ขอบคุณ คุณบอนนี่ และ ท่านที่ได้ช่วยกันเสนอความเห็น ครับ บทความมีคุณภาพหายาก ต้องช่วย ๆ กัน หนับหนุน
--------------------------------------------------
ก่อนอื่นขออ้างถึงคำจำกัดความของระบอบประชาธิปไตย ที่ท่านพุทธทาส ให้ไว้กันสักนิด อันนี้ เห็นภาพมาก ๆ
ประชาธิปไตยคือประโยชน์ของประชาชนเป็นใหญ่ ไม่ใช่ประชาชนเป็นใหญ่ ใครจะมาปกครองก็ได้
จะเลือกตั้ง จะแต่งตั้ง ไม่สำคัญ แต่หากเป็นไปโดยธรรมเพื่อ ประโยชน์ของประชาชน นั่นคือระบอบประชาธิปไตย
เพราะฉนั้นหลักประชาธิปไตยที่สำคัญมีสองอย่างคือ
1.เพื่อประโยชน์ของประชาชน
2.ประโยชน์นั้นได้มาและเป็นไปโดยธรรม------------------------------------------------
ถ้าถามว่า แล้ว
เรามีระบอบประชาธิปไตยมาก่อนหรือไม่ ผมว่าคำตอบ คือ
มีครับ และมีผู้ปฏิบัติใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน นั่นคือพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ระลึกอยู่เสมอว่า ประชาชนเป็นใหญ่ พระองค์อยู่ได้เพราะประชาชน
เพราะฉนั้น ดังนั้น ตลอดระยะเวลาที่ครองราชย์นั้น พระองค์อุทิศตนเพื่อประชาชน
สังเกตได้ว่าการคิดโครงการแต่ละโครงการ ไม่ใช่คิดแล้วสั่งการเลย แต่ได้มาการลงไปศึกษา ถามประชาชนว่ามีปัญหาอะไร
ทำงานวิจัย ได้คำตอบ แล้วกลับไปถามว่าเห็นเป็นอย่างไร กับโครงการนี้หรือไม่ แล้วค่อยปฏิบัติ
ต่างกับรัฐบาลที่เคย ๆ มีมา หากรัฐจะสร้าง จะทำอะไรแล้วใครจะทำไม อ้างว่าเพื่อคนส่วนใหญ่ แต่ก็ไม่ได้คิดถึงคนส่วนน้อย
------------------------------------------------
อีกคำถาม
เราเป็นระบอบราชาธิปไตยหรือไม่ คำตอบคือใช่ แต่นัยยะคือระบอบนี้ ไม่ใช่สำหรับพระเจ้าอยู่หัวองค์นี้
อย่าไปติดกับดักกับคำศัพท์ที่ว่า ราชาธิปไตย ต้องเป็นพระราชาเท่านั้น ต้องดูที่เนื้อหา และเจตนาเป็นหลักระบอบราชาธิปไตยที่เห็นได้ชัด ๆ คือ
ระบอบทักษิณนะแหล่ะ ที่
- ถือเอาตัวเองเป็นใหญ่
- เพื่อประโยชน์ ชื่อเสียง และอำนาจเข้าสู่ตัวเอง
แม้ว่าจะเป็นประธานาธิบดี หรือนายกคนไหน ที่มาจากการเลือกตั้ง แต่ถือเอาประโยชน์ และอำนาจตัวเองเป็นใหญ่ เลือกตั้งแล้วอำนาจเป็นของตน
ไม่ต้องกลับไปสนใจความเห็นประชาชน
ผมว่านั่นแหล่ะ เนื้อหาระบอบราชาธิปไตย
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น
ถ้าจะสรุปให้ชัด ให้ได้ใจความของระบอบการเมืองการปกครองทั้งหมดคือ หากเราปกครองด้วย
ธรรมาธิปไตย คือธรรมเป็นใหญ่
ดังเช่นพระเจ้าอยู่หัวที่ได้ทรงปฎิบัติสืบมา
แล้วเมื่อ ธรรม ไปครอบเหนือ ราชาธิปไตย ประชาธิปไตย หรือเผด็จการ แล้ว มันก็ดีต่อประชาชน ต่อประเทศชาติทั้งนั้น ในทางตรงกันข้าม หากแม้นว่าเป็น ราชาธิปไตย เป็น เผด็จการ หรือแม้แต่ เป็น ประชาธิปไตย แบบประชาชนเป็นใหญ่ แต่ไม่ไร้ ธรรม ครอบอยู่ มันก็ฉิบหาย มันก็เสื่อมด้วยกันทั้งหมด
------------------------------------
ความเห็นต่อรัฐธรรมนูญ
ความเห็นผมคือ
เรามีรัฐธรรมนูญ 2 ฉบับซ้อนกันมา 62 ปีแล้ว--- รัฐธรรมนูญฉบับหนึ่งร่างลงบนกระดาษและนำมาใช้โดยพวกที่เรียกว่าผู้แทนราษฎร นับตั้งแต่ปี 2475
และเนื้อหาได้เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ตลอดระยะเวลา 76 ปี และมีกฎเกณฑ์ข้อบังคับมากมาย
--- อีกฉบับหนึ่งประกาศเป็นสัจวาจาโดยพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
เมื่อ 62 ปีมาแล้ว มีใจความสั้น ๆ ว่า
เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุข แห่งมหาชนชาวสยาม สังเกตดูนะครับ สั้น ๆ ได้ใจความ ครอบคลุมความหมายของประชาธิปไตยได้ทุกด้าน
------------------------------------------------------------------------------
ในอุดมคติ อยากให้ใช้หลักเดียวกับพระพุทธศาสนา ในการพัฒนาการเชิงคุณภาพของรัฐธรรมนูญคือ
เน้นการปฏิบัติที่ตรงหลักการ
ศาสนาพุทธเราหลักการเน้นที่ปฏิบัติ จนศีลมันลงที่ใจ ไม่ใช่การนับถือ หรืออาราธนาถือเอาไป
เมือศีลมันลงที่ใจ หลังจากนั้นไม่ว่าจะมีศีลกี่ร้อยกี่พันข้อ ผู้ปฏิบัติก็ไม่สามารถทำผิดศีลได้
ที่ผ่านมาเราร่างรัฐธรรมนูญจนมีข้อกำหนดเยอะแยะไปหมด เพราะต้องการป้องกันคนชั่วมาปกครองบ้านเมือง
แล้วมันก็ไม่ได้ผล เพราะคนโกงย่อมหาทางโกงเสมอ
ถ้าไม่สิ้นอายุพระพุทธเจ้า ศีลที่ถูกบัญญัติขึ้นอาจจะมีเป็นพัน ๆ ข้อก็ได้
เช่นเดียวกัน ถ้าไม่เน้นการหลักการ เราจะมีรัฐธรรมนูญที่หยุมหยิมจนพลาดหลักการสำคัญ
ตรงนี้สำคัญ เราเอาอะไม่รู้ไปไว้ในรัฐธรรมนูญหมด สั่งลูกสอนหลานจนคิดว่า รัฐธรรมนูญคือประชาธิปไตย
การเลือกตั้ง แบบนี้ ๆ เป็นประชาธิปไตย ใครแก้รัฐธรรมนูญ ทำผิดตัวอักษรในรัฐธรรมนูญ คือพวกกบฏ
จนป่านนี้ลูกหลานเรากลายเป็นคนที่ไม่เข้าใจว่าประชาธิปไตยคืออะไร
เพราะฉนั้น สิ่งที่อยากเห็นรัฐธรรมนูญถัดจากปี 50 คือ เริ่มแรกมันอาจจะยังมีกฎเกณฑ์มากหน่อย
แต่ขอให้มีไว้ไปเพื่อการมีหลักการเท่านั้น
พัฒนาการจากฉบับนี้ต่อ ๆ ไป ขอให้มีเจตนารมณ์ยึดมั่นในหลักการเอาไว้เท่านั้น
ใส่ตัวอักษรให้น้อยที่สุดลงไปในรัฐธรรมนูญ โดยให้ถือเอาหลักการปกครองใหญ่ ๆ ไว้ก็เพียงพอ รัฐธรรมนูญจะไม่แก้ไขกันบ่อย ๆ
ส่วนอะไรที่เล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ที่มา ส.ส. ที่มารัฐบาล อะไรต่าง ๆ เหล่านั้น ให้เอาไปไว้ในกฎหมายลูก
เพื่อการแก้ไขปรับปรุงได้ง่าย ให้เหมาะสมกับเงื่อนไขแต่ละเวลา แต่ยังอยู่บนหลักการที่เหมือนเดิม
ให้เอาตัวอย่างที่พระเจ้าอยู่หัวได้ทรงประกาศไว้ (เป็นแม้กระทั่งวาจา) และพระองค์ก็ปฏิบัติสืบต่อมา
เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุข แห่งมหาชนชาวสยามดังนั้น หากเรายึดเอาหลักการแนว ๆ นี้ คือ
ธรรมาธิปไตย ต่อมามันจะเป็นชื่อระบอบอะไร
มีที่มาเป็นอย่างไร เลือกตั้ง สรรหา แต่งตั้ง ก็ไม่สำคัญ หากมันยังเป็นไปเพื่อการปกครองโดยธรรม
---------------------------------------------
ฟังดูอาจจะเพ้อเจ้อ หากจะเปรียบการเมืองการปกครอง เสมือนการพัฒนาการของต้นไม้ต้นหนึ่ง
ถ้าเริ่มต้นพัฒนาไปบนหลัก บนแก่นแท้ ย่อมดีกว่าปล่อยให้กระพี้โตแต่ฝ่ายเดียว
เพราะวันใดวันนึง ถ้าแก่นมันมีน้อยไป มีแต่กระพี้มัน ต้นไม้ต้นนั้นมันก็จะโค่นล้มลงในไม่ช้า
-------------------------------------------------------------------
ขอร่วมเสนอ แค่นี้ก่อน ครับ เดี๋ยวค่อยมาว่าในรายละเอียดต่อ ขอบคุณครับ