ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
29-11-2024, 00:31
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  คำก็ชนชั้น สองคำก็ชนชั้น ไอ้ฟายเอ๊ย ประเทศนี้มันมีชนชั้นจริงๆซะเมื่อไหร่?? 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
คำก็ชนชั้น สองคำก็ชนชั้น ไอ้ฟายเอ๊ย ประเทศนี้มันมีชนชั้นจริงๆซะเมื่อไหร่??  (อ่าน 2753 ครั้ง)
isa
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 151



« เมื่อ: 30-05-2008, 12:52 »


หลังจากอ่านมติชนรายสัปดาห์วันนี้แล้วก็โยนกลับไปที่เดิม...ไม่ซื้อมันละ ไร้สาระ
อ่านไปอ่านมาก็เจอแค่กับดักความคิดเดิมๆของนักวิชาการ...ไร้สาระ...
...ชนชั้นกลาง...ชนชั้นกลาง...ดูมันช่างศักดิ์สิทธิ์เสียเหลือเกิน...ชนชั้นกลางที่หวงแหนอำนาจ...กดขี่ชนชั้นล่าง!ถุย! ไอ้พวกควาย...
ชนชั้นกลางมันมีจริงในสังคมสมยอมอย่างสังคมไทยซะเมื่อไหร่ละ ไอ้เซ่อ!

ในสังคมเมืองไทยมันมีแต่สังคมคนรวยมาก...รวยน้อย...ไม่รวย...และคนจนเท่านั้นโว้ย!

คนจนที่รู้จักแสวงโอกาส รู้จักหาความก้าวหน้า ดำเนินชีวิตถูกทาง...ชาตินี้มันจะรวยไม่เป็นบ้างรึไง?
คนรวย เศรษฐีที่ดำเนินธุรกิจผิดพลาด คนรวยที่ใช้เงินไม่เป็น...กลับกลายเป็นคนจน...ก็มีให้เห็นออกล้นหลาม
แม้แต่คนชั้นเจ้า มจ. ม.ร.ว. ที่เดินถนนต๊อกๆอยู่ทุกวันนี้มันก็มีให้เห็นออกถมเถ
ชนชั้นธรรมดาที่ไปแต่งกับชนชั้นเจ้า แล้วก็กลายเป็น ม.ร.ว. ก็มีให้เห็น

ลูกสาวชาวนา กรรมกร ที่แต่งงานกับฝรั่ง อยู่คอนโดหรูหรา มีออกเยอะแยะไป
คนขายแรงงานไปถึงตะวันออกกลางพกตังค์กลับเป็นฟ่อน เที่ยวเป็นเสี่ยได้พักเดียว
กลับไปจนอย่างเก่า...

พนักงานบริษัทเงินเดือนสองสามหมื่นที่ตกงานไปขับมอเตอร์ไซค์วิน ก็มีออกถมเถ

ไอ้ที่เสนอหน้ากันอยู่ในบอร์ดนี้ ส่วนใหญ่ก็อดีตลูกหลานชาวนากันทั้งนั้น (กรูด้วย)
แค่ตอนนี้พอจะมีกะตังค์มากกว่าคนอื่นๆเค้าหน่อยเท่านั้นเอง

...แล้วชนชั้นกลาง...ชนชั้นล่างมันคือใคร...มันต่างกันตรงไหนวะ...กรูงง?
มันเป็นชนชั้นวรรณะที่เกิดมาแล้วติดตัวไปถึงลูกหลานได้ด้วยเหรอ
ขนาดในบ้านกรูเอง...พี่สาวกรูรวยมาก...กรูพอจะมีตังค์...น้องชายกรูจน...
แสดงว่าในครอบครัวกรูมีกันตั้ง 3 ชนชั้นใช่มั้ยเนี่ย...ชนชั้นสูง...ชนชั้นกลาง...ชนชั้นล่าง (กรูเป็นชนชั้นกลางเฟ้ย...อิๆ)

ที่กรูเห็นตอนนี้ มันมีแค่...คนรวยมาก...คนรวยมากแต่ยังเสือกขี้โกง...คนรวยน้อย...คนพอมีกะตังค์...คนไม่มีกะตังค์แต่ตั้งใจทำมาหากิน...คนไม่มีกะตังค์แต่ไม่อยากทำงานแต่เสือกอยากรวย...

...แล้วคำว่าชนชั้นกลางมันอยู่ตรงไหน...กรูไม่ใช่นักวิชาการ...กรูงง?
แต่จะว่าไป ตอนต้นเดือนกรูพอจะมีตังค์ แต่หลังวันที่ 15 กรูจะเริ่มจน
หมายความว่า ต้นเดือนกรูเป็นชนชั้นกลาง แต่ปลายเดือนกรูเป็นชนชั้นล่างใช่มั้ยเนี่ย?

ตอบกรูหน่อยดิ๊ น้าเณรคิล...เห็นชอบอ้างชนชั้นกันจัง ท่าทางจะรู้ดี?
 
บันทึกการเข้า
login not found
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,523



« ตอบ #1 เมื่อ: 30-05-2008, 13:10 »

กลางไหนก็ไม่รู้เหมือนกัน
ที่แน่ๆ มีชนชั้นนึงชัวร์ๆ ที่ส่งต่อไปถึงลูกหลานได้

คนชนชั้นเลว พ่อยังไง ลูกมักหล่นไม่ไกลต้น
มีแต่เลวกว่า หรือโง่กว่าเท่านั้น หากยากที่จะผ่าเหล่ามาเป็นคนดีได้

แต่ไม่มีคนชนชั้นดีนะครับ เพราะคนดีผ่าเหล่าได้ง่าย
ขนาดในเจนเนอเรชั่นเดียว ยังแปลงจากคนดีกลายเป็นเxี้ยได้ในเวลาไม่กี่ปีเอง
บันทึกการเข้า
เช็คบิล
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 580



« ตอบ #2 เมื่อ: 30-05-2008, 13:18 »

อ้าว ประเด็นนี้ พปช. กับ อีเพ็ญ และไอ้ไสหัวไปหันตูดมา (นปก) ชอบเล่นกันไม่ใช่หรือ หรือว่าไปขัดผลประโยชน์กับเขา ก็เลยมาโจมตีประเด็นเรื่องศักดินา อะไรต่างๆ

ยุค 2000 แล้ว ไอ้พวก พปช. มันยังพาย้อนกลับไปเหมือนเดิมเลย
บันทึกการเข้า
isa
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 151



« ตอบ #3 เมื่อ: 30-05-2008, 13:20 »

^
^


ความเห็นที่ 1
จริงด้วยยย...

นักวิชาการมติชนน่าจะไปศึกษาชนชั้นนี้ซะมั่งนะ
จะรอซื้ออ่าน

 
บันทึกการเข้า
totoro on a tree
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 112



« ตอบ #4 เมื่อ: 30-05-2008, 13:36 »

อยากจะถามคนที่ชอบวิจารณ์สถาบันเบื้องสูงนักหนาว่า

ให้มันระบุปัญหาซิว่า ทุกวันนี้ ชาติ บ้านเมือง เกิดปัญหาเพราะใคร

เพราะเจ้า หรือ เพราะนักการเมือง

ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าน้ำมัน ระบบรักษาพยาบาล ฯลฯ

ใครบริหาร

น้ำมันลิตรละ 40 บาทเพราะใครบริหารไม่ได้ ไม่เป็น


การมีอยู่ของสถาบันเบื้องสูงไปทำอะไรให้มันเหรอ

อยากจะรู้จริงๆ

อยากจะวิจารณ์ก็เอาเรื่องที่เป็นประโยชน์หน่อย

อีพวกโกงเงินประเทศชาติไปไม่เคยคิดจะพูด

เกลียดมาก พวกนี้

แถมเด็กเดี๋ยวนี้ก็เป็นไปด้วยนะ

บอกว่าวิจารณ์ไม่ได้เหรอ

อยากจะถามมันหน่อย

มันรู้อะไรดีแค่ไหน

ข้อมูลที่ได้รับมาแน่ใจเหรอว่าถูก

ที่สำคัญ สถาบันเบื้องสูงไม่ได้อยู่ในสถานะจะมาโต้แย้งสิ่งที่พวกเมิงๆพูดได้


พวกเมิงพูดกันฝ่ายเดียวยังงั้นยังงี้

แล้วก็ไปปั่นหัวเด็กให้เชื่อด้วย

พวกนี้มันก็ไม่รู้เรื่องรู้ราว

กลุ้มใจจริงๆ





บันทึกการเข้า
Familie
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 369



« ตอบ #5 เมื่อ: 30-05-2008, 13:38 »

เห็นด้วยจ้า......    
บันทึกการเข้า


บรรพบุรุษ ของไทย แต่โบราณ      ปกบ้าน ป้องเมือง คุ้มเหย้า
เสียเลือด เสียเนื้อ มิใช่เบา           หน้าที่เรา รักษา สืบไป
ลูกหลาน เหลนโหลน ภายหน้า      จะได้มี พสุธา อาศัย
อนาคต จะต้องมี ประเทศไทย       มิยอมให้ ผู้ใด มาทำลาย
isa
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 151



« ตอบ #6 เมื่อ: 30-05-2008, 13:58 »

อีกประเด็นที่ชอบบอกว่าสถาบันอุปถัมภ์ชนชั้นกลาง

ขออภัยครับ...สถาบันท่านก็เหมือนผู้หลักผู้ใหญ่ที่อยู่ในบ้าน
ให้ความอุ่นใจกับลูกหลาน เป็นที่รักที่เคารพ
ร้อยวันพันปีเราก็ไม่เคยไปรบกวนท่าน
เวลาลูกหลานทะเลาะกัน ท่านถึงจะออกมาปรามที
แค่นี้เราก็เกรงใจท่านจะแย่อยู่แล้ว
แถมท่านก็ช่วยลูกๆหลานของท่านอยู่เงียบๆ
แค่เนี้ยนะครับที่บอกว่าอุปถัมภ์

แล้วทีไอ้พวกสส.พวกนายทุนการเมืองที่เอาเงินภาษีประชาชนทั้งชาติ
ไปอุดหนุนฐานเสียงเฉพาะกลุ่มของตัวเอง
ลดแลกแจกแถมเห็นกันจะๆ แบบนี้...ทำไมถึงไม่เรียกว่าอุปถัมภ์ครับ
ถ้าเป็นการทำงานการเมืองจริงๆก็จะต้องวางเป็นนโยบายให้เท่าเทียมกันทั้งประเทศ
ไม่ใช่แจกกระหน่ำเฉพาะกลุ่มเพื่อซื้อใจ ซื้อเสียง

ไอ้พวกที่พูดแบบนี้ แสดงว่าที่บ้านมันเองคงไม่เห็นหัวผู้ใหญ่
ไม่เห็นหัวปู่ย่าตายายเลยละมั้ง...
เสียชาติเกิดจริงๆ
บันทึกการเข้า
The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #7 เมื่อ: 30-05-2008, 14:08 »

เมื่อความขัดแย้งของการเมืองระดับบน กลายเป็นเชื้อไฟแห่งความขัดแย้งทางชนชั้น  

โดย ‘รศ.ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์’
 

๑ ทางออกที่ดีที่สุดที่เราเห็นวันนี้ก็คือ ช่วยกันร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ร่างด้วยกระบวนการที่มีส่วนร่วมของประชาชนอย่างกว้างขวาง อย่างน้อยต้องไม่น้อยกว่าปี 2540



๒ สังคมเราตอนนี้ ถึงจุดสำคัญคือ เรียนรู้ที่จะอยู่กับคนที่ไม่เหมือนเรา  สังคมไทยเราถูกผลักให้ไม่เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับคนแตกต่างกับเรา

 

๓ ปัญหาที่ซ้อนมาที่จะหนักหน่วงขึ้นในสังคมไทยคือปัญหาคือ ‘ชนชั้น’

 

๔ ในช่วงรัฐบาลของคุณทักษิณ ไม่ว่าเขาตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม ทำให้ ‘คนจนเกิดสำนึกว่าเราจน’ และต้องการการจัดการดูแลอีกแบบหนึ่งจากรัฐ

 

๕ เมื่อก่อนเป็นความขัดแย้งชาติพันธุ์ แต่ในวันนี้ ผมอยากจะบอกว่ามันเป็นความขัดแย้งทางชนชั้นและเราต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับความแตกต่างของเราตรงนี้



๖ ถ้าหากเราไม่จัดการความขัดแย้งทางชนชั้นตรงนี้ให้ได้ สังคมไทยจะเผชิญหน้ากับสิ่งที่คาดหมายไม่ได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น

 

‘รศ.ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์’ อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ให้สัมภาษณ์ประเด็นการเมืองไทยในห้วงขณะนี้ ผ่านรายการ ‘มองคนละมุม’ สถานีวิทยุ FM.100 เสียงสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ‘ประชาไท’ จึงขอนำมาเรียบเรียงนำเสนอตรงนี้อีกครั้ง...



มองอย่างไรกับประเด็นการเมืองในขณะนี้ ที่หลายฝ่ายยังคงมุ่งไปที่เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ?

คือเราเองเป็นห่วงและกังวลในเรื่องของสถานการณ์ทางการเมืองขณะนี้ เนื่องจากว่ามันมีสภาวะของความขัดแย้งและแตกแยกเป็นสองขั้วอย่างชัดเจน ภาวะความขัดแย้งและแบ่งขั้วของการเมืองระดับบน มันมีผล คือ มันดึงเอาทั้งสังคมเข้าไปสัมพันธ์ด้วย ดังนั้น มันก็จะทำให้เกิดความขัดแย้งลามลงมาสู่ทั้งสังคมเลย

 

ในภาวะแบบนี้เอง พวกเราก็กังวลกันว่า เราอยากจะหาทางออกที่ดีที่สุดสำหรับสังคมไทย ที่ทำให้แม้ว่าเราแตกต่างหรือเห็นไม่เหมือนกัน เราก็คุยกันได้ และการสร้างเวทีตรงกลางตรงนี้เอง ก็คือการต้องร่างกติกา ควบคุมสังคมกันใหม่ คือ ร่างรัฐธรรมนูญกันใหม่ ด้วยเห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับที่ใช้กันอยู่ตอนนี้ เป็นรัฐธรรมนูญที่ ถ้าหากเราจำกันได้ คะแนนของคนรับกับไม่รับใกล้เคียงกันมาก แล้วก็ตัวรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นตัวทำให้เกิดความขัดแย้ง

 

ดังนั้น พวกเราเองทั้งที่เชียงใหม่ และกรุงเทพฯ หลายกลุ่มมากที่คุยกัน ว่าทางออกที่ดีที่สุดที่เราเห็นวันนี้ก็คือว่า ให้ช่วยกันร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ร่างด้วยกระบวนการที่ส่วนร่วมของประชาชนอย่างกว้างขวาง อย่างน้อยต้องไม่น้อยกว่าปี 2540 เพื่อที่จะทำให้ประชาชนคนไทยทั้งหมดได้เข้ามามีส่วนร่วมได้ตระหนักว่าสิทธิในความเป็นพลเมืองของเขา เขาจะได้อย่างไร เขาจะอยู่อย่างไร เพื่อที่จะทำให้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่เป็นรัฐธรรมนูญที่เกิดขึ้นจากความเห็นชอบจากความเห็นชอบจากสังคมโดยรวมที่มากกว่าครึ่งหนึ่ง ที่มากว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้

 

บนกระบวนการตรงนี้เอง คือกระบวนการที่จะทำให้การเมืองทั้งหลายเป็นของสังคม ไม่ใช่การเมืองเป็นของนักการเมืองแบบนี้ ที่เราเสนอตรงนี้ นอกจากความขัดแย้งแล้ว มันมีกระแสของพรรครัฐบาลเองที่พยายามจะตั้งกรรมาธิการแล้วร่างกันเอง ซึ่งถ้าทำแบบนั้น ผมก็คงต้องเตือนและฝากสังคมคนไทยด้วยว่ายิ่งทำอย่างนี้ยิ่งทำให้ขัดแย้ง

 

ทั้งอาจารย์สมเกียรติ (ตั้งนโม) ผม และพวกเราที่ร่วมกันในนามของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน และในนามอื่นๆ อีกเยอะแยะ กว้างขวางมาก คิดว่าทางออก คือ ทางนี้ อย่างน้อยที่สุดเท่าที่เราคิดได้วันนี้ ทางนี้คือทางออกที่ดีที่สุด เพราะถ้าร่างรัฐธรรมนูญที่เกิดขึ้นโดยความเห็นพ้องมีส่วนร่วมของประชาชนเขาก็จะปกป้องรัฐธรรมนูญมากกว่าที่ผ่านมา

 

แล้วที่สำคัญอีกอย่าง ผมคิดว่าพี่น้องทางภาคเหนือหรือในเชียงใหม่เอง คงจะเห็นชัด คือ ในวันนี้มันมีความเปลี่ยนแปลงในเชียงใหม่มหาศาล เรามีพี่น้องจำนวนมากที่ดำรงชีวิตอยู่บนภาคการผลิตอย่างไม่เป็นทางการ อย่างเป็นชาวนาจริงๆ ก็ไม่มี ขาข้างหนึ่งอยู่ที่งานนอกภาคการเกษตร ไม่รับจ้าง ก็รับเหมา ซึ่งในรัฐธรรมนูญไม่มีที่ว่างสำหรับคนกลุ่มใหม่กลุ่มนี้ ดังนั้น สิ่งที่เราร่าง เราก็ต้องพูดถึงว่าสิทธิของประชาชนที่จะต้องได้รับ เช่น พิทักษ์ค่าแรงในทุกกรณี ก็ต้องได้รับการรับประกันเป็นค่าแรงขั้นต่ำโดยทางรัฐธรรมนูญทั้งหมด

 

 

หมายความว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จะต้องเข้าใจสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง?

กติกาใหญ่ในรัฐธรรมนูญจะต้องมองและคิดกันถึงความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ จะต้องมีแนวโน้มอะไร เพื่อที่จะทำให้ตัวรัฐธรรมนูญฉบับนี้ยืดหยุ่นในการรองรับสิทธิของพลเมืองในรูปแบบใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นตรงนี้ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็จากภาคประชาชน จากภาคสังคมทั้งหมดร่วมกัน ไม่มีทางที่จะเกิดขึ้นจากกำมือของนักการเมือง ไม่มีทางที่จะเกิดขึ้นจากกำมือของอำมาตยาธิปไตย ส่วนเสี้ยว ตรงนี้เอง คือส่วนที่พวกเราร่วมกันเรียกร้อง พวกเราเองอาจจะไม่มีแรง อาจจะไม่มีพลัง ก็หวังว่าพี่น้องประชาชนทั่วๆ ไป ที่ได้อ่านได้เห็น ถ้าเห็นด้วยกับพวกเรา ก็ช่วยกันหน่อย เราคงไม่มีพลังมากพอที่จะบอกนักการเมืองว่าแบบนี้นะ แต่เราเห็นว่าถ้าหากปล่อยให้นักการเมืองทำ ปล่อยให้ฝ่ายส่วนเสี้ยวของอำมาตยาธิปไตยกุมอำนาจสังคมไทย เรากำลังจะประสบปัญหาอีกมากมายมหาศาลในอนาคต สังคมต้องช่วยกัน

 

 


ในขณะที่ภาคประชาชน พยายามเสนอให้ยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยผ่านกระบวนการทางสังคมให้มากขึ้น อย่างน้อยก็คือต้องดีกว่ารัฐธรรมนูญปี 2540 แต่ดูเหมือนว่าฝ่ายรัฐบาลจะไม่ค่อยตอบรับเท่าไหร่?

ในฝั่งรัฐบาลเอง ถ้ามองแล้วความเป็นเอกภาพ เขาไม่มี แต่มีกลุ่ม สมมติว่าเราแบ่งเป็นปีกเหยี่ยว ปีกประเภทที่ว่า เมื่อเป็นผู้แทนแล้วก็คือการมอบอำนาจให้ผู้แทนเบ็ดเสร็จทำอะไรเลย ปีกนี้อาจจะมีอำนาจมากหน่อย ในรัฐบาลปีกนี้จะไม่ฟังเรา ก็จะดูเหมือนว่าเขามีอำนาจมากกว่ากลุ่มอื่นๆ  อีกปีกหนึ่งคือปีกที่มองการณ์ไกล ดังนั้น ในตัวของรัฐบาลเองก็ต้องดึงกันอีกพรรคหนึ่ง ยื้อกันไปยื้อกันมา เราจะทำให้ปีกหรือฝั่งที่มองเห็นการณ์ไกล มองเห็นอนาคตข้างหน้ามากกว่าเห็นอำนาจเฉพาะด้าน เราจะช่วยเขาได้ก็คือ สังคมจะต้องลุกขึ้นมา

 

ดังนั้น ความไม่เป็นเอกภาพของรัฐบาลเอง ด้านหนึ่งมันก็ก่อผลทำให้เรามองไม่ชัด ว่าคุณจะเอายังไงคุณรักเราได้ไหม เราก็หวังว่าปีกสันติภาพที่มองการณ์ไกลคงจะรุกมากขึ้น อย่างน้อยในประเด็นนี้ เขาไม่ควรจะแพ้ปีกเหยี่ยว

 

 

ดูเหมือนว่าสังคมไทย ณ วันนี้ จะมีหลายก๊ก มากกว่าสามก๊กในหนังประวัติศาสตร์ของจีนเสียอีก และยังมีกระแสปฏิวัติเกิดขึ้นอีก ตรงนี้มีความคิดเห็นอย่างไรบ้าง?

คือในวันนี้ เราอยู่ในภาวะที่ไม่มีใครที่จะคุมใครได้ ไม่มีใครที่จะมีน้ำหนักพอที่จะพูด แล้วทุกคนจะกลับไปคิด ในวันนี้เอง ทุกคนมีป้อมของตัวเอง แล้วก็ขยับ แล้วก็คงจะมีกลุ่มมากมาย ในภาวะแบบนี้เอง ผมคงต้องบอกว่ามากกว่าสามก๊ก ในวงราชการเองก็แตกกันหมดเลย

 

ดังนั้น สิ่งสำคัญคือ เราคงต้องถอยมา แล้วทำให้เวทีตรงกลางเกิดขึ้นจริงๆ แล้วทำให้ทุกก๊กหันมาพูดคุยกันได้ พูดคุยกันได้โดยไม่จำเป็นต้องเห็นพ้อง แต่หมายถึงว่าระบอบประชาธิปไตย คือระบอบที่ทุกคนเข้ามาคุยกัน ต่อรองกัน คุยกัน แลกเปลี่ยนกัน ไม่มีใครได้หมดเสียหมด แต่ในวันนี้การตั้งป้อมของแต่ละฝ่าย เพราะทุกคนคิดว่ายึดเอาหมด อำนาจ งบประมาณทั้งหมด ซึ่งไม่มีผลดีต่อสังคมเลย  ดังนั้น ขบวนการการทำให้เป็นประชาธิปไตยของเราคือ จะต้องทำให้ความแตกต่างทางความคิด ความแตกต่างของกลุ่มสามารถนั่งลงและพูดคุยกัน และทุกฝ่ายก็จะรับรู้ร่วมกันว่า ไม่มีใครได้หมดเสียหมดสังคมนี้เป็นสังคมร่วมกัน

 

 

แล้วเวทีกลางที่จะทำให้ทุกคนมาพูดกันนั้นจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ใครจะเป็นคนสร้าง?

ผมคิดว่าในขบวนการร่างรัฐธรรมนูญ ที่เราเสนอไป จะทำให้ทุกคนมองเห็นซึ่งกันละกัน ทุกคนจะรู้ว่าแต่ละคนต้องการอะไร และการเริ่มเห็นซึ่งกันและกัน นี่แหละผมคิดว่ามันจะเริ่มทำให้แต่ละฝ่ายเข้าใจว่า ถ้าเราจะอยู่ร่วมกันเราจะอยู่ตรงไหน บนกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ ผมคิดว่าเมื่อผ่านการเห็นซึ่งกันและกันแล้วเราก็จะเห็นกันต่อไป และจะจัดความสัมพันธ์ตรงนี้ยังไง

 

ถามว่าคนชั้นกลางในเมืองในกรุงเทพฯ เขาเข้าใจคนจนในบ้านนอกไหม คิดว่าไม่เข้าใจ โดยเราจะเห็นข้อครหาของคนในเขตเมือง ชนชั้นกลาง หรือคนรวยในเขตเมือง ที่มองชาวบ้านอีสาน หรือชาวบ้านเหนือ ว่าซื้อสิทธิ์ขายเสียง โง่ นี่คือความไม่เข้าใจ เพราะการซื้อสิทธิ์ขายเสียงไม่ใช่การซื้อแบบผัก ปลา แต่มันซื้อบนเครือข่ายอีกแบบหนึ่งขึ้นมา ด้วยเหตุผลว่าพี่น้องคนจนเขาไม่เคยได้รับส่วนแบ่งจากงบประมาณมาก่อน มันเป็นการซื้อโดยผ่านบล็อกโหวต

 

ดังนั้น ถ้าเราเข้าใจสิ่งสำคัญก็คือ เราทำให้การกระจายทรัพยากรลงไปสู่กลุ่มคนอย่างทั่วถึง และการซื้อสิทธิ์ขายเสียงมันก็จะเปลี่ยนไป ผมไม่คิดว่ามันจะหมด อย่าลืมว่าชนชั้นกลางก็ซื้อสิทธ์ขายเสียงโดยผ่านโครงการ รัฐบาลทุกรัฐบาลเข้ามาปุบก็จะต้องทำรถไฟแสนล้าน นี่ก็ซื้อเสียงเหมือนกันไม่ได้ต่างจาก 500 บาทของลุงคำ ลุงแก้ว ดังนั้นในกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ ที่แสดงความเห็นซึ่งกันและกัน ผมคิดว่าทั้งสองฝ่ายจะเห็นกันและจะเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน

 

สังคมเราตอนนี้ ถึงจุดสำคัญคือ เรียนรู้ที่จะอยู่กับคนที่ไม่เหมือนเรา สังคมไทยเราถูกผลักให้ไม่เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับคนแตกต่างกับเรา เราถูกทำให้เราต้องเหมือนกันมาตลอด เราต้องเป็นคนไทย วัฒนธรรมไทย ความเป็นไทย มันถูกบีบให้เป็นหนึ่งเดียว ดังนั้น เราจึงไม่เรียนรู้ที่จะอยู่กับคนที่ไม่เหมือนเรา การที่เราไม่เรียนรู้ทำให้เรามีความขัดแย้งสูงขึ้นในทุกระดับ ในวันนี้ สังคมไทยอันหนึ่งที่สำคัญก็คือ เราต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับคนที่ไม่เหมือนเรา

 

 

ซึ่งดูเหมือนว่าปัญหาการไม่ยอมรับความแตกต่างของสังคมไทยจะเริ่มทับซ้อนมากขึ้น?

มันซ้อนกันหลายระดับมาก การที่เราไม่เรียนรู้กับคนที่ไม่เหมือนเรา เมื่อก่อนก็เป็นเรื่องชาติพันธ์ พี่น้องจีนสยามเองก็อาจจะโชคดีกว่ากลุ่มอื่น ก็คือสามารถปรับตัวเข้ามาสู่ความเป็นไทยได้มากกว่า แต่การปรับตัวของพี่น้องจีนสยามที่เข้ามาสู่ความเป็นไทยก็ปรับเปลี่ยนเฉพาะตัวเองโดยที่ลืมมอง อาข่า ม้ง ลืมมองพี่น้องปักษ์ใต้ ทันทีที่ปรับตัวเองคุณก็ขีดเส้นว่าคนอื่นเป็นคนอื่น ก็ถูกสร้างเหมือนเดิม

 

ดังนั้น สิ่งสำคัญคือ ปัญหาชาติพันธ์เริ่มหมดไป พี่น้องชนเผ่าอาจจะต้องต่อสู้กันอีกพักหนึ่ง แต่ก็ยังดีขึ้นกว่าเดิม แต่ปัญหาที่ซ้อนมาที่จะหนักหน่วงขึ้นในประเทศไทยคือปัญหาคือ ‘ชนชั้น’

 

สังคมไทยเกิดการแตกตัวทางชนชั้นชัดเจนขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา คือในแต่ละกลุ่มคนเริ่มสังกัดชนชั้นตัวเองชัดขึ้น และชนชั้นของตัวเองต้องสืบทอดกันต่อไป เช่น พี่น้องที่อยู่ในภาคเกษตรจำนวนไม่มากนักที่สามารถขยับตัวเองขึ้นมาเป็นชนชั้นกลาง เช่น ลูกอาจจะเรียนเก่งเป็นหมอ แต่โดยส่วนมากแล้วพี่น้องลูกหลานเกษตรกรทั้งหมดก็จะอยู่ในส่วนข้างล่างของพีระมิดสังคม เช่น ลูกหลานก็ก็เรียนได้แค่ ปวช. ปวส. นี่คือการเกิดชนชั้น กลายเป็นเส้นแบ่งที่ทำให้คนกลุ่มหนึ่งที่มากมายในสังคมขยับขึ้นไปข้างบนได้ช้าลง ก็จะผลิตการสืบทอดตรงนี้

 

และที่น่าตกใจคือมันเกิดชนชั้นทางสำนึกขึ้นมา เช่น ในช่วงของรัฐบาลของคุณทักษิณ ไม่ว่าเขาตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม ทำให้ ‘คนจนเกิดสำนึกว่าเราจน’ และต้องการการจัดการดูแลอีกแบบหนึ่งจากรัฐ พลังที่สำคัญของประชานิยมที่เป็นผล คือทำให้คนจนรู้สึกตัวว่าตัวเองจน และการรู้สึกตัวว่าตัวเองจนนั้นไม่ได้จนเพราะบาปกรรมแบบเดิม แต่จนเพราะกลไกมันไม่เอื้อ

 

ดังนั้น อย่าลืมว่าคนจนไม่สำคัญเท่าคนที่รู้สึกจน นี่คือสำนึกทางชนชั้น

 

ผมคิดว่าพี่น้องคนจนในชนบทเอง แม้ว่าเขาอาจจะไม่เคยพูดคุยกันเลย แต่ทั้งหมดเริ่มมีความรู้สึกแบบเดียวกัน มีความรู้สึกชื่นชมทักษิณแบบเหมือนกัน หรือชื่นชมว่านโยบายแบบนี้ทำให้ชีวิตเขาดีขึ้น แล้วถามว่านี่เป็นความขัดแย้งไหม เมื่อก่อนเป็นความขัดแย้งชาติพันธุ์ แต่ในวันนี้ ผมอยากจะบอกว่ามันเป็นความขัดแย้งทางชนชั้น และเราต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับความแตกต่างของเราตรงนี้

 

ที่พูดถึงความแตกต่างของชนชั้นไม่ได้เกิดขึ้นแค่ที่ประเทศไทย ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทุกประเทศล้วนกำลังเผชิญปัญหาใหญ่แบบนี้เหมือนกัน ที่ฟิลิปปินส์จะมีเส้นแบ่งเหล่านี้ชัดเจน เป็นผลิตผล เป็นผลพวงมาจากการพัฒนาประเทศในลักษณะแบบเดียวกันที่กลุ่มอาเซียนทำกันในทศวรรษ 2500 ได้ส่งผลถึงเราวันนี้ ก็คือ ‘การแตกตัวชนชั้น’ เราทั้งหมดกำลังเผชิญหน้ากับกองทัพคนจน เราต้องเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน เราต้องเรียนรู้ที่จะแบ่งปันกันแล้ว ถ้าหากเราไม่จัดการความขัดแย้งทางชนชั้นตรงนี้ให้ได้สังคมไทยจะเผชิญหน้ากับสิ่งที่คาดหมายไม่ได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น

 

ดังนั้น เวทีกลางที่อยากเสนอก็คือ จะทำให้ทุกคนได้เห็น ได้รับรู้ เรียนรู้ที่จะอยู่กับคนที่ไม่เหมือนเรา ที่แตกต่างกับเรา ทั้งรสนิยม และวิธีคิดทางการเมือง แต่เขาก็เป็นคนไทย ทั้งหมดคือสิ่งที่เราต้องเรียนรู้กันใหม่อย่างลึกซึ้ง และการร่างรัฐธรรมนูญร่วมกันเป็นจุดหนึ่ง แต่ไม่ใช่ว่าร่างเสร็จแล้วจะจบเลยแต่หมายถึงว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้เราเรียนรู้และเห็นซึ่งกันและกันชัดขึ้น มหาวิทยาลัย หรือสถาบันการศึกษาทั้งหมดก็คงจะต้องสร้างองค์ความรู้ใหม่ แม้กระทั่งวิชาด้านชนบทก็ต้องปรับเปลี่ยนกันใหม่ เราไม่สามารถที่จะอธิบายสังคมได้แบบเดิมอีกต่อไป

 

 

ในสถานการณ์ตอนนี้ เชื่อว่าการปฏิวัติจะเกิดขึ้นอีกไหม หรือว่าเป็นแค่กระแสของนักการเมืองที่พูดออกมาเป็นปล่อยข่าว?

ผมคิดว่ามันมีความรู้สึกของคนกลุ่มหนึ่งในสังคมไทยอยู่ตลอดเวลา ว่า ถ้าหากว่ามันวุ่นวายมากนัก ก็ต้องล้างไพ่ คือการปฏิวัติ แล้วก็จัดสำนักใหม่ ผมคิดว่ากระแสนี้มีในสังคมไทยเรื่อยมา และในจังหวะตรงนี่คงมีกระแสนี้เข้ามา แต่คงต้องเตือนพี่น้องทั้งหมด เตือนทุกฝ่ายด้วยว่า การรัฐประหารอีกครั้งหนึ่งที่เกิดขึ้นมันรังแต่จะทำให้เกิดการนองเลือด ผมเชื่อว่าถ้าเคลื่อนทหารรัฐประหารเมื่อไหร่ ก็จะมีอีกป้อมหนึ่งเอาคนเข้ามาอยู่ แล้วถ้าขณะรัฐประหาร ยิ่งคนที่อยู่อีกป้อมหนึ่ง พัง

 

ดังนั้น มันไม่ง่ายแบบเดิมอีกแล้ว สถานการณ์ที่จะสุกงอมเหมือน 19 กันยา แล้วมีการช่วงชิงเพียงนิดเดียวในวันที่ 19 กันยา โอกาสที่จะเกิดอย่างนี้ ผมคิดว่าไม่มี  มันเป็นโอกาสนิดเดียวในการที่เข้าไปช่วงชิงช่องว่างทางอำนาจตรงนั้น แค่นั้นเองซึ่งถ้าหากช้ากว่านั้นไปอีกสักพักหนึ่ง ผมคิดว่ามวลชนมหาศาลอาจจะลงมาอยู่ที่ท้องถนน ดังนั้น โอกาสแบบ 19 กันยาเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าจะมีรัฐประหารอีกครั้ง มันต้องเป็นรูปแบบใหม่ แล้วก็น่ากลัว ผมคิดว่าผมมองไม่ออก คือมันจะถอยหลังกลายเป็นแบบพม่า ถ้าเราย้อนกลับไปอย่างนั้นสังคมไทยคงจบ

 

 

จะมีข้อเสนอ เป็นข้อโซ่ข้อกลางอย่างไร ระหว่างประชาสังคม นักวิชาการ กับนักการเมืองที่จะนำสองความคิดนี้มาเจอกันให้ได้?

คือเราคงไม่มีทาง หรือเข้าไปต่อกับฝั่งนักการเมืองได้ แต่สิ่งที่เราจะต่อได้ หรือพูด คือเราจะพูดกับสังคมเราต้องขยายให้สังคมรับรู้ว่า หนทางที่เราเสนอในวันนี้ เราเห็นว่าเป็นหนทางที่ดีที่สุด เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยไม่เป็นไร ถ้าเห็นด้วยก็ร่วมกับเรา ถ้าไม่เห็นด้วย ลองสิว่ามีทางอื่นไหม เราคงต้องเสนอให้สังคมแล้วคงจะต้องรณรงค์ให้สังคมสามารถจัดตั้งองค์กรรวมๆ กันขึ้นมาได้แต่ละฝ่าย เช่น อาจจะเป็นหย่อมบ้าน หรืออาจจะเป็นเครือข่ายฌาปนกิจก็ได้ แต่ละองค์กรเสนอความเห็นขึ้นมา

 

เราคงต้องทำตรงนั้นมากกว่าเพื่อที่จะใช้ทั้งหมดนี้เป็นกลไกทางสังคมบีบนักการเมืองว่าคุณต้องคิดอะไร  

 
บันทึกการเข้า
login not found
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,523



« ตอบ #8 เมื่อ: 30-05-2008, 14:15 »

ไม่พูดถึงชนชั้นกลางนะครับ เพราะนิยามไม่ถูกจริงๆ

แต่ถ้าพูดถึงคนที่เจ้าช่วยมากที่สุด
ก็คงไม่พ้นกลุ่มที่โดนนิยามใหม่ว่า "รากหญ้า"ทั้งหลาย
สมัยที่พระองค์พระวรกายแข็งแรง พระองค์เสด็จไปดินแดนห่างไกลทุรกันดาน
เรียกได้ว่าไม่มีดินแดนไหนที่พระองค์ไม่เคยเสด็จไปช่วยเหลือผสกนิกรของพระองค์
โครงการต่างๆได้กระจายไปสุ่ทุกถิ่นแดน
otop ทั้งหลายแหล่เคยรู้บ้างไหมว่าจริงๆแล้วพระองค์เป็นคนเริ่มต้น
เป็นการเริ่มต้นอย่างเข้มแข็งครบวงจรตั้งแต่ศึกษาความชำนาญ การส่งเสริมการผลิต
การจัดหาตลาด ประชาสัมพันธ์ สะสมสั่งสอนเพิ่มความชำนาญพัฒนาผลิตภัณฑ์
จนชาวบ้านมีอยู่มีกินอยู่กันอย่างพอเพียง และบางคนก็ถึงกับร่ำรวย
ไม่ใช่ otop เอาหน้า สามเดือนเจ้งไปครึ่งนึงแบบที่แม้วมันทำ

ถึงตอนนี้พระชนมายุจะล่วงเลยไปมาก กำลังวังชาลดลง
มิได้เสด็จไปยังที่ต่างๆเช่นเคย แต่พระองค์ก็ยังทรงงานมิได้ขาด
แผนที่ รายงานยังต้องส่งเข้าวังไม่เว้นแต่ละวัน
เมื่อมีภัยพิบัติต่างๆพระองค์ก็ทรงติดตามอย่างใกล้ชิด

อยากรู้
รมต. สส. นักวิชาเกิน นสพ.ตัวไหนมันกล้าพูดว่าสถาบันไม่ดูแลประชาชน
 
บันทึกการเข้า
login not found
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,523



« ตอบ #9 เมื่อ: 30-05-2008, 14:18 »

ชนชั้นเลว ตัดแปะอีกละ
ขยะรกบอร์ดจริงๆ
บันทึกการเข้า
totoro on a tree
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 112



« ตอบ #10 เมื่อ: 30-05-2008, 14:21 »

ส่วนใหญ่จะตัดแปะ

เพราะว่าไม่มีปัญญาจะโต้แย้งมากกว่า

ก็เลยแปะ

เอาปริมาณเข้าว่า 

บันทึกการเข้า
The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #11 เมื่อ: 30-05-2008, 14:22 »

ชาติหน้ามีจริงอยากเกิดมารวยโดยไม่ต้องทำอะไร อยากเกิดมามีคนยกยอ อยากเกิดมาแล้วทำอะไรก็ไม่ผิดกฏหมาย  อยากเกิดมามีที่ดินนับล้านๆไร่ อยากเกิดมาแล้วได้กดขี่คนอื่น  อยากเกิดมาแล้วคนอื่นคิดว่าเป็นเทวดา ฯลฯ.....จะมีมั้ยน๊าคนที่โชคดีขนาดน้าน!?!
บันทึกการเข้า
totoro on a tree
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 112



« ตอบ #12 เมื่อ: 30-05-2008, 14:29 »

^
^
^

คนที่เกิดมาพร้อมสถานะแบบนั้นติดตัว

ผิดตรงไหนเหรอ

ช่วยบอกหน่อย


--------------------------------------------

พวกที่เกิดมาแล้วกอบโกยทำทุกอย่าง หน้าด้าน โกหก ตอแหล  เพื่อตัวเองกับตระกูลมันอย่างเดียว

นี่สิ

น่ารังเกียจที่สุด

---------------------------------------


บันทึกการเข้า
The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #13 เมื่อ: 30-05-2008, 15:00 »

^
^
^

คนที่เกิดมาพร้อมสถานะแบบนั้นติดตัว

ผิดตรงไหนเหรอ

ช่วยบอกหน่อย


--------------------------------------------

พวกที่เกิดมาแล้วกอบโกยทำทุกอย่าง หน้าด้าน โกหก ตอแหล  เพื่อตัวเองกับตระกูลมันอย่างเดียว

นี่สิ

น่ารังเกียจที่สุด

---------------------------------------



การเกิดมาพร้อมสถานะอย่างที่ว่า...ไม่ผิดหรอก ยกเว้นเกิดมาแล้วทำเลว กอบโกยไม่รู้จักพอ แหกตาคนอื่นแบบไม่กลัวบาปเพียงเพื่อตัวเองจะได้รับการสรรเสริญ กดขี่ผู้อื่นแบบไร้ยางอาย ฆ่าได้แม้กระทั่ง...  ฯลฯ  คนชั่วคนดี...ดูไม่ยากหรอกครับไม่ว่าจะพยายามซ่อนขนาดไหนก็ตาม
บันทึกการเข้า
isa
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 151



« ตอบ #14 เมื่อ: 30-05-2008, 15:06 »

อืมม์...จารย์จ๊ะเข้ามาตอบมีสาระแบบนี้ค่อยน่ารักหน่อย
*ไอ้ที่พูดข้างบนนี่หมายถึงทักจิ๋นกับแก๊งค์มันใช่มะ...ดีๆ กู๊ด
ถ้าจะเข้ามาป่วน...ไม่งั้นจะเอาร่มขนาดเมตรครึ่งที่เพิ่งซื้อมาเสียบตูดให้มิดด้าม
แถมกางให้ด้วย (กระพือๆแถมเป็นเซอร์วิส)

ขอแย้งจารย์จ๊ะเอาเฉพาะประเด็นนี้ก็แล้วกัน <ในช่วงรัฐบาลของคุณทักษิณ ไม่ว่าเขาตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม ทำให้ ‘คนจนเกิดสำนึกว่าเราจน’ และต้องการการจัดการดูแลอีกแบบหนึ่งจากรัฐ>

ถามว่าทำไมคนถึงสำนึกว่าตัวเอง "จน" อะไรที่ทำให้เราคิดว่าเรา "จน"
หรือเพราะมีคนชี้นิ้วให้ดูคนในเมืองที่แต่งตัวดูหรูหรา มีรถขับ ดูมีเงิน?
แต่จริงๆแล้วสิ่งที่จำเป็นจริงๆกับเราคืออะไร "ปัจจัยสี่" อาหาร ที่อยู่อาศัย เสื้อผ้า ยารักษาโรค ไม่ใช่เหรอ? ถึงมันอาจจะซื้อหามาได้ด้วยเงินแต่มันก็ไม่ได้เป็นแบบนั้นเสมอไป

การเป็นคนกรุงฯ การเป็นคนในตัวเมือง การเป็นคนชนบท เป็นพนักงานบริษัท เป็นคนงานโรงงาน เป็นข้าราชการ มันก็มีปัจจัยแตกต่างกันไป มีข้อดีข้อเสียจุดเด่นจุดด้อย ความเสี่ยงไม่เหมือนกัน ความซวยจะเกิดขึ้นเมื่อพยายามเลียนแบบคนกลุ่มอื่นโดยที่ตัวเองไม่ใช่ (ผมจะไม่ใช้คำว่าชนชั้นอื่น...เพราะมันงี่เง่า)

คนกรุงที่เงินเดือนหมื่นกว่าๆถึงสองหมื่น บ้านต้องเช่า ข้าวต้องซื้อ รถต้องผ่อน (ไม่ซื้อก็ไม่ได้เพราะบ้านที่พอจะมีปัญญาซื้อก็อยู่ไกลออฟฟิศ) เทียบกับคนชนบทที่มีที่ดินทำกินของตนเอง มีผักริมรั้ว เลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่กินเองได้ แต่มีรายได้ปีละไม่ถึงแสน คุณภาพชีวิตใครจะดีกว่ากัน
พนักงานบริษัทที่อาจจะเงินเดือนร่วมแสน แต่หากตกงาน หรือเกษียณก็กลายเป็นศูนย์ เทียบกับข้าราชการเงินเดือนน้อยๆ แต่เกษียณแล้วยังมีโบนัส แถมเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตลอดชีวิต คุณภาพชีวิตใครจะดีกว่ากัน

เกษตรกรที่มีที่ทำกินเป็นของตัวเอง หากมีการจัดกลุ่มพึ่งพาตัวเองอย่างเป็นระบบ มีการจัดจำหน่ายปุ๋ยในราคาที่ควบคุมได้ มีอำนาจต่อรองกับเจ้าของโรงสี เทียบกับพนักงานบริษัทเงินเดือนแพงๆที่อาจตกงานเมื่อไหร่ก็ได้ และหากตกงาน ก็ไม่มีทั้งที่อยู่ ไม่มีกิน ไม่มีเงิน ใครพกพาความเสี่ยงสูงกว่ากัน

เพราะการชี้นำของลัทธิบริโภคนิยม กับนายทุนสามานย์ ที่ทำให้ชนชั้นเกษตรกรที่มีข้อได้เปรียบเรื่องปัจจัยที่อยู่ อาหาร เหนือกว่าคนเมืองอยู่แล้ว (ตอนนี้เด็กรุ่นใหม่ 50% ของกรุงเทพฯขึ้นไปอยู่คอนโดกันหมดแล้วครับ เพราะไม่มีปัญญาซื้อบ้าน) อยากจะใช้ชีวิตหรูหราแต่เปราะบางแบบชาวเมือง ทั้งๆที่ไม่ควรจะมีค่าใช้จ่ายเรื่องที่อยู่อาศัยและอาหาร แต่กลับสร้างภาระให้กับตัวเองด้วยการถอยรถ ซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย ซื้อแกงถุงกิน (ขี้เกียจนี่หว่า เวลามีตั้งเยอะแยะ) ทั้งๆที่ความเครียดควรจะต่ำกว่าชาวกรุง ก็แสวงหาความบันเทิงใส่ตัวไม่แพ้ชาวกรุง เมื่อรายจ่ายสูงขึ้นโดยไม่คำนึงถึงรายได้ ความขัดแย้งจึงได้เกิดขึ้น ยิ่งมีพวกซ้ายบัดซบตามตอกลิ่ม ก็ยิ่งเข้าใจผิดรุนแรง (นักวิชาการก็พลอยชี้นำไปคนละทิศคนละทาง)

ทางแก้ก็ต้องให้เกษตรกรสำนึกในความร่ำรวยของตัวเองที่ตัวเองมีอยู่ สำนึกในคุณค่าของทรัพยากรรอบตัวที่มีอยู่ และนำมาใช้เสริมฐานะของตัวเองให้ได้เต็มประสิทธิภาพ ลดการเพาะปลูกพืชเชิงเดี่ยวลง ปลูกเองกินเองให้มากขึ้น จับกลุ่มกันสร้างการผลิตปุ๋ย จัดหาตลาดให้ตัวเองได้ พึ่งตัวเองได้ ไม่ต้องมานั่งประกันราคาข้าวกันทุกปี จัดหาที่ทำกินให้เกษตรกรยากจน...ไม่ใช่การแปรที่ทำกินให้เป็นทุนอย่างที่เศรษฐีบัดซบคนหนึ่งเสนอ...ยิ่งขายนาเป็นลูกจ้างทำนาให้เศรษฐีดูไบด้วยยิ่งอุบาทว์เข้าไปใหญ่...ไม่คิดเลยหรือว่าชีวิตลูกจ้างน่ะ เค้าจะไล่ออกเมื่อไหร่ก็ได้ กำไรเขาลด เขาก็เลย์ออฟพนักงาน...แล้วก็ออกมาเร่ร่อนไร้ที่อยู่ ไร้งานทำเป็นภาระสังคมที่อยู่ เจ้าของกิจการมันไม่มาวอรี่ด้วยหรอกนะ...เป็นนายของตัวเอง...เป็นเจ้าของกิจการเองอยู่ดีๆไม่ชอบ...ชอบเป็นขี้ข้าคนอื่น...ไม่รู้เลยรึไงว่าคนกรุงน่ะ อยากจะเป็นนายตัวเองกันทั้งนั้น

ยาวไปละ...เอาแค่นี้ก่อน!
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30-05-2008, 15:14 โดย isa » บันทึกการเข้า
oho
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 712


« ตอบ #15 เมื่อ: 30-05-2008, 15:10 »

สมเพชสมองปัญญา อย่างอั้ย The Last Emperor  เว็บที่มรึงไปอ่านเรื่องจาบจ้วงนั้นทำโดยพวกแก๊งอั้ยเหลี่ยมพ่อเองไง

เกิดมาปัญญาอย่าง อั้ยThe Last Emperor   คงจะอยู่อย่างการเสพสื่อเว็บไซด์ Eเพ็ญ เว็บอั้ยเหลี่ยม อย่าง มนุษยดอทคอม เป็นต้น

สมองอย่างเอ็งคงจะเครียดหนัก หลังจากที่ พ่อเหลี่ยมและแก๊งของเอ็งโดนแฉ แฉ แฉ แฉจนต้องลาออก..ถุยส์


 
บันทึกการเข้า
totoro on a tree
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 112



« ตอบ #16 เมื่อ: 30-05-2008, 15:19 »


การเกิดมาพร้อมสถานะอย่างที่ว่า...ไม่ผิดหรอก ยกเว้นเกิดมาแล้วทำเลว กอบโกยไม่รู้จักพอ แหกตาคนอื่นแบบไม่กลัวบาปเพียงเพื่อตัวเองจะได้รับการสรรเสริญ กดขี่ผู้อื่นแบบไร้ยางอาย ฆ่าได้แม้กระทั่ง...  ฯลฯ  คนชั่วคนดี...ดูไม่ยากหรอกครับไม่ว่าจะพยายามซ่อนขนาดไหนก็ตาม

ที่พูดมานั่น คุณสมบัติหน้าเหลี่ยมหมดเลยนะนั่น  

เดี๋ยวจะก๊อปปี้ไว้เน้อ  
บันทึกการเข้า
qazwsx
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,359


นักธุรกิจและตำรวจ ต้องออกไปจากการเมือง


« ตอบ #17 เมื่อ: 30-05-2008, 15:35 »

ได้เห็นพลังเสรีไทยรุ่นใหม่
แล้ว
...ซาบซึ้ง  น้ำตาไหล  ปลาบปลื้ม  ปิติ...
 
 
 
บันทึกการเข้า

The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #18 เมื่อ: 30-05-2008, 15:45 »

อืมม์...จารย์จ๊ะเข้ามาตอบมีสาระแบบนี้ค่อยน่ารักหน่อย  -  Thank you น๊ะคร้าอีซ่า
เห็นชื่อตอนแรกนึกว่าจะเข้ามาป่วน...ไม่งั้นจะเอาร่มขนาดเมตรครึ่งที่เพิ่งซื้อมาเสียบตูดให้มิดด้าม
แถมกางให้ด้วย (กระพือๆแถมเป็นเซอร์วิส) น่าเกลียดจัง....ขอเปงร่มบางแสนได้ป่ะ



ขอแย้งจารย์จ๊ะเอาเฉพาะประเด็นนี้ก็แล้วกัน <ในช่วงรัฐบาลของคุณทักษิณ ไม่ว่าเขาตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม ทำให้ ‘คนจนเกิดสำนึกว่าเราจน’ และต้องการการจัดการดูแลอีกแบบหนึ่งจากรัฐ>

ถามว่าทำไมคนถึงสำนึกว่าตัวเอง "จน" อะไรที่ทำให้เราคิดว่าเรา "จน"  -  เพราะคนมันไม่มีจะกินไง...รัฐบาลทุกสมัยก็แบ่งเส้นชัดเจนไว้แล้วว่ารายได้เท่าไหร่ต่อปีถึงเรียกว่าจน
หรือเพราะมีคนชี้นิ้วให้ดูคนในเมืองที่แต่งตัวดูหรูหรา มีรถขับ ดูมีเงิน?
แต่จริงๆแล้วสิ่งที่จำเป็นจริงๆกับเราคืออะไร "ปัจจัยสี่" อาหาร ที่อยู่อาศัย เสื้อผ้า ยารักษาโรค ไม่ใช่เหรอ? ถึงมันอาจจะซื้อหามาได้ด้วยเงินแต่มันก็ไม่ได้เป็นแบบนั้นเสมอไป

การเป็นคนกรุงฯ การเป็นคนในตัวเมือง การเป็นคนชนบท เป็นพนักงานบริษัท เป็นคนงานโรงงาน เป็นข้าราชการ มันก็มีปัจจัยแตกต่างกันไป มีข้อดีข้อเสียจุดเด่นจุดด้อย ความเสี่ยงไม่เหมือนกัน ความซวยจะเกิดขึ้นเมื่อพยายามเลียนแบบคนกลุ่มอื่นโดยที่ตัวเองไม่ใช่ (ผมจะไม่ใช้คำว่าชนชั้นอื่น...เพราะมันงี่เง่า) ไม่ว่าท่านจะหลีกเลี่ยงไม่ใช้คำว่าชนชั้น แต่ข้อเท็จจริงก็คือ เรื่องชนชั้นมันเกิดขึ้นทั่วโลกและเกิดมาก่อนที่จะมีประเทศไทยด้วยซ้ำ และขณะนี้ทั่วโลกก็ยังมีการแบ่งเรื่องชนชั้นอยู่เช่นในประเทศตะวันตก จะได้ยินคำว่า white collar หรือ  blue collar เปงต้น

คนกรุงที่เงินเดือนหมื่นกว่าๆถึงสองหมื่น บ้านต้องเช่า ข้าวต้องซื้อ รถต้องผ่อน (ไม่ซื้อก็ไม่ได้เพราะบ้านที่พอจะมีปัญญาซื้อก็อยู่ไกลออฟฟิศ) เทียบกับคนชนบทที่มีที่ดินทำกินของตนเอง มีผักริมรั้ว เลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่กินเองได้ แต่มีรายได้ปีละไม่ถึงแสน คุณภาพชีวิตใครจะดีกว่ากัน -  ตอบไม่ได้ว่าใครดีกว่ากัน มันเป็นเรื่องของ lifestyle ต่างหาก แต่ทั่วโลกเค้าใช้เกณฑ์รายได้เป็นตัวชี้วัดว่าคุณอยู่ระดับไหนของสังคม เค้าไม่ได้เอาเรื่องเลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่มาหาค่าความรวยหรือจนของคุณ


พนักงานบริษัทที่อาจจะเงินเดือนร่วมแสน แต่หากตกงาน หรือเกษียณก็กลายเป็นศูนย์ เทียบกับข้าราชการเงินเดือนน้อยๆ แต่เกษียณแล้วยังมีโบนัส แถมเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตลอดชีวิต คุณภาพชีวิตใครจะดีกว่ากัน - บางคนอาจเลือกที่จะมีเงินเดือนร่วมแสนเพราะมีโอกาสเก็บเงินสดได้มากกว่าเงินเดือนน้อยๆ มันแล้วแต่ว่าคุณคิดว่าแบบไหนคุ้มค่ากว่ากัน คุณภาพชีวิตของคนเงินเดือนแสนย่อมดีกว่าคนเงินเดือนน้อยในช่วงที่เงินเดือนแสนไม่ตกงานในช่วงอายุน้อยๆ แตหากตกงานตอนอายุ 50 กว่าๆก็คุ้มค่าเพราะได้เก็บเงินไว้ใช้ยามแก่แล้วก็ได้!?!



เกษตรกรที่มีที่ทำกินเป็นของตัวเอง หากมีการจัดกลุ่มพึ่งพาตัวเองอย่างเป็นระบบ มีการจัดจำหน่ายปุ๋ยในราคาที่ควบคุมได้ มีอำนาจต่อรองกับเจ้าของโรงสี เทียบกับพนักงานบริษัทเงินเดือนแพงๆที่อาจตกงานเมื่อไหร่ก็ได้ และหากตกงาน ก็ไม่มีทั้งที่อยู่ ไม่มีกิน ไม่มีเงิน ใครพกพาความเสี่ยงสูงกว่ากัน

ประเด็นก็คือ คนจนมันจนแบบติดดินมานานนับสิบๆปีแล้ว เพราะไม่เคยมีรัฐบาลไหนใส่ใจ ถือว่าเลือกตั้งครั้งหนึ่งก็ซื้อเสียงจากคนจนเข้าสภาได้ จวบจนยุคทักษิณนี่แหล่ะที่ทำให้พวกซื้อเสียง ไม่แน่ว่าจะได้เข้าสภาเหมือนก่อน ก็เพราะนยบาบประชานิยมนี่แหล่ะที่ทำให้คนจนเห็นว่ามันเป็นประโยชน์ต่อพวกเค้า ไม่สังเกตุหรือครับว่าหากนโยบายเชิงประชานิยมไม่ดีจริง ทำไมทุกพรรคการเมืองถึงได้มีนโยบายดังกล่าวทุกพรรค แม้บางพรรคจะพยายามเลี่ยงบอกไม่ใช่ก็ตาม แต่เนื้อหาของนโยบายมันบอกชัดเจนว่าไม่ต่างกัน



เพราะการชี้นำของลัทธิบริโภคนิยม กับนายทุนสามานย์ ที่ทำให้ชนชั้นเกษตรกรที่มีข้อได้เปรียบเรื่องปัจจัยที่อยู่ อาหาร เหนือกว่าคนเมืองอยู่แล้ว (ตอนนี้เด็กรุ่นใหม่ 50% ของกรุงเทพฯขึ้นไปอยู่คอนโดกันหมดแล้วครับ เพราะไม่มีปัญญาซื้อบ้าน)

หากเห็นว่าglobalizational capitalism มันเลว...ก็ปิดประเทศไปซิครับ คุณจะไปบอกว่าคนจนครับ พวกคุณบริโภคเกินฐานะของพวกคุณไปแล้วนะ...อย่างนั้นหรือ? พวกคุณจะไม่ให้ชาวนามีกระบะขับ ไม่ให้มีโทรศัพท์มือถือใช้ ไม่ให้มีบัตรเครดิต ไม่ให้ซื้อรถมอเตอร์ไซด์คันที่ 2 ฯลฯ ผมว่ามันค่อนข้างเป็นมุมมองที่คับแคบ ส่วนเรื่องราคาที่ดินในกทมฯมันแพง...ก็เป็นเรื่องที่เกิดมานานและเป็นไปโดยธรรมชาติของระบบทุนเสรีเหมือนกับสิงคโปร์ ฮ่องกง และประเทศเสรีอื่นๆ ถ้าเด็กรุ่นใหม่ไม่มีเงินซื้อบ้านจริง...รัฐบาลก็มีโครงการบ้านเอื้ออาทร นี่ครับ  หรือว่ามันเหมาะกับคนจนเท่านั้น...คนเมืองเลยไม่สน!?!


 อยากจะใช้ชีวิตหรูหราแต่เปราะบางแบบชาวเมือง ทั้งๆที่ไม่ควรจะมีค่าใช้จ่ายเรื่องที่อยู่อาศัยและอาหาร แต่กลับสร้างภาระให้กับตัวเองด้วยการถอยรถ ซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย ซื้อแกงถุงกิน (ขี้เกียจนี่หว่า เวลามีตั้งเยอะแยะ) ทั้งๆที่ความเครียดควรจะต่ำกว่าชาวกรุง ก็แสวงหาความบันเทิงใส่ตัวไม่แพ้ชาวกรุง เมื่อรายจ่ายสูงขึ้นโดยไม่คำนึงถึงรายได้ ความขัดแย้งจึงได้เกิดขึ้น ยิ่งมีพวกซ้ายบัดซบตามตอกลิ่ม ก็ยิ่งเข้าใจผิดรุนแรง (นักวิชาการก็พลอยชี้นำไปคนละทิศคนละทาง)

คุณคงไม่เคยสัมผัสชีวิตคนจนในชนบทที่ต้องตื่นแต่เช้าไปทำนาเข้าสวน คนจนเค้ามีเวลาหุงเข้าแค่ตอนเช้าเท่านั้นเพื่อกินตอนเช้า-เที่ยง พอเย็นเสร็จไร่นาราว6โมง-1ทุ่มก็เพลียแล้ว จะมาหุงหา/ทำกับข้าวให้เมื่อยทำไม ในเมื่อซื้อกับข้าวถุงละ 15 - 20 บาทก็กินกันได้ทั้งบ้าน



ทางแก้ก็ต้องให้เกษตรกรสำนึกในความร่ำรวยของตัวเองที่ตัวเองมีอยู่ สำนึกในคุณค่าของทรัพยากรรอบตัวที่มีอยู่ และนำมาใช้เสริมฐานะของตัวเองให้ได้เต็มประสิทธิภาพ ลดการเพาะปลูกพืชเชิงเดี่ยวลง ปลูกเองกินเองให้มากขึ้น จับกลุ่มกันสร้างการผลิตปุ๋ย จัดหาตลาดให้ตัวเองได้ พึ่งตัวเองได้ ไม่ต้องมานั่งประกันราคาข้าวกันทุกปี จัดหาที่ทำกินให้เกษตรกรยากจน...ไม่ใช่การแปรที่ทำกินให้เป็นทุนอย่างที่เศรษฐีบัดซบคนหนึ่งเสนอ...ยิ่งขายนาเป็นลูกจ้างทำนาให้เศรษฐีดูไบด้วยยิ่งอุบาทว์เข้าไปใหญ่...ไม่คิดเลยหรือว่าชีวิตลูกจ้างน่ะ เค้าจะไล่ออกเมื่อไหร่ก็ได้ กำไรเขาลด เขาก็เลย์ออฟพนักงาน...แล้วก็ออกมาเร่ร่อนไร้ที่อยู่ ไร้งานทำเป็นภาระสังคมที่อยู่ เจ้าของกิจการมันไม่มาวอรี่ด้วยหรอกนะ...เป็นนายของตัวเอง...เป็นเจ้าของกิจการเองอยู่ดีๆไม่ชอบ...ชอบเป็นขี้ข้าคนอื่น...ไม่รู้เลยรึไงว่าคนกรุงน่ะ อยากจะเป็นนายตัวเองกันทั้งนั้น

ผมว่าคุณไม่เข้าใจวิถีชีวิตของชาวบ้านในตจว.ดีพอ คุณดีแต่ชี้นิ้วสั่งให้คนจนต้องทำตัวอย่างนั้นอย่างนี้...ทำเหมือนกดปุ่มในโรงงานมันคงไม่ง่ายอย่างที่คิดครับ เอาแค่เรื่องปัจจัยสี่ให้ครบก่อน เช่น บ้านเอื้ออาทร 30บาทรักษาทุกโรค ราคาพืชไร่ดี การจัดการระบบชลประทาน ฯลฯ นี่คือสิ่งที่ช่วยให้คุณภาพชีวิตของคนในตจว.ดีขึ้น อย่าไปคิดเอาเองว่านั่นคือการทำให้ชาวบ้านขอตลอดชีวิต เพราะนโยบายเหล่านี้มันเป็นสิ่งพื้นฐานที่จำเป็นในการดำรงชีพของชาวบ้านจริงๆ



ยาวไปละ...เอาแค่นี้ก่อน!
 
บันทึกการเข้า
totoro on a tree
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 112



« ตอบ #19 เมื่อ: 30-05-2008, 15:55 »




สรุปเรื่องทั้งหมดนี่ เกี่ยวเจ้าตรงไหนไม่ทราบ

มองไปก็เห็นแต่เรื่องรัฐบาลบริหารงานเฮงซวย

ไปเกี่ยวกับชนชั้นเจ้าตรงไหน

ไอ้ที่นโยบายท้งหลายก็ของรัฐ ของกระทรวง

ชาวบ้านเศรษฐกิจไม่ดี น้ำมันแพง ไม่เห็นเค้าไปร้องกับสถาบันชั้นสูงเลย

คิดไปคิดมา ถามจริงๆ เมิงรู้จักประชาธิปไตยจริงๆหรือเปล่าเนี่ย

ตรูว่าชาวบ้านต่างจังหวัดยังฉลาดกว่าเมิงเลยนะ

เพราะรู้ว่าจะไปร้องเรียนกับใคร ใครรับผิดชอบเรื่องนี้

การมีอยู่ของสถาบันไม่รบกวนอะไรของเมิงเหรอ

อยากจะรู้ แล้วข่าวที่เมิงๆเขียนมา เมิงเอาอะไรพิสูจน์ได้ว่าเรื่องจริง

ปากเมิงก็บอกว่าประชาธิปไตย แต่ถามจริงๆ

สถาบันเบื้องสูงเขาจะตอบโต้อะไรพวกเมิงได้

เมิงด่าสถาบันที่ไม่สามารถจะตอบโต้พวกเมิงได้

พวกเมิงน่ะ ใจไม่ใช่คนไทยว่า ตรูกล้าบอก

เรื่องบ้านเมืองมีปัญหา เจือกจะไปโทษสถาบันเบื้องสูง

เมิงไร้สติสิ้นดีเลย

มีแต่เมิงนั่นแหละ ไอ่บร้า  เมิงจะบร้าไปถึงไหน

ตรูว่าพูดกับคนบ้า เดี๋ยวจะบร้าไปด้วย 

ถ้าชนชั้นจะมีจริงก็เป็นพวก ชนชั้นปัญญาอ่อนแบบเมิงนั่นแหละ

เห็นชัดๆ 

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30-05-2008, 16:04 โดย cyber_novice » บันทึกการเข้า
totoro on a tree
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 112



« ตอบ #20 เมื่อ: 30-05-2008, 16:11 »

^
^
^
 


ตรูว่าแล้ว

ชนชั้นป้ญญาอ่อนอย่างเมิง

ทำอะไรไม่ได้นอกจาก ตัดแปะ

แถมตัดมาก็ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องที่ถามเลย


ไม่มีปัญญาจะเถียง 

อ้อ แล้วตรูจะคอยขอท้าด้วย


ถ้าเนปาลมันเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว

ทำให้มันเป็นประเทศมหาอำนาจขึ้นมาล่ะก็


ตรูจะให้ถีบฟรีเลย [/color]
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30-05-2008, 16:14 โดย cyber_novice » บันทึกการเข้า
The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #21 เมื่อ: 30-05-2008, 16:16 »

^
^
^
 


ตรูว่าแล้ว

ชนชั้นป้ญญาอ่อนอย่างเมิง

ทำอะไรไม่ได้นอกจาก ตัดแปะ

แถมตัดมาก็ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องที่ถามเลย


ไม่มีปัญญาจะเถียง 

อ้อ แล้วตรูจะคอยขอท้าด้วย


ถ้าเนปาลมันเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว

ทำให้มันเป็นประเทศมหาอำนาจขึ้นมาล่ะก็


ตรูจะให้ถีบฟรีเลย [/color]



 
บันทึกการเข้า
totoro on a tree
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 112



« ตอบ #22 เมื่อ: 30-05-2008, 16:19 »



 

^
^

แปะอีกก็ปัญญาอ่อนอีกนั่นแหละ

ตรูไปดีกว่า พูดกับคนแบบนี้

เดี๋ยวตรูบ้าไปด้วย 

บันทึกการเข้า
login not found
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,523



« ตอบ #23 เมื่อ: 30-05-2008, 16:20 »

ชาติหน้ามีจริงอยากเกิดมารวยโดยไม่ต้องทำอะไร อยากเกิดมามีคนยกยอ อยากเกิดมาแล้วทำอะไรก็ไม่ผิดกฏหมาย  อยากเกิดมามีที่ดินนับล้านๆไร่ อยากเกิดมาแล้วได้กดขี่คนอื่น  อยากเกิดมาแล้วคนอื่นคิดว่าเป็นเทวดา ฯลฯ.....จะมีมั้ยน๊าคนที่โชคดีขนาดน้าน!?!

สำหรับจ๊ะคงไม่ต้องพูดถึงชาติหน้าหรอก
ปากห-มา สมองควาย สันดายเxี้ย
แค่ชาตินี้ไม่ตายโหงก็บุญหนักหนาแล้ว

ส่วนเรื่องอื่นที่ไอ้ปากห-มา สมองควาย สันดายเxี้ยพล่ามมา
งี่เง่าแท้ๆไม่มีสาระอะไรให้ตอบ
บันทึกการเข้า
The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #24 เมื่อ: 30-05-2008, 16:35 »

สำหรับจ๊ะคงไม่ต้องพูดถึงชาติหน้าหรอก
ปากห-มา สมองควาย สันดายเxี้ย
แค่ชาตินี้ไม่ตายโหงก็บุญหนักหนาแล้ว

ส่วนเรื่องอื่นที่ไอ้ปากห-มา สมองควาย สันดายเxี้ยพล่ามมา
งี่เง่าแท้ๆไม่มีสาระอะไรให้ตอบ


 
บันทึกการเข้า
totoro on a tree
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 112



« ตอบ #25 เมื่อ: 30-05-2008, 16:37 »




ชนชั้นปัญญาอ่อนอย่างเมิงน่ะ


ก็ได้เท่านี่แหละ

เถียงไม่ออกก็แถไปอีกข้าง

 
บันทึกการเข้า
isa
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 151



« ตอบ #26 เมื่อ: 30-05-2008, 17:03 »

เอ้า!ไหนๆจารย์จ๊ะเข้ามาคุยดีๆกับผม ผมก็จะคุยดีๆด้วยก็แล้วกัน

น่าเกลียดจัง....ขอเปงร่มบางแสนได้ป่ะ >>
เดี่ยวจะหาร่มโค้กให้ก็แล้วกัน เสียบทีเดียวทะลุถึงลิ้นไก่

เพราะคนมันไม่มีจะกินไง...รัฐบาลทุกสมัยก็แบ่งเส้นชัดเจนไว้แล้วว่ารายได้เท่าไหร่ต่อปีถึงเรียกว่าจน>>
คำว่าไม่มีจะกินน่ะมันความหมายแตกต่างนะจารย์จ๊ะ โอเค ถ้าจารย์จ๊ะอยู่คอนโดในกรุงเทพฯ มีตังค์น้อยกว่าเดือนละ 6000 จารย์จ๊ะอาจจะไม่มีจะกิน แต่ถ้าจารย์จ๊ะอยู่บ้านนอก มีข้าวในนามีปลาในคู แต่บอกว่าไม่มีจะกินเพราะไม่มีตังค์เนี่ย ควายเรียกพี่แล้วล่ะจารย์ เรื่องนี้อย่าเถียง เพราะผมก็เป็นลูกหลานชาวนา กินปลาทอดแหยกยอมาเอง

ไม่ว่าท่านจะหลีกเลี่ยงไม่ใช้คำว่าชนชั้น แต่ข้อเท็จจริงก็คือ เรื่องชนชั้นมันเกิดขึ้นทั่วโลกและเกิดมาก่อนที่จะมีประเทศไทยด้วยซ้ำ และขณะนี้ทั่วโลกก็ยังมีการแบ่งเรื่องชนชั้นอยู่เช่นในประเทศตะวันตก จะได้ยินคำว่า white collar หรือ  blue collar เปงต้น>>
แล้วไอ้บลูคอลลาร์ ไวท์คอลลาร์ที่เค้าว่ามันต่างกันไงล่ะจารย์ อยู่ที่ทักษะการทำงานของบุคคล หรือว่าอยู่ที่ชนชั้น คนที่เก่งเรื่องใช้สมองก็เป็นไวท์ คอลลาร์ไปซี่ คนที่ไม่เก่งเรื่องใช้สมองก็ต้องยอมรับงานใช้แรงกาย แม้แต่ไวท์ คอลาร์เอง พวกจบมหาลัยคนละเอกกันก็เงินเดือนไม่เท่ากันแล้ว ขึ้นอยู่กับความต้องการของวงการธุรกิจในยุคนั้นต่างหาก อย่างพวกสถาปนิกจบจุฬา บางยุคก็รวยซะ แต่บางยุคก็ยังต้องขับแท็กซี่เล้ย ปัญหามันอยู่ที่การจัดระบบการศึกษาให้คนทุกส่วนในสังคมเข้าถึงได้ต่างหาก (แล้วหมาที่ไหนเอาโรงเรียนกับมหาลัยออกนอกระบบจนค่าการศึกษาแพงหูฉี่แบบนี้วะ กรูอยากจะรู้นัก?)

<ตอบไม่ได้ว่าใครดีกว่ากัน มันเป็นเรื่องของ lifestyle ต่างหาก แต่ทั่วโลกเค้าใช้เกณฑ์รายได้เป็นตัวชี้วัดว่าคุณอยู่ระดับไหนของสังคม เค้าไม่ได้เอาเรื่องเลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่มาหาค่าความรวยหรือจนของคุณ>
ถึงได้บอกไงว่าจารย์จ๊ะน่ะติดกรอบความคิดเก่าๆ ไอ้เรื่องตัวเลข GDP อะไรนั่นน่ะ Bullshit! เพราะมันไม่ได้เอารายจ่ายมาคำนวณด้วย ประโยชน์อะไรถ้ารายได้ต่อตัวแสนห้า แต่รายจ่ายห้าแสนต่อปี ประชากรประเทศที่เจริญแล้วเค้าวัดกันที่เงินออมต่างหาก เพราะงั้น Lifestyle ถึงเป็นเรื่องสำคัญไง เพราะมันเป็นตัวกำหนดรายจ่ายของคุณ ต่อให้คุณมีรายได้น้อย แต่คุณมีไลฟ์สไตล์ที่เหมาะสมกับอาชีพและสภาพแวดล้อมของคุณ มีการจัดการทรัพยากรรอบข้างที่ดี คุณก็มีเงินออมเหลือ แต่ถ้ามีที่ทางเยอะแยะปลูกผักปลูกหญ้าเลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ที่จะทอนรายจ่ายไปได้เดือนละหลายพัน แต่เสือกโทรสั่งแกงถุงนี่มันก็ นะ...(ไม่อยากพูด) และคนเมืองน่ะรายได้เค้าเป็นรายเดือน แต่เกษตรกรมีรายได้เป็นรายฤดูกาล ครึ่งปี หรือหนึ่งปี ถ้าทะลึ่งไปก่อหนี้ผ่อนรายเดือนแบบชาวเมือง ไม่จนตายห่าก็แปลกแล้ว!

<บางคนอาจเลือกที่จะมีเงินเดือนร่วมแสนเพราะมีโอกาสเก็บเงินสดได้มากกว่าเงินเดือนน้อยๆ มันแล้วแต่ว่าคุณคิดว่าแบบไหนคุ้มค่ากว่ากัน คุณภาพชีวิตของคนเงินเดือนแสนย่อมดีกว่าคนเงินเดือนน้อยในช่วงที่เงินเดือนแสนไม่ตกงานในช่วงอายุน้อยๆ แตหากตกงานตอนอายุ 50 กว่าๆก็คุ้มค่าเพราะได้เก็บเงินไว้ใช้ยามแก่แล้วก็ได้!?!>
ก็นี่ไงล่ะ ถึงได้บอกว่ามันขึ้นอยู่กับไลฟ์สไตล์ของบุคคล ไม่ได้ขึ้นว่าคุณเป็นคนชั้นไหน ถ้าคุณบริหารทรัพยากรของคุณไม่ดี ต่อให้รวยสุดๆคุณก็จนตายห่าได้

<ประเด็นก็คือ คนจนมันจนแบบติดดินมานานนับสิบๆปีแล้ว เพราะไม่เคยมีรัฐบาลไหนใส่ใจ ถือว่าเลือกตั้งครั้งหนึ่งก็ซื้อเสียงจากคนจนเข้าสภาได้ จวบจนยุคทักษิณนี่แหล่ะที่ทำให้พวกซื้อเสียง ไม่แน่ว่าจะได้เข้าสภาเหมือนก่อน ก็เพราะนโยบายประชานิยมนี่แหล่ะที่ทำให้คนจนเห็นว่ามันเป็นประโยชน์ต่อพวกเค้า ไม่สังเกตุหรือครับว่าหากนโยบายเชิงประชานิยมไม่ดีจริง ทำไมทุกพรรคการเมืองถึงได้มีนโยบายดังกล่าวทุกพรรค แม้บางพรรคจะพยายามเลี่ยงบอกไม่ใช่ก็ตาม แต่เนื้อหาของนโยบายมันบอกชัดเจนว่าไม่ต่างกัน>
คนจนติดดินที่ว่าน่ะ มันมีหลายแบบ จารย์จ๊ะเอ๊ย อย่างพวกแม้วบนเขาเนี่ย เราอาจจะคิดว่าเค้าจน ไร้การศึกษา แต่ถ้าเค้าสามารถ Support ชีวิตเค้าได้อย่างเพียงพอ เค้าก็ไม่ได้คิดว่าตัวเค้าจนหรอก ถ้าพวกที่จนน่าสงสารจริงๆก็คือพวกที่สภาพแวดล้อมอยู่อาศัยไม่อำนวย อันนี้ยอมรับว่าจนจริงๆ แต่ส่วนใหญ่ที่เจอก็คือพวกบริหารทรัพยากรตัวเองผิดพลาดทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นการกู้ยืมเงินมาทำเกษตรเชิงเดี่ยว การกู้ยืมเงินมาเพื่อจ่ายค่านายหน้าไปทำงานเมืองนอก การพนัน การกู้มาบริโภค จนในที่สุดก็สูญเสียที่ทำกิน นโยบายประชานิยมน่ะ เอาตังค์ไปโยนให้ใครเค้าก็ชอบทั้งนั้นแหละ เพราะได้ตังค์ฟรีๆนี่ แต่ถ้าคนที่มีสมองหน่อยก็น่าจะทำอะไรที่มันถาวรกว่านั้น มีโจทย์ตรงตัวมากกว่านั้น ไม่ใช่ไปสร้างพลเมืองให้เป็นพวกแบมือขออย่างเดียว

<หากเห็นว่าglobalizational capitalism มันเลว...ก็ปิดประเทศไปซิครับ คุณจะไปบอกว่าคนจนครับ พวกคุณบริโภคเกินฐานะของพวกคุณไปแล้วนะ...อย่างนั้นหรือ? พวกคุณจะไม่ให้ชาวนามีกระบะขับ ไม่ให้มีโทรศัพท์มือถือใช้ ไม่ให้มีบัตรเครดิต ไม่ให้ซื้อรถมอเตอร์ไซด์คันที่ 2 ฯลฯ ผมว่ามันค่อนข้างเป็นมุมมองที่คับแคบ ส่วนเรื่องราคาที่ดินในกทมฯมันแพง...ก็เป็นเรื่องที่เกิดมานานและเป็นไปโดยธรรมชาติของระบบทุนเสรีเหมือนกับสิงคโปร์ ฮ่องกง และประเทศเสรีอื่นๆ ถ้าเด็กรุ่นใหม่ไม่มีเงินซื้อบ้านจริง...รัฐบาลก็มีโครงการบ้านเอื้ออาทร นี่ครับ  หรือว่ามันเหมาะกับคนจนเท่านั้น...คนเมืองเลยไม่สน!?!>
ไอ้เศรษฐกิจแบบโลกาภิวัฒน์น่ะ มันดีเฉพาะกับภาคเมือง เพราะเราจำเป็นต้องดึงดูดเงินมาใช้ในระบบ และภาคเมืองเป็นส่วนที่ผลิตภาษีอากรเพื่อใช้ในการบริหารประเทศ แต่การเอาประเทศทั้งหมดไปแขวนกับทุนนิยมโลกาภิวัฒน์นั้นเป็นความโง่บัดซบ เพราะสังคมที่อาศัยเงินบริหารนั้น หวือหวา เปราะบาง เปลี่ยนแปลงไว ความตึงเครียดสูง ยิ่งในยุคที่เงินทุนไหลเข้าออกอย่างรวดเร็ว  มีการเก็งกำไรสูง ถ้าเงินทุนส่วนใหญ่เกิดย้ายฐานอย่างกระทันหัน คุณจะทำยังไงครับ แค่ภาคเมืองล้มยังไม่พอ ภาคชนบทล้มตาม จะได้เห็นประเทศเป็นกลียุคก็คราวนี้แหละ เขาถึงต้องสงวนภาคชนบทไว้ไม่ให้เงินมาเป็นปัจจัยกระทบมากเกินไป (อย่างจีนเป็นต้น) เพราะเป็นภาคที่มีประชากรเยอะที่สุด และเป็นเบาะอิงให้กับประเทศเวลาที่ภาคเมืองซวนเซเสียหลักไง ส่วนที่จารย์จ๊ะว่าเรื่องรถกระบะ ชาวนา มือถือ บัตรเครดิต ขอโทษนะครับ ของพวกนี้ แม้แต่คนเมืองเองที่มีความคิด เวลาที่ซื้อเค้าซื้อตามความจำเป็นครับ ไม่ได้ซื้อเพราะความอยากได้ อยากมี ซื้อมาแล้วก็ต้องใช้เป็นด้วย อย่างรถซื้อมาก็มีหนี้ผ่อน ค่าน้ำมัน ค่าประกัน ค่าซ่อมดูแล  บัตรเครดิตถ้าใช้ไม่เป็นก็ก่อหนี้ถึงขั้นล้มละลายได้ ส่วนที่คุณจะไล่เด็กรุ่นใหม่ให้ไปอยู่บ้านเอื้ออาทรน่ะ คุณเคยไปอยู่ทาวน์เฮาส์หรือแฟล็ตราคาถูกๆรึเปล่าหือ จารย์จ๊ะ คนที่ไลฟ์สไตล์คนละอย่างกันน่ะ อยู่ด้วยกันลำบากนะ ปวดหัวทั้งเรื่องหมาเห่า จอดรถขวางหน้าบ้าน เมาแล้วตีกัน ขโมยของ (ผมเคยไปอยู่มาหมดแล้วสมัยเรียนถึงได้รู้ไง)

<คุณคงไม่เคยสัมผัสชีวิตคนจนในชนบทที่ต้องตื่นแต่เช้าไปทำนาเข้าสวน คนจนเค้ามีเวลาหุงเข้าแค่ตอนเช้าเท่านั้นเพื่อกินตอนเช้า-เที่ยง พอเย็นเสร็จไร่นาราว6โมง-1ทุ่มก็เพลียแล้ว จะมาหุงหา/ทำกับข้าวให้เมื่อยทำไม ในเมื่อซื้อกับข้าวถุงละ 15 - 20 บาทก็กินกันได้ทั้งบ้าน>

ผมนี่แหละลูกหลานชาวนาแท้ๆ เกิดมาตอนเช้าก็แบกถุงตามพ่อไปทอดแห ญาติๆก็เป็นชาวสวน เวลาลงนา ผู้ชายเป็นคนไถนะครับ แล้วผู้หญิงอยู่บ้านเฉยๆทำไมไม่หุงข้าวต้มแกง แล้วเดี๋ยวนี้มีเตาแก๊ส อะไรๆก็ง่ายขึ้นเยอะ อย่างบ้านผม แกงหม้อเดียวก็กินไปได้สองสามวัน กินกันได้ทั้งบ้านสี่ห้าคน กับแกงถุง 20 บาท ต้องซื้อ 3-4 แกง ก็ปาเข้าไปหกสิบเจ็ดสิบ กินได้แค่มื้อเดียว อันไหนประหยัดกว่ากันก็น่าจะคิดเองได้นะ

<ผมว่าคุณไม่เข้าใจวิถีชีวิตของชาวบ้านในตจว.ดีพอ คุณดีแต่ชี้นิ้วสั่งให้คนจนต้องทำตัวอย่างนั้นอย่างนี้...ทำเหมือนกดปุ่มในโรงงานมันคงไม่ง่ายอย่างที่คิดครับ เอาแค่เรื่องปัจจัยสี่ให้ครบก่อน เช่น บ้านเอื้ออาทร 30บาทรักษาทุกโรค ราคาพืชไร่ดี การจัดการระบบชลประทาน ฯลฯ นี่คือสิ่งที่ช่วยให้คุณภาพชีวิตของคนในตจว.ดีขึ้น อย่าไปคิดเอาเองว่านั่นคือการทำให้ชาวบ้านขอตลอดชีวิต เพราะนโยบายเหล่านี้มันเป็นสิ่งพื้นฐานที่จำเป็นในการดำรงชีพของชาวบ้านจริงๆ>
ทำไมจะไม่เข้าใจล่ะ จารย์จ๊ะ ก็ญาติโกโหติกาส่วนใหญ่ของผมก็ยังเป็นชาวสวนอยู่ต่างจังหวัดกันทั้งนั้น อย่างบ้านเอื้ออาทรเนี่ย จำเป็นสำหรับชาวบ้านต่างจังหวัดเหรอ ผมเห็นส่งลูกหลานมาทำงานในกรุง เก็บตังค์ได้ ก็เอาไปสร้างบ้าน ต่อเติมบ้านกันทุกปี ไม่รู้จะสร้างกันไปทำไมนักหนา แทนที่จะเก็บเงินไว้ใช้อย่างอื่นที่มีประโยชน์มากกว่า ขนาดคนกรุงที่มีรายได้ประจำรายเดือนเค้ายังไม่ฟุ่มเฟือยกับบ้านถึงขนาดนั้นเลย สำหรับการจัดการชลประทานกับเรื่องการรักษาทุกโรคนั้นไม่เถียงว่าถ้าทำให้ดีแล้วก็ดีจริง แต่เรื่องราคาพืชผลน่ะ ตราบใดที่ไม่จัดการให้เป็นสหกรณ์ให้ดี หรือหาทางลดต้นทุน ยังต้องซื้อยา ซื้อปุ๋ย จ่ายโน่นจ่ายนี้ทั้งๆที่ยังไม่รู้ว่าจะขายพืชผลได้เท่าไหร่น่ะ ชีวิตนี้ก็ไม่มีทางหายจนหรอก สิบอกไห่


 
บันทึกการเข้า
isa
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 151



« ตอบ #27 เมื่อ: 30-05-2008, 17:42 »




แถมอีกนิดละกัน...

สมมุติว่าเด็กที่จบช่างยนตร์เป็นบลู คอลลาร์ใช่มะ  แล้วถ้ามันทำงานเก่ง ขยันศึกษางาน  ได้เลื่อนมาเป็นหัวหน้าแผนกช่าง หัวหน้าฝ่ายล่ะ มันจะเป็นไวท์หรือบลูคอลาร์
แล้วไอ้พวกเด็กช่างที่ทำงานไปสักพักแล้วลาออกไปเปิดอู่ตัวเองล่ะ เราจะเรียกมันว่าคอลาร์อะไรดี ราวน์คอลาร์มั้ย...ใส่เสื้อยืดคอกลมตราห่าน นุ่งกางเกงขาสั้น นั่งนับเงิน
แล้วตกลงว่าไวท์ คอลาร์ บลูคอลาร์ มันเป็นชนชั้นที่ต่างกันขนาดนั้นเชียวหรือ ถ้าไอ้ไวท์ คอลาร์ที่ว่านั่นมันเก่งขนาดสร้างรายได้ให้บริษัทปีละร้อยล้าน
ก็ให้มันได้เงินเดือนหลายแสน ได้รถส่วนตัวหรูๆไปเหอะ บลูคอลาร์จะไปว่าอะไรล่ะ

แล้วโทษทีนะ ไม่ใช่ดูถูกเกษตรกรที่บอกว่าจนน่ะ ส่วนใหญ่บริหารเวลา บริหารทรัพยากรได้เก่ง***ๆเลย
(ผมไม่แปลกใจหรอกที่ปู่เย็นแกจะฉุน)น้องๆในที่ทำงานผม เงินเดือนแค่หมื่นกว่าๆ พวกนี้รับจ๊อบกันทั้งนั้น
บางคนควงงานสองออฟฟิศ รับเขียนเว็บ รับดีไซน์อีกต่างหาก ตื่นเช้าออกบ้านตั้งแต่ตีห้า นอนกันเกือบเที่ยงคืน
เสาร์อาทิตย์นั่งทำจ๊อบอยู่บ้านอีกต่างหาก ไอ้พวกนั่งขับรถไถตอนเช้า ตอนบ่ายงีบ ตอนเย็นเมา แถมช่วง
ก่อนหน้าเกี่ยวไม่มีอะไรทำ ตั้งวงโจ้กันทั้งวันแล้วยังเจือกมาด่าคนเมืองน่ะ หัดอายกันซะมั่งก็ดีนะ


 

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30-05-2008, 17:51 โดย isa » บันทึกการเข้า
ฮูลิแกน
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 234



« ตอบ #28 เมื่อ: 31-05-2008, 22:04 »

เห็นด้วยกับกระทู้นี้...
เพราะผมเคยบอกไปแล้วว่า ไม่เห็นด้วยกับการอ้างชนชั้นโดยชาติกำเนิด
เพราะฉะนั้นจึงเกลียดพวกหางแดง ที่ชอบเอาความเป็น ชนชั้นชาวนาเกษตรกร หรือกรรมกร มาอ้าง เพื่อสร้างความชอบธรรมให้ตัวเอง
ว่าเป็นชนชั้นที่เสียสละเป็นที่สุด
พวกนี้ไม่ต่างกับพวกที่เอาความเป็น มรว.หรือ มล.มาโชว์ความเป็นไฮโซของตัวเองหรอก

ถามว่าทำไมคนเหล่านี้จึงยังมีความเหลื่อมล้ำของรายได้ เขามีสิทธิ์ไม่เท่าคนชั้นกลางเหรอ? เปล่าเลยว่ะ!
ใครจะแก้ปัญหานี้ ถ้าคนจนส่วนใหญ่กล้าเลือกนักการเมืองที่จะมาแก้ระบบสังคมจริงๆ
บันทึกการเข้า

ชาตินิยมแบบคับแคบผมไม่ชอบ แต่พวกเพ้อเจ้อบ้าทฤษฎี ผมก็ไม่ชอบเหมือนกัน
บทความของ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล จาก ค.คน ฉบับเมษายน 2550
หน้า: [1]
    กระโดดไป: