วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11156 มติชนรายวัน
พอกันที-การเมืองเก่า
โดย บุญเลิศ ช้างใหญ่
ข้อ เรียกร้อง "การเมืองใหม่" ที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจุดขึ้นภายหลังการชุมนุมที่สะพานมัฆวาน รังสรรค์เพื่อคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี 2550 และขับไล่รัฐบาล "สมัคร สุนทรเวช" และเริ่มส่งเสียงดังขึ้นเมื่อพามวลชนยาตราทัพเข้ายึดทำเนียบรัฐบาล ณ วันนี้ วลีดังกล่าวกำลังดังกระหึ่มไปทั่วทั้งสังคม
แม้จะไม่มี รูปธรรมที่ชัดเจนจากแกนนำพันธมิตรว่า การเมืองใหม่รูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร จนถูกฝ่ายตรงข้ามที่ไม่ปรารถนาดีหยิบฉวยเอาแต่เฉพาะประเด็นสัดส่วน 70/30 มาโจมตีอย่างสาดเสียเทเสีย แต่คนเหล่านี้ก็ไม่กล้าปกป้อง "การเมืองเก่า" ว่าจะเป็นหนทางนำไปสู่การพัฒนาประเทศสู่ความเจริญรุ่งเรือง แต่ละคนกอดอยู่กับความเคยชินมาแต่ดั้งเดิมว่า ประชาธิปไตยคือ การเลือกตั้ง ส.ส.โดยตรงจากประชาชนเท่านั้น ห้ามเอาจากการเลือกตั้งหรือสรรหาจากกลุ่มอาชีพต่างๆ เป็นอันขาด
ต่อ เมื่อแกนนำพันธมิตรออกมาปฏิเสธว่า 70/30 เป็นเพียงตุ๊กตา ไม่ใช่ข้อสรุปที่จะต้องยึดถือ แกนนำพันธมิตรจะระดมความคิดเห็นเพื่อฟังข้อเสนอและเมื่อตกผลึกแล้วจะเสนอต่อ สาธารณชนต่อไป นั่นแหละฝ่ายตรงข้ามถึงได้เบาเสียงแห่งการโจมตีลงไปได้บ้าง
การ พัฒนาการเมืองน่าจะเป็นสิ่งที่คนไทยต้องการเห็น ไม่ว่าจะอยู่ขั้วไหน ฝ่ายไหนก็ตาม เพราะไม่มีใครปฏิเสธว่า การที่ประเทศไทยย่ำเท้าอยู่กับที่จนประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศแซงหน้าไป แล้ว สาเหตุสำคัญประการหนึ่งมาจากปัญหาการเมืองไทย อุตส่าห์ปฏิรูปครั้งใหญ่ด้วยการจัดทำรัฐธรรมนูญที่เปิดรับฟังความคิดเห็นของ ประชาชนอย่างกว้างขวาง มีการเข้าร่วมของประชาชนจำนวนมากอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน กระทั่งได้ "รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน" ประกาศใช้วันที่ 11 ตุลาคม 2540 แต่สุดท้ายก็ไปไม่รอด เนื่องจากเกิดรัฐประหาร กุญแจที่ตั้งจะใช้ไขไปสู่การเมืองใหม่ถูกทุบทิ้งอย่างน่าเสียดาย
เหตุ ที่การปฏิรูปการเมืองสะดุดหยุดลงไม่ใช่เพราะพันธมิตรขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่ใช่พรรคฝ่ายค้านบอยคอตการเลือกตั้ง แต่เป็นเพราะตัวนักการเมืองโดยเฉพาะผู้ปกครองที่มีอำนาจไม่รักษาคำพูดที่ว่า "รวยแล้วไม่โกง" เมื่อมีอำนาจก็พยายามจะรักษาอำนาจไว้กับตนเองและพวกพ้องให้นานที่สุด ใครแสดงความคิดเห็นที่กระทบมาถึงก็จะตอบโต้และตามมาด้วยการแจ้งความ ฟ้องร้องข้อหาหมิ่นประมาท พร้อมกับเรียกค่าเสียหายเป็นร้อยเป็นพันล้านบาท
ตัว นักการเมืองที่เหลิงอำนาจและใช้อำนาจไปในทางมิชอบต่างหากคือรากเหง้าของ ปัญหาการเมืองที่รัฐธรรมนูญแม้จะเขียนดีเพียงไรก็ไม่สามารถขุดทิ้งได้
โครง สร้างทางการเมืองแบบรัฐสภาซึ่งค่อยๆ พัฒนาจากจุดเริ่มต้นที่คณะราษฎรตั้งใจจะให้เป็นมาจนถึงปี 2549 ภายใต้รัฐธรรมนูญ 2540 กำหนดให้มี ส.ส. 500 คน แบ่งเป็น ส.ส.เขต เขตละ 1 คน รวม 400 เขต 400 คน อีก 100 คนเป็นระบบบัญชีรายชื่อ นี่คือสภาผู้แทนราษฎร ส่วน ส.ว.ให้มี 200 คน ให้มาจากการเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด
การได้ตัวแทนประชาชนโดยผ่านการ เลือกตั้งไปเป็น ส.ส. และ ส.ว.มันควรจะดีและการเมืองถึงเวลาจะพัฒนาไปเสียที ถ้าหากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ระบบการศึกษา สื่อสารมวลชน องค์กรภาคเอกชน ฯลฯ ได้ทำหน้าที่อย่างสมบูรณ์และที่สำคัญเหนืออื่นใด นักการเมืองและพรรคการเมืองเกิดความสำนึกในความเสียสละ เคารพในกฎกติกา มีความละอายต่อการทำชั่ว ฯลฯ ในความจริงหาได้เป็นเช่นนั้น
ไม่ว่าจะ เลือกตั้งกี่ยุคกี่สมัย ไม่ว่าจะใช้รัฐธรรมนูญฉบับใด นักการเมืองที่เสนอตัวมาให้ประชาชนเลือกโดยใส่เสื้อคลุมหลากสี มีชื่อพรรคปักอยู่ที่เสื้อ มิได้ทำตัวให้เป็นที่น่าศรัทธา มีการแบ่งเป็นกลุ่มก๊วนในพรรค หัวหน้ากลุ่มก๊วนก็จะใช้จำนวน ส.ส.ไปต่อรองเพื่อให้ได้ตำแหน่งรัฐมนตรี ครั้นได้เป็นรัฐมนตรีก็ใช่ว่าจะมีสมองในการแก้ไขปัญหาบ้านเมือง ในส่วน ส.ส.นั้นเล่า เวลาประชุมสภาก็ไม่รู้มัวไปสันหลังยาวอยู่ที่ไหน เวลามีคนอภิปรายก็ไม่สนใจฟัง เวลาพรรคฝ่ายค้านซักฟอกรัฐมนตรี ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลก็จะลุกขึ้นประท้วงซ้ำซาก สร้างความเบื่อหน่าย น่ารำคาญให้กับผู้ที่ติดตามดูและฟังการถ่ายทอดทางโทรทัศน์และวิทยุ
การ ประชุมสภาเป็นแค่พิธีกรรมที่สักแต่กล่าวถ้อยคำ "ท่านประธานที่เคารพ ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ กระผมนาย.....สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรค....." แบบนกแก้วนกขุนทอง แต่พฤติกรรมของการทำหน้าที่ที่ถูกกำหนดในรัฐธรรมนูญให้ควบคุมการบริหาร ราชการแผ่นดินหาได้แสดงให้ปรากฏไม่ ตรงกันข้าม ส.ส.ที่อยู่ในพรรครัฐบาลกลับทำตัวเป็นองครักษ์พิทักษ์ "นาย" หรือ "ลูกพี่" หรือ "เจ้าพ่อ" ผู้ซึ่งมีบุญคุณกับพวกตน เพราะให้เงินให้ทองใช้จ่าย เอื้อประโยชน์ในด้านอื่นๆ ไม่ได้สนใจความถูกผิด ไม่ยี่หระต่อสายตาของคนไทยที่เฝ้ามองดูด้วยความเวทนา และชวนให้สะอิดสะเอียนเวลาที่ ส.ส.พวกนี้ลุกขึ้นอภิปราย
เผด็จการทาง รัฐสภาที่เสียงข้างมากของ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลที่ใช้จำนวนมือที่มากกว่าเอาชนะ ส.ส.ฝ่ายค้านไปทุกเรื่อง ทุกกรณี ได้อุดกระชากลากถูความดีงาม ความมีเหตุมีผลลงข้างลงคูมาโดยตลอด เรื่องที่ผิด เสียงข้างมากของคนพวกนี้ก็ทำให้เป็นถูกได้ และเรื่องที่ถูกก็ใช้เสียงข้างมากทำให้เป็นผิดได้ในพริบตา จึงสมแล้วที่มีคนเรียกขานสภาพการณ์เช่นนี้ว่า "ทรราชเสียงข้างมาก"
ความ วนเวียนซ้ำซากของเสียงข้างมากในสภาที่ดีแต่พูด ดีแต่ประท้วงเพื่อปิดปากฝ่ายค้าน ดีแต่เบี้ยวการประชุม ดีแต่ใช้งบประมาณไปเที่ยวในต่างประเทศโดยอ้างว่าไปดูงาน ฯลฯ ในส่วนของคณะรัฐมนตรีที่มีแต่เจ้าพ่อ มีแต่นายทุนที่ไม่รู้จักคำว่าพอ คำว่าสุจริตไม่มีในจิตใจ มีแต่สามัญสำนึก ความรอบรู้ ความเชี่ยวชาญกลับหาไม่เจอ เมื่อถูกจับได้ไล่ทันว่าโกงกินก็แกล้งฟ้องร้องดำเนินคดีกับหนังสือพิมพ์และ ผู้ที่รู้ทัน
ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้งก็เช่นกัน ไม่ว่าจะ ส.ว.ชุดแรกที่เลือกตั้งปี 2543 ซึ่งถูกแทรกแซงจากรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ และ ส.ส.ที่เลือกตั้งเมื่อต้นปี 2551 มีจำนวนไม่น้อยที่ไม่กล้าเปิดเผยตัวเองว่าจะยืนอยู่ข้างไหน กำลังทำอะไรเพื่อให้เจ้าของเงินภาษีรู้สึกว่าคุ้มกับการจ่ายเป็นค่าตอบแทน
ไม่ ต้องแปลกใจว่า ทำไมทุกครั้งที่จะขึ้นเงินเดือนค่าตอบแทนให้กับ ส.ส. และ ส.ว.จึงถูกด่าถูกประณามอย่างไม่มีชิ้นดีจากสื่อมวลชนและประชาชนโดยทั่วไป
การ ให้ตัวแทนมาจากการเลือกตั้งเพื่อเป็น ส.ส. และ ส.ว.ที่ทดลองกันมาหลายปีดีดักถึงเวลาที่จะ "พอกันที" ได้แล้ว การออกแบบโครงสร้างทางการเมืองของประชาธิปไตยแบบรัฐสภาอาจจะยากและขัดต่อ ความเคยชินแบบเดิมๆ แต่ถ้าไม่กล้าคิดนอกกรอบ ไร้จินตนาการ ไม่ช่วยกันคิดค้นรูปแบบและผลักดัน "การเมืองใหม่" ให้เกิดขึ้นเพื่อแทนที่ "การเมืองน้ำเน่า" สุดท้ายประเทศชาติก็คงไปไม่รอด
หน้า 6
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01act04250951§ionid=0130&day=2008-09-25หากสังคมไทยตกผลึกทุกปัญหา และช่วยกันผลักดันไปสู่ การเมืองใหม่