ขงเบ้งจิ๋วเพิ่งจะตาสว่างครับ
หลังจากโดนไอ้เหลี่ยมเทคโอเวอร์แล้วจับสนตะพายอยู่หลายปี จิ๋วอัดรัฐบาลทรท.คนจนเพิ่ม ก่อสังคมแตกแยก 15 กันยายน 2549 18:58 น.
พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธระบุยุทธศาสตร์รัฐบาลคนรวยช่วยคนจน จะทำให้สังคมดีขึ้นนั้นใช้ไม่ได้แล้ว เพราะคนยากจนระดับล่างและที่ไม่อนาคตเพิ่มคิดเป็น 20%ของคนทั้งประเทศ ระบุทำให้เกิดความแตกแยก อาจเกิดกบฏชาวนาขึ้นได้
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ :
สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สป.) ได้จัดเวทีสาธารณะในหัวข้อ ยุทธศาสตร์รวยช่วยจน ณ ห้องประชุมราชา 1 โดยเชิญ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตประธานศูนย์แก้ไขปัญหาความยากจน(ศตจ.) มาเป็นองค์ปาฐกถา แต่ พล.อ.ชวลิต ไม่สามารถมาแสดงปาฐกถาได้แต่ได้นำเทปบันทึกภาพมาฉาย โดยมีถ้อยคำตอนหนึ่งว่า การกระจายรายได้เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากต่อการพัฒนาประเทศชาติ เพราะตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 เป็นต้นมา เราก็พยายามแก้ไข แต่ก็แก้ไม่ได้ มันจึงเรื้อรังมากขึ้น จนทำให้เกิดช่องว่างระหว่างคนจนและคนรวยมากขึ้น
พบว่าขณะนี้มีคนยากจนกว่าร้อยละ 20 ที่เป็นกลุ่มคนในระดับล่าง และเป็นกลุ่มคนที่ไม่มีอนาคต เมื่อจนเต็มที่ก็ทำอะไรก็ได้ นั่นจึงเป็นเหตุของที่มาของปัญหาแตกแยกในสังคม เกิดปัญหาในกรุงเทพฯ กับต่างจังหวัด เกิดปัญหาการอพยพแรงงานจากชนบทเข้ามาอยู่ในแหล่งเสื่อมของเมืองใหญ่ เกิดปัญหาการค้าโสเภณี ยาเสพติด เกิดการผูกขาดอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจ ซึ่งมักจะอยู่ในกลุ่มของผู้มีเงินที่เป็นคนกลุ่มน้อย สังคมแตกแยกอย่างนี้แล้ว ความคิดที่จะพูดกันว่า ประเทศไทยนั้นไม่มีทางที่จะเกิดกบฏชาวนา เห็นว่าจะไม่เป็นจริงอย่างแน่แท้พล.อ.ชวลิต กล่าว
นอกจากนี้ ปัญหาการกระจายรายได้ไม่ได้สามารถแก้ไขด้วยระบบทุนนิยมหรือระบบตลาด เพระในระบบนี้ไม่ได้กำหนดว่าใครจะได้เงินจำนวนเท่าใด จะแบ่งกันอย่างไร สังคมไทยในตอนนี้ทำให้เห็นว่าใครมีอำนาจมากกว่ากัน ใครลงทุนมากกว่ากัน ใครมีสัดส่วนจัดการมากกว่ากัน ก็จะได้สิ่งที่ตอบแทนได้มากกว่า เราจะไม่กำหนดว่าเมื่อผลประโยชน์เกิดขึ้นแล้ว ระบบทุนนิยมนี้จะต้องเคลียกันด้วยความเป็นธรรม
พล.อ.ชวลิต กล่าวอีกว่า จากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 มีแนวคิดการสร้างงานและสร้างรายได้ ซึ่งแนวทางที่ทำ คือ การดึงคนออกจากการผลิตภาคเข้าเกษตรเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม ส่งผลให้รายได้ถูกผูกติดอยู่กับอัตราค่าจ้างรายวัน มีความสามารถในการแข่งขันและอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นตัวกำหนด มีการผลักดันให้มีการลงทุน สร้างโรงงานจำนวนมาก เน้นการผลิตเพื่อส่งออก ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่การกระจายรายได้ แต่ทำให้ช่องว่างระหว่างรายได้ของประชาชนมีความแตกต่างกันมาก จนทำให้เกิดช่องว่างความยากจนขึ้นอีก
ยุทธศาสตร์รวยช่วยจน เกิดมาจากข้อสรุปที่ว่าสังคมจะดีขึ้น จะต้องไม่มีคนใดสูญเสียประโยชน์ มีการปรับสภาพจาก Win-Lost เป็น Win-Win Solution มีข้อเสนอว่ารัฐบาลควรจะเป็นผู้กระทำบทบาทนี้ ด้วยการคิดค้นมาตรการชดเชยให้กับเกษตรกร หรือให้แก่กลุ่มผู้ที่สูญเสียผลประโยชน์ โดยเฉพาะที่เป็นเกษตรกร ให้เป็นระบบ และเป็นกลาง โดยใช้วิชาการที่มีหน่วยงานรัฐเป็นหัวเรี่ยวหัวแรง การชดเชยอาจจะเป็นตัวเงินหรือไม่ก็ได้พล.อ.ชวลิต กล่าว
http://www.bangkokbiznews.com/2006/09/15/w001_138143.php?news_id=138143