นักธุรกิจชาวต่างชาติค้าขาย ลงทุนในประเทศไทย ตั้งแต่ปีมะโว้
ญีปุ่นเป็นประเทศที่ลงทุนในประเทศไทยระดับต้นๆ ของนักลงทุน
ต่างชาติ เคยมีเรื่องต่อต้านสินค้าญี่ปุ่น ผลิตภัณฑ์ญี่ปุ่นก่อนปี 2516
ด้วยเหตุผลสร้างชาตินิยม และการขยายตัวการลงทุนในประเทศไทย
อย่างรวดเร็ว มากมาย สินค้า ผลิตภัณฑ์จากญี่ปุ่นมีให้เห็นเกลื่อนตา
ในชีวิตประจำวัน การรณรงค์ประสบความสำเร็จในขนาดหนึ่ง ระยะหนึ่ง...
หลังจากนั้น ความรู้สึกต่อต้านก็คลายลงเป็นปกติ อาจจะเป็นเพราะนักธุรกิจ
ญี่ปุ่นเริ่มมีส่วนร่วมกิจกรรมสังคมไทย การลงทุนด้านอื่นๆ ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
และการแสวงหากำไรโดยตรง....
เวลานี้คนไทยถูกชักชวนให้ต่อต้านสินค้า บริการและกิจการของชาวสิงคโปร์ที่ลงทุน
ประกอบธุรกิจในประเทศไทย หากพิจารณาให้ดี ชาวสิงคโปร์ได้ลงทุนในประเทศไทย
มาก่อน แต่ไม่ได้ทำอย่างเปิดเผย ก้าวร้าว หรือรุกรานในความรู้สึกของคนไทย
จนกระทั่งวันหนึ่ง ข้อเท็จจริงได้ปรากฎว่านักธุรกิจสิงคโปร์ บรรษัทใหญ่ที่รัฐบาลสิงคโปร์ถือหุ้นใหญ่
ได้ร่วมมือกับนักธุรกิจการเมืองไทยขายชาติ ผูกขาดการผลิตสินค้า จำหน่ายสินค้า และบริการที่สำคัญ
ต่อเศรษฐกิจ ความมั่นคงของชาติ การเข้าถือหุ้นใหญ่ในสถาบันการเงิน บริษัทอสังริมทรัพย์ระดับใหญ่
และอาคารใหญ่ในประเทศไทย เป็นต้นบรรษัทของรัฐบาลสิงคโปร์ได้ร่วมมือกับนักธุรกิจการเมืองใหญ่ซื้อขายทรัพย์สิน ซื้อขายหุ้นล๊อตใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ตลาดหลักทรัพย์ โดยไม่ต้องเสียภาษีแม้แต่หนึ่งบาท
ประชาชนได้รับรู้ว่าการซื้อ-ขายหุ้นล๊อตใหญ่นั้นไม่โปร่งใส ไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมายตลาดหลักทรัพย์ กฏหมายสรรพกา ด้วยการเตรียมการล่วงหน้า แก้ไขกฎหมายต่างๆ เอื้อประโยชน์ให้ชาวต่างชาติถือหุ้นใหญ่ในบริษัทโทรคมนาคมใหญ่ เป็นผู้ควบคุมการใช้ดาวเทียมของไทย โดยไม่ผิดกฎหมาย... การเปิดโปงการทำธุรกิจในเมืองไทยของบรรษัทหรือนักธุรกิจใหญ่ชาวสิงคโปร์อยู่บนพื้นฐานความร่วมมือกับนักการเมืองไทย นักธุรกิจการเมือง ผู้นำทางการเมืองไทย โดยอาศัยความสัมพันธ์พิเศษทั้งก่อนมีอำนาจทางการเมืองและหลังมีอำนาจทางการเมือง....การใช้อำนาจเป็นธรรม ผูกขาดเสียส่วนใหญ่ ไม่ได้ประกอบการธุรกิจที่สะอาด โปร่งใสนัก จึงเป็นที่มาของการประท้วง การไม่ใช้สินค้าและบริการที่ชาวสิงคโปร์ถือหุ้นใหญ่และมีอำนาจบริหารเหนือนักธุรกิจ"นอมินี"ไทย...
พฤติกรรมของนักลงทุนสิงคโปร์ในประเทศเหมือนนักล่าเมืองขึ้นทางเศรษฐกิจ ครอบครองสถาบันการเงิน อสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ และธุรกิจผูกขาดสำคัญ เช่นธุรกิจเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการสนามบินสุวรรณภูมิ การใช้ดินแดนไทยเป็นทีฝึกซ้อมและเก็บเครื่องบินรบที่มีสมรรถภาพสูง เป็นต้น.. การต่อต้านธุรกิจที่ชาวสิงคโปร์ถือหุ้นใหญ่ มีอำนาจการบริหารองค์กรอย่างแท้จริง เช่น"มือถือ" เป็นการต่อต้านที่เห็นผลเป็น"รูปธรรม" ทำให้สัดส่วนการตลาด การขยายตัว การใช้บริการของคนไทยลดลงอย่างเห็นชัด ต้องดำเนินกลยุทธการตลาดยับยั้งการไหลออกของลูกค้า ผู้ใช้บริการ....
ความรู้สึกของคนไทยต่อรัฐบาลสิงคโปร์ บรรษัทของรัฐบาลสิงคโปร์ และนักธุรกิจสิงคโปร์ในประเทศไทยขณะนี้ สามารถเตือนใจพวกเขา อย่าบุ่มบ่าม ละโมภ ก้าวร้าวในการลงทุน ครอบครองเศรษฐกิจไทยร่วมกับนักธุรกิจการเมืองขายชาติไทยได้ หรือไม่