ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
07-02-2025, 19:25
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  เอกสารคำแปลสำนวนพรรค ปชป. / การแถลงข่าวของ ปชป. ( เมื่อ 14.00 น. ) 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
เอกสารคำแปลสำนวนพรรค ปชป. / การแถลงข่าวของ ปชป. ( เมื่อ 14.00 น. )  (อ่าน 3249 ครั้ง)
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« เมื่อ: 27-05-2008, 15:04 »

วันอังคาร ที่ 27 พฤษภาคม 2551
เอกสารคำแปลสำนวนพรรค ปชป. ( กรณีคำพูดของจักรภพ )
Posted by Canไทเมือง , ผู้อ่าน : 47 , 13:15:18 น.   


เอกสารคำแปลของพรรคประชาธิปัตย์นำเสนอต่อประธานวุฒิสภา

http://www.opm.go.th/opminter/translation/04.pdf

คุณอภิสิทธิ์กำลังแถลงข่าวเรื่องนี้ตอบโต้นายจักรภพ เพ็ญแข ทางไทยพีบีเอส

ตอนนี้เลยครับ 14.17 น.

ประเด็นที่คุณอภิสิทธิ์นำเสนอคือ

"ทัศนคติอันตรายของคุณจักรภพ เพ็ญแข"

1. ที่ถามว่า หากปชป. เห็นว่าคดีนี้มีความผิด ควรไปแจ้งความดำเนินคดี

คุณอภิสิทธ์ กล่าวว่า เรื่องคดีหมิ่นเจ้าหน้าที่ก็ทำไป
ส่วนความรับผิดทางการเมืองก็ต้องทำไป คนละส่วนกัน

ปชป. กำลังทำในส่วนของการเมือง ไม่ใช่เรื่อง"คดีความ"

การเมืองต้องแก้ด้วยการเมือง

2. คุณจักรภพเบี่ยงเบนคดี เบี่ยงเบนความจริง

2.1 คุณจักรภพใช้เวลาแปลเอกสารนานเป็นสัปดาห์ หาก ปชป. แปลผิดบิดเบือน ปชป.โดนเล่นงานหนัก

เมื่อวานนี้บอกว่าแปลบิดเบือนแต่ไม่สามารถบอกได้ว่า ประโยคไหนที่ ปชป. แปลบิดเบือน

2.2 น่าสังเกตว่าในการกล่าวหาที่บอกว่าแปลบิดเบือนโดยผู้ไปแจ้งความ แต่ในประโยคเดียวกันบอกว่า ปชป. แปลตรงแล้ว

แต่กลับบอกว่าจะไปฟ้อง ปชป. โดยไม่ไปฟ้องคนที่ร้องโทษกล่าวหาทางคดี

ตัวอย่างของประโยคเล็ก ๆ...ที่มีคนถามว่า "some royalty"

เปิดทีวีให้ดูในการแถลงด้วย......

คุณอภิสิทธิ์กล่าวว่า....ถามใครก็ได้ที่พอรู้ภาษาอังกฤษอยู่บ้างก็คงรู้ว่าคุณจักรภพต้องการสื่อว่าอะไร จงรักภักดีไม่เต็มร้อยใช่หรือไม่

อภิสิทธิ์ ตีตายแล้วครับ....โดนเด็กนอกของแท้...ตีตายแล้วโดยไม่จำเป็นต้องขึ้นเวทีดีเบทใด ๆ

3. กรณีสั่งการตามหนังสือแนะนำของที่ปรึกษา....

4. ปัญหาของคุณจักรภพเรื่องเบี่ยงเบน..? คือเรื่องไม่ศรัทธาในระบบอุปถัมป์ โจมตีว่าระบบอุปถัมป์ทำให้ไม่ก้าวหน้า

แต่ไม่แน่ใจว่าคุณจักรภพ ต้องการสื่อในเรื่องใด

เพราะคุณจักรภพ ก็มีความสุขในระบบอุปถัมป์แบบหนึ่ง นั่นคือ

"ระบบไพร่อุปถัมป์"หรือ "ระบบอุปถัมป์สามานย์"

ระบบที่กล้าพูดได้ว่า "ถ้าไม่เลือกผมอย่าเอางบประมาณไป"

ระบบอุปถัมป์แบบนี้กระมังที่คุณจักรภพศรัทธา

การแถลงข่าวของคุณจักรภพบอกว่าต่อต้านขุนนาง

แต่เอกสารของจักรภพแปล ไม่ได้พูดถึง "ขุนนาง" แม้แต่คำเดียว

คุณจักรภพกล่าวถึงการลงประชามติ...บอกว่ามีฝ่ายประชาธิปไตยและฝ่ายใส่เสื้อเหลือง

คุณอภิสิทธิ์ถามกลับไปว่า "คนใส่เสื้อเหลือง" หมายถึงใคร "พวกไหน"

การถ่ายทอดถูกตัดลงแค่นี้ คอยติดตามข่าวตามสื่ออื่นนะครับ

แคน ไทเมือง

14.37 น.

กลับมาแล้วครับการถ่ายทอด

คุณอภิสิทธิ์กล่าวถึงเรื่องการใช้กรณี "หมิ่นเบื้องสูงฯ" ในทางการเมือง ว่าเรื่องแบบนี้เคยเกิดขึ้นสมัยนายวีระ มุกพงศ์ ในฐานะเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับการแต่งตั้งให้เป็น รมช.มหาดไทย

คนที่นำเรื่องนี้เข้าโจมตีในสภา คือ นายสมัคร สุนทรเวช และอภิปรายในสภาเป็นคนแรก
สภาเห็นว่าเป็นเรื่องละเอียดอ่อนจึงขอประชุมลับ

และหลังจากนั้น7 วัน นายวีระ มุสิกพงศ์ เลขาธิการพรรค ปชป. ก็ต้องลาออกจากการเป็น "รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย"

สรุปว่า "ทัศนคติอันตราย" ของนายจักรภพ อันตรายจริง ๆ

ต่อจากนั้นไทยพีบีเอส ตัดสัญญาณอีกแล้วครับ

โดยคุณศิริโชค โสภา ผู้แปลเอกสารในนามของพรรค ปชป. กำลังชี้แจงต่อ

โธ่...เรื่องสำคัญแบบนี้ สถานีประชาชน "ไทยพีบีเอส" ทำเราได้

แคน ไทเมือง
14.45
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27-05-2008, 15:34 โดย CanCan » บันทึกการเข้า

ริวเซย์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4,637


Worrior in The Blue Armor


เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 27-05-2008, 15:24 »

ทำผิดจริงก็ยอมรับไปเถอะจักรภพ ขอโทษประชาชน ขอโทษเบื้อบนให้มันจบๆ

ลาออกไปซะ ยังจะดูดีกว่าให้โดนไล่ให้จนมุมแบบนี้
บันทึกการเข้า

ถ้ามีแฟนแบบนี้เอาไหมครับ^^


Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 27-05-2008, 15:44 »

'อภิสิทธิ์' โต้'จักรภพ'บิดเบือน แขวะการใช้ภาษาปัดดีเบตชี้แค่พูดก็ผิดแล้วไม่เชื่อจบรัฐศาสตร์
มติชน     วันที่ 27 พฤษภาคม 2551 - เวลา 15:18:09 น. 
 
 เมื่อเวลา 14.00 น. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แถลงข่าวตอบโต้กรณีที่ นายจักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ออกมาแถลงข่าวชี้แจงเรื่องการบรรยายที่สถาบันนักข่าวต่างประเทศ ซึ่งถูกโจมตีว่าเป็นการหมิ่นประมาทสถาบันว่า คำบรรยายภาษาอังกฤษของนายจักรภพดังกล่าว เมื่อให้คนที่คุ้นเคยได้อ่าน เมื่ออ่านแล้ว ทุกคนมีความรู้สึกไม่ต่างจากตน ซึ่งตนเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน จึงได้หารือเรื่องนี้เป็นการภายในกับนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เนื่องจากตนเห็นว่าเป็นปัญหาที่คุมคามสถาบันหลักของชาติ และเป็นปัญหาที่คนตั้งข้อสงสัยว่า ภายหลังที่นายจักรภพดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้มีการเผยข่าวสารที่น่าจะส่งผลลบต่อสถาบันของชาติ มีปัญหาเรื่องเว็บไซต์ ที่ตั้งขึ้นมาประหนึ่งเพื่อให้มีการล้มล้างสถาบัน ตนเห็นว่าเป็นเรื่องใหญ่ จึงเสนอข้อมูลให้นายสมัครพิจารณาเป็นการภายใน และไม่ได้เผยแพร่เรื่องนี้ไปสู่ภายนอก เพื่อที่นายสมัครจะได้ตัดสินใจเรื่องชนวนความแย้ง เนื่องจากตอนนั้นเริ่มมีการแพร่คำบรรยายดังกล่าวเป็นวงกว้าง โดยจะเห็นว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่ต้องการให้เรื่องนี้เข้าสู่เวทีทางการเมือง ซึ่งเมื่อพรรคได้ยื่นถอดถอนนายจักรภพ ก็ไม่ได้นำเรื่องนี้ไปเกี่ยวข้องด้วย

นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ขอยืนยันว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้ทำหน้าที่ในฐานะฝ่ายค้าน การที่นายจักรภพอ้างว่า พรรคประชาธิปัตย์ทำเรื่องนี้ เพื่อทำลายล้างทางการเมืองนั้น ตนและพรรคประชาธิปัตย์เห็นว่าไม่มีสาเหตุใดที่ต้องทำลายล้างนายจักรภพ เนื่องจากนายจักรภพไม่ได้มีความสำคัญทางการเมืองขนาดนั้น และการที่นายจักรภพออกมาระบุว่า หากนายจักรภพลาออก พรรคประชาธิปัตย์ก็จะมุ่งทำลายคนอื่นๆ ในรัฐบาลต่อไปนั้น ไม่เป็นความจริง ขอยืนยันว่าพรรคประชาธิปัตนย์จะตรวจสอบเรื่องนี้ตามข้อเท็จจริงและหน้าที่

'หากนายจักรภพลาออกหรือถูกปรับออกจากคณะรัฐมนตรี ผมยังยึกไม่ออกมารัฐมนตรีคนไหนจะมีปัญหาแบบนี้อีก เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องของส่วนบุคคล ขึ้นอยู่กับแต่ละคน' นายอภิสิทธิ์ กล่าว

นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า เรื่องนี้เป็นการทำหน้าที่การตรวจสอบอย่างระมัดระวังไม่ให้เป็นเกมการเมือง ส่วนการที่ทำเช่นนี้ ถือเป็นการไม่เคารพกระบวนการยุติธรรมหรือไม่นั้น คนไม่เชื่อว่านายจักรภพเรียนรัฐศาสตร์มา เพราะความรับผิดชอบทางกฎหมายและทางการเมืองมีความแตกต่างกัน ด้านกฎหมาย เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องดำเนินการเรื่องนี้ด้วยความระมัดระวัง รอบคอบ ละเอียดอ่อน โดยการตัดสินใจบางครั้งเป็นไปเพื่อให้เรื่องคลี่คลายไปอย่างเงียบๆ แต่การเมืองต้องแก้ปัญหาด้วยการเมือง ต้องปลดชนวนความขัดเแย้ง และต้องไม่เปิดช่องให้มีความเหิมเกริมในกลุ่มที่ต้องการทำลายสถาบันของชาติ

'การแถลงของนายจักรภพ เป็นการแถลงที่ต้องการเบี่ยงเบนประเด็นสำคัญว่าตัวเองได้พูดอะไรไว้ แต่ทำให้เรื่องนี้กลายเป็นขัดแย้งการเมืองระหว่างผมกับนายจักรภพ ทั้งที่เรื่องนี้ใหญ่หลวงกว่านั้น ผมจะไม่ยอมให้สังคมไขว้เขวไปอย่างนั้น ซึ่งผมขอตั้งข้อสังเกต 3 -4 ข้อ ว่า ความเบี่ยงเบนเรื่องนี้ของนายจักรภพ เป็นอย่างไร' นายอภิสิทธิ์ กล่าว

นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า 1.นายจักรภพใช้เวลานานเพื่อเตรียมแถลงข่าว ประชาชนใช้สามัญสำนึกก็รู้ว่า หากพรรคประชาธิปัตย์แปลผิดหรือบิดเบือน ป่านนี้นายจักรภพต้องออกมาชี้ถึงจุดนั้นแล้ว แต่คำแถลงของนายจักรภพกลับพูดว่า พรรคประชาธิปัตย์แปลบิดเบือน แต่ไม่สามารถยกตัวอย่างได้เลย และเมื่อถูกผู้สื่อข่าวถามคำถามนี้ นายจักรภพก็ตอบไม่ได้ เพราะปัญหาก็คือพรรคประชาธิปัตย์ได้แปลไปตามความเป็นจริง 2. สังเกตว่า นายจักรภพกล่าวหาว่ามีการแปลอย่างบิดเบือน โดยเป็นการแปลจากคนที่ไปแจ้งความท่าน และนายจักรภพกล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์แปลตรงกับที่นายจักรภพแปล แต่นายจักรภพกลับประกาศฟ้องพรรคประชาธิปัตย์ ในขณะที่ไม่ฟ้องคนที่ถูกกล่าวหาว่าแปลบิดเบือน ซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นได้ชัดเจนว่า นายจักรภพต้องการเบี่ยงประเด็น

3.มีอธิบายการแปลแบบผิดๆ ถูกๆ ซึ่งประเด็นนี้นายศิริโชค โสภา กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ มีลายอะเอียดและจะแจกให้กับสื่อมวลชน ทั้งนี้ นายจักรภพไม่ได้ทำให้ผิดหวังเรื่องภาษาและวิชาการเลย เช่น คำว่า 'some royalty' ซึ่งนายจักรภพระบุว่า การแปลว่า 'บางส่วน' เป็นการแปลผิด แต่การแปลที่ถูกคือ 'สุดยอดใช่เลย' ซึ่งในความจริง ตนเห็นว่าก็มีการใช้ในความหมายของนายจักรภพอยู่บ้าง แต่ไม่ใช่ในกรณีนี้ โดยคนทั่วไปก็รู้ว่าในกรณีแปลว่า 'บางส่วน' หากตนให้คนที่เข้าใจภาษาอังกฤษ 10 คนอ่านคำนี้ และหากคน 10 คนนั้นไม่เข้าใจเหมือนนายจักรภพจะเป็นอย่างไร ดังนั้น ตนไม่จำเป้นต้องดีเบตกับนายจักรภพด้วย เพราะแค่นายจักรภพพูดเมื่อวานก็ผิดหมดแล้ว

'นายจักรภพเบี่ยงเบนเรื่องนี้ แล้วกล่าวหาว่าพรรคประชาธิปัตย์ดึงสถาบันลงมาสู่การเมือง ขอยืนยันว่า พวกเราไม่ต้องการทำเช่นนั้นเลย แต่เราสงสัยุถึงกรณีเอกสารของที่ปรึกษานายจักรภพที่ถูกเปิดเผยไปก่อนหน้านี้ โดยเมื่อนายจักรภพถูกพาดพิง ที่ปรึกษานายจักรภพได้เสนอให้ทำการเผยแพร่สารคดีเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งนายจักรภพได้ลงนานเห็นชอบ ผมไม่คิดว่าคนที่เป็นรัฐมนตรี เมื่อเห็นเอกสารนี้แล้วกลับไม่คิดอะไร ผมคิดว่าหากเรื่องนี้เป็นนโยบาย ก็มอบไปได้ แต่หากจะทำเรื่องนี้เพื่อสยบข่าว ถือว่าพฤติกรรมนี้เหมาะสมหรือไม่' นายอภิสิทธิ์ กล่าว

นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า 4. ปัญหา คือ จริงๆ แล้วคำบรรยายของจักรภพเป็นอย่างไร ทั้งนี้ การแปลของนายจักรภพนั้นเบี่ยงเบนชัดเจน ซึ่งตนได้เห็นทัศนะของนักวิชาการในเรื่องนี้ ได้แก่ นายอนันต์ เหล่าเลิศวรกุล อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่วิเคราะห์ว่า คำบรรยายของนายจักรภพเป็นอย่างไร ซึ่งก็ไม่ต่างจากที่ตนได้อ่านแต่อย่างใด

นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า นายจักรภพไปบรรยายหัวข้อ 'ระบอบประชาธิปไตยและระบบอุปถัมภ์' ซึ่งนายจักรภพต้องการบอกว่า ระบอบประชาธิปไตยไม่ก้าวหน้า เพราะมีระบบอุปถัมภ์ ปัญหาจึงอยู่ที่ว่าระบบอุปถัมภ์คืออะไร และสื่อว่าอย่างไร ทั้งนี้ ตนเห็นว่า นายจักรภพก็มีความสุขกับระบบอุปถัมภ์ดี 

'การปลุกเร้าของนายจักรภพมีอยู่ประมาณ 3 - 4 ตัวอย่าง เช่น นายจักรภพยกกรณีของการลงประชามติรับหรือไม่รับรัฐธรรมนูญ ที่บอกว่าฝ่ายที่สนับสนุนรัฐธรรมนูญ คือ กลุ่มที่นายจักรภพชี้ว่าเป็นกลุ่มคนใส่เสื้อเหลือง ซึ่งเสื้อเหลืองคือสัญลักษณ์ของขุนนาง และเป็นสีของศักดินา ดังนั้น เวลาที่นายจักรภพจงใจพูดถึงขุนนาง ก็ไม่น่าหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมา' นายอภิสิทธิ์ กล่าว

 
   
บันทึกการเข้า

The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #3 เมื่อ: 27-05-2008, 15:51 »

Thank you น๊ะมาร์คน๊ะ...นายนี่มันสุดยอดsales man แห่งยุคเลยหว่ะ...ตอนนี้ใครๆก็อยากรู้เรื่องนี้มากขึ้นและลึกขึ้นกว่าเดิมแยะเลย
บันทึกการเข้า
ชาวบ้าน
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 101


« ตอบ #4 เมื่อ: 27-05-2008, 15:58 »

ใช้คำเดียวว่า ทั้งแอบและตะแบก จริงๆๆนะคุณนายเพ็ญ
บันทึกการเข้า

----เราต่างมาจากทั่วทุกสารทิศ มีชีวิตกันรวมอยู่ในป่าเขา จากบ้านเกิดเมืองนอน ถึงไพรลำนำ ด้วยพวกเรามีอุดมการณ์อันเดียวกัน----
soco
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,842



« ตอบ #5 เมื่อ: 27-05-2008, 16:11 »

เสียง หน.ปชป.แถลงข่าวยืนยันคำบรรยาย'จักรภพ'

http://www.democrat.or.th/abhisit/270551.mp3 
บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 27-05-2008, 16:17 »

ผมเข้าไปฟังช่วงแรกไม่ทัน มาทันตอนเปิดประเด็นการเบี่ยงเบน บิดเบือน

ตอนท้ายๆ ไทยพีบีเอสก็ตัดสัญญาณ ยังสงสัยอยู่เลยว่า

ตัดทำไม กลับไปกลับมา ชักไม่ค่อยพอใจ สถานีโทรทัศน์สาธารณะเสียแล้วสิ

ผู้คนเค้ามีประเด็นของบ้านเมือง กลับสนใจเพียงน้อยนิด...

จะรอดมั๊ยเนี่ย...ไทยพีบีเอส

บันทึกการเข้า

boy friend
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 25


« ตอบ #7 เมื่อ: 27-05-2008, 16:19 »

Thank you น๊ะมาร์คน๊ะ...นายนี่มันสุดยอดsales man แห่งยุคเลยหว่ะ...ตอนนี้ใครๆก็อยากรู้เรื่องนี้มากขึ้นและลึกขึ้นกว่าเดิมแยะเลย

เอ้า..ไหว้พ่อมาร์คเค้าสิลูก ถึงลูกจะหงอกกว่าแต่ก็ไหว้พ่อเค้าได้นะเพราะเขาลูกยาวแล้ว...
บันทึกการเข้า
p
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,264


« ตอบ #8 เมื่อ: 27-05-2008, 16:23 »


การอ่านเอาความ (reading comprehension) และการฟังเอาความ (listening comprehension) ต้องพิจารณาองค์ประกอบต่อไปนี้ด้วย
1. ความหมายตามตัวอักษร (literal meaning)
2. ความหมายตามบริบท (contextual meaning)
3. เจตนา (intention)
ในกรณีของจักรภพเอกสารที่พวกเราได้รับและได้เห็นเป็นการแปลความหมายตามตัวอักษร (literal meaning) เท่านั้น
จะแตกต่างกันบ้างก็อยู่ที่ชั้นเชิงการแปลของแต่ละคน เช่น some royalty และ damn patronage เป็นต้น
แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดของผลงานแต่ละชิ้นมันไม่ได้อยู่ที่ความหมายตามตัวอักษร (literal meaning) 
แต่มันอยู่ที่เจตนา (intention) ของเจ้าของผลงานชิ้นนั้นๆว่าเขาตั้งใจจะสื่ออะไรกับคนที่กลุมเป้าหมายของเขา

ถ้าจะเปรียบเทียบกับภูเขาน้ำแข็งแล้วความหมายตามตัวอักษร (literal meaning) ก็คือส่วนที่โผล่เหนือน้ำเท่านั้นซึ่งมีเพียง 1 ใน 10 เท่านั้น
แล้วส่วนที่เหลืออีก 9 ส่วนจมอยู่ใต้น้ำ ซึ่งใครก็มองไม่เห็น เหมือนเจตนา (intention) ของผู้พูดหรือผู้เขียนไงครับ


 
บันทึกการเข้า

ถ้ามัวคิดแต่จะโกงและเอาเปรียบคนอื่น จะสอนลูกหลานให้เป็นคนดีได้อย่างไร
The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #9 เมื่อ: 27-05-2008, 16:34 »

การอ่านเอาความ (reading comprehension) และการฟังเอาความ (listening comprehension) ต้องพิจารณาองค์ประกอบต่อไปนี้ด้วย
1. ความหมายตามตัวอักษร (literal meaning)
2. ความหมายตามบริบท (contextual meaning)
3. เจตนา (intention)
ในกรณีของจักรภพเอกสารที่พวกเราได้รับและได้เห็นเป็นการแปลความหมายตามตัวอักษร (literal meaning) เท่านั้น
จะแตกต่างกันบ้างก็อยู่ที่ชั้นเชิงการแปลของแต่ละคน เช่น some royalty และ damn patronage เป็นต้น
แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดของผลงานแต่ละชิ้นมันไม่ได้อยู่ที่ความหมายตามตัวอักษร (literal meaning) 
แต่มันอยู่ที่เจตนา (intention) ของเจ้าของผลงานชิ้นนั้นๆว่าเขาตั้งใจจะสื่ออะไรกับคนที่กลุมเป้าหมายของเขา

ถ้าจะเปรียบเทียบกับภูเขาน้ำแข็งแล้วความหมายตามตัวอักษร (literal meaning) ก็คือส่วนที่โผล่เหนือน้ำเท่านั้นซึ่งมีเพียง 1 ใน 10 เท่านั้น
แล้วส่วนที่เหลืออีก 9 ส่วนจมอยู่ใต้น้ำ ซึ่งใครก็มองไม่เห็น เหมือนเจตนา (intention) ของผู้พูดหรือผู้เขียนไงครับ


 


และ 9 ใน 10 ส่วนที่ว่าก็คือ ต้องการให้จักรภพผิดให้ได้....ว่างั้นเถอะ!
บันทึกการเข้า
boy friend
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 25


« ตอบ #10 เมื่อ: 27-05-2008, 16:45 »


และ 9 ใน 10 ส่วนที่ว่าก็คือ ต้องการให้จักรภพผิดให้ได้....ว่างั้นเถอะ!

9 ใน 10 ส่วนของคนไทยทั้งประเทศคิดว่าจักรภพผิดชัวร์ๆ เพราะใครก็รู้เจตนามัน อีก 1 ส่วนยังไม่แน่ใจ ครบ 10 ส่วนแล้วแต่ยังมีส่วนเกินที่เหลือซึ่งไม่นับเพราะเป็นควายทั้งฝูง...
บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: 27-05-2008, 17:12 »

เห็นบนเวทีพันธมิตร ( คุณเติมศักดิ์ ) นำข้อเขียนของ อ.อนันต์ เหล่าเลิศวรกุล มาอ่าน

ใครมี URL เรื่องนี้บ้างครับ เห็นว่าบอกวิเคราะห์ ไม่ใช่แปล
บันทึกการเข้า

boyk
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,477



« ตอบ #12 เมื่อ: 27-05-2008, 17:23 »

ตามนี้เลยคับ

Jakrapob’s Code : ถอดรหัสลับทรรศนะอันเป็นอันตรายของ จักรภพ เพ็ญแข
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9510000061329

น่าตระหนกจริงๆ 
บันทึกการเข้า

ไล่งับคนโกง ตอกฝาโลงไม่ให้เกิด
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #13 เมื่อ: 27-05-2008, 17:37 »

เจอแล้วครับ อิ อิ เชยจังเราคนอ่าน 5-60,000 คนแล้ว

เพราะไม่ค่อยได้เข้าไปเช็คข่าว นึกว่า ผู้จัดการสาขา 2 จะจัดการให้

นี่เลยครับ เดี๋ยวจัดตกแต่งสีตัวอักษรให้ใหม่

***************************
Jakrapob’s Code : ถอดรหัสลับทรรศนะอันเป็นอันตรายของ จักรภพ เพ็ญแข
 
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 27 พฤษภาคม 2551 08:46 น.

โดย อนันต์ เหล่าเลิศวรกุล
       คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       
       นานนับสัปดาห์ที่ คุณจักรภพ เพ็ญแข ตกเป็นข่าวให้ผู้คนกล่าวถึง ภายหลังจากที่บทแปลปาฐกถาที่คุณจักรภพเคยแสดงไว้ที่สโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศประจำประเทศไทย (FCCT) เมื่อเดือนกันยายน 2550 เผยแพร่สู่สาธารณะ ก็ก่อให้เกิดประเด็นให้ผู้คนกล่าวถึงอย่างกว้างขวางว่า ถ้อยคำและเนื้อหาที่คุณจักรภพแสดงปาฐกถาไว้นั้นเข้าข่าย “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” นอกจากนี้ พรรคประชาธิปัตย์ยังแสดงความเห็นด้วยว่า ทรรศนะของคุณจักรภพ เพ็ญแขที่แสดงไว้ที่ FCCT เป็น “ทรรศนะอันเป็นอันตราย” ผู้เขียนสนใจใคร่รู้ว่าทรรศนะของคุณจักรภพที่กล่าวกันว่าเป็นอันตรายนั้นมีลักษณะอย่างไร จึงได้ลองวิเคราะห์ปาฐกถาของคุณจักรภพอย่างเป็นวิชาการตามแนวทางอักษรศาสตร์ดู
       
       ข้อตกลงเบื้องต้น
       
       เนื่องจากปาฐกถาที่ FCCT บรรยายเป็นภาษาอังกฤษ ตามที่จะยกมานี้ เมื่อต้องยกตัวอย่าง ผู้เขียนจะยกโดยใช้คำแปลภาษาไทยซึ่งผู้เขียนแปลเอง คำแปลที่ใช้ เลือกใช้วิธีแปลแบบเอาความซึ่งมุ่งความเข้าใจในบทพากย์ภาษาไทยมากกว่าจะสนใจเก็บรักษาทุกถ้อยคำตามภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาต้นฉบับ การวิเคราะห์ตั้งอยู่บนสมมติฐานว่า คุณจักรภพเป็นผู้รู้ภาษาอังกฤษระดับดีมากจนสามารถสื่อความคิดที่ซับซ้อน เรียบเรียงออกมาให้เข้าใจง่ายด้วยภาษาง่ายๆ และสามารถโต้ตอบกับผู้ฟังได้คล่องแคล่ว ผู้เขียนไม่สนใจประเมินภาษาอังกฤษของคุณจักรภพว่า เป็นภาษาที่สวยงามหรือไม่ ถูกไวยากรณ์มากน้อยเพียงใด คำที่ใช้ใช้ตามแบบเจ้าของภาษาอย่างรู้จริงหรือไม่ เนื่องจากผู้เขียนต้องการวิเคราะห์ทรรศนะหรือความคิดของคุณจักรภพมากกว่าจะวิเคราะห์ตัวภาษาในฐานะที่เป็น form หรือพาหะของความคิด
       
       โครงสร้างเนื้อหาปาฐกถาที่ FCCT
       
       หัวข้อปาฐกถาของคุณจักรภพที่ FCCT คือ Democracy and Patronage System of Thailand—ประชาธิปไตยกับระบบอุปถัมภ์ของไทย คุณจักรภพแสดงโดยเหลือบดูบทร่างเป็นระยะๆ ปาฐกถานี้มีเนื้อหาเป็นเอกภาพอย่างยิ่ง เนื้อหาแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ
       
       ส่วนที่ 1 ว่าด้วยประวัติและพัฒนาการระบบอุปถัมภ์ของไทยในสมัยสุโขทัยมาจนถึงปัจจุบันอย่างย่อๆ ส่วนนี้คุณจักรภพพยายามวิเคราะห์ให้เห็นรากเหง้าของระบบอุปถัมภ์ของไทยและผลกระทบที่มีต่อวิกฤติการเมืองของไทยในปัจจุบัน
       
       ส่วนที่ 2 เป็นบทสรรเสริญความกล้าหาญ พ.ต.ต. ทักษิณ ชินวัตร ที่กล้าเผชิญหน้ากับระบบอุปถัมภ์อย่างซึ่งๆ หน้า และผลงานบริหารราชการแผ่นดินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้มีส่วนอย่างสำคัญในการทำลายระบบอุปถัมภ์ของไทย
       
       และส่วนที่ 3 เป็นคำประกาศเจตนารมณ์อย่างชัดแจ้งและแรงกล้าของคุณจักรภพว่า คุณจักรภพและพวกจะทำลายระบบอุปถัมภ์ของไทยให้ภินท์พังลงแบบชนิดขุดรากถอนโคน และตั้งใจจะทำให้เกิดขึ้นในช้าไม่นานหลังจากนี้
       
       Patronage System : คำที่มีสถิติใช้สูงสุด
       
       คำที่เป็น key word ในปาฐกถาที่ FCCT ของคุณจักรภพคือ patronage system ผู้เขียนมีข้อสังเกตเกี่ยวกับ key word ของคุณจักรภพดังนี้
       
       1) คุณจักรภพใช้คำว่า patronage หรือ patronage system รวมจำนวน 24 แห่ง (ไม่นับที่เป็นชื่อหัวข้อปาฐกถาและที่ปรากฏในส่วนคำถามคำตอบท้ายปาฐกถา) และใช้คำว่า patronize จำนวน 7 แห่ง
       
       2) โดยทั่วไป patronage มักแปลว่า ความอุปถัมภ์ patronage system แปลว่า ระบบอุปถัมภ์ ส่วน patronize แปลว่า อุปถัมภ์, อุปถัมภ์ค้ำจุน, ช่วยเหลือ, เกื้อกูล
       
       Patronage System : คำความหมาย 2 นัยยะ
       
       คุณจักรภพ ใช้คำว่า patronage หรือ patronage system ในความหมายที่แตกต่างกัน 2 นัยยะ ดังนี้
       
       นัยยะที่ 1 :
       
       patronage system คือ “ระบบที่ยอมรับความแตกต่างของฐานะของคนในสังคมระหว่างผู้ใหญ่กับผู้น้อย ผู้ใหญ่และผู้น้อยมีส่วนช่วยเหลือเกื้อกูลกันและอำนวยประโยชน์แก่กัน”
       
       ตามนัยยะนี้ ระบบอุปถัมภ์เป็นระบบ win-win ทั้งผู้เกื้อกูลและผู้รับประโยชน์เกื้อกูล ส่วนผู้ที่ไม่ win ด้วย คือ ผู้น้อยคนอื่นที่ไม่ได้รับประโยชน์เกื้อกูลด้วย ดังนั้นระบบอุปถัมภ์จึงไม่ใช่ระบบที่ยืนอยู่บนความคิดเสมอภาค แต่ก็ไม่ถึงกับขัดหรือแย้งกับอุดมการณ์ประชาธิปไตยในลักษณะที่จะอยู่ร่วมกันไม่ได้ ประการสำคัญตามนัยยะนี้ ระบบอุปถัมภ์ไม่ใช่อุดมการณ์ทางการเมือง ไม่ใช่ระบอบการปกครอง แต่เป็นระบบความสัมพันธ์ของคนในสังคม และไม่ใช่ระบบที่มีอยู่เฉพาะในประเทศไทย ปัจจุบัน จีน เกาหลี ญี่ปุ่น และหลายชาติของเอเชียก็ยังมีระบบนี้อยู่
       
       คุณจักรภพ ใช้ patronage system ตามนัยยะนี้เพียง 2 แห่ง ทั้ง 2 แห่งใช้เมื่อกล่าวถึงตนและครอบครัวซึ่งเติบโตขึ้นมาในสังคมไทยที่มีระบบช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ดังนี้
       
       I myself grew up in patronage system.—ตัวผมเองเติบโตขึ้นมาภายใต้ระบบอุปถัมภ์
       
       He grew up in patronage system too.—เขา (หมายถึงบิดาของคุณจักรภพ) ก็เติบโตขึ้นมาในระบบอุปถัมภ์เช่นกัน
       
       นัยยะที่ 2 :
       
       patronage system ตามนัยยะที่ 2 เป็นความหมายเฉพาะของคุณจักรภพ ซึ่งผู้เขียนจะวิเคราะห์ในลำดับต่อจากนี้ไปว่ามีความหมายเฉพาะว่าอย่างไร คุณจักรภพใช้คำว่า patronage หรือ patronage system ตามนัยยะนี้มากถึง 21 แห่ง มีแห่งเดียวที่กำกวม ไม่แน่ใจว่าคุณจักรภพใช้คำว่า patronage system ตามนัยยะที่ 1 หรือนัยยะที่ 2
       
       ทำไม patronage system ของคุณจักรภพจึงได้มี 2 นัยยะ ?
       
       ตามปกติคำที่เราใช้สื่อสารกัน แม้ว่ามี form เดียวกัน แต่ผู้ใช้ภาษาอาจใช้ในความหมายแตกต่างกันได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำที่มีความหมายเชิงนามธรรม ความหมายที่แตกต่างกัน อาจเกิดจากสาเหตุที่ผู้ใช้เข้าใจความต่างกัน ตีความต่างกัน หรือผู้ใช้กำหนดความหมายของคำให้แตกต่างกันก็ได้ เช่นคำว่า แม่ชี คนกลุ่มหนึ่งอาจตีความเคร่งครัดตามหลักพุทธศาสนาเถรวาทว่า ไม่ใช่นักบวช เป็นฆราวาส มีฐานะเพียงอุบาสิกาซึ่งถืออุโบสถศีล หรือ ศีล 8 แต่คนอีกกลุ่มหนึ่งอาจตีความตามความเข้าใจของคนไทยปัจจุบันว่า แม่ชีเป็นนักบวชหญิงในพุทธศาสนาเถรวาทแบบไทยๆ
       
       ตามความรู้รัฐศาสตร์ที่คุณจักรภพได้ร่ำเรียนมา คุณจักรภพย่อมรู้จัก patronage system ตามนัยยะที่ 1 อย่างดี แต่คุณจักรภพเลือกที่จะกำหนดความหมายใหม่ ซึ่งเป็นความหมายเฉพาะแก่คำว่า patronage system ทำให้คำนี้มีความหมายเฉพาะแตกต่างกับความหมายตามนัยยะที่ 1 หลายประการ ดังนี้
       
       1) เป็นระบบที่ผู้น้อยเป็นฝ่ายพึ่งพิงหรือคอยเฝ้ารับประโยชน์เกื้อกูลแต่ฝ่ายเดียว ในทำนองเดียวกัน ผู้ใหญ่ก็เป็นฝ่ายเกื้อกูลเพียงลำพัง ส่งผลให้ผู้คน ask about dependency before our own capability to do things—ร่ำร้องหาแต่ที่จะพึ่งพาอาศัยผู้อื่นโดยไม่คิดจะพึ่งพาความรู้ความสามารถของตนเองก่อนเลย
       
       
       2) เป็นระบบที่ฝ่ายที่คอยเฝ้ารับประโยชน์หรือพึ่งพิงต้องจ่ายค่าตอบแทนความเกื้อกูลด้วย ความจงรักภักดี และเป็นระบบที่คุณจักรภพคิดว่า มีแต่เฉพาะในประเทศไทย จึง makes Thai people different from many peoples around the world…So people had duty to be loyal.— ทำให้คนไทยแตกต่างกับผู้คนอื่นใดในโลก…ดังนั้นประชาชนจึงมีหน้าที่ต้องจงรักภักดี
       
       3) เป็นระบบที่ฝ่ายเกื้อกูลคือพระมหากษัตริย์ ส่วนฝ่ายเฝ้ารับประโยชน์คือสามัญชน
       
       คุณจักรภพเชื่อมโยงความคิดอย่างมีชั้นเชิงโดยเริ่มต้นกล่าวว่า …we have started off as a country in patronage system—เราตั้งต้นด้วยการเป็นประเทศที่อาศัยระบบอุปถัมภ์ แล้วก็กล่าวข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในสมัยพ่อขุนรามคำแหง ที่โปรดให้แขวงกระดิ่งร้องทุกข์ไว้หน้าวัง จักรภพมองว่า ประชาชนที่ไปสั่นกระดิ่ง คือผู้เมื่อเดือดร้อนก็ที่ไม่ยอมพึ่งตนเอง แต่กลับไปรับประโยชน์อุปถัมภ์จากพ่อขุนรามคำแหง คุณจักรภพแสดงทรรศนะว่า นี่เป็นเหตุให้ผู้คน …are led into the patronage system—เราก็ได้ถูกชักนำเข้าไปสู่ระบบอุปถัมภ์
       
       นั่นหมายความว่า คุณจักรภพกำหนดความหมาย ผู้ใหญ่กับผู้น้อยให้แคบลงมากว่าความหมายของ patronage system ตามนัยยะที่ 1 คือ ผู้ใหญ่ที่ให้ความอุปถัมภ์คือพระมหากษัตริย์ ส่วนผู้น้อยที่คอยเฝ้าแต่จะรับการอุปถัมภ์โดยไม่พึ่งพาตนเองคือประชาชนทั่วไป
       
       4) เป็นระบบที่ทำให้คนไทยคิดว่า we don’t actually need democracy. We are led into believing that the best form of government is guided democracy, or democracy with His Majesty greatest guidance…which I see as a clash or the clash between democracy and patronage system.— คนไทยเราจึงไม่ได้ปรารถนาประชาธิปไตยอย่างแท้จริง เราถูกชักนำให้เชื่อว่า รูปแบบการปกครองที่ดีที่สุดคือ ประชาธิปไตยแบบชี้นำ หรือประชาธิปไตยภายใต้การชี้นำอย่างมากมายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน
       
       
       5) เป็นระบบที่ is in direct conflict with democratization—ขัดแย้งโดยตรงกับกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตย
       
       ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่คุณจักรภพจะใช้คำว่า patronage system เป็นคู่ตรงข้ามกับ democracy หรือ ประชาธิปไตย คุณจักรภพจึงแสดงทรรศนะว่า ระบบอุปถัมภ์กับประชาธิปไตยไม่อาจอยู่ร่วมกันได้
       
       คุณจักรภพวิเคราะห์ว่า Current political crisis in my opinion is the clash between democracy and patronage system directly.— ในทรรศนะของผมวิกฤติทางการเมืองในปัจจุบันเป็นการปะทะกันระหว่างประชาธิปไตยกับระบบอุปถัมภ์
       
       
       และแสดงความชื่นชม พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรว่า เป็นผู้ทำลายระบบอุปถัมภ์ที่ฝังรากลึกมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย
       
       …what he did was to release people from patronage system, but when the most crucial decision comes, even him, made the decision out of patronage system. So the deep root of the patronage system is here…—สิ่งที่ท่านนายกฯ ทักษิณทำเป็นการปลดปล่อยประชาชนออกจากระบบอุปถัมภ์ เมื่อได้ตัดสินใจครั้งสำคัญ ท่านก็ตัดสินใจออกจากระบบอุปถัมภ์ แต่ระบบอุปถัมภ์ได้หยั่งรากลงลึกเสียแล้ว
       
       เมื่อจบปาฐกถาผู้สื่อข่าวต่างประเทศได้ถามคำถามย้อนคุณจักรภพเกี่ยวกับ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตรกับระบบอุปถัมภ์ว่า
       
       Wasn’t it as much patronage under Taksin Shinawatra? Doesn’t he rely on patronage to bring people on board as well?— ก็มีระบบอุปถัมภ์อย่างมากมายในสมัย พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร มิใช่หรือ ? ทักษิณเองก็อาศัยระบบอุปถัมภ์ดึงประชาชนมาเป็นพวกอย่างมากเหมือนกันมิใช่หรือ ?
       
       คำถามดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า ผู้สื่อข่าวต่างประเทศที่ตั้งคำถามเข้าใจคำว่า patronage system ตามนัยยะที่ 1 ซึ่งผู้ให้ความอุปถัมภ์อาจเป็นใครก็ได้ ตามนัยยะนี้ ผู้ถามจึงเข้าใจว่า พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร จัดเป็นผู้ใหญ่คนสำคัญที่ให้ความอุปถัมภ์แก่ผู้น้อยคือประชาชน เป็นคนละนัยยะกับของคุณจักรภพ เพราะตามนัยยะของคุณจักรภพ ผู้ใหญ่ในระบบอุปถัมภ์จำกัดว่าเป็นพระมหากษัตริย์เท่านั้น
       
       Patronage System = Monarchy ???!!!
       
       คำว่า patronage มาจากต้นศัพท์ภาษาละตินว่า pater แปลว่า “พ่อ” คำว่า pater เป็นคำร่วมเชื้อสายกับคำว่า father ในภาษาอังกฤษ
       
       ทันทีที่คุณจักรภพเริ่มกล่าวถึงต้นพัฒนาการของ patronage system คุณจักรภพก็กล่าวถึงพ่อขุนรามคำแหง คุณจักรภพเลือกใช้คำว่า Great father แทนคำว่า พ่อขุน ดังนี้
       
       In Sukhothai…we were led to know and believe that one of the kings during Sukhothai period, King Ramkhamhaeng, at the time, to be more precisely “Great Brother” –er I’m sorry “Great Father Ramkhamhaeng”— สมัยสุโขทัย…เราถูกชักนำให้เชื่อว่ากษัตริย์องค์หนึ่งในสมัยสุโขทัยคือพระเจ้ารามคำแหง หรือที่ถูกต้องคือ พี่ขุน อ้อ ขอโทษครับ พ่อขุนรามคำแหง
       
       คำว่า พ่อขุน มีความหมายเหมือนคำว่า king จากคำปาฐกถาของคุณจักรภพ คุณจักรภพก็รู้ดี เมื่อรู้ดีเช่นนั้นทำให้เกิดคำถามว่า
       
       ทำไมคุณจักรภพไม่ใช้คำว่า King Ramkhamhaeng แต่กลับเจตนาใช้ Great father Ramkhamhaeng ?
       
       คำตอบที่เป็นไปได้มี 2 ทาง
       
       คำตอบทางที่ 1 :
       
       คุณจักรภพต้องการแปลให้ตรงกับภาษาไทย พ่อขุนรามคำแหง = Great father Ramkhamhaeng
       
       ถ้าคำตอบเป็นคำตอบนี้ จะทำให้เกิดคำถามตามมาอีกว่า ใช้ Great father Ramkhamhaeng สื่อความคิดดีหรือมีประสิทธิภาพกว่า King Ramkhamhaeng อย่างไร ? คำตอบที่จะให้แก่คำถามหลังนี้ หาไม่พบจากปาฐกถาของคุณจักรภพหรือแม้แต่จากที่อื่นๆ
       
       ถ้าเช่นนั้น ลองพิจารณาคำตอบทางที่ 2
       
       คำตอบทางที่ 2 :
       
       มีความเป็นไปได้สูงมากว่า คุณจักรภพรู้ว่าต้นศัพท์ของ patronage คือ pater ซึ่งเป็นคำร่วมเชื้อสายกับ father คุณจักรภพเลือกใช้คำว่า Great Father Ramkhamhaeng แทน king Ramkhamhaeng เพื่อที่จะบ่งเป็นนัยๆ อย่างชาญฉลาดแก่ผู้ฟังว่า
       
       patronage = Great Father = king
       
       คุณจักรภพสร้างตรรกะดังกล่าวก็เพื่อวัตถุประสงค์ปลายทางคือการกำหนดความหมายเฉพาะแก่คำว่า patronage system ซึ่งเป็น key word ในปาฐกถาว่า ไม่มีนัยยะที่ 1 แต่มีนัยยะที่ 2 คือ “ระบบที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์สำคัญในสังคม เป็นระบบที่พระมหากษัตริย์ทรงมอบความอุปถัมภ์ในรูปของความช่วยเหลือเพียงน้อยนิดแก่ประชาชนเพื่อแลกกับความจงรักภักดีและแลกกับการคงดำรงอยู่ในฐานะสูงสุดในทางการปกครอง” ความหมายใหม่นี้เองทำให้คุณจักรภพกล่าวว่า ระบบอุปถัมภ์นั้น is in direct conflict with democratization—ขัดแย้งโดยตรงกับกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตย ดังได้กล่าวมาแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ ทำให้วิเคราะห์ระบบคิดของคุณจักรภพได้ว่า
       
       เมื่อ Patronage = Great Father = King
       การอุปถัมภ์ = พ่อขุน = กษัตริย์
       
       ดังนั้น Patronage System = King system = Monarchy
       ระบบอุปถัมภ์ = ระบบกษัตริย์ = ระบอบกษัตริยาธิปไตย
       
       เมื่อลองนำคำว่า monarchy ไปแทนที่คำว่า patronage หรือ patronage system ซึ่งใช้ตามนัยยะที่ 2 และใช้จำนวนมากถึง 21 แห่ง ก็พบว่า แทนที่กันได้และเข้ากับเนื้อความได้สนิทเป็นอย่างดี
       
       When we have problem, turn to someone who can help you. So before we know it, we are led into the PATRONAGE SYSTEM because we ask about dependency before our own capability to do things.
       
       When we have problem, turn to someone who can help you. So before we know it, we are led into the MONARCHY because we ask about dependency before our own capability to do things.
       
       ดังนั้น ข้อความข้างต้นแทนที่จะแปลว่า
       
       —ยามใดที่เราเมื่อประสบปัญหา เราก็หันไปพึ่ง บุคคลใดบุคคลหนึ่งซึ่งสามารถช่วยเราได้ ด้วยเหตุนี้ ก่อนที่เราจะทันรู้ตัว เราก็ได้ถูกชักนำเข้าไปสู่ระบบอุปถัมภ์เสียแล้ว เพราะเราร่ำร้องหาแต่ที่จะพึ่งพาอาศัยผู้อื่นโดยไม่คิดจะพึ่งพาความรู้ความสามารถของตนเองก่อนเลย
       
       
       ที่ถูกควรแปลว่า
       
       —ยามใดที่เราเมื่อประสบปัญหา เราก็หันไปพึ่งพระองค์ผู้เดียวซึ่งสามารถช่วยเราได้ ด้วยเหตุนี้ ก่อนที่เราจะทันรู้ตัว เราก็ได้ถูกชักนำเข้าไปสู่ระบอบกษัตริยาธิปไตยเสียแล้ว เพราะเราร่ำร้องหาแต่ที่จะพึ่งพาอาศัยผู้อื่นโดยไม่คิดจะพึ่งพาความรู้ความสามารถของตนเองก่อนเลย
       
       ที่สำคัญเมื่อแทนที่ patronage system ทำให้เข้าใจกระจ่างกว่าด้วยซ้ำว่า เหตุใดคุณจักรภพจึงแสดงตัวอย่างเฉพาะความอุปถัมภ์ที่พระมหากษัตริย์ทรงมอบแด่ประชาชน โดยเว้นไม่อภิปรายถึงความอุปถัมภ์ลักษณะอื่นๆ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างขุนนางผู้ใหญ่กับขุนนางผู้น้อย นายกับบ่าว ฯลฯ ในกรณีสังคมเก่า หรือ ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้านายกับลูกน้อง เพื่อนกับเพื่อน รุ่นพี่กับรุ่นน้อง นักการเมืองกับหัวคะแนน ฯลฯ ในกรณีสังคมปัจจุบัน
       
       “โอกาสที่สูญเสียไป” ในทรรศนะของจักรภพ ?
       
       
       คุณจักรภพคิดว่า ระบบอุปถัมภ์ หรือให้ตรงกว่านั้น ระบอบกษัตริยาธิปไตย มีกำเนิดและหยั่งรากฝังลึกในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน ใน “ระยะเวลาที่ยาวนาน” ของประวัติศาสตร์ระบบอุปถัมภ์หรือระบอบกษัตริยาธิปไตย การครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชก็เป็นส่วนหนึ่งอยู่ด้วย เวลาที่ยาวนานทำให้ประชาชนแยก perception หรือ การรับรู้ ไม่ออกว่า เป็น ความจริง หรือเป็น ปะรำปะราคติ
       
       And then, here we are in the reign of the current King, King Bhumibhol or Rama IX. We have all of that combined. And because he reigns for so long of a time, 60 some years now, his being in Thailand has been promoted to the state of myth. People don’t know whether or not they’re talking about realities or belief about him. Because he reigns long enough that he could be all of those combined: the traditional King, the scientific King, the developing King, the working monarch, and now so, he can still be the guardian of the new invention to Thailand, democracy.— ขณะนี้เราอยู่ในรัชกาลปัจจุบัน รัชกาลในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช หรือรัชกาลที่ 9 พระมหากษัตริย์รัชกาลนี้มีทุกประการที่ผมได้กล่าวมาแล้วรวมกัน เนื่องจากพระองค์ทรงครองราชย์ยาวนานกว่า 60 ปีแล้ว ประชาชนจึงยกพระองค์ขึ้นสู่เทวตำนาน โดยมิพักรู้เลยว่า พวกเขากำลังกล่าวถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฐานะที่เป็นบุคคลจริงหรือเป็นบุคคลในความเชื่อปะรำปะราคติ ด้วยว่าพระองค์ทรงครองราชย์ยืนนานมาจนทรงสามารถเป็นได้ทุกอย่างรวมกัน ทั้งกษัตริย์ที่สืบคติต่อกันมา กษัตริย์นักวิทยาศาสตร์ กษัตริย์นักพัฒนา กษัตริย์ผู้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ และทุกวันนี้ ยังได้ทรงดำรงฐานะผู้พิทักษ์สิ่งใหม่ของไทย คือ ประชาธิปไตย
       
       ข้อความตอนท้ายที่ว่า ยังได้ทรงดำรงฐานะผู้พิทักษ์สิ่งใหม่ของไทย คือ ประชาธิปไตย เป็นเรื่องที่คุณจักรภพต้องการให้ผู้ฟังใช้วิจารณญาณตรองอีกครั้งว่าเป็น reality หรือ belief
       
       จากนั้นคุณจักรภพต่อความคิดทันทีว่า
       
       We missed some opportunities in the past like when Predee Panomyong, the civilian leader of the revolution of 1932, 2475 for Thai people, that the system was turned from absolute monarchy into constitutional monarchy.— ในอดีตเราสูญเสียโอกาสอย่างในสมัยอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ ผู้นำพลเรือนในการปฏิวัติเมื่อ ค.ศ.1932 หรือ พ.ศ. 2475 กลายเป็นว่า เป็นการปฏิวัติที่เปลี่ยนจากระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูไป
       
       
       คุณจักรภพเจตนาใช้คำว่า civilian leader ขยายคุณสมบัติของอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ เพื่อย้ำว่าว่าบุคคลที่คุณจักรภพเพิ่งกล่าวถึงไปก่อนหน้านี้ คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นกษัตริย์ผู้นำ ซึ่งคุณจักรภพคิดว่านั่นเป็นเพียง myth หรือ belief
       
       ดังนั้น โอกาสที่สูญเสียไปในทรรศนะของคุณจักรภพคือ ทั้งๆ ที่ อาจารย์ปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้นำพลเรือน แต่ก็มิได้เปลี่ยนการปกครองจากระบอบกษัตริยาธิปไตยให้กลายเป็นระบอบประชาธิปไตยที่พลเรือนเป็นทั้งผู้นำรวมถึงทั้งประมุขของรัฐ
       
       คุณจักรภพเชื่อสนิทใจว่า ประชาธิปไตยกับระบบอุปถัมภ์ (ระบอบกษัตริยาธิปไตย) ขัดแย้งกันโดยตรง จึงได้กล่าวหนักแน่นภายหลังว่า WE have to undo it. WE have to personalize patronage system by saying that, well, who keeps patronizing people. And I believe that the time is near to do that.— พวกเราต้องแก้ไข พวกเราต้องเปลี่ยนแปลงระบบอุปถัมภ์ (ระบอบกษัตริยาธิปไตย) โดยช่วยกันตั้งคำถามว่า ใครกันที่เฝ้าวนเวียนแต่คอยหยิบยื่นความอุปถัมภ์แก่ประชาชน ผมเชื่อว่า เวลาที่จะทำดังว่าใกล้เข้ามาแล้ว
       
       คำถาม 2 คำถามสุดท้ายมีว่าคำว่า we หรือ พวกเรา หมายถึงใครแน่ ? หมายถึง คุณจักรภพในฐานผู้แสดงปาฐกถารวมทั้งผู้ฟังปาฐกถา ? หมายถึงประชาชนคนไทยทั่วไป ? หรือหมายถึง คุณจักรภพ กับ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร และผู้แวดล้อมวงในทั้งหมด ??? กับคำถามว่า เวลาที่จะทำดังว่าใกล้เข้ามาแล้ว คือ วันนี้หรือพรุ่งนี้ ?
       
       คำตอบมิได้อยู่ในสายลม และเป็นคำตอบที่ “ฟ้ารู้ ดินรู้ เรารู้ ท่านรู้” และแน่นอน บุรุษชื่อ จักรภพ เพ็ญแข ก็รู้ และ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ก็รู้ นอกจากนี้ ศาลท่านจะรู้หรือไม่ ? และจะทำให้ประชาชนทั่วไปรู้หรือไม่ ? และเมื่อคนไทยรู้แล้วจะคิดหรือทำอะไรเป็นประการต่อไป ???
บันทึกการเข้า

Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #14 เมื่อ: 27-05-2008, 18:09 »

Myth is derived from the Greek word mythos, which means "word of mouth."

Academic usage

In the academic fields of mythology, mythography, or folkloristics, a myth is a sacred story usually concerning the origins of the world or how the world and the creatures in it came to be their present form. The active beings in myths are generally gods and heroes. Myths are often said to take place before recorded history begins. A myth is a sacred narrative in the sense that it contributes to systems of thought and values, and that people attach religious or spiritual significance to it. Use of the term by scholars does not imply that the narrative is either true or false.

Popular usage

In popular use, a myth is something that is widely thought to be false. This usage, which is often pejorative, arose from labeling the religious myths and beliefs of other cultures as being incorrect, but it has spread to cover non-religious beliefs as well. Because of this usage, many people take offense when the religious narratives they believe to be true are called myths (see religion and mythology for more information).
This usage is frequently confused with legend, fiction, fairy tale, folklore, fable, and urban legend, each of which has a distinct meaning in academia.

http://en.wikipedia.org/wiki/Myth

  อีเจ๊เอ๊ย..
บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #15 เมื่อ: 27-05-2008, 18:28 »

reality หรือ belief

ตรงนี้น่าจะหนักสุด
บันทึกการเข้า

NA-KORN
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 221


« ตอบ #16 เมื่อ: 27-05-2008, 18:30 »

ผมหงุดหงิดกับไอ้สถานีทีวีสารธารณะไทยพีบีเอสจริง  
ปชป.แถลงข่าวยังไม่ทันจบมันทำไมต้องตัดสัญญาน
ด้วยก็ไม่รู้  ทีอีเพ็ญแถข่าวบิดเบือนข่าว  NBT ออกให้
เต็มๆ แม้กระทั้งเดินออกยังถ่ายให้เห็นก้นงอนๆของมันอีก

ขอได้ได้ไม๊ครับ  ผมและหลาย ๆ คนที่มีช่องทางอื่น
ไม่เป็นไร  แต่บางคนที่มีแต่ฟรีทีวีอย่างเดียวไม่สามารถ
ใช้ช่องทางอื่นได้จะหงุดหงิดแค่ไหน  ให้เวลาแบเต็มๆ
เสมอภาคกันได้ไหม  ทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้าน

ไม่รู้ว่าโดนใบสั่งหรือเปล่า  
บันทึกการเข้า
Limmy
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,346


« ตอบ #17 เมื่อ: 27-05-2008, 18:31 »

อ่านฉบับแปลของจักรภพแล้ว

น่าเสนอให้มหาวิทยาลัยมั้งในและต่างประเทศ ยึดใบปริญญาของจักรภพคืนครับ


 
บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #18 เมื่อ: 27-05-2008, 18:40 »

ผมหงุดหงิดกับไอ้สถานีทีวีสารธารณะไทยพีบีเอสจริง  
ปชป.แถลงข่าวยังไม่ทันจบมันทำไมต้องตัดสัญญาน
ด้วยก็ไม่รู้  ทีอีเพ็ญแถข่าวบิดเบือนข่าว  NBT ออกให้
เต็มๆ แม้กระทั้งเดินออกยังถ่ายให้เห็นก้นงอนๆของมันอีก

ขอได้ได้ไม๊ครับ  ผมและหลาย ๆ คนที่มีช่องทางอื่น
ไม่เป็นไร  แต่บางคนที่มีแต่ฟรีทีวีอย่างเดียวไม่สามารถ
ใช้ช่องทางอื่นได้จะหงุดหงิดแค่ไหน  ให้เวลาแบเต็มๆ
เสมอภาคกันได้ไหม  ทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้าน

ไม่รู้ว่าโดนใบสั่งหรือเปล่า  


น่าเบื่อไปแล้ว หลังจากติดใจช่วงแรก ๆ

หลังๆ มานี่กลายเป็นสถานีน่าเบื่อ อย่างไม่น่าจะเป็นไปได้

ถ้ากลัวจะเป็นการนำเสนอข่าวข้างเดียว ก็ไปถ่ายทอด คนวันเสาร์ ในเวลาที่เท่าๆ กันก็น่าจะได้

ประชาชนเค้าจะได้รู้ว่า ใคร เป็นยังไง


ถ้าจะบอกว่า กรรมการนโยบาย ไม่มีเซ้นส์ของ "ผู้สื่อข่าว" หรือคำว่า "เพรส"

ก็น่าจะได้
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]
    กระโดดไป: