ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
25-11-2024, 12:23
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  สิทธิในการรับรู้ของชุมชนท้องถิ่น (สิทธิชุมชน) มากกว่าสิทธิส่วนบุคคลของผู้ต้องหา 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
สิทธิในการรับรู้ของชุมชนท้องถิ่น (สิทธิชุมชน) มากกว่าสิทธิส่วนบุคคลของผู้ต้องหา  (อ่าน 2976 ครั้ง)
mr.g
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 188



« เมื่อ: 21-08-2008, 21:35 »

http://www.wutthi.com/forum/index.php?topic=4182.0
เชิญอ่านแล้วโค๊ดความเห็นมาวินิจฉัยกันได้ครับ
บันทึกการเข้า

ถ้าหากเห็นพ้องต้องตรงกันว่า อธิปไตยของชาติ บูรณภาพแห่งดินแดน ความมั่นคงของสถาบัน
มาเหนือ ก่อน "พรรค" "พวก"และ "ตัวบุคคล" ความแตกแยกจะไม่บังเกิด


mr.g
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 188



« ตอบ #1 เมื่อ: 21-08-2008, 21:37 »

ประชาชนธรรมดาจะจับกุมผู้กระทำผิดได้หรือไม่ ?
[/b]

โดยปกติแล้วการจับกุมผู้กระทำผิดนั้น เป็นอำนาจและหน้าที่ของเจ้าพนักงาน ซึ่งคำว่าเจ้าพนักงาน ที่ว่านี้มีความหมายกว้างขวาง ขึ้นอยู่กับว่ากฎหมายในแต่ละเรื่องนั้น จะบัญญัติให้ใครเป็นเจ้าพนักงาน  เช่น เจ้าหน้าที่ศุลกากร เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายศุลกากร มีอำนาจหน้าที่ในการจับกุมความผิดเกี่ยวกับการขนสินค้าหนีภาษี   เจ้าหน้าที่สรรพสามิต เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายสรรพสามิต มีอำนาจหน้าที่จับคุมความผิดเกี่ยวกับสรรพสามิต ฯลฯ เป็นต้น  ส่วนตำรวจ นายอำเภอ ปลัดอำเภอ นั้น จัดอยู่ในประเภทพนักงานฝ่ายปกครอง มีอำนาจหน้าที่จับกุมความผิดได้ทุกประเภท แม้ว่าความผิดนั้น ๆ จะมีเจ้าพนักงานโดยเฉพาะอยู่แล้วก็ตาม    เช่น ความผิดตามกฎหมายศุลกากร กฎหมายสรรพสามิต ตำรวจ นายอำเภอ ปลัดอำเภอ    ก็ยังมีอำนาจหน้าที่ในการจับกุมได้
           สำหรับประชาชนหรือที่เรียกว่าราษฎรธรรมดานั้น โดยปกติไม่มีอำนาจและหน้าที่ในการจับกุมผู้ใดได้ เพราะประชาชนธรรมดาไม่ได้เป็นเจ้าพนักงาน
           แต่อย่างไรก็ดีกฎหมายไม่ได้ห้ามโดยเด็ดขาดตายตัวว่า มิให้ประชาชนธรรมดาจับกุมผู้กระทำความผิดโดยสิ้นเชิง  บทบัญญัติที่เป็นข้อยกเว้นไว้ให้ประชาชนธรรมดามีอำนาจที่จะจับกุมผู้กระทำผิดได้เฉพาะในบางกรณีดังต่อไปนี้เท่านั้น
                      ๑. เมื่อเจ้าพนักงานร้องขอให้ช่วยจับ           
กรณีนี้จะต้องเป็นเรื่องที่มีหมายจับอยู่แล้ว          ไม่ว่าจะเป็นความผิดฐานใดก็ตาม และเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จัดการตามกฎหมายหรือจับตามหมายจับนั้น ได้ร้องขอให้ประชาชนธรรมดาช่วยจับกุมผู้กระทำผิดตามที่หมายจับระบุไว้  ข้อนี้จะต้องพึงระวังให้ดีว่าถ้าเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานจะจับกุม โดยไม่มีหมายจับแม้เจ้าพนักงานจะร้องขอให้ประชาชนธรรมดาช่วยจับ ประชาชนธรรมดาก็ไม่มีอำนาจในการจับกุม
           มีข้อสังเกตว่าคำร้องขอของเจ้าพนักงานเช่นนี้ไม่ถือเป็นคำสั่งของเจ้าพนักงาน        
ดังนั้น   ประชาชนผู้ได้รับคำร้องขอจะปฏิบัติตามคำร้องขอนั้นหรือไม่ก็ได้
                    ๒. เมื่อพบการกระทำผิดซึ่งหน้าเฉพาะความผิดประเภทที่กฎหมายระบุไว้
           กรณีนี้ประชาชนผู้พบการกระทำผิดนั้นสามารถเข้าทำการจับกุมได้ทันที โดยไม่ต้องคอยให้เจ้าพนักงานร้องขอ   อย่างไรก็ดีอำนาจในการจับกุมของประชาชนธรรมดาตามข้อ ๒ นี้ ค่อนข้างจะมีขอบเขตจำกัดอยู่เฉพาะแต่ความผิดประเภทที่ระบุไว้ในท้าย ป.วิอาญาเท่านั้น    และต้องเป็นกรณีที่พบการกระทำผิดซึ่งหน้าอีกด้วย ซึ่งเงื่อนไขนี้นับว่าเป็นปัญหาอยู่ไม่น้อยสำหรับผู้ที่ไม่เคยเรียนกฏหมายมาก่อน เพราะจะไม่ทราบว่าความผิดประเภทใดบ้างที่กฎหมายระบุไว้ในบัญชีท้าย และก็ไม่ทราบว่าที่เรียกว่าความผิดซึ่งหน้ามีขอบเขตความหมายแค่ไหน เพราะถ้อยคำนี้เป็นคำทางกฏหมายซึ่งมีความหมายเฉพาะไม่จำเป็นต้องนำมาเขียนในที่นี้  แต่จะขอนำเอาความผิดซึ่งหน้าที่ระบุอยู่ในบัญชีท้ายประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญาเฉพาะที่พบอยู่เสมอ เพื่อเป็นแนวทางในการจดจำ
           - ความผิดต่อเจ้าพนักงาน
           - ความผิดฐานหลบหนีจากที่คุมขัง
           - ความผิดต่อศาสนา
           - ความผิดปลอมแปลงเงินตรา
           - การก่อการจราจล
           - ข่มขืน กระทำชำเรา
           - ทำร้ายร่างกาย
           - ฆ่าคนตาย
           - หน่วงเหนี่ยวกักขัง
           - ลักทรัพย์
           - วิ่งราวทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ กรรโชกทรัพย์
                       ๓.  เมื่อประชาชนผู้เป็นายประกันผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ได้หลบหนีประกันหรือจะหลบหนีประกัน
           โดยเฉพาะเมื่อไม่สามารถจะขอความช่วยเหลือจากเจ้าพนักงาน ให้จับกุมได้ทันท่วงทีเท่านั้นไม่ใช่เป็นเจ้าหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติ      และถ้าเป็นกรณีอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ ประชาชนธรรมดาก็ไม่มีอำนาจทำการจับกุมผู้กระทำผิดได้เลย
ผลทางกฎหมาย
              กรณีที่ประชาชนธรรมดา มีอำนาจตามกฎหมายที่จะจับกุมผู้กระทำความผิดได้  ดังกล่าวมาในข้อ ๑-๓ นี้   ประชาชนผู้ทำการจับกุมย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย  เช่นไม่มีความผิดฐานทำให้ผู้ถูกจับเสื่อมเสียอิสรภาพเสรีภาพ หรือหากผู้จะถูกจับนั้นต่อสู้ขัดขวางประชาชน ผู้จับก็มีอำนาจใช้กำลังป้องกันตนได้พอสมควรแก่เหตุ
              ในทำนองกลับกัน ถ้าเป็นกรณีไม่มีอำนาจจับกุมได้ตามกฎหมาย ผู้จับก็ต้องมีความผิดฐานทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพ และอาจมีความผิดฐานอื่นติดตามมามากมาย เช่น  บุกรุก  ทำร้ายร่างกาย ฯลฯ เป็นต้น
บันทึกการเข้า

ถ้าหากเห็นพ้องต้องตรงกันว่า อธิปไตยของชาติ บูรณภาพแห่งดินแดน ความมั่นคงของสถาบัน
มาเหนือ ก่อน "พรรค" "พวก"และ "ตัวบุคคล" ความแตกแยกจะไม่บังเกิด


mr.g
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 188



« ตอบ #2 เมื่อ: 21-08-2008, 21:43 »

คำแนะนำการจดจำตำหนิรูปพรรณ บุคคล และยานพาหนะของคนร้าย
           การก่ออาชญากรรม การก่อการร้าย ถือได้ว่าเป็นผลของการกระทำของบุคคลทั้งสิ้น บุคคลต้องเข้ามาเกี่ยวข้องในแง่ของผู้กระทำ  ดังที่เราเรียกว่า "คนร้าย" หรือ "ผู้ร้าย" ประกอบกับการวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีปัจจุบันได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว จึงทำให้การกระทำความผิดของคนร้ายมักจะใช้ยานพาหนะต่าง ๆ เพื่อการหลบหนีอย่างรวดเร็ว  พาหนะที่ใช้ เช่น รถยนต์, รถจักรยานยนต์ ฯลฯ ในช่วงเวลาที่คนร้ายลงมือกระทำความผิดและหลบหนีนั้น คนร้ายย่อมพยายามจะใช้เวลาให้รวดเร็วที่สุด เพื่อมิให้มีผู้ใดพบเห็น และเพื่อให้รอดพ้นจากการสืบสวนติดตามจับกุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
           พนักงานรักษาความปลอดภัยหรือประชาชนทั้งหลาย  ย่อมมีโอกาสได้พบเห็นการกระทำความผิดได้ง่ายกว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจ  ทั้งนี้  เนื่องจากหากคนร้ายเห็นเจ้าหน้าที่ตำรวจมักจะไม่กระทำความผิด  ดังนั้น การที่ท่านได้มีโอกาสพบเห็นการกระทำผิดดังกล่าวแล้วนั้น   ถ้าท่านได้ถูกซักถามถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นท่านอาจจดจำได้เฉพาะเหตุกว้าง ๆ เท่านั้น  ในรายละเอียดอันสำคัญ เช่น รูปพรรณของคนร้าย  การหลบหนีด้วยวิธีใด ท่านอาจจะตอบไม่ถูก  ทั้งนี้เพราะท่านอาจไม่สนใจมากนัก หรืออาจเนื่องจากการที่ท่านยังไม่ทราบว่าหลักการที่จะสังเกตจดจำรูปพรรณคนร้ายยานพาหนะที่ใช้หลบหนีเป็นอย่างไร    และมีความสำคัญอย่างไร จึงต้องจดจำสิ่งเหล่านั้น
           การจดจำตำหนิรูปพรรณของคนร้าย ยานพาหนะของคนร้ายได้ดีนั้น มีความสำคัญมากต่อการสืบสวนจับกุมกระทำความผิดมาลงโทษ ทั้งนี้เนื่องจากถ้าท่านสามารถจดจำรูปร่าง   หน้าตา  ตำหนิรูปพรรณของคนร้าย และลักษณะรูปพรรณคล้ายกับข้อมูลของท่าน หรือนำไปสเก๊ตช์ภาพคนร้าย แล้วประกาศสืบจับโดยทั่วไป  ส่วนยานพาหนะที่ใช้นั้นย่อมเป็นแนวทางในการสืบสวนไปถึงตัวผู้เป็นเจ้าของและผู้ที่ใช้ยานพาหนะนั้น ซึ่งอาจสันนิษฐานได้ว่าเป็นคนร้ายที่ได้กระทำความผิด  อันเป็นประประโยชน์ต่อการสืบสวนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นอย่างยิ่ง ในผลงานของตำรวจที่ผ่านมาเป็นจำนวนมากที่พลเมืองดีเช่นท่านทั้งหลาย   ได้แสดงความสามารถในการสังเกตจดจำตำหนิรูปพรรณคนร้าย และยานพาหนะที่ใช้เป็นอย่างดี  เป็นผลให้ตำรวจสามารถพิชิตคดีสำคัญ ๆ แล้วได้ตัวคนร้ายมาลงโทษในที่สุด
           ดังนั้น เพื่อเป็นการผนึกกำลังร่วมกันระหว่างตำรวจกับประชาชน   ในอันที่จะป้องกันปราบปรามอาชญากรรม การก่อความวุ่นวายต่าง ๆ พวกเราต้องช่วยกันทุกวิถีทางในอันที่จะป้องกันมิให้เกิดเหตุหรือหากมีเกิดขึ้นเราก็สามารถจดจำข้อมูลของคนร้าย  และนำมาลงโทษได้      เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัยแก่สังคมหรือสถานที่ ที่ท่านดูแลรักษาให้คงอยู่ตลอดไป
           ในการนี้จึงขอแนะนำวิธีการ จดจำตำหนิรูปพรรณคนร้าย ลักษณะยานพาหนะต่าง ๆ มาให้ท่านได้รับทราบ เพื่อเป็นแนวทางในการสังเกตจดจำ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตำหนิรูปพรรณของคนร้าย หากท่านสามารถจดจำรายละเอียดได้มาก โอกาสที่ทางตำรวจจะจับกุมคนร้ายก็มีมากขึ้นด้วย
บันทึกการเข้า

ถ้าหากเห็นพ้องต้องตรงกันว่า อธิปไตยของชาติ บูรณภาพแห่งดินแดน ความมั่นคงของสถาบัน
มาเหนือ ก่อน "พรรค" "พวก"และ "ตัวบุคคล" ความแตกแยกจะไม่บังเกิด


mr.g
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 188



« ตอบ #3 เมื่อ: 21-08-2008, 21:43 »

การสังเกตจดจำตำหนิรูปพรรณบุคคล หรือคนร้าย
   ๑. หลักของการสังเกตจดจำตำหนิรูปพรรณ  มีดังนี้
              ๑.๑ สังเกตจดจำสิ่งที่ใหญ่เห็นง่ายไปสู่สิ่งที่เล็กเห็นยาก
              ๑.๒ สังเกตจดจำลักษณะเด่น ตำหนิไปสู่ลักษณะปกติธรรมดา
              ๑.๓ พยายามอย่าจดจำทุกสิ่งทุกอย่าง  แต่ให้จดจำบางสิ่งบางอย่างที่ท่านจดจำได้อย่างแม่นยำ
              ๑.๔ เมื่อคนร้ายหลบหนีไปแล้วอย่าถามผู้อื่นว่าเห็นอะไร ให้รีบบันทึกตำหนิรูปพรรณที่ท่านเห็นและจดจำได้  ลงในสมุดหรือกระดาษทันที
              ๑.๕ มอบรายละเอียดให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง
                   ๒. สิ่งที่สามารถจดจำได้ง่าย และควรจดจำก่อน
           ๒.๑  เพศ เป็นชาย หญิง กะเทย
           ๒.๒  วัยเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ แก่ ฯลฯ อายุประมาณเท่าใด
           ๒.๓  รูปร่าง สูง เตี้ย อ้วน ผอม สันทัด ฯลฯ
           ๒.๔  ผิวเนื้อ ขาว ขาวเหลือง ดำ ซีด เหี่ยวย่น ฯลฯ
           ๒.๕  เชื้อชาติ ดูจากใบหน้า เป็นคนไทย จีน ลูกครึ่ง แขก ฯลฯ
           ๒.๖  รูปหน้า รูปไข่ กลม ยาว เหลี่ยม ฯลฯ
           ๒.๗  ผม สั้น หงอก หนา หยิก ตัดทรงอะไร หวีอย่างไร ฯลฯ
           ๒.๘  ปาก กว้าง แคบ ใหญ่ ริมฝีปากหนา ฯลฯ
           ๒.๙  หู กางใหญ่ เล็ก ติ่งหูแหลม ฯลฯ
           ๒.๑๐ ตา เล็ก โต พอง โปน ตาชั้นเดียว ตาเข สวมแว่นตา แว่นกันแดด ฯลฯ
                    ๓. สิ่งที่เป็นจุดเด่นผิดปกติ ตำหนิ ที่อาจจดจำได้ง่าย
           ๓.๑ ตำหนิแผลเป็นบนใบหน้า ไฝ ปาน หูด เนื้อติ่ง มีลักษณะอย่างไร อยู่ส่วนไหนของร่างกาย
           ๓.๒ แผลเป็น มีลักษณะอย่างไร ขนาดเท่าใด อยู่ที่ส่วนไหนของร่างกาย
           ๓.๓ ลายสัก สักรูปอะไร สีอะไร อยู่ที่ส่วนไหนของร่างกาย
           ๓.๔ ความพิการ ตาบอด หูหนวก ใบ้ แขนขาด้วน ลีบ ปากเบี้ยว ฯลฯ
           ๓.๕ ท่าทางการเดิน เดินตัวตรง ตัวเอียง ขากะเผลก
           ๓.๖  สำเนียงการพูด พูดช้า เร็ว ติดอ่าง สำเนียงเป็นคนไทย จีน ฝรั่ง หรือสำเนียงคนภาคใด
           ๓.๗ การกระทำบ่อย ๆ สูบบุหรี่จัด พูดเอามือปิดปาก ติดยาเสพติด  เวลาพูดเอามือล้วงกระเป๋า
           ๓.๘ การแต่งกาย จดจำเสื้อ กางเกง  เช่น  แขนสั้น-ยาว, ขาสั้น-ยาว ฯลฯ  แบบของเสื้อ กางเกง เช่น ยีน เสื้อยืด เสื้อเชิ้ต เครื่องแบบนักศึกษา สีอะไร ลายแบบไหน  มีตัวเลขอะไรหรือไม่ รองเท้าที่สวมเป็นชนิดใด  สีอะไร แบบใด
              ๓.๙ เครื่องประดับ มีเครื่องประดับอะไรบ้าง ที่เห็นได้ชัด     เช่น  แว่นตา  นาฬิกา แหวน  สร้อย กระเป๋าถือ ฯลฯ
                       ๔. กรณีที่คนร้ายมีการพรางใบหน้า
           เช่น  สวมแว่นตากันแดด   สวมหมวกกันน็อค   สวมหมวก   สวมหน้ากาก   คลุมศีรษะด้วยถุง ฯลฯ  ก็ให้พยายามจดจำสิ่งที่ใช้พราง และจดจำส่วนอื่น ๆ ของร่างกายที่มิได้พรางและจดจำได้ง่าย ดังที่เคยได้กล่าวมาแล้ว
   การสังเกตจดจำยานพาหนะของคนร้าย หรือผู้ต้องสงสัย
   ๑. มีหลักใหญ่ ๆ ดังนี้
              ๑.๑ สังเกตจดจำสิ่งที่ใหญ่ เห็นง่าย ไปสู่สิ่งที่เล็กเห็นยาก
              ๑.๒ สังเกตจดจำตำหนิ รอยชน สติกเกอร์ จุดเด่นต่าง ๆ
              ๑.๓ พยายามสังเกตอย่าจดจำทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ให้จดจำบางสิ่งที่ท่านจำได้อย่างแม่นยำ
              ๑.๔ เมื่อคนร้ายหลบหนีไปแล้ว อย่าถามผู้อื่นว่าเห็นอย่างไร ให้รีบบันทึกลักษณะเอาไว้ทันที
              ๑.๕ มอบรายละเอียดให้กับตำรวจผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง
   ๒. สิ่งที่สามารถจดจำได้ง่ายและควรจดจำก่อน
              ๒.๑ ประเภทรถ เป็นรถจักรยานยนต์  รถเก๋งส่วนบุคคล รถยนต์แท็กซี่สาธารณะ  รถบรรทุก รถปิ๊กอัพ รถสามล้อเครื่อง รถจิ๊ป ฯลฯ
              ๒.๒ สีของรถ เป็นรถสีใด บริเวณใด เป็นสีชนิดธรรมดา ลูไซด์ ฯลฯ
              ๒.๓ ความเก่า-ใหม่ เป็นรถค่อนข้างใหม่หรือเก่า
              ๒.๔ ยี่ห้อ เป็นรถยี่ห้อ รุ่นปี พ.ศ.ใด (ต้องฝึกดูและจดจำยี่ห้อต่าง ๆ)
              ๒.๕ หมายเลขทะเบียน ดูได้จากแผ่นป้ายทะเบียน  ให้จดจำทั้งตัวอักษรและหมายเลข    ถ้าเป็นรถต่างจังหวัด ให้จดจำชื่อจังหวัดด้วย   แผ่นป้ายทะเบียนของรถประเภทต่าง ๆ จะแตกต่างกันไป   เช่น รถเก๋งส่วนบุคคลแผ่นป้ายจะเป็นพื้นสีขาว ตัวเลขและตัวอักษรสีดำ (เป็นป้ายของทางราชการ) ติดข้างหน้า-หลัง รถแท็กซี่แผ่นป้ายจะเป็นพื้นสีเหลือง ตัวเลขอักษรสีดำ ติดข้างหน้า-หลัง แผ่นป้ายรถจักรยานยนต์จะเป็นพื้นสีขาว ตัวเลขอักษรสีดำ ติดข้างหลังแผ่นเดียว
                  อนึ่งในการสังเกตแผ่นป้ายทะเบียนพยายามสังเกตด้วยว่า เป็นแผ่นป้ายที่ติดไว้อย่างหลวม   หรือติดอย่างแน่นหนา   หรือมีการพรางเลขตัวอักษรของแผ่นป้ายนั้น ๆ หรือไม่ ด้วยวิธีใด (ปัจจุบันคนร้ายมักใช้แผ่นป้ายทะเบียนปลอม  หรือมีการพรางหมายเลขทะเบียน และตัวอักษรให้ผิดไปจากความเป็นจริง)
   ๓. สิ่งที่เป็นตำหนิรอยชนจุดเด่นที่เห็นได้ชัด
              ๓.๑ ตำหนิ เช่น กระจกแตก สีลอก มีรอยเจาะที่ตัวถังของรถ ฯลฯ
              ๓.๒ รอยชน รอยบุบ รถมีรอยถูกชนบริเวณใดมากน้อยอย่างไร มีรอยบุบที่ใด
              ๓.๓ จุดเด่น เป็นรถที่แต่งเพื่อใช้แข่งขัน มีเสาอากาศ ติดอุปกรณ์พิเศษต่าง ๆ กับรถ ฯลฯ
              ๓.๔ สติกเกอร์ ฟิล์มติดสติกเกอร์บริเวณใด   เป็นรูปหรือเครื่องหมาย หรือข้อความอย่างไร มีติดฟิล์มกรองแสงทึบมาก-น้อยที่ใด อย่างไร
              ๓.๕ แผ่นป้ายที่ติดกับกระจกด้านหน้า   ได้แก่ ป้ายแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีแผ่นป้ายผ่านเข้า-ออก ของสถานที่ต่าง ๆ บางครั้งระบุชื่อไว้ที่แผ่นป้าย  ถ้าเห็นให้จดจำไว้ด้วยแผ่นป้ายแสดงสิทธิพิเศษต่าง ๆ เช่น การจอดรถ การประกันภัย ฯลฯ
              ๓.๖ เสียงของเครื่องยนต์  แตร  จดจำว่ามีเสียงอย่างไร      รถบางประเภทมีเสียงเครื่องยนต์ เสียงแตรเฉพาะตัว เสียงรถแข่ง รถปกติ รถสามล้อ รถจักรยานยนต์ ย่อมแตกต่างกัน   บางครั้งไม่เห็นยานพาหนะก็อาจสันนิษฐานได้ว่าเป็นยานพาหนะอะไร   แต่ต้องอาศัยความชำนาญพอสมควร
           ทั้งหมดที่ได้แนะนำมานี้  เป็นเพียงแนวทางในการที่ท่านจะใช้ในการสังเกตจดจำตำหนิรูปพรรณของบุคคล  ลักษณะของยานพาหนะที่ต้องสงสัย  การที่ท่านจะจดจำได้ดีนั้นขึ้นอยู่กับว่าท่านมีความสนใจและมีการฝึกฝน ในการจดจำตามแนวทางนี้มากน้อยเพียงใด วิธีการฝึกจดจำนั้นไม่ใช่ของยาก ท่านอาจฝึกฝนจดจำบุคคลที่เดินผ่านไปมา หรือยานพาหนะที่ผ่านไปมา แล้วลองบันทึกสิ่งที่ท่านจดจำได้ แล้วนำไปตรวจสอบกับบุคคล ยานพาหนะจริง    อย่างไรก็ตามข้อสำคัญของการสังเกตจดจำจะเป็นประโยชน์ต่อการสืบสวนของตำรวจก็คือ  ข้อมูลที่แม่นยำใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด ดังนั้น หากท่านไม่แน่ใจในข้อมูลใด ๆ ก็ไม่ควรใช้วิธีเดาหรือคิดเอาเอง เพราะถ้าให้ข้อมูลเหล่านี้กับตำรวจแล้ว อาจทำให้เกิดการไขว้เขวสับสนแก่การปฏิบัติงานของตำรวจอย่างแน่นอน
บันทึกการเข้า

ถ้าหากเห็นพ้องต้องตรงกันว่า อธิปไตยของชาติ บูรณภาพแห่งดินแดน ความมั่นคงของสถาบัน
มาเหนือ ก่อน "พรรค" "พวก"และ "ตัวบุคคล" ความแตกแยกจะไม่บังเกิด


mr.g
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 188



« ตอบ #4 เมื่อ: 21-08-2008, 22:00 »

.... พลังประชาชนมีสิทธิจะอ้าง
มาตรา ๓๔ สิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ส่วนตัวย่อมไดรับความคุ้มครอง

         การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลาย ซึ่งข้อความหรือภาพไม
ว่าด้วยวิธีใดไปยังสาธารณชนอันเป็นการละเมิดหรือกระทบถึงสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ส่วนตัว
จะกระทํามิได เว้นแตกรณีที่เป็นประโยชนต่อสาธารณชน


แต่เมื่อ
การเผยแพร่หมายจับ ข้อความทำซ้ำไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ เพื่อการช่วยเหลือราชการ ในการแจ้ง/เผยแพร่หมายจับ ต่อสาธารณชน จึงเป็นเรื่องอันสมควร
ตามรัฐธรรมนูญหมวดว่าด้วย

หน้าที่ของชนชาวไทย

มาตรา 69   
บุคคลมีหน้าที่ ป้องกันประเทศ รับราชการทหาร เสียภาษีอากร ช่วยเหลือราชการ รับการศึกษา อบรม พิทักษ์ ปกป้อง และสืบสานศิลปะ วัฒนธรรมของชาติ และภูมิปัญญาท้องถิ่น และอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ


การเผยแพร่หมายจับทำซ้ำ เพื่อช่วยราชการ จึงไม่ควรนับว่าเป็นความผิดแต่ใดๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในชุมชนโลก การเผยแพร่ข้อมูลทำซ้ำ เกี่ยวกับอาชญากรรายใดๆ
ถือเป็นวัฒนธรรมธรรมเนียมปฏิบัติกันแล้วทั่วโลก


ผู้ใดข่มขู่ประชาชน ด้วยการยกเอามาตราและกฏหมายต่างๆ มาละเมิดความดังกล่าวข้างต้นนี้ ย่อมควรจะถือว่า
มีความผิดในการกระทำการ ช่วยเหลือผู้ต้องหา ใช้อำนาจหน้าที่ในการฟ้องหรือข่มขู่ประชาชนโดยมิชอบ
บันทึกการเข้า

ถ้าหากเห็นพ้องต้องตรงกันว่า อธิปไตยของชาติ บูรณภาพแห่งดินแดน ความมั่นคงของสถาบัน
มาเหนือ ก่อน "พรรค" "พวก"และ "ตัวบุคคล" ความแตกแยกจะไม่บังเกิด


ริวเซย์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4,637


Worrior in The Blue Armor


เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 21-08-2008, 22:31 »

น่าสนใจมากจริงๆครับ แบบนี้ถ้าเจอไอ้หน้าเหลี่ยมมาเตร็ดเตร่อยู่ในเมืองไทยก็จับตัวได้ทันที

ไม่ต้องชี้ตัวให้ตำรวจจับ

 
บันทึกการเข้า

ถ้ามีแฟนแบบนี้เอาไหมครับ^^


นักปฏิวัติ
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 330



« ตอบ #6 เมื่อ: 21-08-2008, 22:53 »

  เห็นด้วยครับ โดยเจตนารมณ์ ของหมายจับ ก็น่าจะเป็นทั้งหลักฐานราชการและต้องการสื่อต่อสาธารณะ ว่าต้องการจับอาชญากรดังมีรายละเอียดบ่งชี้ลักษณะต่างๆ ให้สังเกต จะได้ช่วยกันจับ

ดังนั้นการทำการตลาด ทุกรูปแบบ น่าจะเป็นการช่วยราชการ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการสื่อต่อสาธารณชน (ผมคิดๆเอา ตามหลักการนะครับ)
บันทึกการเข้า

"สุดยอดกลยุทธ์ คือชนะโดยไม่ต้องรบ" ซุนวู

"ผู้นำชั้นเลิศนั้น เพียงแต่เป็นที่รับรู้ว่ามีตัวตนอยู่
ชั้นรองลงมา เป็นที่รักและสรรเสริญ
ชั้นรองกว่านั้น เป็นที่เกรงกลัวและเกลียดชัง" เหล่าจื๊อ เต้าเต๋อจิง
ooo
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 670


« ตอบ #7 เมื่อ: 21-08-2008, 23:44 »

เห็นด้วยครับ ว่าหมายจับเป็นหลักฐานราชการ และหากจะให้บรรลุวัตถุประสงค์ ก็ควรที่จะต้องเผยแพร่ต่อสาธารณะ

การเผยแพร่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และมีหน้าที่โดยตรงในการปฎิบัติตามหมาย นำมาเผยแพร่ก็ไม่น่าจะมีข้อให้กังขา

แต่ผู้ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องนำมาเผยแพร่นี่ซิ มันต้องดูว่ามีจุดประสงค์ใด หากเป็นการกระทำโดยสุจริตมีวัตถุประสงค์เพื่อที่

จะช่วยเหลือทางราชการ ก็มีความชอบธรรมที่จะกระทำการดังกล่าวได้ แต่ถ้าไม่ได้กระทำโดยสุจริต เป็นการกระทำโดย

มีเจตนาร้าย กลั่นแกล้งให้ผู้หนึ่งผู้ใด ได้รับความเสียหาย จะถือว่าเป็นการกระทำโดยชอบไม่ได้ น่าจะเข้าข่ายหมิ่นประมาท

สรุป คือ ผมยังเห็นว่าเจตนาเป็นเรื่องสำคัญ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: