ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
24-11-2024, 06:55
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ส.ส.รัฐบาลกว่าครึ่งร้อยหลุดเก้าอี้? 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
ส.ส.รัฐบาลกว่าครึ่งร้อยหลุดเก้าอี้?  (อ่าน 3246 ครั้ง)
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« เมื่อ: 20-08-2008, 21:17 »

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1219072702&catid=01

อ้างถึง
เผยคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ตั้งวิปส่อขัดกฎหมาย ส.ส.รัฐบาลกว่าครึ่งร้อยหลุดเก้าอี้?

 วิปรบ.ส่อหลุดส.ส.ยกพวง

ผู้สื่อข่าว"มติชนออนไลน์"รายงาน เมื่อวันที่ 18 สิงหาคมว่า จากคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญล่าสุด(ที่10/2551-กรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินส่งเรื่องให้วินิจฉัยว่า  พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ ายรัฐสภา  พ.ร.บ.สถาบันพระปกเกล้า และ พ.ร.บ.สภาพัฒนาการเมือง มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ 2550มาตรา 265 และมาตรา266 หรือไม่)นั้นพบว่า อาจทำให้ ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลกว่า 50 คน ที่เป็นกรรมการประสานงานสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคร่วมรัฐบาล(วิปรัฐบาล)รวมถึงอดีตประธานวืปรัฐบาลคือนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎรและนายสามารถ แก้วมีชัย รองประธานสภาฯอาจต้องพ้นจากตำแหน่ง ส.ส.ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 106(6) เนื่องจากการเป็นวิปรัฐบาลเป็นคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกรัฐมนตรีตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน จึงเป็นคณะกรรมการของฝ่ายบริหารอาจเข้าข่ายการกระทำต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 265 ที่ห้าม ส.ส.ม่ให้ดำรงตำแหน่งหรือหน้าที่ใดในหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ

เปิดคำวินิจฉัยศาลรธน.เทียบเคียง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวระบุว่า บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 265  เป็ นบทบัญญัติที่มีเจตนารมณ์ป้ องกันมิให้ส.ส.และส.ว.ในฐานะผู้แทนปวงชนชาวไทยมีการกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ในการปฏิบัติหน้าที่ของฝ่ ายนิติบัญญัติซึ่งเป็นองค์กรที่มีหน้าที่ในการตรากฎหมายรวมทั้งควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรีหรือฝ่ ายบริหารให้เป็นไปตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐและนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา

โดยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมาตรา265  วรรคหนึ่งได้บัญญัติข้อห้ามไว้อย่างชัดเจนว่า ส.ส.และ ส.ว.ต้องไม่ดำรงตำแหน่งหรือหน้าที่ใดในหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น หรือข้าราชการส่วนท้องถิ่น... และไม่รับเงินหรือประโยชน์ใด ๆ จากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ... ยกเว้นกรณีที่ส.สงและ ส.ว.ได้รับประโยชน์หรือดำรงตำแหน่งตามที่รัฐธรรมนูญ มาตรา265วรรคสอง ซึ่งบัญญัติไว้เป็น3 กรณีดังนี้

(1) กรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา รับเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญเงินปี พระบรมวงศานุวงศ์ หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกัน
(2) กรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา รับหรือดำรงตำแหน่งกรรมาธิการของรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา
(3) กรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา รับหรือดำรงตำแหน่งกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งในการบริหารราชการแผ่นดิน

ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วเห็นว่า มาตรา 265 วรรคสองได้บัญญัติข้อยกเว้นมิให้ใช้บังคับในกรณีที่ส.สงและ ส.ว.รับหรือดำรงตำแหน่กรรมาธิการของรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภาหรือกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งในการบริหารราชการแผ่นดิน

ดังนั้น หาก ส.ส.และ ส.ว.รับหรือดำรงตำแหน่งกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งในการบริหารราชการแผ่นดิน ก็จะได้รับการยกเว้นตามมาตรา 265 วรรคสอง

มีปัญหาต้องพิจารณาว่า ข้อยกเว้นดังกล่าว มีความหมายและขอบเขตอย่างไรนั้น เห็นว่า เมื่อคำนึงถึงหลักการแบ่งแยกการใช้อำนาจอธิปไตย ตามมาตรา 3 วรรคหนึ่งของรัฐธรรมนูญ ประกอบกับเมื่อพิจารณาถึงถ้อยคำของข้อยกเว้นตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 265 วรรคสองของรัฐธรรมนูญที่มาก่อนหน้า กล่าวคือ ยกเว้นการรับหรือดำรงตำแหน่งกรรมาธิการของรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา ซึ่งเป็นการดำรงตำแหน่งในราชการ

ฝ่ ายนิติบัญญัติโดยแท้แล้ว ก็ควรจะแปลความคำว่า “ราชการแผ่นดิน” ในมาตรา265 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญให้สอดคล้องหรือสอดรับกับจุดประสงค์ของถ้อยคำในตัวบทบัญญัติที่มาก่อนว่า "ราชการแผ่นดิน"ในที่นี้หมายถึง ราชการบริหารในฝ่ายนิติบัญญัติเท่านั้น

ทั้งนี้นี้เพื่อป้ องกันมิให้การปฏิบัติหน้าที่ของส.ส.และ ส.ว. ซึ่งมีหน้าที่ในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของฝ่ายบริหารไปดำรงตำแหน่งในฝ่ายบริหารหรือฝ่ายตุลาการ หรือในองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ทำให้ผู้ควบคุมและผู้ถูกควบคุมเป็ นบุคคลคนเดียวกัน อันจะทำให้เป็ นการกระทำที่เป็ นการขัดกันแห่งผลประโยชน์

เว้นแต่จะได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง"นายกรัฐมนตรี"และ"รัฐมนตรี" ตามที่รัฐธรรมนูญ2550บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ซึ่งหากได้รับแต่งตั้งเป็ นนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีแล้วจึงได้รับการยกเว้นให้ไปดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารในการบริหารราชการแผ่นดินของฝ่ายบริหารได้ตามหลักการแบ่งแยกการใช้อำนาจอธิปไตย

แม้จะมีการตรวจสอบและถ่วงดุลการใช้อำนาจซึ่งกันและกันแล้ว แต่องค์กรผู้ใช้อำนาจอธิปไตยก็ยังมีความเป็นอิสระต่อกันอยู่ โดยเฉพาะความเป็นอิสระในการดำเนินกิจการภายในตามภารกิจและอำนาจหน้าที่ขององค์กรนั้นเอง ซึ่งแต่ละองค์กรจะมีหน่วยงานที่อยู่ในความรับผิดชอบหรือกำกับดูแล ทั้งนี้เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรนั้นบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ เช่น ฝ่ ายบริหารหรือคณะรัฐมนตรี มีกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งเป็นหน่วยราชการ หรือมีรัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชนที่มิใช่หน่วยงานราชการอยู่ในความรับผิดชอบและกำกับดูแล โดยมีภารกิจและอำนาจหน้าที่ในการนำนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐและนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภาไปปฏิบัติให้บรรลุผล หน่วยงานดังกล่าวจึงเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารราชการของคณะรัฐมนตรี

ฝ่ายตุลาการหรือศาลมีสำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ และสำนักงานศาลปกครองเป็นหน่วยงานที่อยู่ในความรับผิดชอบและกำกับดูแลของศาล

ส่วนฝ่ายนิติบัญญัติหรือรัฐสภามีสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เป็ นหน่วยราชการที่อยู่ในความรับผิดชอบและกำ กับดูแลของรัฐสภา โดยมีคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ก.ร.)ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ ายรัฐสภา พ.ศ2518 มาตรา 6รวมทั้งมีสถาบันพระปกเกล้าเป็นหน่วยงานในกำกับดูแลของประธานรัฐสภา ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.สถาบันพระปกเกล้าพ.ศ. 2541และมีสำนักงานสภาพัฒนาการเมืองเป็ นหน่วยงานอิสระอยู่ในสถาบันพระปกเกล้าอีกชั้นหนึ่ง ตามมาตรา 23 ของ พ.ร.บ.สภาพัฒนาการเมือง พ.ศ. 2551

ดังนั้น จึงเห็นว่าการแต่งตั้งให้ส.สงและ ส.ว.ซึ่งเป็นสมาชิกของฝ่ายนิติบัญญัติเป็นกรรมการในหน่วยงานที่อยู่ในความรับผิดชอบหรือกำกับดูแลของฝ่ายนิติบัญญัติเป็นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์แห่งการบริหารราชการของฝ่ายนิติบัญญัติ ทั้งมิได้เป็นการกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ในตำแหน่งที่ตนดำรงอยู่ จึงอยู่ในความหมายและขอบเขตของการเป็นกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งในการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งได้รับการยกเว้นให้กระทำได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งมาตรา265 วรรคสอง

นักกฎหมายมหาชนรายหนึ่งกล่าวว่า จากแนวคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญชัดเจนว่า ส.ส.และ ส.ว.สามารถดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการของฝ่ายนินิบัญญัติได้เท่านั้น แต่วิปรัฐบาล เป็นคณะกรรมการที่นายกรัฐมนตรีจัดตั้งขึ้น จึงเป็นคณะกรรมการในฝ่ายบริหารซึ่งขัดกับแนวคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ดังนั้น ถ้า มี ส.ส.เข้าชื่อกัน 1 ใน 10 ของจำนวน ส.ส.ที่มีอยู่ทั้งหมดหรือประมาณ 48 คนยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลเป็นวิปรัฐบาลเข้าข่ายการกระทำต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญตามมาตรา 265 หรือไม่  ถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยโดยใช้แนววินิจฉัยเดิมจะทำให้ ส.ส.รัฐบาลกว่า 50 คนต้องพ้นจากตำแหน่งทันที

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า อย่างไรก็ตาม สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเคยหารือเรื่องนี้กับคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว ปรากฏว่า คณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่า ส.ส.สามารถเป็นวิปรัฐบาลได้เพราะเป็นการทำหน้าที่ช่วยเหลือให้การปฏิบัติงานระหว่าง ครม.กับสภาผู้แทนราษฎรในเรื่องที่เสนอร่างกฎหมาย ญัตติ การตอบกระทู้ รวมทั้งเรื่องอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการแผ่นดินดำเนินไปด้วยความราบรื่นและมีประสิทธิภาพ จึงถือได้ว่า ได้ว่า เป็นกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งในการบริหารราชการแผ่นดิน(เรื่องเสร็จที่(148/2551)
----------------------
สำหรับส.ส.ที่เคยเป็นหรือวิปรัฐบาลประกอบด้วย

1. วิทยา บูรณศิริ เป็นประธานกรรมการ (พปช.) 2.นายชูศักดิ์ ศิรินิล เป็นรองประธานกรรมการ คนที่ 1 (พปช.) 3.นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ เป็นรองประธานกรรมการ คนที่ 2 (พปช.)  4.นายไพจิต ศรีวรขาน เป็นรองประธานกรรมการ คนที่ 4 (พปช.) 5.นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล เป็นรองประธานกรรมการ คนที่ 5 (ชท.) 6.นายไชยยศ จิรเมธากร เป็นรองประธานกรรมการ คนที่ 6 (พผ.)
กรรมการ ประกอบด้วย
7.นายกิตติศักดิ์ รุ่งธนเกียรติ (พปช.) 8.นายเกียรติกร พากเพียรศิลป์ (มฌ.)9 .นายเกษม อุประ (พปช.) 10.นายจรัสฤทธิ์ จันทรสุรินทร์ (พปช.) 11.นายจุมพฏ บุญใหญ่ (พปช.) 12.นายจองชัย เที่ยงธรรม (ชท.) 13.นายไชยวัฒน์ ติณรัตน์ (พปช.) 14.นายดนุพร ปุณณกันต์ (พปช.) 15.นายธเนศ เครือรัตน์ (พปช.)

16.นายธีระ ไตรสรณกุล (พปช.) 17.นายนพคุณ รัฐผไท (พปช.) 18.นายนพดล พลเสน (ชท.) 19.นายนัจมุดดีน อูมา (พปช.) 20.นางนันทนา ทิมสุวรรณ (พปช.)

21.นายนิกร จำนง (ชท.) 22.นายนิมุคตาร์ วาบา (พผ.) 23.นายนิยม ช่างพินิจ (พปช.) 24.นายนิรมิต สุจารี (พปช.) 25.พ.ต.ท.นุกูล แสงศิริ (มฌ.) 26.นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ (พปช.) 27.ร.ท.ปรีชาพล พงษ์พานิช (พปช.) 28.น.ส.ปาริชาติ ชาลีเครือ (พปช.)

29.น.ส.พรพิมล ธรรมสาร (พปช.) 30.นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน (พปช.) 31.นายพินิจ จันทรสมบูรณ์ (พปช.) 32.นายพิษณุ หัตถสงเคราะห์ (พปช.) 33.นายภิรมย์ พลวิเศษ (พปช.) 34.นายมานะ โลหะวณิชย์ (พปช.) 35.นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล (พปช.)

36.นายวรสิทธิ์ กัลป์ตินันท์ (พปช.) 37.นายวราวุธ ศิลปอาชา (ชท.) 38.นางวันเพ็ญ พร้อมพัฒน์ (พปช.) 39.นายวินัย ภัทรประสิทธิ์ (รช.) 40.นายวิวัฒชัย โหตระไวศยะ (พปช.)

41.นายวีระวัฒน์ โอสถานุเคราะห์ (พปช.) 42.นายสมเกียรติ ศรลัมพ์ (พผ.) 43.นายสมคิด บาลไธสง (พปช.) 44.นายสมชัย เจริญชัยฤทธิ์ (ป.ช.ร.) 45.นายสมชัย ฉัตรพัฒนศิริ (รช.)

46.พล.อ.สมชาย วิษณุวงศ์ (พปช.) 47.นางศิรินทร รามสูต (พปช.) 48.นายสุชาติ ลายน้ำเงิน (พปช.) 49.พ.ต.ท.สุรทิน พิมานเมฆินทร์ (พปช.) 50.นายอนุชา สะสมทรัพย์ (พปช.)

51.นางอนุสรา ยังตรง (พปช.) 52.นายอลงกต มณีกาศ (พผ.) 53.นายอัศวิน วิภูศิริ (ชท.) 54.นายเอกพจน์ ปานแย้ม (ชท.) 55. นายพีรพันธุ์ พาลุสุข (พปช.)56.นายชยุต ภุมมะกาญจนะ (พปช.) 57.น.อ.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ (พปช.)

นอกจากนั้นยังมีนายชัย ชิดชอบและ นายสามารถ แก้วมีชัย ที่เคยเป็นประธานวิป


อ๊าววววววววว งานเข้าอีกแล้ววววว  พรรคก็จะถูกยุบ เก้าอี้ก็จะหลุดจากก้น 

ขี้ข้าหน้าเหลี่ยมนี่ มันมีกรรมเยอะจริงๆหนอ 
บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #1 เมื่อ: 20-08-2008, 22:26 »

ลองเรียงใหม่ตามสังกัดพรรคได้ออกมาแบบนี้ 

พรรคพลังประชาชน 41 คน
1.วิทยา บูรณศิริ ประธานกรรมการ (พปช.)
2.นายชูศักดิ์ ศิรินิล รองประธานกรรมการ คนที่ 1 (พปช.)
3.นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ รองประธานกรรมการ คนที่ 2 (พปช.) 
4.นายไพจิต ศรีวรขาน รองประธานกรรมการ คนที่ 4 (พปช.)
5.นายกิตติ ศักดิ์ รุ่งธนเกียรติ กรรมการ (พปช.)
6.นายเกษม อุประ กรรมการ (พปช.)
7.นายจรัสฤทธิ์ จันทรสุรินทร์ กรรมการ (พปช.)
8.นายจุมพฏ บุญใหญ่ กรรมการ (พปช.)
9.นายไชยวัฒน์ ติณรัตน์ กรรมการ (พปช.)
10.นายดนุพร ปุณณกันต์ กรรมการ (พปช.)
11.นายธเนศ เครือรัตน์ กรรมการ (พปช.)
12. นายธีระ ไตรสรณกุล กรรมการ (พปช.)
13.นายนพคุณ รัฐผไท กรรมการ (พปช.)
14.นายนัจมุดดีน อูมา กรรมการ (พปช.)
15.นางนันทนา ทิมสุวรรณ กรรมการ (พปช.)
16.นายนิยม ช่างพินิจ กรรมการ (พปช.)
17.นายนิรมิต สุจารี กรรมการ (พปช.)
18.นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ กรรมการ (พปช.)
19.ร.ท.ปรีชาพล พงษ์พานิช กรรมการ (พปช.)
20.น.ส.ปาริชาติ ชาลีเครือ กรรมการ (พปช.)
21.น.ส.พรพิมล ธรรมสาร กรรมการ (พปช.)
22.นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน กรรมการ (พปช.)
23.นายพินิจ จันทรสมบูรณ์ กรรมการ (พปช.)
24.นายพิษณุ หัตถสงเคราะห์ กรรมการ (พปช.)
25.นายภิรมย์ พลวิเศษ กรรมการ (พปช.)
26.นายมานะ โลหะวณิชย์ กรรมการ (พปช.)
27.นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล กรรมการ (พปช.)
28.นายวรสิทธิ์ กัลป์ตินันท์ กรรมการ (พปช.)
29.นางวันเพ็ญ พร้อมพัฒน์ กรรมการ (พปช.)
30.นายวิวัฒชัย โหตระไวศยะ กรรมการ (พปช.)
31.นายวีระวัฒน์ โอสถานุเคราะห์ กรรมการ (พปช.)
32.นายสมคิด บาลไธสง กรรมการ (พปช.)
33.พล.อ.สมชาย วิษณุวงศ์ กรรมการ (พปช.)
34.นางศิรินทร รามสูต กรรมการ (พปช.)
35.นายสุชาติ ลายน้ำเงิน กรรมการ (พปช.)
36.พ.ต.ท.สุรทิน พิมานเมฆินทร์ กรรมการ (พปช.)
37.นายอนุชา สะสมทรัพย์ กรรมการ (พปช.)
38.นางอนุสรา ยังตรง กรรมการ (พปช.)
39. นายพีรพันธุ์ พาลุสุข กรรมการ (พปช.)
40.นายชยุต ภุมมะกาญจนะ กรรมการ (พปช.)
41.น.อ.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ กรรมการ (พปช.)

พรรคชาติไทย 7 คน
1.นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานกรรมการ คนที่ 5 (ชท.)
2.นายจองชัย เที่ยงธรรม กรรมการ (ชท.)
3.นายนพดล พลเสน กรรมการ (ชท.)
4. นายนิกร จำนง กรรมการ (ชท.)
5.นายวราวุธ ศิลปอาชา กรรมการ (ชท.)
6.นายอัศวิน วิภูศิริ กรรมการ (ชท.)
7.นายเอกพจน์ ปานแย้ม กรรมการ (ชท.)

พรรคเพื่อแผ่นดิน 4 คน
1.นายไชยยศ จิรเมธากร รองประธานกรรมการ คนที่ 6 (พผ.)
2.นายนิมุคตาร์ วาบา กรรมการ (พผ.)
3.นายสมเกียรติ ศรลัมพ์ กรรมการ (พผ.)
4.นายอลงกต มณีกาศ กรรมการ (พผ.)

พรรคมัชฌิมาธิปไตย 2 คน
1.นายเกียรติกร พากเพียรศิลป์ กรรมการ (มฌ.)
2.พ.ต.ท.นุกูล แสงศิริ กรรมการ (มฌ.)

พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา 2 คน
1.นายวินัย ภัทรประสิทธิ์ กรรมการ (รช.)
2.นายสมชัย ฉัตรพัฒนศิริ กรรมการ (รช.)

พรรคประชาราช 1 คน
1.นายสมชัย เจริญชัยฤทธิ์ กรรมการ (ป.ช.ร.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20-08-2008, 22:42 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #2 เมื่อ: 20-08-2008, 23:30 »

 
ที่จริงน่าจะเอาพวก 111 มาเป็นวิป
เหมาะสมสุดๆ



ปล. เปลี่ยนจากเรียก วิป มาเป็น พัพเพ็ต มาสเตอร์ ยิ่งดี
รับรอง สส. ต่างชาติต้องมาศึกษางานกันใหญ่แน่ๆ
บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
Kittinunn
Aloha007
Global Moderator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,127


ไปได้สวย...ด้วยเกียร์ต่ำ!!!


เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 20-08-2008, 23:47 »

ไม่เข้าใจ ช่วยอธิบายเป็นภาษาชาวบ้านให้ผมฟังหน่อย

ส.ส. คือฝ่ายนิติบัญญัติ

ตำแหน่งวิปรัฐบาล จึงเป็นคณะกรรมการในฝ่ายบริหาร

ซึ่งขัดกับแนวคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ



พยายามอ่าน แต่ไม่เข้าใจ

คำวินิจฉัยที่ ๑๐/๒๕๕๑ เรื่อง ผู้ตรวจการแผ่นดิน เสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๖ วรรคหนึ่ง (เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเป็นประธาน ก.ร. ของประธานรัฐสภา และการเป็นรองประธาน ฯ (24/07/2551)
บันทึกการเข้า

“ผมเขียนไปในบล็อกนั้น แบบข้างบนนี้เหมือนกัน นึกว่า จะโพสต์ ปรากฏว่า เขาบอกว่า ต้อง สมัครสมาชิกก่อน ผมขี้เกียจ เลยมาโพสต์ที่นี่แทน อ้อ ตอนเขียน ผมใส่คำว่า ทุเรศ และ น่าสมเพช ไปด้วย” (อ.สมศักดิ์ เจียมธีระสกุล-เว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน - ข้อความในเสรีไทย โดย Snowflake)

login not found
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,523



« ตอบ #4 เมื่อ: 21-08-2008, 00:25 »

แปลว่า ตำแหน่งวิป เป็นตำแหน่งทางการบริหาร ถ้าสส.เข้าไปเป็นวิป ก็ขัดรธน.
ที่ให้สส.ทำงานเฉพาะนิติบัญญัติเท่านั้น ห้ามดำรงตำแหน่งอื่นๆ เพื่อป้องกันการขัดกันแห่งผลประโยชน์
สส.ที่เป็นวิปอยู่ตอนนี้จึงมีสิทธิถูกถอนถอนเพราะทำผิดรธน.

เอ......แต่ถ้าทำตามรธน.จริง เรื่องนี้ท่าจะยาวแฮะ
บันทึกการเข้า
RiDKuN
Administrator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,015



เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 21-08-2008, 00:33 »

แล้วทำไมวิปถึงเป็นตำแหน่งที่เป็นทางการละครับ
ผมคิดว่ามันเป็นตำแหน่งที่ตั้งกันขึ้นมา เพื่อคุมกันเองในฟากรัฐบาลเสียเอง
ไม่น่าจะเป็นการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลนะครับ
บันทึกการเข้า

คนไม่มี "อุดมคติ" ไม่ใช่ "นักการเมือง"
login not found
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,523



« ตอบ #6 เมื่อ: 21-08-2008, 01:25 »

แล้วทำไมวิปถึงเป็นตำแหน่งที่เป็นทางการละครับ
ผมคิดว่ามันเป็นตำแหน่งที่ตั้งกันขึ้นมา เพื่อคุมกันเองในฟากรัฐบาลเสียเอง
ไม่น่าจะเป็นการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลนะครับ

"คณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่า ส.ส.สามารถเป็นวิปรัฐบาลได้เพราะเป็นการทำหน้าที่ช่วยเหลือให้การปฏิบัติงานระหว่าง ครม.กับสภาผู้แทนราษฎรในเรื่องที่เสนอร่างกฎหมาย ญัตติ การตอบกระทู้ รวมทั้งเรื่องอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการแผ่นดินดำเนินไปด้วยความราบรื่นและมีประสิทธิภาพ จึงถือได้ว่า ได้ว่า เป็นกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งในการบริหารราชการแผ่นดิน(เรื่องเสร็จที่(148/2551)"

และก็คงเป็นเพราะได้เงินเดือนด้วยมั๊งครับ
บันทึกการเข้า
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #7 เมื่อ: 21-08-2008, 01:31 »

 
สงสัยจะงกเงินเดือน Rolling Eyes
บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
login not found
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,523



« ตอบ #8 เมื่อ: 21-08-2008, 01:40 »

มีประโยชน์จากการวิ่งเต้นเสนอเรื่องอำนวยความสะดวกให้ด้วยครับ
แต่อันนี้คงเอามาพูดทั่วไปไม่ได้
บันทึกการเข้า
8owmp
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 76


เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 21-08-2008, 05:03 »

แต่เรื่องนี้ ผมกลับเกรงว่าจะทำให้คนทั่วไปมองว่ารัฐธรรมนูญมีปัญหานะครับ

เพราะคนทั่วไป ก็ต้องมองว่าการมีวิปก็เพื่อทำให้การประชุมสภาสามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่นเพราะเป็นการตกลงของฝั่งรัฐบาลและฝ่ายค้าน หากไม่มีวิป การประชุมสภาคงวุ่นวายกว่านี้

ผมเกรงว่าจะนำมาปั่นให้เห็นถึงเงื่อนไขการแก้รัฐธรรมนูญ ตรงนี้อันตรายครับ

บันทึกการเข้า

kim
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 55



« ตอบ #10 เมื่อ: 21-08-2008, 23:13 »

สงสัยตอนแต่งตั้งคงไม่ได้ดูรัฐธรรมนูญ เป็นเพราะเป็นสส.เก่า เลยลืมตัวทำตามเคยชินไป
บันทึกการเข้า
ริวเซย์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4,637


Worrior in The Blue Armor


เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: 21-08-2008, 23:39 »

ตอนนี้พวกพปช.คงปวดหัวน่าดู งานเข้าหลายงานเหลือเกิน

ถ้ารัฐบาลรอบคอบหน่อย ก่อนจะเข้าดำรงตำแหน่งควรศึกษารัฐธรรมนูญให้ถ่องแท้กว่านี้จะไม่ได้โง่จมปลักบ่อยๆแบบนี้

ระเบียบแบบแผนยังไม่แจ้งชัด จะไปบริหารประเทศได้อย่างไร
บันทึกการเข้า

ถ้ามีแฟนแบบนี้เอาไหมครับ^^


พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #12 เมื่อ: 22-08-2008, 14:28 »

http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01pol03220851&sectionid=0133&day=2008-08-22

อ้างถึง
ยื่นกกต.วินิจฉัย 56 วิปรบ.

ที่รัฐสภา นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา แถลงว่า ได้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ตรวจสอบกรณีสมาชิกภาพของ ส.ส.สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 106 (6) หรือไม่ กรณีคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 23 /2551 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วิปรัฐบาล) จำนวน 56 คน ให้มีอำนาจหน้าที่ตามคำสั่งที่ได้รับมอบหมายและสามารถเบิกเลี้ยงหรือเบี้ยประชุมได้ เพราะศาลรัฐธรรมนูญเคยมีคำวินิจฉัยที่ 10/2551 ว่า ส.ส.ในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติจะไปมีตำแหน่งในฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการไม่ได้ ซึ่งวิปรัฐบาลจะเข้าข่ายลักษณะนี้หรือไม่ เพราะดูคำสั่งสำนักนายกฯก็ได้ให้อำนาจหน้าที่ตาม ครม.มอบหมาย โดยให้เบิกจ่ายเบี้ยประชุมและเบี้ยเลี้ยงจากสำนักนายกฯจึงน่าจะขัดรัฐธรรมนูญฯมาตรา 265 วรรค 2 แต่ความเห็นของตนและนายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เห็นไม่ตรงกันจึงส่งให้ กกต.พิจารณาเพื่อหาข้อยุติ ถือเป็นประเด็นที่มีความขัดแย้ง ส.ส.สามารถเข้าชื่อจำนวน 1 ใน 10 ยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย


เอาเข้าไป เอาเข้าไป  ใส้เดือนได้ดิ้นพล่านกันอีกแล้ว 
บันทึกการเข้า
เล่าปี๋
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,417


ทำดีได้ดีมีไฉน ทำชั่วได้ดีมีถมไป


« ตอบ #13 เมื่อ: 22-08-2008, 17:04 »

http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01pol03220851&sectionid=0133&day=2008-08-22


เอาเข้าไป เอาเข้าไป  ใส้เดือนได้ดิ้นพล่านกันอีกแล้ว 


สะใจหรือครับ คุณ พรรณชมพู ...
บันทึกการเข้า

ขงเบ้งดูดาว เฮอะเอ่อเอ้ย เมื่อดาวตก เสียวในหัวอกเมือเห็นดาว
ไม่พราวไสว  หรือว่าตัวเราจะหมดบุญ จึงเป็นไป
ดาวที่สดใสเมื่อก่อนนั้น  พลันมืดมัว....
หน้า: [1]
    กระโดดไป: