ที่มา:
http://www.thannews.th.com/detialNews.php?id=T0921011&issue=2101เปิดสัมพันธ์ โอฬาร-ทักษิณ กลไกขับเคลื่อน 'ความทับซ้อน'
กรณีที่ศาลปกครองสูงสุดได้พิพากษาให้รัฐบาลแพ้คดีการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) เป็นบริษัท กฟผ. จำกัด(มหาชน) (บมจ.)โดยเห็นว่าพระราชกฤษฏีกา ( พ.ร.ฏ) 2 ฉบับเกี่ยวกับการแปรรูปคือ พ.ร.ฏ. กำหนดอำนาจ สิทธิและประโยชน์ของบริษัท กฟผ. จำกัด(มหาชน) พ.ศ.2548 และพ.ร.ฏ กำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2548 นั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ภายหลังจากที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคกับพวก เป็นฝ่ายยื่นฟ้องนายก ฯทักษิณ ชินวัตร ,นายวิเศษ จูภิบาล รมว.พลังงานและพวกต่อศาลปกครองสูงสุด การพิพากษาของศาล สืบเนื่องจากการพิจารณาคุณสมบัติของคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้ง คือ นายโอฬาร ไชยประวัติ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการดังกล่าว เป็นนายกสภามหาวิทยาลัยชินวัตร และเป็นกรรมการบมจ. ชินคอร์ปอเรชั่น ซึ่งเป็นบริษัทที่ถือหุ้นหลักในบมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) ประกอบกิจการสื่อสารและโทรคมนาคม จึงถือได้ว่ามีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวข้องกับกิจการของ กฟผ. (มหาชน) ที่ได้จัดตั้งบริษัท กฟผ.โทรคมนาคม จำกัด เพื่อประกอบกิจการโทรคมนาคมและสื่อสารเช่นกันประกอบกับนายโอฬาร ยังเป็นกรรมการบริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) ซึ่ง กฟผ. ได้ซื้อก๊าซธรรมชาติจาก ปตท.อีกด้วย จึงเข้าข่ายลักษณะต้องห้ามที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบรัษัท[/size]
ผลของการพิพากษาศาลครั้งนี้ ไม่เพียงจะส่งให้แผนการแปรรูป กฟผ.ต้องพับแผนกลับไปใหม่ แต่ทว่ายังเพิ่มน้ำหนัก ให้กับข้อกล่าวหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน ที่มีต่อ รักษาการนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ขึ้นอีกโข
ไม่เพียง กฟผ. หากอดีตนายแบงก์คนนี้ ยังถูกมองว่า เขายังมีสถานะทับซ้อนในกรณีอื่นๆอีก โดยเฉพาะกรณี บมจ.การบินไทย กับ บมจ.ไทยแอร์เอเชีย อีกด้วย ทั้งนี้ "ไทยแอร์เอเชีย"ถือหุ้นหลักโดย บริษัท เอเชียวิชั่น ซึ่งมี บมจ.ชนคอร์ป ถือหุ้นใหญ่อีกชั้นหนึ่ง โอฬารเป็น บอร์ด บมจ.การบินไทย และเป็นบอร์ด บมจ.ชินคอร์ ผู้ถือหุ้นใหญ่ของ บมจ.ไทยแอร์เอเชีย (ผ่าน เอเชียวิชั่น) ซึ่งเป็นรูปแบบความสัมพันธ์ทำนองเดียวกับที่ การเข้าไปเป็นหนึ่งในกรรมการก่อตั้ง บมจ.กฟผ. ที่มีแผนทำธธุรกิจโทรคมนาคม แต่โอฬารนั่งเป็นบอร์ดใน บมจ.ชินคอร์ป บริษัทแม่ของ เอไอเอส (แอดวานซ์อินโฟร์เซอร์วิส)
ด้วยความสัมพนธ์ที่เกี่ยวเนื่องกับ ไทยแอร์เอเชีย ดังกล่าวและมีเสียงร้องเรียน จนทำให้ บอร์ดการบินไทยต้อง สั่งการให้เลขานุการคณะกรรมการ ตรวจสอบคุณสมบัติกรรมการบริษัท ว่าเข้า เพราะก่อนหน้านี้ มีข่าวมาตลอดว่าการที่การบินไทยยกเลิกหรือลดเที่ยวบินเส้นทางบินในประเทศบางเส้นทาง ก็เพื่อเอื้อให้ไทยแอร์เอเชียทำการบินแทน
ด้วยบทบาทของโอฬารใน บมจ.ชินคอร์ป และ ในบริษัทแปรรูปใหญ่อย่าง บมจ.ปตท. บมจ.การบินไทย ทำให้เขาถูกจับตาจากสังคม มากขึ้น
ทั้งนี้ การที่เขาถึงได้รับความไว้วางใจอย่างสูงจาก รักษาการนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะ โอฬาร กับ รักษาการนายกฯ ไม่ใช่คนแปลกหน้าทั้ง 2 คน ต่างเคยเป็นสมาชิกพรรคพลังธรรมยุค พล.ต.จำลอง ศรีเมือง เป็นหัวหน้าพรรคเมื่อ 17 ปีที่แล้ว ที่เที่ยวหาคนดีเด่นดังมาร่วมอุดมการณ์ขับเคลื่อนพรรค
คนดีเด่นดังที่ พล.ต.จำลอง ดึงมาร่วมงานนอกจาก พ.ต.ท.ทักษิณ (ตำแหน่งขณะนั้น) แล้วยังมี ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แบงก์ไทยพาณิชย์ (อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม) ,นายอนันต์ อัศวโภคิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ และดร.โอฬาร ตั้งแต่สมัยเป็นรองกรรมการผู้จัดการแบงก์ไทยพาณิชย์ ทุกคนจะเรียกพล.ต.จำลองว่า
"หัวหน้า" ว่ากันว่า โอฬาร เข้าไปเกี่ยวในกลุ่ม"ดีเด่นดัง"หลังจากสนับสนุนให้แบงก์ไทยพาณิชย์ปล่อยกู้ โครงการรถไฟฟ้าบีทีเอส ซึ่งได้รับการผลักดันจาก กรุงเทพมหานคร ยุค พล.ต.จำลองเป็นผู้ว่าการและเป็นโครงการที่หลายแบงก์ปฏิเสธให้กู้รวมทั้ง ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ อดีตรัฐมนตรีคลังและกรรมการผู้จัดการใหญ่แบงก์ไทยพาณิชย์ จากจุดเริ่มต้นตรงนี้ความสัมพันธ์ได้ถูกสานต่อไปยัง ทักษิณ ที่เวลานั้นแสดงคัวว่าจะเป็นทายาทการเมืองของพล.ต.จำลอง ก่อนทิ้งพรรคไปตั้งพรรคไทยรักไทย
ต่อมา เมื่อ ทักษิณ หัวหน้าพรรคไทยรักไทย ชนะการเลือกตั้งในปี 2544 และขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ประจวบเหมาะกับ โอฬาร ว่างงานเพราะ ลาออกจากแบงก์ไทยพาณิชย์ ตั้งแต่ปี 2542
จังหวะนั้นเอง ถูกดึงมาเป็นกุนซือ ดร.สมิคด จาตุรศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีคลัง(ขณะนั้น) ทำหน้าที่เป็นคนกรองสถานการณ์เศรษฐกิจที่หน่วยงานทั้งแบงก์ชาติ กระทรวงสายเศรษฐกิจทั้งหมด รวมทั้ง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ต้องส่งข้อมูลผ่าน โอฬาร ก่อน
หลังจากนั้นเป็นต้นมาบทบาทของโฮฬารก็เบ่งบานทั้งในธุรกิจเครือชินคอร์ป และหน่วยงานของรัฐบาล เช่น เคยดำรงตำแหน่ง นายกสภามหาวิทยาลัยชินวัตร ,กรรมการและประธานกรรมการตรวจสอบ บมจ.ชินคอร์ปตั้งแต่ปี 2541 จนถึงปัจจุบัน
ต่อด้วย ประธานคณะกรรมการบริหารสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) , ,กรรมการบมจ.การบินไทย ,ประธานกรรมการตรวจสอบภายใน ปตทและไทยโอเฟินส์ ,กรรมการอิสระไทยออยส์ , ประธานกรรมการบริษัทหลักทรัพย์ เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ ,กรรมการบมจ.สหพัฒนาโฮลดิ้ง ,กรรมการตลาดหลักทรัพย์ ,ประธานกรรมการบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) เป็นต้น
นอกจากนี้ยัง เป็นหนึ่งใน คณะทำงานโครงการลงทุนพิเศษของรัฐเพื่อการพัฒนาประเทศ ในโครงการเมกกะโปรเจ็ตต์ มูลค่า 1.8 ล้านล้านบาท .เป็นประธานประธานคณะกรรมการลงทุนในกองทุนรวมวายุภักษ์ เป็นต้น ที่สำคัญในการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งแรกของรัฐบาลทักษิณ 2 เมื่อปี 2548 ที่ผ่านมา ทักษิณ ทาบทามโอฬาร นั่งเก้าอี้คลังแต่เจ้าตัวปฏิเสธด้วยเหตุผลที่ว่า "คนที่บ้านไม่เห็นด้วย"
ด้วยบทบาทดังกล่าวนั่นเอง ทำให้โอฬาร ไม่เพียงถูกมองว่า เป็นทั้งพนักงานระดับสูงของชินคอร์ป" แต่ยังเป็นคนวงในของ พ.ต.ท.ทักษิณอีกด้วน แม้เจ้าตัวไม่เคยดำรงตำแหน่งใด ๆทางการเมืองใดเลยก็ตาม หากบทบาทและตำแหน่งใน องค์กร และหน่วยธุรกิจ ของรัฐบาลหลายแห่งสะท้อนให้เห็นความ"ลึกซึ้ง" ระหว่างเขากับรัฐบาลทักษิณ แม้ถูกกล่าวถึงอย่างอื้ออึงต่อเมื่อ"ฐานเศรษฐกิจ"พยายามติดต่อสอบถามจากปาก หากโอฬาร ปฏิเสธให้ความเห็นเขาตอบเพียงว่า "ยังไม่ใช่เวลาที่ผมจะตอบ "
แม้เจ้าตัวไม่ยอมชี้แจง หากการเข้าไปมี บทบาททั้งในระดับเศรษฐกิจมหภาค (กุนซือรมว.คลัง) และผู้ขับเคลื่อนคนสำคัญในแผนยุทธศาสตร์ของรัฐบาลโดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และเป็นนั่งเป็นบอร์ดที่ชินคอร์ป ทำให้ภาพของเขาถูกมองโดยปริยาย
ว่า ตัวเขาคือหนึ่งในกลไกขับเคลื่อนความซ้อนทันระหว่างผลประโยชน์ของชาติกับธุรกิจของชินคอร์ป ดังคำพิพากษาจาก ศาลปกครองสูงสุด ในกรณี การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯที่ว่าตำแหน่งของเขา
มีความเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน