ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
24-11-2024, 22:00
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ทฤษฎีสองสูงของเจ้าสัวซีพี ลงมติชนสุดฯ ใครมีช่วยก้อบมาอ่านกัน 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
ทฤษฎีสองสูงของเจ้าสัวซีพี ลงมติชนสุดฯ ใครมีช่วยก้อบมาอ่านกัน  (อ่าน 7871 ครั้ง)
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« เมื่อ: 21-03-2008, 08:08 »

นำเสนอมานาน เรื่องส่งเสริมให้สินค้าเกษตรแพง ค่าแรงแพง เงินเดือนแพง

เจ้าสัวซีพี นำเสนอผ่านมติชนสุดสัปดาห์...

สินค้าเกษตร คือ "น้ำมันบนดิน" ที่สามารถปลูกทกแทนขึ้นมาใหม่ได้ตลอด
บันทึกการเข้า

Şiłąncē Mőbiuş
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,215



เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 21-03-2008, 09:12 »

ใช่ครับ เมื่อเช้าดูรายการเรื่องเล่าฯ ก็เห็นบักยุทธเอามาแนะนำอยู่เหมือนกัน

แบบว่าอยากรู้ด้วยยย 
บันทึกการเข้า



“People should not be afraid of their governments. Governments should be afraid of their people.”

. “ประชาชนไม่ควรกลัวรัฐบาลของตนเอง รัฐบาลต่างหากที่ควรกลัวประชาชน” .

. แวะไปเยี่ยมกันได้ที่ http://silance-mobius.blogspot.com/ นะครับ .
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 21-03-2008, 09:31 »

นายกไปสิงคโปร์ มาเล่าว่ารายได้เค้าสูงกว่าไทย  10 เท่า ไงครับ

พอพวกมีเงินเดือนสูงรายได้เพิ่ม ย่อมมีกำลังซื้อ ไม่ใช่กดพวกแรงงาน หรือพวกมนุษย์เงินเดือนเอาไว้

สุดท้ายมันก็ไปกดราคาสินค้าเกษตรอยู่ดี....

ช่วงนี้ สินค้าเกษตรหลายตัว เอาไปทำน้ำมัน แสดงว่า สินค้าเกษตรก็ขึ้นตามนำมัน

ไม่ใช่เพราะต้นทุนแพง แต่สินค้าเกษตรบางตัวมันสามารถนำไปทำ "พลังงานทดแทน" ได้....

กลายเป็นพืชที่มีทางเลือก...หากโรงงานผลิตพลังงานทดแทนสร้างขึ้นมากๆ

ส่วนที่ต้องใช้มาบริโภค มันก็ต้องแพงตามไปด้วยตามธรรมชาติของกลไกตลาด

หากเพิ่มรายรับของมนุษย์เงินเดือน ชาวบ้านที่ทำการเกษตร ก็มีโอกาสลืมตาอ้าปากได้

หากชาวบ้านหันไปทำพืชพลังงานมากขึ้น ทำพวกพืชเพื่อการบริโภคก็จะลดลง

สินค้าพวกนี้มันจะปรับตัวไปทั่วโลกเอง


โดยเฉพาะ ต้องไปเน้นสินค้าเกษตรที่พัฒนาต่อเนื่องแล้ว ไม่ใช่ส่งข้าวไปเป็นเม็ด ๆ หรือส่งออกสินค้าวัตถุดิบเพียวๆ

พูดง่ายๆ ส่งออกข้าวถุงย่อมมีโอกาสกว่าส่งออกข้าวถัง

ต้องไปทำโรงงานบรรจุถุงในต่างประเทศ และทำตลาดเพิ่มมูลค่าในตลาดผู้บริโภคในต่างประเทศโดยตรง
บันทึกการเข้า

Gu
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 68



« ตอบ #3 เมื่อ: 21-03-2008, 09:53 »

ชอบแนวคิดนี้ครับใช้พื้นที่ทั้งประเทศประมาณ 67ล้านไร่ แบ่งเป็นข้าว25ล้านไร่ ยาง30ล้านไร่ ปลาม์12ล้านไร่ โดยรวมแล้วรายได้เข้าประเทศรวม2แสนล้านบาท โดยต้องให้พื้นที่ที่มีการจัดการน้ำที่ดีปลูกข้าว25ล้านไร่ ถึงจะได้ผลผลิตสูงสุดตามแนวคิดนี้ครับ
บันทึกการเข้า

ชีวิตคือการเดินทางบางครั้งการเดินทางก้อแสนจะยาวนานเกินไปสำหรับชีวิตคนหนึ่งคน
NA-KORN
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 221


« ตอบ #4 เมื่อ: 21-03-2008, 09:57 »

หมักมั่วหรือเปล่า  รายได้สิงคโปร์สูงกว่าเรา 10  เท่า  ถ้าค่าเงินนะอาจใช่ 1 เหรียญแลกเงินไทยได้ประมาณ  10  กว่าบาทจริง ๆ
จะเอาค่าเงินมาเปรียบเทียบกับรายได้มันไม่ถูกต้องนะครับท่านนายก
บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #5 เมื่อ: 21-03-2008, 10:06 »

ไปเจอคอลัมน์ "ท้องอยากปากหิว" ของหนังสือพิมพ์บ้านเมืองพูดถึงเอาไว้นิดหน่อย
ส่วนต้นฉบับทฤษฎี 2 สูง ยังหาไม่เจอนะครับ

http://www.banmuang.co.th/ECONOMIC.ASP?id=136445
------------------------------------------------------------------------------------------------------
คอลัมน์ : ท้องอยากปากหิว : ชื่นชม เจ้าสัวธนินท์
โดย บ้านเมืองออนไลน์     เมื่อเวลา 9:33:00  วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ.2551


          ได้ฟังวิชั่น ของเจ้าสัว-ธนินท์ เจียรวนนท์  ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซี.พี.) พูดเมื่อวันก่อน

          กับทฤษฎี 2 สูง คือ หนึ่งปล่อยให้ค่าครองชีพ ของประชาชนสูงขึ้น และผลักดันให้ราคาสินค้าเกษตรของไทย สูงขึ้น

          ซึ่งเป็นทฤษฎีใหม่ ที่น่าสนใจอย่างสิ่ง เป็นมุมมองของผู้มีประสบการณ์ ที่รัฐบาลน่าจะนำไปคิดว่า จะใช้ประโยชน์ อย่างไรได้

          ส่วนตัวเห็นด้วยอย่างยิ่ง กับทฤษฎี 2 สูง นี้ เพราะนำไปเทียบเคียงกับกลุ่มผู้ผลิตน้ำมัน หรือโอเปก ที่มีอำนาจการต่อรองในเรื่องราคา และการผลิตน้ำมัน

          ไทยควรใช้ศักยภาพของการเป็นประเทศมหาอำนาจด้านการผลิต อาหาร แหล่งใหญ่ ส่งออกไปเลี้ยงประชากรส่วนใหญ่ของโลก

          โดยรัฐบาลต้องเป็นแนวหน้าในการหาพันธมิตร ประเทศผู้ผลิตเช่นเดียวกับไทย
          ผนึกกำลังกันแล้ว สร้างอำนาจการต่อรอง ให้ราคาสินค้าเกษตร
          เป็นแนวคิดที่ดีอย่างยิ่ง   แต่ไม่เคยมีรัฐบาลไหน ลงมือทำให้เป็นจริงเป็นจัง
          อีกประเด็นหนึ่ง  “เจ้าสัว ธนินท์”  มีแนวคิดจะจัดโซนนิ่ง พื้นที่การเกษตร นี่ซิหลักความเป็นจริง มันค่อนข้างยาก

          หากทำจริง ถือเป็นการปฏิวัติ ระบบการผลิตของไทยเลยทีเดียวเชียว
          แต่หากไม่มีการนับหนึ่ง ก็จะไม่มีก้าวต่อไป
          ขึ้นอยู่กับว่า ผู้นำ ยุคไหน รัฐบาลใด จะเป็นผู้ริเริ่มเท่านั้นเอง
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 21-03-2008, 10:20 »

โซนนิ่งเกษตร คงเป็นไปได้ยาก เพราะจะขาดความหลากหลาย

มันจะไปทำลายวิถีวัฒนธรรมอื่นๆ อีกเยอะ คิดว่าแนวคิดนี้คงโดนฝั่งสังคมไม่เห็นด้วยแน่นอน

เอาแค่กำหนดภาพรวมตั้งเป้าหมายการผลิตครบวงจร คงพอได้อยู่
บันทึกการเข้า

เพื่อนร่วมชาติ
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 777


« ตอบ #7 เมื่อ: 21-03-2008, 11:09 »

โซนนิ่งเกษตรจะทำได้ในประเทศเสรีนิยมหรือเปล่า ผมไม่แน่ใจ ถ้าเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ล่ะคงไม่ยาก

แต่ถึงยังไงคนไทยก็มีพฤติกรรมแห่ปลูกตามกันอยู่แล้ว อะไรได้ราคาดีเดี๋ยวก็หามาปลูกกันเอง

วันก่อนผมไปกาญจนบุรี ขนาดทองผาภูมิแล้งและร้อนตับแลบ ไม่น่าเชื่อว่ายังมีคนลงปาล์มน้ำมัน

ความจริงจะว่าโซนนิ่งเป็นเรื่องใหม่ก็ไม่เชิง

ในแผนพัฒนาฯฉบับแรก ๆ เราก็ได้เปลี่ยนการเกษตรเพื่อยังชีพ มาเป็นเกษตรเพื่อขายปริมาณมาก ๆ และศึกษาว่าภาคไหนจังหวัดไหนเหมาะจะปลูกอะไร

และกลายเป็นเกษตรเชิงเดี่ยว ซึ่งมีปัญหาหลายประการตามมา

รวมไปถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม เนื่องจากการตัดไม้และแปรสภาพธรรมชาติขนานใหญ่ จนพื้นที่ชุ่มน้ำและทุ่งหญ้าธรรมชาติแทบไม่เหลือ

แนวคิดโซนนิ่งนี่จะซ้ำรอยแผนพัฒนาฯสมัยก่อนหรือเปล่า ผมยังสงสัยอยู่

ส่วนเรื่องสองสูงนั่น ผมว่าประโยชน์จะตกถึงมือเกษตรกรหรือไม่ ก็อยู่ที่สันดานพ่อค้าสินค้าเกษตร

ซึ่งที่ผ่าน ๆ มาพยายามกดรายจ่ายมาตลอด

พ่อค้าพวกนี้รวยเอา ๆ แต่เกษตรกรหนี้ท่วมหัว

ผมลองนึกเล่น ๆ ว่า สมมุติว่าความคิดนี้ไม่ได้ออกมาจากนายธนินท์...

แต่ออกมาจากนายหมักเมถุน หรือนายเลี้ยบ

เราจะคิดยังไง 

บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 21-03-2008, 11:33 »

ฝั่งพ่อค้าทางการเกษตรกจะรวยขึ้นด้วยไง

เพราะยังไงก็รวยทั้งฝั่งปลูกและฝั่งคนกลาง เลือกหยิบกินได้เลย


เรืองแบบนี้ สมัครคิดไม่ออกหรอกครับ มันแก้ปัญหาในกรอบเดิมๆ

สินค้าแพงก็ทำธงฟ้าออกมา เพื่อบรรเทาคนชั้นกลางไม่ให้เดือดร้อน

เป็นแบบนี้มานาน ฝั่งเกษตรผู้ปลูกของให้กินก็โดนกดราคาไปเรื่อยๆ


กรอบเดิมๆ คือ สินค้าเกษตรต้องไม่แพงไง

สุดท้ายของดีๆ ก็ส่งขายนอก ถวายพระ คนธรรมดาก็ต้องกินของที่ตกชั้น

เพราะไม่กล้ากินของแพงในประเทศ แต่พร้อมจ่ายของแพงจากนอก มันเป็นเช่นนั้น
บันทึกการเข้า

ไม่อยากสมานฉันท์กับคนชั่ว
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 592


เตือนให้นึกถึง Icarus ผู้ไม่ประมาณตน


« ตอบ #9 เมื่อ: 21-03-2008, 19:06 »

ฟังแล้วงงครับ

สินค้าเกษตรราคาสูงขึ้น สูงขึ้นที่จังหวะไหน?  จังหวะชาวนา หรือจังหวะพ่อค้า

เพราะไอ้ราคาสินค้าเกษตรทุกวันนี้  พ่อค้ามันก็รวยกันอยู่แล้ว

หรือว่า ซีพีจะยอมลด profit margin ลง
แล้วไปโปะให้พนักงาน (ค่าครองชีพสูง)
โปะให้สายวัตถุดิบ (สินค้าเกษตรสูง) 

เอางั้นมั้ย?  เริ่มที่ CP ก่อนเลย

บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #10 เมื่อ: 01-04-2008, 11:39 »

ไปเจอกระทู้ของคุณ mthailand ที่ห้องสีลม เว็บพันทิป ถอดจากรายการสรยุทธเมื่อวันที่ 31 มีนา 51
ก็เลยเอามาลงเพิ่มเติมเนื้อหากระทู้นะครับ

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ทฤษฎี “2 สูง” และแนวคิด “น้ำมันบนดิน” ขึ้นราคาสินค้าเกษตรเทียบน้ำมันโอกาส โดยเจ้าสัว ซี.พี.
http://www.pantip.com/cafe/silom/topic/B6476163/B6476163.html

ทฤษฎี “2 สูง” และแนวคิด “น้ำมันบนดิน” ขึ้นราคาสินค้าเกษตรเทียบน้ำมัน
โอกาสรวยของชาวไทยที่ทำได้ทันที

โดยเจ้าสัว ซี.พี. คุณธนินท์ เจียรวนนท์ ในรายการ จับเข่าคุย ดำเนินรายการโดยคุณสรยุทธ สุทัศนะจินดา
ออกอากาศวันที่ 31 มีนาคม 2551 ทางช่อง 3

เลือกถอดบางตอนมาให้อ่านกันครับ เผื่อจะมีความหวังกันขึ้นมาบ้าง
*ในวงเล็บคือคำพูดของคุณสรยุทธ

ต้องขึ้นราคาสินค้าเกษตรตามน้ำมัน น้ำมันขึ้นสูงเท่าไหร่ เราขึ้นสูงกว่าน้ำมันก็ยังได้

…ยุโรปตะวันออกกับตะวันตกนี่คือแพ็กก้อนใหญ่ หรือมอเตอร์ตัวฉุด เป็นตัวเครื่องจักรเศรษฐกิจ เป็นตัวพลังใหญ่ที่พอจะไปทดแทนอเมริกาได้ เดิมหลังสงครามโลกยาวนานมา อเมริกาเป็นมอเตอร์ตัวเดียวของโลก อเมริกาขยับอะไรอย่างไร คนอื่นกระทบหมด อเมริกาดี ดีหมด อเมริกาแย่ คนอื่นแย่หมด แต่ตอนนี้ไม่ใช่อย่างนั้น ยุโรป เอเชีย จีน 1300 ล้านคนกำลังบูม ผมจึงบอกว่าทำไมยาง 150 บาท/กิโล ยังน้อยไป ไม่เพ้อเจ้อ เพราะในโลกนี้มี 3 ประเทศปลูกยางได้ ได้ผลิต 85% ของโลก ถ้าเรา 3 ประเทศนี้ก็คือไทยเป็นที่ 1  อินโดนีเซียที่ 2  มาเลเซียที่ 3  ถ้าเรา 3 ประเทศนี้จับมือเหมือนกับโอเปกขึ้นราคา ขึ้นตามน้ำมัน น้ำมันขึ้นสูงเท่าไหร่ เราขึ้นสูงกว่าน้ำมันก็ยังได้ (พอมันสูงที่อื่นก็มาแย่งเราปลูกสิ) แย่งปลูกไม่ได้เพราะมีข้อจำกัดเรื่องดินฟ้าอากาศ อินเดียกำลังจะใช้รถยนต์อีกแล้ว อินเดียกำลังรวยขึ้น อีก 1000 กว่าล้านคน จริง ๆ แล้วอาจจะเป็นพัน ไม่น้อยกว่าจีนแล้ว และอย่าลืม เรื่อง Hi tech เขามีเยอะกว่าจีน ถ้าอีนเดียบูมเมื่อไหร่ ตลาดใหญ่โต คนร่ำรวย เพราะไปเรื่องไฮเทค เหมือนที่อเมริกา Call Center เอย พวก Software เอยมาใช้อินเดียทั้งนั้นเลย

ถ้าจีนไปซื้ออะไรทั้งโลกนี้ปั่นป่วน เพราะไม่เคยนึกว่ามี 1300 ล้านคน จะมาใช้ของของเขา คือจะผลิตไม่ทันทันที

(ผม ย้อนกลับมาที่จีน คุณธนินท์ใช้คำว่าถ้าจีนซื้อของอะไร สะเทือนทั้งโลก) ถ้าจีนไปซื้ออะไรทั้งโลกนี้ปั่นป่วน เพราะไม่เคยนึกว่ามี 1300 ล้านคน จะมาใช้ของของเขา คือจะผลิตไม่ทันทันที เพราะแต่ละประเทศก็ อย่างอเมริกาก็ 200 กว่าล้านคน ก็ไม่เคยคิดว่าอีก ไม่ต้องว่า 1300 ล้านคน อีก 200 กว่าล้านคนจะมากินหมูของอเมริกา หมูก็ผลิตไม่ทัน เพราะเขาไม่ได้เตรียมว่าจะผลิตอีกเท่าตัวมาขายให้จีน แต่จีนเมือไหร่ซื้อ พลังมหาศาล เพราะฉะนั้นประเทศไทยต้องฉวยโอกาสนี้ ศึกษาประวัติจีนว่าเขาต้องการอะไร ในอนาคตเขาจะขาดอะไร ศึกษาอินเดียให้ลึก ๆ มองอนาคตว่า อินเดียถ้ารวยขึ้นมา แต่ละปีถ้าเขามีเงินมากขึ้นเขาจะซื้ออะไรของโลก ต้องมาศึกษาลึก ๆ แล้ว ยุโรปตะวันออก ยุโรปตะวันตกเรามีอะไรที่จะขายให้เขา

เมืองไทยกำลังจะรวยกับเขาแล้ว ถ้ารัฐบาลเข้าใจว่าเรานี่ก็เป็นประเทศที่มีน้ำมัน แต่น้ำมันอยู่บนดิน ใช้ไม่หมด

(คุณ ธนินท์เคยพูดถึงบราซิลอีกประเทศหนึ่งเป็นเครื่องจักรตัวที่ 5 ของโลก) แล้วก็ยังอีกตัวหนึ่งตัวที่ 6 ญี่ปุ่น + อาเซียน ถ้าอาเซียน อย่างเช่นลองดู อินโดนีเซีย มีทุกอย่างที่เรามี และมีทุกอย่างที่เราไม่มี ถ่านหินก็มี มีทุกอย่างอย่างแก๊ส น้ำมัน ป่าไม้ แล้วยังจะสร้างจะปลูกปาล์ม ปลูกยางได้อีกเยอะ (เขากว้างขวางกว่า คนก็เยอะกว่า) พม่า ทรัพยากรใต้ดินยังไม่ได้ใช้ เวียดนามมีทั้งแก๊สธรรมชาติ มีทั้งน้ำมัน มีทั้งถ่านหินแล้วก็อุดมสมบูรณ์ คนขยัน 80 ล้านคน เมืองไทยกำลังจะรวยกับเขาแล้ว ถ้ารัฐบาลเข้าใจว่าเรานี่ก็เป็นประเทศที่มีน้ำมันนะ แต่น้ำมันอยู่บนดิน ใช้ไม่หมด ถ้าน้ำมันของเราแพงด้วย คนไทยจะไม่รวยได้อย่างไร (อาจจะมีบางคนคิดว่าคุณธนินท์คิดง่าย พูดถึงสินค้าเกษตร น้ำมันใต้ดินก็คือน้ำมันที่โอเปกผลิตนั่นแหละ ตอนนี้ราคาเป็น 100 วันหนึ่งก็ต้องหมด เขาบอกอีกประมาณไม่ถึงร้อยปี แต่น้ำมันบนดินของคุณธนินท์ก็คือสินค้าเกษตร คือคุณธนินท์บอกว่าเราใช้ไม่หมด แต่ก็จะบางคนบอก เราจะทำราคาให้มันเป็นอย่างที่โอเปกเขาทำได้อย่างไรในความเป็นจริงของชีวิต) จริง ๆ แล้วโอเปกเขาก็จับมือกันขึ้นมาครับ

ข้าวคือน้ำมันบนดิน เป็นพลังงานของมนุษย์ เวลานี้เครื่องจักรก็มาแย่งอาหารของมนุษย์แล้ว คนที่ได้รับประโยชน์เต็ม ๆ คือประเทศการเกษตร โดยเฉพาะประเทศไทย

แต่ เที่ยวนี้ คุณสรยุทธ์ลองศึกษาลึก ๆ ในโลกนี้ไม่มีประเทศไหน แม้ว่ารวยแล้วนะ ก็คือประเทศที่ร่ำรวยแล้วนะ อย่างอเมริกาเหลือ 1.5% คนเกษตรกร แต่เขาไม่ยอมให้สินค้าเกษตรเขาถูกลง เราจะไปขายกุ้งถูก เขาไม่เอานะ เขาจับเราไปขึ้นภาษีและก็ให้โควตาทันที บอกว่าทำให้คนเลี้ยงกุ้งขาดทุน ทั้ง ๆ เป็นคนนิดเดียว แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่เกี่ยวกับคน คือกุ้งนี้ก็เป็นทรัพยากรก็เสมือนน้ำมันที่ผลิตจากอเมริกา เราไปขายถูกนี่เขาไม่พอใจนะ อย่าไปนึกว่าเราไปขายถูกเขาดีใจ ไม่ใช่ (ไม่ใช่ใช่ไหมครับว่าเรายิ่งผลิตถูก ๆ เขาจะได้เลิกผลิต แล้วมาซื้อกับเรา) ไม่ ๆ เพราะอะไรที่เขาปลูกได้ เขาต้องพยายามสนับสนุนให้ปลูกและก็ให้ราคาแพง อย่างญี่ปุ่นนี่ แทนที่ญี่ปุ่นเลิกปลูกข้าว มาซื้อข้าวกิโลละ 20 บาท 200 บาท มาซื้อ 20 บาท 10 เท่า ไม่มีวัน เพราะเขาถือว่าเป็นทรัพย์สมบัติของเขา ถือว่าข้าวคือน้ำมันบนดิน เลี้ยงมนุษย์ เป็นพลังงานของมนุษย์ แต่วันนี้พลังงานของเครื่องจักรมันชักจะหมด เวลานี้เครื่องจักรก็มาแย่งอาหารของมนุษย์แล้ว คนที่ได้รับประโยชน์เต็ม ๆ คือประเทศการเกษตร โดยเฉพาะประเทศไทย เรามีข้าวส่งออกใหญ่ที่สุดในโลก อันดับ 1 อันดับ 2 เวียดนาม อันดับ 3 อินเดีย จีนก็เหมือนกันตั้งแต่มีหม้อหุงข้าว ทำให้คนจีนทางเหนือที่กินหมั่นโถวหันกลับมากินข้าว เพราะหมั่นโถวต้องนวด ต้องนึ่ง ขั้นตอนมันเยอะ แต่ดีกว่าหุงข้าวสมัยในก่อน ต้องเฝ้าตลอดเวลา ไม่ได้ทำอย่างอื่น ตั้งแต่มีหม้อหุงข้าว เสียบไฟฟ้าลงไป ไปทำงานจนลืม เปิดฝามายังร้อนอุ่น อร่อยด้วย ชัวร์ แน่นอน (เพราะฉะนั้นกำลังพูดถึงว่าไม่ต้องห่วงน้ำมันบนดิน)

---

ข้าวยังต้องขึ้นราคาอีกให้มันสมดุลกันกับน้ำมัน ประเทศผู้ผลิตสินค้าเกษตรต้องไปจับมือกันก่อน

ยิ่ง แพงยิ่งดี เพราะอะไร ยิ่งแพงก็เหมือนกับ Middle East ถ้าน้ำมันไม่แพง Middle East ก็จน (เรากำหนดได้) เรากำหนดได้ (ยางพารา ช่วงนี้กิโลละ 80) ถ้าจับมือกัน150 อาจจะแพงตามน้ำมัน ทำได้ คนใต้อาจตกใจเลย แล้วเวลานี้ ถ้าดูต่อไร่กำไรมากที่สุดคือยางนะครับ ไม่ใช่ข้าวนะ ฉะนั้นข้าวยังต้องขึ้นราคาอีกให้มันสมดุลกันกับน้ำมัน (ก็แปลว่าประเทศผู้ผลิตสินค้าเกษตรต้องไปจับมือกันก่อน จับมือกันให้ได้ แต่ก็มักจะได้ยิน ขายตัดราคากัน ไทยกับเวียดนามเป็นคู่แข่งคลาสสิกกันเลยนะครับ เรื่องข้าว) ความจริงในประสบการณ์ผมนี่ค้าอาหารสัตว์คือเกือบจะไปทุกประเทศ ค้ามากที่สุด ผมไม่ใช้ตัดราคากัน ผมแบ่งกัน ตลาดมาแชร์กัน ต้องดูคู่แข่ง แล้วเราเป็นพี่เบิ้ม เบอร์ 1 เราขายบาทหนึ่ง เขาก็ขาย 90 กว่า ผู้ซื้อจะบอกว่าเบอร์ 1 ขายบาทหนึ่ง คุณจะมาขายบาทหนึ่งได้อย่างไร ถ้าคุณขายบาทหนึ่ง ผมไปซื้อเบอร์ 1 ดีกว่า อย่างเหมือนกับข้าว ทำไมเราไม่คุยกับเวียดนาม คุณขายก่อนเลยแต่อย่าขายต่ำกว่า 15 บาท เวียดนามเอาแน่นอน ใครที่ไม่อยากเอากำไร (ไม่มีใครอยากขายของถูก) ไม่มี (แล้วไทยจะทำอย่างไร ให้เขาขายก่อนถึงเวลาขายไม่ออกสิ) โอ้โห ออกครับ เราขาย 18 บาทไปเลยที่เหลือ เมื่อเวียดนามหมดแล้ว ถ้าจะซื้อของผม 18 และผมจำเป็นต้องขายให้หมดไหม ที่เหลือนี่ผมได้เงินมากกว่าที่ขายหมด และที่เหลือยังได้ฟรีอีก กลัวอะไร ยังไงเวียดนามเปิดแล้วก็ต้องขาย คนก็หาว่าเราเสียตลาด (ให้เวียดนามไปตีตลาด ต่อไปเราเอาคืนไม่ได้นะ) เราขายบาทหนึ่ง เขาก็ขาย 90 เราขาย 80 เขาก็ขาย 70 เราขาย 60 เขาก็ขาย 50

ข้าวขายในโลกนี้เพียง 5-6% ของความต้องการโลก

(เพราะ ฉะนั้นคุณธนินท์บอกว่าอยู่ที่เราเลย มั่นใจในตัวเองถึงขนาดดูความต้องการของปีนี้เป็นอย่างไร ตั้งราคาเท่าไหร่ บอกเวียดนามเลย คุณขายก่อน แต่อย่าให้ต่ำกว่านี้นะ) โอ้โห เขาจะพอใจมากเลย พี่เบิ้มนี่ใจกว้างเหลือเกิน แต่ความจริงเราได้เปรียบเพราะเรามากกว่าเขา ตลาดถูกแชร์ไป 10-20% จำนวนเราก็ยังมากกว่าเขา เขาก็มีแค่นั้นแหละ เผลอ ๆ วันหนึ่งจะไม่พอ ข้าวของเราต้องเตรียมพร้อม ส่วนหนึ่งต้องเบียดเบียนไปปลูกปาล์ม ปลูกอ้อย (เพราะเป็นน้ำมันได้) ซึ่งย่อมจะดีกว่าข้าว ฉะนั้นราคาข้าวต้องขึ้นให้สู้กับราคาข้าวโพด ยาง ปาล์ม เพราะที่ทำนานี่ปลูกยางก็ดี ปลูกปาล์มก็ได้ ฉะนั้นเราต้องมาดูว่า ปาล์มกับยาง ราคาเท่ากัน ฉะนั้นเราต้องขึ้นข้าวราคาเท่ากัน แล้วข้าวมีโอกาสขึ้นสูงกว่าอีก เพราะจำนวนในโลกนี้เราใหญ่ที่สุด 4-5 ประเทศนี้ รวมทั้งอเมริกา เพียงขายข้าวในโลกนี้ 5-6% ของความต้องการโลก ไม่ใช่ 50-60% นะ เพราะว่าไทยเรามี 7-8 ล้านตัน รวมทั้งอินเดีย 20 กว่าล้านตัน เราเพียง 5-6% ของโลก ยังห่างกันไกล ไม่ใช่ 50-60 นะ 50-60 นี่เหนื่อยนะจะไปขึ้นราคานี่เหนื่อย (คุณธนินท์คำนวณออกมาแล้วว่าปีหนึ่งเราผลิตได้ 8-9 ล้านตันยังไงก็ไม่พอ เพราะฉะนั้นถ้ามั่นใจว่าไม่พอ เราก็สามารถที่จะบอกว่าให้เวียดนามขายก่อน 15 บาท เดี๋ยวฉันขาย 18 บาท แล้วไม่ต้องขายหมด ขายน้อย ๆ แต่ราคาดี) แล้วเราก็เอาข้าวที่เหลือ ตีตลาดใหม่ สร้างตลาดใหม่ ของฟรีนี่  (ให้ลองชิมจะได้ติดใจอย่างนั้นหรอครับ) ถ้าผมจะขายเกาหลีเหนือ เอาข้าวหอมมะลิ เอาของดี กินเข้าไปลื่นคอ ไม่ต้องมีกับมาช่วย ในชีวิตเขาจะจำได้เลย ข้าวไทยทำไมอร่อยอย่างนี้ เมื่อไหร่เกาหลีเหนือรวย เมื่อนั้นก็ต้องมาซื้อข้าวไทยไปบริโภค เหมือนจีน ใคร ๆ ก็รู้จัก ข้าวไทยอร่อยที่สุด ให้ติดใจเลย อย่าไปเอาของไม่ดีไปขายให้เขา เราต้องสร้างตลาดในระยะยาว มองอนาคต ว่าเกาหลีเหนือยังไงก็ต้องรวย ถ้าไม่ไปเซ็นเซอร์เขาแล้วนะ

ต้อง 2 สูง คือ ต้องขึ้นเงินเดือนก่อนเลย ขึ้นสินค้าให้ตามน้ำมัน ถ้าไม่มีงบประมาณไปกู้มาขึ้นเงินเดือนได้เลย แล้วรับรองว่าเราจะได้ภาษีมาคืนได้

…(ของเรามีน้ำมันบนดิน ซึ่งเป็นสินค้าเกษตร ซึ่งตอนนี้เครื่องจักรมาแย่งอาหารแล้วนะครับ คุณธนินท์บอกว่ายกทั้งอันเลยขึ้นมา แล้วต่อไปเขาขึ้นเราก็ขึ้น เขาลงเราก็ลง เป็นทฤษฎีนี้) แล้วรีบขึ้น ปรับเงินเดือนให้สอดคล้องกัน อันนี้ขึ้นมาเท่าไหร่ ตรงนี้ขึ้นมาเท่าไหร่ เพราะตรงนี้เป็นทรัพย์สมบัติของชาติ ต้องเข้าใจตรงนี้ก่อน เป็นทองคำ (มันจะทำได้ทันทีอย่างไรครับ สมมุติเป็นรัฐบาล มีอำนาจ มีบทบาท สมมุติว่าจะทำนี่มันก็ไม่ง่ายนะปฏิรูปการเกษตร) ต้องขึ้นเงินเดือนก่อนเลย ขึ้นสินค้าให้ตามน้ำมัน และก็ขึ้นเงินเดือน ถ้าไม่มีงบประมาณไปกู้มาขึ้นเงินเดือนได้เลย แล้วรับรองว่าเราจะได้ภาษีมาคืนได้ งบประมาณจะไม่ขาดดุล แต่ถ้ายิ่งกดนะ ต่อไปจะขาดดุล กำลังซื้อไม่มี ภาษีไม่ได้ เงินเดือนข้าราชการก็ไม่ต้องขึ้น เอาเงินที่ไหนมาขึ้น (เขาบอกว่าต้องรักษาวินัยการเงินการคลัง อย่าไปเกินตัว อยู่ ๆ จะมาให้ขึ้นเงินเดือนข้าราชการ พอขึ้นเงินเดือนข้าราชการปุ๊บเอกชนต้องตาม แล้วปล่อยให้สินค้าขึ้น อย่าไปแตะต้อง กลไกมันจะขึ้นก็ให้ขึ้นไป หมูจะ 120 ก็ 120 ให้แข่งขันกัน) สนับสนุนให้เกิดแข่งขัน แข่งขันกันมันก็ต้องถูกอยู่แล้ว จริง ๆ แล้วเราไม่ต้อง control เหลือรายเดียวสิ ผูกขาด อันนี้ผิดแล้ว วันนี้อย่างค้าปลีกมีตั้ง 4 รายยักษ์ใหญ่ สู้กันอยู่แล้ว ช่างมัน เรามาเติมข้างนี้ดีกว่า ให้ 2 สูง รัฐบาลจะได้ภาษีมหาศาล การสร้างงานจะเกิดขึ้น ธุรกิจทุกธุรกิจจะกระตุ้น แม้กระทั่งแท็กซี่ก็ยังมีคนไปนั่ง แม่ค้าหาบเร่ทุกอย่างยิ้มแย้มแจ่มใส่หมด (ขึ้นเงินเดือนอย่างเดียว) อย่างเดียว (ก็ฟังดูง่ายนะ) ครับ เอาอย่างนี้ อย่าเชื่อผมดีกว่า คุณสรยุทธ บอกรัฐบาลด้วย ฝาก ๆ ลองย้อนหลังไปดูสิ ญี่ปุ่นเศรษฐกิจเข้าสร้างอย่างไร ถ้าไม่ขึ้นเงินเดือน แล้วทุกคนก็รู้ว่าสินค้าญี่ปุ่นแพงที่สุดในโลก แล้วทำไมเขาอยู่ได้ (แหม ผมก็ตกใจเหมือนกันนะที่คุณธนินท์บอกว่า 2 สูง นี่ทำได้ทันที พรุ่งนี้ก็ทำได้เลย) ทำได้ (ขึ้นเงินเดือนเลย) กู้เงินมาเลย รับรองว่าภาษีจะได้เกินกว่าที่คาด ไม่เชื่อคุณสรยุทธ์ลองตามดู (ใส่เงินเดือนข้าราชการเลย) ใส่เลย สินค้านี่เปิดขึ้นเลย ให้สองตัวนี้มัน balanced กัน ภาษีมูลค้าเพิ่ม ภาษีกำไร การสร้างงาน คึกคัก ผมว่านะตบมือ 2 ข้าง รัฐบาลดัง ลองคิดดูซิว่าปล่อยเงินเข้าไป 7 หมื่นล้าน นายกฯ ทักษิณยังได้ผล กองทุนหมู่บ้าน ๆ ละ 2-3 แสน ถ้าเที่ยวนี้นะสินค้าเกษตรขึ้น มันไม่ใช่ 7 หมื่นล้าน มันเป็นหลายแสนล้าน แล้วถ้าระยะยามตามที่ผมคำนวณ รัฐบาลอาจจะมีคนเก่งทำให้ดีกว่าที่ผมคิดนะ มันเพิ่มขึ้นมาอีกตั้ง 2 จุดกว่าล้านล้าน แล้วภาษีทำไมไม่ขึ้น ภาษีเราจะได้มหาศาล เงินเดือนราชการเราไม่ต้องไปวิตก ถ้าวิตกก็คือชวดเขาเราเงิน เพราะว่าเรา 2 ต่ำ ภาษีเราน้อย ก็ห่วงว่าเอาเงินที่ไหนมาขึ้น นักธุรกิจมันมองเห็น ทำไมผมกล้าไปกู้มา ผมมีทุนอยู่ 1 กู้ 2 ทำไมผมกล้ากู้ เพราะผมเห็นชัดว่าผมกู้มาผมมีเอากลับคืน เหมือนกันครับตรงนี้ผมเห็นชัดเลยครับ กู้มาจ่ายเงินเดือน (คนมีเงินเดือนไปซื้อของ เกษตรกรมีรายได้ดี รายได้ก็ไปซื้อของ) อุตสาหกรรมเกิด บริษัทที่ว่าส่งออกนอกมีปัญหา เผลอ ๆ ไม่ต้องอาศัยต่างประเทศ อาศัยตลาดภายในตั้ง 62 ล้านคน คึกคักกันใหญ่ (คุณธนินท์บอกกับผมก่อนที่จะเข้ามานั่งคุยกัน นี่ไม่ใช่วิกฤติ นี่คือโอกาส ถ้าไม่ทำตอนนี้เสียโอกาส ที่จะทำให้ราคาเกษตรสูงเพราะมันทำง่ายที่สุดแล้วตอนนี้คือ) เพราะอะไร เราเอาเงินมา subsidize ไม่มีทาง เราไม่มีเงินมา subsidize ให้สินค้าเกษตรไทย แต่อเมริกา ยุโรป พวกญี่ปุ่นเนี่ย ถ้าหากว่าสินค้าเกษตรถูกนะ ซื้อแพงไปขายถูก ซื้อแพงไปทิ้งทะเล อย่างนมยุโรปตอนนั้นถูก เขาซื้อแพงแล้วก็ไปย้อมสีมาขายให้ทางเอเชีย ไม่ให้เกษตรเดือดร้อน เพราะเกษตรกรเดือดร้อน ถ้าเกษตรกรมีรายได้หดตัว ก็เท่ากับว่าทั้งประเทศมีรายได้หดตัว เพราะมันเป็นทรัพย์สมบัติของชาติ สินค้าเกษตรญี่ปุ่นแพงทุกตัว แตงแคนตาลูปโลละเท่าไหร่ 100 เหรียญ US ลองไปศึกษา (คือช่วงนี้เป็นช่วงที่สินค้าเกษตรสูงในตัวของมันเพราะว่าเครื่องจักรมาแย่ง อาหาร ข้าวโพด มันสำปะหลัง ปาล์ม อ้อย ช่วงนี้ถ้าทำก็ดันให้ราคาสูงโดยรัฐบาลไม่ต้องไปอุดหนุน ไม่ต้องไปซื้อถูกมาขายแพง มันก็เลยทำง่ายที่สุด) ทำง่ายที่สุด ช่วงนี้เท่านั้น และเป็นโอกาส ผมเห็นสินค้าเกษตรแพงขึ้นทั่วโลก ใช่ ผมเสียหาย ผมต้องซื้อแพงไปขายแพงนี่ขายยาก ซื้อถูก ขายถูก มันขายง่าย  แต่เราต้องมองส่วนร่วม เพราะเราอยู่ในส่วนรวม ส่วนรวมดีเราดีไปด้วย ชั่ว เราเสียหายหนัก (ที่กังวลคือ อย่าไป 2 ต่ำ เงินเดือนต่ำ สินค้าเกษตรต่ำ) หัวใจวายเลยครับ เหมือนกันความดันข้างบนก็ต่ำ ความดันข้างล่างก็ต่ำ สุดท้ายหัวใจหยุด เหมือนจีน 2 ต่ำ สุดท้ายเติ้ง เสี่ยว ผิง ต้องเปลี่ยน...

โปรดติดตามตอนต่อไป วันจันทร์หน้า ช่อง 3 เวลา 22.30 น.

จากคุณ : mthailand - [ 1 เม.ย. 51 05:18:27 ]
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #11 เมื่อ: 01-04-2008, 11:46 »

อีกบทความหนึ่งของ ดร.ศิริยุพา ลงในกรุงเทพธุรกิจ กล่าวอ้างอิงถึงการบรรยายของคุณธนินทร์
ตามคำเชิญของสภาพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติเมื่อวันที่ 6 มี.ค. 51 ที่ผ่านมาครับ
เข้าใจว่าเป็นจุดเืริ่มต้นของการเผยแพร่ "ทฤษฎีสองสูง" และเรื่อง "น้ำมันบนดิน" นะครับ 
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
"น้ำมันบนดิน" ของ ธนินท์ เจียรวนนท์
ผู้นำตามสั่ง Leader A La Carte : รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริยุพา รุ่งเริงสุข 
กรุงเทพธุรกิจ  วันจันทร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2551
http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2008q1/2008march17p9.htm

เร็วๆ นี้นิตยสาร Forbes ได้ตีพิมพ์รายชื่ออภิมหาเศรษฐีติดอันดับโลกประจำปี 2008 ซึ่งหนึ่งในชาวไทยที่ติดอันดับเศรษฐีโลก
คือ เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ กัปตันใหญ่ผู้บริหารนาวาเครือเจริญโภคภัณฑ์นั่นเอง ดิฉันเองเคยเขียนเรื่องนักธุรกิจที่มีชื่อเสียง
และ CEO ระดับโลกมาหลายท่านแต่ยังไม่เคยเขียนเรื่องของคุณธนินท์

ใช่ว่าคุณธนินท์ไม่สำคัญ แต่เป็นเพราะว่ามีคนเขียนเรื่องของท่านมากมายทั้งในรูปบทสัมภาษณ์ บทความ ตลอดจนพอคเก็ตบุ๊ค
เรื่องประวัติชีวิตการทำงานและวิสัยทัศน์ธุรกิจของท่าน

อย่างไรก็ตามวันนี้ขอเขียนถึงท่านสักที เหตุเพราะมีแรงจูงใจมาจากการได้ชมเทปบันทึกการบรรยายของท่าน ตามคำเชิญ
ของสภาพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติเมื่อวันที่ 6 มี.ค. ที่ผ่านมาในหัวข้อเรื่อง "ทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจไทย"
(หากผิดพลาดเรื่องชื่อหัวข้อ หรือวัน เวลาที่จัด ต้องขออภัยเพราะดิฉันมิได้ชมรายการตั้งแต่ต้น) โดยการบรรยายของท่าน
มีประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจและการบริหารคนอยู่หลายประการ ซึ่งดิฉันขอนำมาเล่าให้ฟังในคอลัมน์นี้


น้ำมันบนดิน Vs. น้ำมันใต้ดิน

คุณธนินท์ได้กล่าวถึงทรัพยากรธรรมชาติที่ชาติต่างๆ ล้วนต่างมีและอาจจะหมดไปในไม่ช้า ยกตัวอย่างเช่น ประเทศในกลุ่ม
โอเปคมีน้ำมันอันเป็นทรัพยากรที่หายาก ทั้งนี้ได้มีการวิเคราะห์กันแล้วว่า หากยังมีการขุดเจาะน้ำมันใช้ ในอัตราที่เป็นอยู่
ในปัจจุบัน น้ำมันดิบก็จะหมดจากโลกในอีก 100 ปีข้างหน้า ทั้งนี้กลุ่มโอเปคตระหนักดีว่า น้ำมันที่ตนครอบครองอยู่ย่อม
มีวันหมดไป จึงพยายามกำหนดราคาน้ำมันให้สูงเข้าไว้ เพื่อตักตวงผลประโยชน์ให้ได้มากที่สุดขณะที่ยังมีเวลาอยู่

แต่สำหรับประเทศไทยนั้น เป็นประเทศเกษตรกรรมมีการเพาะปลูกข้าว ยางพาราเป็นอันดับต้นๆ ของโลก นอกจากนี้
เทคโนโลยีในการทำฟาร์มกุ้งก็เป็นอันดับหนึ่งของโลก ผลผลิตทางการเกษตรของเราจึงเปรียบเสมือนเป็น "น้ำมันบนดิน"
ของประเทศไทย ที่ใช้ไม่มีวันหมดหากมีการค้นคว้าวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีทางการเกษตร ดังที่เครือเจริญโภคภัณฑ์
มีนโยบายพัฒนาด้านวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นประเทศไทยจึงควรตระหนักถึงคุณค่าของ "น้ำมันบนดิน"
และพยายามพัฒนาการเกษตรเพื่อยกระดับราคาผลิตผลของเราให้สูงขึ้น จะได้ไปสู้กับราคาน้ำมัน


ปัญหามีไว้ให้แก้ ไม่ใช่เป็นอุปสรรค

คุณธนินท์ได้แสดงความเห็นที่น่าไปขบคิดอีกด้วยว่า ท่านคิดว่า เมืองไทยน่าจะสร้างเขื่อนเพื่อกักเก็บน้ำให้พอ ทั้งนี้
อาจจะมี NGO บางกลุ่มออกมาคัดค้านการสร้างเขื่อนเพราะเกรงว่าจะมีผลกระทบต่อระบบนิเวศวิทยาทำให้ปลาบางชนิด
อาจสูญพันธุ์ไป ในเรื่องนี้คุณธนินท์มีความเห็นว่าเราน่าจะนำเทคโนโลยีมาแก้ปัญหา เช่น ถ้ากลัวว่าปลาชนิดใดจะสูญพันธุ์
ก็ให้เพาะปลาพันธุ์นั้นๆ มาเลี้ยงในเขื่อน ดิฉันฟังไอเดียของคุณธนินท์ก็ออกจะเห็นคล้อยตามอยู่ ส่วนจะทำได้จริงหรือไม่
ขอยกประเด็นนี้ให้ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุวิทยาและสิ่งแวดล้อมไปวิเคราะห์ต่อถึงความเป็นไปได้

แต่สิ่งที่น่าสนใจก็คือ "วิธีคิด" ของคุณธนินท์ต่างหาก ดิฉันชอบตรงที่ท่านเป็น "นักแก้ปัญหา" ตัวยง ในขณะที่หลายคน
มีไอเดียดีๆ อยากจะทำโน่นทำนี่ แต่ติดขัดเพราะเจอคำทักท้วงหรือปัญหา แล้วก็เลยหยุดคิดไม่ทำต่อ แต่ถ้ามีจิตใจเป็นนักสู้
และนักแก้ปัญหาอย่างคุณธนินท์ ก็จะพยายามวิจัยค้นหาว่าจะนำเทคโนโลยีตัวไหนมาแก้ปัญหา หรืออุปสรรคนั้นๆ ให้หมดไป
วิธีคิดแบบนี้น่านิยมเพราะมันจะทำให้มีการค้นคว้าสร้างความรู้และทฤษฎีใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา


คนคือเทคโนโลยีและทรัพยากรที่สำคัญที่สุด

แม้ว่าคุณธนินท์จะให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีมาก แต่คุณธนินท์ยืนยันว่า คนคือเทคโนโลยีที่สำคัญที่สุด เพราะคนเป็น
ผู้สร้างเทคโนโลยีขึ้นมา คนจึงเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุด ดังนั้นทางซีพีจึงมีนโยบายพัฒนา และให้ผลตอบแทนบุคลากร
อย่างคุ้มค่า เพื่อเป็นแรงจูงใจให้คนดีมีฝีมือมีกำลังใจผลิตผลงานที่ดี นอกจากนี้ท่านยังแสดงความเห็นอีกด้วยว่า
"เงินเดือนข้าราชการน้อยไป" ซึ่งดิฉันเห็นด้วยเต็มที่ ดังนั้นจึงยากที่จะจูงใจ และรักษาคนดีๆ ให้ทำงานเป็นข้าราชการ

คุณธนินท์ยกตัวอย่างประเทศจีนในปัจจุบันว่า ขณะนี้เงินเดือนของข้าราชการนั้นพอๆ กับหรืออาจมากกว่าเงินเดือนของ
ผู้ที่ทำงานในบริษัทเอกชนชั้นนำ ซึ่งข้อนี้ดิฉันยืนยัน เพราะตนเองเพิ่งเดินทางไปเซี่ยงไฮ้มา และพบคนจีนที่เซี่ยงไฮ้เล่าว่า
ขณะนี้เงินเดือนของข้าราชการจีนสูงกว่าเงินเดือนของบริษัทต่างชาติอีกแน่ะ!

ไม่ทราบว่ารัฐบาลไทยจะมีความเห็นอย่างไร?
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
login not found
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,523



« ตอบ #12 เมื่อ: 04-06-2008, 12:25 »

ชัดแล้วครับว่าทำไมเจ้าสัวถึงเสนอทฤษฎีนี้ออกมา
เพราะกระเป๋าตัวเองล้วนๆ ไม่ได้หวังจะแก้ปัญหาอะไรให้กับประเทศชาติหรอก

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9510000064447

“พันธุ์ข้าวลูกผสม” จุดเปลี่ยนชีวิตชาวนาไทย??
โดย ผู้จัดการออนไลน์    2 มิถุนายน 2551 19:13 น.
ธนินท์ เจียรวนนท์
   
       ผู้จัดการออนไลน์ - “ไบโอไทย” เปิดผลศึกษาวิเคราะห์ปัญหาพันธุ์ข้าวลูกผสมของเครือซีพี ชี้ผลผลิตไม่ได้เพิ่มสูงดังคำโฆษณา แถมคุณภาพข้าวต่ำกว่า ชาวนาต้องแบกรับภาระต้นทุนสูงขึ้น เผยบริษัทยักษ์ใหญ่เดินเกมผลักดันเชิงนโยบายให้สภาพัฒน์ - กระทรวงเกษตรฯ - ธ.ก.ส. เกื้อหนุนธุรกิจของบริษัทเพื่อครอบครองตลาดพันธุ์ข้าวลูกผสมอย่างแยบยล ซึ่งมีผลต่อการผันเปลี่ยนชีวิตและชะตากรรมของชาวนาไทยในอนาคต
       
       วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ และ จักรกฤษณ์ พูลสวัสดิ์กิติกุล นักวิจัย มูลนิธิชีววิถี (ไบโอไทย - BioThai) แถลงผลการศึกษา “รายงานวิเคราะห์ปัญหาของพันธุ์ข้าวลูกผสม ศึกษากรณีพันธุ์ข้าวลูกผสมของบริษัทเจริญโภคภัณฑ์” ซึ่งใช้เวลาระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2551 สำรวจผลผลิตของการปลูกข้าวลูกผสมโดยลงพื้นที่เก็บข้อมูล สัมภาษณ์เกษตรกร ศึกษาสมุดบันทึกรายละเอียดการปลูกข้าวลูกผสมซึ่งเป็นคู่มือที่บริษัทใช้ติดตามงานของทีมส่งเสริมของบริษัทในพื้นที่ โดยได้สุ่มคัดเลือกชาวนาที่ปลูกข้าวลูกผสมของซีพีรวม 9 ราย ที่ปลูกข้าวนาปรังในฤดูการผลิต 2550-2551 ในจังหวัดกำแพงเพชร และอุตรดิษฐ์
       
       จากการวิจัยภาคสนาม พบตัวเลขของผลผลิต ต้นทุนการผลิตต่างๆ โดยสรุปได้ว่า ผลผลิตเฉลี่ยของชาวนาที่ปลูกข้าวลูกผสมจะได้ผลผลิตเฉลี่ย 958 กิโลกรัม/ไร่ เมื่อเปรียบเทียบผลผลิตที่อ้างโดยซีพีในการแถลงข่าวและให้สัมภาษณ์หลายครั้งที่บอกว่าข้าวลูกผสมของซีพีสามารถให้ผลผลิตสูงถึง 1,500 กิโลกรัม/ไร่ จะพบว่าผลผลิตที่ได้ในทางปฏิบัตินั้น ต่ำกว่าที่ซีพีโฆษณาถึง 36% ในขณะเดียวกัน การศึกษาในพื้นที่พบว่าต้นทุนการผลิตข้าวลูกผสมนั้นสูงเฉลี่ย 4,462 บาท/ไร่ โดยสัดส่วนของค่าเมล็ดพันธุ์และปักดำนั้นสูงถึงร้อยละ 38 ของต้นทุนการทำนาทั้งหมด
       
       ผลการศึกษาครั้งนี้ คณะผู้วิจัย ได้วิเคราะห์ประโยชน์ของข้าวลูกผสมตกอยู่ที่บริษัท แต่ผลกระทบตกอยู่ที่เกษตรกรและภาคเกษตรกรรมไทยโดยรวม กล่าวคือ
       
       *** 1) ผลผลิตของข้าวลูกผสมสูงกว่าผลผลิตข้าวทั่วไปเล็กน้อยไม่คุ้มค่ากับต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น
       
       จากผลการศึกษา ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าผลผลิตข้าวลูกผสมเมื่อเปรียบเทียบกับข้าวทั่วไป ภายใต้ปัจจัยแวดล้อมเดียวกัน(โดยไม่คิดการเพิ่มขึ้นของปุ๋ยเคมี และสารเคมีกำจัดศัตรูพืช) จะให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นประมาณ 15 % กล่าวคือผลผลิตข้าวต่อไร่ของชาวนาที่ทำการศึกษานั้นมีผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 810 กิโลกรัม/ไร่ ในขณะที่ผลผลิตข้าวลูกผสมของซีพีนั้นสูงกว่า โดยได้ผลผลิตเฉลี่ย 958 กิโลกรัม/ไร่
       
       อย่างไรก็ตามผลผลิตข้าวที่สูงขึ้นนั้น ไม่คุ้มค่ากับต้นทุนที่เกษตรกรต้องจ่ายเพิ่มขึ้น โดยค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่คือค่าใช้จ่ายสำหรับค่าเมล็ดพันธุ์และปักดำซึ่งสูงถึง 1,700 บาท/ไร่ ไม่ว่าเกษตรกรจะเลือกวิธีการปลูกโดยการหว่านเมล็ดหรือปักดำก็ตาม (ในขณะที่ต้นทุนการทำนาโดยทั่วไปค่าใช้จ่ายสำหรับเมล็ดพันธุ์นั้นอยู่ที่ 300 บาท/ไร่ เท่านั้น) สัดส่วนค่าใช้จ่ายสำหรับเมล็ดพันธุ์นั้นมีสัดส่วนสูงเกือบ 40% ของต้นทุนการทำนาทั้งหมด
       
       นอกเหนือจากค่าใช้จ่ายด้านเมล็ดพันธุ์แล้ว ชาวนาส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมโครงการปลูกข้าวลูกผสมยังต้องเสียค่าใช้จ่ายสำหรับค่าปุ๋ยเคมี สารเคมีการเกษตร และผลิตภัณฑ์อื่นๆเพิ่มเติมมากกว่าการปลูกข้าวทั่วไปอีกด้วย
       
       จากการเปรียบเทียบการปลูกข้าวลูกผสมในปีการผลิต 2551 กับการปลูกข้าวพันธุ์พิษณุโลก 2 และสุพรรณ 4 ของชาวนาใน ต. พญาแมน อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิษฐ์ ในปีการผลิต 2550 พบว่าต้นทุนในการทำนาข้าวลูกผสมสูงกว่าเกือบ 2 เท่าตัว และได้ผลกำไรน้อยกว่ามาก
       
       กล่าวคือ แปลงนาที่ปลูกข้าวลูกผสม มีต้นทุนต่อไร่ ดังนี้ ค่าพันธุ์ 1,500 บาท เตรียมพื้นที่ 360 บาท สูบน้ำ 200 บาท ปุ๋ย 850 บาท สารเคมี 600 บาท ค่าแรง 200 บาท เก็บเกี่ยว 400 บาท ขนส่ง 100 บาท รวม 4,210 บาท ได้ผลผลิตต่อไร่ 980 กก. รายได้ต่อไร่ 5,684 บาท รายได้สุทธิ 1,474 บาท
       
       ส่วนแปลงนาที่ปลูกข้าวทั่วไป มีต้นทุนต่อไร่ ดังนี้ ค่าพันธุ์ 300 บาท เตรียมพื้นที่ 360 บาท สูบน้ำ 200 บาท ปุ๋ย 425 บาท สารเคมี 300 บาท ค่าแรง 200 บาท เก็บเกี่ยว 400 บาท รวม 2,285 บาท ผลผลิตต่อไร่ 800 ก.ก. รายได้ต่อไร่ 4,640 บาท รายได้สุทธิ 2,355 บาท/ไร่
       
       จากการสอบถามชาวนาในพื้นที่พบว่าประมาณ 20-30% ของชาวนาจะเลิกการปลูกข้าวลูกผสม โดยเหตุผลส่วนใหญ่คือต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นและต้องดูแลตามขั้นตอนต่างๆที่บริษัทกำหนด ในขณะที่ชาวนาส่วนที่เหลือยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะปลูกข้าวลูกผสมต่อไปหรือหันกลับไปปลูกพันธุ์ข้าวแบบเดิม โดยขึ้นอยู่กับเงื่อนไขอื่นๆ เช่น ราคาข้าว ราคาของปัจจัยการผลิตต่างๆ เป็นต้น
       
       *** 2) คุณภาพของข้าวลูกผสมต่ำกว่าข้าวสายพันธุ์อื่นๆ
       
       มีเกษตรกรหลายรายในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร ได้นำข้าวลูกผสมซีพี 304 ไปสีและหุงรับประทาน พบว่า เป็นข้าวที่มีคุณภาพต่ำมาก กล่าวคือแข็งและรับประทานไม่อร่อย ตรงกับข้อสรุปของกรมการข้าวของไทย ที่ได้ข้อสรุปว่า ข้าวลูกผสมเท่าที่มีการพัฒนาขึ้นในประเทศไทยนั้นเป็นข้าวคุณภาพต่ำ เหมาะกับการเอาไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่น เช่น แนะนำให้ใช้สำหรับการแปรรูปในอุตสาหกรรมต่างๆ หรือการผลิตเอธานอล เป็นต้น ซีพีเองที่รับซื้อผลผลิตข้าวลูกผสมจากเกษตรกรก็นำไปแปรรูปเป็นข้าวนึ่ง ซึ่งเป็นข้าวคุณภาพต่ำ ตลาดส่วนใหญ่อยู่ในประเทศแอฟริกา
       
       ปัญหาข้าวลูกผสมจะเป็นปัญหาสำหรับทั้งต่อเกษตรกรและต่อตลาดข้าวของไทยในอนาคต เนื่องจากในขณะนี้เกษตรกรขายข้าวลูกผสมในราคาข้าวทั่วไป แต่ในระยะยาวเมื่อมีการปลูกข้าวลูกผสมมากขึ้น ข้าวคุณภาพต่ำเหล่านี้จะมีราคาต่ำกว่าข้าวทั่วไป
       
       ที่สำคัญคือเมื่อข้าวลูกผสมเหล่านี้ผสมปนกับข้าวขาวทั่วไปของไทยโดยไม่แยกแยะเป็นชั้นพันธุ์ข้าวอีกระดับหนึ่ง จะส่งผลให้คุณภาพข้าวจากประเทศไทยซึ่งได้ชื่อว่าเป็นตลาดข้าวคุณภาพดีได้รับผลกระทบ สร้างความเสียหายให้กับตลาดข้าวทั้งหมดในที่สุด
       
       *** 3) การผูกขาดเมล็ดพันธุ์โดยบริษัทยักษ์ใหญ่การเกษตรและบรรษัทข้ามชาติในระยะยาว
       
       ข้าวลูกผสมเป็นพันธุ์ข้าวที่ชาวนาไม่สามารถเก็บรักษาพันธุ์ไปปลูกต่อได้เหมือนพันธุ์ข้าวแบบผสมเปิด(open pollinated seed) ทั่วไป ชาวนาจะต้องซื้อพันธุ์ข้าวซึ่งมีราคาแพงจากบริษัทในทุกฤดูการผลิต เป็นการผลักดันให้เกษตรกรต้องพึ่งพาบริษัทในท้ายที่สุด
       
       โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเมล็ดพันธุ์ข้าวทั่วไปถูกแทนที่ด้วยพันธุ์ข้าวลูกผสมทั้งหมด โดยที่ภาครัฐไม่สามารถดำเนินการเพื่อคานอำนาจการผูกขาดบริษัทได้ เนื่องจากการผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสมนั้นมีความยุ่งยาก และต้องอาศัยการจัดการที่มีประสิทธิภาพเกินกว่าที่ระบบราชการไทยจะดำเนินการได้
       
       ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดก็คือ ลำพังแม้แต่การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวทั่วไปซึ่งมีความต้องการเมล็ดพันธุ์ข้าวประมาณ 1 ล้านตันต่อปีนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์สามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ได้เพียง 60,00-70,000 ตันต่อปีเท่านั้น
       
       บทเรียนจากการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดลูกผสม น่าจะเป็นกรณีศึกษาที่สำคัญของไทย เพราะในที่สุดแล้ว ข้าวโพดลูกผสมคุณภาพดีสุวรรณ 1 ได้ถูกยึดครองโดยบริษัทยักษ์ใหญ่การเกษตรและบรรษัทข้ามชาติแทบทั้งหมด ตลาดข้าวโพดถูกผูกขาด เมล็ดพันธุ์มีราคาแพง จนเกษตรกรต้องร้องเรียนต่อกรมการค้าภายในอยู่เนืองๆ
       
       นอกเหนือจากการผูกขาดเมล็ดพันธุ์แล้ว บริษัทเจริญโภคภัณฑ์ยังมีชื่อเสียงในการดำเนินการระบบการผลิตการเกษตรแบบพันธสัญญา (Contract Farming) ซึ่งนอกจากการขายเมล็ดพันธุ์แล้ว ยังรวมไปถึงปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ยเคมี สารเคมีการเกษตร และบริการอื่นๆ เช่น การให้บริการดำนา เก็บเกี่ยว รวมถึงการรับซื้อผลผลิตทางการเกษตรด้วย ในแง่นี้ก็มีความเป็นไปได้ที่บริษัทจะเข้ามามีบทบาทครอบงำการผลิตและการตลาดข้าวของประเทศ เช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นในสาขาการผลิตกุ้ง ไก่ หรือการเลี้ยงปลาทับทิม
       
       สิ่งที่สังคมควรตระหนักก็คือ ประเทศไทยนั้นเป็นดินแดนที่มีการปลูกข้าวมาช้านาน มีความหลากหลายของพันธุ์ข้าวซึ่งเกิดจากชุมชนชาวนาได้คัดเลือกปรับปรุงมารุ่นแล้วรุ่นเล่า แม้ผลผลิตข้าวพื้นบ้านต่อไร่จะไม่สูงนักแต่ก็เป็นข้าวคุณภาพดี ตอบสนองต่อการบริโภคภายในประเทศ และเป็นที่ยอมรับของตลาดต่างประเทศ การปล่อยให้บรรษัทยึดครองเมล็ดพันธุ์ข้าว จะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรและความมั่นคงทางอาหารของประเทศในที่สุด
       
       *** 4) ความร่วมมือระหว่างภาครัฐที่เอื้ออำนวยประโยชน์ต่อบริษัทการเกษตร
       
       ที่จริงแล้วกรมการข้าวของไทยมีจุดยืนที่ชัดเจนว่า จะไม่สนับสนุนหรือส่งเสริมข้าวลูกผสมในประเทศไทย เนื่องจากเห็นว่าคุณภาพของข้าวชนิดนี้สู้ข้าวทั่วไปไม่ได้ และปัญหาเกี่ยวกับขั้นตอนความยุ่งยากในการผลิตเมล็ดพันธุ์ โดยบทบาทของกรมเกี่ยวกับข้าวลูกผสมนั้น เป็นการวิจัยเพื่อให้เท่าทันการพัฒนาเทคโนโลยีในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวและเพื่อเป็นการเตรียมการในกรณีที่เกษตรกรให้การยอมรับข้าวลูกผสมในอนาคต เพื่อที่จะสร้างทางเลือกให้กับเกษตรกรเท่านั้น
       
       อย่างไรก็ตาม ภายใต้สถานการณ์วิกฤติเรื่องอาหาร-วิกฤติพลังงานนั้น นายธนินทร์ เจียรวรานนท์ ประธานบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ได้เสนอความคิดที่จะให้มีการลดพื้นที่ปลูกข้าวจาก 62 ล้านไร่ ให้เหลือ 25 ล้านไร่ และที่เหลือให้ใช้สำหรับการปลูกยางอีก 30 ล้านไร่ และปลูกปาล์มเพิ่มอีก 12 ล้านไร่ ทั้งนี้โดยเสนอให้รัฐบาลใช้พันธุ์ข้าวที่มีผลผลิตสูงเพื่อทดแทนพื้นที่ปลูกข้าวที่ลดลง โดยสามารถปลูกข้าวได้ปีละ 3 ครั้ง เพื่อให้ได้ผลผลิตข้าวเท่ากับพื้นที่ปลูกที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งก็คือการเสนอให้ปลูกข้าวลูกผสมของตนนั่นเอง
       
       ข้อเสนอของประธานบริษัทซีพี ได้รับการขานรับจากนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรของไทย รวมทั้งได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สภาพัฒน์ ซึ่งอาจทำให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายของกรมการข้าวและนโยบายของรัฐบาลภายในระยะเวลาไม่นาน
       
       ดังเป็นที่ทราบกันว่า ซีพีมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับสถาบันต่างๆอย่างใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมือง ทหาร ข้าราชการระดับสูง สถาบันการศึกษา ฯลฯ เพราะแม้แต่ภริยาของนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันก็เป็นอดีตผู้บริหารระดับสูงของซีพี รายการทีวีเกี่ยวกับอาหารของนายสมัคร สุนทรเวช ก็มีบริษัทนี้เป็นผู้สนับสนุนหลักของรายการ
       
       จากการสำรวจข้อมูลในพื้นที่ พบว่า กลไกของรัฐในระดับพื้นที่ เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในระดับจังหวัด ได้ชักชวนให้เกษตรกรเข้าร่วมโครงการปลูกข้าวลูกผสมโดยหลายๆวิธีการ เช่น เป็นเงื่อนไขในการอนุมัติเงินกู้ของธนาคาร นำพันธุ์ข้าวลูกผสมพร้อมกับปุ๋ยเคมีและปัจจัยการผลิตไปแจกจ่ายแก่เกษตรกรดีเด่นระดับจังหวัด โดยทำหน้าที่เสมือนเป็นเจ้าหน้าที่ส่งเสริมของบริษัทเจริญโภคภัณฑ์
       
       ไม่น่าแปลกใจที่กลไกของรัฐได้ทำหน้าที่สนับสนุนการส่งเสริมข้าวลูกผสมอย่างแข็งขันขนาดนี้ ทั้งนี้เนื่องจาก นายมนตรี คงตระกูลเทียน ประธานคณะผู้บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เคยดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรหลายสมัยติดต่อกัน
       
       แม้จากการวิเคราะห์และการศึกษาในพื้นที่จริงพบว่า ข้าวลูกผสมไม่เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรและมีผลกระทบต่อตลาดข้าวของไทย แต่อิทธิพลของซีพีในแวดวงการเกษตรและการเมือง รวมทั้งกลไกของรัฐในระดับท้องถิ่นนั้น มีโอกาสที่นโยบายเรื่องการปลูกข้าวของประเทศไทยจะเปลี่ยนไป โดยหันไปสนับสนุนส่งเสริมข้าวลูกผสมมากขึ้น และผลักดันให้เกษตกรเปลี่ยนวิถีการปลูกข้าวสายพันธุ์ทั่วไปมาเป็นสายพันธุ์ข้าวลูกผสมของซีพี ทั้งๆที่ผลประโยชน์จากการผลักดันข้าวโพดลูกผสมนั้น คือบริษัทเจริญโภคภัณฑ์และพันธมิตรบรรษัทข้ามชาติ เช่น มอนซานโต้ และซินเจนต้า เป็นต้น
       
       ////////////////////////////
       
       ธุรกิจพันธุ์ข้าวลูกผสมของเครือซีพี
       
       บริษัทเจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์จำกัด (ซีพี.) ได้ก่อตั้งกลุ่มธุรกิจพืชครบวงจรขึ้นในปี พ.ศ. 2522 ปัจจุบันกิจการกลุ่มพืชครบวงจรมีสินค้าหลากหลายสำหรับสนองความต้องการของตลาด ได้แก่ เมล็ดพันธุ์ เครื่องจักรกล ข้าว สินค้าเกษตรแปรรูป กล้วยไม้ ชา ไวน์ ผลไม้แปรรูปและสด กล้ายาง เมล็ดพันธุ์ข้าวลูกผสมซีพี
       
       ในปี พ.ศ. 2548 กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจรมีรายได้ 4,000 ล้านบาท และในปี พ.ศ. 2549 มูลค่ายอดขายเติบโตเพิ่มขึ้นเป็น 4,500 ล้านบาท ผลงานความสำเร็จด้านธุรกิจของบริษัทเจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ ด้านพืชไร่ ข้าวโพดถือเป็นพืชที่สร้างรายได้จำนวนมากให้กับบริษัท โดยปัจจุบัน ข้าวโพดของซีพี มีการจัดจำหน่ายทั้งในประเทศและทั่วเอเชีย
       
       ข้าวลูกผสม ถือว่าเป็นธัญพืชอีกชนิดที่เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ให้ความสนใจ โดยอาศัยงานทดลองจากจีนเป็นต้นแบบ โดยความร่วมมือของนักวิชาการจากจีน และสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ ฟิลิปปินส์ สำหรับตลาดเมล็ดพันธุ์ข้าวลูกผสม กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร ได้ตั้งเป้าหมายที่จะก้าวไปสู่การเป็นผู้นำตลาดเมล็ดพันธุ์ข้าวลูกผสมอย่างครบวงจรในระดับสากล โดยได้เริ่มโครงการข้าวครบวงจรขึ้นในปี พ.ศ. 2537 โดยดำเนินการวิจัย ณ ฟาร์มกำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร
       
       จากข้อมูลของบริษัท ปัจจุบันซีพีมีพันธุ์ข้าวลูกผสมที่พร้อมเผยแพร่แล้วจำนวน 3 สายพันธุ์คือข้าวลูกผสมพันธุ์ CP 304 เป็นพันธุ์ ข้าวเจ้าเกิดจากการผสมระหว่างข้าวอินดิกา (Indica) กับอินดิกา ณ สถานีวิจัยข้าวฟาร์มกำแพงเพชร และทดสอบโดยงานวิจัยข้าวลูกผสมเมื่อ ปี พ.ศ. 2545 ข้าวลูกผสมพันธุ์ CP 357 เป็นพันธุ์ ข้าวเจ้าเกิดจากการผสมระหว่างข้าวอินดิกา (Indica) กับอินดิกาเช่นเดียวกับซีพี 304 ณ สถานีวิจัยข้าวฟาร์มกำแพงเพชร และทดสอบโดยงานวิจัยข้าวลูกผสมเมื่อ ปี พ.ศ. 2547 และข้าวลูกผสมคือ ซีพี77 เป็นเมล็ดพันธุ์ที่พัฒนาและจัดจำหน่ายในประเทศจีน
       
       ***ทุ่มส่งเสริมการขาย
       
       ซีพี ส่งเสริมการขายข้าวลูกผสมโดยจัดทำโครงการ "ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ซีพี" ขึ้นเพื่อนำร่องการส่งเสริมข้าวลูกผสม โดยมีแผนจัดสร้างศูนย์ดังกล่าวจำนวน 15 แห่งในปี 2551 ครอบคลุมพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลาง ได้แก่ ชัยนาท นครสวรรค์ พิษณุโลก แพร่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน พะเยา นครราชสีมา พิจิตร ฯลฯ
       
       จากการศึกษาภาคสนามพบว่า ซีพีดำเนินการส่งเสริมข้าวลูกผสม โดยจัดทำนิทรรศการเพื่อเชิญชวนชาวนาให้เข้าร่วมโครงการในงานต่างๆ ของจังหวัด รวมถึงในระดับหมู่บ้าน ชาวบ้านที่สนใจจะถูกส่งไปสัมมนา และเมื่อตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ ก็จะมีทีมงานเข้าไปแนะนำเทคนิคการทำนาเป็นระยะๆ
       
       ซีพี แนะนำให้ชาวนาปลูกข้าวแบบปักดำ และใช้บริการรถปักดำของบริษัท โดยคิดค่าบริการรวมค่าพันธุ์ข้าวและค่าเครื่องจักรปักดำ 1,600 บาท/ไร่ แต่หากจะปลูกแบบหว่านก็ได้ โดยบริษัทจะขายเมล็ดพันธุ์ให้ในระดับราคากิโลกรัมละ 150 บาท พร้อมทั้งขายผลิตภัณฑ์อื่นๆควบคู่ไปด้วย เช่น การใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ "วีโก้" และสารกำจัดศัตรูพืช "วูการ์" ในการกำจัดโรค เป็นต้น
       
       จากการลงพื้นที่เพื่อทำการศึกษาข้อมูลในจังหวัดกำแพงเพชร พบว่าข้าวลูกผสมของซีพียังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก แม้ว่าจะมีการเริ่มทำการตลาดมาแล้ว 3 ปี โดยเห็นได้จากการมีที่จำหน่ายเมล็ดพันธุ์เพียงแห่งเดียวเท่านั้นในจังหวัดกำแพงเพชร และจะต้องทำการสั่งซื้อ ทางศูนย์จะไปรับมาให้จากโรงงานซึ่งต้องใช้เวลา 2-3 วันจึงจะได้เมล็ดพันธุ์ โดยโรงงานผลิตเมล็ดพันธุ์ตั้งอยู่ที่จังหวัดชัยนาท
       
       ในการปลูกข้าวลูกผสม ชาวนาจะเป็นผู้ลงทุนในเรื่องต่างๆ ทั้งหมด ซีพีเป็นฝ่ายสนับสนุนปัจจัยการผลิตให้ทั้งหมด และให้คำแนะนำด้านเทคนิค ในกรณีที่เกษตรกรไม่มีเงินก็สามารถทำสัญญากับบริษัทเอาไว้ล่วงหน้า เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตและขายผลผลิตได้แล้วค่อยหักต้นทุนคืนกลับบริษัท ซีพีจะรับซื้อข้าวที่เก็บเกี่ยวได้ทั้งหมด โดยรับประกันราคาขั้นต่ำ 6 บาท/กิโลกรัม
       
       จากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ของบริษัทระบุว่า ข้าวที่ได้จะส่งไปที่ โรงสีหวังดี อำเภอบรรพตวิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ทำการสีและทำเป็นข้าวนึ่ง แต่เกษตรกรจะนำไปขายเองกับโรงสีเองก็ได้
       
       ซีพีได้จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการตลาด ได้แก่ โครงการแชมป์เกษตรกรผู้ปลูกข้าวพันธุ์ลูกผสม ปี 2551 (Champion Farmer) เพื่อลุ้นทองคำหนัก 1 บาท โดยการรับสมัครเกษตรกรเข้าร่วมโครงการแชมป์เกษตรกรผู้ปลูกข้าวพันธุ์ลูกผสม ผู้ชนะจะได้รับสร้อยคอทองคำหนัก 1 บาท มีการกำหนดเงื่อนไขผู้สมัคร ว่าต้องเป็นเกษตรกรที่สมัครเข้าร่วมโครงการแชมป์เกษตรกรผู้ปลูกพันธุ์ข้าวลูกผสมมีพื้นที่เพาะปลูกพันธุ์ข้าวลูกผสมอย่างน้อยพันธุ์ละ 3 ไร่ขึ้นไปมีการเชิญเจ้าหน้าที่จาก ธ.ก.ส - เกษตรอำเภอ / จังหวัด ตัวแทนกลุ่มเอเย่นต์ ตัวแทนกลุ่มเกษตรกร ตัวแทนบริษัทร่วมเป็นสักขีพยาน และเป็นคณะกรรมการ
       
       สำหรับเกษตรกรที่ได้รับรางวัลในฐานะแชมป์เกษตรกรผู้ปลูกข้าวลูกผสมเขตภาคเหนือฤดูการผลิต 2549/2550 ได้แก่ นายสมหวัง แหน่งฮวบ เป็นเกษตรกรที่ทำนาปีละ 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 เดือน ม.ค. – เม.ย. ใช้พันธุ์ข้าวสุพรรณบุรี 1 ,ชัยนาท1 ผลผลิตเฉลี่ย 850 กิโลกรัม/ไร่ (ปี 49/50 ได้ผลผลิต 700 กิโลกรัม/ไร่) ครั้งที่ 2 เดือน ส.ค. – พ.ย. ใช้พันธุ์ข้าวสุพรรณบุรี 1, พิษณุโลก 2 ผลผลิตเฉลี่ย 1,000 กิโลกรัม/ไร่ ในฤดูการผลิต 49/50 เดือน ม.ค. – เม.ย. 50 ที่ผ่านมา มีเจ้าหน้าที่ของบริษัทเจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด มาแนะนำพันธุ์ข้าวลูกผสม ซีพี 304 จึงได้สมัครเข้าร่วมโครงการแชมป์เกษตรกร โดยปลูกข้าวพันธุ์ ซีพี304 ปลูกบนพื้นที่ 4 ไร่ เริ่มปลูกเมื่อวันที่ 27 ม.ค.50 และเก็บเกี่ยวเมื่อวันที่ 29 เม.ย.50 รวมอายุข้าวได้ 92 วัน หลังจากเก็บเกี่ยวแล้วได้ผลผลิตสูงถึง 1,520 กิโลกรัม/ไร่ ( ที่ความชื้น 22 % )
       
       จะเห็นได้ว่าแนวทางการจัดประกวดนี้ถือเป็นกลยุทธ์ด้านการตลาดเพื่อส่งเสริมการขายเมล็ดพันธุ์ที่ทางซีพีได้เคยประสบผลสำเร็จแล้วในการกระตุ้นให้คนหันมาสนใจเลี้ยงไก่ให้มากยิ่งขึ้น เมื่อสมัยที่ซีพีเริ่มดำเนินธุรกิจการเลี้ยงไก่ใหม่ๆ ด้วยการหาทางส่งเสริมคนเลี้ยง ด้วยการประกวดไก่ตอนที่มีน้ำหนักดี มีการเลี้ยงแข่งขัน มีรายการชิงโชค มีรายการจับฉลาก แจกรางวัล ใครเลี้ยงโตเร็วที่สุด น้ำหนักมากที่สุดก็ได้รางวัล โดยใช้อาหารสำเร็จรูปเลี้ยงไก่ ทุกปีมีรายการชิงโชคคนเลี้ยงและวงการไก่ก็คึกคักขึ้นมา
       
       ****โฆษณาข้าวลูกผสมซีพี 304
       
       ซีพี จัดทำเอกสารเผยแพร่ข้าวลูกผสมพันธุ์นี้ออกแจกจ่ายแก่เกษตรกร โดยระบุว่า เป็นเมล็ดพันธุ์ที่มีศักยภาพสามารถให้ผลผลิตสูงได้ถึง 1,600 ก.ก./ไร่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการจัดการของเกษตรกรในแปลงนาที่ถูกต้องตามคำแนะนำของบริษัท และปลูกอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ข้อดีของพันธุ์ข้าวลูกผสม มีดังนี้
       
       -ข้าวลูกผสม ซีพี 304 ให้ ผลผลิตข้าวสูงกว่าข้าวสายพันธุ์ทั่วไปประมาณ 20-50 % โดยปลูกในสภาพแวดล้อมเดียวกัน
       -ข้าวลูกผสม ซีพี 304 ไม่มีพันธุ์ปน ระบบรากมีความแข็งแรงและแผ่กระจายมากกว่า
       -ข้าวลูกผสม ซีพี 304 จำนวนเมล็ดต่อรวงมาก
       -สำหรับการผลิตข้าวเชิงการค้า ข้าวลูกผสม ซีพี 304 ให้ผลตอบแทนที่มากกว่าข้าวสายพันธุ์แท้
       -เป็นวิธีการเพิ่มผลผลิตข้าวโดยไม่ต้องขยายพื้นที่ปลูก
       -เป็นการลดการใช้สารเคมีเมื่อปลูกข้าวลูกผสมที่ต้านทานโรคและแมลงศัตรูข้าว
       -ประหยัดการใช้น้ำและเพิ่มรอบการปลูก เมื่อปลูกข้าวลูกผสมอายุสั้น
       
       ////////////////////////////////////////////
       
       2551 ดีเดย์ปูพรมส่งเสริมข้าวลูกผสม
       
       ประเทศไทย เริ่มงานวิจัยและพัฒนาข้าวลูกผสมในปี พ.ศ. 2522 โดยกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยมีข้าวพันธุ์ที่อยู่ระหว่างการศึกษาวิจัย 2 ชุด คือ
       
       ชุดแรก เป็นพันธุ์ลูกผสมสามทาง เป็นชุดที่ผ่านการศึกษาเปรียบเทียบผลผลิตกับพันธุ์ข้าวมาตรฐานของไทย 4 สายพันธุ์ คือ ปทุมธานี 1 กข.31 (ปทุมธานี80) สุพรรณบุรี 2 และ SPR88096 ที่ศูนย์วิจัยข้าว 4 แห่ง ซึ่งให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์มาตรฐาน 20-30 % หรือที่ระดับผลผลิตประมาณ 1,100-1,200 กิโลกรัม/ไร่ ที่ความชื้น 14% มีอยู่ 8 คู่สาย มีทั้งกลุ่มพันธุ์ข้าวที่มีอไมโลสสูง ปานกลาง และต่ำ เป็นข้าวคุณภาพดีทั้ง 8 คู่สาย ขณะนี้กำลังมีการตรวจสอบประเมินผลในพื้นที่ต่างๆ ที่ศูนย์วิจัยข้าวรวม 10 แห่ง เพื่อคัดเลือกคู่สายพันธุ์ที่ดีที่สุดของแต่ละกลุ่มข้าวแนะนำสู่เกษตรกรในปี พ.ศ. 2551
       
       ชุดที่สอง มีอยู่ 16 คู่สาย กำลังอยู่ในขั้นปลูกเปรียบเทียบกับ 4 พันธุ์มาตรฐานดังกล่าว ที่ศูนย์วิจัยข้าว 4 แห่ง สิทธิ์ในการครอบครองสายพันธุ์เพื่อการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวลูกผสมจำหน่ายยังไม่มีการกล่าวถึง โดยวางแผนไว้ว่าในปี พ.ศ. 2551 จะนำพันธุ์ข้าวลูกผสมใหม่เพื่อส่งเสริม ให้เกษตรกรปลูกได้ประมาณ 2 สายพันธุ์ โดยสามารถขายให้เกษตรกรนำไปเพาะปลูกได้ในราคาประมาณ 50 กว่าบาทต่อกิโลกรัม
       
       ในปัจจุบันมีภาคเอกชนอย่างน้อย 5 บริษัท ให้ความสนใจและได้เข้าร่วมประชุมหารือกับกรมวิชาการเกษตรเพื่อหาลู่ทางในการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีข้าวลูกผสมในประเทศไทย ได้แก่ บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์(ซีพี) บริษัทมอนซานโต้ บริษัทโนวาร์ตีส นิวทริชั่น (ประเทศไทย) บริษัทแอดเวนตีส ครอปไซเอนส์ และ บริษัทบุญรอด บริวเวอรี่ จำกัด
       
       อย่างไรก็ตาม จากข่าวสารต่างๆ ในหน้าหนังสือพิมพ์ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา แต่ดูเหมือนว่าจะมีเพียงบริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์(ซีพี.) เท่านั้นที่ออกมาเสนอข่าวเป็นระยะอย่างต่อเนื่องถึงพันธุ์ข้าวลูกผสมที่บริษัทได้พัฒนาขึ้น ว่าสามารถออกทำการตลาดได้แล้ว
บันทึกการเข้า
kinouchi
น้องใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1


« ตอบ #13 เมื่อ: 20-08-2008, 19:23 »

พอดีผมไปเจอเว็บที่มีคลิปที่เจ้าสัวซีพีพูดพอดี เลยอยากนำมาให้เพื่อน ๆ พี่ ๆ ที่สนใจได้ชมกันครับ

ตอนที่ 1
http://www.manytv.com/videos/3474-_5.php

ตอนที่ 2
http://www.manytv.com/videos/3492-_6.php

ตอนที่ 3
http://www.manytv.com/videos/3493-_7.php

ตอนที่ 4
http://www.manytv.com/videos/3512-_8.php

ตอนสุดท้ายแล้ว
http://www.manytv.com/videos/3518-Play_Video.php

หวังว่าพวกพี่ ๆ คงชอบกันนะครับ
 
บันทึกการเข้า

แหล่งรวมคลิปฮอต ๆ รายการต่าง ๆ มากมาย เชิญได้ที่
http://www.manytv.com
eAT
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,066



« ตอบ #14 เมื่อ: 20-08-2008, 19:51 »

เรื่องนี้ผมเฉยๆ แบบว่าขี้เกียจหาข้อมูล พอได้ยินคำวิจารณ์จาก
อีตาวีระ ที่ถามว่า ถ้าดีจริงบริษัทเขาทำหรือเปล่า แล้วธุรกิจของ
เขาจะได้รับผลประโยชน์ตรงนี้หรือเปล่า เหมือนกับคนที่มาปล่อย
ข่าวว่าเวียดนามจะรุ่งเรื่อง เป็นพวกผู้รับเหมาก่อสร้าง มีผลประโยชน์
กับการไปลงทุนของคนไทยที่นั่นหรือเปล่า


ฟังแล้วจบเห่เลย ไม่รู้ว่าอีตาสรยุทธ ที่โกงโฆษณาช่อง 9
ที่ออกมาโปรโมตเป็นอาทิตย์ได้เงินเข้ากระเป๋าไปเท่าไหร่
ถึงได้โปรโมตเหลือเกิน
บันทึกการเข้า
55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« ตอบ #15 เมื่อ: 20-08-2008, 20:51 »

เหอะ ๆ ...ทฤษฏี 2 สูง.....

สูงที่ 1 ...สูงเรียบร้อยไปแล้ว...ราคาสินค้าเกษตร ขึ้นกันยุบยับ...ซีพี ที่ เป็นเจ้าแห่งสินค้าเกษตร รับไปก่อนแล้ว...

แต่เกษตรกร ยังเดี้ยงเหมือนเดิม....

สูงที่ 2... ต้องไปถามพนักงาน ซีพี กับ เซเว่นระดับล่าง ๆ ก่อน..ว่า เงินเดือน ขึ้นตามทัน ไอ้ราคาที่สูงแรกหรือปล่าว...


 
บันทึกการเข้า
drop
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 737



« ตอบ #16 เมื่อ: 20-08-2008, 21:26 »

ไม่ขอออกความเห็นเรื่อง ท.สองสูง แต่ชอบฟัง อ.ณรงค์ เพชรประเสริฐ  คนที่นิยามศัพท์ทุนนิยมสามานย์

อาจารย์พูดถึงทฤษฎีสามสูง  คือ ราคาข้าวสูง  ค่าแรงสูง  ฝีมือแรงงานสูง  ทุกคนอยู่ได้

ถ้าค่าแรงสูง   ฝีมือแรงงานต่ำ   เจ้าของก็อยู่ไม่ได้

ราคาข้าวสูง  ค่าแรงต่ำ  ชาวนาปลูกข้าว แต่ยังจน  แสดงว่าค่าแรงต่ำ  ชาวนาอยู่ไม่ได้

ราคาข้าวสูง  ฝีมือแรงงานต่ำ  คนจน คนใช้แรงงาน  ยิ่งอยู่ไม่ได้

ท.ของอ. ใช้ได้กับผลิตผลทางเกษตรทุกชนิดไม่เฉพาะข้าว
บันทึกการเข้า

A  Few  Good  Men

Downey: What did we do wrong? We did nothing wrong.

Dawson: Yeah, we did. We were supposed to fight for the people who couldn't fight for themselves. We were supposed to fight for Will.

************************
I  only  want  to  fight  for  my  country as  long as  I ' m alive. I  do nothing  wrong  .  The tyrant  is  still  the  tyrant, I  have  to  expel  them  in  every  step  of  life. When the  time  come,  the  tyrant   will  absolutely  extinguish. That  ‘ s  the   dharma  truth.
แอ่นแอ๊น
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,591


"Angela Gheorghiu" My goddess


เว็บไซต์
« ตอบ #17 เมื่อ: 21-08-2008, 12:30 »

http://lab.tosdn.com/?p=178
ทฤษฎีสองสูง ของ เจ้าสัวซีพี ธนินท์ เจียรวนนท์ ตอนที่ 1

http://lab.tosdn.com/?p=179
ทฤษฎีสองสูง ของ เจ้าสัวซีพี ธนินท์ เจียรวนนท์ ตอนที่ 2

ไม่แน่ใจว่าซ้ำหรือเปล่านะคะ เลยเอาแต่ลิ้งมาให้ ที่จริงมีไฟล์ค่ะ แต่หาไม่เจอ

http://www.positioningmag.com/magazine/Details.aspx?id=70516
“ธนินท์ เจียรวนนท์” อิทธิพล “ทฤษฎี 2 สูง”
บันทึกการเข้า

       

"เมื่อเจตนาเบี่ยงเบนไปจากความจริง การนำเสนอข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง บางทีก็เป็นเพียงภาษาสุภาพสำหรับการพูดเท็จนั่นเอง" : วิถีแห่งปราชญ์ พิมพ์ครั้งที่ ๗ หน้า ๒๐๖
tigerfireback
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 57


« ตอบ #18 เมื่อ: 21-08-2008, 13:55 »

อย่าไปเชื่อ เจ้าสัวนี่นะ เชื่อไม่ได้หรอก หลำเอ้ย
ทั้งกะเสดตระกอนรายย่อย คนเมืองที่ต้องซื้อกิน
เชื่อหาได้ไม้ ไอ้เจ้าสัวนี้ มันหากินกับตลาดทุนนิยม

ความคิดเจ้าสัวนี่ ก็เริ่มมานานแล้ว ตั้งแต่
""ทุนอุปถัมภ์กับความฝันของซีพี""

แล้วลองอ่านคำแย้งของ ดร . เสรี พงศ์พิศ   ดูเถอะ


http://www.phongphit.com/index.php

==============================

ทุนอุปถัมภ์กับความฝันของซีพี     
   
Written by ดร . เสรี พงศ์พิศ     
Thursday, 10 April 2008 
(บทความตีพิมพ์ในมติชนรายวัน 10 เมษายน 2551)

เป็นเรื่องดีที่สภาพัฒน์ฯ กับมติชนสุดสัปดาห์ช่วยกันเปลือยความคิด ความฝัน หรือวิสัยทัศน์ของคุณธนินท์ เจียรวนนท์ ทำให้คนไทยได้รับรู้ว่า ลึกๆ แล้วซีพีคิดอย่างไร
           
ต้องยอมรับว่าคุณธนินท์เป็นคนมีจินตนาการที่สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนได้อย่างยอดเยี่ยม และคงทำให้คนจำนวนไม่น้อยหลงใหลไปกับความฝันอันมีมนตร์เสน่ห์  จึงอยากจะวิพากษ์ความฝันของซีพี ไม่อยากให้ผู้คนหลับใหลและได้แต่ฝัน เพราะ "เมื่อความฝันสิ้นสุดลง คนก็เริ่มค้นหาความจริงกันใหม่" อย่างที่อมาตยา เซน นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล ชาวอินเดียพูดไว้
           
หวังว่าการวิพากษ์นี้จะไม่ทำให้คุณธนินท์ด่วนสรุปเอาแบบที่พูดไว้ตอนท้ายที่สภาพัฒน์ว่า "ประเทศอื่นมองทุกคนเป็นคนดีหมด แต่เมืองไทย มองทุกคนเป็นผู้ร้าย มันไม่ใช่" ก็ดีนะครับที่อย่างน้อยก็มีคุณธนินท์ที่เป็นคนไทยและไม่ได้มองเช่นนั้น
           
คุณธนินท์พูดเรื่องน้ำ เรื่องการสร้างเขื่อน และยุให้รัฐบาลนี้ "กล้าสู้กับเอ็นจีโอและอธิบายให้เข้าใจ"  ซึ่งก็ไม่รู้จะอธิบายอย่างไร เพราะปัญหาไม่ใช่เอ็นจีโอโง่ ไม่มีข้อมูล ไม่เข้าใจ แต่เพราะมีความเข้าใจคนละอย่าง มีกระบวนทัศน์พัฒนาคนละแบบ มีวิธีการมองโลกมองชีวิตอีกแบบหนึ่งที่แตกต่างไปจากวิธีคิดแบบคุณธนินท์ที่ว่า "ถ้าทำเขื่อนแล้วสัตว์น้ำหายไปกี่ชนิด เทคโนโลยีวันนี้กรมประมงทำได้ เพาะได้ เราก็เพาะใส่เข้าไปก็แล้วกัน แล้วจะเสียหายอะไร มีแต่ทำให้น้ำไม่ท่วม เราใช้น้ำได้ประโยชน์เต็มที่ ใช้น้ำมาปั่นไฟ"
           
คิดแบบนี้เรียกว่าคิดแบบกลไก คิดแบบแยกส่วน คิดแบบลดทอน (reductionism) ชีวิตก็ดี สิ่งแวดล้อมก็ดีเป็นอะไรที่ยิ่งใหญ่ ซับซ้อน มีระบบ มีคุณค่ามหาศาล ลดทอนลงมาให้เหลือแค่พลังงาน เอาน้ำมาปั่นไฟ ไม่ให้น้ำท่วม โดยไม่ได้คิดถึงสิ่งแวดล้อมแบบองค์รวม ไม่ได้คิดถึงระบบคุณค่า ความหลากหลายทางชีวภาพ ความสมดุลของธรรมชาติ ของวิถีชุมชน ซึ่งมีประเพณี วิถีวัฒนธรรม

คนคิดแบบนี้ไม่เชื่อว่า "เด็ดดอกไม้ดอกเดียวกระเทือนถึงดวงดาว"


เขาพูดเรื่องความเสี่ยงของเกษตรกรได้อย่างน่าฟัง และน่าคิด และซีพีก็ได้ทำมาหลายสิบปีที่ช่วยเกษตรกรไม่ให้รับความเสี่ยง (คนเดียว-และมากเกินไป อันนี้เขาพูดไม่หมด) ซีพีให้ชาวบ้านเลี้ยงไก่ เลี้ยงหมู เลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้ง ปลูกข้าวโพด ปลูกพืชต่างๆ โดยใช้พันธุ์ของตนเอง อาหารของตนเอง ปุ๋ย ยา และอื่นๆ ของตนเอง ชาวบ้านมีหน้าที่เพียงเลี้ยง ปลูก ดูแลให้โต ให้ได้ผลตามวิธีการ ขั้นตอนที่ซีพีบอก
           
ชาวบ้านคิดว่า ปลูกแล้ว เลี้ยงแล้วจะเอาพันธุ์ไปขยายเอง ปลูกเอง เลี้ยงเองก็ทำไม่ได้ ต้องเอาของซีพีเท่านั้น ถึงเอาไปจากที่ตนเองปลูกและเลี้ยงก็ปลูกไม่ได้ เลี้ยงไม่โต
           
แต่ถ้าหากเพื่อลดความเสี่ยง ซีพีจะรับเอาความเสี่ยงไป และให้เกษตรกรเป็นเพียงแรงงานเท่านั้น ถามว่าเป็นอะไรที่พึงปรารถนาสำหรับสังคมที่กำลังพัฒนาหรือไม่ และเกษตรกรเขารับได้และยอมหรือไม่ หรือว่าส่วนหนึ่งต้องยอมเพราะไม่มีทางเลือก
           
นี่เป็นวิธีคิดแบบอุตสาหกรรม ต่างกันเพียงว่าแทนที่ "กรรมกร" จะทำในโรงงานก็ทำในทุ่ง ในสวน ในเล้าไก่ คอกหมู โดยมีผู้จัดการใหญ่นั่งคอยบอกคอยสอน คอยควบคุมดูแล ระบบแบบนี้ขอเรียกว่า "ทุนอุปถัมภ์" ก็แล้วกัน เขาปฏิเสธว่านี่เป็นทุนผูกขาด เขาอธิบายได้สวยงามแบบทวงบุญคุณว่า เป็นการให้นายทุนมารับความเสี่ยงแทนเกษตรกร
           
น่าแปลกใจไม่น้อย ที่เขาพูดเรื่องทุนมนุษย์ว่าสำคัญที่สุด แต่เขาคิดถึงแต่เพียงว่า จะหาคนเก่งจากทั่วโลกสักแสนคนมาอยู่เมืองไทย และประเคนสัญชาติไทยและบัตรประชาชนให้เลยทันทีโดยไม่ต้องมีเงื่อนไข แต่ไม่ได้คิดว่า ทำอย่างไรจึงจะ "พัฒนา" คนไทย สร้างคนไทยที่เป็นเกษตรกร เป็นชาวบ้าน ให้เป็นทุนมนุษย์ที่สามารถอยู่รอดและแข่งขันกับโลกให้ได้สักแสนคน
           
เสียดายที่เขาไม่ได้เอ่ยถึง "สถาบันปัญญาวิวัฒน์" เพื่อจะบอกว่า การศึกษาไทยล้มเหลวจนซีพีต้องลุกขึ้นมาสร้างคน สร้างทุนมนุษย์เพื่อไปทำงานให้ตนเอง แต่เขาก็ไม่ได้คิดถึงการสร้างเกษตรกรให้ "พึ่งพาตนเอง" เพราะซีพีมีวิธีคิดแต่เพียงว่าจะให้แรงงานและเกษตรกรพึ่งพาซีพีตลอดไปได้อย่างไร
           
เจ้าสัวซีพีมีภาพฝันที่น่าทึ่งว่า ในยุคที่น้ำมันแพง สินค้าเกษตรเริ่มแพง ไทยควรต้องปรับตัว ปรับการทำงาน ความร่วมมือกับประเทศอื่นเพื่อดันราคาสินค้าเกษตรอย่างข้าวให้สูงขึ้นอีกหลายเท่า ยางพาราให้ได้สักกิโลละ 150 บาท และสินค้าอื่นๆ อย่างปาล์ม มันสำปะหลัง ข้าวโพด อ้อย ซึ่งกำลังกลายเป็นพลังงานทางเลือก

เขาชวนฝันว่า ทำอย่างไรจัดการให้ 62 ล้านไร่ที่ทำการเกษตรให้ได้ผลผลิตมากกว่าวันนี้ โดยการจัดการชลประทานให้ดีสัก 25 ล้านไร่ รวมทั้งปรับรูปที่ดิน จัดรูปที่ดิน  "หาพันธุ์ที่ดี เอาเทคโนโลยีมาใส่" เขาฝันว่า วันนี้เมืองไทยขายผลผลิตการเกษตรได้เพียง 5 แสนล้านบาท ถ้าทำอย่างที่เขาแนะน่าจะได้ประมาณ 3 ล้านล้านบาท มากกว่าวันนี้ 6 เท่า

เป็นอะไรที่เข้าใจได้ว่า ถ้าเมืองไทยพัฒนาไปได้เช่นนี้ ซีพีก็ได้ประโยชน์ไปด้วย เพราะคนกลางที่ค้าขายและเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ทุกกระบวนการขั้นตอนมากกว่าใครคือซีพี

เขาบอกว่า ประเทศพัฒนาแล้วเขาทำกันเช่นนี้ แต่เขาก็พูดความจริงแค่ครึ่งเดียว เขามองแต่รัฐและนายทุน ไม่ได้มองเกษตรกร ไม่ได้มองประชาชนส่วนใหญ่ว่ามีทางออกทางอื่นอีกหรือไม่นอกจากมาเป็น "แรงงาน" ให้นายทุนอย่างซีพี

ต้องถามว่า ประเทศพัฒนาแล้ว รวมถึงเกาหลีและไต้หวัน เขามีบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ทำด้านการเกษตรแบบซีพีหรือไม่ หรือเกษตรกรของเขารวมตัวกันเป็นสหกรณ์และบริหารจัดการการผลิต ผลผลิตทางการเกษตรเอง จนพ่อค้าคนจีนไต้หวันต้องมาอยู่เมืองไทย ตั้งบริษัทจัดการการเกษตร การแปรรูปผลผลิต เพราะที่นี่ยังมีที่มีทางให้ทำอีกมาก เพราะเกษตรกรอ่อนแอ ยังไม่สามารถรวมตัวกันเพื่อจัดการตนเองอย่างที่ประเทศพัฒนาแล้วเขาทำกัน

ความเสี่ยงของเกษตรกรเป็นเรื่องจริง เสี่ยงเพราะทำไปโดยไม่มีความรู้จริง ไม่มีข้อมูล เห็นคนอื่นทำก็ทำตาม เห็นเขาปลูกปอก็พอ มันก็มัน อ้อยก็อ้อย เห็นเขาเลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้งแล้วรวยก็เฮโลตามเขา แล้ววิธีการลดความเสี่ยงมีแค่การเข้าไปรับความเสี่ยงแบบซีพีหรือ แล้วทำไมเกษตรกรถึงเจ๊งกัน เป็นหนี้กัน แม้ว่าทำกับซีพี

ถ้าเกษตรกรเสี่ยงเพราะไม่มีความรู้ ไม่มีข้อมูลก็น่าจะทำให้มีความรู้มีข้อมูล ถ้าไม่มีพลังเพราะทำคนเดียวก็น่าจะมีการรวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชน เป็นสหกรณ์ ซึ่งก็มีตัวอย่างให้เห็นทั่วประเทศว่า กลุ่มเกษตรกรก็ดี กลุ่มวิสาหกิจชุมชนก็ดี หรือสหกรณ์การเกษตรก็ดี มีที่เข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้ แต่ยังน้อยเกินไป ทำไมไม่หาทางช่วยให้กลุ่มเหล่านี้เข้มแข็ง

ปัญหาที่คุณธนินท์บอกว่า ให้รัฐบาลไปอธิบายให้เอ็นจีโอเข้าใจเรื่องเขื่อน เรื่องน้ำ ก็เป็นปัญหาเดียวกันกับที่มีคนพยายามไปอธิบายให้ซีพีเข้าใจวิธีคิดเรื่อง "ชุมชนเข้มแข็ง" เรื่องการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนและสหกรณ์ เป็นอะไรที่คนทำเซเว่นอีเลเว่นไม่ยอมเข้าใจ อ้างแต่ว่าได้ทำให้ผู้คนสะดวกซื้อ ได้ของดีมีคุณภาพ ขณะที่ร้านขายของชำเล็กๆ ในตำบลหมู่บ้านทยอยปิดลง คนเล็กคนน้อยหาที่ยืนไม่ได้ในสังคมที่มีการผูกขาดทุน

กระบวนทัศน์พัฒนาที่อยู่บนฐานการคิดแบบองค์รวม ย่อมไม่ได้มองคนเป็นเพียงแรงงาน ปัจจัยการผลิต ไม่ได้มองแค่รายได้ แต่มองคนในฐานะที่เป็นมนุษย์ที่ต้องการเป็นอิสระ มีความฝัน ความใฝ่ฝัน ไม่ไช่เครื่องจักรกล ไม่ได้ทำได้เพียงกิน ขี้ ปี้ นอน แต่ต้องการความสุขและเสรีภาพ มีความภูมิใจใน "ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์" ศัพท์ที่เขียนเหมือนกัน สะกดเหมือนกัน แต่นายทุนกับเอ็นจีโอเข้าใจไม่เหมือนกัน

ต้องช่วยกันตั้งคำถามว่า วันนี้ประเทศไทยต้องการพัฒนาตนเองไปทางไหน และจะไปอย่างไร ด้วยวิธีการแบบไหน หรือว่าเราชัดเจนตั้งแต่ทำแผน 10 แล้วว่า เราจะอยู่แบบ "พอเพียง" จะใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนำ สภาพัฒน์ฟังคุณธนินท์แล้วยังคิดเรื่องพอเพียงอยู่หรือไม่ คิดแบบไหน

วันนี้ทั่วโลกกำลังตั้งคำถามว่า คนต้องการอะไร ถ้าต้องการความสุข ทำไมไม่แสวงหาความสุขด้วยวิธีการที่เป็นสุขจริง  ทำไมต้องหน้าดำคร่ำเครียดหาแต่เงิน ทำแต่เรื่องเศรษฐกิจ ว่าแล้วรัฐบาลฝรั่งเศสก็จ้างนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลสองคน คือ โยเซฟ สติกลิตซ์ และ อมาตยา เซน มาช่วยทำ "ดัชนีความสุข" ต้องการ GDH แทน GDP

ถ้าวันนี้ประเทศเกษตรกรรมอย่างไทยกำลังได้เปรียบ ทำอย่างไรจะปรับยุทธศาสตร์พัฒนาที่ทำให้ผู้คนอยู่ได้อย่างมีความสุข โดยไม่ต้องเอาเศรษฐกิจเป็นตัวชี้วัด  ไม่ใช่เห็นตัวเลข 3 ล้านล้านที่เจ้าสัววาดฝันให้ก็ตาโต

อมาตยา เซน บอกว่า "เพื่อก้าวพ้นนิยายของการพัฒนา เราจะต้องมีระบบเศรษฐกิจที่พึ่งตนเอง"  สี่ห้าสิบปีที่ผ่านมาเราได้แต่ฝันไปกับนิยายของการพัฒนาที่สัญญาว่า "พรุ่งนี้รวย" ทั้งรัฐบาล ทั้งนายทุน ขุนศึกศักดินามาบอกมาแนะนำกันพร้อมหน้า

โยเซฟ สติกลิตซ์ อดีตที่ปรึกษาประธานาธิบดีบิล คลินตัน และรองประธานและหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจของธนาคารโลก คือคนที่วิจารณ์มาตรการของ IMF ที่ทำกับไทยและกับประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายว่ามีวาระซ่อนเร้น เรื่องธุรกิจและผลประโยชน์ของตนเองและประเทศพัฒนาแล้ว มากกว่าที่จะช่วยเหลืออย่างจริงใจ

ถ้าให้สองคนนี้พูดเรื่องเมืองไทยพวกเขาคงดีใจกับ "เศรษฐกิจพอเพียง"  ซึ่งคุณธนินท์ไม่ได้เอ่ยถึงแม้แต่คำเดียว ซึ่งก็เข้าใจได้ไม่ยากนัก เพราะเขาเคยขอให้รัฐบาลกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศให้มากยิ่งขึ้น เศรษฐกิจจะได้โต

ขณะที่ศาสตราจารย์โรเบิร์ต มันเดลล์ นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลอีกคนหนึ่งพูดที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้วว่า

"เศรษฐกิจพอเพียงจำเป็นสำหรับการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดเล็ก และยังไม่เข้มแข็งพอ เมื่อพิจารณาการใช้จ่ายรวมของประเทศ ประกอบด้วยการบริโภค ภาคเอกชน การลงทุนของธุรกิจ การใช้จ่ายภาครัฐบาล การนำเข้าและการส่งออกแล้วสามารถนำเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจแบบทุนนิยมได้ โดยเริ่มจาก การสร้างความเข้มแข็งของภาคครัวเรือนที่เป็นหน่วยย่อยที่สุดของระบบเศรษฐกิจ"

การสร้างระบบเศรษฐกิจท้องถิ่นที่พึ่งตนเองไม่ใช่ความฝัน เราเห็นตัวอย่างมากมายในประเทศไทย ทั้งระดับชุมชนและระดับตำบล ไม่ว่าที่ไม้เรียง ที่ท่าข้าม ที่อินแปง เราเห็นว่า เงื่อนไขเพื่อให้เกิดระบบเศรษฐกิจท้องถิ่นที่พึ่งตนเอง คือ ต้องสร้างคน สร้างความรู้ และสร้างระบบ ซึ่งก็ คือ เศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง

เศรษฐกิจพอเพียงพูดถึง "ความพอประมาณ" ซึ่งเป็นความพอดี เป็นทางสายกลาง เป็นคุณธรรม เราไม่ได้สร้างอะไรที่เป็นนามธรรม เราสร้างคนที่มีคุณธรรม ที่รู้ว่าพอดีพองามอยู่ที่ไหน  เศรษฐกิจพอเพียงพูดเรื่อง "มีเหตุผล" หมายถึงสร้างความรู้ ฐานความรู้ มีแบบมีแผน มีขั้นมีตอน

เศรษฐกิจพอเพียงพูดถึง "ภูมิคุ้มกันที่ดี" ซึ่งก็คือการสร้างระบบที่ดีนั่นเอง เพราะหากมีระบบเศรษฐกิจท้องถิ่นก็จะมีความมั่นคง ยั่งยืน ไม่ทำโครงการซึ่งมีเงินก็ทำได้ แต่ต้องทำระบบ ซึ่งมีเงินอย่างเดียวทำไม่ได้ ต้องอาศัยความรู้และใช้ปัญญาจึงจะทำได้

วิสาหกิจชุมชนและสหกรณ์ คือเครื่องมือหนึ่งที่ทำให้เกษตรกรรวมตัวกันเพื่อจัดการการผลิต การตลาด การบริโภคในท้องถิ่น และการก้าวออกไปสู่ตลาดภายนอก รวมถึงการส่งออก ซึ่งก็ทำกันอยู่ เพียงแต่ยังน้อย ไม่อาจสู้กับซีพีได้ แต่หากว่าได้เรียนรู้ ได้พัฒนาตนเอง เกษตรกรก็จะสามารถจัดการได้ทุกขั้นตอน เหมือนที่เกิดขึ้นในประเทศพัฒนาแล้วทั้งหลาย  ซึ่งบางแห่งมีสหกรณ์หรือบริษัทของตนเองที่ดำเนินการขั้นตอนต่างๆ กลายเป็นยักษ์ใหญ่กว่าซีพีก็ยังมี แต่พวกเขาใหญ่จากข้างใน จากตัวเอง และทำเพื่อเกษตรกรซึ่งเป็นสมาชิก เป็นเจ้าของกิจการนั้น

หรืออย่างประเทศอิตาลี เศรษฐกิจแบบอิตาลี ที่คนเล็กคนน้อยอยู่ได้ พัฒนาได้ ไม่ต้องมีบริษัทยักษ์ใหญ่แบบทุนอุปถัมภ์อย่างเดียว มีสหกรณ์เข้มแข็ง มี SME ที่ไทยไปเรียนรู้เอามาเลียนแบบ แต่ทำให้ดีไม่ได้เหมือนเขา

ระบบเศรษฐกิจแบบอิตาลีเป็นตัวอย่างหนึ่งของข้อโต้แย้งแนวคิดของมาร์กซิสท์และแนวคิดของทุนนิยม (อย่างน้อยสามานย์) ที่ว่า เศรษฐกิจชุมชน คือ เศรษฐกิจที่รอวันตาย เพราะทั้งสองระบบมองคนเป็นเพียงปัจจัยการผลิต เป็นแรงงาน ที่ก่อให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ เมื่อใดที่มีการจัดการโดยรัฐหรือทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะมีระบบเศรษฐกิจ "ใหญ่" หนึ่งเดียวเท่านั้น ไม่มีอะไรที่เรียกว่า เศรษฐกิจชุมชน

ประเทศไทยในยุคแผนฯ 10 ที่ประกาศว่าเศรษฐกิจพอเพียง คือปรัชญาของการพัฒนายุคนี้ ต้องตอบตัวเองให้ได้ เราจะพัฒนาแบบทุนอุปถัมภ์ที่มีหลักประกัน ความมั่นคง มีความเสี่ยงน้อย หรือจะพัฒนา เพื่อให้เกษตรกรอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี มีกินและมีความสุขแบบพอเพียง 

Last Updated ( Saturday, 12 April 2008 ) 

บันทึกการเข้า
bgn
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 87


« ตอบ #19 เมื่อ: 21-08-2008, 16:42 »

ทิกซาลีสองสุง หรือ แม้วประชานิยม หรือ อะไรเหล่านี้ล้วนแต่เป็น subset ของ "ทฤษฎีทำนาบนหลังคน" และ "ทฤษฎีมือใครยาวสาวได้สาวเอา"

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงต่างหากคือทางออกของเกษตรกรที่เหมาะสมที่สุด 
บันทึกการเข้า
GODFATHER
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 112


« ตอบ #20 เมื่อ: 22-08-2008, 10:13 »

ทฤษฏี 2 สูง ฟังดูดีแต่ทำเพื่อใครๆได้ประโยชน์ พืชผลเกษตรแพง แต่ราคาปุ๋ยก็แพงเพราะประเทศเราดันไม่ยอมให้มีบริษัทปุ๋ยแห่งชาติทั้งๆที่เป็นประเทศเกษตรกรรมเพราะอะไร.....เมล็ดพันธุ์ก็แพง และกรมวิชาการเกษตรของเราพัฒนาวิจัยและจัดทำเมล็ดพันธุ์ได้ช้ามาก การกำหนดพื้นที่ปลูกข้าวหากวันใดเจอมรสุมขึ้นมา จะหาข้าวที่ไหนมารับประทานหรือต้องซื้อซีพี. เพราะซีพี.ไปลงทุนปลูกข้าวที่เวียตนาม การที่จะทำตามทุกอย่างที่เขาพูดนั้นบางอย่างไม่เหมาะ กับประเทศเรา เเต่เรื่องน้ำเห็นด้วยและยิ่งเห็นด้วยกับที่นายกสมัครตัวจริงที่จะผันน้ำจากแม่น้ำโขง....และเรื่องอย่างนี้ต้องทำเป็นวาระแห่งชาติ และวางแผนอย่างเป็นระบบ อย่าให้เหมือนกับกรณีน้ำมันอี85 หรือเอ็นจีวี. ที่รณรงค์กันจังแต่หาปั๊มเติมไม่ค่อยเจอ แต่พอเจอกลับหมด.....ช่วยกันเถอะถึงท่านไม่ได้ทำแต่ท่านสามารถช่วยได้เพียงแต่ไม่ค้านทุกเรื่องก็พอแล้ว


* P6770557-4.jpg (54.98 KB, 185x188 - ดู 627 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: