ยุบพรรคการเมืองบทนำมติชน
การฟ้องร้องดำเนินคดีต่อศาลยุติธรรม การยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครองและรัฐธรรมนูญในเรื่องที่เกี่ยวกับพรรคการเมือง นักการเมืองคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการเลือกตั้ง ส.ส.เมื่อวันที่ 2 เมษายนมีมากมายหลายคดีทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดจนไม่สามารถจดจำได้หมดว่ามีกี่คดีและคดีใดบ้าง การพึ่งศาลดูเหมือนจะเป็นทางออกทางเดียวที่ดีที่สุดในเมื่อ ไม่มีใครยอมรับว่าตนเองและองค์กรของตนกระทำในสิ่งที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย อีกทั้งการแสดงความรับผิดชอบทางจริยธรรมเพื่อลดความขัดแย้งก็ป่วยการที่จะพูดถึง เพราะบรรดาผู้ใฝ่หาอำนาจทั้งหลายและผู้มีหน้าที่จัดการเลือกตั้งต่างอ้างว่า ตนทำถูกกฎหมายด้วยกันทั้งสิ้น
ในขณะนี้ปัญหาการยุบพรรคการเมืองกลายเป็นประเด็นที่สื่อมวลชนให้ความสนใจเป็นพิเศษ เรื่องที่ไม่น่าจะยากเย็นอะไรหนักหนาหากผู้เกี่ยวข้องอ่านกฎหมายแล้วตีความอย่างตรงไปตรงก็จะปฏิบัติไปได้ด้วยความเรียบร้อย แต่ในความเป็นจริง กลับกลายเป็นเรื่องที่พูดกันไม่รู้เรื่องอีกเช่นเคย
คงต้องปล่อยให้อัยการผู้รับผิดชอบในการส่งเรื่องการยุบพรรคไทยรักไทยตามที่ กกต.แจ้งมาได้สำแดงทรรศนะต่อสาธารณชนโดยอ้างรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองเพื่อให้ พล.ต.อ.วาสนาระบุในหนังสือให้ชัดเจนถึงการมีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรค และการโต้แย้งของ กกต.โดย พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ ประธาน กกต.ดำเนินไป ผู้คนที่ฟังคำชี้แจงของแต่ละฝ่ายจะคิดเห็นอย่างไรก็สุดแต่วิจารณญาณของผู้นั้น
อย่างไรก็ดี ใครที่อ่านรัฐธรรมนูญและกฎหมายอย่างพินิจพิเคราะห์ก็ย่อมจะเข้าใจได้ดีว่า รัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่า กกต.ต้องการให้ กกต.เดินหน้าเอาจริงเอาจังกับการจัดการยุบพรรคการเมืองที่กระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย หากอัยการจะมีอะไรซิกแซกหรือตุกติกก็ให้กกต.มีอำนาจที่จะเดินหน้าต่อเพื่อให้คำร้องไปถึงมือศาลรัฐธรรมนูญ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือการกลับตาลปัตร คล้ายกับว่า กกต.ใจไม่ถึงที่จะทำเรื่องนี้
การยุบพรรคที่กฎหมายกำหนดขั้นตอนให้อัยการส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญนั้น ในส่วนของ 2 พรรคเล็กที่ผลการสอบสวนที่ กกต.ตั้งขึ้นนั้นพบว่ารับจ้างพรรคใหญ่ลงเลือกตั้ง ทาง พล.ต.อ.วาสนาส่งเรื่องให้อัยการร้องไปศาลรัฐธรรมนู
ญเพื่อยุบพรรค จนถึงขณะนี้ยังไม่มีมติจากศาลรัฐธรรมนูญ พรรคไทยรักไทยก็ใช่ว่าจะโดดเดี่ยวโดนตรวจสอบเพียงลำพัง พรรคประชาธิปัตย์ก็มีคำร้องไปยัง กกต. เพื่อให้มีการยุบพรรคเช่นกัน เพียงแต่ว่ายังไม่มีข่าวคราวออกมาว่าผลการสอบสวนไปถึงไหนแล้วและจะเสร็จสิ้นเมื่อใด พฤติการณ์จะชัดแจ้งและหนักหนาสาหัสเหมือนกับพรรคไทยรักไทยหรือไม่
กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองบัญญัติไว้ในมาตรา 69 ว่า
พรรคการเมืองที่ถูกยุบนั้น ผู้ที่เป็นผู้จัดตั้งพรรค เคยเป็นกรรมการบริหารหรือเป็นกรรมการบริหารพรรคจะไปขอจัดพรรคการเมืองอีกไม่ได้เป็นเวลา 5 ปี บทลงโทษนี้ก็
มิได้ตัดโอกาส ที่บุคคลเหล่านั้นจะไป
ลงสมัครรับเลือกตั้งหรือดำรงตำแหน่งทางการเมืองในกรณีที่ไปอยู่
พรรคการเมืองอื่นซึ่งเป็นแค่เพียงสมาชิกพรรคธรรมดา กระนั้นข้อยุ่งยากในการตีความกฎหมายมาตราอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกันไปคนละทางสองทางและปฏิกิริยาความไม่พอใจของมวลชนจากฝ่ายที่สนับสนุนพรรคการเมืองพรรคนั้นที่จะกระทำการประท้วงคัดค้าน ซึ่งอดีต ส.ส.พรรคไทยรักไทยบางคนเคยเตือนในทำนองข่มขู่ว่าระวังจะเกิดสงครามการเมืองหากพรรคไทยรักไทยถูกยุบ
ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาและมีคำวินิจฉัยอันจะนำไปสู่การยุบพรรคโดยเฉพาะ 2 พรรคใหญ่อย่างไทยรักไทยและพรรคประชาธิปัตย์ อย่างไรก็ดี 2 พรรคใหญ่ก็มีความเกี่ยวพันกับ 2 พรรคเล็กคือพรรคพัฒนาชาติไทยและพรรคแผ่นดินไทยหากถูกอัยการส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคเนื่องจากไปรับจ้างพรรคใหญ่มาลงสมัคร ส.ส. ทางศาลรัฐธรรมนูญก็คงต้องคิดว่าจะมีมติให้ยุบหรือไม่ ถ้ายุบก็จะเป็นมาตรฐานให้ต้องยุบพรรคใหญ่ด้วย และสุดท้ายก็อาจจะกลายเป็นวิกฤตที่ส่งผลกระทบถึงความเชื่อถือของประชาชนที่มีต่อองค์กรอย่างสำนักงานอัยการสูงสุดและศาลรัฐธรรมนูญ
หน้า 2
http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01edi01100649&day=2006/06/10==========================
งั้นแบบนี้โทษก็เบามาก ไม่เห็นต้องไปกลัวขนาดต้องให้ กกต. ทนรับหน้าเสื่ออยู่ทุกวันนี้-------------------------
แก้ตัวสะกดของมติชน