ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
12-05-2025, 08:31
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ==ข้อเท็จจริงและมุมมองกรณีปราสาทพระวิหาร โดย ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง== 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
==ข้อเท็จจริงและมุมมองกรณีปราสาทพระวิหาร โดย ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง==  (อ่าน 2609 ครั้ง)
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« เมื่อ: 24-06-2008, 12:57 »

ดร.เจิมศักดิ์ ทำเอกสารออกมาสรุปข้อเท็จจริง และเสนอมุมมองกรณีปราสาทพระวิหาร
น่าจะครอบคลุมประเด็นสำคัญทั้งหมดแล้วนะครับ

ลองพิมพ์ดู ด้วย font 15pt แล้วออกมาประมาณ 3 หน้าเศษ คิดว่าจะพยายามย่อประเด็น
ให้พิมพ์ได้ใน A4 2 หน้า (1แผ่น) เพื่อทำเป็นเอกสารเผยแพร่อีกชุดนะครับ 

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ข้อเท็จจริงและมุมมองกรณีปราสาทพระวิหาร
โดย ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง    23 มิถุนายน 2551 09:48 น.
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9510000073467

ข้อเท็จจริง
       
1. คำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ตัดสินกรณีพิพาทระหว่างราชอาณาจักรไทย-ราชอาณาจักรกัมพูชา
    กรณี “ปราสาทพระวิหาร” เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2505 ประเด็นสำคัญ ประกอบด้วย

    (1) ลงความเห็นว่า “ปราสาทพระวิหาร” ตั้ง อยู่ในอาณาเขตภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา ด้วยคะแนนเสียง 9 ต่อ 3
    (2) ลงความเห็นว่า ประเทศไทยมีพันธะที่จะต้องถอนกำลังทหาร หรือตำรวจผู้เฝ้ารักษาหรือดูแลซึ่งประเทศไทย
         ส่งไปประจำอยู่ที่ปราสาทพระวิหารหรือในบริเวณใกล้เคียง ด้วยคะแนนเสียง 9 ต่อ 3
       
2. คำฟ้องของกัมพูชาระบุเฉพาะอำนาจอธิปไตยเหนือพื้นที่ที่ปราสาทพระวิหารตั้ง อยู่ มิอาจขยายให้กว้างออกไป
    นอกพื้นที่จนครอบคลุมเขาพระวิหารซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ของทิวเขาดงรัก ฉะนั้น การกล่าวถึงข้อพิพาทในคดีว่าเป็น
    “คดีเขาพระวิหาร” หรือ “คดีปราสาทเขาพระวิหาร” จึงคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ที่ถูกต้องคือ “คดีปราสาทพระวิหาร”
    โดยจำกัดพื้นที่เฉพาะบริเวณที่ตั้งของปราสาท
       
    คำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ จึงจำกัดเฉพาะภายในกรอบคำร้องที่กัมพูชายื่นฟ้องโดยไม่อาจขยายพื้นที่
    นอกเหนือจากบริเวณที่ตั้งของปราสาท
       
3. ศาสตราจารย์ ดร.สมปอง สุจริตกุล อดีตข้าราชการระดับสูงกระทรวงการต่างประเทศ ได้แสดงความเห็น
    เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2551 ชี้ให้เห็นประเด็นข้อเท็จจริงสำคัญ ได้แก่
       
    3.1 คำพิพากษาของศาลไม่มีกลไกบังคับคดี ในทางปฏิบัติจึงไม่อาจนำมาบังคับคดีได้ แต่ไทยก็ได้ปฏิบัติตามโดยไม่ขัดขืน
         หรือละเมิดคำพิพากษา โดยไทยได้ถอนบุคคลากรไทยผู้ทำหน้าที่ดูแลรักษาปราสาทพระวิหาร ย้ายเสาธงชาติไทยออกมา
         นอกพื้นที่ปราสาทพระวิหารและสร้างรั้วล้อมตัวปราสาท ไว้ เป็นการถอนการครอบครองปราสาทพระวิหารตามคำพิพากษา
       
    3.2 เนื่องจากไทยไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษา จึงไม่ยอมรับอำนาจอธิปไตยของกัมพูชาและยื่นประท้วงคัดค้านคำพิพากษาดังกล่าว
         และตั้งข้อสงวนไว้ โดยไทยถือว่าปราสาทพระวิหารยังอยู่ในอำนาจอธิปไตยของไทย และจะกลับไปครอบครองปราสาทพระวิหาร
         อีกเมื่อคำพิพากษาได้รับการพิจารณาทบทวน แก้ไขอีกครั้ง
       
    3.3 ด้วยเหตุผลดังกล่าว ไทยจึงไม่สมควรเปลี่ยนท่าทีหรือยอมรับอำนาจอธิปไตยของกัมพูชาเหนือปราสาทพระวิหาร
         ซึ่งจะทำได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบในระดับรัฐบาลและประชามติ
       
    3.4 หากพิจารณาในภาพรวมจะเห็นว่า ศาลเชื่อในหลักการว่าเส้นสันปันน้ำยังคงเป็นเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา
         ในบริเวณเทือกเขาดงรัก เส้นสันปันน้ำที่เขาพระวิหารอยู่ที่ขอบหน้าผา ฉะนั้น ถ้าจะมีการสำรวจใหม่ เส้นแบ่งเขต
         น่าจะเป็นเช่นเดิมโดยใช้สันปันน้ำเป็นหลัก ปราสาทพระวิหารจึงยังอยู่ในเขตแดนไทย
       
4. ปัจจุบัน แนวรั้วลวดหนามที่กั้นปราสาทพระวิหารส่วนที่ยกให้แก่กัมพูชา ตามคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเมื่อปี
    พ.ศ.2505 นั้น ได้ถูกประชาชนกัมพูชารื้อถอนนำไปจำหน่ายจนหมดไม่เห็นแนวรั้วเดิมแล้ว
       
    การที่กัมพูชาได้ครอบครองพระวิหารที่ยอดเขา และยังอ้างเส้นเขตแดนบริเวณดังกล่าวตามแผนที่ท้ายฟ้องของกัมพูชาเอง
    จึงก่อให้เกิดปัญหาการทับซ้อนเส้นเขตแดนขึ้น โดยที่กระทรวงการต่างประเทศไทยถือว่าอาณาเขตไทยต้องยึดตามคำพิพากษา
    ของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เมื่อปี พ.ศ.2505 ซึ่งในปัจจุบันนี้ ปรากฏว่า มีพื้นที่หลายส่วน เช่น บริเวณทางทิศตะวันตก
    ของปราสาทพระวิหาร ฝ่ายกัมพูชาได้ก่อสร้างชุมชนและวัด ก่อสร้างถนนขึ้นมาจากประเทศกัมพูชา รวมทั้งกรณีชุมชนร้านค้า
    โรงแรม สถานบันเทิง คาราโอเกะ และที่ทำการช่องปราสาทพระวิหาร ก็อยู่นอกแนวเขต 20 เมตรจากบันไดนาค ซึ่งในกรณี
    เหล่านี้ กรมแผนที่ทหารชี้ว่าเป็นดินแดนของประเทศไทย

5. ท่าทีของฝ่ายกัมพูชาที่มีมาโดยตลอด คือ รัฐบาลกัมพูชาพยายามผลักดันการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่ฝ่ายเดียว
       
6. วันที่ 28 มิถุนายน 2550 ที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 31 ที่เมืองไครส์เซริต์ ประเทศนิวซีแลนด์ ได้มีมติเกี่ยวกับ
    การที่กัมพูชาขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก เห็นว่า ปราสาทพระวิหารมีคุณค่าที่เป็นสากลอย่างเด่นชัด
    และสมควรได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก โดยให้ไทยและกัมพูชาตกลงที่จะร่วมกันจัดทำแผนอนุรักษ์และบริหารจัดการ
    บริเวณ ปราสาทพระวิหาร โดยให้มีการพิจารณาคำขอขึ้นทะเบียนอีกครั้งหนึ่งในการประชุมสมัยที่ 32 ณ เมืองคิวเบกท์
    ประเทศแคนาดา ในเดือนกรกฎาคม 2551
       
    วันที่ 3-4 มกราคม 2551 คณะกรรมการมรดกโลกฝ่ายไทย โดยมีเจ้าหน้าที่จากกระทรวงการต่างประเทศ กรมศิลปากร
    กรมแผนที่ทหาร ร่วมกับคณะกรรมการมรดกโลกจากกัมพูชา และจากต่างประเทศ ร่วมเดินทางสำรวจภูมิประเทศ จัดทำ
    แผนผังบริเวณภาพสลักนูนต่ำผามออีแดง, สถูปคู่, สระตราว และแหล่งตัดหินในฝั่งประเทศไทย ปราสาทพระวิหาร,
    ช่องบันไดหัก และสระน้ำต่างๆ รอบบริเวณปราสาทพระวิหารฝั่งประเทศกัมพูชา เพื่อนำข้อมูลเข้าการร่วมประชุมจัดทำแผนร่วมกัน
       
    การประชุมจัดทำแผนฯ ที่เมืองเสียมราฐ เมื่อวันที่ 12-13 มกราคม 2551 ปรากฏว่า รัฐบาลกัมพูชา นายฮุนเซน นายกรัฐมนตรี
    แสดงท่าทีไม่ยอมรับข้อเสนอฝ่ายไทย โดยยังย้ำถึงเส้นเขตแดนที่ปรากฏอยู่ในแผนที่ของฝรั่งเศส เมื่อปี 2451 และการ
    นำเสนอปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่ฝ่ายเดียว (เพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง ซึ่งการเลือกตั้งทั่วไปกัมพูชาจะมีขึ้น
    ในเดือนกรกฎาคม 2551)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24-06-2008, 13:07 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #1 เมื่อ: 24-06-2008, 13:01 »

(ต่อ)

มุมมองต่อการดำเนินการกรณีปราสาทพระวิหาร
       
1.รัฐบาลไทยควรยืนยันเจตนาเดิมที่จะขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกร่วมกับ กัมพูชา โดยร่วมขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร
   และบริเวณสระตราว สถูปคู่ และภาพสลักนูนต่ำ ตลอดจนผามออีแดง ซึ่งอยู่ในฝั่งประเทศไทยเป็นบริเวณทั้งหมดของ
   มรดกโลก ในลักษณะชุมชนโบราณ และให้มีการพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน
       
   หากกัมพูชาไม่ยินยอม ไทยควรขอให้มีการยับยั้งการดำเนินการขึ้นทะเบียนฝ่ายเดียวของกัมพูชา
       
   รัฐบาลไทยไม่สามารถจะสนับสนุนให้ประเทศกัมพูชาเสนอขึ้นทะเบียนมรดก โลกเพียงประเทศเดียวอย่างที่รัฐมนตรี
   กระทรวงต่างประเทศไปลงนามเช่นนั้น เพราะการขึ้นทะเบียนตัวเขาพระวิหารนั้น ไม่ได้ขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาท
   แต่จะต้องมีการประกาศเขตพื้นที่อนุรักษ์รอบตัวโบราณสถาน ซึ่งเป็นพื้นที่ในเขตไทย การจะอนุญาตให้ก่อสร้าง
   หรือห้ามก่อสร้าง หรือการควบคุมใดๆ ก็เป็นอำนาจอธิปไตยของไทย หากยินยอมให้กัมพูชาดำเนินการฝ่ายเดียว
   ก็เท่ากับว่าไทยยอมสูญเสียอำนาจ อธิปไตยเหนือแผ่นดินไทย
       
2.รัฐบาลไทยไม่ควรพิจารณาผ่อนผัน ผ่อนปรน เงื่อนไขของอาณาเขต เพื่อแลกกับประโยชน์ของคนไทยบางกลุ่มที่หวัง
   ไปร่วมลงทุนทางการค้า การท่องเที่ยว และ Entertainment Complex ที่บริเวณใกล้ช่องตาเฒ่า (ในเขตกัมพูชา)
   หรือเกาะกง หรือผลประโยชน์ในอ่าวไทย หรือที่อื่นใดในประเทศกัมพูชา
       
   อนึ่ง มีคำยืนยันโดยบุคคลระดับรัฐมนตรีของกัมพูชาว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีแผนจะเข้าไปลงทุนจำนวนมหาศาลในกัมพูชา
       
3.รัฐบาลไทยควรดำเนินการโยกย้ายชุมชนตลาดหน้าบันได ที่ชาวกัมพูชามาตั้งร้านค้า ที่พักนักท่องเที่ยว สถานบันเทิง
   คาราโอเกะ วัด และที่ทำการช่องพระวิหาร ออกจากเขตดินแดนประเทศไทย มิเช่นนั้น อนาคตกัมพูชาอาจอ้างสิทธิ์
   ครอบครองที่ไทยไม่ได้โต้แย้งสิทธิ์ในเขตแดน ดังเช่นในอดีต และต้องถือว่าคนกัมพูชาที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานดังกล่าว
   เป็นผู้เข้าเมืองโดยผิดกฎหมายและเป็นผู้บุกรุก
       
4.รัฐบาลไทยจะต้องดำเนินการตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญอย่างเคร่งครัด โดยรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 บังคับว่า ก่อนดำเนินการ
   เพื่อทำหนังสือสัญญากับนานาประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศที่ มีผลเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือเขตพื้นที่นอก
   อาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย ก่อนที่จะบรรลุข้อตกลงและจะแสดงเจตนาให้มีผลผูกพัน คณะรัฐมนตรีต้องให้
   ประชาชนสามารถเข้าถึงรายละเอียดของหนังสือสัญญาและข้อ ตกลง และจะต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาด้วย
       
   การกระทำของนายนพดล ปัทมะ น่าจะขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ไม่มีสภาพบังคับหรือผูกพันใดๆ ต่อรัฐไทยทั้งสิ้น
   และสมควรจะต้องมีการดำเนินการถอดถอนออกจากตำแหน่งต่อไป
       
5. การดำเนินการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และคณะรัฐมนตรีที่ให้ความเห็นชอบในแถลงการณ์
    อันเป็นการยืนยันให้ฝ่ายกัมพูชา สามารถดำเนินการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกโดยฝ่ายเดียวนั้น
    ส่อว่าเป็นการใช้อำนาจโดยมิชอบ ละเมิดรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และก่อให้เกิดความเสียหายใหญ่หลวง
    ต่ออธิปไตยของแผ่นดินไทย เพราะเป็นการมุ่งทำลายจุดยืนและสิทธิตามข้อสงวนของรัฐไทย ในการที่จะพิทักษ์ไว้
    ซึ่งสิทธิอาณาเขตและอำนาจอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหาร และเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาตามแนว
    เส้นสันปันน้ำ อันเป็นหลักการที่ไทยยึดถือมาโดยตลอด
       
    ควรจะต้องมีการดำเนินคดีกับนายนพดล ปัทมะ และคณะรัฐมนตรีที่ให้ความเห็นชอบในการดังกล่าวอย่างถึงที่สุด
       
    น่าคิดว่า นอกจากจะต้องลาออก เพื่อแสดงความรับผิดชอบทางการเมืองแล้ว รัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช
    จะต้องรับผิดชอบต่อประชาชนคนไทยอย่างไร
       
    จะรับผิดชอบต่อบรรพบุรุษ ที่เคยต่อสู้เพื่อสงวนรักษาแผ่นดินไทย อย่างไร
       
    และจะรับผิดชอบต่ออนุชนรุ่นหลัง อย่างไร
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
Familie
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 369



« ตอบ #2 เมื่อ: 24-06-2008, 14:49 »

ขอบคุณครับ อ่านประดับความรู้แล้วครับ
บันทึกการเข้า


บรรพบุรุษ ของไทย แต่โบราณ      ปกบ้าน ป้องเมือง คุ้มเหย้า
เสียเลือด เสียเนื้อ มิใช่เบา           หน้าที่เรา รักษา สืบไป
ลูกหลาน เหลนโหลน ภายหน้า      จะได้มี พสุธา อาศัย
อนาคต จะต้องมี ประเทศไทย       มิยอมให้ ผู้ใด มาทำลาย
หน้า: [1]
    กระโดดไป: