ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
07-07-2025, 21:34
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  สิ่งที่ควรทำก่อนตั้งจังหวัดที่ 77 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
สิ่งที่ควรทำก่อนตั้งจังหวัดที่ 77  (อ่าน 681 ครั้ง)
ผู้ทำลาย
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,496


lynnicky


เว็บไซต์
« เมื่อ: 27-06-2006, 17:17 »

สิ่งที่ควรทำก่อนตั้งจังหวัดที่ 77
What ought to be done before establishing Province 77

26 มิถุนายน 2549
 
 
เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก             

                      การจัดตั้งจังหวัด “สุวรรณภูมิมหานคร” มีแนวคิดมาจากการพัฒนาพื้นที่และก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในท้องที่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการบิน การขนส่ง การประกอบธุรกิจและการจ้างงาน

                      หากพิจารณาตามแผนงานดังกล่าวแล้ว รัฐจะต้องก่อสร้างสาธารณูปโภคเพื่อรองรับสนามบิน จัดการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน การวางแผนเรื่องจราจรขนส่ง การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมให้เป็นเรื่องเดียวกัน รวมถึงกำหนดมาตรการควบคุมความปลอดภัยทางการบินให้มีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่อยู่รอบสนามบินมีหลายแห่ง และเป็น อปท.ขนาดเล็ก มีความจำกัดทั้งเรื่องงบประมาณและบุคลากรไม่สามารถรองรับการพัฒนาได้ อาจส่งผลต่อการสนับสนุนให้สนามบินสุวรรณภูมิเป็นศูนย์กลางทางการบินตามวัตถุประสงค์ ดังนั้นกระทรวงมหาดไทยจึงเสนอให้จัดตั้งสุวรรณภูมิมหานครเป็นนิติบุคคลที่เป็น อปท. มีฐานะเป็นจังหวัด เพื่อบริหารจัดการและพัฒนาพื้นที่ในเขตสุวรรณภูมิมหานครต่อไป

                      สาระสำคัญของ ร่าง พ.ร.บ.สุวรรณภูมิมหานคร อยู่ที่การจัดในเรื่องของเขตการปกครอง   โดยในช่วง 4 ปีแรก สุวรรณภูมิมหานครจะมีฐานะเป็นจังหวัด (โดยผนวกพื้นที่เขตลาดกระบัง เขตประเวศ และ อ.บางพลี และบางเสาธง) ที่มีผู้ว่าการเขตปกครองพิเศษมาจากการแต่งตั้ง เหมือนกับสมัยที่ผู้ว่าราชการมาจากกระทรวงมหาดไทย โดยจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมา เป็นผู้สรรหา
ผู้ว่าการเขตปกครองพิเศษ และเมื่อเป็นระบบท้องถิ่นแล้วจะยกเลิกระบบการสรรหาไปเป็นการเลือกตั้งเหมือน กทม.

                      คำถามที่สำคัญคือ ควรจัดเขตการปกครองพื้นที่และพัฒนาอย่างไรถึงจะเหมาะสมมากที่สุด ซึ่งการเปลี่ยนแปลงรูปแบบและโครงสร้างการปกครองในพื้นที่นี้ จะส่งผลกระทบต่อประชาชนจำนวนมากที่อยู่ทั้งในและนอกเขตพื้นที่สุวรรณภูมิมหานคร แต่ที่ผ่านมา ประชาชนโดยทั่วไป ทั้งในเขตกรุงเทพมหานครและพื้นที่ที่ใกล้เคียงกับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไม่ทราบข้อมูลในเรื่องดังกล่าว

                      ดังนั้น ก่อนที่รัฐบาลจะนำร่าง พ.ร.บ.นี้ส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจร่าง และนำเข้าสู่การพิจารณาของ ครม.อีกครั้ง ผมคิดว่ารัฐบาลควรมีคำตอบให้กับประชาชนหรือแนวทางปฏิบัติในเรื่องดังต่อไปนี้เสียก่อน

               ประการแรก…ควรชี้แจงเหตุผลในการกำหนดรูปแบบการปกครองสุวรรณภูมิมหานคร อาทิ เหตุใดในช่วง 4 ปีแรก สุวรรณภูมิมหานคร จึงจัดให้มีการปกครองแบบจังหวัด โดยมีผู้ว่าฯ มาจากการแต่งตั้ง โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการเป็นผู้สรรหาผู้ว่าฯ ทำไมในเวลาต่อมาจึงต้องยกเลิกการปกครองในรูปแบบจังหวัดไปเป็นการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ มีเหตุผลอะไรรับรองหรือไม่ และ “ผู้ว่าฯ สุวรรณภูมิมหานคร” ที่มาจากการเลือกตั้ง จะเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ความเข้าใจ ในการบริหารสุวรณภูมิมหานครและบริหารสนามบินสุวรรณภูมิหรือไม่

              ประการสอง…ควรศึกษาเกี่ยวกับการจัดวางผังเมืองของสนามบินและเมืองล้อมรอบของทั่วโลก เพื่อศึกษาถึงความจำเป็นในการพัฒนาพื้นที่ รูปแบบและโครงสร้างการปกครอง วิธีการบริหารจัดการ รวมทั้งจุดแข็งและจุดอ่อนของแต่ละพื้นที่ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและวางแผนการบริหารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและผังเมืองล้อมรอบ ทั้งในเรื่องของการลงทุน การขนส่ง สาธารณูปโภค และสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนมากที่สุด

               ประการสาม…ควรเปิดโอกาสให้นักวิชาการด้านการเมืองการปกครอง ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางผังเมือง การขนส่ง ที่ดิน การบริการ
สิ่งแวดล้อม ที่อยู่อาศัย ฯลฯ ได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็น และเสนอข้อมูลทางวิชาการ เพื่อเป็นข้อมูลและประโยชน์ต่อรัฐบาลในการที่จะ
ตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสุวรรณภูมิมหานครอย่างถูกต้องและเหมาะสม

               ประการสี่…ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนในพื้นที่และผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียได้แสดงความคิดเห็นในเวทีสาธารณะต่าง ๆ เพื่อรับฟังความเห็นที่หลากหลาย มุมมองที่แตกต่าง และผลกระทบที่มองข้ามไป อันจะเอื้อประโยชน์เกี่ยวกับการจัดเขตการปกครองและการพัฒนาพื้นที่อย่างรอบคอบ โดยที่ประชาชนอาศัยอย่างมีความสุขและมีส่วนร่วมในการพัฒนา
   

              โดยสรุป ผมเห็นว่ารัฐบาลรักษาการไม่ควรรีบเร่งที่จะส่งร่างกฎหมายดังกล่าวให้กฤษฏีกาพิจารณา แต่ควรที่จะศึกษาอย่างรอบคอบ รับฟังความคิดเห็นของประชาชน เพื่อที่จะได้ข้อเท็จจริง ข้อมูล และความคิดเห็นต่าง ๆ ก่อนที่จะมีการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวต่อไป



ขอคิดอย่างสร้างสรรค์
ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
บันทึกการเข้า

แสนยานุภาพผู้ยิ่งใหญ่เสมอฟ้าดิน
(ก้อนหิน) ละเมอ
Moderator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,041



เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 27-06-2006, 17:32 »

พัฒนาพื้นที่ให้มันเจริญก่อน ค่อยสถาปนา ไม่ดีกว่าเหรอครับ....
มันคงตลกดี ถ้าหาเป็นจังหวัด แต่มีพลเมืองอยู่ไม่ถึงหมื่นคน
บันทึกการเข้า

นู๋เจ๋ง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,877



« ตอบ #2 เมื่อ: 27-06-2006, 18:39 »

ยังไม่ควรตั้งเป็นจังหวัดใหม่ ด้วยแค่เหตุผลที่ว่า มีสนามบินใหม่ ใหญ่กว่า

แต่การจะเป็นจังหวัด ต้องมีวัฒนธรรมท้องถิ่น มีประชากร องค์ประกอบอีกตั้งเยอะ

แค่เป็นเขตพิเศษ เมืองพิเศษ อย่างพัทยาก็ยังไม่ค่อยจะเข้าท่าเลยค่ะ

จะรีบร้อนไปไหน
บันทึกการเข้า

~จะแน่วแน่...แก้ไข...ในสิ่งผิด~
หน้า: [1]
    กระโดดไป: