999
|
 |
« เมื่อ: 08-05-2008, 12:19 » |
|
ขอสั้นๆ กระชับและอย่านอกเรื่องพาดพิงเลอเทอะนะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
999
|
 |
« ตอบ #1 เมื่อ: 08-05-2008, 12:22 » |
|
ผมยอมรับสว.จากการเลือกตั้งมากกว่า สว.จากการสรรหา
เพราะอย่างไรก็ตามต้องผ่านการกลั่นกรองจากประชาชนเป็นหลักเป็นขั้นสุดท้าย
นอกเหนือจากพีธีการอื่นๆ
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08-05-2008, 12:41 โดย 999 »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Can ไทเมือง
|
 |
« ตอบ #2 เมื่อ: 08-05-2008, 12:38 » |
|
ถ้ายังปล่อยให้โกงเลือกตั้งอยู่แบบนี้ สว. เลือกตั้ง ก็งั้น ๆ
ถ้าไม่ชอบ "สรรหา" ก็ให้สอบบรรจุไปเลยดีมะ อิ อิ
จะว่าไป การมีสรรหาครึ่งหนึ่ง เลือกตั้งครึ่งหนึ่ง ก็เป็นส่วนผสมที่น่าจะลงตัวแล้ว
พวกปากประชาธิปไตย ยกเอาการเลือกตั้งเป็นตัวกำหนดอำนาจทุกอย่าง
โดยที่สังคมโดยรวมยังฟอนเฟะไปด้วย การโกงเลือกตั้ง ยังไงมันก็ไม่ใช่อำนาจที่มาโดยชอบธรรม
การแบ่งสัดส่วนออกมา ก็แก้ปัญหา สภาผัวเมีย ได้ในระดับหนึ่ง
อย่างน้อยการสรรหา ก็มีการดู "คุณวุฒิ" ประกอบกับประสพการณ์การทำงาน
วุฒิสภา หากหมายถึงสภาผู้ที่ทรงคุณวุฒิ หรือสภาสูง ก็สมควรได้คนที่มีคุณวุฒิ
ไม่ใช่ เมียนักการเมือง หรือ พ่อ/ลูก นักการเมืองอย่างที่เห็น ๆ กันอยู่
สว. เลือกตั้งจะดูดี ก็ต่อเมื่อประชาชนอยู่ใกล้ข้อมูลข่าวสาร มีความตื่นตัวทางการเมืองสูง
แต่ในต่างจังหวัด คนเลือก 3-40,000 คน จากประชาชนนับล้านในจังหวัด
ผมคิดว่าคนที่ชนะเลือกตั้งเป็น สว. ก็น่าจะไม่ใช่ตัวแทนที่แท้จริงซักเท่าไหร่
มันก็เป็นพวกคะแนนจัดตั้ง ที่นักการเมือง พวก สส. สจ. อบต. จัดตั้งนั่นแหละ
มันแค่พิธีกรรมเท่านั้น
อีกอย่าง หากประชาชนปิดร้านเพื่อดูสวรรค์เบี่ยงตอนจบ
หรือ ถ่างตารอดูฟุตบอล มากกว่า ฟังอภิปรายในสภา
ในสัดส่วนที่แตกต่างกันราวฟ้ากับเหว...
เลือกตั้งอีกกี่ชาติ ก็งั้น ๆ
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08-05-2008, 12:44 โดย CanCan »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Şiłąncē Mőbiuş
|
 |
« ตอบ #3 เมื่อ: 08-05-2008, 12:42 » |
|
เห็นด้วยกับลุงแคนมากๆครับ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
 “People should not be afraid of their governments. Governments should be afraid of their people.” . “ประชาชนไม่ควรกลัวรัฐบาลของตนเอง รัฐบาลต่างหากที่ควรกลัวประชาชน” .. แวะไปเยี่ยมกันได้ที่ http://silance-mobius.blogspot.com/ นะครับ .
|
|
|
999
|
 |
« ตอบ #4 เมื่อ: 08-05-2008, 12:46 » |
|
แต่ถ้าเรากำหนดคุณสมบัติผู้ลสมัครรับเลือกตั้งสว.ให้มีประวัติการทำงานที่ดีมากขึ้น
ก็น่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งที่เป็นไปได้ ว่าจะได้คนดีที่มีการกลั่นกรองหลายชั้นมากขึ้น
มากกว่าผู้ที่มาจากการสรรหาเพียงอย่างเดียวตามสัดส่วน ซึ่งส่วนใหญ่ก็มาจากข้าราชการประจำ
ซึ่งคนเหล่านี้สามารถอยู่รอด ทำตัวตามน้ำจนสามารถขึ้นสู่ระดับสูงในตำแหน่งราชการได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
999
|
 |
« ตอบ #5 เมื่อ: 08-05-2008, 12:53 » |
|
ไว้มาตามอ่านความคิดเห็นของแต่ละท่านนะครับ
ยินดีต้อนรับสุภาพชนผู้เปี่ยมด้วความคิดและประสบการณืทุกท่านครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Can ไทเมือง
|
 |
« ตอบ #6 เมื่อ: 08-05-2008, 12:59 » |
|
สภาสูงของอังกฤษ ก็แต่งตั้งทั้งหมดเรียกสภาขุนนางด้วยซ้ำ ทำไมเค้าเป็นประชาธิปไตย
บางทีเราไปมองอะไรที่มันเป็นเรื่อง "ลายกนก" ลืมโครงร่างที่เป็น เนื้อหาประชาธิปไตย
ข้าราชการที่เข้าไปเป็น สว. สรรหา น่าจะน้อยกว่าตัวแทนจากภาควิชาชีพ ชมรม สมาชมต่างๆ กระมัง ผมไม่ได้เปิดดู
หากจะบอกว่า ข้าราชการชอบตามน้ำ มันเป็นเรื่องปลีกย่อย ไม่ใช่ทั้งหมดเป็นเช่นนั้น
การกำหนดคุณวุฒิการศึกษา จะว่าไปก็ไม่ใช่ข้อกำหนดว่า เรียนสูงต้องเป็นคนดี
เรียนด็อกเตอร์ ยิ่งโกงเก่ง
หากจะหาจุดลงตัว สำหรับประเทศชอบเถียง ชอบทะเลาะ ไม่รู้ว่าอะไรควร อะไรไม่ควร
รู้แต่ว่าข้ามีสิทธิ์ ไม่ผิดกฎหมาย ฯลฯ หาไปเถอะครับ
ไม่มีคำว่า "ลงตัว"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เอกราช
|
 |
« ตอบ #7 เมื่อ: 08-05-2008, 13:26 » |
|
ไม่ว่าจะ สว.สรรหา หรือ สว.จากการเลือกตั้ง มันคงจะขึ้นอยู่แต่ละบุคคล จิตสำนึกแห่งความเป็นมนุษย์ จิตสำนึกของความเป็นคน จิตสำนึกในจริยธรรมและรู้ผิดชอบชั่วดี แต่ละคนแตกต่างกันไป
ไม่ว่าจะ สว.สรรหา หรือ สว.จากการเลือกตั้ง ถ้าคุณมี จิตสำนึกแห่งความเป็นมนุษย์ จิตสำนึกของความเป็นคน จิตสำนึกในจริยธรรมและรู้ผิดชอบชั่วดี ผมจะยอมรับคุณ
ไม่ว่าจะ สว.สรรหา หรือ สว.จากการเลือกตั้ง ถ้าคุณไม่มี จิตสำนึกแห่งความเป็นมนุษย์ จิตสำนึกของความเป็นคน จิตสำนึกในจริยธรรมและรู้ผิดชอบชั่วดี ผมก็จะไม่ยอมรับคุณ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
สภาพดินฟ้าอากาศที่ได้เปรียบมิสู้มีชัยภูมิที่มั่นคง ชัยภูมิที่เป็นเลิศมิอาจเทียบได้กับความมีน้ำหนึ่งใจเดียวของผู้คน
|
|
|
999
|
 |
« ตอบ #8 เมื่อ: 08-05-2008, 18:40 » |
|
ข้อเสียอีกข้อหนึ่งของการสรรหาคือ
ให้อำนาจกับกรรมการสรรหา ซึ่งทำให้เกิดการผูกขาดอำนาจได้ง่ายจนเกินไป
ขัดกับหลักการกระจายอำนาจ โดยเฉพาะในด้านนิติบัญัตญัติ ซึ่งไปริดรอนสิทธิในการเลือกตั้งของประชาชนโดยไม่มีเหตุอันเหมาะสม
นำไปมอบแก่กรรมการสรรหา และลงมติกันเองในบุคคลไม่กี่คน ซึ่งคนเหล่านั้นก็ส่วนใหญ่หรือทั้งหมดคงจะไม่ได้ผ่านการเลือกตั้งจากปชช.มาด้วยเช่นกัน
ลักษณะนี้ย่อมไม่เป็นประชาธิปไตย หากไม่มีมติของประชาชนรองรับ เปรียบได้กับการแก้รัฐธรรมนูญที่น่าจะต้องให้ประชาชนมีประชามติรับร่าง
แม้จะผ่านสภาฯ และหรือสสร. หรืออย่างใดอย่างหนึ่งแล้วก็ตาม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Can ไทเมือง
|
 |
« ตอบ #9 เมื่อ: 08-05-2008, 22:51 » |
|
ไม่ลองเปรียบเทียบกับ สภาแต่งตั้ง สภาสูง สภาขุนนางของอังกฤษละครับ
เห็นบอกว่า บางทีมาโดยสายเลือดด้วยซ้ำ นั่นแม่แบบประชาธิปไตยไม่ใช่หรือครับ
มีประเทศประชาธิปไตยอีกหลายประเทศ ที่ให้สภาสูงมาจากการแต่งตั้ง
ถึงยังไง การเลือกตั้ง ก็มากกว่าแต่งตั้งหรือสรรหาในสัดส่วนที่ สว.สรรหา ไม่มีผลอย่างมีนัยยะสำคัญของ เสียงในรัฐสภา
แม้ วุฒิสภาคัดค้านกฎหมาย ( ซึ่งอาจเป็นไปได้ แต่ต้องไปร่วมกับ สว.เลือกตั้งบางส่วน )
แต่ก็ไม่สามารถทำให้กฎหมายนั้นตกไป หาก สภาล่าง หรือ สภาเลือกตั้งเต็มๆ ยืนยันในร่างกฎหมายของตน
ดังนั้นหากแต่งตั้ง หรือ สรรหา มาในสัดส่วนที่ไม่มาก แต่สามารถ "ตรวจสอบ" มากกว่า "ควบคุม"
การสรรหา ก็ไม่ได้น่าเกลียดอะไร
มันขึ้นกับเรา กำหนดหน้าที่ของ สว. ให้มากน้อยแค่ไหน ถ้าเป้นสภาตรวจสอบ ถอดถอน มันก็ต้องเป็นคนละพวก
ถ้าเอาหลักการประชาธิปไตยล้วนๆ มาพูดกัน มันก็ใช่
แต่เรายอมรับกันหรือเปล่าว่า ในตัวประชาชนเองก็มิได้เป็นประชาธิปไตยซักเท่าไหร่
บางทีเลือก สส. หรือ สว. หรือ สจ. ฯลฯ เพราะเพียงเป็น ญาติ มิตร คนรู้จัก หรือคนเคยมีบุญคุณต่อกัน
หลักวิชาที่กินไม่ได้ เหมือนเอาศีลธรรมมาพูดกันจนถึงที่สุด ฝ่ายที่อ้างศีลธรรมก็ชนะในทางเหตุผล
แต่ทำไมเรายังมี โรงฆ่าสัตว์ มีโรงขายเซ็กส์ มีเหล้าบุหรี่ มีสถานบันเทิง
แถมมีกฎหมายรองรับให้ทำได้อีกต่างหาก
บางทีผมคิดว่า ประชาธิปไตยที่ดี ต้องไปพูดถึง ทฤษฎีอรรถประโยชน์ด้วยซ้ำไป
เพราะตัวแทนประชาชนจากการเลือกตั้ง ใช่ว่าจะได้ "ผู้รู้" หรือ "คนเก่ง" ในสาขาวิชาการต่างๆ ได้ครอบคลุมทั้งสังคม
เพราะปัญหาประเทศชาติ หลากหลายเกินกว่าจะมุ่งที่ ใช้ตัวแทนประชาชนเพียงอย่างเดียวมากำหนดทั้งหมด
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09-05-2008, 01:01 โดย CanCan »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
999
|
 |
« ตอบ #10 เมื่อ: 08-05-2008, 23:08 » |
|
ปัญหาในทางกลับกันก็ใช่ว่าการสรรหา จะได้ผู้แทนที่ดีกว่า การกลั่นกรองอย่างมีระบบและได้รับการรับรองจากประชาชน
อีกประการหนึ่งก็คงอยู่ที่ประชาชนเองว่าจะมีการยอมรับหรือเรียกร้องสิทธิอันพึงมีพึงได้ของเขาเหล่านั้นเองเป็นเสียงส่วนใหญ่หรือไม่
หากเป็นเช่นนั้น รัฐธรรมนูญก็จำเป็นต้องเอนเอียงเข้าหาความต้องการของประชาชน ตราบเท่าที่ยังอยู่ในกรอบของหลักการต่างๆ
กล่าวคือ หลักใหญ่ของประชาธิปไตย คือการตัดสินใจของเสียงส่วนใหญ่และยอมรับในความเสมอภาคของเสียงส่วนน้อย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Can ไทเมือง
|
 |
« ตอบ #11 เมื่อ: 09-05-2008, 09:49 » |
|
ก็ระบบเลือกตั้งในประเทศไทย มันยังไม่ถึงขีดที่จะเป็นสิ่งที่บอกได้ว่า เป้นการเลือกอย่างมีคุณภาพ
การพัฒนาประชาธิปไตยตัวสำคัญคือต้องไปพัฒนา ระบบการเลือกตั้งให้สมบูรณ์ ไร้ข้อกังขา
ถ้าถามว่า ระบบเลือกตั้งอย่างที่เห็นและเป็นอยู่ กับการสรรหา จากศาลกรือผู้ทรงคุณวุฒินั้น
หากพูดกันเท่าที่เป็นอยู่ "คุณภาพ" ก็ต้อง สรรหา
หากพูดกันถึง "ความชอบธรรม" ก็ต้องบอกว่า เลือกตั้ง
แต่การสรรหา ก็ได้รับการรับรองโดยกฎหมายสูงสุด เมื่อดำรงตำแหน่งแล้วก็มีศักดิ์และสิทธิ์ในตำแหน่งหน้าที่เท่าเทียมกัน
แต่เลือกตั้งแล้วได้ สส. แบบ การุณ โหสกุล ไหวมั๊ย
หรือเลือกแล้วได้คนของพรรค แบบ ตู่ ตอแย ไหวมั๊ย
แล้ว จักรภพ ในฝ่ายบริหารมาจากการเลือกตั้งหรือเปล่า ก็ต้องดูให้ทั่ว ๆ
พอบอกนายกต้องมาจากการเลือกตั้ง ทำไมไม่บอกว่า "รัฐมนตรี" ก็ต้องมาจากการเลือกตั้ง...ทำไมละครับ
ถ้าจะพูดถึงประชาธิปไตยในภาพรวม มันก็มีทั้งแต่งตั้งและเลือกตั้งนั่นแหละ
มันขึ้นกับว่า เลือกตั้งอะไร แต่งตั้งอะไร
ใครเป็นคนแต่งตั้ง
ซึ่งมันจะไปเกี่ยวกับ "อำนาจหน้าที่" เป็นสำคัญ
ประชาธิปไตยของแต่ละประเทศ ต่างมีข้อปลีกย่อยที่แตกต่างกันออกไป
ขึ้นอยู่กับว่าคนนำระบอบประชาธิปไตยไปใช้จะปรับใช้แบบไหน
ระบบรัฐสภา ใช้ระบบสภาเดี่ยวหรือสภาคู่
ระบบตุลาการ ใช้ระบบใต่สวน หรือ ระบบกล่าวหา หรือจะใช้ระบบลูกขุน
ระบบบริหารเลือกตั้งทางตรงหรือทางอ้อม
ทุกอย่างมีข้อดีข้อเสีย มีข้อแตกต่างไม่เหมือนกันทุกประเทสหรอกครับ
เพราะพื้นฐาน วัฒนธรรมของแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน
เมื่อต่างมีข้อดีข้อเสีย ก็ต้องไปร่วมคิดร่วมทำว่า แบบไหนจะเหมาะสมกับสังคมนั้น ๆ
ฟันธงว่าอะไรดีกว่าอะไร เพราะมันขึ้นอยู่กับว่า ต้องการผลสัมฤทธิ์ของระบบต่างๆ ในเรื่องอะไร
ที่สำคัญ คนไทยมักใช้หลายมาตรฐานครับ ไม่ค่อใช้มาตรฐานเดียวกันในทุกเรื่องราว
ไม่ใชมาตรวัดตัวเดียวกันในทุกเรื่องราว
ถ้าพวกกรูได้ พวกกรูดี คนอื่นทำแล้วเลว ทำแล้วชั่ว ทั้งๆ ที่มันเป็นพฤติกรรมเดียวกัน
พอจับได้ไล่ทันก็อ้าง ผมมาจากประชาชน ทุเรศมากๆ ครับ
ก็วิธีการที่ได้อำนาจมาจากประชาชนมันสุดห่วย ยังอ้างกันอยู่ได้
พูดให้ถึงที่สุด ระบอบประชาธิปไตย ก็ไม่ใช่ระบอบที่ดีที่สุด แต่เชื่อกันว่าเลวน้อยที่สุด
การเลือกตั้งผู้นำ ใช่ว่าจะได้คนดีที่สุด เลวก็เยอะ
แล้วจะไปอะไรกับมันนักหนา กับการเลือกตั้งที่เป็นแต่เพียงพิธีกรรมและจัดตั้ง
บางทีคนไทยก็สับสนระหว่าง ประชาธิปไตยในระบอบประธานาธิบดี กับประชาธิปไตยระบอบรัฐสภา
ถ้าหากมั่วๆ กันไป ก็เถียงกันทั้งชาติ
กล่าวโดยสรุปก็คือ ไม่ว่าจะเลือกตั้งหรือสรรหา ความสำคัญมันอยู่ที่ "ความเป็นอิสระ" ของผู้ปฏิบัติหน้าที่มากกว่า
หากผู้ทำการการตรวจสอบต้องตกอยู่ใต้อิทธิพล จะแบบไหนมันก็ไม่ดีทั้งนั้น
ถ้าการตรวจสอบหรือตัดสินผิดถูกต้องใช้ที่มาจากการเลือกตั้ง แม้กระทั่ง "ศาล" ก็ เอวังละครับ
หรือจะเอาถึงขั้น นายกแต่งตั้งศาล หรือเลือกตั้งศาล ไปเลยยังงั้นมั๊ย จะได้เป็นประชาธิปไตย
ตั้งแต่มีประชาธิปไตยในไทย ก็ใช้ระบบแต่งตั้งสว. มาตลอด เพิ่งมาเปลี่ยนสมัยรัฐธรรมนูญ 2540
แล้ว สว. เลือกตั้งก็กลายเป็นสภาผัวสภาเมีย มันก็เลวทั้งคู่
พอมารุ่น 2550 บอกว่า เอางี้แล้วกัน เลือกครึ่งแต่งตั้งโดยการสรรหาครึ่ง
ทำไมไม่ปล่อยให้เค้าลองทำงานดู แล้วนำผลดีผลเสียมาเปรียบเทียบกัน
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09-05-2008, 10:26 โดย CanCan »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
999
|
 |
« ตอบ #12 เมื่อ: 09-05-2008, 13:20 » |
|
ผมคิดว่าสังคมไทยต้องเดินไปข้างหน้าและไปสู่สิ่งที่ดีกว่าที่มุ่งหวัง
เรากำลังเดินไปสู่การเลือกตั้งและการกระจายอำนาจที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นเรื่อยๆครับ ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่าต้องเลือกตั้งกันทุกตำแหน่งหน้าที่
หน้าที่เฉพาะอย่างศาลหรือตุลาการ นักการเมืองจากการเลือกตั้งก็ได้แต่ให้นโบบายการบริหารหรือพัฒนา ไม่สามารถไปทำหน้าที่แทนตรงนั้นได้
ต้องให้ความอิสระ และตัดสินใจในหน้าที่ ความชำนาญ และความเที่ยงะรรมของเขาเหล่านั้น
โดยเฉพาะในการตัดสินพิพากษาคดีความตามบทบัญญัติแห่งกฏหมาย และปล่อยให้พวกเขาตรวจสอบกันเองในประเด็นต่างๆเป็นส่วนใหญ่
ประเทศไทยและชนชาติไทยจะได้รับเกียรติหรือการยอมรับหรือไม่ก็จะเป็นที่หลักการในการพัมนาชาติและชนชาติของเราเป็นสำคัญ
ซึ่งก็ถือว่าต้องถวายเกียรติในผลงานทั้งหลายแด่พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นประมุขของเราเสมอ ผ่านผลงานของปวงชนชาวไทยครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Can ไทเมือง
|
 |
« ตอบ #13 เมื่อ: 09-05-2008, 14:30 » |
|
ต้องพัฒนาระบบเลือกตั้งครับ เพราะเป็นต้นธารของการถ่ายโอนอำนาจของประชาชนสู่ระบบตัวแทน
หากทำตรงนั้นได้ดี ให้บริสุทธิ์เที่ยงธรรม ปัญหาอื่นๆ ก็จะหมดไป
ถ้าเชื่อว่าระบบเลือกตั้งดี ลองให้เลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดซีครับ กล้ามั๊ย
องค์กรอิสระ ขยายลงไปถึงระดับจังหวัดหรือยัง...ฝ่ายตรวจสอบลงไปถึงจริงจังแค่ไหน
หากประสิทธิภาพของระบบเลือกตั้ง ยังทำได้แค่นี้ อย่าเพิ่งไปคิดใกลเลย
อย่างน้อยอีก 50 ปีครับ
ณ เวลานี้สภาพบ้านเมืองและสังคมไทยยังเป็นเช่นนี้ ก็ขอแค่นี้ก่อน
นอกจากปัญหาระบบเลือกตั้ง มันต้องมองถึงอำนาจตรวจสอบ / อำนาจถ่วงดุล
ประชาธิปไตยมาลอยๆ ไปไม่ได้ครับ อำนาจตรวจสอบ/ถ่วงดุล จากทั้งจากองค์กรอิสระและฝ่ายประชาชนต้องเข้มแข็ง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
taecu
|
 |
« ตอบ #14 เมื่อ: 09-05-2008, 15:10 » |
|
เพราะอย่างไรก็ตามต้องผ่านการกลั่นกรองจากประชาชนเป็นหลักเป็นขั้นสุดท้าย
น่าเบื่อ
อ้างประชาชน
ผมว่าถ้าคนไทยคิดเป็น อ่ะ ผมจะไม่ว่าสักคำเลย
แต่ละคน ความรู้ของประชาชนไม่เท่ากัน เรื่องกาศึกษาก็สำคัญ นโยบายของ รัฐบาลชุดนี้ ไม่ได้เน้นเรื่องนี้เลย
คุณไม่ต้องมาอ้างว่า คนไทย มีความรู้ดีแล้ว สามารถตัดสินใจได้หมด
แค่คุมกำเนิด การใช้ถุงยาง การนับวันประจำเดือน เรื่อง เอส์ด เรื่องใกล้ๆๆตัวง่ายๆๆไม่ค่อยรุ้กันเลย
จะมารู้เรื่องการเมืองได้ยังไง
อีกอย่างมีเงินก็ใช้เงินซื้อเสียงได้แล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
เราต้องการความจริงจากท่าน ไม่ใช่ต้องการคำโกหกจากท่าน
|
|
|
999
|
 |
« ตอบ #15 เมื่อ: 10-05-2008, 13:16 » |
|
ระดับท้องถิ่นตอนนี้ก็มีเลือกตั้ง ตั้งแต่ อบต. อบจ. ก็ไม่เห็นมีปัญหาอะไรกันมากนี่ครับ
ส่วนเรื่องผู้ว่า ผมว่าปัญหาคงมีทั้งนักการเมืองเอง และข้าราชาการ คือมีบางส่วนที่ยังหวงอำนาจ
โดยเฉพาะมหาดไทยและกลาโหม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Can ไทเมือง
|
 |
« ตอบ #16 เมื่อ: 10-05-2008, 13:22 » |
|
ใครบอกว่า อบจ. อบต. เทศบาลไม่มีปัญหา
สตง. ตรวจสอบเจอโกงเยอะแยะ
ส่งให้ปปช. ดำเนินการมากมาย
เลือกตั้ง อบจ. ลงขันกันจังหวัดละ 200 ล้าน
( งบประมาณ อปท. ปีละไม่น้อยกว่า 300,000 ล้าน ทั่วประเทศ )
นี่หรือคือผู้แทนประชาชน...หรือผู้แทนสัมปทานอำนาจ
ก็บอกแล้วว่า ระบบเลือกตั้งมันห่วย มันก็ได้ผู้แทนห่วย ๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Can ไทเมือง
|
 |
« ตอบ #17 เมื่อ: 10-05-2008, 13:24 » |
|
ป.ป.ช.ขอผลสอบ 8 อบจ.ซื้อหนังสือ เชื่อเครือข่ายเชื่อมทั้งประเทศ มติชน วันที่ 09 พฤษภาคม 2551 เวลา 20:30:02 น.
ป.ป.ช.ขอผลสอบสวนข้อเท็จจริง อบจ.ทั้ง 8 แห่ง จากปลัดกระทรวงมหาดไทย เชื่อว่าทั้งหมดมีเครือข่ายเชื่อมโยงกันทั้งประเทศ และมีการทุจริตลักษณะนี้เป็นจำนวนมาก
นายประสาท พงษ์ศิวาภัย กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เปิดเผย 'มติชน' เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม กรณีคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงการจัดซื้อหนังสือเรียนเสริมและสื่อการเรียนการสอนของกระทรวงมหาดไทย สรุปผลสอบพบการจัดซื้อขององค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) 8 แห่ง ส่อไปในทางทุจริตว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช.มีมติให้ตนเป็นผู้ประสานขอผลสอบสวนข้อเท็จจริง อบจ.ทั้ง 8 แห่ง จากนายพงศ์โพยม วาศภูติ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ในสัปดาห์หน้าจะไปรับข้อมูลด้วยตัวเอง เรื่องนี้ ป.ป.ช.ได้รับร้องเรียนมาเช่นกันว่าการจัดซื้อหนังสือเรียนเสริมไม่มีคุณภาพ มีการฮั้วประมูล เกิดขึ้นใน อบจ.ที่กระทรวงมหาดไทยสอบไปแล้ว และในจังหวัดอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก ป.ป.ช.จึงต้องนำข้อมูลของกระทรวงมหาดไทยมาประกอบการสอบสวน หากพบว่ามีมูล จะนำเสนอชุดใหญ่ตั้งอนุกรรมการตรวจสอบแต่ละจังหวัด เชื่อว่าทั้งหมดมีเครือข่ายเชื่อมโยงกันทั้งประเทศ และมีการทุจริตลักษณะนี้เป็นจำนวนมาก เพราะ อปท.มีงบประมาณมากถึง 3 แสนล้านบาท จึงอาจเป็นฐานเชื่อมโยงกับการเมืองระดับประเทศ
นายประสาทกล่าวต่อไปว่า สำหรับข้อขัดแย้งระหว่างกระทรวงมหาดไทยกับกระทรวงศึกษาธิการในเรื่องการตีความ อำนาจ สำนักงานส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ที่เห็นไม่ตรงกัน โดยทั้ง 2 ต่างอ้างมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2527 นั้น เรื่องนี้ต้องเอากฎหมายมาดูเพิ่ม และเรียกเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมาตรวจสอบ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือจดทะเบียนร่วมทุนระหว่าง สกสค. กับเอกชน เป็นการหากินกับรัฐหรือไม่ เมื่อจดทะเบียนร่วมทุนแล้วยังสามารถใช้วิธีกรณีพิเศษได้หรือไม่ อาจเชิญผู้แทนฝ่ายกฎหมายของกระทรวงการคลังมาร่วมพิจารณา ว่ามติ ครม.ดังกล่าวมีเจตนารมณ์อย่างไร
กรรมการ ป.ป.ช.กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ ยังได้ประสานไปยังปลัดกระทรวงมหาดไทย อธิบดีกรมการปกครอง และอธิบดีกรมการปกครองท้องถิ่น มาประชุมร่วมเพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาการทุจริต อปท.ทั่วประเทศ เพราะผู้ว่าราชการจังหวัด และนายอำเภอต้องช่วยดูแลเนื่องจากอยู่ในอำนาจโดยตรง รายงานข่าวจากกระทรวงมหาดไทยแจ้งว่า เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม นายสุพล ฟองงาม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ทำหนังสือถึงสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน แจ้งผลตรวจสอบ อบจ. 8 แห่ง ได้แก่ อบจ.อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด อุดรธานี อำนาจเจริญ กาญจนบุรี สมุทรปราการ นครสวรรค์ และเชียงราย จัดซื้อหนังสือและสื่อการเรียนการสอนไม่ปฏิบัติตามระเบียบราชการให้สอบสวนอีกทางหนึ่ง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
999
|
 |
« ตอบ #18 เมื่อ: 10-05-2008, 13:28 » |
|
ใครบอกว่า อบจ. อบต. เทศบาลไม่มีปัญหา
สตง. ตรวจสอบเจอโกงเยอะแยะ
ส่งให้ปปช. ดำเนินการมากมาย
เลือกตั้ง อบจ. ลงขันกันจังหวัดละ 200 ล้าน
( งบประมาณ อปท. ปีละไม่น้อยกว่า 300,000 ล้าน ทั่วประเทศ )
นี่หรือคือผู้แทนประชาชน...หรือผู้แทนสัมปทานอำนาจ
ก็บอกแล้วว่า ระบบเลือกตั้งมันห่วย มันก็ได้ผู้แทนห่วย ๆ
ดีครับแร่งกระบวนการพัฒนาไป ระบบคงอยู่และมีพัฒนาการก็ใช้ได้ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
999
|
 |
« ตอบ #19 เมื่อ: 12-05-2008, 14:50 » |
|
เลือกตั้ง สาธารณชนได้ตรวจสอบมากกว่าแน่นอน ทั้งประวัติและผลงาน
อาจจะมีปัญหาบ้าง ในเรื่องความรู้ความชำนาญเฉพาะทางลึกๆ
ที่ต้องให้คนในแวดวงเดียวกัน กลั่นกรองมาอีกชั้นหนึ่งเสียก่อน
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13-05-2008, 00:54 โดย 999 »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เล่าปี๋
|
 |
« ตอบ #20 เมื่อ: 12-05-2008, 17:30 » |
|
ใครบอกว่า อบจ. อบต. เทศบาลไม่มีปัญหา
สตง. ตรวจสอบเจอโกงเยอะแยะ
ส่งให้ปปช. ดำเนินการมากมาย
เลือกตั้ง อบจ. ลงขันกันจังหวัดละ 200 ล้าน
( งบประมาณ อปท. ปีละไม่น้อยกว่า 300,000 ล้าน ทั่วประเทศ )
นี่หรือคือผู้แทนประชาชน...หรือผู้แทนสัมปทานอำนาจ
ก็บอกแล้วว่า ระบบเลือกตั้งมันห่วย มันก็ได้ผู้แทนห่วย ๆ
เห็นด้วบกับ คคห.ของลุง แคนครับ ขนาดแค่หมู่บ้าน
เลือกตั้ง ผู้ใหญ่บ้าน เลือกตั้ง อบต. ยังเอาเงินยิงแทนกระสุน กันให้ว่อน
เห็นมาออกเยอะไป...
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ขงเบ้งดูดาว เฮอะเอ่อเอ้ย เมื่อดาวตก เสียวในหัวอกเมือเห็นดาว ไม่พราวไสว หรือว่าตัวเราจะหมดบุญ จึงเป็นไป ดาวที่สดใสเมื่อก่อนนั้น พลันมืดมัว....
|
|
|
ชัย คุรุ เทวา โอม
|
 |
« ตอบ #21 เมื่อ: 12-05-2008, 21:01 » |
|
ผมว่า สว สรรหา ควรจะประมาณ 1/4 และคนสรรหาต้องมีประมาณซัก 35 - 50 คน มาจากทุกอาชีพ เพื่อกันพวกใดพวกหนึ่งเข้าไปบริหาร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"...สิ่งที่มนุษย์เราหวงแหนที่สุดก็คือชีวิต และก็เป็นสิ่งที่ให้แก่เขาเพื่อดำรงอยู่ได้แต่เพียงครั้งเดียว เขาจักต้องดำรงชีวิตอยู่เพื่อที่ว่าจะไม่ต้องทรมานใจด้วยความโทมนัสว่าวันเดือนปีที่ผ่านไปนั้นปราศจากจุดหมาย จักต้องไม่มีความรู้สึกอับอายว่าตนมีอดีตอันต่ำต้อยด้อยคุณค่า ชีวิตเช่นนี้ เมื่อตายลงก็สามารถพูดได้ว่าชีวิตของฉัน และพลังกายพลังใจทั้งหมดของฉันได้อุทิศให้แก่อุดมการณ์ที่ดีงามที่สุดแล้วในโลกนี้ นั่นคือการต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพของมนุษย์..." คำรำพัน ณ สุสานสหายผู้เสียสละในการต่อสู้ปฏิวัติ จากนวนิยายโซเวียตยอดนิยมเรื่อง เบ้าหลอมวีรชน (How the Steel Was Tempered) นิโคไล ออสตร๊อฟสกี้ เขียน ค.ศ.1933 ******************************* เชิญเยี่ยมชมบล็อคครับ http://www.oknation.net/blog/amalit1990
|
|
|
999
|
 |
« ตอบ #22 เมื่อ: 13-05-2008, 00:59 » |
|
เสนอให้ ภาควิชารัฐศาสตร์ เปิดสาชาวิชา วิศวกรรมจิตวิทยาทางการเมืองมหภาค-จุลภาค
ข้อสังเกตคือมหภาคจะให้ผลแม่นยำกว่า ความรู้สึกในเชิงจุลภาค 
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13-05-2008, 01:25 โดย 999 »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
999
|
 |
« ตอบ #23 เมื่อ: 13-05-2008, 01:01 » |
|
ผมว่า สว สรรหา ควรจะประมาณ 1/4 และคนสรรหาต้องมีประมาณซัก 35 - 50 คน มาจากทุกอาชีพ เพื่อกันพวกใดพวกหนึ่งเข้าไปบริหาร
ถ้าใช้ประชามติคัดทั้งหมดที่คัดแล้ว ให้เหลือเพียงจำนวนที่ต้องการก็น่าจะดีกว่า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Can ไทเมือง
|
 |
« ตอบ #24 เมื่อ: 13-05-2008, 01:19 » |
|
ผมมองว่ามันขึ้นกับการกำหนดอำนาจหน้าที่ ของ วุฒิสภามากกว่า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
999
|
 |
« ตอบ #25 เมื่อ: 13-05-2008, 01:29 » |
|
ผมมองว่ามันขึ้นกับการกำหนดอำนาจหน้าที่ ของ วุฒิสภามากกว่า
หน้าที่ที่ซับซ้อนมากๆ ทำให้ชาวบ้านไม่เข้าใจและเลือกลำบากครับ
คงดูได้จากประวัติชื่อเสียงหรือผลงานต่างๆ ผมคิดว่าก็ยังสามารถกลั่นกรองได้
ทุกวันนี้ การเมืองไทยมันเหมือนเตี้ยอุ้มค่อม นักการเมืองและชาวบ้านเองหวังจะเกาะหลังอีกฝ่าย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
northstar
|
 |
« ตอบ #26 เมื่อ: 13-05-2008, 01:29 » |
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
999
|
 |
« ตอบ #27 เมื่อ: 13-05-2008, 01:37 » |
|
แตกประเด็นย่อยสักนิด
คือข้าราชการนี่ ผมเห็นว่าไม่ควรจะเข้ามาเล่นการเมืองแบบฝักใฝ่พรรคการเมือง
หากลงการเมืองแบบถือหางนักการเมืองเมื่อใด ก็ต้องออกจากระบบราชการ
ข้าราชการต้องเป็นกลางเหมือนสื่อ คือทำตามขอบเขตของหน้าที่เท่าที่จะสามารถกระทำได้โดยสังคมไม่ยุ่งเหยิงสับสน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Can ไทเมือง
|
 |
« ตอบ #28 เมื่อ: 13-05-2008, 01:56 » |
|
รัฐธรรมนูญ ให้สิทธิ์ข้าราชการ เป็นสมาชิกพรรคการเมืองได้
แต่ห้ามเลือกปฏิบัติต่อประชาชน อันเนื่องมาจากความคิดเห็นที่แตกต่างทางการเมือง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ตาย่าน
|
 |
« ตอบ #29 เมื่อ: 13-05-2008, 01:58 » |
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
999
|
 |
« ตอบ #30 เมื่อ: 13-05-2008, 02:07 » |
|
รัฐธรรมนูญ ให้สิทธิ์ข้าราชการ เป็นสมาชิกพรรคการเมืองได้
แต่ห้ามเลือกปฏิบัติต่อประชาชน อันเนื่องมาจากความคิดเห็นที่แตกต่างทางการเมือง
ถ้าปล่อยไปแบบนี้ ผมก็ว่าผู้ชนะได้ทั้งหมดครับ ประชาชนมือเปล่าและยากจน ด้อยโอกาสจะเอาอะไรไปคาน
ควรปฏิรูประบบราชการ และระบบการเมืองต่อไป ในที่สุดก็ต้องแก้รัฐธรรมนูญ และผมว่าประชามติสำคัญ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Can ไทเมือง
|
 |
« ตอบ #31 เมื่อ: 13-05-2008, 02:16 » |
|
รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 265-269
ในหมวดการกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์
ซึ่งห้ามนักการเมืองล้วงลูก กำลังจะถูกแก้ไข โดย สส. ทั้งจากพลังประชาชนและ ปชป.
ก็ได้แต่ปลงละครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
999
|
 |
« ตอบ #32 เมื่อ: 13-05-2008, 02:17 » |
|
ก็คงต้องผลักดันการศึกษาและการปฏิรูปให้มีว้ฒนธรรมที่หลากหลาย ถ้าจะเอาสถาบัน ต้นแบบก็น่าจะยึดระบบอังกฤษ
แต่ระบบที่หลากวัฒนธรรม อเมริกันจะดีกว่า ปัญหาคือแบบนั้นต้องละทิ้งจารีตที่เป็นอุปสรรคในการปฏิรูปวัฒนธรรม
ให้เสรีภาพกับประชานในการเลือก มากกว่าเดิม ลดระบบอุปถัปภ์ทีไม่จำเป็นลง สังคมไทยระดับครอบครัวจะตึงเครียดหนักขึ้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
999
|
 |
« ตอบ #33 เมื่อ: 13-05-2008, 02:27 » |
|
รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 265-269
ในหมวดการกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์
ซึ่งห้ามนักการเมืองล้วงลูก กำลังจะถูกแก้ไข โดย สส. ทั้งจากพลังประชาชนและ ปชป.
ก็ได้แต่ปลงละครับ
ผมเชื่อมั่นว่าการกระจายอำนาจต่างๆ เข้าไปสู่ระดับท้องถิ่นมากขึ้น จะช่วยคานอำนาจากส่วนกลางได้ดี
แม้เบื้องต้นจะดูว่ามีซ้อเสียใช้เงิน แต่คนท้องถิ่นก็แข่งกันเอง
ส่วนเรื่องการขัดกันของผลประโยชน์ อันดับแรกขอให้โปร่งใสตรวจสอบได้ง่าย
ผมยังยืนยันว่า ถ้าข้าราชการฝักใฝ่พรรคการเมือง ต้องให้ลาออกไป และไม่อนุญาตให้กลับเข้ารับราชการได้อีกครับ
ข้าราชการต้องเป็นกลาง เพราะจะต้องเป็นส่วนที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรมในหลายๆกรณี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Can ไทเมือง
|
 |
« ตอบ #34 เมื่อ: 13-05-2008, 02:54 » |
|
ความเป็นกลางทางการเมือง ตีความลำบาก รู้สึกประเด็นนี้เล่นกันมานานแล้ว
ขนาด กกต. หรือองค์กรอิสระอื่นๆ ยังมีคนบอกไม่เป็นกลาง
ลำบากครับ การกำหนดเป็นลายลักษณ์อักษรกับการกระทำ
ในหลักการก็คงกำหนดกรอบกว้างๆ เอาไว้
รู้สึกในเวลาเลือกตั้ง มีกฎหมายของ กกต. เอาผิดได้นะครับ
เรื่องกำหนดให้ข้าราชการต้องวางตัวเป็นกลางน่ะ โดนไปหลายคนนะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
999
|
 |
« ตอบ #35 เมื่อ: 13-05-2008, 17:57 » |
|
ผลประโยชน์และสถานภาพทางสังคม ชี้ความเป็นกลางได้
ผู้พิพากษาส่วนใหญ่ จึงไม่อยากถูกดึงเข้าไปอยู่ในโครงสร้างทางการเมือง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|