วันนี้มะลินึกครึ้มอกครั้มใจ พยายามนั่งคิดว่าจะมีวิธีใดบ้างที่จะทำให้ระบบเข้ารับการศึกษาต่อมีประสิทธิภาพดีขึ้น เพราะ ระบบ entrance เก่ามีจุดเสียเปรียบในด้านความเสี่ยงของนักเรียน ความรู้ที่สั่งสมมาถูกวัดในวันเดียว ถ้าวันนั้นป่วนหรือ เจ็บไข้ก็เสียโอกาสเป็นอย่างมาก ในทางตรงกันข้าม ระบบ O-NET & A-NET ก็มีจุดเสีย เพราะการเอาคะแนน GPA จากแต่ละโรงเรียนมาคิด ก็ทำให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางด้านมาตรฐานในแต่ละโรงเรียน จากประสบการที่เคยออกค่ายกัีบนักเรียน ม. 5 ที่โรงเรียนหนึ่งในต่างจังหวัด ภาษาอังกฤษเขาได้เกรด 4 แต่สะกดคำว่า book, bowl, noodle ยังไม่เป็น ในขณะที่เด็กเตรียมฯ ในกรุงเทพ อังกฤษเกรด 3 สามารถสอบ TOEFL ได้แล้ว
อืม....ทั้งคู่ก็มีจุดอ่อนให้โจมตี
แล้วจะมีวิธีการใดดีที่จะสามารถลดข้อเหลื่อมล้ำของทั้งสองฝ่าย ออกกติการการสอบเข้าที่ทุกคนให้การยอมรับได้ มะลิก็เลยสมมติตัวเองให้เป็นผู้ดูแล ผู้ออกแบบการสอบเข้าของนักเีรียนดู ก็คิดวิธีการมาได้แบบหนึ่ง แล้วอยากจะเสนอให้เพื่อน ๆ ได้รับฟัง เผื่อว่าดีจะได้มาช่วยกันคุยกันต่อ แต่ถ้ามีข้อบกพร่อง เราจะได้มาวิพากษ์วิจารณ์กันแบบผู้มีปัญญานะคะ อ้อแล้วถ้าเพื่อน ๆ จะสมมติให้ตัวเองเป็นผู้ออกแบบระบบบ้าง ลองโพสมาแชร์ความคิดกันนะคะ ถือว่าเป็นการสัมนากันทางตัวหนังสือ และไม่แน่ว่าความคิดของพวกเราอาจมีประโยชน์ให้ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองนำไปพิจารณาได้ด้วย
เอาล่ะ มะลิมีขั้นตอนในการรับนักเรียนเข้าดังนี้
1. จัดตั้งองค์กรที่รัีบผิดชอบเรื่องการสอบเข้าโดยเฉพาะ เป็นองค์กรที่เป็นตัวแทนจากภาครัฐ นักวิชาการ อาจารย์มหาวิทยาลัย อาจารย์มัธยม และ นักเรียน ม. ปลาย องคกร์นี้จะทำทะเบียนโรงเรียนมัธยมปลายทั่วราชอาณาจักร และทำทะเบียนจำนวนนักเรียนที่มีอยู่ในระบบ ตั้งแต่ ม.4 - ม. 6 องค์กรจะมีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่จะสามารถบันทึกผลข้อมูลที่ทุกโรงเรียนส่งมาได้
2. ข้อนี้เป็นหัวใจของระบบที่มะลิเสนอค่ะ มะลิอยากจะให้มีการเก็บคะแนนทั้งจากการสอบปกติ ม. 4 - ม. 6 และ มีการเก็บคะแนนจากเอนทรานซ์ด้วยสัดส่วนที่เหมาะสม (อันนี้คงต้องทำวิจัย) เช่น 70-30 หรือ 80-20 หรือ 50-50 ก็ว่าไป แต่คะแนนที่เก็บจากการสอบปกติทำอย่างไรจึงจะได้มาตรฐานทุกโรงเรียน? ไม่ยากค่ะ จะเล่าเป็นตัวอย่างให้อ่าน
ก่อนเปิดเทอม ม.4 แต่ละโรงเรียน องค์กรการสอบเข้า จะส่ง ข้อสอบตัวอย่างให้แต่ละโรงเีรียนใช้ ส่ง 10 ข้อใ้ห้สำหรับสอบกลางภาค และ 10 ข้อ เพื่อใช้วัดผลการสอบปลายภาค เช่นการสอบวิชาคณิตศาสตร์โรงเรียนเตรียม 4 ครั้งในหนึ่งเทอม สอบ For สองครั้งไม่นับ สอบกลางภาคจำนวนข้อสอบ 40 ข้อ ต้องมีข้อสอบมาตรฐานกลางปนอยู่ 10 ข้อ (ไม่เรียงลำดับ) สอบปลายภาค 50 ข้อ ต้องมีข้อสอบส่วนกลางคละอยู่ 10 ข้อ วิธีีนี้ทุกโรงเรียนก็สามารถออกข้อสอบตามที่ตนเองต้องการได้ แต่เวลาวัดผลการสอบเข้า จะถือเอาคะแนนจากข้อสอบตัวอย่างเป็นสำคัญ
มาพิจารณาการคิดคะแนนแบบนี้กัน นาย ก. สอบเลข ม.4 ต้องได้ทำข้อสอบตัวอย่าง 40 ข้อ (รวมเทอมแรกกับเทอมสอง), ตอน ม. 5 เจอข้อสอบตัวอย่างทั้งหมด 40 ข้อ, ตอน ม. 6 ก็ 40 รวมได้ว่า มีคะแนนเต็ม 120 คะแนน จากการสอบทั้งหมด 12 ครั้ง เราให้นักเรียนเลือกเอาคะแนนต่ำสุดสองคะแนนทิ้งไป ก็จะได้คะแนนเต็ม 100 คะแนนในส่วนการสอบวัดผลวิชาเลข
แน่นอนว่า นักเีรียนควรจะต้องมีสามารถที่ใช้การสังเคราะห์ความรู้ทั้งหมดด้วย การสอบเอนทรานซ์เพื่อวัดผลครั้งสุดท้านก็ควรมีจัดขึ้่น
3. สุดท้ายก็เอาคะแนน สองประเภทมารวมกันตามสัดส่วนที่เหมาะสม ตามที่ทุกคนในองค์กรการสอบคัดเลือกเห็นชอบ แบ่งประเภทไปตามหมวดหมู่วิชาที่สอบเข้า
สรุป... การสอบเข้าโดยใช้วิธีนี้จะช่วยวัดมาตรฐานทั้งนักเรียนและโรงเรียนไปในตัว เพราะสามารถเทียบคะแนนจากข้อสอบตัวอย่าง จัดระบบมาตรฐานโรงเีรียนได้ มะลิเห็นว่า การจัดระบบไม่ใช่การแข่งขัน แต่การจัดระดับทำให้ทุกคนทราบว่าตนเองยืนอยู่จุดไหน แต่ต้องใช้ความพยายามเท่าใดในการยกระดับมาตรฐานการศึกษา ของตนเอง
แบบนี้ก็คงไม่มีใครบ่นว่าไม่ยุติธรรม เพราะความเหลื่อมล้ำของโรงเรีย แบบนี้ปัญหาเครียดก็น้อยลง เพราะนักเรียนสามารถเลือกเอาคะแนนต่ำสุด 2 ครั้งทิ้งไปได้ อีกทั้งยังกระตุ้นในนักเรียน พัฒนาระบบการศึกษาของตนเองระหว่างที่เรียนไปได้ด้วย
อาจจะยาวไป แต่เพื่อน ๆ มีความเห็นว่าไงคะ