ที่ผ่านมาการปฏิบัติหน้าที่ของคุณชัย ชิดชอบ ในฐานะประธานสภาฯ สำหรับผมถือว่าทำหน้าที่ได้ดี
แต่เหมือนเก้าอี้นี้มีอาถรรพ์ ประธานคนแรกก็พ้นตำแหน่งไปเพราะคดีความ และตอนนี้ก็มาถึงคุณชัย
ที่อาจถึงขนาดต้องพ้นจากตำแหน่ง ส.ส.
บทความนี้สั้นดี และมีข้ออ้างอิงชัดเจนในสาระสำคัญ ก็เลยนำมาลงให้อ่านกันนะครับ 
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
จุดจบ'ชัย ชิดชอบ' ?...โดยประสงค์ วิสุทธิ์วันที่ 04 กรกฎาคม 2551
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?id=39358&catid=16ถ้า ส.ส.ในสังกัดนายเนวิน เห็นในทางตรงกันข้ามและเพื่อความสง่างามของนายชัยบนเก้าอี้ประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ
ควรเข้าชื่อ1 ใน 10 ของจำนวน ส.ส.หรือเพียง 48 คนเพื่อส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสมาชิกภาพของนายชัย
เก้าอี้ประธานสภาผู้แทนราษฎรกำลังถูกมองว่า มีอาถรรพณ์ เพราะ นอกจากนายยงยุทธ ติยะไพรัช ต้องตกเก้าอี้
เนื่องจากต้องคดีทุจริตเลือกตั้งแล้ว(คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)ส่งคำร้องให้ศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาด ทำให้
นายยงยุทธต้องพักการทำหน้าที่และลาออกจากตำแหน่งในที่สุด)
นายชัย ชิดชอบซึ่งรับตำแหน่งต่อมาถูกกล่าว หาว่า มีการกระทำต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ ทำให้สมาชิกภาพ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร( ส.ส.)สิ้นสุดลงและต้องพ้นจากเก้าอี้ประธานสภาฯด้วย
ผู้ที่กล่าวหานายชัยคือ นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) ระบบสรรหาได้ส่งเรื่องให้ กกต.วินิจฉัย
สมาชิกภาพ ส.ส.ของนายชัยว่า สิ้นสุดลงตามรัฐธรรรมนูญ มาตรา 106(6) หรือไม่ เนื่องจากมีหลักฐาน(บัญชีทรัพย์สิน
และหนี้สินที่ยื่นต่อคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ)ว่า นายชัยและนางละออง ชิดชอบ ภรรยา
มีการกระทำต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มตรา 265(2)เนื่องจากเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่และนางละอองเป็นกรรมการในบริษัท
ศิลาชัยบุรีรัมย์(1991) จำกัดที่รับสัญญาสัมปทานจากรัฐ
กล่าวคือได้รับประทานบัตรทำเหมืองหิน(เลขที่ 27261/15163)ที่สวายจิก อ.เมือง บุรีรัมย์เนื้อที่ 210 ไร่ 3 งาน 12 ตร.วา
ตั้งแต่ 4 กันยายน 2539 อายุประทานบัตรครั้งแรกอายุ 10 ปี หมดอายุเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2549 และมีการต่ออายุสัมปทาน
ออกไปอีก 15 ปี ตั้งแต่วันที่ 4 กันยายน 2549- 3 กันยายน 2564
การที่นายเรืองไกรระบุว่า นายชัยมีการกระทำต้อง ห้ามตามรัฐธรรมนุญเพราะรัฐธรรมนูญ มาตรา 265(2)บัญญัติไว้ส่วนหนึ่งว่า
'สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร....ต้องไม่เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทที่รับสัมปทานหรือเข้าเป็นคู่สัญญา
ในลักษณะเป็นการผูกขาดตันตอน จากรัฐ หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ทั้งนี้ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม'
นอกจากนั้น มาตรา 265 วรรคสาม ยังบัญญัติไว้ว่า 'ให้นำความใน (2) (3) และ (4) มาใช้บังคับกับคู่สมรสและบุตรของ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา และบุคคลอื่นซึ่งมิใช่คู่สมรสและบุตรของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิก
วุฒิสภานั้นที่ดำเนินการในลักษณะผู้ถูกใช้ ผู้ร่วมดำเนินการ หรือผู้ได้รับมอบหมายจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิก
วุฒิสภาให้กระทำการ ตามมาตรานี้ด้วย'
ดังนั้นการที่ทั้งนายชัยและภรรยาถือหุ้นใหญ่และเป็นกรรมการในบริษัทศิลา ชัยฯจึงเข้าข่ายการกระทำต้องห้าม
ตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ส.ส.ในสังกัดนายเนวิน ชิดชอบ บุตรชายของนายชัยออกมาปกป้องว่า นายชัยและครอบครัวประกอบอาชีพ
โรงโม่หินมานาน และไม่ได้รับสัมปทานจากรัฐ แต่ประกอบกิจการในที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตัวเอง เรียกว่า ประทานบัตร
ฉะนั้น ในข้อกฎหมายมีความหมายไม่เหมือนกัน นายชัยจึงไม่มีอะไรที่น่าจะต้องวิตกเรื่องนี้
ดังนั้นมีประเด็นต้องพิจารณาว่า'ประทานบัตร' มีความหมายว่า อย่างไร เป็นการทำสัญญากับรัฐในลักษระผูกขาดตัดตอนหรือไม่
ในพ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510 ให้นิยาม'ประทานบัตร'ว่า หนังสือสำคัญที่(รัฐ)ออกให้เพื่อทำเหมืองภายในเขตที่กำหนด
ในหนังสือสำคัญนั้น(มาตรา 4)
มาตรา 43 บัญญัติว่า 'ห้ามมิให้ผู้ใดทำเหมืองในที่ใดไม่ว่าที่ซึ่งทำเหมืองนั้นจะเป็นสิทธิของ บุคคลใดหรือไม่
เว้นแต่ได้รับประทานบัตรชั่วคราวหรือประทานบัตร'
ตามปกติแล้ว เมื่อผู้ใดมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงใดแล้ว สามารถแสวงหาประโยชน์จากที่ดินแปลงดังกล่าวได้ เช่น ปลูกพืช
โดยไม่ต้องขออนุญาตจากรัฐ แต่การทำเหมืองแร่ต้องได้รับอนุญาตในการขุดแร่และต้องจ่าย'ผลประโยชน์พิเศษ เพื่อประโยชน์
แก่รัฐหรือที่เรียกว่าค่าภาคหลวง(มาตรา 44)เนื่องจากแร่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ หรือพูดง่ายๆว่า เป็นทรัพย์ของแผ่นดิน
นอกจากนั้น ยังจำกัดพื้นที่การทำเหมืองในแต่ละเขตด้วยไม่เกิน 300ไร่ด้วย
การให้ประทานบัตรจึงเป็นการทำสัญญาซื้อขายแร่จากรัฐ(กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่)
การให้'ประทานบัตร'ยังแตกต่างจากการให้ใบอนุญาต โดยทั่วไป(เช่น ใบอนุญาตขับขี่ ที่(เคย)มีการให้แบบตลอดชีพ)
เพราะมีลักษณะผูกขาดตัดตอนคือ มีจำกัดระยะเวลาที่แน่นอน(10-15ปี) และเมื่อให้ประทานบัตรแก่ผู้ใดแล้ว ไม่สามารถ
ให้ผู้อื่นทำเหมืองแร่ในพื้นที่แปลงเดียวกันได้ไม่ว่า ที่ดินแปลงดังกล่าวจะเป็นที่ดินของรัฐหรือเอกชนก็ตาม
เมื่อดูองค์ประกอบแล้ว 'ประทานบัตร' จึงเป็นการทำสัญญากับรัฐและมีลักษณะผูกขาดตัดตอน
นายชัยน่าจะมีการกระทำต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญซึ่งผลคือ ต้องสิ้นสมาชิกภาพ ส.ส.
ถ้า ส.ส.ในสังกัดนายเนวิน เห็นในทางตรงกันข้ามและเพื่อความสง่างามของนายชัยบนเก้าอี้ประมุขฝ่าย นิติบัญญัติ
ส.ส.ในสังกัดนายเนวินควรเข้าชื่อ1 ใน 10 ของจำนวน ส.ส.หรือเพียง 48 คนเพื่อส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
สมาชิกภาพของนายชัย
จะได้ไม่ต้องไปท้าสาบานหรือสาปแช่งใครเหมือนพวกพันธุ์ปากพล่อยทั้งหลายชอบประพฤติเป็นประจำ