ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
01-12-2024, 00:25
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  เรื่อง ยางที่ อีสาน ใครมีข้อมูลมั้งครับ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
เรื่อง ยางที่ อีสาน ใครมีข้อมูลมั้งครับ  (อ่าน 5277 ครั้ง)
samepong(ยุ่งแฮะ)
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,402



« เมื่อ: 14-08-2008, 23:03 »

พันทิป พูดว่ายางที่อีสานกำลัง งอกเงย ปีหน้าฝันว่าจะกรีดยาง

ผมไม่รู้ว่ามันกรีดได้จริงไหม แต่ผม เวฟ กระทู้ไว้ กะให้เพิ่อนๆเข้าไป ดูว่าเค้าฝันหรือ อย่างไร แต่ wm มันลบไปแล้ว อะ
บันทึกการเข้า

เวลาจะพิสูจน์ความเชื่อ สักวัน ไม่ว่าความเชื่อนั้นจะถูกหรือผิด ผมขอรับไว้ด้วยตัวเอง คิเสียว่าทำแล้วเสียใจดีกว่าเสียใจที่ไม่ได้ทำ
aiwen^mei
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,732



« ตอบ #1 เมื่อ: 14-08-2008, 23:46 »

ไม่มีข้อมูลนะคะ เพียงแต่ว่าเมื่อต้นเดือนนี้ ไปตะลอนอีสานตอนบนมา ระหว่างนั่งรถข้ามอำเภอบ้าง ข้ามจังหวัดบ้าง มีความรู้สึกว่าเหมือนนั่งรถผ่านนครศรีธรรมราช สตูล ตรัง สองข้างทางเขียวขจี นาข้าวก็เขียวชอุ่ม ต้นไม้ริมถนนก็เป็นป่าคล้าย ๆ แถวทางใต้ และมีฝนตกตลอด แต่ไม่หนัก ตก ๆ หยุด ๆ เป็นระยะ ๆ อากาศเย็นสบาย

ได้มีโอกาสคุยกับคนในพื้นที่จ.นครพนม และสกลนคร จึงเพิ่งทำให้ทราบว่า อีสานแถบนี้ปลูกยางมานานจนกรีดน้ำยางขายได้แล้ว แถมยังมีคุณภาพดีกว่าทางใต้อีก เพราะว่าฝนตกไม่ชุกเกินไป น้ำยางจึงเข้มข้นกว่า ทำให้ชาวบ้านมีฐานะความเป็นอยู่ดีขึ้น  Surprised

ปกติ ถ้าพูดถึงป่าทางอีสาน นึกถึงแต่ยูคาลิปตัสอย่างเดียวเท่านั้น  Mr. Green

ส่วนมุกดาหารนั้น เป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์ของป่ามาก มีเนื้อที่ประมาณ 30 % ของพื้นที่ทั้งหมด (จำมาจากข้อมูลในหอแก้วมุกดาหาร หวังว่าจะจำไม่ผิด )

ไม่ทราบว่าข้อมูลจริง ๆ เป็นอย่างไรเหมือนกันค่ะ แต่สองข้างทาง ก็เห็นป่ายางพาราค่ะ ถ้าดูไม่ผิดว่าเป็นต้นยางนะนั่น  Mr. Green



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14-08-2008, 23:49 โดย aiwen^mei » บันทึกการเข้า

有缘千里来相会,无缘对面不相逢。
ดอกฟ้ากับหมาวัด
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,042



« ตอบ #2 เมื่อ: 15-08-2008, 00:03 »

ถ้าจะถามเรื่องยางอาย...แทบไม่มีเหลือแหล๊ว

เหลือแต่พวกตอแหล...โกหกพกพัดลม พริ้วไปวันๆ ขอให้สมประโยชน์ เพื่อตัวกรู

เพื่อกระเพาะหิวกระหายของกรู .....ใครจะเป็นจะตายช่างแมร่งงงมัน

...................................


สังคมที่เสื่อมทราม
มาจากความที่เสื่อมโทรม
รุมเร้าด้วยโสมม
มันหมักหมมจนเน่าเหม็น

มือยาวก็สาวว่า
เหมือนตาบอดสอดตาเห็น
รู้ไม่จริงเหมือนที่เป็น
ดุจเหมือนเกาใช่ที่คัน

เกาแล้วแล้วก็เกาเล่า
ก็เกาเหลาแสนขบขัน
เกาแล้วใครเล่ากัน
ต้องหักเห...พเนจร

 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15-08-2008, 04:25 โดย ดอกฟ้ากับหมาวัด » บันทึกการเข้า

***ผู้ยิ่งใหญ่ในแผ่นดินเปรียบเสมือนเรือ ประชาชนเปรียบเสมือนน้ำ

      น้ำพยุงเรือให้แล่นไปได้ และน้ำก็จมเรือได้เช่นกัน***
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 15-08-2008, 02:32 »

ตามอำเภอต่างๆ ในแถบอีสานใต้ มีประมูลซื้อยางกันเป็นประจำมานานแล้วครับ
บันทึกการเข้า

moon
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 780


« ตอบ #4 เมื่อ: 15-08-2008, 02:51 »

น้องข้างบ้านแต่งงานกับคนกาฬสินธุ์ รักกันมาตั้งแต่เรียน ป.ตรี ผมเคยไปงานแต่งที่นั่น ที่นั่นเขาปลูกยางกันมานานพอควรแล้ว รายได้ดีด้วย
ผมไปคราวนั้นก็เลยถือโอกาสดูที่แถวนั้นเผื่อว่าจะปลูกยางบ้าง แต่พอกลับมากรุงเทพฯ ปรึกษาเพื่อนๆ ทุกคนบอกว่าเสี่ยงเพราะว่า
นโยบายกล้ายาง 2 ล้านต้นที่รัฐบาลในสมัยนั้นทำ ในอนาคตน่าจะมีปัญหา เพราะว่ามันจะออกมาพร้อมๆ กัน ในเวลาใกล้เคียงกัน
ตอนที่คิดจะซื้อนั้น เขาขาย 20 ไร่ สองแสน ยาง ราคา 65 บาท ก็เลยบอกน้องว่าไม่เอาแล้วก็บอกเรื่องที่กังวล น้องบอกว่ากำลังจะลงยางอีก
เลยโทรไปบอกพ่อตาว่าอย่าพึ่งลง ราคายางดีในสมัยรัฐบาลทักษิณ ก็เพราะว่าจีนขยายกำลังการผลิต แล้วถ้ายางอีก 2 ล้านต้นกรีดได้พร้อมกัน
ราคาจะลงเหลือเท่าไหร่
บันทึกการเข้า
login not found
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,523



« ตอบ #5 เมื่อ: 15-08-2008, 04:03 »

สภาพของพื้นที่อีสานโดยย่อ
พื้นที่ขอบที่ติดกับน้ำโขง และขอบแอ่งกระทะจะ"เขียว"กว่าตอนกลาง
ที่เขียวส่วนใหญ่ก็จะเป็นป่าเบญจพรรณ ซึ่งจะค่อนข้างโปร่ง และผลัดใบในหน้าแล้ง
พื้นที่ตอนกลางส่วนใหญ่ค่อนข้างแห้งแล้ง จะมีที่ติดกับชลประทานอยู่บ้าง
มักจะทำนาปีนาปรัง

โดยธรรมชาติของยางแล้ว
ในหน้าฝนแม้จะมีน้ำเลี้ยงต้นยางแต่ต้องงดกรีดเพราะฝนจะทำให้คุณภาพน้ำยางด้อยลง
และฝนโดนแผลเปลือกยางจะเน่าหรือติดเชื้อราได้ง่าย ในฤดูฝนจึงเป็นฤดูพักฟื้นของยาง
ในหน้าแล้งก็ต้องมีน้ำเลี้ยงตลอดทั้งฤดู จึงจะมีน้ำยางมากพอที่จะกรีดแล้ว"คุ้ม"
พื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคอีสานจึงไม่เหมาะสมในการปลูกยาง

หากพูดถึงประวัติยางในภาคอีสานที่ทั่วทั้งภาคมีมานานเป็นสิบปีแล้วครับ
ที่เริ่มตอนแรกก็มักจะเป็นพวกที่มาจากใต้ และตะวันออก เห็นพื้นที่ไหนพอปลูกได้ก็ลองปลูกดู
หลังๆชาวบ้านอีสานเห็นเขาปลูกก็ปลูกตามบ้าง หรือบางรายก็ปลูกเพราะได้รับการส่งเสริม
ผลผลิตที่ได้ต่อไร่ก็ใช้ได้ แต่พื้นที่ที่ปลูกได้มีไม่มาก ผลผลิตรวมจึงยังน้อยอยู่
โรงงานแปรรูปในพื้นที่ยังมีจำนวนน้อย ส่วนใหญ่ยังส่งไปขายที่ภาคตะวันออก
ปลูกยาก ส่วนใหญ่ขายเป็นยางถ้วยที่มีราคาถูกกว่า ต้องเสียค่าขนส่งมาก จึงไม่เป็นที่นิยมปลูกเหมือนพืชศก.ชนิดอื่น

พูดถึงเรื่องยางแม้ว ยางCP บ้าง
ยางCPที่ปลูกกันส่วนใหญ่แห้งตายไปแล้วเพราะปลูกไม่ถูกฤดูไม่มีน้ำรด ต้นกล้าก็อ่อนแอ
ที่รอดอยู่ก็ไม่ได้ขนาด/อายุกรีด โตช้า แต่ดันออกดอกไว
แม้จะเลี้ยงจนกรีดยางได้ กรีดไปก็ได้น้ำยางน้อยไม่คุ้ม เผลอๆกรีดแล้วไม่ทันได้ยางต้นมาตายซะอีก
ที่พวกขี้ข้าแม้วบอกว่าปีหน้ากรีดยางได้ น่าจะเป็นยางรุ่นที่ปลูกกันมานานแล้วหรือหาพันธุ์มาปลูกเอง ไม่ใช่ยางCP



ปล.ป่าฝนในภาคอีสาน ยังไม่ได้ครึ่งของป่าแล้งของภาคใต้เลยครับ
(จริงๆภาคใต้ไม่มีหน้าแล้ง มีแค่วันนี้ไม่ตก พรุ่งนี้ก็ตก
ฤดูก็มี ฤดูร้อน ร้อนมาก และร้อนฉิบหาย)
บันทึกการเข้า
irq5
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,149



« ตอบ #6 เมื่อ: 15-08-2008, 09:14 »

 

ยางเป็นพืชสวนนะครับ  เรื่อยไปต้องดูแลดีๆ

มือใหม่ชาวอีสาน ต้องระวังเจอแจ๊คพอตครับ

ปลูกมาตั้งนานแล้วตาย  สายป่านหมด ไม่ทักกรีด

ถ้าลงทุนเยอะเกินไป ต้นยางตาย คนตายด้วย
บันทึกการเข้า

.:MMMMMMMMMMMMMMMMMMMMMddMMMs..
.:MMMMMMMMMMMMMMMMMMMMMssMMMMs..
.:Mddddddddddddddddddddddddddo+ddddNs..
.:M................................................hs..
.:M.............//:................//:.............hs..
.:M...........:MMs.............NMd............hs..
.:M................................................hs..
.:M................................................hs..
.:M.............yNNNNNNNNNN................hs..
.:M.................................................hs..
.:dyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyho..

....W..W::W:...AAA...NN...N...TTTTT..EEEEE...DDD..........
.....Ww.wW...AAAA..N..N..N......T.....EEE......D....D.......
.....-W...W...A......A N....NN......T.....EEEEE...DDD..........
. . . . . . . . . . . . thaksin shinawatra
THE THIRD WAY
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,821


Love looks not with eyes, but with the mind.


« ตอบ #7 เมื่อ: 15-08-2008, 09:45 »

เป็นความรู้ทั่วไปครับ
1 ศาลประทับรับฟ้องแล้ว...ฮา
2 สามารถปลูกยางได้ 1-2ปีแรกต้องดูแลมากกว่าภาคอื่นหน่อย(ขาดน้ำ)
3 ช่วงเวลาการกรีดได้เปรียบทางใต้ เพราะช่วงแล้งยาวกว่า
4 เป็นพืชเศรษฐกิจที่จะพลิดฟื้นอิสานได้ ถ้าราคาเหมือนปัจจุบัน

บันทึกการเข้า

ความรักนั้นหวาน ไม่ว่าจะรับหรือให้
************************
การขับไล่ทรราช เป็นภารกิจของเจ้าของประเทศ
Şiłąncē Mőbiuş
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,215



เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 15-08-2008, 10:12 »

สภาพของพื้นที่อีสานโดยย่อ
พื้นที่ขอบที่ติดกับน้ำโขง และขอบแอ่งกระทะจะ"เขียว"กว่าตอนกลาง
ที่เขียวส่วนใหญ่ก็จะเป็นป่าเบญจพรรณ ซึ่งจะค่อนข้างโปร่ง และผลัดใบในหน้าแล้ง
พื้นที่ตอนกลางส่วนใหญ่ค่อนข้างแห้งแล้ง จะมีที่ติดกับชลประทานอยู่บ้าง
มักจะทำนาปีนาปรัง

โดยธรรมชาติของยางแล้ว
ในหน้าฝนแม้จะมีน้ำเลี้ยงต้นยางแต่ต้องงดกรีดเพราะฝนจะทำให้คุณภาพน้ำยางด้อยลง
และฝนโดนแผลเปลือกยางจะเน่าหรือติดเชื้อราได้ง่าย ในฤดูฝนจึงเป็นฤดูพักฟื้นของยาง
ในหน้าแล้งก็ต้องมีน้ำเลี้ยงตลอดทั้งฤดู จึงจะมีน้ำยางมากพอที่จะกรีดแล้ว"คุ้ม"
พื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคอีสานจึงไม่เหมาะสมในการปลูกยาง

หากพูดถึงประวัติยางในภาคอีสานที่ทั่วทั้งภาคมีมานานเป็นสิบปีแล้วครับ
ที่เริ่มตอนแรกก็มักจะเป็นพวกที่มาจากใต้ และตะวันออก เห็นพื้นที่ไหนพอปลูกได้ก็ลองปลูกดู
หลังๆชาวบ้านอีสานเห็นเขาปลูกก็ปลูกตามบ้าง หรือบางรายก็ปลูกเพราะได้รับการส่งเสริม
ผลผลิตที่ได้ต่อไร่ก็ใช้ได้ แต่พื้นที่ที่ปลูกได้มีไม่มาก ผลผลิตรวมจึงยังน้อยอยู่
โรงงานแปรรูปในพื้นที่ยังมีจำนวนน้อย ส่วนใหญ่ยังส่งไปขายที่ภาคตะวันออก
ปลูกยาก ส่วนใหญ่ขายเป็นยางถ้วยที่มีราคาถูกกว่า ต้องเสียค่าขนส่งมาก จึงไม่เป็นที่นิยมปลูกเหมือนพืชศก.ชนิดอื่น

พูดถึงเรื่องยางแม้ว ยางCP บ้าง
ยางCPที่ปลูกกันส่วนใหญ่แห้งตายไปแล้วเพราะปลูกไม่ถูกฤดูไม่มีน้ำรด ต้นกล้าก็อ่อนแอ
ที่รอดอยู่ก็ไม่ได้ขนาด/อายุกรีด โตช้า แต่ดันออกดอกไว
แม้จะเลี้ยงจนกรีดยางได้ กรีดไปก็ได้น้ำยางน้อยไม่คุ้ม เผลอๆกรีดแล้วไม่ทันได้ยางต้นมาตายซะอีก
ที่พวกขี้ข้าแม้วบอกว่าปีหน้ากรีดยางได้ น่าจะเป็นยางรุ่นที่ปลูกกันมานานแล้วหรือหาพันธุ์มาปลูกเอง ไม่ใช่ยางCP



ปล.ป่าฝนในภาคอีสาน ยังไม่ได้ครึ่งของป่าแล้งของภาคใต้เลยครับ
(จริงๆภาคใต้ไม่มีหน้าแล้ง มีแค่วันนี้ไม่ตก พรุ่งนี้ก็ตก
ฤดูก็มี ฤดูร้อน ร้อนมาก และร้อนฉิบหาย)

คนใต้ใช่มะเนี่ย รู้ดีจัง 

โดยเฉพาะประโยคเนี้ย
(จริงๆภาคใต้ไม่มีหน้าแล้ง มีแค่วันนี้ไม่ตก พรุ่งนี้ก็ตก
ฤดูก็มี ฤดูร้อน ร้อนมาก และร้อนฉิบหาย)
บันทึกการเข้า



“People should not be afraid of their governments. Governments should be afraid of their people.”

. “ประชาชนไม่ควรกลัวรัฐบาลของตนเอง รัฐบาลต่างหากที่ควรกลัวประชาชน” .

. แวะไปเยี่ยมกันได้ที่ http://silance-mobius.blogspot.com/ นะครับ .
(ลุง)ถึก สไลเดอร์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,026



« ตอบ #9 เมื่อ: 15-08-2008, 10:26 »

login not found เป็นคนอิสานครับ ขอบอก.......เอิ้กกกกกกก
 
บันทึกการเข้า

(ลุง)ถึก สไลเดอร์
Şiłąncē Mőbiuş
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,215



เว็บไซต์
« ตอบ #10 เมื่อ: 15-08-2008, 10:45 »

login not found เป็นคนอิสานครับ ขอบอก.......เอิ้กกกกกกก
 

แต่รู้เรื่องภาคใต้ดีนะเนี่ย โดยเฉพาะ อากาศว่ามี 3 ฤดู คือ ร้อน ร้อนมาก และ ร้อนฉิบหาย  (แต่ในความร้อนรุ่ม ก็มีความเปียกชุ่มอยู่เสมอ  )
บันทึกการเข้า



“People should not be afraid of their governments. Governments should be afraid of their people.”

. “ประชาชนไม่ควรกลัวรัฐบาลของตนเอง รัฐบาลต่างหากที่ควรกลัวประชาชน” .

. แวะไปเยี่ยมกันได้ที่ http://silance-mobius.blogspot.com/ นะครับ .
login not found
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,523



« ตอบ #11 เมื่อ: 15-08-2008, 11:11 »

หุหุ มีความจำเป็นอันต้องรู้เรื่องภาคใต้และภาคตะวันออกไว้บ้างครับ
อยากไปย่ำป่าภาคใต้ซักที แต่ดูเวลาที่ใช้ในแต่ละทริปแล้ว น่าจะยังอีกนาน

พอดูคห.คุณ irq5 แล้วนึกออกว่าปัญหาใหญ่ๆของการปลูกยางในภาคอีสานก็มีหลายอย่าง
- เงินทุนไม่พอ คนที่ทำสวนยางส่วนใหญ่จึงเป็นนายทุน หรือไม่ก็คนที่รอโดนยึดที่
- ไม่มีความรู้ด้านการทำยางด้านการปลูก การเลี้ยง การกรีดยาง ขนาดของยางที่กรีดได้
   เห็นเจ๊งมาเยอะปลูกไปก็ตาย ได้ขายเป็นไม้ส่งโรงงานเฟอร์นิเจอร์
   ถ้าไม่ได้ขนาดก็ต้องทิ้ง เผาเป็นถ่านก็ไม่ได้
- ไม่มีความรู้ด้านการแปรรูป เก็บรักษายาง ทำให้ขายยางได้ราคาต่ำ
- ไม่มีตลาด
เรื่องที่บอกว่าโครงการยางช่วยประชาชนแค่หาพันธ์ ให้เงินกู้
จึงล้วนเป็นเรื่องโกหกทังเพ งานนี้หนี้เน่าอีกชัวร์
บันทึกการเข้า
ริวเซย์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4,637


Worrior in The Blue Armor


เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: 15-08-2008, 11:22 »

ทางเหนือก็ปลูกต้นยางเหมือนกันนะครับ แต่ยังไม่มากเหมือนทางอีสาน อีกไม่เกิน5ปีก็คาดว่าจะได้ผลผลิตสู่ตลาดแน่นอน

แต่ทางเหนือนิยมปลูกต้นสักทองมากกว่า ก็ใช้เวลาประมาณ10ปี ถึงจะตัดขายได้ ราคาดี บ้านผมก็ปลูกขายเหมือนกัน
บันทึกการเข้า

ถ้ามีแฟนแบบนี้เอาไหมครับ^^


Scorpio6
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,210


Man on Mission *เสี่ยวฯ>สันติภาพ*


« ตอบ #13 เมื่อ: 15-08-2008, 11:39 »

หุหุ มีความจำเป็นอันต้องรู้เรื่องภาคใต้และภาคตะวันออกไว้บ้างครับ
อยากไปย่ำป่าภาคใต้ซักที แต่ดูเวลาที่ใช้ในแต่ละทริปแล้ว น่าจะยังอีกนาน

พอดูคห.คุณ irq5 แล้วนึกออกว่าปัญหาใหญ่ๆของการปลูกยางในภาคอีสานก็มีหลายอย่าง
- เงินทุนไม่พอ คนที่ทำสวนยางส่วนใหญ่จึงเป็นนายทุน หรือไม่ก็คนที่รอโดนยึดที่
- ไม่มีความรู้ด้านการทำยางด้านการปลูก การเลี้ยง การกรีดยาง ขนาดของยางที่กรีดได้
   เห็นเจ๊งมาเยอะปลูกไปก็ตาย ได้ขายเป็นไม้ส่งโรงงานเฟอร์นิเจอร์
   ถ้าไม่ได้ขนาดก็ต้องทิ้ง เผาเป็นถ่านก็ไม่ได้
- ไม่มีความรู้ด้านการแปรรูป เก็บรักษายาง ทำให้ขายยางได้ราคาต่ำ
- ไม่มีตลาด
เรื่องที่บอกว่าโครงการยางช่วยประชาชนแค่หาพันธ์ ให้เงินกู้
จึงล้วนเป็นเรื่องโกหกทังเพ งานนี้หนี้เน่าอีกชัวร์
ต้นตอและที่มาต้นยางด้อยคุณภาพที่มาโครงการทุจริตกล้ายางในอีสาน
มาจากคุณห้อยผู้ยิ่งใหญ่แห่งบุรีรัมย์..
ยางที่มีในโครงการฯนถึงไม่มีคุณภาพเพราะดันเอามาจากกิ่งและสายพันธุ์พันธุ์ที่ไม่ดี
จึงเป็นที่มาของการทุจริตที่กำลังอยู่ในชั้นศาล
ถึงแม้ปลูกไม่มากเหมือนภาคอื่นคุณภาพดียังพอมีให้เห็นบ้างครับ
บันทึกการเข้า



คิดจะล้มระบอบทักษิณ ต้องอ่านใจเนวินและเพื่อน
บล็อกเสี่ยวไทบ้าน*แวะเยี่ยมRepublican Collage ของคุณสุธา ชันแสง*
http://www.oknation.net/blog/thaibaan/2008/03/26/entry-1
"ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนและในฐานะอย่างไร จงตรองหาว่า จะมีทางใช้ชีวิต
ให้เป็นประโยชน์ในทางใดบ้าง เมื่อตั้งใจคิดถึงมันแล้วก็จะพบเสมอ
ไม่ว่าอยู่ที่ใด เมื่อพบทางแล้วจงลงมือทำสิ่งที่เป็นประโยชน์"
Şiłąncē Mőbiuş
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,215



เว็บไซต์
« ตอบ #14 เมื่อ: 15-08-2008, 11:43 »

ทางเหนือก็ปลูกต้นยางเหมือนกันนะครับ แต่ยังไม่มากเหมือนทางอีสาน อีกไม่เกิน5ปีก็คาดว่าจะได้ผลผลิตสู่ตลาดแน่นอน

แต่ทางเหนือนิยมปลูกต้นสักทองมากกว่า ก็ใช้เวลาประมาณ10ปี ถึงจะตัดขายได้ ราคาดี บ้านผมก็ปลูกขายเหมือนกัน

สักทอง เวลาขายเค้าคิดยังไงครับ และ ราคาเท่าไหร่
บันทึกการเข้า



“People should not be afraid of their governments. Governments should be afraid of their people.”

. “ประชาชนไม่ควรกลัวรัฐบาลของตนเอง รัฐบาลต่างหากที่ควรกลัวประชาชน” .

. แวะไปเยี่ยมกันได้ที่ http://silance-mobius.blogspot.com/ นะครับ .
login not found
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,523



« ตอบ #15 เมื่อ: 15-08-2008, 12:07 »

สักทอง เวลาขายเค้าคิดยังไงครับ และ ราคาเท่าไหร่

เห็นว่าขายเป็น ลบ.ม. แต่ราคาก็ขึ้นอยู่กับเส้นรอบวงและความยาว
คือยิ่งเป็นต้นใหญ่เลื่อยออกมาได้ไม้แผ่นใหญ่ๆ ราคาต่อลบ.ม.ก็ยิ่งสูง

นอกจากขายตอนโต ก็มีขายแบบต้นเล็ก(3-5 ปี, 5-7ปี)
ที่เอาไปทำโต๊ะเก้าอี้ชิงช้าแบบใช้ทั้งต้นนั่นก็อีกราคาหนึ่ง

บันทึกการเข้า
irq5
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,149



« ตอบ #16 เมื่อ: 15-08-2008, 12:09 »

 

ยางที่อีสาน กับเหนือ ผลผลิตดีจริงครับ

ต่อไร่ผมว่าได้ตังมากกว่าภาคใต้ด้วยครับ

เคยไปที่บุรีรัมย์ เหมือนกัน


มาดูปัญหาที่เคยเป็นข่าวดีกว่า

อ้างถึง
พบเกษตรกรเร่งเปิดหน้ายางเร็วหลังราคายางพุ่ง หวั่นโค่นทิ้งก่อนกำหนด
นายกสมาคมชาวสวนยาง จ.เลย ระบุเกษตรกรกว่าร้อยละ 70-80% เปิดกรีดหน้ายางก่อนกำหนดรับราคายางพุ่ง หวั่นให้น้ำยางไม่เต็มที่จนอาจส่งผลต่ออนาคตต้องโค่นต้นยางทิ้งเร็ว ด้าน สกย.หนองคายยืนยันยางพาราล้านไร่ยังไม่มีการเปิดหน้ายาง แต่ยอมรับมีเกษตรกรบางรายเปิดหน้ายางที่อายุ 5-6 ปี สำรวจพบมีเกษตรกรต้องการปลูกยางอีกถึง 3 แสนไร่

นายทรงศักดิ์ ประจงจัด นายกสมาคมชาวสวนยาง จ.เลย เปิดเผยว่า โครงการส่งเสริมการปลูกยางพาราล้านไร่ได้เริ่มดำเนินการเมื่อปี 2547 ซึ่งช่วงเวลาที่ได้รับนั้นเป็นช่วงปลายฤดูกาลปลูก เมื่อเกษตรกรนำกล้ายางไปปลูกแล้ว ก็ส่งให้ต้นยางตาย และบางส่วนก็ออกดอกเป็นยางตาสอย แต่อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่ามียางตาสอยมากน้อยแค่ไหน จะทราบก็ต่อเมื่อช่วงที่จะเปิดกรีดยาง คือยางเร่งไม่ขึ้น ต้นเล็ก เปลือกบาง และเมื่อเปิดหน้ายางแล้วจะให้น้ำยางน้อย ซึ่งเป็นลักษณะที่บ่งบอกว่าเป็นยางตาสอย


 ขณะนี้เกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในพื้นที่ต่างประสบปัญหาเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องความรู้ความเข้าใจในการกรีดยาง โดยที่ความเหมาะสมในการเปิดหน้ายางไม่เพียงแต่มีอายุครบ 6-7 ปีขึ้นแล้ว แต่ก่อนเปิดหน้ายางจะต้องวัดเส้นรอบวงจากโคนต้นสูงขึ้นไปบนลำต้นราว 1.50 เมตร หากยางต้นใดมีเส้นรอบวงเกิน 50 ซม.จึงจะสามารถเปิดหน้ายางได้ แต่ขณะนี้เกษตรกรยังไม่มีความรู้ ความเข้าใจ

  นอกจากนี้ยังพบปัญหาว่า เกษตรกรเป็นจำนวนมีการเปิดกรีดหน้ายางขณะที่ต้นยางมีอายุได้แค่ 4-5 ปีเท่านั้น เพื่อให้ทันราคายางที่พุ่งสูงถึง 100 กว่าบาท/กก. โดยเส้นรอบวงแค่ 30-40 ซม.ก็เปิดกรีดกันแล้ว โดยไม่ได้คำนึงว่าเมื่อกรีดไปแล้ว ปัญหาก็คือเมื่อกรีดต้นยางที่ยางมีอายุไม่ถึง เปลือกก็บาง ให้น้ำยางไม่เต็มที่ อีกทั้งต้องโค่นต้นยางทิ้งเร็ว ซึ่งสมาชิกของสมาคมฯ กว่า 1,000 ครอบครัว ก็พบกว่ากว่า 70-80% มีการเปิดหน้ายางก่อนกำหนด" นายทรงศักดิ์ กล่าว


บันทึกการเข้า

.:MMMMMMMMMMMMMMMMMMMMMddMMMs..
.:MMMMMMMMMMMMMMMMMMMMMssMMMMs..
.:Mddddddddddddddddddddddddddo+ddddNs..
.:M................................................hs..
.:M.............//:................//:.............hs..
.:M...........:MMs.............NMd............hs..
.:M................................................hs..
.:M................................................hs..
.:M.............yNNNNNNNNNN................hs..
.:M.................................................hs..
.:dyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyho..

....W..W::W:...AAA...NN...N...TTTTT..EEEEE...DDD..........
.....Ww.wW...AAAA..N..N..N......T.....EEE......D....D.......
.....-W...W...A......A N....NN......T.....EEEEE...DDD..........
. . . . . . . . . . . . thaksin shinawatra
irq5
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,149



« ตอบ #17 เมื่อ: 15-08-2008, 12:16 »

 

เกษตรกรที่ฐานนะไม่ค่อยดี และขาดเครดิต  ในปัจจุบันนี้ 

เหนื่อยหน่อยครับที่จะทำยาง

ลงกล้าแล้วรอ จนเหงือกแห้ง ไป 6-7 ปีครับ

แต่ใส่ตังทุกวันนะครับ ค่ารดน้ำ ค่าปุ๋ย ค่ายา

ความละเอียดในการเลี้ยง การกรีด

เอาการกรีดมาให้ดูก่อน



การเปิดกรีดครั้งแรก

หลังจากที่ทำรอยและเครื่องหมายต่างๆ เรียบร้อยแล้ว การเปิดกรีดตามรอยกรีด เป็นมุม 30 องศา ครั้งแรก ควรกรีดให้ลึกพอที่น้ำยาง จะซึมออกมา ในวันที่สอง ก็กรีดให้ลึกลงไปอีก การกรีด 2 วันแรก ก็เป็นเสมือนเตือนต้นยาง และในวันที่ สาม ก็กรีดให้ลึกพอดี ที่จะเอาน้ำยางได้

ความสูงของรอยกรีด

ความสูง โดยทั่วไป จะเปิดกรีดที่ความสูง 150 ซม. แต่สามารถเปิดกรีดในระดับที่ต่ำกว่านี้ เช่น ที่ความสูง 100 ซม. ก็ได้ เพราะจะสะดวก และง่ายโดยเฉพาะ กับแรงงานกรีดยางที่ยังไม่เชี่ยวชาญมากนัก การเปิดกรีดที่ระดับต่ำ จะทำให้ผลผลิต เพิ่มขึ้น
เปิดกรีดที่ความสูง 100 เซนติเมตร ผลผลิตเพิ่มขึ้น 11 เปอร์เซ็นต์
เปิดกรีดที่ความสูง 75 เซนติเมตร ผลผลิตเพิ่มขึ้น 18 เปอร์เซ็นต์
เปิดกรีดที่ความสูง 50 เซนติเมตร ผลผลิตเพิ่มขึ้น 28 เปอร์เซ็นต์

การเปิดกรีดที่ระดับความสูง 50 เซนติเมตร ในหน้ากรีดแรกจะต้องกรีดให้ได้อย่างน้อยเป็นเวลา 2 ปี และการเปิดกรีดหน้าที่ 2 จะต้องเปิดกรีดที่ระดับความสูง 150 เซนติเมตร อนึ่ง การเปิดกรีด ที่ตำแหน่งใดก็ตาม ต้นยางต้องได้ขนาด 50 ซม.ที่ระดับความสูงจากพื้นดิน 150 ซม. เสมอ

ทิศทางการกรีด


พันธุ์ยางโดยทั่ว ๆ ไป จะต้องกรีดจากซ้ายลงมาขวา เพราะเป็นการกรีดที่ตัดท่อน้ำยางได้เป็น จำนวนมากที่สุด โดยท่อน้ำยาง จะไหลเวียนจาก ขวาบนมาซ้ายล่าง โดยทำมุมเอียง ประมาณ 3 องศา การกรีดผิดทิศทาง จะทำให ้ผลผลิต ลดลง 8-10%

มุมกรีดที่พอเหมาะ

มุมกรีดควรมีความลาดเอียงประมาณ 30 องศา (สำหรับยางติดตา) และ 25 องศา สำหรับต้นกล้ายาง การกรีดที่ทำมุม 40-45 องศา แม้จะทำให้ได้น้ำยางมากขึ้น ขี้ยางบนรอยกรีดจะเหลือน้อย (บาง) ลง แต่จะทำให้จำนวนต้นที่กรีด ได้น้อยลง (ในเวลาที่เท่ากัน) และในระดับต่ำลงมาจะทำให้กรีดลำบาก การสิ้นเปลืองเปลือกจะมากด้วยเช่นกัน

การกรีดแบบกระตุกมีด


การกรีดแบบดั้งเดิมจะเป็นวิธีลากด้วยท่อนแขน ซึ่งมักจะทำให้การกรีดช้า ขี้ยางมักจะยาวและใหญ่หนา เวลากรีดบาด ก็จะบาดแผลยาวมากกว่า การกรีดที่ถูกหลักวิชา โดยการกระตุกมีดหรือกระตุกข้อมือ ซึ่งจะง่าย เบามือ และกรีดได้เร็วกว่า และทำให้ได้น้ำยางมากกว่า เพราะการกระตุกมีด เป็นการเฉือนเปลือกยาง ของคมมีดที่เร็วกว่าการลาดด้วยท่อนแขน

ความลึกในการกรีด


ต้องกรีดให้ลึกมากที่สุด แต่ต้องไม่ถึงเยื่อเจริญ ควรห่างจากเยื่อเจริญประมาณ 0.5-1.0 มม. ทั้งนี้เพื่อให้ได้น้ำยางมากที่สุด การกรีดถึงเยื่อเจริญพอดีหรือกรีดบาด (ไม่มีชั้นของเปลือกยางเหลือปิดเยื่อเจริญ) ในหน้าแล้ง อาจเสี่ยง ต่อการที่เนื้อเจริญแห้งตาย และในหน้าฝน อาจเสี่ยงต่อการเข้าทำลาย ได้อย่างง่ายของเชื้อราที่ เป็นสาเหตุของโรคหน้าเปื่อยและโรคเส้นดำ

ความหนาบางของการกรีด

การกรีดขี้ยางบางเกินไป ก็ไม่สามารถให้น้ำยางได้มากที่สุดได้ ในขณะที่การกรีดขี้ยางหนาเกินไป ก็ทำให้สิ้นเปลืองเปลือก ความหนาบาง ของขี้ยาง ในการกรีดแต่ละครั้งจะอยู่ที่ 1.2-1.7 มม. หรือ 2.5 ซม./เดือน หรือ 150 ซม./5 ปี หากกรีดได้ตามนี้จะสามารถกรีดได้นาน 25 ปี

ช่วงเวลากรีด

การกรีดในช่วงที่มีอุณหภูมิของอากาศต่ำ เพราะจะทำให้ระยะเวลาของการไหลของน้ำยางยาวนานก่อนที่จะแข็งตัวและหยุดไหล ซึ่งก็จะทำให้ได้น้ำยางมาก โดยทั่วไปชาวสวนยังนิยมกรีดยางในเวลากลางคืน เช่น ในเวลา 01.00-04.00 น. แต่อย่างไร ก็ตามสามารถกรีดตอนเช้าตรู่ (06.00 น.) ได้เช่นกัน โดยผลผลิตอาจต่ำกว่าเพียง 4-5% เท่านั้น แต่ก็สามารถประหยัด ค่าใช้จ่ายด้านอื่นลงได้ เช่น ตะเกียงแก๊ส, ถ่ายหิน นอกจากนี้ก็ยังลดอันตรายต่าง ๆ ไม่ว่าจากสัตว์ร้ายหรือโจรผู้ร้ายและยังเป็นผลดีต่อสุขภาพ เพราะได้ นอนหลับพักผ่อน เต็มที่ไม่ต้องตื่นตอนดึก ๆ เพื่อลุกขึ้นมาทำงานหนัก

ความยาวของรอยกรีดและความถี่ในการกรีด

เรื่องความยาวของรอยกรีดและความถี่ในการกรีดนี้ ในทางวิชาการเรียกว่า "ระบบกรีด" นับเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะหากกรีดถี่เกินไปเช่น 3-4 วันเว้น 1 วัน และใช้รอยกรีดยาวครึ่งต้นก็อาจทำให้ต้นยางในสวนมีอาการของโรคเปลือกแห้งมากขึ้น และทำให้การสิ้นเปลืองเปลือก เป็นไปอย่างรวดเร็ว และเปลือกงอกใหม่ไม่หนาพอ เพราะมีระยะเวลาในการสร้างเปลือกน้อย





การกรีดให้มีน้ำไหล ใครๆก็กรีดได้ครับ

ที่ภาคใต้เองก็ยังมีปัญหากรีดแล้วมุมกักน้ำเยอะ น้อยเกิน ขี้ยางเยอะ   แผลเน่าเร็ว
ตอนน้ำยางออกทีแรก อาจโดดดีใจ  แต่ว่า ผ่านไป 5 ปีทำไมตายเกลี้ยง

บันทึกการเข้า

.:MMMMMMMMMMMMMMMMMMMMMddMMMs..
.:MMMMMMMMMMMMMMMMMMMMMssMMMMs..
.:Mddddddddddddddddddddddddddo+ddddNs..
.:M................................................hs..
.:M.............//:................//:.............hs..
.:M...........:MMs.............NMd............hs..
.:M................................................hs..
.:M................................................hs..
.:M.............yNNNNNNNNNN................hs..
.:M.................................................hs..
.:dyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyho..

....W..W::W:...AAA...NN...N...TTTTT..EEEEE...DDD..........
.....Ww.wW...AAAA..N..N..N......T.....EEE......D....D.......
.....-W...W...A......A N....NN......T.....EEEEE...DDD..........
. . . . . . . . . . . . thaksin shinawatra
Şiłąncē Mőbiuş
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,215



เว็บไซต์
« ตอบ #18 เมื่อ: 15-08-2008, 12:35 »

เห็นว่าขายเป็น ลบ.ม. แต่ราคาก็ขึ้นอยู่กับเส้นรอบวงและความยาว
คือยิ่งเป็นต้นใหญ่เลื่อยออกมาได้ไม้แผ่นใหญ่ๆ ราคาต่อลบ.ม.ก็ยิ่งสูง

นอกจากขายตอนโต ก็มีขายแบบต้นเล็ก(3-5 ปี, 5-7ปี)
ที่เอาไปทำโต๊ะเก้าอี้ชิงช้าแบบใช้ทั้งต้นนั่นก็อีกราคาหนึ่ง



แล้วส่วนใหญ่แล้วราคาเริ่มต้นอยู่ที่เท่าไหร่ครับ 
บันทึกการเข้า



“People should not be afraid of their governments. Governments should be afraid of their people.”

. “ประชาชนไม่ควรกลัวรัฐบาลของตนเอง รัฐบาลต่างหากที่ควรกลัวประชาชน” .

. แวะไปเยี่ยมกันได้ที่ http://silance-mobius.blogspot.com/ นะครับ .
login not found
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,523



« ตอบ #19 เมื่อ: 15-08-2008, 12:49 »

ลบ.ม.ละสองพันกว่าบาทถึงหมื่นสองหมื่นกว่าบาท(อายุเป็นร้อยปี)ครับ

ถ้าขายเป็นต้นต้นเล็กๆอายุประมาณสามปีก็สอง-สามร้อยมั๊ง
บันทึกการเข้า
จะบ้าตาย
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 120



« ตอบ #20 เมื่อ: 15-08-2008, 12:53 »

http://www.price.moc.go.th/content1.aspx?cid=18

บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #21 เมื่อ: 15-08-2008, 14:12 »

โครงการใหม่น่าสนใจ

ใช้ไม้มีค่ายืนต้น เป็น "สินทรัพย์" ค้ำประกันเงินกู้ได้

โครงการนี้ทำให้คนอยากปลูกไม้มีค่าครับ
บันทึกการเข้า

jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #22 เมื่อ: 15-08-2008, 14:52 »

สักทอง เวลาขายเค้าคิดยังไงครับ และ ราคาเท่าไหร่

ผมเคยค้นข้อมูลราคาไม้สัก (ไม่ได้ระบุว่าสักทอง) เอาไว้ในกระทู้นี้

Re: ไม้ทำเสาชิงช้าสองมาตรฐานของการรักษาป่า
http://forum.serithai.net/index.php?topic=16250.msg216427#msg216427

ราคาไม้สัีกอายุ 11 ปี ประมาณ 6,200  บาทต่อลูกบาศก์เมตร
ราคาไม้สัีกอายุ 15 ปี ประมาณ 8,200  บาทต่อลูกบาศก์เมตร


แต่เป็นข้อมูลนานกว่า 10 ปีมาแล้ว ป่านนี้ราคาน่าจะสูงกว่านี้นะครับ 
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
Şiłąncē Mőbiuş
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,215



เว็บไซต์
« ตอบ #23 เมื่อ: 15-08-2008, 18:23 »

ขอบคุณทุกๆท่านครับ

ว่าแต่ว่า สักทองอายุ 10 ปีเนี่ย ต้นนึงสักกี่ลูกบาศก์ล่ะครับ
บันทึกการเข้า



“People should not be afraid of their governments. Governments should be afraid of their people.”

. “ประชาชนไม่ควรกลัวรัฐบาลของตนเอง รัฐบาลต่างหากที่ควรกลัวประชาชน” .

. แวะไปเยี่ยมกันได้ที่ http://silance-mobius.blogspot.com/ นะครับ .
login not found
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,523



« ตอบ #24 เมื่อ: 15-08-2008, 19:02 »

อืม...คำนวนยากครับ
อายุ 10ปีจะมีเส้นรอบวงประมาณ 50ซม. ต้นนึงไม่น่าจะได้ถึงครึ่งลบ.ม.
ราคาน่าจะอยู่ราวๆ ลบ.ม.ละ 6พันบาท/ลบ.ม. ขายได้เงินราวๆสองพันกว่าบาท
ถ้าอยากได้ตังมากกว่านี้ควรตัดที่อายุประมาณ 15ปี น่าจะได้ประมาณ 4พันต่อต้น

แต่ว่าโดยปกติ การปลูกสักตอนลงต้นสักครั้งแรก จะลงถี่ๆ
และตัดขายส่วนนึงให้เหมาะสมกับขนาดเรือนยอดช่วง 3-5ปี และ 8-10ปี นั่นก็ขายได้ส่วนหนึ่ง
ระหว่างนี้ก็สามารถปลูกพืชชนิดอื่นที่ต้องการร่มเงาแซมได้ เช่นยาสูบ ผัก ฯลฯ
ใบสัก กิ่งสักก็ขายได้เรื่อยๆ คิดว่ารายได้ขึ้นจึงอยู่กับความขยันมากกว่า

บันทึกการเข้า
คุณแม่ดุ๊กดิ๊ก
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 133


« ตอบ #25 เมื่อ: 15-08-2008, 20:10 »

ชอบกระทู้นี้จัง อ่านได้ความรู้มาก กะว่าจะไปปลุกยางเหมือนกันแถว ทำเนียบ ปลูกต้นยางอาย   
บันทึกการเข้า
Limmy
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,346


« ตอบ #26 เมื่อ: 15-08-2008, 20:46 »

ที่ฝาง เชียงใหม่ ปลูกต้นยางในสวนส้มกันเยอะแล้วครับตอนนี้

ผลผลิตน่าจะดี แต่ความรู้ความเข้าใจในการกรีดยาง อาจยังต้องใช้เวลาพัฒนากันอีกนิด

ถ้าราคาน้ำมันลดลง ราคายางแผ่นรมควันน่าจะลดลงตาม ๆ กันไปนะครับ เพราะตลาดน่าจะกลับไปใช้ยางสังเคราะห์เพิ่มมากขึ้น

ถูกผิดอย่างไร รอท่านผู้รู้มาชี้แนะด้วยครับ
บันทึกการเข้า
login not found
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,523



« ตอบ #27 เมื่อ: 15-08-2008, 22:43 »

ที่ฝาง เชียงใหม่ ปลูกต้นยางในสวนส้มกันเยอะแล้วครับตอนนี้

ผลผลิตน่าจะดี แต่ความรู้ความเข้าใจในการกรีดยาง อาจยังต้องใช้เวลาพัฒนากันอีกนิด

ถ้าราคาน้ำมันลดลง ราคายางแผ่นรมควันน่าจะลดลงตาม ๆ กันไปนะครับ เพราะตลาดน่าจะกลับไปใช้ยางสังเคราะห์เพิ่มมากขึ้น

ถูกผิดอย่างไร รอท่านผู้รู้มาชี้แนะด้วยครับ

ง่า ต่อไปจะหาส้มสายน้ำผึ้ง ส้มโชกุนจากที่ไหนกินละเนี่ย
บันทึกการเข้า
Şiłąncē Mőbiuş
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,215



เว็บไซต์
« ตอบ #28 เมื่อ: 15-08-2008, 22:52 »

ง่า ต่อไปจะหาส้มสายน้ำผึ้ง ส้มโชกุนจากที่ไหนกินละเนี่ย

 

ปลูกเองเลยท่านนนน
บันทึกการเข้า



“People should not be afraid of their governments. Governments should be afraid of their people.”

. “ประชาชนไม่ควรกลัวรัฐบาลของตนเอง รัฐบาลต่างหากที่ควรกลัวประชาชน” .

. แวะไปเยี่ยมกันได้ที่ http://silance-mobius.blogspot.com/ นะครับ .
หาเพื่อนหยิงคุยแก้เหงาครับ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,131


กูรู้มึงต้องอ่าน ฮ่าๆ ขำขำนะจ๊ะ


เว็บไซต์
« ตอบ #29 เมื่อ: 15-08-2008, 23:00 »

มาเก็บความรู้เพิ่มเติม คิคิ
บันทึกการเข้า

ขอมอบ เพลงนี้ให้กับพี่น้อง พันธมิตรทุกคนฮะ


http://www.imeem.com/sakujo/music/04_GaHIQ/09_avenged_sevenfold_strength_of_the_worldmp3/

strength of the world
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #30 เมื่อ: 15-08-2008, 23:06 »

แถวๆ บ้านผม ปลูกสักทองระยะชิด ประมาณ 1-2 เมตร เพื่อให้ต้นตั้งตรง มีตัดกิ่งบ้าง

พอปลูกไปได้ 7-8 ปี ตัดขายต้นเว้นต้น เรียกว่าเอาทุนคืน

ที่เหลือก็เป็นกำไรแล้วครับ เพราะการดูแลไม่ยุ่งยาก

ไปอีก ระยะหนึ่งก็จะต้นเว้นต้นอีกครั้ง


พืชที่น่าสนใจในช่วงหลังจะเป็นพืชนำมัน เช่น ปาล์มน้ำมัน กำลังได้รับการส่งเสริม ( แจกกล้าฟรี มีโรงงานรับซื้อ )

รู้สึกจะทำสัญญากันไว้เลย

แต่ชาวบ้านคำนวณแล้วเห็นว่าบางที มาเทียบกับ "มะพร้าว" ผลผลิตคิดเป็นเงินหรือทำเป็นน้ำมันนั้น

มะพร้าวให้ผลใกล้เคียงกัน แต่มะพร้าวขายเป็นมะพร้าวน้ำหอมขายได้ดีกว่า


การทำ"น้ำมันมะพร้าว" เป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมปรับตัวไม่มาก

การดูแลปลูกมะพร้าว ไม่ต้องให้น้ำหนักเหมือนป่าล์ม เพราะรู้จัก มัพร้าวกันมาเป็นอย่างดีแล้ว

เรื่องนี้ "นักวิจัยชาวบ้าน" กำลังเริ่มเก็บข้อมูลกันอยู่ครับ สำหรับการปลูกพืชเชิงเดียว กับการทำสวนผสม

เรื่อง "ส้ม" ต้องใช้นักวิชาการระดับปริญญาตรีมาเสริมเยอะ คนที่จะทำสวนส้มได้ ต้องมี "แหล่งทุน" สนับสนุนแข็งแรง

แถวๆ ริมโขง เริ่มมีส้มสายอุบล ออกมาจำหน่ายแล้ว ราคาดีมาก ๆ แต่ก็อย่างว่า เป็นของคนมีเงินครับ
บันทึกการเข้า

aiwen^mei
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,732



« ตอบ #31 เมื่อ: 16-08-2008, 10:35 »

"ฐานเศรษฐกิจ" ฉบับล่าสุด 17-20 ส.ค.51 ได้ลงบทสัมภาษณ์ คุณวรเทพ วงศาสุทธิกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่บมจ.ไทยรับเบอร์ มีข้อมูลน่าสนใจบางประการ ได้แก่

- ระยะเกือบ 10 ปีที่ผ่านมา ราคายางพาราของไทยอยู่ในช่วงขาขึ้น ปี 2544 ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ กก. ละ 22 บาท ไต่ระดับมาเรื่อย ๆ  ปีที่แล้ว 2550 ราคาเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 65-70 บาท

- ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง คือ สภาพภูมิอากาศ ดีมานด์ - ซัพพลาย และ ราคาน้ำมัน (ยางอายุ 7 ปีจึงกรีดน้ำยางได้)

สำหรับปัจจัยดีมานด์ - ซัพพลายนั้น โดยเฉพาะช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา จากความต้องการของจีน เดิมปีละ 700,000 ตัน ปัจจุบันอยู่ที่เกือบ 3 ล้านตัน สำหรับซัพพลายดีมานด์ยางธรรมชาติของโลกอยู่ระดับใกล้กันคือ ประมาณ 9.7 ล้านตันต่อปี

- ผลผลิตยาง ณ เวลานี้ = ยางธรรมชาติ 10 ล้านตัน + ยางเทียม 13 ล้านตัน

- หากคำนวณตามประชากรโลก ณ ปัจจุบันที่ 6,000 ล้านคน เท่ากับใช้ยางเทียมเฉลี่ย 2 กก.ต่อคนต่อปี ยางธรรมชาติเฉลี่ย 1.5 กก.

สุดท้าย กรรมการผู้จัดการใหญ่ ไทยรับเบอร์ ยักษ์ใหญ่อุตสาหกรรมน้ำยางข้น สรุป อุตสาหกรรมยางทั้งระบบมีอนาคตสดใส อุตสาหกรรมน้ำยางข้นเป็นตัวทำกำไรดีที่สุด ส่วนภาคต้นน้ำคนที่ปลูกยางอยู่แล้วไม่ต้องกังวล คนที่ยังไม่ได้ปลูก และกำลังคิดจะปลูก ก็ไม่ต้องลังเล ลุยได้เลย !

แต่อุตสาหกรรมกลางน้ำและปลายน้ำ อาจจะมีความเสี่ยงเพราะต้องบริหารทั้งราคาซื้อวัตถุดิบและราคาขาย ทำให้แต่ละรายต้องมีกลยุทธ์ลดความเสี่ยง แต่แนวโน้มราคายางไม่มีวันลง

(ทางบริษัทฯ มีสวนยางประมาณ 20,000 ไร่ อยู่ภาคเหนือที่น่าน เชียงราย และพะเยา 12,000 ไร่ และชลบุรี กับจันทบุรี 8,000 ไร่ )

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16-08-2008, 10:44 โดย aiwen^mei » บันทึกการเข้า

有缘千里来相会,无缘对面不相逢。
Şiłąncē Mőbiuş
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,215



เว็บไซต์
« ตอบ #32 เมื่อ: 16-08-2008, 11:11 »

"ฐานเศรษฐกิจ" ฉบับล่าสุด 17-20 ส.ค.51 ได้ลงบทสัมภาษณ์ คุณวรเทพ วงศาสุทธิกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่บมจ.ไทยรับเบอร์ มีข้อมูลน่าสนใจบางประการ ได้แก่

- ระยะเกือบ 10 ปีที่ผ่านมา ราคายางพาราของไทยอยู่ในช่วงขาขึ้น ปี 2544 ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ กก. ละ 22 บาท ไต่ระดับมาเรื่อย ๆ  ปีที่แล้ว 2550 ราคาเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 65-70 บาท

- ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง คือ สภาพภูมิอากาศ ดีมานด์ - ซัพพลาย และ ราคาน้ำมัน (ยางอายุ 7 ปีจึงกรีดน้ำยางได้)

สำหรับปัจจัยดีมานด์ - ซัพพลายนั้น โดยเฉพาะช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา จากความต้องการของจีน เดิมปีละ 700,000 ตัน ปัจจุบันอยู่ที่เกือบ 3 ล้านตัน สำหรับซัพพลายดีมานด์ยางธรรมชาติของโลกอยู่ระดับใกล้กันคือ ประมาณ 9.7 ล้านตันต่อปี

- ผลผลิตยาง ณ เวลานี้ = ยางธรรมชาติ 10 ล้านตัน + ยางเทียม 13 ล้านตัน

- หากคำนวณตามประชากรโลก ณ ปัจจุบันที่ 6,000 ล้านคน เท่ากับใช้ยางเทียมเฉลี่ย 2 กก.ต่อคนต่อปี ยางธรรมชาติเฉลี่ย 1.5 กก.

สุดท้าย กรรมการผู้จัดการใหญ่ ไทยรับเบอร์ ยักษ์ใหญ่อุตสาหกรรมน้ำยางข้น สรุป อุตสาหกรรมยางทั้งระบบมีอนาคตสดใส อุตสาหกรรมน้ำยางข้นเป็นตัวทำกำไรดีที่สุด ส่วนภาคต้นน้ำคนที่ปลูกยางอยู่แล้วไม่ต้องกังวล คนที่ยังไม่ได้ปลูก และกำลังคิดจะปลูก ก็ไม่ต้องลังเล ลุยได้เลย !

แต่อุตสาหกรรมกลางน้ำและปลายน้ำ อาจจะมีความเสี่ยงเพราะต้องบริหารทั้งราคาซื้อวัตถุดิบและราคาขาย ทำให้แต่ละรายต้องมีกลยุทธ์ลดความเสี่ยง แต่แนวโน้มราคายางไม่มีวันลง

(ทางบริษัทฯ มีสวนยางประมาณ 20,000 ไร่ อยู่ภาคเหนือที่น่าน เชียงราย และพะเยา 12,000 ไร่ และชลบุรี กับจันทบุรี 8,000 ไร่ )



ขอบคุณครับ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมที่มีประโยชน์ 
บันทึกการเข้า



“People should not be afraid of their governments. Governments should be afraid of their people.”

. “ประชาชนไม่ควรกลัวรัฐบาลของตนเอง รัฐบาลต่างหากที่ควรกลัวประชาชน” .

. แวะไปเยี่ยมกันได้ที่ http://silance-mobius.blogspot.com/ นะครับ .
indexthai
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 122


« ตอบ #33 เมื่อ: 16-08-2008, 13:44 »

ปัญหาการปลูกยางพารา 1 ล้านไร่
สุทธิพงษ์ ปรัชญพฤทธิ์  กรุงเทพธุรกิจ  วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2548

ความยากจนของคนในชาติ เป็นปัญหาที่มีมาช้านาน ทุกรัฐบาลก็พยายามหาทางแก้ไขมาโดยตลอด เช่น โครงการส่งเสริมการปลูกป่า โครงการเลี้ยงโควัวเนื้อ

ในรัฐบาลก่อนหน้านี้ บางโครงการแทนที่จะทำให้ประชาชนหายจน กลับทำให้จนลงไปอีก วัวที่นำมาเลี้ยงก็ไม่โต กลายเป็นวัวพลาสติกเป็นต้น ทำให้มีหนี้สินเพิ่มขึ้นอีก

รัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็มีนโยบายมุ่งมั่นที่จะแก้ปัญหาความยากจนของเกษตรกร และยกระดับรายได้ของเกษตรกร โดยเฉพาะโครงการที่ผ่านกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เช่น โครงการส่งเสริมการเลี้ยงวัวเนื้อล้านครอบครัว 5 ล้านตัว จะให้มีผลผลิตโคเนื้อเพิ่มขึ้นปีละ 30% ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี (2548-2551) โดยใช้วิธีผสมเทียม และโครงการส่งเสริมการปลูกยางพารา 1 ล้านไร่

บทความนี้จะขอนำเสนอถึงโครงการส่งเสริมการปลูกยางพารา 1 ล้านไร่ ที่ผู้เขียนคิดว่าอาจจะประสบปัญหาเรื่องราคายางในอนาคตได้ เพราะนับตั้งแต่จำความได้ก็มีการทำสวนยางที่จังหวัดทางภาคใต้ของไทย และรับรู้ว่าคนทางใต้ก็ร่ำรวยจากการปลูกยาง

แต่การทำสวนยางของคนทางใต้ก็ต้องประสบปัญหาในหลายรูปแบบ เช่น พันธุ์ยาง ฤดูกาล และการขึ้นลงของราคายาง คงพบภาวะเฟื่องฟูและภาวะซบเซาของธุรกิจยางพารามาแล้ว ถือว่าเป็นต้นทุนทางประสบการณ์ที่สำคัญของคนทางภาคใต้ ที่เรียนรู้และรับรู้จากชีวิตการทำสวนยางจริงมาเป็นเวลาที่ช้านาน

การส่งเสริมปลูกยางครั้งนี้รัฐบาลมุ่งไปที่จังหวัดทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีภูมิอากาศแตกต่างไปจากทางภาคใต้อย่างมีนัยสำคัญ ผู้เขียนคิดว่า กรมวิชาการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์คงได้ทำการศึกษาทดลองมาดีแล้ว ในเรื่องพันธุ์ยางที่จะนำไปปลูกในพื้นที่ภูมิอากาศที่แตกต่างจากทางภาคใต้ของไทย จึงได้ส่งเสริมให้มีการปลูกยางพาราที่จังหวัดทางเหนือและทางอีสานของไทย

โครงการส่งเสริมการปลูกยางพารา 1 ล้านไร่ในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีเกษตรกรร่วมโครงการประมาณ 142,850 ราย ต้องใช้กล้ายางถึง 90 ล้านต้น ระยะเวลาของโครงการ 3 ปี (2547-2549) กรมวิชาการเกษตรได้ว่าจ้างบริษัทเจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด เป็นผู้ผลิตและส่งมอบกล้ายาง โครงการนี้ได้รับความช่วยเหลือเงินทุนจากโครงการช่วยเหลือเกษตรกร 1,440 ล้านบาท ชำระคืนภายใน 10 ปีนับจากที่ยางให้ผลผลิต และวงเงินสินเชื่อเพื่อการดูแลรักษาระยะเวลา 6 ปีอีก 5,360 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 8%

ที่จริงแล้วยางพาราเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ที่สำคัญตัวหนึ่งของโลก จะเห็นมันมีความสัมพันธ์ราคาน้ำมันดิบ ถ่านหิน ทองคำ สังกะสี ทองแดง ข้าวโพด ซึ่งช่วงที่ผ่านมาราคาสินค้าเหล่านี้ล้วนต่างสูงขึ้นโดยทั่วหน้า ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากการอ่อนค่าของเงินเหรียญสหรัฐนั่นเอง หากค่าเงินเหรียญสหรัฐอ่อนค่า ราคาทองคำ ราคาน้ำมัน ราคายางพาราจะสูงขึ้นในทางตรงกันข้าม หากค่าเงินเหรียญสหรัฐแข็งค่าขึ้น ราคาทองคำ ราคาน้ำมันและราคายางพาราก็จะตกลง

แสดงว่า ราคายางพาราก็จะเป็นไปตามวงจรของราคาโภคภัณฑ์โลก ขึ้นและลงพร้อมกับราคาโภคภัณฑ์อื่นๆ ของโลก ไม่ได้ขึ้นหรือลงเฉพาะประเทศหนึ่งประเทศใด ทำให้ไม่มีใครสามารถกำหนดราคายางให้ขึ้นลงแตกต่างไปจากตลาดยางโลกได้

ผู้เขียนเชื่อว่า การที่ราคายางพาราสูงขึ้นช่วงนี้ มีส่วนทำให้รัฐบาล คลอดโครงการส่งเสริมการปลูกยางพารา 1 ล้านไร่ออกมา โดยหวังว่าจะยกระดับรายได้เกษตรกรให้สูงขึ้น หากโครงการนี้เริ่มในปี 2540-2542 ต้นยางจะให้ผลผลิตออกมาในช่วงนี้พอดี ซึ่งเป็นช่วงที่ตลาดยางราคาดี ช่วงนี้จึงพบว่าเกษตรกรกว้านหาที่ดินเพื่อมาปลูกยางกันมาก เกษตรกรส่วนหนึ่งเลิกดำนาหรือลดพื้นที่ดำนาเพื่อมาปลูกยางพาราแทน แม้ว่ารัฐบาลไม่ส่งเสริมการปลูกสวนยาง ชาวบ้านก็คิดจะปลูกเอง

ในการที่ธนาคารกลางสหรัฐขึ้นดอกเบี้ยมาหลายระลอกแล้ว มีผลให้ค่าเงินเหรียญสหรัฐไต่ระดับสูงขึ้น เมื่อวันที่ 30 มิ.ย.ที่ผ่านมา ก็ประกาศขึ้นอีก 0.25% มีผลให้ Fed Fund rate อยู่ที่ระดับ 3.25% เป็นการย้ำถึงแนวโน้มการแข็งขึ้นของค่าเงินเหรียญสหรัฐ ค่าเงินเหรียญอาจจะขึ้นต่อเนื่องเป็นเวลา 5-10 ปีได้

ประเด็นที่ได้นำเสนอไว้ในช่วงต้น เมื่อค่าเงินเหรียญสหรัฐตกลง ราคาทองคำ ราคาน้ำมัน รวมทั้งราคายางพาราก็จะขึ้น และเมื่อค่าเงินเหรียญสหรัฐสูงขึ้น ราคาทองคำ ราคาน้ำมัน รวมทั้งราคายางพาราก็จะตกลง ดูตามแนวโน้มแล้วค่าเงินเหรียญสหรัฐมีโอกาสจะขึ้นต่อเนื่องไปอีก 5-10 ปี ซึ่งจะเป็นช่วงที่ผลผลิตยางของโครงการส่งเสริมปลูกยาง 1 ล้านไร่ออกมาพอดี และผลผลิตยางอาจจะล้นตลาดด้วย ซึ่งราคายางแผ่นดิบอาจจะตกลงไปที่ระดับ 20-25 บาทต่อกิโลกรัมหรือต่ำกว่าได้ เกษตรกรก็จะขาดทุน โดยที่ต้นทุนการผลิตอาจจะสูงกว่าราคาตลาด และถ้าผลผลิตไม่ดีคือไม่มีน้ำยางหรือได้น้ำยางน้อยก็จะยิ่งขาดทุนอีก

ช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมาชาวสวนยางทางภาคใต้กลายเป็นเศรษฐีกันทั่วหน้า ส่วนอีก 7 ปีข้างหน้า หากราคายางตกต่ำลงอย่างที่ผู้เขียนประมาณการไว้ คนทำสวนยางทางใต้ก็ยังอยู่ได้สบาย เนื่องจากมีกำไรหรือมีทุนสะสมไว้นั่นเอง และยังสามารถตัดต้นยางเก่าขายทำกำไรได้อีก

แต่คนในโครงการส่งเสริมปลูกยาง 1 ล้านไร่ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนืออาจจะพบกับความลำบากได้ ที่จะมีรายได้เพิ่มหรือมีความร่ำรวยเหมือนคนทางภาคใต้ไม่เพียงแต่จะเลือนรางเท่านั้น ยังอาจจะต้องมานั่งชำระหนี้เองอีก แม้ว่าโครงการดีแต่จังหวะเวลาไม่ดีอาจจะซ้ำเติมเกษตรกรให้ลำบากขึ้นได้


http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2005q3/article2005july05p5.htm
 
บันทึกการเข้า

http://www.oknation.net/blog/indexthai
ค น น อ ก ก ร ะ แ ส
indexthai
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 122


« ตอบ #34 เมื่อ: 16-08-2008, 13:49 »

 Rolling Eyes
มิจฉาทิฏฐิจากการสูงขึ้นของราคายาง

ฯลฯ

ราคาน้ำยางสดในประเทศไทย ราคาสินค้าโภคภัณฑ์โลกตกลงซื้อขายด้วยเงินสกุลเงินเหรียญสหรัฐ เมื่อค่าเงินเหรียญสหรัฐมีค่าเล็กลง ต้องใช้เงินเหรียญสหรัฐมากขึ้นในการซื้อสินค้าและบริการที่มีจำนวนและการบริการเท่าเดิม ส่งผลให้เห็นว่าสินค้าและบริการมีราคาสูงขึ้น รวมทั้งมีการเก็งกำไรเข้ามาเกี่ยวข้อง จะเห็นว่าราคาน้ำยางสดในตลาดหาดใหญ่ก็สูงขึ้นเช่นเดียวกัน สูงขึ้นตามราคายางโลก

ประมาณการจากกราฟ ระหว่างปี 2545 - 2551 (2002 - 2008) ราคาเฉลี่ยน้ำยางสดที่ตลาดอ.หาดใหญ่ เพิ่มจาก ก.ก.ละ 20 บาท มาเป็น 100 บาท ราคาสูงขึ้น 400 เปอร์เซนต์

สรุปว่าการพังทลายของค่าเงินเหรียญสหรัฐ มีต้นเหตุมาจากการพังทลายของตลาดหุ้นสหรัฐ ส่งผลให้ราคาหุ้นทั่วโลกสูงขึ้น ราคาทองคำสูงขึ้น ราคาน้ำมันสูงขึ้น ราคายางสูงขึ้น

ด้านบริการเช่นการขนส่งทางเรือ ทางอากาศของโลก ไม่ได้สูงขึ้นเพราะราคาน้ำมันสูงขึ้นอย่างเดียว แต่สูงขึ้นเพราะค่าเงินเหรียญสหรัฐอ่อนค่าด้วย

ด้านการเกษตร ไม่เพียงแต่ราคายางจะสูงขึ้นเท่านั้น ราคาข้าวโพด ถั่วเหลือง ข้าว มันสัมปะหลัง น้ำตาล ฯลฯ ก็สูงขึ้นเช่นเดียวกัน

การสูงขึ้นของราคายางก็เป็นไปตามความผิดปกติในระบบเศรษฐกิจโลกเช่นกัน ไม่ใช่ความสามารถของอดีตนายกปี 2544 แต่อย่างใด

(กราฟราคาน้ำยางยางย้อนหลัง 4-5 ปี)
http://www.oknation.net/blog/indexthai/2008/07/27/entry-1
 
บันทึกการเข้า

http://www.oknation.net/blog/indexthai
ค น น อ ก ก ร ะ แ ส
หน้า: [1]
    กระโดดไป: