ย้อนเวลาสู่อดีต (ผลจากการทดลองหลุมดำ Large Haldron Collider (LHC) ที่สวิส..)
.....เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2551
นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี แถลงข่าวที่ทำเนียบรัฐบาลแสดงความไม่พอใจรายชื่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอย่างรุนแรง
"
ทำไมเขารีบตั้งล่ะ แล้วอย่างนี้จะดีไหม ถ้าดีก็ต้องเอาคนกลางหรือคนริมมา เวลาจะเลือกคนไปสอบยังถามเลยว่าคนนี้เป็นอะไรกันรึเปล่า ไม่ถูกกันเขายังไม่เอา นี่ตุลาการรัฐธรรมนูญ ถ้าเลือกได้คนเป็นปฏิปักษ์ ที่เกลียดชังรัฐบาลเก่า โห...เป็นที่น่าชื่นชมเหรอ แสดงว่าดีหรือเปล่าอย่างนี้ ตั้งคนเกลียดชังกันมาเป็นกรรมการสอบสวนดีหรือไม่ดี มันผิดปกติ"
......
ผู้สื่อข่าวถามว่า การสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ขาดนายยงยุทธ ติยะไพรัช ทำให้มีผลออกมาอย่างนี้หรือไม่
......
นายกฯ ถามกลับว่า เป็นคนสำคัญเลยเหรอ ไม่มีใครวิพากษ์วิจารณ์ใช่มั้ย ก็ลองดูสิว่ามีใครจะสนใจวิพากษ์วิจารณ์บ้างมั้ย.
....คณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วย
นายวิรัช ลิ้มวิชัย ประธานศาลฎีกา
นายอักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด
นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
ขาดเพียงนายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่โดนใบแดงจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
และขอยุติบทบาทในการทำหน้าที่ ...การประชุมที่รัฐสภาเพื่อคัดเลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญสาขานิติศาสตร์ 2 คน และสาขารัฐศาสตร์ 2 คน จากผู้สมัครจำนวน 21 คน คือ
.........นายวิรัช ลิ้มวิชัย ประธานศาลฎีกาแถลงผลการประชุมว่า สาขานิติศาสตร์ คณะกรรมสรรหาฯ ได้ลงคะแนนให้นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 จำนวน 4 คะแนน นายจรัญ ภักดีธนากุล ปลัดกระทรวงยุติธรรม ได้ 3 คะแนน
.......ส่วนสาขารัฐศาสตร์ นายสุพจน์ ไข่มุกด์ อดีตเอกอัครราชทูตประเทศอิหร่าน ได้ 4 คะแนน และนายเฉลิมพล เอกอุรุ อดีตรองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ได้ 3 คะแนน ซึ่งการลงคะแนนในครั้งนี้เป็นไปอย่างเรียบร้อย คณะกรรมการฯ ได้ทำหนังสือผลการลงมติส่งไปยังนายประสพสุข บุญเดช ประธาน ส.ว.เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขณะที่ศาลฎีกาจะมีการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเช่นกันอีกจำนวน 3 คน ในวันที่ 4 เมษายนนี้
........นายวิรัชบอกว่า กรรมการแต่ละท่านมีความมั่นใจในการลงคะแนน และเลือกไปตามบุคคลที่ดีและเหมาะสมที่สุด สุดท้ายก็ขึ้นอยู่กับ ส.ว.พิจารณา อย่างไรก็ตาม แต่ละท่านที่ได้รับเลือกเข้าไปล้วนเป็นบุคคลที่มีความรู้ มีความสามารถ และจะทำหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม
.......ผู้สื่อข่าวถามว่า นายจรัญซึ่งมีความใกล้ชิดกับ คมช. จะสร้างความเชื่อมั่นและตอบคำถามสังคมได้หรือไม่ ประธานศาลฎีกาบอกว่า ตอบไม่ได้ แต่กรรมการแต่ละท่านใช้ดุลพินิจในการพิจารณาอย่างดีที่สุดไปตามหลักเกณฑ์ของกฎหมาย
.....ขณะที่นายอักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด กล่าวเสริมว่า การสรรหาครั้งนี้ไม่มีการล็อกหรือใบสั่งจากใครแน่นอนไม่ต้องเป็นห่วง เพราะพวกเราไม่มีใครมาสั่งได้อยู่แล้ว
.....ประเด็นที่ตั้งข้อสังเกตว่าบุคคลทั้ง 4 เป็นฝ่ายตรงข้ามกับระบอบทักษิณนั้น ประธานศาลปกครองสูงสุดชี้แจงว่า การคัดเลือกไม่ได้ดูว่าใครเป็นฝ่ายใคร แต่ดูที่ความรู้ความสามารถและผลงานในอดีต ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ และไม่จำเป็นต้องแสดงวิสัยทัศน์ ขอย้ำว่าเราดูที่ผลงานในอดีตมากกว่า
.......ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การสรรหาครั้งนี้ต้องใช้มติ 2 ใน 3 หรือ 3 คะแนน โดยสายนิติศาสตร์ลงคะแนนเพียงรอบเดียว นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ได้ 4 คะแนน นายจรัญ ภักดีธนากุล ได้ 3 คะแนน ขณะที่สายรัฐศาสตร์ต้องมีการลงคะแนนถึง 3 รอบ โดยรอบแรกนายสุพจน์ได้คะแนน 4 คะแนน จากนั้นได้มีการลงคะแนนรอบที่ 2 และ 3 ปรากฏว่านายเฉลิมพลได้ 3 คะแนน
.........ทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับการสรรหาจากสาขานิติศาสตร์ 2 คนคือ นายจรัญ ภักดีธนากุล อายุ 58 ปี ปัจจุบันเป็นปลัดกระทรวงยุติธรรม เกิดวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2493 สมรสกับนางทีปสุรางค์ ภักดีธนากุล วุฒิการศึกษานิติศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับ 1) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนติบัณฑิตไทย B.A. (CAMBRIDGE) BARRISER AT-LAW (GREYS INN) ประสบการณ์การทำงาน เลขาธิการประธานศาลฎีกา ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ เลขาธิการส่งเสริมงานตุลาการ เป็นบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมที่มีบทบาทในการตรวจสอบรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณมาอย่างต่อเนื่อง
.......นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ อายุ 61 ปี ปัจจุบันเป็นผู้พิพากษาอาวุโสในศาลอุทธรณ์ภาค 4 เกิดวันที่ 5 สิงหาคม 2490 สมรสกับนางเต็มใจ สร้อยพิสุทธิ์ วุฒิการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมดี) มหาวิทลาลัยธรรมศาสตร์ เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ประสบการณ์การทำงาน ประธานแผนกคดีแรงงานในศาลฎีกา ประธานแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 7 ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา อธิบดีผู้พิพากษาภาค 8
ทั้งนี้ นายวสันต์ตกเป็นที่สนใจของประชาชนเมื่อเขาได้ขึ้นเบิกความเป็นพยานในคดีที่อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมากในคดีซุกหุ้นได้ร่วมกันเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ ที่เขียนคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง โดยนายวสันต์ได้ขึ้นเบิกความเป็นพยานให้กับฝ่ายจำเลยในคดีนี้ ซึ่งมีนายบัณฑิต ศิริพันธ์ ซึ่งเป็นทนายให้กับ น.ต.ประสงค์ และยังเป็นทนายในคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ด้วย โดยนายวสันต์ได้เบิกความเนื้อหาถึงกรณีที่นายจุมพล ณ สงขลา อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมากในคดีซุกหุ้น ได้ไปปรึกษาเขาในเรื่องคดีซุกหุ้น
นอกจากนี้ นายวสันต์ยังได้รับเลือกจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาให้ส่งรายชื่อมาเป็น 1 ใน 10 ผู้สมควรได้รับการเสนอชื่อเป็น กกต.ชุดใหม่ แต่ปรากฏว่านายวสันต์ไม่ได้รับเลือกจากวุฒิสภาที่มีนายสุชน ชาลีเครือ เป็นประธาน โดยมีรายงานในตอนนั้นว่า เป็นเพราะมีการร้องขอไม่ให้เลือกนายวสันต์เข้าไปเป็น กกต. เพราะฝ่ายการเมืองมองว่านายวสันต์เป็นเพื่อนสนิทและเป็นเพื่อนร่วมรุ่นนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ กับนายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการ ป.ป.ช.และกรรมการ คตส.ในขณะนี้
อีกทั้งก่อนที่นายวสันต์จะอายุครบ 60 ปี และไปเป็นผู้พิพากษาอาวุโสนั้น ได้รับเลือกให้เป็นองค์คณะของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในคดีจัดซื้อที่ดินรัชดาฯ ของคุณหญิงพจมานกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ด้วย แต่ต่อมาเมื่อไปเป็นผู้พิพากษาอาวุโส จึงได้มีการเปลี่ยนและเลือกองค์คณะใหม่
สาขารัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์อื่น ผู้ที่ได้รับการสรรหาคือนายสุพจน์ ไข่มุกด์ อายุ 63 ปี ปัจจุบันเป็นพนักงานของมหาวิทยาลัย Eastern Asia เกิดวันที่ 1 กันยายน 2488 คู่สมรสคือนางเพ็ญจินันท์ ไข่มุกด์ วุฒิการศึกษาสูงสุด ดีกรีปริญญาเอกด้านรัฐศาสตร์และกฎหมายระหว่างประเทศ จาก Universite des Sciences Sociales de Toulouse, France ประสบการณ์การทำงาน เป็น สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ เอกอัครราชทูต ณ กรุงวอร์ซอ สาธารณรัฐโปแลนด์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงเตหะราน สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
นายสุพจน์ยังเป็นอดีตกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ในสัดส่วน คมช. จำนวน 10 คน ซึ่งแต่งตั้งโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธาน คมช. เรียน วปอ.รุ่นเดียวกับ พล.อ.วินัย ภัททิยกุล เลขาธิการ คมช. และรู้จักกับคนในองค์กรอิสระหลายคน เช่น นายวิชา มหาคุณ ป.ป.ช. ชุดปัจจุบันซึ่งแต่งตั้งโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลินเช่นเดียวกัน
ส่วนนายเฉลิมพล เอกอุรุ อายุ 63 ปี ปัจจุบันเป็นข้าราชการบำนาญ เกิดวันที่ 19 สิงหาคม 2488 คู่สมรสคือ นางสุภาภรณ์ เอกอุรุ วุฒิการศึกษาประกาศนียบัตรชั้นสูงทางรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ Diploma in international Relations Institute of Socical Studies The Hague Master of arts (M.A.) International Law and Relations Columbis University Newyork ประเทศสหรัฐอเมริกา ประสบการณ์การทำงาน รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เอกอัครราชทูตไทยประจำสาธารณรัฐฮังการี โครเอเชีย บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม รองอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ
.... ส่วนบุคคลสำคัญที่ไม่ได้รับเลือกจากกรรมการสรรหาฯ ที่น่าสนใจเช่น
นายศักดิ์ เตชาชาญ อดีตตุลาการศาล รธน.เสียงข้างมากคดีซุกหุ้นภาค 1, พล.ต.อ.ดรุณ โสตถิพันธุ์ อดีต ผช.ผบ.ตร. อาจารย์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพราน, นายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ อดีต รมต.สำนักนายกรัฐมนตรีรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์, นายไพฑูรย์ วราหะไพฑูรย์ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญและอดีต ส.ส.ร.ปี 50, นายวิสุทธิ์ โพธิแท่น อดีต กกต.และอดีต ป.ป.ช.ชุดขึ้นเงินเดือนตัวเอง, นายมานิต วิทยาเต็ม อดีตตุลาการศาล รธน. เป็นต้น
..................................
และแล้ว....เมื่อถึงวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551 คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้ ได้มีคำวินิจฉัยให้ "...
นายสมัคร พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี .."
........ นี่ไง หลังจากที่รับทราบคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ...นายสมัครถึงกับร่ำไห้ คร่ำครวญ ว่า.."
ซวยซ้ำซาก...ผมรู้ตั้งแต่เขาตั้งกันมาแล้ว แต่ไม่คิดว่าจะทำกับผม..ด้าย...." พูดจบ นายสมัครมีอาการสะอึก ผู้สื่อข่าวเข้าใจว่าคงสะอื้นเพราะเศร้าเสียใจเปล่า ! ไม่ใช่หรอก...กระดูกไก่ ติดคอน่ะ...