Can ไทเมือง
|
|
« เมื่อ: 25-08-2008, 10:37 » |
|
วันจันทร์ ที่ 25 สิงหาคม 2551 ประมวลจริยธรรมนักการเมืองคลอดแล้ว / สมัครน่าจะโดนเป็นรายแรก Posted by Canไทเมือง , ผู้อ่าน : 28 , 09:29:48 น.
เมื่อ 22 สิงหาคม ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมืองพ.ศ. 2551ได้ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาแล้ว ทำให้ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป หรือวันครบรอบ 1 ปี ของการใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 โดยนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นผู้ลงนามในระเบียบดังกล่าวเอง
ทั้งนี้ การประกาศใช้ระเบียบประมวลจริยธรรมดังกล่าว เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 279 ที่บัญญัติให้มีการจัดทำประมวลจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐแต่ละประเภท เมื่อจัดทำประมวลจริยธรรมแล้ว มีการฝ่าฝืนก็จะมีโทษหนักเบาตามสภาพ
แต่ถ้าเป็นการฝ่าฝืนจริยธรรมอย่างร้ายแรง ผู้ตรวจการแผ่นดิน ต้องยื่นเรื่องต่อ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)ไต่สวนเพื่อถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ฝ่าฝืนจริยธรรมดังกล่าว
ระเบียบสำนักนายกฯฉบับนี้ นิยาม ข้าราชการการเมือง ไว้ว่า นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และข้าราชการการเมืองอื่นที่นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีแต่งตั้งตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง
ระเบียบนี้ นอกจากกำหนดค่านิยมหลักของข้าราชการการเมืองไว้ เช่น
มีจิตสำนึกที่ดี ซื่อสัตย์ สุจริต และรับผิดชอบ
ยึดถือประโยชน์ของประเทศชาติเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตน และไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน
ยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นธรรม และถูกกฎหมาย/ให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนอย่างครบถ้วน ถูกต้อง และไม่บิดเบือนข้อเท็จจริงฯลฯแล้ว
นอกจากนี้ ระเบียบนี้ ยังกำหนดมาตรฐานทางจริยธรรมของข้าราชการการเมืองอีกหลายประการ ที่น่าสนใจ อาทิ
- ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการเป็นพลเมืองดีการเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
- ต้องปฏิบัติตนอยู่ในกรอบจริยธรรม คุณธรรมและศีลธรรมทั้งโดยส่วนตัวและโดยหน้าที่ความรับผิดชอบต่อสาธารณชน ทั้งต้องวางตนให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาของประชาชน
- ต้องเคารพสิทธิ เสรีภาพส่วนบุคคลของผู้อื่นไม่แสดงกิริยาหรือใช้วาจาอันไม่สุภาพ อาฆาตมาดร้าย หรือใส่ร้ายหรือเสียดสีบุคคลใด
- ต้องไม่ใช้สถานะหรือตำแหน่งการเป็นข้าราชการการเมืองเข้าไปก้าวก่ายหรือแทรกแซงการบรรจุ แต่งตั้ง ย้าย โอน เลื่อนตำแหน่ง และเลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำและมิใช่ข้าราชการการเมือง พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ กิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่หรือราชการส่วนท้องถิ่นหรือให้บุคคลดังกล่าวพ้นจากตำแหน่ง ทั้งนี้ เว้นแต่เป็นการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย
- ต้องไม่ยินยอมให้คู่สมรส ญาติสนิท บุคคลในครอบครัวหรือผู้ใกล้ชิดก้าวก่ายหรือแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่ของตนหรือของผู้อื่น -ข้าราชการการเมืองต้องเปิดเผยข้อมูลการทุจริต การใช้อำนาจในทางที่ผิดการฉ้อฉล หลอกลวง หรือการกระทำอื่นใดที่ทำให้ราชการเสียหายต่อเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ
- ต้องไม่ใช้หรือบิดเบือนข้อมูลข่าวสารของราชการเพื่อให้เกิดความเข้าใจผิดหรือเพื่อผลประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น
- ต้องไม่คบหาหรือให้การสนับสนุนแก่ผู้ประพฤติผิดกฎหมายหรือผู้มีความประพฤติหรือมีชื่อในทางเสื่อมเสีย เช่น ผู้เปิดบ่อนการพนันหรือผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดอันอาจกระทบกระเทือนต่อความเชื่อถือศรัทธาของประชาชนในการปฏิบัติหน้าที่ของตน
- ต้องแสดงความรับผิดชอบตามควรแก่กรณีเมื่อปฏิบัติหน้าที่บกพร่องหรือปฏิบัติหน้าที่ผิดพลาดอย่างร้ายแรง
( ข้อมูลมติชน )
00000000000000000000000
ผู้สังเกตการณ์ทางการเมืองมองว่า รายการสนทนาประสาสมัคร เมื่อวันอาทิตย์ที่ 24 สิงหาคม 2551 น่าจะอยู่ในข่าย ต้องถูกสอบสวนมาตรฐานทางจริยธรรมเป็นรายแรก
และเรื่องโฆษก พรรคพลังประชาชน ที่ให้ข่าวให้ร้าย "สันติอโศก" ในวันเดียวกัน อาจเข้าข่ายนี้ได้เช่นกัน
แต่โทษอาจหนังเบาตั้งแต่ตักเตือน ประจาน ไปจนยื่นถอดถอนจากตำแหน่ง
"ผู้ตรวจการแผ่นดิน"งานเข้ามากมายแน่ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
แคน ไทเมือง
ขั้นตอนการถอดถอนจากผู้ตรวจการแผ่นดิน ไปจนถึง ปปช. จะค้นมานำเสนอต่อไป ( โปรดรอซักครู่...อิ อิ )
000000000000000000
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยประมวลจริยธรรมข้าราชการการเมือง พ.ศ.2551 ซึ่งมีผลบังคับใช้แล้ว หลังจากประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา หน้า 9 เล่ม 125 ตอนพิเศษ 141 ง เมื่อวันที่ 22 สิงหาคมที่ผ่านมา
00000000000000000
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมืองพ.ศ.2551
โดยที่มาตรา 279 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้มาตรฐานทางจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐแต่ละประเภทให้เป็นไปตามประมวลจริยธรรมที่กำหนดขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11( แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงวางระเบียบเกี่ยวกับมาตรฐานทางจริยธรรมของข้าราชการการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมืองไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมือง พ.ศ.2551
ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2551 เป็นต้นไป
ข้อ 3 ให้ยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยมาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของข้าราชการการเมือง พ.ศ.2543
ข้อ 4 ในระเบียบนี้
"ข้าราชการการเมือง" หมายความว่า นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และข้าราชการการเมืองอื่นที่นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีแต่งตั้งตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง
ข้อ 5 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามระเบียบนี้
หมวด 1 ค่านิยมหลักของข้าราชการการเมือง
ข้อ 6 ข้าราชการการเมืองมีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย รักษาประโยชน์ส่วนรวม ยึดหลักธรรมาภิบาล โดยจะต้องยึดมั่นในค่านิยมหลัก ดังนี้
(1) ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(2) ยึดมั่นคุณธรรมและจริยธรรม
(3) มีจิตสำนึกที่ดี ซื่อสัตย์ สุจริต และรับผิดชอบ
(4) ยึดถือประโยชน์ของประเทศชาติเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตนและไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน
(5) ยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นธรรม และถูกกฎหมาย
(6) ให้บริการแก่ประชาชนด้วยความรวดเร็ว มีอัธยาศัย และไม่เลือกปฏิบัติ
(7) ให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนอย่างครบถ้วน ถูกต้อง และไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง
(8 มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน รักษามาตรฐาน มีคุณภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้
(9) ยึดมั่นในหลักจรรยาของการเป็นข้าราชการการเมืองที่ดี
หมวด 2 มาตรฐานทางจริยธรรมของข้าราชการการเมือง
ข้อ 7 ข้าราชการการเมืองต้องจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์และเป็นแบบอย่างที่ดีในการเคารพและรักษาระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ข้อ 8 ข้าราชการการเมืองต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ
ข้อ 9 ข้าราชการการเมืองต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการเป็นพลเมืองดีการเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
ข้อ 10 ข้าราชการการเมืองต้องปฏิบัติตนอยู่ในกรอบจริยธรรม คุณธรรมและศีลธรรมทั้งโดยส่วนตัวและโดยหน้าที่ความรับผิดชอบต่อสาธารณชน ทั้งต้องวางตนให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาของประชาชน
ข้อ 11 ข้าราชการการเมืองต้องเคารพสิทธิ เสรีภาพส่วนบุคคลของผู้อื่นไม่แสดงกิริยาหรือใช้วาจาอันไม่สุภาพ อาฆาตมาดร้าย หรือใส่ร้ายหรือเสียดสีบุคคลใด
ข้อ 12 ข้าราชการการเมืองต้องมีอุดมการณ์ในการทำงานเพื่อประเทศชาติ และต้องถือเอาผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นสิ่งสูงสุด
ข้อ 13 ข้าราชการการเมืองต้องรับใช้ประชาชนอย่างเต็มความสามารถด้วยความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ สุจริต เสียสละ เป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติและปราศจากอคติ
ข้อ 14 ข้าราชการการเมืองต้องไม่ใช้หรือยินยอมให้ผู้อื่นใช้สถานะหรือตำแหน่งการเป็นข้าราชการการเมืองไปแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นประโยชน์ในทางทรัพย์สินหรือไม่ก็ตาม
ข้อ 15 ข้าราชการการเมืองต้องไม่ใช้สถานะหรือตำแหน่งการเป็นข้าราชการการเมืองเข้าไปก้าวก่ายหรือแทรกแซงการบรรจุ แต่งตั้ง ย้าย โอน เลื่อนตำแหน่ง และเลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำและมิใช่ข้าราชการการเมือง พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ กิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่หรือราชการส่วนท้องถิ่นหรือให้บุคคลดังกล่าวพ้นจากตำแหน่ง ทั้งนี้ เว้นแต่เป็นการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย
ข้อ 16 ข้าราชการการเมืองต้องไม่ยินยอมให้คู่สมรส ญาติสนิท บุคคลในครอบครัวหรือผู้ใกล้ชิดก้าวก่ายหรือแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่ของตนหรือของผู้อื่น และต้องไม่ยินยอมให้ผู้อื่นใช้ตำแหน่งหน้าที่ของตนโดยมิชอบ
ข้อ 17 ข้าราชการการเมืองต้องระมัดระวังมิให้การประกอบวิชาชีพ อาชีพหรือการงานอื่นใดของคู่สมรส ญาติสนิท หรือบุคคลในครอบครัวของตนมีลักษณะเป็นการกระทบกระเทือนต่อความเชื่อถือศรัทธาของประชาชนในการปฏิบัติหน้าที่ของตน
ข้อ 18 ข้าราชการการเมืองต้องรักษาความลับของราชการ เว้นแต่เป็นการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย
ข้อ 19 ข้าราชการการเมืองต้องยึดมั่นในกฎหมายและคำนึงถึงระบบคุณธรรมในการแต่งตั้งผู้สมควรดำรงตำแหน่งต่างๆ
ข้อ 20 ข้าราชการการเมืองซึ่งพ้นจากตำแหน่งแล้ว ต้องไม่นำข้อมูลข่าวสารอันเป็นความลับของราชการซึ่งตนได้มาในระหว่างอยู่ในตำแหน่งไปใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่องค์กรเอกชน ทั้งนี้ ภายในกำหนดระยะเวลาสองปีนับจากวันที่พ้นจากตำแหน่ง
ข้อ 21 ข้าราชการการเมืองต้องเปิดเผยข้อมูลการทุจริต การใช้อำนาจในทางที่ผิด การฉ้อฉล หลอกลวง หรือการกระทำอื่นใดที่ทำให้ราชการเสียหายต่อเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ
ข้อ 22 ข้าราชการการเมืองต้องไม่เรียกร้องของขวัญ ของกำนัล หรือประโยชน์อื่นใดจากบุคคลอื่น เพื่อประโยชน์ต่างๆ อันอาจจะเกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ของตน และจะต้องดูแลให้คู่สมรส ญาติสนิท หรือบุคคลในครอบครัวของตนปฏิบัติเช่นเดียวกันด้วย
ข้อ 23 ข้าราชการการเมืองต้องปฏิบัติต่อองค์กรธุรกิจที่ติดต่อทำธุรกิจกับหน่วยงานของรัฐตามระเบียบและขั้นตอนอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่เลือกปฏิบัติ
ข้อ 24 ข้าราชการการเมืองพึงพบปะเยี่ยมเยียนประชาชนอย่างสม่ำเสมอ เอาใจใส่ทุกข์สุขและรับฟังเรื่องราวร้องทุกข์ของประชาชนและรีบหาทางช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่เลือกปฏิบัติ
ข้อ 25 ข้าราชการการเมืองต้องไม่ใช้หรือบิดเบือนข้อมูลข่าวสารของราชการเพื่อให้เกิดความเข้าใจผิดหรือเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น
ข้อ 26 ข้าราชการการเมืองต้องรักษาทรัพย์สินของราชการและใช้ทรัพย์สินของราชการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์นั้นๆ เท่านั้น
ข้อ 27 ข้าราชการการเมืองต้องไม่ประพฤติตนอันอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อเกียรติภูมิของชาติ
ข้อ 28 ข้าราชการการเมืองต้องไม่คบหาหรือให้การสนับสนุนแก่ผู้ประพฤติผิดกฎหมายหรือผู้มีความประพฤติหรือมีชื่อในทางเสื่อมเสีย เช่น ผู้เปิดบ่อนการพนันหรือผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดอันอาจกระทบกระเทือนต่อความเชื่อถือศรัทธาของประชาชนในการปฏิบัติหน้าที่ของตน
ข้อ 29 ข้าราชการการเมืองต้องแสดงความรับผิดชอบตามควรแก่กรณีเมื่อปฏิบัติหน้าที่บกพร่องหรือปฏิบัติหน้าที่ผิดพลาดอย่างร้ายแรง
หมวด 3 การกำกับดูแล
ข้อ 30 นายกรัฐมนตรีมีหน้าที่กำกับดูแลการประพฤติปฏิบัติตนของรัฐมนตรีและข้าราชการการเมืองอื่นที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ในกรณีที่พบว่ามีการประพฤติปฏิบัติตนที่ไม่ถูกต้องตามระเบียบนี้ ให้นายกรัฐมนตรีดำเนินการ ลงโทษตามความร้ายแรงแห่งการกระทำ
ข้อ 31 รัฐมนตรีมีหน้าที่กำกับดูแลการประพฤติปฏิบัติตนของข้าราชการการเมืองอื่นที่รัฐมนตรีแต่งตั้งให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ในกรณีที่พบว่ามีการประพฤติปฏิบัตตนที่ไม่ถูกต้องตามระเบียบนี้ ให้รัฐมนตรีดำเนินการลงโทษตามความร้ายแรงแห่งการกระทำ ถ้าปรากฏว่ารัฐมนตรีผู้ใดมิได้ดำเนินการให้เป็นไปตามวรรคหนึ่ง ให้นายกรัฐมนตรีแจ้งให้รัฐมนตรีผู้นั้นดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ.2551
สมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
มารุจัง
|
|
« ตอบ #1 เมื่อ: 25-08-2008, 11:44 » |
|
"นอกจากนี้ ระเบียบนี้ ยังกำหนดมาตรฐานทางจริยธรรมของข้าราชการการเมืองอีกหลายประการ ที่น่าสนใจ อาทิ
- ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการเป็นพลเมืองดีการเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
- ต้องปฏิบัติตนอยู่ในกรอบจริยธรรม คุณธรรมและศีลธรรมทั้งโดยส่วนตัวและโดยหน้าที่ความรับผิดชอบต่อสาธารณชน ทั้งต้องวางตนให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาของประชาชน
- ต้องเคารพสิทธิ เสรีภาพส่วนบุคคลของผู้อื่นไม่แสดงกิริยาหรือใช้วาจาอันไม่สุภาพ อาฆาตมาดร้าย หรือใส่ร้ายหรือเสียดสีบุคคลใด
- ต้องไม่ใช้สถานะหรือตำแหน่งการเป็นข้าราชการการเมืองเข้าไปก้าวก่ายหรือแทรกแซงการบรรจุ แต่งตั้ง ย้าย โอน เลื่อนตำแหน่ง และเลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำและมิใช่ข้าราชการการเมือง พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ กิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่หรือราชการส่วนท้องถิ่นหรือให้บุคคลดังกล่าวพ้นจากตำแหน่ง ทั้งนี้ เว้นแต่เป็นการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย
- ต้องไม่ยินยอมให้คู่สมรส ญาติสนิท บุคคลในครอบครัวหรือผู้ใกล้ชิดก้าวก่ายหรือแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่ของตนหรือของผู้อื่น -ข้าราชการการเมืองต้องเปิดเผยข้อมูลการทุจริต การใช้อำนาจในทางที่ผิดการฉ้อฉล หลอกลวง หรือการกระทำอื่นใดที่ทำให้ราชการเสียหายต่อเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ
- ต้องไม่ใช้หรือบิดเบือนข้อมูลข่าวสารของราชการเพื่อให้เกิดความเข้าใจผิดหรือเพื่อผลประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น
- ต้องไม่คบหาหรือให้การสนับสนุนแก่ผู้ประพฤติผิดกฎหมายหรือผู้มีความประพฤติหรือมีชื่อในทางเสื่อมเสีย เช่น ผู้เปิดบ่อนการพนันหรือผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดอันอาจกระทบกระเทือนต่อความเชื่อถือศรัทธาของประชาชนในการปฏิบัติหน้าที่ของตน
- ต้องแสดงความรับผิดชอบตามควรแก่กรณีเมื่อปฏิบัติหน้าที่บกพร่องหรือปฏิบัติหน้าที่ผิดพลาดอย่างร้ายแรง"
เฉพาะส่วนนี้ รัฐบาลนี้ ก็ทำไม่ได้แล้วค่ะ ออกมาเพื่อด่าตัวเองหรือเปล่าคะเนี่ย.....
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25-08-2008, 11:47 โดย มารุจัง »
|
บันทึกการเข้า
|
ประชาธิปไตย มิได้จบอยู่แค่การเลือกตั้งปล.รูปจากเวบ ผจก.
|
|
|
NA-KORN
|
|
« ตอบ #2 เมื่อ: 25-08-2008, 12:04 » |
|
เห็นจะใช้ไม่ได้กับไอ้นักการเมืองยุคนี้หรอกครับ ขนาด รัฐธรรมนูญ ที่เป็นกฏหมายสูงสุดพวกมัน ยังละเมิดกันโครม ๆ ไม่เห็นมันสะดุ้งสะเทือนกัน สักนิด แค่ระเบียบธรรมดา ๆ มีบทลงโทษเบาๆ เหมือนเล่นเขกตาตุ่ม เอาพวกมันไม่อยู่หรอกครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
Solidus
|
|
« ตอบ #4 เมื่อ: 25-08-2008, 12:34 » |
|
ข้อ 28 ข้าราชการการเมืองต้องไม่คบหาหรือให้การสนับสนุนแก่ผู้ประพฤติผิดกฎหมายหรือ ผู้มีความประพฤติหรือมีชื่อในทางเสื่อมเสีย เช่น ผู้เปิดบ่อนการพนันหรือผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดอันอาจกระทบกระเทือนต่อความ เชื่อถือศรัทธาของประชาชนในการปฏิบัติหน้าที่ของตนข้อนี้สงสัยลิ่วล้อแม้วดิ้นกันเป็นแถวแน่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
mitimai
น้องใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 15
|
|
« ตอบ #5 เมื่อ: 25-08-2008, 12:36 » |
|
อ่านนสพ.เดลินิวส์วันนี้ มีคอลัมป์หนึ่งพูดถึงลักษณะขุนนางเลว 6 ประการตามตำราจีน อ่านแล้วรู้สึกว่าออหมักแกจะเหมาหมดทุกอย่างเลย สมเป็นลูกพระยาจริงจริ๊ง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Tuba ✿゚✎..✿.。.:。ღ
|
|
« ตอบ #6 เมื่อ: 25-08-2008, 13:42 » |
|
เดี๋ยวมันก็มาบอก "จริยธรรม ไม่ใช่กฎหมาย เพราะฉะนั้น ไม่มีสภาพบังคับใช้"
จบข่าว เลวได้เหมือนเดิม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ทหาร เป็นอะไรก็ไม่ได้ดี นอกจากเป็นทหาร
ตำรวจ เป็นอะไรก็ดีไม่ได้ แม้กระทั่งเป็นตำรวจ
|
|
|
jerasak
|
|
« ตอบ #7 เมื่อ: 25-08-2008, 14:50 » |
|
ผมว่าน่าจะเปลี่ยนคำว่า "ข้าราชการการเมือง" เป็น "ข้าราชการ" ให้หมด แล้วประกาศใช้เป็น "ประมวลจริยธรรมของข้าราชการ" ไปเลยนะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
= A dreamer lives for eternity.= == นักฝันมีชีวิตเพื่อนิรันดร์กาล ==
|
|
|
sleepless
|
|
« ตอบ #8 เมื่อ: 25-08-2008, 14:54 » |
|
อันนี้มันมีบทลงโทษหรือเปล่าครับ ขนาดกฎหมายมีบทลงโทษเขายังหาช่องโหว่รอดไปโดยไม่เกรงกลัวเลย แล้วประมวลจริยธรรมนี่มันจะเหลือเหรอครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
Can ไทเมือง
|
|
« ตอบ #10 เมื่อ: 25-08-2008, 15:37 » |
|
รัฐธรรมนูญ มาตรา 279 ให้ถือว่าการทำผิดประมวลจริยธรรมเป็นความผิดทางวินัย
และหากร้ายแรง ให้ถอดถอนได้ ตามมาตรา 270 ซึ่งในหมวดนี้ก็คือมาตรา 271-272-273
เหมือนการถอดถอนทั่วๆ ไปนั่นแหละครับ สส. สว. หรือประชาชน รวมตัวกันยื่นถอดถอนได้ครับ
นี่คือบทลงโทษที่รุนแรงที่สุด
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25-08-2008, 15:40 โดย Can ไทเมือง »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
|
bangkaa
|
|
« ตอบ #13 เมื่อ: 25-08-2008, 20:15 » |
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
มาทำหน้าที่... ใช้หนี้แผ่นดิน...และมาทำบุญ...
|
|
|
|
|