1]
    กระโดดไป: