บทความจากประชาชาติธุรกิจครับ ไม่รู้ว่าทุกคนลืมบริษัท "แท็กส์" กันแล้วหรือยัง ------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ดอนเมือง-สุวรรณภูมิคึกรับเจ๊แดง! จับตา"แท็กส์" สยายปีกรอบใหม่วันที่ 28 กันยายน 2551 - เวลา 09:26:47 น.
http://www.matichon.co.th/prachachat/news_detail.php?id=1900&catid=1จับตาโปรเจ็กต์สนามบินสุวรรณภูมิ-ดอนเมืองผงาด หลังสามี "เจ๊แดง" เป็นนายกฯ สปอตไลต์จับจ้อง "แท็กส์"
ผู้รับเหมายักษ์ใหญ่ เปิดเครือข่ายธุรกิจ"วงศ์สวัสดิ์"สยายปีกสู่พลังงาน
วันที่ "สมชาย วงศ์สวัสดิ์" ก้าวขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 26 สปอตไลต์ได้พุ่งไปที่ "เจ๊แดง" เยาวภา วงศ์สวัสดิ์
สตรีหมายเลข 1 ของประเทศ ผู้มีศักดิ์เป็นน้องสาว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี แน่นอนว่า ประเด็นที่
ถูกเฝ้าจับตาคือเครือข่ายธุรกิจการลงทุนทั้งเปิดเผยและถูกเพ่งเล็งว่าเป็นตัวแทน (nominees) ที่เฟื่องฟูมากในช่วง
ปี 2548-2549 ก่อนการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549
@ จับตาโปรเจ็กต์ "สุวรรณภูมิ-ดอนเมือง" ผงาด
ปัจจุบันหลายบริษัทได้สัญญาสัมปทานจากบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) "ทอท." เข้าไปรับจ้างเหมา
บริการในเมกะโปรเจ็กต์สนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ และสนามบินนานาชาติดอนเมือง เป็นระยะเวลา 5-10 ปี ด้วย
ผลตอบแทนรายได้รวมกว่า 20,000 ล้านบาท หลายบริษัทถูกเปิดโปงว่าได้รับการสนับสนุนจากเครือญาติของ
ผู้มีอำนาจในรัฐบาลยุคนั้น และถูกตรวจสอบอย่างหนักในสมัยรัฐบาลคณะความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) แต่ละบริษัท
จึงหันไปใช้วิธีเก็บตัวเดินหน้าทำธุรกิจอย่างเงียบๆ รับค่าจ้างเรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้
นักวิเคราะห์การบริหารธุรกิจสนามบินนานาชาติในเอเชีย กล่าวว่า สัมปทานธุรกิจสนามบินของเมืองไทยตกเป็น
เป้าเชิงลบมาตลอด ถึงมีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง เหมือนปรากฏการณ์ที่สาธารณชนสนใจมากเป็นพิเศษช่วงนี้
เพราะทันทีที่นายสมชายรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพียง 2-3 วัน สนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิมีปัญหาใหญ่เรื่อง
รถเข็นสัมภาระผู้โดยสารสูญหายมากถึง 1 ใน 3 ประมาณ 2,000 คัน เจ้าของสัมปทานรับเหมาจ้างงานรายนี้คือ
บริษัท ไทย แอร์พอร์ตส กราวนด์ เซอร์วิสเซส จำกัด (Thai Airport Ground Services : TAGS) ซึ่งได้ค่าจ้า
งดูแลรถเข็น 532 ล้านบาท ส่วนผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดก็เป็นเจ้าหน้าที่ใน ทอท.เอง
"แท็กส์เป็นบริษัทคู่สัญญา ทอท. ถูกต่อต้านมาตั้งแต่เกิดความผิดปกติเรื่องอดีตประธานคณะกรรมการแท็กส์
เซ็นเช็คโอนเงินในวันหยุดทำการ 31 ธันวาคม 2548 ไปยังสิงคโปร์ 10 ล้านเหรียญสหรัฐ ต่อมาอีกไม่กี่วัน
ก็มีบริษัท โฟร์บิเซอร์ ทีพีซี จำกัด กลุ่มทุนจากสิงคโปร์เข้ามาถือหุ้น 48.5% การทำธุรกรรมดังกล่าวมีหลายฝ่าย
เข้ามาตรวจสอบ พร้อมพุ่งเป้าไปยังเจ๊ใหญ่ในวงการเมืองคนหนึ่งมีเครือข่ายตัวแทนถือหุ้นอยู่ในแท็กส์ การซื้อขาย
หุ้นบริษัทนี้ซึ่งเดิม ทอท.ถือหุ้นใหญ่ถูกขายให้ต่างชาติได้อย่างรวดเร็ว
"เพื่อแต่งตัวใหม่ปรับโครงสร้างทางการเงินและแผนพัฒนาธุรกิจส่งเข้าชิงสัมปทานรับเหมาจ้าง (outsource)
โครงการต่างๆ ในสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งมีนายศรีสุข จันทรางศุ เป็นประธานบอร์ด ทอท.และประธานดูแล
เมกะโปรเจ็กต์สุวรรณภูมิทั้งหมด มีนายสมชัย สวัสดิผล เป็นผู้อำนวยการสนามบินสุวรรณภูมิ เป็นจังหวะเดียว
กับการเร่งทยอยเปิดประมูลงานกว่า 400 สัญญา มูลค่าหลายหมื่นล้านบาท เพื่อเร่งเข้ามาทำงานให้ทันการ
เลื่อนเปิดใช้สนามบินเร็วขึ้น ขณะนั้นแท็กส์เป็นยุคที่รุ่งเรืองมาก แม้จะถูกตรวจสอบและคัดค้านจากผู้ถือหุ้น
พรรคการเมืองฝ่ายค้าน ส่งเรื่องให้องค์กรต่างๆ เข้ามาร่วมดำเนินการ แต่ ทอท.ยังคงให้แท็กส์ได้สัมปทาน
ในสุวรรณภูมิไปเกือบ 10 โครงการ สัญญามีตั้งแต่ 5 ปีและ 10 ปี เม็ดเงินค่าจ้างรวมกว่าหมื่นล้านบาท"
แหล่งข่าวกล่าว
สัมปทานที่ ทอท.ทำสัญญาจ้างแท็กส์รับจ้างบริหารพื้นที่ปลอดอากรสินค้าขนส่งทางอากาศ หรือ free zone operator
ค่าจ้างปีละกว่าพันล้านบาท พอถึงกำหนดเปิดใช้จริงเมื่อมกราคม 2550 ก็สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจภาพรวม
แก่กลุ่มผู้ส่งออกสินค้าจนกระทั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมตัวแทนขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างประเทศ
(TAFA) และผู้ส่งออก ต่างก็ทำหนังสือยืนยันระบุความภายในวันเดียวธุรกิจส่งออกผ่านสุวรรณภูมิเสียหายไม่ต่ำกว่า
500 ล้านบาท เพราะบริษัทที่รับจ้างบริหารฟรีโซนไม่สามารถนำระบบเทคโนโลยีออนไลน์ ACCS เข้ามาบริการได้
ทั้งที่ออกแบบคลังสินค้ามาเพื่อรองรับระบบนี้เพียงอย่างเดียว
แต่ทุกอย่างก็เงียบหายไป ปัจจุบันแท็กส์ยังคงรับค่าจ้างบริหารสัมปทาน รถเข็นกระเป๋า ฟรีโซนโอเปอเรเตอร์
รับจ้างบริการอุปกรณ์เครื่องบินในลานบินสุวรรณภูมิ บริการลากกระเป๋าสัมภาระจากลานบินไปส่งยังอาคารผู้โดยสาร
(baggage handing services) และ/หรือ แทบจะไม่ได้ชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด
คณะกรรมการ (บอร์ด) ทอท.กล่าวว่า ล่าสุดนายวุฒิพันธ์ วิชัยรัตน์ ประธานและบอร์ดมีมติให้ใช้ประโยชน์จากดอนเมือง
โดยย้ายเที่ยวบินระหว่างประเทศที่บินจุดต่อจุดไม่ต้องต่อเที่ยวบินไปยังเส้นทางอื่น (point to point) จากสุวรรณภูมิ
กลับมาใช้ดอนเมืองไม่ต่ำกว่า 30% ประมาณ 200-250 เที่ยว/วัน ของเที่ยวบินทั้งหมด โดยอ้างเหตุผลเป็นการระบาย
จราจรสุวรรณภูมิเพื่อความสะดวกและคล่องตัวในการก่อสร้างเฟส 2 ขยายอาคารผู้โดยสารเพิ่มพร้อมกับสร้างรันเวย์ใหม่
ขั้นตอนขณะนี้ฝ่ายบริหาร ทอท.จะต้องส่งให้นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งเป็นผู้ให้นโยบาย
สร้างเฟส 2 นำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่มีนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน พิจารณาอนุมัติ
ต่อไปในเร็ววันนี้
ส่งผลให้หลายฝ่ายพุ่งเป้าไปที่ "ไทย แอร์เอเชีย" สายการบินต้นทุนต่ำที่อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณเป็นผู้ก่อตั้ง (ขณะนี้
เปลี่ยนเป็นของนายทัศพล แบเลเว็ลด์) โดยดึงมาเลเซียเข้ามาร่วมทุน และเป็นสายการบินเดียวที่ยืนยันมาตลอดหาก
ทอท.มีนโยบายย้ายเที่ยวบินระหว่างประเทศกลับมาดอนเมืองก็พร้อมจะย้ายทันที ภายใต้เงื่อนไขต้องย้ายเที่ยวบิน
ของไทย แอร์เอเชียมาทั้งหมด
ขณะนี้เจ้าของธุรกิจต่างๆ ในสนามบินต่างตั้งข้อสังเกตว่า ทั้งแท็กส์และไทย แอร์เอเชีย รวมทั้งธุรกิจอื่นๆ ที่เคยเฟื่องฟู
ในสมัยรัฐบาลทักษิณ มาถึงยุคนายสมชายและภริยา ธุรกิจในเครือข่ายเดิมจะกลับมารุ่งเรืองในสุวรรณภูมิและดอนเมือง
อีกครั้งหรือไม่