การเมืองใหม่ เป็นวาทกรรมอันหนึ่ง ซึ่งตีความได้มากมาย
กรณี 70 / 30 เป็นการปฏิบัติ ซึ่งนำเสนอโดยบุคคล ไม่ใช่หลักการ ว่าด้วยการเมืองใหม่
จะว่าไปแล้ว การเมืองใหม่ ตีความหมายได้ชัดเจนว่า ไม่เอาแบบเก่า เท่านั้นเอง
แล้วแบบเก่าคืออะไร ก็ไปตีความเอาตามชอบใจ ฝ่ายหนึ่งก็ตีความว่า แบบที่ใช้อยู่ในวันนี้เป็นแบบเก่าไม่ต้องการแล้ว บ้างก็ว่าแบบที่ใช้อยู่วันนี้ดีอยู่แล้ว จะใช้ต่อไป
คำถามของกระทู้มีอยู่ว่า
การเมืองใหม่ทำได้จริงหรือ ก็ต้องถามกลับก่อนว่า ผู้ถามคิดว่า การเมืองใหม่นั้นคืออะไร จึงจะสามารถตอบได้ชัดเจน
แต่ถ้าจะตีความตามใจผู้ตอบ ก็ขอตีความว่า มีการนำเสนอที่จะไม่ใช้การเมืองแบบทุกวันนี้ นั่นคือ ผู้แทนมาจากพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ทั้งหมด แต่จะมีการปรับเปลี่ยนการเลือกผู้แทนให้เป็นไปตามกลุ่มสาขาอาชีพ หรือจะตามกลุ่มอะไรก็ตามแต่จะคิดกัน ส่วนผู้แทนตามพื้นที่ทางภูมิศาตร์ จะลดเหลือจำนวนหนึ่งเท่านั้น
ทั้งนี้เพื่อเป็นการให้ผูแทนราษฎร สามารถสนองตอบความต้องการของกลุ่มชนได้ดีกว่า เนื่องจากการเลือกตั้งแบบเก่านั้น ความต้องการของผู้ที่ตั้งใจไปเลือกตั้ง จะถูกกลบด้วยกระบือที่ขายเสียง ดังนั้นเสียงส่วนใหญ่ในบางพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ จึงเลือกผู้แทนที่จ่ายเงินให้มาก ผู้แทนที่เข้ามาจึงเป็นพวกซื้อเสียง และจะมาถอนทุน
สำหรับจุดนี้ คือจุดที่นักการเมืองเก่าจะต่อต้านมากที่สุด
แนวการเสนอการเมืองใหม่ ได้สะดุดไปหนหนึ่งจาก 30 / 70 นี่แหละ แต่เมื่อนานวันเข้า ผู้มีความคิดก็เริ่มมองเห็นหลักการของการเมืองใหม่ สามารถแยกแยะวิธีการออกจากหลักการได้ ซึ่งน่าตลกตรงที่ นักวิชาการส่วนหนึ่งในตอนแรก ต่อต้านการเมืองใหม่เพราะ 70 / 30 พึ่งจะมารู้ตัวว่าโง่ดังกระบือ แล้วแยกหลักการกับวิธีการอกจากกันเป็น ทั้งๆที่ทะลึ่งเป็นนักวิชาการมาตั้งนาน จึงกระโจนเข้าร่วมขบวนการการเมืองใหม่
ด้วยเป็นแถวๆ
วันนี้ จึงสรุปได้ว่า มีการนำเสนอให้เปลี่ยนแปลงทางการเมือง ไปสู่ระบบใหม่ ระบบที่ว่านั้นจะมีหลักปฏิบัติอย่างไร วิธีการอย่างไร ก็เชิญเสนอแนะ หากใครยังโง่ นั่งค้านตะพึด ก็ไม่ว่ากัน แต่ก็อดเสนอแนวความคิดของตนเองนั่นแหละ แล้วก็ตกรถไฟไป
วันนี้ จึงมีคนเริ่มเข้ามาร่วมเสนอการเมืองใหม่กันมากขึ้น เพราะมีทางเลือกเพียงสามทาง หนึ่งยอมรับการเมืองเก่า สองมีการเมืองใหม่แต่ตนเองนั่งโง่เลยอดมีส่วนร่วม สามเข้าร่วมกับเขาและเรียกร้องแนวทางที่ตนเห็นว่าเหมาะสม
การเมืองใหม่จึงจะกระทำได้ ด้วยเหตุที่สามนั่นแล